Monday, 17 March 2025
ECONBIZ

รมว.สุชาติ เยี่ยมชมศูนย์บริการสาธารณสุขซาอุฯ มุ่งยกระดับระบบบริการสุขภาพแก่ผู้ประกันตน

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2565 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นางเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ โฆษกกระทรวงแรงงาน (ฝ่ายการเมือง) จ่าเอกยศสิงห์ เหลี่ยมเลิศ คณะที่ปรึกษารัฐมนตรี นายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน นายสธน เกษมสันต์ ณ อยุธยา อุปทูต ณ กรุงริยาด เยี่ยมคารวะและหารือข้อราชการเพื่อกระชับความร่วมมือด้านแรงงานและเยี่ยมชมระบบการให้บริการสาธารณสุขของซาอุดีอาระเบีย กับนายฟาหัด บิน อับเดอราห์มาน อัล จาลาเจล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขซาอุดีอาระเบีย ณ Seha vitual Hospital และ National Health Command Center กระทรวงสาธารณสุขซาอุดีอาระเบีย
 
นายสุชาติ กล่าวว่า ตนและคณะรู้สึกยินดีและขอขอบคุณท่าน รมว.สาธารณสุขซาอุดีอาระเบียอย่างยิ่งที่ให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น และพาคณะเยี่ยมชมศูนย์ดังกล่าว รวมทั้งแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการนำระบบเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยมาดูแลและให้บริการผู้ป่วย ช่วยให้สามารถลดความแออัดในโรงพยาบาล เน้นการให้บริการที่รวดเร็ว ทันสมัย ตลอดจนทำให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างเท่าเทียมและทั่วถึง อันจะส่งผลดีประสิทธิภาพและมีคุณภาพการให้บริการมากยิ่งขึ้น ซึ่งกระทรวงแรงงานเองมีโรงพยาบาลในเครือข่ายประกันสังคมที่ให้บริการดูแลสุขภาพของผู้ประกันตน โดยระบบดังกล่าวจะสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการได้อย่างดียิ่ง

การกลับมาของรัสเซีย ในสงครามค่าเงินรูเบิล จาก 177 สู่ 95/US ความสำเร็จ ที่สหรัฐฯ และ NATO ไม่อยากเห็น

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ โพสต์ข้อความเฟซบุ๊ก ระบุว่า ความสำเร็จของรัสเซีย ในสงครามค่าเงินรูเบิล

วันนี้ ขอนำกลับไปตรวจอีกแนวรบหนึ่ง ที่รัสเซียสามารถรุกคืบ ยึดพื้นที่กลับคืนมาเรื่อยๆ ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา

จากค่าเงินรูเบิลที่เคยร่วง ระเนระนาด ไปแตะ 177.26 รูเบิล/ดอลลาร์

ล่าสุด ค่าเงินรูเบิลกลับมาอยู่ที่ 95 รูเบิล/ดอลลาร์ !!!!

ถ้านับจากช่วงก่อนสงครามรัสเซีย-ยูเครนเปิดฉาก ที่ 77-78 รูเบิล/ดอลลาร์ ค่าเงินรูเบิลได้อ่อนค่าลงไปเพียงประมาณ 20% เท่านั้น

หลายคนคงสงสัยว่าทำไม? ทำไมรัสเซียถึงสามารถรุกคืบกลับมาได้

ทั้งๆ ที่สหรัฐและพันธมิตรได้ Freeze เงินสำรองระหว่างประเทศของรัสเซียไปบางส่วนแล้ว

คำตอบอยู่ที่ มาตรการ Capital Control และ Exchange Control ของธนาคารกลางรัสเซียที่ประกาศใช้ในช่วงที่ผ่านมา

- ไม่ให้ต่างชาติขายสินทรัพย์ในรัสเซีย และไม่ให้เอาเงินออก

- ให้ผู้ส่งออกต้องนำเงินตราต่างประเทศที่ได้มา 80% ขายสู่ตลาด

- คนที่อยากแลกเงินรูเบิลเป็นเงินตราต่างประเทศต้องจ่ายค่าคอม 30%

ทั้งหมดนี้ ทำให้รัสเซียไม่ค่อยมีเงินไหลออกจากประเทศ 

ซึ่งเมื่อรวมกับเงินจาก Current account ที่ปกติแล้วจะเป็นบวก (ปีที่แล้ว +5% ของ GDP) จากน้ำมันและก๊าซที่ยังสามารถขายให้ยุโรปและคนอื่นๆ ตลาดค่าเงินรูเบิลจึงเริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้นเรื่อยๆ 

ยิ่งมีเสถียรภาพ คนรัสเซียยิ่งมั่นใจ ไม่ไปต่อแถวแลกเงิน

โดยมีเจ้ามือใหญ่ กระเป๋าใหญ่ (เพราะพิมพ์แบงก์เอง) คือ ธนาคารกลางของรัสเซีย กำกับภาพรวม กำหนดกฎเกณฑ์ที่ทำให้รัสเซียได้เปรียบ  

นับเป็นความสำเร็จ ที่สหรัฐและ NATO ไม่อยากเห็น 

เพราะหมายความว่า "นิวเคลียร์เศรษฐกิจ" ที่ต้องการทำให้ เงินเฟ้อรัสเซียพุ่ง บริษัทรัสเซียล้มละลายจากหนี้ต่างประเทศ (เหมือนไทยปี 40) คนตกงาน ต้องปิดแบงก์ นำไปสู่ Financial Sector Meltdown ไม่เป็นไปตามแผน  

นับว่าแนวรบนี้ รัสเซียสำเร็จในการยึดพื้นที่คืน

ทำให้สหรัฐและพันธมิตร ต้องไปหามาตรการอื่นๆ มา Sanctions เพิ่มเติม

ออมสินคาดปล่อยกู้จำนำทะเบียนรถทะลุ 2 หมื่นล้าน

นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ตลอด 1 ปีที่ผ่านมา ประชาชนที่มีรายได้น้อย จำนวนมากร่วม 800,000 ราย ได้รับอนุมัติสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ “เงินสดทันใจ” ทั้งที่เป็นสินเชื่อใหม่และรีไฟแนนซ์ วงเงินสินเชื่อรวมกว่า 16,000 ล้านบาท ซึ่งช่วยเติมสภาพคล่องในการนำเงินกู้ไปหมุนเวียนใช้จ่ายและแก้ปัญหาการเงิน ด้วยต้นทุนเงินกู้ที่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยในท้องตลาดอยู่ที่ประมาณ 5-8% สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยให้ลูกค้าคิดประมาณ 1,000 ล้านบาท โดยในปี 2565 นี้ ประเมินว่า จะอนุมัติสินเชื่อรวมกว่า 20,000 ล้านบาท ทั้งประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ 

สำหรับการดำเนินการดังกล่าว เป็นไปตามที่รัฐบาลโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายธนาคารออมสินช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย ให้มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินกู้ในระบบ ด้วยต้นทุนที่เป็นธรรมและถูกลง โดยในปี 2564 ที่ผ่านมา ธนาคารได้เข้าร่วมทุนในบริษัท เงินสดทันใจ จำกัด เปิดตัวสินเชื่อจำนำทะเบียนรถจักรยานยนต์ คิดอัตราดอกเบี้ยต่ำช่วงเปิดตัวที่ 11% ต่อปี ส่งผลให้หลังจากนั้นไม่นานตลาดสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ ได้ทยอยปรับลดโครงสร้างดอกเบี้ยจาก 28% ณ เวลานั้น ลงเหลือ 19% ในปัจจุบัน 

สมอ. คุมเข้ม!! ‘หลอดไฟแอลอีดี - ยางหล่อดอกซ้ำ’ ย้ำต้องได้มาตรฐาน มีผลบังคับใช้เร็วๆ นี้

สมอ. ควบคุมหลอดไฟแอลอีดี และยางหล่อดอกซ้ำสำหรับรถบรรทุก ต้องได้มาตรฐาน มอก. มีผลบังคับใช้ 29 มีนาคม 2565 และ 5 พฤษภาคม 2565 เตือนผู้ประกอบการทุกราย ก่อนทำ นำเข้า ต้องขออนุญาตจาก สมอ.  

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมให้ความสำคัญกับการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับภาคอุตสาหกรรม และการคุ้มครองประชาชนให้ปลอดภัยจากการใช้สินค้าที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ทั้งที่ผลิตในประเทศและนำเข้า โดยกำหนดเป็นนโยบายสำคัญและได้มอบหมายให้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ สมอ. ดำเนินการ เนื่องจากเป็นหน่วยงานหลักที่ดำเนินงานด้านการมาตรฐานของประเทศ ทั้งการกำหนดมาตรฐาน การควบคุมและกำกับติดตามการจำหน่ายสินค้าในท้องตลาดให้มีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐาน เพื่อความปลอดภัยและสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชน 

“การดำเนินงานด้านการกำหนดมาตรฐานของ สมอ. มีบทบาทสำคัญโดยเฉพาะการคุ้มครองประชาชนที่ต้องได้รับการดูแลด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้ผู้ประกอบการ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องพัฒนาควบคู่กันไป เพื่อให้การขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมของประเทศ สามารถแข่งขันทางการค้าได้อย่างยั่งยืนและเกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชน ซึ่งผมได้กำชับกับสมอ. ให้เร่งรัดดำเนินการ โดยเฉพาะมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของประชาชนให้ประกาศเป็นสินค้าควบคุมเป็นอันดับแรก” นายสุริยะฯ กล่าว

ด้าน นายบรรจง สุกรีฑา เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า สมอ. ดำเนินงานตามนโยบายท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมอย่างเคร่งครัด โดยประกาศควบคุมสินค้าที่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของประชาชนแล้วจำนวน 127 รายการ รวมถึงสินค้า 3 รายการ ที่กำลังจะมีผลบังคับใช้เร็วๆ นี้ ได้แก่ หลอดแอลอีดีเปลี่ยนทดแทนขั้วคู่ มอก.2779-2562 และหลอดแอลอีดีมีบัลลาสต์ในตัว มอก.2780-2562 จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 29 มีนาคม 2565 และยางหล่อดอกซ้ำสำหรับรถบรรทุก รถบัส และรถพ่วง มอก.2979-2562 จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 5 พฤษภาคม 2565 นี้ด้วย 

ซึ่งผู้ประกอบการทุกรายที่จะทำ หรือนำเข้าสินค้าดังกล่าว ต้องได้รับอนุญาตจาก สมอ. ก่อน เพื่อดำเนินการตรวจสอบคุณภาพและความปลอดภัย โดยสินค้าทุกชิ้นจะต้องแสดงเครื่องหมายมาตรฐานบังคับคู่กับ QR code เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบข้อมูลผู้รับใบอนุญาตได้ หากฝ่าฝืนจะมีโทษตามกฎหมาย ผู้ทำหรือนำเข้าโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 2 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จำหน่ายสินค้าโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และแสดงเครื่องหมายมาตรฐานโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

เลขาธิการ สมอ. กล่าวต่อว่า มาตรฐานหลอดแอลอีดีเปลี่ยนทดแทนขั้วคู่ ซึ่งโดยทั่วไปอาจเรียกว่า หลอดแอลอีดีชนิด T5, T8 หรือ หลอดแอลอีดีแบบยาว จะควบคุมเรื่องความปลอดภัยในขณะใช้งาน เพื่อป้องกันไฟรั่ว  ไฟดูด ควบคุมอุณหภูมิของขั้วหลอดในภาวะไฟฟ้าวิกฤติ และการติดไฟ เป็นต้น ขณะนี้มีผู้ยื่นขออนุญาตแล้วจำนวน 3 ราย เป็นผู้ทำ 1 ราย ผู้นำเข้า 2 ราย  

CPF ประเดิมส่งไก่ล็อตแรกไปซาอุฯ ช่วยหนุนส่งออกไก่ปีนี้ เพิ่มเป็น 9.8 แสนตัน

กระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับซีพีเอฟ ได้ฤกษ์ปล่อยขบวนตู้คอนเทนเนอร์ผลิตภัณฑ์เนื้อไก่เที่ยวแรกของไทยไปยังซาอุดีอาระเบีย หลังฟื้นความสัมพันธ์ 2 ประเทศ

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พร้อมด้วยนายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF ร่วมกันทำพิธีปล่อยตู้คอนเทนเนอร์ผลิตภัณฑ์เนื้อไก่แปรรูป ออกจากโรงงานแปรรูปไก่เนื้อ มีนบุรี เพื่อเตรียมส่งออกไปยังประเทศซาอุดีอาระเบีย

โดยนายจุรินทร์ระบุว่า หลังเสียโอกาสมานาน 18 ปี ครั้งนี้นับเป็นผลิตภัณฑ์ไก่จากประเทศไทย ล็อตแรก ตั้งแต่ปี 2547 โดยรัฐบาลซาอุฯ ได้อนุญาตให้นำเข้าผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกของไทยจากโรงงาน 11 แห่ง ที่ผ่านการตรวจรับรองแล้ว ทำให้ในปี 2565 ตั้งเป้ายอดการส่งออกไก่ เพิ่มเป็น 9.8 แสนตัน มูลค่ารวม 1.1 แสนล้านบาท เฉพาะประเทศซาอุฯ ประมาณ 6 หมื่นตัน จากที่ปี 2564 สามารถส่งออกได้ 9 แสนตัน โดยมั่นใจว่าคุณภาพไก่ไทย สามารถแข่งขันในตลาดโลกอย่างไม่มีปัญหา ขณะเดียวกันยังได้สั่งให้มีการควบคุมราคาขายไก่ในประเทศให้เป็นไปตามต้นทุน ป้องกันการขึ้นราคาจนประชาชนเดือดร้อน

สภาพัฒน์ฯ จับตาสถานการณ์การจ้างงานฟื้นตัว

น.ส.จินางค์กูร โรจนนันต์ รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า แนวโน้มตลาดแรงงานปี 2565 คาดว่า สถานการณ์ด้านแรงงานจะดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ไม่รุนแรงมากนัก ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจยังสามารถขยายตัวได้ควบคู่ไปกับการควบคุมการแพร่ระบาด

ส่วนภาพรวมสถานการณ์แรงงานในปี 2564 พบว่า การจ้างงาน มีจำนวน 37.8 ล้านคน เพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ 0.2% โดยเป็นการเพิ่มขึ้นในการจ้างงานภาคเกษตรกรรมที่ 1.8% จากการเคลื่อนย้ายของแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เข้ามาทำงานในสาขานี้ 

ขณะที่นอกภาคเกษตรกรรมการจ้างงานลดลง 0.6% เป็นการลดลงในเกือบทุกสาขา ยกเว้นสาขาการขนส่งที่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 ชั่วโมงการทำงานภาคเอกชนเพิ่มสูงขึ้นจากปีก่อนอยู่ที่ 44.4 ชั่วโมง/สัปดาห์ จาก 43.2 ชั่วโมง/สัปดาห์ แต่การทำงานต่ำระดับยังอยู่ในระดับสูง 

'รมว. สุชาติ' นำทีมไทยแลนด์ลุยไซต์งานซาอุฯ เตรียมส่งออกแรงงาน

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วยนายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นางเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ โฆษกกระทรวงแรงงาน (ฝ่ายการเมือง) จ่าเอกยศสิงห์ เหลี่ยมเลิศ คณะที่ปรึกษารัฐมนตรี นายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน ได้เดินทางถึงประเทศซาอุอิอาราเบีย โดยมีนายอับดุลมายิด อัลราชูดีย์ รัฐมนตรีช่วยดูแลกิจการแรงงาน กระทรวงพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนาสังคม  พร้อมด้วยนายสธน เกษมสันต์ ณ อยุธยา อุปทูต ณ กรุงริยาด ให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น ณ กรุงริยาด ประเทศ โดยนายสุชาติกล่าวว่า ในวันนี้ผมได้นำคณะผู้บริหารของกระทรวงแรงงานมายังกรุงริยาด ประเทศซาอุดิอาราเบีย เพื่อเตรียมเข้าร่วมพิธีลงนามความตกลงด้านแรงงานในวันที่ 28 มีนาคน 2565 เวลา 12.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น

จากนั้น นายสุชาติ และคณะ ยังได้ตรวจเยี่ยมและพบปะให้กำลังใจเจ้าหน้าที่สำนักงานแรงงานไทย ณ กรุงริยาด รวมทั้งหารือข้อราชการกับนายสธน เกษมสันต์ ณ อยุธยา อุปทูต ณ กรุงริยาด โดยกล่าวว่า ขอขอบคุณท่านอุปทูต ที่ให้การดูแลอัครราชทูตที่ปรึกษาและเจ้าหน้าที่ของฝ่ายแรงงาน และให้คำแนะนำ สนับสนุน การปฏิบัติงาน ของฝ่ายแรงงานฯ ซึ่งเป็นหน่วยงานของกระทรวงแรงงาน ที่ประจำการที่กรุงริยาดรวมถึงช่วยเหลือดูแลแรงงานไทยในซาอุดีอาระเบีย ให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่เหมาะสม ได้รับการคุ้มครองสิทธิตามกฎหมาย นอกจากนี้ ขอขอบคุณกระทรวงการต่างประเทศที่ช่วยผลักดันสนับสนุนให้การลงนามความตกลงด้านแรงงานในครั้งนี้ประสบความสำเร็จโดยเร็ว มุ่งหวังให้การจ้างแรงงานไทยเป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศด้านแรงงานของทั้งสองประเทศ ทั้งนี้ ขอความร่วมมือทางการซาอุดีอาระเบียช่วยตรวจตราในการต่อต้านการค้ามนุษย์ ปกป้องคุ้มครองสิทธิของนายจ้างและแรงงาน รวมถึงการบังคับใช้กฎระเบียบ สัญญาจ้างงานระหว่างกันที่เป็นธรรม แรงงานได้รับค่าจ้าง สวัสดิการ และสิทธิประโยชน์ตามกฎหมาย

สำหรับสถานการณ์ด้านแรงงาน ปัจจุบันมีแรงงานไทยที่ไปทำงานอยู่ในซาอุดีอาระเบีย จำนวน 1,334 คน แรงงานไทยที่เดินทางไปทำงานส่วนใหญ่เป็นการแจ้งการเดินทางด้วยตนเอง นายจ้างพาไปทำงาน และ Re - entry ซึ่งตำแหน่งงานที่แรงงานไทยเดินทางไปทำงาน เช่น ช่างเชื่อม ช่างเทคนิค ช่างเครื่องยนต์ ผู้ปฏิบัติงานในโรงงาน ผู้ควบคุมเครื่องจักร คนงานผลิตผลิตภัณฑ์ทั่วไป คนงานควบคุมเครื่องจักร ผู้ช่วยกุ๊ก แม่บ้าน เป็นต้น

นายสุชาติ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในวันเดียวกันนี้ผมยังได้พบปะหารือกับตัวแทนบริษัทรับเหมาก่อสร้าง เพื่อตรวจเยี่ยมสภาพการจ้างงานในสถานประกอบการไซด์งานก่อสร้างของซาอุดีอาระเบีย ณ ไซด์งานก่อสร้างบริษัท AL BAWANI -CP02 โดยได้พบปะพูดคุยกับผู้ประกอบการธุรกิจก่อสร้างในประเด็นความต้องการแรงงานในกิจการก่อสร้างของซาอุดีอาระเบีย สภาพเศรษฐกิจโดยรวม แนวโน้มการเติบโตของธุรกิจก่อสร้างในอนาคต ตลอดจนแผนการลงทุนในโครงการก่อสร้างอื่น ๆ ที่วางแผนไว้ ตลอดจนมาตรการดูแลคุณภาพชีวิตและสวัสดิการของแรงงานต่างชาติที่เข้ามาทำงานในซาอุดีอาระเบียนั้น จะมี E-Contract Program ซึ่งเป็นการทำสัญญาจ้างอิเล็กทรอนิกส์ มุ่งรักษาสิทธิของลูกจ้าง และลดความขัดแย้งระหว่างลูกจ้างและนายจ้าง

'รองโฆษกรัฐบาล' เผย อนุมัติ1.5 หมื่นล้านบาท ช่วย SMEs โครงการ บยส. ค้ำประกันเงินกู้พ.ร.ก ซอฟท์โลน เริ่มสมัคร 1 เม.ย.นี้

รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามนโยบายรัฐบาลที่ต้องการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ให้เข้าถึงสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อจะได้มีสภาพคล่องเพียงพอต่อการประคับประคองธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด19 จึงได้มีการออก พ.ร.ก. Soft Loan เมื่อปี 2563 และเพื่อให้ธุรกิจเหล่านั้นมีความมั่นใจว่าจะยังคงได้รับสินเชื่ออย่างต่อเนื่อง ลดปัญหาผิดชำระหนี้ สามารถพยุงการจ้างงานได้ต่อไป รัฐบาลจึงได้เห็นชอบกรอบวงเงิน  15,854 ล้านบาท สำหรับดำเนินโครงการค้ำประกันสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการ SMEs โดยใช้กลไก บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เข้ามาช่วยค้ำประกันสินเชื่อภายใต้ พ.ร.ก.Soft Loan ที่จะครบกำหนดเวลาการชำระหนี้คืนในเดือนเม.ย 2565 เป็นต้นไป

โดยในวันที่ 1 เม.ย.นี้ บสย. จะเปิดรับคำขอโครงการค้ำประกันสินเชื่อ Portfolio Guarantee Scheme ระยะพิเศษ Soft Loan Extra คาดว่า จะสามารถช่วยให้ผู้ประกอบการ SMEs ได้รับสินเชื่อต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 67,400 ราย ก่อให้เกิดสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินที่เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 84,000 ล้านบาท สิทธิประโยชน์คือ 1.ระยะเวลาการค้ำประกันสินเชื่อสูงสุดไม่เกิน 8 ปี

2.ได้รับยกเว้นค่าดำเนินการค้ำประกันสินเชื่อ เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการ SMEs 3.ค่าธรรมเนียมค้ำประกัน 2 ปีแรก เพียงร้อยละ 1 ต่อปี โดยรัฐบาลชดเชยค่าธรรมเนียมแทนผู้ประกอบการ SMEs ให้ ร้อยละ 0.75 (รวม 2 ปีร้อยละ 1.5 จากค่าธรรมเนียมค้ำประกัน ปกติร้อยละ 1.75)
4.สิ้นสุดรับคำขอวันที่ 31 ธันวาคม 2566

Sakun C โชว์โฉม รถบัสไฟฟ้าสัญชาติไทย ชูจุดเด่น!! ใช้งานนาน 30 ปี ไม่ผุกร่อน ช่วยลดมลพิษ 

Sakun C ผู้ประกอบการด้านนวัตกรรมยานยนต์ของประเทศไทย เชี่ยวชาญด้านการออกแบบวิจัย, พัฒนารวมถึงผลิตและจัดจำหน่าย รถและเรือตัวถังอะลูมิเนียมขึ้นรูป เปิดตัวผลงาน “EV Aluminum Bus” โดยล่าสุดได้นำไปโชว์ตัวในงาน Motor Show 2022 

Sakun C ได้ร่วมกับ สวทช. พัฒนา “EV Aluminum Bus” สัญชาติไทย ตัวถังผลิตจากอะลูมิเนียมขึ้นรูปผสมพิเศษ แข็งแรงกว่าเหล็กและอะลูมิเนียมทั่วไปถึง 4 เท่า ซึ่งเป็นอะลูมิเนียมเกรดเดียวกับที่ใช้สำหรับผลิต Super Car แต่บริษัทนำมาใช้เพื่อผลิตรถบัส EV สำหรับคนไทย ซึ่งจะมีน้ำหนักเบากว่าเหล็กครึ่งนึง ทำให้ใช้งานได้นานถึง 30 ปี วิ่งได้ไกล ไม่ผุกร่อนหรือเป็นสนิม และจะไม่ก่อให้เกิดมลพิษ ลดฝุ่นควัน PM 2.5 มีค่า CO2 เป็นศูนย์ ด้านแบตเตอรี่, มอเตอร์ และระบบการชาร์จไฟจะจัดทำไว้ให้เป็นไปตามคุณสมบัติที่ ขสมก. กำหนด

SME D Bank ผนึก กนอ. หนุน SMEs ในนิคมฯ ‘เติมทุน - พัฒนา’ ธุรกิจสีเขียว ก้าวสู่ BCG Model 

นายโมกุล โปษยะพิสิษฐ์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank ธนาคารเพื่อเอสเอ็มอีไทย ส่งเสริมผู้ประกอบการสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล ตามยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทย ด้วยเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว (BCG Model) 

โดย SME D Bank ร่วมกับ นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ในฐานะประธานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจการส่งเสริมมาตรการสนับสนุนทางการเงิน เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน การใช้พลังงานทางเลือก และพลังงานทดแทน เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 

เปิดจีดีพีภาคเกษตรไตรมาสแรกปีนี้ โต 4.4% 

นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงภาวะเศรษฐกิจการเกษตรไตรมาส 1 ปี 2565 (เดือนมกราคม - มีนาคม 2565) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 ซึ่งมีทิศทางเป็นบวกต่อเนื่องจากไตรมาส 4 ปี 2564 (เดือนตุลาคม – ธันวาคม 2564) ที่ขยายตัวร้อยละ 0.7 

โดยการเติบโตได้ดีในไตรมาสนี้เป็นผลจากสาขาพืชซึ่งเป็นสาขาการผลิตหลักขยายตัว เนื่องจากฝนที่ตกต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงกลางปี 2564 ถึงต้นปี 2565 และสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย ทำให้การผลิตพืชสำคัญ ทั้งข้าว อ้อยโรงงาน สับปะรด ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และผลไม้ เพิ่มขึ้น ส่งผลให้สาขาบริการทางการเกษตรขยายตัวได้ตามพื้นที่เพาะปลูกและพื้นที่เก็บเกี่ยวพืชที่เพิ่มขึ้น 

ขณะที่สาขาประมงและสาขาป่าไม้ ขยายตัวได้จากการผลิตที่เพิ่มขึ้นตามความต้องการของตลาดที่มีอย่างต่อเนื่องอย่างไรก็ตาม สาขาปศุสัตว์หดตัวลงจากสถานการณ์โรคระบาดในสัตว์ที่ส่งผลให้เกษตรกรปรับลดปริมาณการเลี้ยง

ทั้งนี้ แนวโน้มเศรษฐกิจการเกษตรในปี 2565 คาดว่า จะขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 2.0 - 3.0 เมื่อเทียบกับปี 2564 โดยทุกสาขาการผลิต มีแนวโน้มขยายตัว เนื่องจากปริมาณน้ำฝนที่เพิ่มขึ้นจากอิทธิพลของลานีญา ประกอบกับภาครัฐมีความร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ ส่งเสริมให้เกษตรกรมีการบริหารจัดการด้านการผลิตและการตลาดที่ดี มีการใช้เทคโนโลยีในการผลิตและยกระดับคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐานสอดคล้องกับความต้องการของตลาด นอกจากนี้ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ผ่อนคลายมาตรการมากขึ้น ทำให้มีความต้องการสินค้าเกษตรทั้งในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้น 

เปิดจีดีพีภาคเกษตรไตรมาสแรกปีนี้ โต 4.4% 

นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงภาวะเศรษฐกิจการเกษตรไตรมาส 1 ปี 2565 (เดือนมกราคม - มีนาคม 2565) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 ซึ่งมีทิศทางเป็นบวกต่อเนื่องจากไตรมาส 4 ปี 2564 (เดือนตุลาคม – ธันวาคม 2564) ที่ขยายตัวร้อยละ 0.7 

โดยการเติบโตได้ดีในไตรมาสนี้เป็นผลจากสาขาพืชซึ่งเป็นสาขาการผลิตหลักขยายตัว เนื่องจากฝนที่ตกต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงกลางปี 2564 ถึงต้นปี 2565 และสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย ทำให้การผลิตพืชสำคัญ ทั้งข้าว อ้อยโรงงาน สับปะรด ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และผลไม้ เพิ่มขึ้น ส่งผลให้สาขาบริการทางการเกษตรขยายตัวได้ตามพื้นที่เพาะปลูกและพื้นที่เก็บเกี่ยวพืชที่เพิ่มขึ้น 

ขณะที่สาขาประมงและสาขาป่าไม้ ขยายตัวได้จากการผลิตที่เพิ่มขึ้นตามความต้องการของตลาดที่มีอย่างต่อเนื่องอย่างไรก็ตาม สาขาปศุสัตว์หดตัวลงจากสถานการณ์โรคระบาดในสัตว์ที่ส่งผลให้เกษตรกรปรับลดปริมาณการเลี้ยง

ข่าวดี! เกาหลีรับแรงงานไทยทำงานกิจการอุตสาหกรรมการผลิต และกิจการเกษตรและปศุสัตว์ กว่า 6 พันคน

กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน เปิดรับสมัครทดสอบภาษาเกาหลีและทักษะการทำงาน (Point System) ครั้งที่ 11 เพื่อไปทำงานสาธารณรัฐเกาหลี ในประเภทกิจการอุตสาหกรรมการผลิต โควตา 5,671 คน และประเภทกิจการเกษตรและปศุสัตว์ โควตา 342 คน

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กระทรวงแรงงานไทย และกระทรวงแรงงานสาธารณรัฐเกาหลี ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดส่งแรงงานไปทำงานสาธารณรัฐเกาหลีตามระบบการจ้างแรงงานต่างชาติ (Employment Permit System for Foreign Workers: EPS) กำหนดให้กระทรวงแรงงาน โดยกรมการจัดหางานเป็นหน่วยงานผู้ทำหน้าที่รับสมัคร คัดเลือกและจัดส่งคนหางานไปทำงาน โดยคนหางานที่จะเดินทางไปทำงานต้องผ่านการทดสอบภาษาเกาหลี (EPS-TOPIK) และทักษะการทำงาน ตามที่สำนักบริการพัฒนาบุคลากรแห่งเกาหลี (Human Resources Development Service of Korea: HRD Korea) ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบการจัดสอบกำหนด

โดยครั้งนี้ได้ประกาศรับสมัครทดสอบภาษาเกาหลีและทักษะการทำงาน (Point System) ครั้งที่ 11 ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์การบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ (e-Service) และชำระเงินค่าสมัครสอบแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) เพื่อสมัครไปทำงานสาธารณรัฐเกาหลีตามระบบการจ้างแรงงานต่างชาติ (EPS) ประเภทกิจการอุตสาหกรรมการผลิต ให้โควตาผู้สอบผ่าน 5,671 คน แบ่งเป็น เพศชาย 2,836 คน เพศหญิง 2,835 คน กำหนดรับสมัครระหว่างวันที่ 24 -28 มีนาคม 2565 และประเภทกิจการเกษตรและปศุสัตว์ ให้โควตาผู้สอบผ่าน 342 คน แบ่งเป็นเพศชาย 171 คน และเพศหญิง 171 คน กำหนดรับสมัครระหว่างวันที่ 20 - 22 เมษายน 2565 

“พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงาน ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมแรงงานไทยให้เดินทางไปทำงานต่างประเทศมาโดยตลอด เพราะนอกจากแรงงานไทยสามารถมีรายได้ดูแลครอบครัว ยกระดับคุณภาพชีวิตของตนเองได้แล้ว รายได้และประสบการณ์ที่นำกลับมายังมีส่วนในการพัฒนาประเทศด้วย” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานกล่าว

นายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า ผู้ที่ประสงค์จะสมัครไปทำงานสาธารณรัฐเกาหลี สามารถสมัครสอบได้ที่เว็บไซต์ toea.doe.go.th ลงทะเบียนอิเล็กทรอนิกส์การบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ กรอกข้อมูลเพื่อลงทะเบียนคนหางาน โดยสามารถศึกษาวิธีการลงทะเบียน คุณสมบัติผู้สมัครและเอกสารที่เกี่ยวข้อง ที่เมนูข่าวประชาสัมพันธ์ หัวข้อ ประกาศรับสมัครทดสอบภาษาเกาหลีและทักษะการทำงาน (Point System) ครั้งที่ 11  EPS โดยเลือกสมัครสอบได้ประเภทงานเดียวเท่านั้น ซึ่งแรงที่สนใจสมัครทดสอบภาษาเกาหลีฯ ต้องยื่นคำขอการสมัคร โดยคนหางานกรอกข้อมูลการสมัครและแนบเอกสารผ่านระบบออนไลน์ เลือกศูนย์สอบ ซึ่งมีสถานที่สอบให้เลือก 2 ศูนย์ คือ ศูนย์สอบกรุงเทพมหานคร และศูนย์สอบอุดรธานีทำการตรวจสอบผลการอนุมัติ โดยตรวจสอบผลการพิจารณา และพิมพ์ใบแจ้งชำระเงินค่าสมัคร เพื่อชำระเงินค่าสมัครสอบ จำนวน 830 บาท ภายในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งสามารถชำระเงินค่าสมัครสอบได้ 4 ช่องทาง ได้แก่ 1.เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทย 2.ATM / ADM 3.Internet Banking 4.ต่างธนาคาร Cross Bank Bill Payment จากนั้นตรวจสอบสถานะ สมัครสอบ การชำระเงิน และหมายเลขผู้สมัครสอบ และพิมพ์บัตรประจำตัวผู้สมัครสอบ 

หลักฐานและเอกสารที่ใช้ประกอบการสมัคร มีดังนี้
1. รูปถ่ายหน้าตรง พื้นหลังสีขาว รวบผมให้เห็นใบหูและไม่สวมเสื้อสีขาว ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นตา ถ่ายไว้ไม่เกิน 3 เดือน (ประเภทไฟล์เป็น JPG และความละเอียด 10-15KB)
2. ถ่ายหนังสือเดินทางที่ยังไม่หมดอายุ (ถ้ามี) ต้องชัดเจน ระบุวัน เดือน ปีเกิดให้ครบถ้วน (ประเภทไฟล์เป็น JPG ความละเอียด 60 - 100 KB)
3 . ถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนที่ยังไม่หมดอายุ ต้องชัดเจน และระบุวัน เดือน ปีเกิดให้ครบถ้วน (ประเภทไฟล์เป็น JPG ความละเอียด 60-100 KB)

'ก้าวไกล' ฉะ 10 มาตรการเร่งด่วนรัฐบาล ช่วยน้อยเหมือนไม่ช่วย สะท้อนรัฐบาลถังแตก

น.ส. ศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวถึงกรณี 10 มาตรการเร่งด่วนที่นายกรัฐมนตรีได้แถลงวานนี้ (22 มี.ค. 65) ว่า เป็นการรับสารภาพว่า รัฐบาลเงินหมดหน้าตัก ไม่สามารถตรึงราคาน้ำมันดีเซลที่ 30 บาทต่อลิตรได้ถึงเดือน พ.ค. ตามที่เคยให้สัญญาไว้ และจะสิ้นสุดการตรึงราคาสิ้นเดือนเม.ย.นี้ รวมถึงจะทยอยขึ้นราคาก๊าซหุงต้มตามมา จึงออกมาตรการช่วยเหลือแบบกะปริบกะปรอยแก้ขัด ส่วนใหญ่เป็นการต่ออายุมาตรการเดิม ก้อนใหญ่สุดคือลดเงินสมทบประกันสังคม แต่รัฐบาลไม่ยอมใช้คืนกองทุน ทำสถานะการเงินกองทุนกระง่อนกระแง่น เสี่ยงขาดทุนเร็วขึ้น

ก.ล.ต. คลอดเกณฑ์คุมใช้ ‘สินทรัพย์ดิจิทัล’ ห้ามใช้ ‘ชำระค่าสินค้าหรือบริการ’ เริ่ม 1 เม.ย.นี้

ก.ล.ต. ออกหลักเกณฑ์ในการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลแล้ว ยันไม่สนับสนุนหรือส่งเสริมใช้เป็นสื่อกลางชำระค่าสินค้าและบริการ

ก.ล.ต. ออกหลักเกณฑ์ในการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อไม่ให้สนับสนุนหรือส่งเสริมการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้เป็นสื่อกลางชำระค่าสินค้าและบริการ (Means of Payment) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการเงินและระบบเศรษฐกิจของประเทศ

ทั้งนี้ ตามที่ ธปท. และ ก.ล.ต. ได้หารือร่วมกันและเห็นความจำเป็นในการกำกับดูแล สำหรับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ให้บริการอยู่ก่อนแล้ว ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2565 

ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้หารือร่วมกันถึงประโยชน์และความเสี่ยงของสินทรัพย์ดิจิทัล และเห็นความจำเป็นในการกำกับดูแลและควบคุมการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้เป็นสื่อกลางชำระค่าสินค้าและบริการ

เนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพระบบการเงินและระบบเศรษฐกิจโดยรวม รวมถึงความเสี่ยงต่อประชาชนและธุรกิจ อาทิ ความเสี่ยงจากการสูญมูลค่าที่เกิดจากความผันผวนของราคา ความเสี่ยงจากการถูกโจรกรรมทางไซเบอร์ ความเสี่ยงข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล หรือการถูกใช้เป็นเครื่องมือของการฟอกเงิน

คณะกรรมการ ก.ล.ต. จึงพิจารณาใช้อำนาจตามกรอบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำกับดูแลการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจไม่ให้มีการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้เป็นเป็นสื่อกลางชำระค่าสินค้าและบริการ เนื่องจากอาจส่งผลให้เกิดการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้ในวงกว้างนอกเหนือไปจากวัตถุประสงค์เพื่อการลงทุน

โดยคณะกรรมการ ก.ล.ต. ในการประชุมครั้งที่ 3/2565 เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2565 ได้มีมติเห็นชอบหลักการกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลในการจำกัดการให้บริการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้เป็นสื่อกลางชำระค่าสินค้าและบริการ ซึ่งปรับปรุงตามข้อเสนอแนะที่ได้จากการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง (ระหว่างวันที่ 25 มกราคม ถึง 8 กุมภาพันธ์ 2565)  ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น และออกประกาศเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล สรุปสาระสำคัญดังนี้

(1) ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลทุกประเภท ต้องไม่ให้บริการหรือกระทำการอันมีลักษณะที่เป็นการสนับสนุนหรือส่งเสริมการชำระค่าสินค้าและบริการด้วยสินทรัพย์ดิจิทัล เช่น การโฆษณา การชักชวนหรือแสดงตนว่าพร้อมให้บริการชำระค่าสินค้าหรือบริการแก่ร้านค้า หรือการจัดทำระบบหรือเครื่องมืออำนวยความสะดวกในการชำระค่าสินค้าและบริการ การเปิดกระเป๋าสินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อวัตถุประสงค์ในการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้เป็นสื่อกลางชำระค่าสินค้าและบริการ เป็นต้น   

(2) กรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลพบว่า ลูกค้าใช้บัญชีที่เปิดไว้เพื่อการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลไปใช้ประโยชน์ในการชำระค่าสินค้าและบริการ ผู้ประกอบธุรกิจต้องแจ้งเตือนเกี่ยวกับการใช้บัญชีผิดวัตถุประสงค์และไม่ตรงกับเงื่อนไขการให้บริการ และดำเนินการแก่ลูกค้าที่ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการให้บริการ ซึ่งรวมถึงระงับการให้บริการชั่วคราว ยกเลิกการให้บริการหรือดำเนินการอื่นใดในทำนองเดียวกัน  

ทั้งนี้ ประกาศดังกล่าวมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2565 และสำหรับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลให้บริการตาม (1) และ (2) อยู่ก่อนแล้ว ให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติให้เป็นไปตามที่หลักเกณฑ์กำหนดภายใน 30 วันนับแต่วันที่ประกาศมีผลใช้บังคับ

คำถาม-คำตอบ

กรณีการออกเกณฑ์ในการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อไม่ให้สนับสนุนหรือส่งเสริมการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้เป็นสื่อกลางชำระค่าสินค้าและบริการ(Means of Payment)  

1.) การนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้เป็นสื่อกลางในการชำระค่าสินค้าและบริการ (Means of Payment) จะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อประชาชน และส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการเงินและระบบเศรษฐกิจอย่างไร 

คำตอบ

หากมีการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้เป็นสื่อกลางในการชำระค่าสินค้าและบริการในวงกว้าง จะมีความเสี่ยงต่อผู้เกี่ยวข้องในมิติต่าง ๆ ดังนี้ 

(1.)  เสถียรภาพระบบการชำระเงิน 

หากสินทรัพย์ดิจิทัลถูกนำมาใช้เพื่อชำระค่าสินค้าบริการอย่างแพร่หลาย อาจส่งผลต่อการดูแลระบบการชำระเงินให้มีประสิทธิภาพ มั่นคงและปลอดภัย เนื่องจากสินทรัพย์ดิจิทัลส่วนใหญ่ถูกพัฒนาจากเทคโนโลยีสาธารณะแบบกระจายศูนย์ (public blockchain) ทำให้ไม่มีหน่วยงานกำกับดูแลและไม่มีการกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยไว้ หากเกิดปัญหา ผู้ใช้บริการอาจไม่ได้รับความคุ้มครอง นอกจากนี้ ยังทำให้มีระบบการชำระเงินหลายระบบ (fragmentation) และซ้ำซ้อน อาจสร้างความสับสนหรือทำเกิดต้นทุนหากผู้บริโภคต้องใช้หลายระบบ ทำให้ต้นทุนการชำระเงินโดยรวมของประเทศสูงขึ้นและส่งผลต่อเนื่องมายังการพัฒนาเศรษฐกิจการเงินด้วย 

(2.) เสถียรภาพทางการเงิน และความสามารถในการดูแลภาวะการเงินของประเทศ

การเกิดหน่วยวัดมูลค่า (unit of account) หรือหน่วยการตั้งราคาที่นอกเหนือจากสกุลเงินบาท จะเป็นต้นทุนในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประชาชนและธุรกิจ จากการแลกเปลี่ยนไป-มาระหว่างสกุลต่าง ๆ นอกจากนี้ ความต้องการถือครองสกุลเงินบาทที่ลดลง จะลดทอนประสิทธิภาพของการส่งผ่านนโยบายการเงิน ในการดูแลระดับราคาสินค้า รวมถึงลดความสามารถของ ธปท. ในการดูแลให้ภาวะการเงินสอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจในแต่ละช่วงเวลา นอกจากนี้ หากเกิดวิกฤตสภาพคล่องในประเทศ ธปท. จะไม่สามารถเข้าช่วยเหลือด้านสภาพคล่องให้แก่สถาบันการเงินต่าง ๆ ในรูปแบบอื่นๆ ที่ไม่ใช่เงินบาทได้

มุมมองความเสี่ยงข้างต้นสอดคล้องกับมุมมองของผู้กำกับดูแลในหลายประเทศ เช่น อังกฤษ สหภาพยุโรป เกาหลีใต้ และมาเลเซีย โดยที่ผ่านมา มีบางประเทศจำกัดการใช้สินทรัพย์ดิจิทัลในขอบเขตเพื่อการลงทุนเป็นหลัก เช่น อินโดนีเซีย และเวียดนาม ขณะที่หลายประเทศอยู่ระหว่างการพิจารณาการกำกับดูแลที่เหมาะสมเช่นกัน 

(3.) ผู้ใช้หรือรับชำระสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งก็คือประชาชนและผู้ประกอบธุรกิจ 

(3.1) ความเสี่ยงจากความผันผวนของมูลค่าสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งทำให้ยอดใช้จ่ายของผู้ใช้ หรือรายรับของผู้รับชำระมีความไม่แน่นอนสูง แม้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลบางรายมีบริการที่ช่วยแลกสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นเงินบาทก่อนส่งมอบแก่ร้านค้า แต่ยังอาจมีต้นทุนแฝง เช่น ค่าธรรมเนียมในการแปลงสินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อป้องกันความผันผวน ที่อาจเก็บจากผู้ใช้หรือผู้รับชำระได้ 

(3.2) ความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยมีโอกาสที่ผู้ใช้บริการจะถูกโจรกรรมทางไซเบอร์ เกิดการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคล หรือระบบหยุดชะงักทำให้เสียโอกาส 

(3.3) ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามระเบียบและกฎหมาย ด้วยลักษณะของสินทรัพย์ดิจิทัลที่สามารถโอนหรือรับโอนจากกระเป๋าส่วนตัว (private wallet) ที่ผู้ใช้บริการไม่ต้องพิสูจน์ยืนยันตัวตน จึงมีโอกาสที่สินทรัพย์ดิจิทัลจะถูกใช้เพื่อการฟอกเงิน และเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนทางการเงินให้กับการก่อการร้าย รวมถึงการหลีกเลี่ยงการเสียภาษีต่าง ๆ เป็นต้น

2 แนวทางนี้ สะท้อนว่าหน่วยงานภาครัฐไม่สนับสนุนอุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัลหรือไม่

คำตอบ

ประเด็นที่หน่วยงานกำกับดูแลฯ กังวล คือ ความเสี่ยงจากการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้ชำระค่าสินค้าและบริการอย่างแพร่หลายที่กล่าวถึงข้างต้น ขณะที่ระบบชำระเงินปัจจุบันของไทยมีประสิทธิภาพสูงอยู่แล้ว ทำให้การนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้ในการชำระค่าสินค้าและบริการไม่ได้เพิ่มประโยชน์มากนักให้กับประชาชนและภาคธุรกิจ 

อย่างไรก็ดี ธปท. และ ก.ล.ต. รวมถึงหน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ เล็งเห็นประโยชน์ของเทคโนโลยีต่าง ๆ เบื้องหลังสินทรัพย์ดิจิทัล เช่น blockchain และให้ความสำคัญและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีเพื่อต่อยอดนวัตกรรม และไม่ได้ปิดกั้นการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้ในการลงทุน สะท้อนจากการที่ไทยเป็นประเทศแรก ๆ ของโลกที่มีกฎหมายรองรับการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลโดย ก.ล.ต. เพื่อกำกับดูแลการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลให้เหมาะสม และคุ้มครองประโยชน์ของผู้ใช้บริการมาอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ ธปท. เป็นธนาคารกลางแห่งแรก ๆ ที่เริ่มพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (CBDC) เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานเพื่อใช้ต่อยอดนวัตกรรมทางการเงิน และส่งเสริมการพัฒนาบริการทางการเงินใหม่ ๆ เช่น การจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ผ่านเทคโนโลยี blockchain หรือการออกหนังสือค้ำประกันอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้ blockchain เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบการเงินด้วย 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top