'Spark Ignite 2022 - Thailand Startup Competition' เร่งการเติบโตสตาร์ตอัปในไทย ทะยานไกลสู่ระดับสากล

เมื่อ 1 ส.ค. 2565 ที่ผ่านมา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) ร่วมมือกับ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี โดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า (depa) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ หรือ เอ็นไอเอ (NIA) บริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) บริษัท ทัสพาร์ค ดับบลิวเอชเอ และ บริษัท แสนรู้ จำกัด เปิดโครงการการแข่งขัน 'Spark Ignite 2022 - Thailand Startup Competition' ประจำปี พ.ศ. 2565 

งานนี้มีเป้าหมาย เพื่อช่วยสนับสนุนและเร่งยกระดับสตาร์ตอัปไทย สร้างนวัตกรรมชั้นยอดสู่ตลาดโลก ด้วยการเป็นพาร์ตเนอร์สำคัญที่สร้างแรงขับเคลื่อนสำคัญให้แก่กลุ่มสตาร์ตอัปรุ่นใหม่ของไทย เร่งสร้างอีโคซิสเต็มอย่างเต็มรูปแบบเพื่อสตาร์ตอัปไทย ด้วยการสนับสนุนด้านเทคโนโลยีไอซีทีชั้นนำ แหล่งเงินทุน และองค์ความรู้ในการทำธุรกิจจากหัวเว่ย เพื่อส่งเสริมสตาร์ตอัปให้เติบโตและประสบความสำเร็จในระดับโลก ผลักดันประเทศไทยขึ้นเป็นดิจิทัลฮับแห่งอาเซียน

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอีเอส (MDES) ได้กล่าวถึงความร่วมมือในการเปิดการแข่งขัน 'Spark Ignite 2022 - Thailand Startup Competition' ว่า ที่ผ่านมา ประเทศไทยได้เร่งเดินหน้าตามแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งจะเห็นได้ว่าโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลและ Data Economy ของประเทศไทยมีความก้าวหน้าเป็นอย่างมากในด้านสำคัญ ๆ โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานทางด้านโทรคมนาคมเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการส่งเสริมระบบนิเวศดิจิทัลร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ หุ้นส่วนทางอุตสาหกรรม ธุรกิจสตาร์ตอัป ตลอดจนผู้พัฒนาสินค้าและบริการด้านดิจิทัลของไทย สำหรับการสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งสําหรับกลไกขับเคลื่อนสำคัญ เพื่อรองรับอนาคตดิจิทัลของประเทศไทย

"เราได้เห็นความพยายามอย่างต่อเนื่องของหัวเว่ยในการสนับสนุนการเติบโตของระบบนิเวศอย่างรอบด้านผ่านโครงการ Spark และโครงการอื่นอีกมากมาย 

"ในฐานะรัฐบาลเเละกระทรวงดิจิทัลฯ ที่ต้องการส่งเสริมผู้ประกอบการต่าง ๆ ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของเศรษฐกิจดิจิทัลไทย ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการ Spark Ignite 2022 - Thailand Startup Competition จะช่วยเร่งการเติบโตของสตาร์ตอัปในไทยและก้าวสู่ระดับสากลอย่างเข้มแข็ง” รัฐมนตรี ชัยวุฒิ กล่าว