Friday, 10 May 2024
ECONBIZ

โฆษกรัฐบาล ยืนยัน รัฐบาล คงอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่ 7% ต่อ ย้ำชัด ยังไม่คิดปรับเพิ่ม ซ้ำเติมความเดือดร้อนประชาชนช่วงวิกฤติ

นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยืนยันรัฐบาลยังไม่มีแนวคิดในการปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมคงเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจ GDP ปีนี้ที่ร้อยละ 4

ทั้งนี้ ประเทศไทย ได้กำหนดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม ไว้ที่ร้อยละ 10 ตามประมวลรัษฎากร ตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงจากระบบภาษีการค้ามาเป็นระบบภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อปี 2535 แต่ได้มีการบรรเทาลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรีจะออกพระราชกฤษฎีกาลดภาษีมูลค่าเพิ่มเหลือร้อยละ 7 เป็นระยะๆ จะมีเพียงก็แต่เพียงในช่วงวิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 เท่านั้น ที่มีการขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นร้อยละ 10

โดย คณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2563 ให้คงการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 สำหรับการขายสินค้า การให้บริการ หรือการนำเข้าทุกกรณีที่เข้าลักษณะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับรายการที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564 เพื่อช่วยลดภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชน ซึ่งอัตราส่วน 1 ใน 9 ของภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นจะถูกโอนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามกฎหมาย

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรียังได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ในแต่ละประเทศมีอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่แตกต่างกันไป อาทิ อินโดนีเซีย เวียดนาม และญี่ปุ่นจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่อัตราร้อยละ 10 สิงคโปร์จัดเก็บที่ร้อยละ 7 มาเลเซียจัดเก็บที่ร้อยละ 6 ซึ่งไทยมีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่ร้อยละ 7 เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ด้านเศรษฐกิจ ไม่เป็นภาระแก่ประชาชนเกินจำเป็น และช่วยกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจอีกทางหนึ่งด้วย


สนับสนุนข่าวโดย : รับข้อเสนอพิเศษมอเตอร์โชว์ ในงาน Mazda Motor Show สัมผัสปิกอัพใหม่ All-New Mazda BT-50 และยนตรกรรมสกายแอคทีฟจากมาสด้า ดอกเบี้ยต่ำสุด 0%* รับประกันคุณภาพรถสูงสุด 5 ปี* และบัตรเติมน้ำมัน 10,000 บ.* 24 มี.ค. 64 - 4 เม.ย. 64 ที่บูธและโชว์รูมทั่วประเทศ

รมว.อุตสาหกรรม ชี้ เศรษฐกิจฟื้นตัวหลังการผ่อนคลายมาตรการโควิด-19 หลังพบดัชนีอุตสาหกรรมเดือน ก.พ. 2564 หดตัวลงเล็กน้อย 1.08% แต่ส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เปิดเผยว่า การผลิตในอุตสาหกรรมหลักกลับมาขยายตัว อาทิ อุตสาหกรรมรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และอาหาร ส่งผลให้ภาพรวมการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ) และรายการพิเศษ เดือนกุมภาพันธ์ 2564 ขยายตัวร้อยละ 6.94 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่ขยายตัว เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ ผลิตภัณฑ์ยาง (ถุงมือยาง) เม็ดพลาสติกและเคมีภัณฑ์ สอดรับกับตัวเลขการผลิตที่เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน

โดยอุตสาหกรรมรถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.05 เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 และอาหารเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 ตามลำดับ เนื่องจากความเชื่อมั่นในการจัดหาวัคซีนโควิด-19 ให้บริการแก่ประชาชน ประกอบกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ เช่น โครงการคนละครึ่ง ช้อปดีมีคืน บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เราชนะ และโครงการเรารักกัน จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจ และการกระจายรายได้อย่างหมุนเวียน รวมถึงเศรษฐกิจโลก มีแนวโน้มที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องจากความคืบหน้าของการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในหลายประเทศ ทำให้ความเชื่อมั่นในการผลิตและการบริโภคดีขึ้น

ด้านนายทองชัย ชวลิตพิเชฐ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนกุมภาพันธ์ 2564 หดตัวเล็กน้อยอยู่ที่ร้อยละ 1.08 โดยอัตราการใช้กำลังการผลิตเดือน ก.พ.64 อยู่ที่ระดับร้อยละ 65.08 ลดลงจากเดือน ม.ค. 64 อยู่ที่ระดับร้อยละ 66.60 เนื่องจากการระบาดระลอกใหม่ของโควิด-19 ทำให้ภาครัฐออกมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดโดยกำหนดพื้นที่ควบคุม แม้ในเดือนนี้จะมีการผ่อนคลายบางส่วนแล้ว แต่ยังส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและอุปสงค์ในประเทศชะลอตัวลงบ้างเล็กน้อย

นายทองชัย กล่าวต่อว่า เศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมไทยจะมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง เช่น โครงการคนละครึ่ง บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เราชนะ และโครงการเรารักกัน เป็นต้น อีกทั้งการผ่อนคลายมาตรการควบคุมในบางพื้นที่ ทำให้ประชาชนมีความเชื่อมั่น และพร้อมเดินทางท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลวันหยุดยาว ประกอบกับภาครัฐมีนโยบายเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวเร็วกว่าแผนเดิมจากไตรมาส 4 ขยับมาเป็นไตรมาส 3 และมีแผนนำร่องในเดือนเมษายน โดยจังหวัดภูเก็ตเป็นจังหวัดแรก จะส่งผลให้เศรษฐกิจของไทยมีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

อุตสาหกรรมหลักที่ยังคงขยายตัวดีในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่

น้ำตาล ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 19.85 จากปริมาณอ้อยที่เข้าหีบมีมากกว่าปีก่อน 52.77 รวมถึงโรงงานที่ปิดหีบแล้วบางส่วนมีการละลายน้ำตาลดิบเป็นน้ำตาลทรายอย่างต่อเนื่อง

ชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 16.30 จาก ความต้องการชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ยังมีความต้องการต่อเนื่อง

รถยนต์และเครื่องยนต์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.97 จากรถบรรทุกปิคอัพ และเครื่องยนต์ดีเซล ที่มีคำสั่งซื้อทยอยเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รวมทั้ง ผู้ผลิตมีการผลิตรถรุ่นใหม่ ๆ

เม็ดพลาสติก ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 16.43 จากความต้องการที่ขยายตัวในอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่าง ๆ ทั้งบรรจุภัณฑ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและยานยนต์ ประกอบกับปีก่อนมีผู้ผลิตหลายรายหยุดซ่อมบำรุงตามรอบการซ่อมบำรุง

เหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 16.04 การเร่งผลิตเพื่อขายทำกำไรในช่วงที่ยังมีภาวะขาดแคลนสินค้า (Short Supply) และผลิตรองรับความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่าง ๆ รวมทั้งความต้องการจากอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่เพิ่มขึ้น เช่น อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมรถยนต์


สนับสนุนข่าวโดย : รับข้อเสนอพิเศษมอเตอร์โชว์ ในงาน Mazda Motor Show สัมผัสปิกอัพใหม่ All-New Mazda BT-50 และยนตรกรรมสกายแอคทีฟจากมาสด้า ดอกเบี้ยต่ำสุด 0%* รับประกันคุณภาพรถสูงสุด 5 ปี* และบัตรเติมน้ำมัน 10,000 บ.* 24 มี.ค. 64 - 4 เม.ย. 64 ที่บูธและโชว์รูมทั่วประเทศ

กระทรวงอุตสาหกรรม โดย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ‘ดีพร้อม’ (DIPROM) เร่งสนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจใหม่ หรือ สตาร์ทอัพ ให้มีความพร้อมผ่านกิจกรรมเชื่อมโยงตลาดสำหรับวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup Connect)

รุ่นที่ 2 มุ่งเน้นการสนับสนุนเงินทุนเพื่อขยายฐานตลาด และสร้างเครือข่าย ผลักดันการนำนวัตกรรมไปใช้ในเชิงพาณิชย์ ผ่านกลยุทธ์ในการขยายเครือข่ายผู้ประกอบการ ขยายเครือข่ายเงินทุน ขยายเครือข่ายตลาด และขยายเครือข่ายนานาชาติ โดยคัดเลือกผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ 25 ทีม ในกลุ่มอุตสาหกรรมดีพเทค เจรจาธุรกิจเพื่อส่งเสริมการตลาด (Business Matching) กับบริษัทภาคเอกชนที่สนใจร่วมลงทุน (CVC) เพิ่มศักยภาพในการต่อยอดธุรกิจเชิงพาณิชย์ คาดว่าเกิดการร่วมลงทุนคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 500 ล้านบาท

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรม โดย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) เร่งสนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจใหม่ หรือ สตาร์ทอัพ (Startup) ที่ปัจจุบันมีจำนวนกว่า 2,000 ราย ให้มีทักษะทางธุรกิจเพื่อการต่อยอดในเชิงพาณิชย์ ซึ่งพบว่าอุปสรรคของการเติบโตของสตาร์ทอัพ คือ ปัญหาด้านต้นทุนของธุรกิจ ทั้งต้นทุนในเชิงทักษะทางธุรกิจและต้นทุนในเชิงจำนวนเงิน จึงได้จัดกิจกรรมเชื่อมโยงตลาดสำหรับวิสาหกิจเริ่มต้น หรือ Startup Connect

ในประเภทอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูงโดยอาศัยเทคโนโลยีขั้นสูง หรือ อุตสาหกรรมดีพเทค (Deep Technology) สอดคล้องกับแนวนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้เกิดนวัตกรรมเพื่อการขับเคลื่อนการพัฒนาของประเทศ เพื่อให้ผู้ประกอบการได้เข้าถึงแหล่งเงินทุนคุณภาพจากบริษัทเอกชนชั้นนำที่สนใจลงทุน (CVC) ในการต่อยอดธุรกิจ โดยมีจำนวนผู้ประกอบการที่ได้รับการส่งเสริมทักษะและการพัฒนาโมเดลธุรกิจ จำนวน 25 ทีม คาดว่าจะเกิดความร่วมมือทางธุรกิจผ่านการสนับสนุนเงินทุนกว่า 500 ล้านบาท

สำหรับกลยุทธ์ในการส่งเสริมพัฒนาผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ ใช้กลไกการเชื่อมโยงธุรกิจเพื่อส่งเสริมเงินทุนและการตลาด ในการสนับสนุนให้สตาร์ทอัพประสบความสำเร็จ ซึ่งประกอบด้วย 4 แนวทาง ได้แก่ การขยายเครือข่ายสตาร์ทอัพ เพื่อเฟ้นหาสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพ มาบ่มเพาะให้มีความพร้อมในการนำเสนอโมเดลธุรกิจกับนักลงทุน การขยายเครือข่ายเงินทุนโดยการสร้างเครือข่ายกับบริษัทเอกชนที่มีศักยภาพและสนใจร่วมลงทุนกับผู้ประกอบการสตาร์ทอัพที่ได้รับการบ่มเพาะ เพื่อสร้างความมั่นใจในการร่วมดำเนินธุรกิจ การขยายเครือข่ายตลาด

โดยส่งเสริมให้หน่วยงานภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรมหรือเครือข่ายนำโซลูชั่นของสตาร์ทอัพไปใช้งานจริง เพื่อสนับสนุนสตาร์ทอัพและนวัตกรรมของไทยและการขยายเครือข่ายนานาชาติ เพื่อต่อยอดไปยังตลาดที่มีมูลค่าสูงขึ้น รองรับความต้องการจากต่างประเทศ

นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (ดีพร้อม) กล่าวว่า ดีพร้อม ดำเนินกิจกรรมเชื่อมโยงตลาดสำหรับวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup Connect) คัดเลือกผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ 25 ทีม จากจำนวนผู้สมัครเข้าร่วมโครงการกว่า 100 ทีม ดำเนินการบ่มเพาะความรู้ด้านธุรกิจอย่างเข้มข้นจากผู้เชี่ยวชาญ ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม 2564 ที่ผ่านมา และจัดกิจกรรมการจับคู่เจรจาธุรกิจเพื่อส่งเสริมการตลาด (Business Matching) สนับสนุนให้สตาร์ทอัพที่มีศักยภาพมีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนคุณภาพและสามารถต่อยอดธุรกิจในตลาดใหม่ เพิ่มโอกาสในการขยายฐานตลาดไปยังต่างประเทศ

โดย ดีพร้อม มุ่งเน้นคัดเลือกผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ 4 สาขา ที่มีแนวโน้มเติบโตสูงในตลาดโลก ได้แก่ สาขาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (Industrial Tech) สาขาเทคโนโลยีการแพทย์ (Medical Tech) สาขาเทคโนโลยีการเงิน (Fin Tech) และสาขาไลฟ์สไตล์ (Lifestyle Tech) ซึ่งมีนวัตกรรมที่น่าสนใจ อาทิ นวัตกรรมแพลตฟอร์มวินิจฉัยปัญหาและควบคุมระบบปรับอากาศแบบอัจฉริยะที่สามารถประหยัดพลังงานได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 นวัตกรรมระบบเก็บข้อมูลหมายเลขทะเบียนรถยนต์และรถบรรทุกแบบอัตโนมัติผ่านระบบ AI และกล้อง CCTV นวัตกรรมช่องทางการรับชำระเงินที่หลากหลาย (Payment Gateway)

พร้อมระบบจัดเก็บข้อมูลเพื่อการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า (CRM Feature Subscription) นวัตกรรมเครื่องช่วยฝึกเดินสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ช่วยให้ผู้ป่วยมีโอกาสฟื้นตัวได้ดีกว่าวิธีการกายภาพบำบัดและนวัตกรรมระบบบำบัดน้ำเสียที่ใช้จุลินทรีย์สายพันธุ์พิเศษเปลี่ยนน้ำเสียให้เป็นกระแสไฟฟ้า (BioCircuit) เป็นต้น

“นวัตกรรมที่ผ่านการคัดเลือกและบ่มเพาะส่วนใหญ่ อยู่ในรูปแบบแพลตฟอร์ม ที่เกิดขึ้นจากการกำหนดปัญหาเป็นมูลเหตุ ต่อยอดพัฒนาเป็นนวัตกรรม โดยผนวกองค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหา ซึ่งถือเป็นจุดเด่นของ ผู้ประกอบการสตาร์ทอัพไทย โดย ดีพร้อม พร้อมสนับสนุนและส่งเสริมผู้ประกอบการให้มีศักยภาพในการต่อยอดนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ และเป็นตัวกลางเชื่อมโยงสู่แหล่งเงินทุนคุณภาพ เพิ่มอัตราการอยู่รอดของธุรกิจใหม่ และสนับสนุนการคิดค้นนวัตกรรมในอนาคต” นายณัฐพล กล่าวทิ้งท้าย

อย่างไรก็ดี โครงการเชื่อมโยงตลาดสำหรับวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup Connect) ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในภารกิจการส่งเสริม สนับสนุน ผู้ประกอบการให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถในการประกอบการ เป็นกิจกรรมการจับคู่เจรจาธุรกิจเพื่อส่งเสริมการตลาด (Business Matching) ที่จัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ณ The Grounds ชั้น 31 อาคาร G Tower กรุงเทพฯ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โทรศัพท์ 0 2202 4414-18 หรือติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ www.facebook.com/dipindustry และ www.dip.go.th


สนับสนุนข่าวโดย : รับข้อเสนอพิเศษมอเตอร์โชว์ ในงาน Mazda Motor Show สัมผัสปิกอัพใหม่ All-New Mazda BT-50 และยนตรกรรมสกายแอคทีฟจากมาสด้า ดอกเบี้ยต่ำสุด 0%* รับประกันคุณภาพรถสูงสุด 5 ปี* และบัตรเติมน้ำมัน 10,000 บ.* 24 มี.ค. 64 - 4 เม.ย. 64 ที่บูธและโชว์รูมทั่วประเทศ

ข้าราชการได้เฮ!! ธนารักษ์ดีเดย์ เปิดจองคอนโดราคาถูก 12 จังหวัด ผ่านออนไลน์ 1 - 30 เมษายนนี้ ทีเด็ดคอนโดทำเลสุขุมวิทไม่ถึงล้าน

นายยุทธนา หยิมการุณ อธิบดีกรมธนารักษ์ เปิดเผยว่า กรมธนารักษ์เตรียมเปิดให้จองสิทธิเข้าร่วมโครงการสวัสดิการที่พักอาศัยของข้าราชการในที่ราชพัสดุ ประจำปี 64 เพิ่มอีก 12 แปลง ผ่านทางเว็บไซต์กรมธนารักษ์ http://www.treasury.go.th ตั้งแต่วันที่ 1 - 30 เม.ย. 64

โดยมีไฮไลต์เป็นคอนโดมิเนียม ในกรุงเทพมหานคร ย่านถนนสุขุมวิท 1 โครงการ อาคาร สูง 28 ชั้น จำนวน 650 ห้อง ขนาดพื้นที่ห้องพัก ประมาณ 34 ตารางเมตรต่อห้อง ราคาเริ่มต้น ชั้น 4-6 จำนวน 78 ห้อง ราคา 999,999 บาท และหลังจากนั้นราคาจะเพิ่มขึ้นตามความสูงของอาคาร ชั้น 7 - 15 จำนวน 234 ห้อง ราคา 1.25 ล้านบาท ชั้น 16 - 28 จำนวน 338 ห้อง ราคา 1,499,999 บาท

ส่วนอีกจำนวน 11 แปลง ในต่างจังหวัดประกอบด้วยพื้นที่เชียงราย นครนายก อุบลราชธานี อุดรธานี สุราษฎร์ธานี ยะลา ปัตตานี ประจวบคีรีขันธ์ นนทบุรี นครราชสีมา และจันทบุรี โดยเป็นอาคารพักอาศัยรวม สูง 7 ชั้น จำนวน 76 ห้อง ขนาดพื้นที่ห้องพัก 40 ตารางเมตรต่อห้อง ราคาห้องละ 999,999 บาท

นายยุทธนา กล่าวต่อว่า ในปีนี้กรมฯ ได้ขยายสิทธิการจองเข้าร่วมโครงการสวัสดิการที่พักอาศัยของข้าราชการในที่ราชพัสดุให้ข้าราชการ 14 ประเภท และข้าราชการบำนาญ รวมทั้งสามารถจองข้ามเขตสถานที่ทำงานหรือภูมิลำเนาได้ แต่ในการพิจารณาคัดเลือกจะพิจารณาผู้ที่มีสถานที่ทำงานหรือมีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่โครงการฯ ก่อน โดยผู้จองสามารถเลือกจองได้เพียง 1 ห้อง เท่านั้น และต้องไม่เป็นผู้ที่ได้รับสิทธิในโครงการบูรณาการสวัสดิการที่พักอาศัยกับสถานที่ทำงานและศูนย์บริการของข้าราชการพลเรือนสามัญ

สำหรับขั้นตอนในการจองต้องเตรียมเอกสารในการจองสิทธิให้พร้อม อาทิ สำเนาบัตรประชาชน สำเนาบัตรข้าราชการ สำเนาทะเบียนบ้าน สลิปเงินเดือน และเอกสารยินยอมให้ต้นสังกัดหักเงินเดือน ส่วนสิทธิประโยชน์จะได้รับสิทธิการเช่าที่ดินราชพัสดุที่เป็นที่ตั้งโครงการฯ เป็นระยะเวลา 30 ปี และยกเว้นค่าธรรมเนียมการต่ออายุสัญญาเช่า รวมทั้งการนำสิทธิการเช่าไปผูกพันในการกู้เงินกับธนาคารอาคารสงเคราะห์ได้

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/834297


สนับสนุนข่าวโดย : รับข้อเสนอพิเศษมอเตอร์โชว์ ในงาน Mazda Motor Show สัมผัสปิกอัพใหม่ All-New Mazda BT-50 และยนตรกรรมสกายแอคทีฟจากมาสด้า ดอกเบี้ยต่ำสุด 0%* รับประกันคุณภาพรถสูงสุด 5 ปี* และบัตรเติมน้ำมัน 10,000 บ.* 24 มี.ค. 64 - 4 เม.ย. 64 ที่บูธและโชว์รูมทั่วประเทศ

‘คลัง’ เตรียมดันคนละครึ่งเฟส 3 คาดเริ่มใช้ มิ.ย. นี้ มั่นใจเสริมแรงเศรษฐกิจไทยต่อเนื่อง หลังเฟส 1 - 2 ยอดเงินหมุนในประเทศสะพัดแตะหลักแสนล้าน พลาดเป้าเล็กน้อย

น.ส.กุลยา ตันติเตมิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังเตรียมทำคนละครึ่ง เฟส 3 คาดว่าจะเริ่มใช้ได้ในช่วงเดือน มิ.ย. นี้ หลังจากที่มาตรการ ‘เราชนะ’ และ ‘ม33 เรารักกัน’ สิ้นสุดลงในวันที่ 31 พ.ค. 64

ล่าสุดอยู่ระหว่างการออกแบบมาตรการให้มีความเหมาะสม รวมทั้งป้องกันการทุจริต การใช้จ่ายจากมาตรการให้รัดกุมมากขึ้น รวมทั้งพิจารณาออกมาตรการกระตุ้นให้ผู้ที่มีเงินออมนำมาใช้จ่ายกระตุ้นเศรษฐกิจด้วย

ทั้งนี้ในเบื้องต้นกระทรวงการคลัง กำหนดเงื่อนไขว่า สำหรับผู้ที่ใช้จ่ายเงินในมาตรการคนละครึ่ง เฟส 2 ที่จะสิ้นสุดในวันที่ 31 มี.ค.นี้ไม่ทัน วงเงินที่เหลือจะไม่ถูกนำไปรวมกับมาตรการคนละครึ่ง เฟส 3 ได้ ส่วนรายละเอียดอื่น ๆ กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณา

“ในวันที่ 31 มี.ค.64 เป็นวันสุดท้ายที่ผู้ได้สิทธิจากมาตรการคนละครึ่ง ทั้งเฟส 1 และ 2 กว่า 14.8 ล้านคน จะสามารถใช้จ่าย หลังจากนั้นแม้ว่าจะมีเงินเหลืออยู่ในระบบก็จะไม่สามารถใช้จ่ายได้อีก จึงขอให้ผู้ที่ยังใช้จ่ายไม่หมดใช้จ่ายภายในระยะเวลาที่กำหนดเพื่อเป็นการรักษาสิทธิ ซึ่งจากข้อมูลขณะนี้มีผู้ใช้จ่ายครบวงเงิน 3,500 บาท แล้ว 7 ล้านคน และใช้จ่ายเกินกว่า 3,000 บาทแล้ว 13.47 ล้านคน”

สำหรับมาตรการคนละครึ่งในเฟส 1 - 2 มีการเตรียมงบประมาณร่วม 52,250 ล้านบาท ที่ผ่านมามีการใช้จ่าย โดยประชาชนร่วมจ่ายรวม 101,315 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมายที่คาดไว้เล็กน้อยที่ 1.05 แสนล้านบาท โดยคาดว่าเม็ดเงินดังกล่าวจะมีส่วนช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจในปี 64 ขยายตัวต่อเนื่องจากปี 63 โดยเฉลี่ย 2 ปี ที่ 0.4%


สนับสนุนข่าวโดย : รับข้อเสนอพิเศษมอเตอร์โชว์ ในงาน Mazda Motor Show สัมผัสปิกอัพใหม่ All-New Mazda BT-50 และยนตรกรรมสกายแอคทีฟจากมาสด้า ดอกเบี้ยต่ำสุด 0%* รับประกันคุณภาพรถสูงสุด 5 ปี* และบัตรเติมน้ำมัน 10,000 บ.* 24 มี.ค. 64 - 4 เม.ย. 64 ที่บูธและโชว์รูมทั่วประเทศ

“สุพัฒนพงษ์” โต้! รัฐบาลมีเสถียรภาพไม่มีถังแตก ยันไม่ขึ้นภาษีจาก 7% เป็น 10 % เตรียมดันอุตสาหกรรมใหม่ 4 ประเภท เพิ่มรายได้เข้าประเทศ ตั้งเป้าปี 2573 ไทยเลิกใช้รถน้ำมันใช้รถไฟฟ้าแทน

31 มีนาคม 2564 นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวถึง กระแสข่าวว่ารัฐบาลกำลังถังแตกจนต้องมีการขึ้นการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจาก 7 % เป็น 10 % ยืนยันว่า ขณะนี้ไม่มีสัญญาณใดๆว่ารัฐบาลถังแตก เพียงแต่ในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวานนี้มีการรายงานเรื่องความเสี่ยงทางการซึ่งเป็นรายงานประจำปี ที่เป็นครบรอบวาระรายงานเพื่อทราบ ไม่ได้มีสาระสำคัญอะไรที่น่าเป็นห่วง ส่วนเรื่องข้อสังเกตุเรื่องความเสี่ยงถือเป็นเรื่องปกติ เหมือนกับรายงานประจำปีของบริษัทมหาชนทั่วไป ที่ปรากฎถึงความเสี่ยงต่าง ๆ ในเรื่องการใช้เงินในช่วงวิกฤตโควิด-19 และพูดถึงรายได้ในการจัดเก็บภาษีในช่วงที่ผ่านมา 

ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงว่ามีการจัดเก็บรายได้ลดน้อยลง เช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ ซึ่งเชื่อว่าสถานการณ์เศรษฐกิจในปี 2564 จะมีการฟื้นฟู โดยในรายงานมีการประเมินความเสี่ยงที่คิดเป็นตัวเลข 2.47 ถือเป็นระดับความเสี่ยงไม่สูงมาก และในเชื่อว่าในอีก 2 ปี สถานการณ์ความเสี่ยงในเรื่องวิกฤตการเงินการคลังของประเทศไทยจะไม่มีเกิดขึ้น ตนไม่เข้าใจว่ามีความกังวลในเรื่องนี้เกิดขึ้น

นายสุพัฒนพงษ์ กล่าวถึงการปรับขึ้นการจัดเก็บภาษีเป็น 10 % ว่า ยืนยันว่าในระยะเวลา 2 ปี เรื่องขึ้นภาษีในเร็ว ๆ นี้ยังไม่มี ไม่ได้มีการพูด ไม่มีข้อเสนอแนะใด ๆ ทั้งสิ้น เพียงแต่สิ่งที่ ที่ประชุม ครม. เป็นห่วงคือจำนวนประชาชนที่มีอยู่ในระบบภาษียังมีจำนวนน้อย อยากให้กระทวงการคลังไปศึกษาโครงสร้างระบบภาษีให้ประชาชนเข้ามาอยู่ในระบบภาษีมากขึ้นและรู้ว่าจะได้รับสิทธิประโยชน์ ช่วยเหลือประเทศ และเงินเหล่านั้นกลับมาทำประโยชน์อย่างไร ซึ่งตนก็ยังแปลกใจที่มีข่าวเรื่องขึ้นภาษีและรัฐบาลถังแตกออกมาซึ่งไม่มีสัญญาณใด ๆ ทั้งสิ้น 

ขณะเดียวกัน นายสุพัฒนพงษ์ กล่าวถึง ในการหาเงินเข้าประเทศไทยจะต้องมีการปรับตัว อุตสากรรมใหม่ 4 ประเภทที่จะเป็นโอกาสเชิญชวนนักลงทุนมาลงทุนในประเทศ และจะทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวจากการรับนักท่องเที่ยว ได้แก่

1.) อุตสาหกรรมยานยนต์ที่จะทำให้จีดีพีของประเทศเพิ่มขึ้น โดยจะเป็นอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าแทนรถน้ำมัน โดยตั้งเป้าในปี 2573 - 2578 ตั้งเป้าประเทศจะเลิกใช้รถประเภทน้ำมันโดยจะใช้รถไฟฟ้าแทน

2.) อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่จะปรับเปลี่ยนเป็นอิเล็กทรอนิกส์อัฉริยะ

3.) เมดิคอลฮับ ที่ไทยเก่งในเรื่องการรักษาพยาบาลแต่ยังไม่สามารถผลิตยาได้ จึงต้องทำให้เป็นศูนย์กลาง

4.) อุตสาหกรรมดิจิตอล ที่ไทยเพิ่งเริ่มโดยจะต้องเชิญชวนนักลงทุนเข้ามาลงทุน

“จุรินทร์” จัดทัพลุยจีน เน้นไห่หนานเป็นสะพานเชื่อมเศรษฐกิจ หลังจีนฟื้นตัวจากโควิด "สั่งงาน" พาณิชย์ จับมือ สมาคมการค้าไทย - ไห่หนาน เดินหน้า เศรษฐกิจมีแนวโน้มสดใสต่อเนื่อง

31 มีนาคม 2564 กระทรวงพาณิชย์โดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ร่วมกับสมาคมการค้าไทย-ไห่หนาน จัดกิจกรรมการบุกตลาดจีน “พาณิชย์บุกตลาดจีน เชื่อมโยงตลาดศักยภาพ (ไทย - ไห่หนาน)” ภายใต้โครงการผลักดันการค้าระหว่างประเทศพันธมิตร (Strategic Partnership) ในตลาดจีน โดยมีนายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน เพื่อเร่งผลักดันการส่งออกไปตลาดจีน เน้นธุรกิจอาหารและบริการ หลังเศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มสดใส ฟื้นตัวจากโควิด หวังใช้ มินิเอฟทีเอ (Mini - FTA) เชื่อมจีนรายมณฑล 

งานนี้มีนายสมเด็จ สุสมบูรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ นายณรงค์ศักดิ์ พุทธพรมงคล ประธานกรรมการหอการค้าไทย-จีน นายนที เมฆรุ่งโรจน์ นายกสมาคมใหหนำแห่งประเทศไทย นายวรพจน์ เพียรอภิธรรม นายกสมาคมการค้าไทยไหหลำและคณะผู้บริหารกระทรวงพาณิชย์ เข้าร่วมทีห้องสัมมนา 4 (Auditorium) สถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (ถนนรัชดาภิเษก)พร้อมสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ โดยเฉพาะที่ประจำประเทศจีนและพาณิชย์จังหวัดเป้าหมายเข้าร่วม ผ่านระบบออนไลน์

นายจุรินทร์ เปิดงานและกล่าวปาฐกถา หัวข้อ “นโยบายการค้าสู่ตลาดจีน ในยุค New Normal” ในงานกิจกรรมการบุกตลาดจีนฯ “พาณิชย์บุกตลาดจีน เช่ือมโยงตลาดศักยภาพ (ไทย - ไห่หนาน) หลังจากนั้นนายจุรินทร์ กล่าวว่าสำหรับมินิเอฟทีเอระหว่างไทยกับมณฑลไห่หนานหรือไหหลำของจีน มีการดำเนินการตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของการตรวจสอบรายละเอียดระหว่างไทยกับจีน ฝ่ายไทยนั้นเสร็จสิ้นแล้วรอฝ่ายจีนซึ่งต้องมีกระบวนการตรวจสอบรายละเอียดในระดับประเทศและระดับมณฑลคาดว่าปลายเดือนเมษายนนี้ จะมีการลงนามได้ ถือเป็นประวัติศาสตร์ทางการค้าหรือประเทศที่เรามีมินิเอฟทีเอเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกคาดว่าจะมีส่วนช่วยเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างไทยกับไหหลำมากขึ้น 

ปีที่ผ่านมามีมูลค่าการค้าไทยส่งออกไปไหหลำประมาณ 7,000 ล้านบาท เชื่อว่าตัวเลขจะมากขึ้นเพราะไหหลำจะได้รับการพัฒนาเป็นฟรีพอร์ต เป็นฮ่องกง 2 ถือเป็นโอกาสดีที่สุดและเรามองเห็นตั้งแต่ท่านสีจิ้นผิง ประกาศนโยบายแล้ว เราถึงเข้าไปทำมินิเอฟทีเอด้วยกัน และได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชนทั้งสมาคมการค้าไทยไหหลำก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีมูลค่าการค้าปีที่แล้วระหว่างไทยกับจีน บวก 4.4% คาดว่าปี 64 จะมากกว่านั้นเพราะเศรษฐกิจจีนถือว่าฟื้นตัวเร็วที่สุดในโลกและไทยมีความสำคัญทางการค้าที่ดีกับจีนถือเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของไทยต่อเนื่องติดต่อกันเป็นปีที่ 8 แล้ว

" นอกจากไทย - ไห่หนานแล้วจะยังมีมินิเอฟทีเอ ไทยกับรัฐเตลังกานาของอินเดีย รัฐนี้เป็นรัฐที่จะมีการพัฒนาไปเป็นเมืองเฟอร์นิเจอร์ มีเฟอร์นิเจอร์ปาร์ค เกิดขึ้นที่ไฮเดอราบัด เป็นโอกาสทองของการส่งออกไม้ยางไทยที่จะนำไปทำเฟอร์นิเจอร์หรือส่งออกไปทำเป็นเฟอร์นิเจอร์สำเร็จรูป และจะทำกับเมืองไทฟูของญี่ปุ่นที่เป็นเมืองอัญมณี หวังว่าจะช่วยให้การส่งอัญมณีเครื่องประดับของไทยไปยังประเทศญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น และเมืองคย็องกีของเกาหลี ซึ่งมีกลุ่มชาวเอเชียอยู่จำนวนมากหวังว่าจะช่วยเพิ่มตัวเลขการส่งออกอาหารด้วย เชื่อว่าปีนี้น่าจะจบได้ทั้งหมด ผมคิดว่าเอฟทีเอในภาพรวมอย่างเดียวไม่พอ เราต้องลงลึกในระดับมณฑลในระดับรัฐต่อรัฐ โดยเฉพาะในประเทศที่มีรัฐขนาดใหญ่ โดยตั้งเป้าหมายไว้ที่ 3.5 - 4% และมีความเป็นได้เป็นไปได้ที่จะถึงเป้าหรือเกินเป้าถ้าเศรษฐกิจฟื้นตัวเร็วและวัคซีนกระจายไปได้เร็วทั้งโลกในภาพรวม" รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าว

​รายงานข่าว กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ระบุด้วยว่า ในช่วงเวลาที่ผ่านมา กระทรวงพาณิชย์ได้เร่งรัดการสร้างความสัมพันธ์ทุกรูปแบบ โดยเฉพาะการเจรจารายมณฑล/รัฐ/เมือง กับประเทศพันธมิตรที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูง ทั้งอินเดีย ญี่ปุ่น และเกาหลี ที่มีแผนความร่วมมือด้านการค้าระหว่างกัน รวมถึงการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมด้านเศรษฐกิจและการค้าเพื่อขยายการค้า การลงทุน และความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างไทยกับสหราชอาณาจักร (Joint Economic and Trade Committee : JETCO) ​จีนในฐานะประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 2 ของโลก และเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของไทยมาตลอด 8 ปี นับตั้งแต่ปี 2556 (ค.ศ. 2013)  ประกอบกับนโยบายการพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจและสังคมของจีนที่จะเสริมสร้างศักยภาพให้แต่ละมณฑลมีความแข็งแกร่ง โดยใช้ประโยชน์จากข้อได้เปรียบของแต่ละมณฑล โดยเฉพาะในเชิงภูมิศาสตร์

​ไห่หนาน เป็นมณฑลที่เล็กที่สุด ที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของจีน ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์เชื่อมต่อเขตเศรษฐกิจอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า (Greater Bay Area : GBA) และเชื่อมโยงมายังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปจนถึงภูมิภาคตามเส้นทางเศรษฐกิจสายไหมทางทะเล (Maritime Silk Road) ปัจจุบัน ไห่หนานได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลปักกิ่งในการพัฒนาให้ก้าวสู่เขตการค้าเสรีระดับโลกในปี 2593 ความร่วมมือที่จะเกิดขึ้นระหว่างไทยกับมณฑลไห่หนานจะเป็นโอกาสในการสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจของทั้งสองฝ่าย

ด้วยศักยภาพและความสำคัญของมณฑลไห่หนาน การเร่งสร้างความร่วมมือทางการค้าในเวทีระดับมณฑลระหว่างกระทรวงพาณิชย์กับมณฑลไห่หนานจึงเป็นอีกหนึ่งกลไกสำคัญของรัฐในการส่งเสริมโอกาสแก่ผู้ประกอบการไทยในการดำเนินธุรกิจกับจีนผ่านมณฑลไห่หนาน ควบคู่กับการใช้ความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นในเชิงชาติพันธุ์ของภาคเอกชน สำหรับโอกาสของสินค้าไทยที่มีศักยภาพในตลาดไห่หนาน ได้แก่ สินค้าเกษตร / เกษตรแปรรูป ผลิตภัณฑ์ยางพารา อาหารสำเร็จรูป ของใช้ตกแต่งบ้าน สินค้าเพื่อสุขภาพและความงาม ตลอดจนธุรกิจบริการด้านการเงิน เป็นต้น

การค้าระหว่างไทย – จีน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 18.21 ของการค้าระหว่างประเทศของไทย โดยปี 2563 ไทย – จีนมีมูลค่าการค้ารวมกว่า 2.5 ล้านล้านบาท (79,606 ล้านเหรียญสหรัฐ) ไทยส่งออกไปยังจีนมูลค่า 9.2 แสนล้านบาท (29,530 ล้านเหรียญสหรัฐ) สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ เม็ดพลาสติก ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องคอมพิวเตอร์ และเคมีภัณฑ์ ในขณะที่ไทยนำเข้าจากจีนมีมูลค่ามากถึง 1.5 ล้านล้านบาท (49,852 ล้านเหรียญสหรัฐ) สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน เคมีภัณฑ์ และเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ

นายกฯ หารือเอกอัครราชทูตรัฐสุลต่านโอมานฯ กระชับความร่วมมือด้านสาธารณสุข และการค้า การลงทุน

เมื่อวันที่ 31 มีนาคม ที่ห้องสีงาช้าง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นายอิสซา อับดุลเลาะฮ์ ญาบิร อัลอาลาวี (H.E. Mr. Issa Abdullah Jaber Al-Alawi) เอกอัครราชทูตรัฐสุลต่านโอมานประจำประเทศไทย เข้าเยี่ยมคารวะ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในโอกาสเข้ารับตำแหน่ง

นายกรัฐมนตรี กล่าวต้อนรับและยินดีที่ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศมีความใกล้ชิด ครบรอบการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต 40 ปี เมื่อปี 2563 พร้อมเชื่อมั่นว่าเอกอัครราชทูตฯ จะสามารถสืบสานและส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ ตลอดจนผลักดันให้เกิดความร่วมมือในสาขาที่ไทยกับโอมานมีผลประโยชน์ร่วมกัน ทั้งความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว ด้านยางพารา ด้านอาหารฮาลาล ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และด้านสาธารณสุข โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรียังยินดีที่ทราบว่า เอกอัครราชทูตฯ มีประสบการณ์การทำงานด้านสาธารณสุขจึงหวังว่าจะเป็นโอกาสแลกเปลี่ยนความร่วมมือทางด้านสาธารณสุขให้ใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น 

ด้านเอกอัครราชทูตรัฐสุลต่านโอมานฯ กล่าวว่า ยินดีและเป็นเกียรติที่ได้ดำรงตำแหน่งในประเทศไทย พร้อมยืนยันที่จะสานต่อความสัมพันธ์และความร่วมมือที่ไทยและโอมานมีร่วมกันในทุกมิติ ทั้งนี้ ไทยและโอมานเป็นมิตรประเทศที่ความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น ความร่วมมือของทั้งสองฝ่ายมีพลวัต และครอบคลุมในทุกด้าน ซึ่งเอกอัครราชทูตฯ หวังว่าไทยและโอมานจะใช้ประโยชน์จากความตกลงที่มีร่วมกันนำไปสู่การลงมือปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งความตกลงทางด้านสาธารณสุข ซึ่งทั้งสองฝ่ายสามารถใช้ประโยชน์ โดยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และแนวทางการปฏิบัติร่วมกันในการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 

ทั้งสองฝ่าย หารือถึงความร่วมมือทางเศรษฐกิจต่างเห็นพ้องว่า ไทยและโอมานต่างเป็นพันธมิตรด้านการค้าและการลงทุนที่สำคัญของกันและกัน จึงควรใช้ความสัมพันธ์อันดีนี้ ผลักดันความร่วมมือด้านเศรษฐกิจให้เกิดผลเป็นรูปธรรมและเพิ่มมูลค่าการค้า และการลงทุนระหว่างกัน โดยใช้ประโยชน์จากศักยภาพของทำเลที่ตั้งทางภูมิรัฐศาสตร์ของไทยและโอมาน ซึ่งมีชายฝั่งติดกับอ่าวอาหรับและมหาสมุทรอินเดีย เป็นช่องทางให้ทั้งสองประเทศสามารถเข้าถึงตลาดที่กว้างมากขึ้น ในโอกาสนี้นายกรัฐมนตรีได้เชิญชวนให้โอมานเข้ามาลงทุนในสาขาต่าง ๆ ที่มีความสนใจ ทั้งทางด้านเกษตรกรรมประมง 

รวมถึงการลงทุนในโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) ด้านเอกอัครราชทูตฯ ยินดีส่งเสริมให้นักลงทุนโอมานเข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้นเช่นกัน พร้อมกันนี้ได้หารือเรื่องการจัดตั้งตลาดที่รวบรวมผลิตภัณฑ์ของไทยในโอมาน เนื่องจากชาวโอมานจำนวนมากชื่นชอบผลิตภัณฑ์ของไทย และจะเป็นช่องทางเพิ่มมูลค่าทางการค้าระหว่างทั้งสองฝ่ายให้มากยิ่งขึ้น สำหรับความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว ทั้งสองฝ่ายยินดีที่ไทยเป็นเป้าหมายที่สำคัญของชาวโอมานในเรื่องการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่าไทยกำลังพิจารณาปรับลดจำนวนวันในการกักตัวจากเดิม 14 วัน เหลือ 10 วัน และผ่อนคลายมาตรการเข้าประเทศสำหรับบุคคลที่ได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว จึงพร้อมสนับสนุนให้นักท่องเที่ยวชาวโอมานเดินทางกลับเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยอีกครั้ง ด้านเอกอัครราชทูตฯ ยินดีกระชับความร่ววมือทางด้านการท่องเที่ยวกับไทยเพิ่มมากขึ้นในอนาคต

ซีพี ออลล์ ผุดปั๊มชาร์จไฟฟ้า 100 แห่งในสาขาร้าน 7-ELEVEN เสริมแรงแนวคิด Green Building ตามแนวทางนโยบาย 7 Go Greenในปี 64

นายยุทธศักดิ์ ภูมิสุรกุล กรรมการผู้จัดการ (ร่วม) บมจ.ซีพี ออลล์ เปิดเผยว่า บริษัทมีแผนผลักดันการติดตั้งโครงการสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าข้างร้านสะดวกซื้อ7-ELEVEN ให้ได้ถึง 100 สาขาภายในปีนี้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Green Building ตามแนวทางนโยบาย ‘7 Go Green’

โดยแนวทางดำเนินงานด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมภายใต้นโยบาย 7 Go Green ของปี 64 นี้ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ Green Building, Green Store, Green Logistic และ Green Living เพื่อลดและชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปีนี้รวม 128,426 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tC02e) หรือเปรียบเทียบการปลูกต้นไม้ยืนต้นจำนวน 347,648 ต้น จากปีก่อนสามารถลดและชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวม 120,031 ตัน หรือเทียบกับการปลูกต้นไม้ยืนต้นจำนวน 332,681 ต้น

Green Building เป็นการออกแบบและบริหารจัดการร้านอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จะมุ่งเน้นการจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ครอบคลุมการปรับปรุงระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ในร้าน 7-ELEVEN ภายใต้กลยุทธ์ร้านเพื่อสิ่งแวดล้อม เช่น ปรับปรุงประสิทธิภาพคอยล์เย็นสำหรับตู้แช่เย็นขนาดใหญ่, ใช้เครื่องปรับอากาศประเภท Inverter, ใช้หลอดไฟ LED, สำรวจและติดตามสภาพอากาศภายในร้านฯ, ผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์, ปรับปรุงระบบทำความเย็นของตู้แสดงสินค้าชนิดไร้บานประตูเป็นแบบรวมศูนย์, Knockdown Store นำวัสดุเปลือกอาคารกลับมาใช้ใหม่ ขยายการติดตั้งปีละ 200 สาขา

นายยุทธศักดิ์ กล่าวว่า CPALL ตั้งเป้าเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานทดแทนได้ 82,987,000 กิโลวัตต์ชั่วโมง (kWh) ลดการปล่อยก๊าชเรือนกระจกได้ 40,248 ตัน คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tC02e) หรือเปรียบเทียงการปลูกไม่ยืนตันจำนวน 111,554 ต้น

Green Store เป็นโครงการด้านการจัดการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม หวังลดปริมาณขยะพลาสติกผ่านแนวคิด “ลด และ ทดแทน” โดยพิจารณาตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบและการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์คำนึงถึงทุกกระบวนการในวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ การหาวัสดุจากแหล่งทรัพยากรที่สามารถทดแทนได้ และสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ (Reusable) หรือนำมาใช้ใหม่ (Recyclable) หรือสามารถย่อยสลายได้ (Compostable)

ได้แก่ การจัดการบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง โดยได้เริ่มใช้ฝายกดื่มไม่พึ่งหลอด ตั้งแต่เดือน เม.ย.63 ในร้าน AI Cafe จำนวน 8,492 สาขาทั่วประเทศ และใช้แก้วรักษ์โลก หรือ กระดาษที่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ สำหรับเครื่องดื่มร้อน -เย็น ในร้าน7-ELEVEN ทั่วประเทศ เริ่มใช้ตั้งแต่ปี ธ.ค.62 ปัจจุบันใช้แก้วรักษ์โลกในร้านสาขาพื้นที่เกาะ สถานศึกษา และ สำนักงาน รวมกว่า 874 สาขา

โครงการการลดใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้ง (Single-use Plastic) โดยการลดการใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้งและใช้วัสดุที่มาจากธรรมชาติทดแทน ได้แก่ ไม้คนกาแฟ ถุงกระดาษ และ กระดาษหุ้มหลอด เป็นตัน, การขับเคลื่อนโครงการ 7 Go Green ในพื้นที่เกาะที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวทั่วประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรณรงค์พื้นที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ รณรงค์ให้ผู้บริโภคและนักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมและมีความรับผิดชอบต่อธรรมชาติ นำไปสู่การสร้างพฤติกรรมใหม่ให้เกิดแนวคิดท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์, โครงการเสื้อพนักงานที่ผลิตจากขวดพลาสติกรีไซเคิล โดยการนำขวดพลาสติกมารีไซเคิลเป็นเสื้อ และโครงการใบเสร็จรับเงิน / ใบกำกับภาษีเต็มรูป แบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อรณรงค์ในการลดใช้กระดาษ เป็นตัน

อย่างไรก็ตาม ในปี 64 CPALL ตั้งเป้าการลดปริมาณการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกจำนวน 10,813 ตัน, ลดการปล่อยก๊าชเรือนกระจก 80,921 ตันคาร์บอนไดออกไชด์เทียบเท่า (tc02e) หรือเปรียบเทียบการปลูกไม้ยืนต้น จำนวน 224,283 ต้น

Green Logistic CPALL ได้ดำเนินงานด้านการขนส่งและการกระจายสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นการจัดการพลังงานผ่านโครงการต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการขนส่งและออกแบบศูนย์กระจายสินค้าทั่วประเทศ เพื่อลดการปล่อยก๊ซเรือนกระจก ภายใต้กลยุทธ์ ‘โลจิสติกส์เพื่อสิ่งแวดล้อม’

CPALL ได้นำหลักเกณฑ์สำหรับการประเมินอาคารสีเขียว (Leadership in Energy & Environmental Design: LEED) เป็นหลักเกณฑ์ที่ใช้การพัฒนาและออกแบบศูนย์กระจายสินค้าทั่วประเทศ ปัจจุบันมีทั้งหมด 20 แห่งใน 12 จังหวัดทั่วประเทศ และได้ติดตั้งแผง Solar Cell เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ทั่วประเทศ อีกก็อยู่ระหว่างศึกษาพัฒนารถขนส่งไฟฟ้า ร่วมกับพันธมิตรเพื่อนำมาใช้ขนส่งสินค้าให้กับร้าน7-ELEVEN เพื่อลดการใช้พลังงาน และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จากปัจจุบันมีรถขนส่งรวมทั้งสิ้น 7,000 คัน และมีการขนส่ง 2 เที่ยวต่อวัน

โดยในปี 64 CPALL ตั้งเป้าเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานทดแทนได้ 8,786,280 กิโลวัตต์ ชั่วโมง (kWh), ลดการปล่อยก๊าชเรือนกระจกได้ 4,261 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tc02e) หรือเปรียบเทียบการปลูกไม้ยืนต้นจำนวน 11,810 ต้น

Green Living CPALL ได้สานต่อโครงการ ‘ลดและทดแทน’ ภายใต้แนวคิด ‘ปลูกจิตสำนึกเพื่อสิ่งแวดล้อม’ โดยการรณรงค์และเชิญชวนลดการใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้ง โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อป้องกันผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม และคำนึงถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืนบนแนวคิดหลัก เศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy โดยล่าสุดจัดให้มีโครงการ ‘ถังคัดแยกขยะ’ เพื่อรณรงค์ให้คนไทยช่วยกันคัดแยกขยะพลาสติก เพื่อนำขยะพลาสติกเข้าสู่กระบวนการ แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy อย่างยั่งยืน

สำหรับในส่วนของการขยายปั๊มชาร์จรถไฟฟ้าในสาขา 7-ELEVENนั้น หากพิจารณาจากจำนวนสาขาในไทยที่มีอยู่มากกว่า 12,000 สาขา ดูเป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างมากหากซีพี ออลล์ คิดทำให้สถานีชาร์จรถไฟฟ้าเข้าไปอยู่ในสาขาอื่นๆ ที่มีพื้นที่รองรับได้พอสัก 10-20% รวมถึงหากใช้โมเดลธุรกิจค้าปลีกของเครือซีพี ก็ยังมี ‘แม็คโคร’ และ ‘โลตัส’ เสริมอีกทาง ก็น่าจะทำให้ตลาดรถยนต์ไฟฟ้าเมืองไทยเติบโตได้อีกไม่น้อย

ที่มา: https://www.infoquest.co.th/2021/74406


สนับสนุนข่าวโดย : รับข้อเสนอพิเศษมอเตอร์โชว์ ในงาน Mazda Motor Show สัมผัสปิกอัพใหม่ All-New Mazda BT-50 และยนตรกรรมสกายแอคทีฟจากมาสด้า ดอกเบี้ยต่ำสุด 0%* รับประกันคุณภาพรถสูงสุด 5 ปี* และบัตรเติมน้ำมัน 10,000 บ.* 24 มี.ค. 64 - 4 เม.ย. 64 ที่บูธและโชว์รูมทั่วประเทศ

สิทธิ ‘คนละครึ่ง’ ใครยังเหลือ รีบใช้ผ่านแอป ‘เป๋าตัง’ ด่วน ก่อนหมดระยะเวลา ภายในวันนี้ 31 มีนาคม 2564 รอลุ้นเฟส 3 หลังสิ้นสุดมาตรการรัฐเดือน พ.ค.64

จากที่รัฐบาลได้ดำเนินโครงการ ‘คนละครึ่ง’ มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจระดับฐานราก โดยภาครัฐจะร่วมจ่ายค่าอาหาร เครื่องดื่ม และสินค้าทั่วไป ร้อยละ 50 แต่ไม่เกิน 150 บาทต่อคนต่อวัน หรือไม่เกิน 3,500 บาทต่อคน ตลอดระยะเวลาโครงการ ซึ่งดำเนินโครงการมาแล้ว 2 เฟส

ทั้งนี้ ผู้ได้รับสิทธิ์โครงการคนละครึ่งจะสามารถใช้จ่ายได้จนถึงวันนี้ (31 มีนาคม 2564) เวลา 06.00 - 23.00 น. ซึ่งเป็นวันสิ้นสุดโครงการ จึงขอเชิญชวนให้ประชาชนที่ยังมีวงเงินเหลือรักษาสิทธิ์ของท่านโดยการเร่งใช้จ่ายให้ครบ 3,500 บาท ภายในกำหนด 

อย่างไรก็ตาม ทางรัฐบาล มีแผนที่จะสานต่อโครงการคนละครึ่งเฟส 3 เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ และแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายให้กับประชาชนต่อไป คาดว่าโครงการดังกล่าวจะออกได้หลังจากโครงการเราชนะ และโครงการ ม.33 เรารักกัน สิ้นสุดช่วงเดือนพฤษภาคมนี้


สนับสนุนข่าวโดย : รับข้อเสนอพิเศษมอเตอร์โชว์ ในงาน Mazda Motor Show สัมผัสปิกอัพใหม่ All-New Mazda BT-50 และยนตรกรรมสกายแอคทีฟจากมาสด้า ดอกเบี้ยต่ำสุด 0%* รับประกันคุณภาพรถสูงสุด 5 ปี* และบัตรเติมน้ำมัน 10,000 บ.* 24 มี.ค. 64 - 4 เม.ย. 64 ที่บูธและโชว์รูมทั่วประเทศ

เปิดราคา “รถยนต์ไฟฟ้า” ในงานมอเตอร์โชว์ 2021 ส่องแบรนด์ไหนใช่ ไทยพร้อมแค่ไหน | BizMAX EP.32

จากเนื้อหา “เมื่อ Eco-Friendly กลายเป็นกระแสหลักของโลก

 

Link เนื้อหา : https://thestatestimes.com/post/2021032807

 

จากเนื้อหาพูดถึงข้อดีของรถยนต์ EV หากจำแนกออกมานั้นมีความน่าสนใจหลายเรื่อง เริ่มต้นจากความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริงเพราะใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อนจาก Battery ไปสู่ Motor เมื่อพลังงานหมดก็สามารถชาร์ทใหม่ได้ ไม่จำเป็นต้องมาสนใจกับความผันผวนของราคาน้ำมัน เพราะค่าไฟฟ้านั้นค่อนข้างคงที่ รถยนต์ EV ก็มีข้อสังเกตอีกพอสมควรว่ามันเหมาะที่จะใช้ในชีวิตประจำวันจริงหรือ ? เริ่มต้นด้วยราคาของรถ EV ที่ยังค่อนข้างสูงหากเทียบกับรถที่ใช้ทั่วไปจำนวนเท่าไหร่ วันนี้มาร่วมหาคำตอบกันกับ หยก THE STATES TIMES

.

.

.


สนับสนุนโดย : รับข้อเสนอพิเศษมอเตอร์โชว์ ในงาน Mazda Motor Show สัมผัสปิกอัพใหม่ All-New Mazda BT-50 และยนตรกรรมสกายแอคทีฟจากมาสด้า ดอกเบี้ยต่ำสุด 0%* รับประกันคุณภาพรถสูงสุด 5 ปี* และบัตรเติมน้ำมัน 10,000 บ.* 24 มี.ค. 64 - 4 เม.ย. 64 ที่บูธและโชว์รูมทั่วประเทศ

ครม.เคาะงบ 2,936 ล้าน ดันประกันภัยข้าวนาปี

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมครม. เห็นชอบโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 64 พื้นที่ประกันภัย รวม 46 ล้านไร่ ภายใต้วงเงิน 2,936 ล้านบาท โดยให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ทดลองจ่ายเงินอุดหนุนค่าเบี้ยประกันแทนรัฐบาลและเบิกเงินชดเชยตามจำนวนที่จ่ายจริง ซึ่งการดำเนินงานส่วนใหญ่มีลักษณะเดียวกันกับปี 63 โดยปรับอัตราเบี้ยประกันภัยสำหรับลูกค้าสินเชื่อ ธ.ก.ส. ลดลง 1 บาท จาก 97 บาท/ไร่ เหลือ 96 บาท/ไร่ และปรับอัตราเบี้ยประกันภัยสำหรับลูกค้า ธ.ก.ส.ที่ซื้อประกันภัยเพิ่มและอยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่ำ ลดลง 3 บาท จาก 58 บาท/ไร่ เหลือ 55 บาท/ไร่ มีพื้นที่เป้าหมายประกันภัย รวม 46 ล้านไร่

สำหรับอัตราค่าเบี้ยประกันภัย กำหนดให้ กรณีค่าเบี้ยประกันภัยพื้นฐานกลุ่มแรก กำหนดตามความเสี่ยงจริงของเกษตรกร รวม 45 ล้านไร่ แบ่งเป็น ลูกค้า ธ.ก.ส. ทุกราย ค่าเบี้ยประกันภัย 96 บาทต่อไร่ รวม 28 ล้านไร่ โดยรัฐบาลเป็นผู้อุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัยให้ 58 บาทต่อไร่ และ ธกส. อุดหนนุนให้ 38 บาทต่อไร่ เกษตรกรทั่วไป และลูกค้าสินเชื่อ ธ.ก.ส. ที่ซื้อเพิ่ม ค่าเบี้ยประกันภัยในพื้นที่เสี่ยงต่ำ 55 บาทต่อไร่ พื้นที่เสี่ยงปานกลาง 210 บาทต่อไร่ และพื้นที่เสี่ยงสูง 230 บาทต่อไร่ รวม 17 ล้านไร่ รัฐบาลเป็นผู้อุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัยให้ 55 บาทต่อไร่ โดยคุ้มครองความเสี่ยงจาก 7 ภัยธรรมชาติ ไร่ละ 1,260 บาท คือ น้ำท่วมหรือ ฝนตกหนัก ภัยแล้ง ฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วง ลมพายุหรือพายุไต้ฝุ่น ภัยอากาศหนาว หรือน้ำค้างแข็งลูกเห็บ ไฟไหม้ ช้างป่า และภัยศัตรูพืชหรือโรคระบาดไร่ละ 630 บาท

ส่วนค่าเบี้ยประกันภัยแบบสมัครใจกลุ่ม 2 กำหนดตามความเสี่ยงจริงของเกษตรกร จำนวน 1 ล้านไร่ ซึ่งเกษตรกรจะต้องเป็นผู้ชำระเอง แบ่งเป็นพื้นที่เสี่ยงต่ำ 24 บาทต่อไร่ พื้นที่เสี่ยงปานกลาง 48 บาทต่อไร่ และพื้นที่เสี่ยงสูง 101 บาทต่อไร่ โดยคุ้มครองความเสี่ยงจาก 7 ภัยธรรมชาติ ไร่ละ 240 บาท และภัยศัตรูพืชหรือโรคระบาดไร่ละ 120 บาท

รมว.สุชาติ เผย ม33เรารักกัน โอนเงินงวดสองแล้ววันนี้ ผ่านมา 1 สัปดาห์กระตุ้นเศรษฐกิจใช้จ่ายสะสมกว่า 4,603 ล้านบาท

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เผย ม33เรารักกัน ได้มีการโอนเงินงวดสอง ผ่านแอพพลิเคชั่น 'เป๋าตัง' แล้วอีกจำนวน 1,000 บาท โดยภาพรวมการใช้จ่าย ม33เรารักกัน วันที่ 22 -28 มีนาคม 2564 ใช้จ่ายสะสมแล้วจำนวน 4,603,989,005.52 บาท สำหรับกลุ่มทบทวนสิทธิและไม่มีสมาร์ทโฟน ครบกำหนดลงทะเบียนเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2564 มีผู้ลงทะเบียนรวมจำนวนทั้งสิ้น 742,017 คน 

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการม33เรารักกันว่า ตามที่รัฐบาล ภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และกระทรวงแรงงานภายใต้การกำกับดูแลของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสำคัญในการช่วยเหลือเยียวยาแบ่งเบาภาระค่าครองชีพของผู้ประกันตนมาตรา 33 ให้ได้รับสิทธิคนละ 4,000 บาท ซึ่งขณะนี้ได้มีการโอนเงินงวดที่ 2 จำนวน 1,000 บาท ผ่านแอพพลิเคชั่น ‘เป๋าตัง’ ให้แก่ผู้ประกันตนที่มีสิทธิในโครงการ ม33เรารักกัน แล้ว โดยเหลืออีก 2 งวด คือ งวดที่ 3 จะโอนในวันที่ 5 เมษายน 2564 และงวดที่ 4 โอนในวันที่ 12 เมษายน 2564 ภาพรวมการใช้จ่ายตามนโยบายรัฐบาล โครงการ ม33เรารักกัน ผลปรากฏว่า วันที่ 22 – 28 มีนาคม 2564 มียอดใช้จ่ายสะสม จำนวน 4,603,989,005.52 บาท

นายสุชาติ กล่าวต่อว่า สำหรับกลุ่มทบทวนสิทธิและกลุ่มไม่มีสมาร์ทโฟน ในโครงการ ม33เรารักกัน 
ซึ่งครบกำหนดลงทะเบียนเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2564 พบว่า กลุ่มทบทวนสิทธิผ่านเว็บไซต์ www.ม33เรารักกัน.com มีจำนวน 709,190 คน กลุ่มที่ไม่มีสมาร์ทโฟน ได้มาลงทะเบียนที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานคร/จังหวัด/สาขา ทุกแห่งทั่วประเทศ มีผู้ลงทะเบียนสำเร็จสะสมแล้ว จำนวน 32,827 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 742,017 คน ซึ่งจะประกาศผลยื่นทบทวนสิทธิในวันที่ 5 เมษายน 2564 โดยกลุ่มทบทวนสิทธิผ่านเว็บไซต์ สามารถตรวจสอบผลได้เว็บไซต์ www.ม33เรารักกัน.com และจะโอนเงินเข้าแอพพลิเคชั่น ‘เป๋าตัง’ให้กับกลุ่มดังกล่าว จำนวน 4,000 บาท ในวันที่ 12 เมษายน 2564 ส่วนกลุ่มไม่มีสมาร์ทโฟนนั้น สำนักงานประกันสังคมจะแจ้งผลและวิธีรับเงินให้ทราบต่อไป 

“ทั้งนี้ โครงการนี้จะสิ้นสุดในวันที่ 31 พฤษภาคม 2564 จึงขอเน้นย้ำให้ผู้ประกันตนใช้จ่ายเงินภายในวันดังกล่าว และแจ้งเตือนไปยังผู้ได้รับสิทธิอย่าทำผิดหลักเกณฑ์เงื่อนไขโครงการ อย่าหลงเชื่อผู้ให้ผลประโยชน์เป็นเงินสด โดยไม่มีการซื้อสินค้าอย่างถูกต้อง ร้านค้าต้องไม่ฉวยโอกาสขึ้นราคาสินค้าและต้องแสดงตั้งป้ายราคาสินค้าให้ชัดเจน หากพบจะแจ้งให้กรมการค้าภายในดำเนินการตามกฎหมายอย่างถึงที่สุด" รมว.แรงงาน กล่าวในท้ายสุด

คลัง ชี้! เศรษฐกิจไทยมีสัญญาณฟื้นตัวต่อเนื่อง

นายวุฒิพงศ์ จิตตั้งสกุล ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะรองโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในเดือนกุมภาพันธ์นี้ มีสัญญาณดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป หลังการลงทุนภาคเอกชนและการส่งออกที่ไม่รวมทองคำกลับมาฟื้นตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน จากยอดขายสินค้าเกษตรและอาหาร การส่งออกอาหารสัตว์เลี้ยง สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่บ้าน (Work from Home) ทั้ง โทรศัพท์และอุปกรณ์ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน และเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน  อาทิ ตู้เย็นและตู้แช่แข็ง เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และสินค้าที่เกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อและลดการแพร่ระบาด เช่น เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ และถุงมือยาง ที่ยังคงมีคำสั่งซื้ออย่างต่อเนื่อง

ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือนมา จากมาตรการของรัฐ โดยอยู่ที่ระดับ 49.4 จากระดับ 47.8 ในเดือนก่อน มีสาเหตุมาจากไวรัสโควิด -19  ระลอกใหม่ เริ่มคลี่คลายลง และการฉีดวัคซีนโควิดภายในประเทศเริ่มกระจายหลายพื้นที่มากขึ้น ส่วนการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร มีปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนกลับมาขยายตัว 18.6% ต่อปี เช่นเดียวกับภาคการก่อสร้างปรับตัวดีขึ้น โดยยอดขายปูนซีเมนต์ขยายตัว 0.9% ต่อปี เพราะความคืบหน้าของการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ และภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ กลับมาขยายตัว 2.9% ต่อปี

ส่วนยังมีสินค้าที่เริ่มกลับมาฟื้นตัว คือ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ และเม็ดพลาสติก โดยการส่งออกทองคำและสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมันยังคงลดลง นอกจากนี้ในด้านการท่องเที่ยว พบว่า ในเดือนก.พ.มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติประเภทพิเศษ (Special Tourist Visa: STV) รวมถึงนักท่องเที่ยวกลุ่มสิทธิพิเศษ (Thailand Privilege Card) และนักธุรกิจจำนวน 5,741 คน โดยส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวจากสหรัฐอเมริกา เยอรมนี สหราชอาณาจักร และจีน

ด่วน! เรือ Ever Given เริ่มขยับแล้ว หลังเจ้าหน้าที่ระดมช่วยให้หลุดเกยตื้นในคลองสุเอซตลอด 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา พบขณะนี้มีเรือสินค้ากว่า 450 ลำ รอสัญจร

บริษัทอินช์เคป (Inchcape) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการทางทะเล ได้ประกาศผ่านทางทวิตเตอร์ว่า เรือ Ever Given ซึ่งเป็นเรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ที่เกยตื้นจนกีดขวางเส้นทางสัญจรในคลองสุเอซ ขณะนี้กลับมาลอยได้อีกครั้งแล้ว และกำลังได้รับการช่วยกู้เพิ่มเติมโดยทีมเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน

อินช์เคปเปิดเผยผ่านทวิตเตอร์ว่า “เรือ Ever Given ได้รับการกู้จนกลับมาลอยอีกครั้งได้สำเร็จ ณ เวลา 04.30 น.ของวันที่ 29 มี.ค. 2564 ขณะนี้กำลังมีการช่วยกู้อย่างต่อเนื่อง และจะประกาศข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องแผนดำเนินการขั้นต่อไปเมื่อทราบแน่นอนแล้ว”

อินช์เคป ระบุว่า ทีมเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการภารกิจกู้เรือครั้งนี้ได้สำเร็จโดยใช้เวลาเกือบ 1 สัปดาห์หลังจากเรือขนส่งสินค้าขนาดยักษ์ดังกล่าวประสบเหตุเกยตื้นจนกีดขวางเส้นทางสัญจรในคลองสุเอซ ซึ่งเป็นหนึ่งในเส้นทางการค้าที่สำคัญที่สุดในโลก

โดยความสำเร็จในครั้งนี้ เกิดขึ้นหลังทีมปฏิบัติการขุดลอกคลองได้ขุดทรายออกมาแล้ว 2.7 หมื่นลูกบาศก์เมตรจากการขุดสองฝั่งของคลองสุเอซเข้าไปเป็นระยะทางลึก

อย่างไรก็ดี ถึงแม้เรือ Ever Given จะกลับมาลอยได้อีกครั้ง แต่ก็ยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่าคลองสุเอซจะสามารถเปิดเส้นทางให้สัญจรได้อีกครั้งเมื่อใด หรือจะต้องใช้เวลานานเท่าใดในการจัดการลำเลียงเรือจำนวนกว่า 450 ลำที่ยังคงติดค้าง รอสัญจร หรืออยู่ระหว่างการเดินทางมายังคลองสุเอซในขณะนี้

.

ที่มา : https://www.infoquest.co.th/2021/73997


สนับสนุนข่าวโดย : รับข้อเสนอพิเศษมอเตอร์โชว์ ในงาน Mazda Motor Show สัมผัสปิกอัพใหม่ All-New Mazda BT-50 และยนตรกรรมสกายแอคทีฟจากมาสด้า ดอกเบี้ยต่ำสุด 0%* รับประกันคุณภาพรถสูงสุด 5 ปี* และบัตรเติมน้ำมัน 10,000 บ.* 24 มี.ค. 64 - 4 เม.ย. 64 ที่บูธและโชว์รูมทั่วประเทศ


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top