Wednesday, 4 December 2024
TODAY SPECIAL

23 มกราคม พ.ศ. 2549 ย้อนรอยกรณีตระกูลชินวัตร ขายหุ้นกลุ่มบริษัทชินคอร์ปฯ ให้กับบริษัทเทมาเส็ก โฮลดิ้ง จนกลายเป็นกระแสสังคม นำมาซึ่งการกดดันให้ ทักษิณ ชินวัตร ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น

คำว่า ‘เลี่ยงภาษี’ อาจจะเป็นคำที่คนไทยคุ้นเคย แต่หากจะหาว่า ช่วงไหนของเมืองไทยที่กระแสคำว่า ‘เลี่ยงภาษี’ มีความรุนแรงมากๆ ต้องย้อนเวลากลับไป 15 ปีก่อน

วันนี้เมื่อ 15 ปีก่อน หรือ 23 มกราคม พ.ศ. 2549 มีข่าวดังที่สร้างความสนใจกับผู้คนไปทั่วประเทศ เมื่อตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ ขายหุ้นบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น ให้กับกองทุนเทมาเส็ก ของประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเรื่องนี้ นายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ถูกโยงเข้ามามีเอี่ยว และเกิดกระแสวิพากษ์วิจารIณ์อย่างหนักว่า นี่เป็นการเลี่ยงภาษีใช่หรือไม่?

ทั้งนี้หุ้นที่มีการซื้อขายกันในตอนนั้น ถือเป็นการขายหุ้นที่มีมูลค่าสูงที่สุดในประเทศไทย เป็นจำนวนกว่า 1,487,740,000 หุ้น (49.595% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด) มูลค่าหุ้นละ 49.25 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 73,271,200,910 บาท

การซื้อขายหุ้นครั้งนี้ ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากหลายทิศทาง ทั้งจากพรรคการเมืองฝ่ายค้าน องค์กรเอกชน นักวิชาการ รวมทั้งสาธารณชน โดยประเด็นที่พุ่งเป้าสงสัยนั้นมีหลายประการ อาทิ การได้รับยกเว้นภาษี ประเด็นเรื่องจังหวะเวลาที่ขายหุ้นซึ่งเกิดหลังการประกาศใช้ พ.ร.บ. การประกอบกิจการโทรคมนาคม ฉบับใหม่เพียงสองวัน และประเด็นเรื่องการที่กิจการสื่อสารมวลชน ซึ่งเป็นกิจการที่สำคัญต่อความมั่นคงของชาติ ต้องตกไปอยู่ในการบริหารของต่างชาติ

แม้จะมีคำอธิบายจากนายทักษิณ ชินวัตร ในฐานะนายกรัฐมนตรี แต่จากเหตุการณ์ครั้งนี้ ถือเป็นชนวนสำคัญที่ทำให้เกิดการออกมากดดันให้นายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่ง กระทั่งนำไปสู่การยุบสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549

และต่อมาจึงได้มีการเลือกตั้งใหม่ แต่ก็ต้องพบกับปัญหามากมาย ทั้งมีพรรคการเมืองคว่ำบาตรไม่ลงแข่งขันการเลือกตั้ง หรือผลการเลือกตั้งของผู้สมัครมีคะแนนน้อยกว่าบัตรที่ไม่เลือกใคร รวมทั้งปัญหาเรื่องความไม่โปร่งใสของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จนนำมาซึ่งการเลือกตั้งใหม่อยู่หลายรอบ แต่ก่อนที่จะถึงกำหนดการเลือกตั้งครั้งสุดท้ายในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ก็เกิดการก่อรัฐประหารขึ้นเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 โดยเป็นการยึดอำนาจการปกครองประเทศ จากรัฐบาลภายใต้การรักษาการนายกรัฐมนตรีของนายทักษิณ ชินวัตร นั่นเอง


ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki

22 มกราคม พ.ศ. 2486 ครบรอบ 78 ปี ประเทศไทยใช้คำว่า’สวัสดี’ เป็นการทักทายครั้งแรก

ไปไหนมาไหน เจอใคร คนไทยต้องยกมือไหว้ กล่าวคำว่า ‘สวัสดี’ ซึ่งคำ ๆ นี้ มีขึ้นมากว่า 78 ปีแล้ว โดยวันนี้เมื่อในอดีต ถือเป็นวันแรกในการประกาศให้คนไทย ใช้คำทักทายเวลาเจอกันว่า ‘สวัสดี’

และผู้ที่ออกประกาศนี้ก็คือ จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น ด้วยวัตถุประสงค์ที่ต้องการให้คนไทยยุคนั้นมีความเป็นชาตินิยม ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนชื่อ ‘สยาม’ มาเป็นประเทศ ‘ไทย’ หรือเปลี่ยนเนื้อร้องเพลงชาติไทยแต่เดิมมาเป็นเวอร์ชั่นปัจจุบัน รวมไปถึงการประกาศให้คำว่า ‘สวัสดี’ เป็นคำทักทายในโอกาสแรกที่ได้พบกัน

การประกาศนี้ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2486 โดยเป็นกรมโฆษณาการ (ชื่อเดิมของกรมประชาสัมพันธ์) ที่เป็นหน่วยงานออกประกาศข่าวนี้

กล่าวถึงคำว่า สวัสดี เป็นภาษาสันสกฤต มาจากคำว่า ‘สุ’ แปลว่า ดี งาม หรือ ง่าย และคำว่า ‘อสฺติ’ เป็นคำกิริยาแปลว่า มี แผลงคำว่า ‘สุ’ เป็น ‘สว’ (สฺวะ) ได้โดยเอา ‘อุ’ เป็น ‘โอ’ เอา ‘โอ’ เป็น ‘สฺว’ ตามหลักไวยากรณ์ แล้วสนธิกับคำว่า ‘อสฺติ’ กลายเป็น ‘สวสฺติ’ อ่านว่า สะ-วัด-ติ แปลว่า ‘ขอความดีความงามจงมี (แก่ท่าน)’

โดยผู้ที่ริเริ่มใช้คำว่า ‘สวัสดี’ ในช่วงแรก คือ พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) ได้ปรับเสียงของคำว่า ‘สวสฺติ’ ให้ง่ายต่อการออกเสียงของคนไทย จากคำสระเสียงสั้น (รัสสระ) ซึ่งเป็นคำตาย มาเป็นคำสระเสียงยาว (ทีฆสระ) ซึ่งเป็นคำเป็น ทำให้ฟังไพเราะ รื่นหูกว่า จึงกลายเป็น ‘สวัสดี’ ใช้เป็นคำทักทายที่ไพเราะและสื่อความหมายดี ๆ ต่อกันของคนไทยตลอดมา

พิธีสาบานตนเป็นประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ ผ่านไปเรียบร้อย งานนี้เลยขอเก็บตกแฟชั่นหน้ากากอนามัยของเหล่าผู้นำสหรัฐฯ ทั้งคนเก่าและคนใหม่ ใครสวมใส่แบบไหนกันบ้าง เพื่อให้เข้ากับสถานการณ์โควิด -19 กันเสียหน่อย

เข้ารับตำแหน่งเป็นที่เรียบร้อย สำหรับ นายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีคนที่ 46 ของสหรัฐอเมริกา และแน่นอนว่า ภารกิจแรกที่นายโจ ไบเดน ประกาศหลังเข้ารับตำแหน่ง นั่นก็คือ การรณรงค์ให้ประชาชนสหรัฐฯ ต้องสวมใส่หน้ากากอนามัย เรียกว่าขอความร่วมมือให้ใส่กันตลอด 100 วันต่อจากนี้ เพื่อลดอัตราการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 ลงให้ได้

เมื่อคืนเป็นงานพิธีเข้ารับการสาบานตนเป็นประธานาธิบดีของนายโจ ไบเดน The States Times จึงไปส่องการสวมใส่หน้ากากอนามัยของเหล่าผู้นำทั้งหลายในงาน เบื้องต้นทุกคนสวมใส่กันเรียบร้อยดี แต่จะมีดีเทลหรือรายละเอียดอะไรกันบ้างนั้น ลองไปดู อ๊อ! ขออนุญาตเพิ่มเติม ‘ผู้นำประเทศไทย’ ด้วยอีกท่าน พอดีท่านสวมสีหวาน ๆ จึงขอนำมาอวดกันซะหน่อย (อิอิ)

ศบค.กทม.เตรียมชงเรื่องปลดล็อคธุรกิจร้านค้า ให้สามารถกลับมาประกอบกิจการกันได้อีกครั้ง หลังต้องปิดตัวเนื่องจาก ‘โควิด-19 ระลอกใหม่’ ธุรกิจไหนที่จ่อคิวได้กลับมาเปิดกันบ้าง ตามไปเช็กกันดูได้เลย

เตรียมเฮกันดัง ๆ หลังมีข่าวศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) กรุงเทพมหานคร หรือ ศบค.กทม. เตรียมหารือเรื่องการคลายล็อค หรือผ่อนปรนมาตรการ การปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว หลังจากที่โรคโควด -19 กลับมาระบาดระลอกใหม่ โดยคาดว่าเตรียมจะอนุญาตให้กลับมาเปิดกิจการกันได้อีกครั้ง

ทั้งนี้ ศบค.กทม.จะเข้าประชุมหารือกับคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร ในวันนี้ (21 ม.ค. 64) ว่าเห็นควรให้ผ่อนปรนหรือไม่ หรือจะกำหนดให้มีมาตรการเสริมเพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดเพิ่มเติมหรือไม่อย่างไร บรรดาธุรกิจร้านค้าต่างๆ ต้องติดตามข่าวกันอย่างใกล้ชิด ซึ่งหากว่ามีการผ่อนปรนขึ้นมาจริง กิจการที่จะได้รับการปลดล็อคในเบื้องต้น มีดังนี้..

21 มกราคม วันกอดสากล วันที่ชวนทุกคนมาแสดงความรักต่อกันด้วยการกอด วันนี้มีประวัติมายาวนานกว่า 34 ปีแล้ว

กอดใครครั้งสุดท้ายเมื่อไรครับ? บางคนเมื่อวาน บางท่านบอกแทบจำไมได้ว่าเคยเกิดขึ้นเมื่อไร เอาเป็นว่า กอดได้กอดกันในวันนี้เลยแล้วกัน เพราะวันนี้เป็นวันพิเศษที่เรียกกันว่า ‘วันกอดสากล’ หรือ National Hug Day

วันกอดสากลเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1986 หรือเมื่อ 34 ปีก่อน โดยบาทหลวงนามว่า เควิน ซาบอร์นีย์ ที่อาศัยอยู่ในรัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา เขาเห็นว่า ชาวอเมริกันอยู่ในสังคมที่ไม่ค่อยแสดงความรักต่อกันในที่สาธารณะ จึงพยายามรณรงค์ให้มีการกอดกัน 1 วันในทุก ๆ ปี โดยเลือกช่วงเดือนมกราคมที่เป็นฤดูอันหนาวเหน็บ และกำหนดให้ วันที่ 21 มกราคม เป็นวันแห่งการกอด นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1986 เป็นต้นมา

ต่อมาการรณรงค์นี้ ก็ถูกเผยแพร่ออกไป เริ่มจากในเมืองคาโร แห่งรัฐมิชิแกน (ที่บาทหลวงอาศัยอยู่) ได้ขยายออกไปในวงกว้าง จากเมืองสู่รัฐ จากรัฐสู่ประเทศ จนกลายเป็นว่า มีประเทศนอกเหนือจากสหรัฐอเมริกา อาทิ แคนาดา เยอรมนี จอร์เจีย อังกฤษ ออสเตรเลีย บัลแกเรีย ฯลฯ ต่างกำหนดให้วันที่ 21 มกราคม เป็นวันกอดสากลเช่นเดียวกัน

วันกอดสากลนี้ กอดกันได้ทั้งเพื่อน คนรัก สัตว์ และสมาชิกในครอบครัว ที่ผ่านมาเคยมีผลการศึกษามากมาย ส่วนใหญ่ต่างระบุตรงกันว่า การสัมผัสร่างกายกันของมนุษย์ จะช่วยส่งเสริมให้อารมณ์และสุขภาพจิตดีขึ้น โดยเฉพาะ ‘การกอด’ ที่ช่วยพัฒนาทางด้านจิตใจ มากไปกว่านั้น ยังช่วยระบบย่อยอาหาร ลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ รู้อย่างนี้แล้ว วันนี้รีบมองหาคนกอดกันดีกว่าครับ!

พีค of the week Ep.2 รวมมิตรเรื่อง ‘พีคๆ’ รอบสัปดาห์

สัปดาห์ก่อน เรื่องการข่าว มาทั้งเรื่องดีๆ และเรื่องดราๆ (หมายถึงดราม่า) ทั้งข่าวมาตรการเยียวยา หรือดราม่าพิมรี่พาย ยังมีอีกหลายข่าวที่เราคัดสรรมาแล้วว่า ‘มันพีคจริงๆ แม่!’ ไปดูกันซะก่อนจะหมดวันนี้ เพราะเดี๋ยวพรุ่งนี้ คุณจะคุยกับเขา ไม่...รู้...เรื่อง!!

 

20 มกราคม ค.ศ. 1885 วันแรกของการจดสิทธิบัตร ‘เครื่องเล่นรถไฟเหาะตีลังกา’

ใครๆ ก็รู้จัก ’รถไฟเหาะตีลังกา’ แต่จะมีใครรู้ไหมว่า วันนี้เมื่อ 136 ปีก่อน เป็นวันแรกที่มีการจดสิทธิบัตรเครื่องเล่นประจำสวนสนุกชนิดนี้ 

สมมติถ้าจะให้คะแนน ‘เครื่องเล่นสวนสนุกสุดยอดขวัญใจ’ เชื่อเหลือเกินว่า คะแนนของ ‘รถไฟเหาะตีลังหา’ ต้องมาเป็นลำดับต้นๆ อย่างแน่นอน แต่รู้หรือไม่ว่า เจ้าเครื่องเล่นชนิดนี้ มีอายุอานามมากว่า 136 ปีแล้วนะ

ไอเดียของรถไฟเหาะตีลังกานั้น เริ่มต้นมาตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ 18 เมื่ออุตสาหกรรมถ่านหินในอเมริกาค่อย ๆ ถูกยกเลิก รางรถไฟเดิมที่ใช้สำหรับลำเลียงถ่านหิน ก็ถูกนำไปปรับปรุงให้เป็นขบวนรถนำเที่ยวชมภูเขา แถมมันยังได้รับความนิยมอย่างสูง เพราะได้ความหวาดเสียวเล็ก ๆ เวลาที่ผู้โดยสารนั่งไปบนรางสูง ๆ และมีความคดเคี้ยวระหว่างทาง จุดนี้เองที่เป็นจุดแรกเริ่มที่ถูกนำไปสร้างเป็นรถไฟเหาะในเวลาต่อมา 

โดยมันเกิดจากชายที่ชื่อว่า Lamarcus Adna Thompson หรือ L.A. Thompson นักธุรกิจชาวเจอร์ซีย์ ในรัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา เขาเป็นผู้หนึ่งที่ได้สัมผัสกับประสบการณ์นั่งรถไฟนำเที่ยวชมภูเขาด้วยเช่นกัน จึงเริ่มคิดค้นและออกแบบระบบรถไฟเหาะชื่อ Switchback Gravity Railway และเปิดให้บริการในปี ค.ศ.1884 ที่สวนสนุก Coney Island ซึ่งถือเป็นรถไฟเหาะเจ้าแรกในอเมริกา

ทว่าไอเดียนี้กลับถูกคู่แข่งสวนสนุกนำไปสร้างรถไฟเหาะได้หวือหวากว่า เป็นเหตุให้ L.A. Thompson ลงทุนจดสิทธิบัตรการสร้างรถไฟเหาะในนามของตัวเองขึ้นเมื่อวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 1885 หรือวันนี้เมื่อกว่า 136 ปีก่อนและหลังจากนั้น เขาก็คิดค้นปรับปรุงรถไฟเหาะตีลังกาให้มีความสนุกและปลอดภัยมากขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุด เขาก็ได้ชื่อว่า เป็น ‘บิดาแห่งรถไฟเหาะ’ ที่ผู้คนในโลกต่างยอมรับ

รวมพลคนไม่รับเงินเยียวยา 3,500 บาท ใครเข้าข่ายกันบ้าง โปรดเช็ก!

เสียงเคาะมติกันดังโป๊งป๊าง! วันนี้แนวร่วมประชาชนมีเฮกันดัง ๆ กับมติ ครม. โครงการเยียวยา 3,500 บาท เราชนะ แต่เดี๋ยวก่อน!! ในเสียงเคาะมติโป๊งป๊างนั้น แอบได้ยินเสียงถอนหายใจ เฮ้ออออ!!

เพราะมีผู้ (ไม่) ชนะ หรือไม่เข้าข่ายได้รับเงินเยียวยาน่ะสิ! เฮ้อออ! คนอกหักพักบ้านนี้ เอ้ย! มารวมกันที่นี่ ไหนใครอดเงินกันบ้าง ช่วยมาเม้นกันหน่อย อย่างน้อย เราก็คนหัวอกเดียวกัน!!

ชวนทำความเข้าใจหลักการฉีดวัคซีนโควิด -19 ที่ควรรู้ หากว่าจะถึงคิวฉีดขึ้นมาในวันหนึ่ง

เป็นข่าวฮือฮามาตั้งแต่เมื่อวาน กรณีบริษัทยา ‘แอสตราเซเนกา’ ขอขึ้นทะเบียนวัคซีนโควิด -19 ต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ซึ่งคาดว่า ทาง อย. ต้องใช้เวลาในการพิจารณาเอกสารต่าง ๆ อย่างถี่ถ้วนกว่า 1 สัปดาห์ (ขณะนี้ยังอยู่ในช่วงการขอเอกสารเพิ่มเติมจากบริษัทผู้ผลิต) และหลังจากนั้น ก็จะมีการประกาศผลรับรองไม่ทางใดก็ทางหนึ่งต่อไป

หากว่ากันในเชิงปฏิบัติ หากวัคซีนนี้ได้รับการอนุมัติ จะมีผลไปสู่การผลิตวัคซีนตัวเดียวกันที่จะผลิตในประเทศอีกกว่า 26 ล้านโดส (ซึ่งเป็นการลงนามร่วมมือกันของบริษัทและรัฐบาลไทยก่อนหน้านี้) โดยจะได้รับการอนุมัติได้ง่ายขึ้น แน่นอนว่า จะส่งผลต่อการได้รับการฉีดวัคซีนของคนไทยในวงกว้างมากขึ้นเช่นเดียวกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะฉีดด้วยวัคซีนชนิดใด จำนวนมากแค่ไหน สิ่งที่ ‘เรา’ (หมายถึงคนถูกฉีด) ควรรู้เอาไว้เป็นพื้นฐานนั้นมีเรื่องอะไรบ้าง The States Times ไปรวมมาให้อ่านกันแบบง่าย ๆ ดังนี้

19 มกราคม พ.ศ. 2545 ครบรอบ 19 ปี พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

วันนี้เมื่อ 19 ปีก่อน เป็นวันสำคัญของเมืองไทยอีกครั้งหนึ่ง เมื่อพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ อาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

กล่าวถึง ‘ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ’ ชื่อ สุวรรณภูมิ มีความหมายว่า ‘แผ่นดินทอง’ อันเป็นชื่อที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทาน โดยใช้แทนชื่อเดิมคือ ‘หนองงูเห่า’

นอกจากนี้ อาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ถูกออกแบบโดย เฮลมุต ยาห์น (Helmut Jahn) สถาปนิกชาวอเมริกัน-เยอรมัน มีโครงสร้างหลักประกอบด้วยเหล็กและแก้ว ซึ่งได้รับการกล่าวขานว่า เป็น ‘สถาปัตยกรรมแห่งศตวรรษที่ ๒๑’

ภายหลังจากเสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2545 ต่อมาอีกราว 4 ปี สนามบินสุวรรณภูมิก็เปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบในวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 ปัจจุบันท่าอากาศยานสุวรรณภูมิถูกยกให้เป็นสนามบินที่มีการให้บริการสายการบินมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top