Monday, 20 May 2024
ECONBIZ

‘อลงกรณ์’ เร่งพัฒนาเกลือทะเลทั้งระบบ ยกระดับมาตรฐานเกลือทะเลภายใต้ ‘5ยุทธศาสตร์เฉลิมชัย’

‘อลงกรณ์’ เร่งพัฒนาเกลือทะเลทั้งระบบ ยกระดับมาตรฐานเกลือทะเลภายใต้ ‘5ยุทธศาสตร์เฉลิมชัย’ ผนึก ‘อพท.’ เดินหน้าโครงการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ‘เกลือเม็ดสุดท้าย ทรายเม็ดแรก’ เส้นทาง ‘คลองโคน-บ้านแหลม-ชะอำ’ 100 กิโลเมตร พร้อมจับมือ ‘พาณิชย์’ ช่วยพัฒนาผู้ประกอบการและแก้ปัญหาการตลาด เตรียมประกาศขึ้นทะเบียนผู้นำเข้าเกลือนอกเดือนหน้า

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาเกลือทะเลไทย (Salt Board) เปิดเผยว่า ว่าการประชุมบอร์ดเกลือ เมื่อวันที่ 22 เมษายน 64 ที่ผ่านมาได้พิจารณาวาระสำคัญหลายวาระด้วยกันได้แก่

1.) ความก้าวหน้าการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ทำนาเกลือทะเล

2.) สถิติการนำเข้าเกลือ

3.) การสร้างมาตรฐานเกลือทะเล

4.) เกณฑ์การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ สำหรับเกษตรกรผู้ทำนาเกลือ

5.) งานวิจัยด้านเกลือทะเล

6.) การขอขยายระยะเวลาชำระหนี้กองทุนสงเคราะห์เกษตรกรของสหกรณ์นาเกลือ

7.) การกระจายผลผลิตเกลือทะเล

8.) การส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่นาเกลือ

9.) การส่งเสริมการแปรรูปเกลือทะเล

10.) การตรวจเยี่ยมเยือนหน่วยงานภาคีภายใต้คณะกรรมการฯ ณ กระทรวงพาณิชย์ เพื่อติดตามความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาเกลือทะเลค้างสต็อกจากฤดูกาลผลิต2562/2563 และการแก้ไขปัญหาราคาเกลือตกต่ำ

11.) การขึ้นทะเบียนผู้นำเข้าเกลือจากต่างประเทศ และ ร่างกฎหมายว่าด้วยการนำเข้าเกลือ

12.) แผนการพัฒนายกระดับผู้ประกอบการด้านเกลือทะเล

“การยกระดับมาตรฐานเกลือทะเลมีความก้าวหน้าอย่างจากโดยสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ได้จัดทำ (ร่าง) คู่มือการปฏิบัติงาน Standard Operating Procedure (SOP) การตรวจรับรองแหล่งผลิต GAP นาเกลือทะเล และเกลือทะเลธรรมชาติเสร็จสิ้นแล้ว และจัดอบรมให้แก่เกษตรกรผู้ทำนาเกลือทั้ง 7 จังหวัด จำนวน 262 คน โครงการนำร่องพัฒนาแปลงนาเกลือต้นแบบซึ่งได้คัดเลือกเกษตรกรต้นแบบเป็นที่เรียบร้อย พร้อมจัดฝึกอบรมที่ปรึกษาเกษตรกร และผู้ตรวจประเมินตามมาตรฐานเกลือทะเล ครบทั้งระบบโดยคาดกรมวิชาการ กรมประมงและกรมปศุสัตว์จะออกประกาศกรมแล้วเสร็จในสิ้นเดือนเมษายนนี้ ขณะที่กรมส่งเสริมการเกษตรได้เตรียมความพร้อมเปิดรับการขึ้นทะเบียนเรียบร้อยแล้ว”

ทั้งนี้ตามข้อมูล ณ เดือนเมษายน 2564 มีเกษตรกรผู้ทำนาเกลือขึ้นทะเบียนในระบบจำนวน 650 ครัวเรือน 1,150 แปลง เนื้อที่ 25,707.88 ไร่

สำหรับเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ อยู่ระหว่างปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินช่วยเหลือร่วมกับกรมบัญชีกลาง ในขณะที่งานวิจัยด้านเกลือโดยสถาบันเกลือทะเลไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ซึ่งเป็นศูนย์AIC เพชรบุรีได้รับการอนุมัติงบประมาณแล้ว 2 โครงการจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติพร้อมดำเนินการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาลดสิ่งปนเปื้อนในเกลือและการลดความชื้นในเกลือเพื่อพัฒนาคุณภาพของผลผลิตและผลิตภัณฑ์เกลือ

ด้านการขอขยายระยะเวลาชำระหนี้กองทุนสงเคราะห์เกษตรกรของสหกรณ์นาเหลือนั้นคณะอนุกรรมการกองทุนฯ ได้มีมติเห็นชอบขยายระยะเวลาการชำระหนี้ และงดเว้นค่าปรับ โครงการสร้างระบบการผลิตและการตลาดเกลือทะเลของสถาบันเกษตรกร ด้วยวิธีการยกระดับราคาให้ยั่งยืนเป็นระยะเวลา 2 ปี โดยกรมส่งเสริมสหกรณ์จัดทำรายละเอียดแผนการชำระเงินคืน งบกระแสเงินสด (cash flow) เพื่อเสนอให้คณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรพิจารณาต่อไป

ที่ประชุมยังรับทราบรายงานขององค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) ซึ่งได้นำเสนอรายงานการพัฒนาและบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลภาคตะวันตก (Thailand Riviera) เรียบชายฝั่งทะเลจากจังหวัดสมุทรสงครามถึงอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ในการพัฒนาพื้นที่นาเกลือเป็นแหล่งท่องเที่ยวตามแผนโครงการพัฒนาการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษเพื่อความยั่งยืนบนเส้นทางสายเกลือ (Salt Road) งบประมาณกว่า 615 ล้านบาท ซึ่งจะมีการพัฒนาพื้นที่ตามเส้นทางตั้งแต่ถนนพระราม 2 ที่คลองโคนผ่านบ้านแหลมท่ายางถึงชะอำระยะทาง 100 กิโลเมตรเป็นเส้นทางสาย ‘Salt Road’ เช่นพิพิธภัณฑ์เกลือที่บ้านแหลม จุดชมวิวที่สะพานบางตะบูน จุดเช็คอินที่ปากทะเล บางแก้วและแหลมผักเบี้ยภายใต้คอนเซ็ปท์ เกลือเม็ดสุดท้าย ทรายเม็ดแรก ยิ่งกว่านั้นการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยก็พร้อมให้การสนับสนุนกิจกรรมท่องเที่ยวและการโปรโมทโดยจะมีการประชุมร่วมกับที่ อพท. และจะเชิญสำนักงานเศรษฐกิจสร้างสรรค์แห่งชาติและมหาวิทยาลัยศิลปากรร่วมในการพัฒนาแบบแปลนเชิงอัตลักษณ์ในเดือนหน้า”

นอกจากนี้ที่ประชุมยังรับทราบความก้าวหน้าการส่งเสริมการแปรรูปเกลือทะเล ได้มีกิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีในการผลิต แปรรูปสินค้า พร้อมทั้งหลักการคำนวณต้นทุนการผลิต กิจกรรมการทดสอบตลาดจำนวน 2 ครั้ง พร้อมทั้งสรุปผลการทดสอบตลาด และกิจกรรมการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่า ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

สำหรับการแก้ปัญหาราคาเกลือทะเลตกต่ำ และปัญหาผลผลิตเกลือทะเลค้างสต็อก ใน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเพชรบุรี สมุทรสาคร และจังหวัดสมุทรสงคราม มีปริมาณเกลือคงค้างฤดูการผลิต ปี 2562/63 ปริมาณ 212,608 ตัน และ ปี 2563/64 ปริมาณ 197,000 ตัน โดยกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ได้เสนอแผน ได้แก่

1.) การกระจายและเชื่อมโยงสินค้าเกลือทะเลไปยังอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง

2.) การกระจายเกลือขาวและดอกเกลือเพื่อจำหน่ายในร้านธงฟ้า

3.) เสนอให้จัดทำโครงการกระจายเกลือทะเลค้างสต็อก ผ่านทางคณะกรรมการบริหารกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร (คบท.)ใช้งบประมาณของกองทุน แนวทางเดียวกับสินค้าเกษตรอื่นๆโดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้กรมส่งเสริมการเกษตรเป็นหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการ

สำหรับ ร่างกฎหมายว่าด้วยการขึ้นทะเบียนผู้นำเข้าเกลือจากต่างประเทศ ขณะนี้กรมการค้าต่างประเทศกระทรวงพาณิชย์ ได้ส่งร่างดังกล่าวให้คณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติพิจารณา โดยให้รับความคิดเห็นของกระทรวงอุตสาหกรรม และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา พิจารณาดำเนินการต่อไป

ทางด้านการพัฒนาผู้ประกอบการด้านเกลือทะเล กรมพัฒนาธุรกิจการค้ามีหลักสูตรเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการได้แก่ หลักสูตรการบริหารจัดการด้านการตลาด จำนวน 7 หลักสูตร ได้แก่ (1.) การเริ่มต้นธุรกิจ (2.) การเงินบัญชี (3.) วิชาบัญชี (4.) การตลาด E-Commerce (5.) การพัฒนากลยุทธ์การตลาด E – Commerce (6.) การพัฒนาธุรกิจใน AEC (7.) การพัฒนาระบบบริหารจัดการธุรกิจโลจิสติกส์ สมัครได้ที่ http://dbdacademy.dbd.go.th/

2.) หลักสูตรการพัฒนาทักษะทางดิจิทัล จำนวน 2 หลักสูตร ได้แก่ (1.) หลักสูตรร้านค้าออนไลน์ (E-Commerce) (2.) หลักสูตรการพัฒนาหน้าร้านสู่โลกออนไลน์ (Digitize Storefront) ผู้สนใจสามารถสมัครได้ที่ https://saphandigital.moc.go.th/ ภายในวันที่ 30 เมษายน 2564

“นับเป็นครั้งแรกที่มีการพัฒนาเกลือทะเลทั้งระบบครบวงจรตั้งแต่การวิจัยพัฒนา การผลิต การแปรรูป การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การสร้างแบรนด์และการตลาดผสมผสานการค้าสินค้าและบริการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงเกษตรภายใต้5ยุทธศาสตร์ของดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และโมเดล” เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาดซึ่งเป็นความร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์และทุกภาคีภาคส่วนแบบบูรณาการใกล้ชิด” นายอลงกรณ์กล่าวในที่สุด


สนับสนุนข่าวโดย : แหล่งรวม "บทความและคอนเทนต์แปลกใหม่!!!" แบบไร้ Toxic ติดตามได้ที่ THE STATES TIMES Blockdit

คลิก : https://www.blockdit.com/pages/60583e7ff90e240c3e7f1c32

ททท. สรุปยอดคนเที่ยวสงกรานต์ต่ำกว่าเป้า

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยสถานการณ์ท่องเที่ยวภายในประเทศช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2564 ซึ่งเป็นวันหยุดยาวต่อเนื่อง 6 วัน ระหว่างวันที่ 10 - 15 เม.ย.64 พบว่า บรรยากาศซบเซาลงไปมากเมื่อเทียบกับปีปกติก่อนเกิดวิกฤตไวรัสโควิด-19 เนื่องจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดไวรัสโควิด -19 จากกลุ่มคลัสเตอร์ สถานบันเทิงย่านทองหล่อ เมื่อต้นเดือนเม.ย.64 ส่งผลให้จำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยลดลง เหลือเพียง 2.68 ล้านคน - ครั้ง ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ถึง 16% 

ทั้งนี้เป็นไปในทิศทางเดียวกับข้อมูลการเดินทางของประชาชนในช่วงวันหยุดเทศกาลสงกรานต์ปี 2564 ของกระทรวงคมนาคมที่มีผู้ใช้บริการด้วยระบบขนส่งสาธารณะต่ำกว่าประมาณการ 39.36% มีปริมาณการจราจรเข้า-ออกกรุงเทพฯ ต่ำกว่าประมาณการ 25.68% ส่วนใหญ่เป็นรถยนต์ส่วนบุคคลคิดเป็น 95.25% ของปริมาณการเข้าออกกรุงเทพฯ ขณะที่การใช้จ่ายน้อยลงตามสภาพเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัว โดยมีรายได้หมุนเวียนทางการท่องเที่ยวประมาณ 9,670 ล้านบาท ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ถึง 19% และมีอัตราการเข้าพักเฉลี่ยทั้งประเทศเพียง 25%

อินเตอร์ลิ้งค์​ ทดสอบระบบ 'APM' รถไฟฟ้าไร้คนขับ 'รับ-ส่ง' คนในสุวรรณภูมิ พร้อมใช้ เม.ย. 65 รันยาวตลอด 24 ชั่วโมง

วันนี้ (22 เมษายน 2564) ที่อาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (Satellite 1 : SAT-1) ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ นายสมบัติ อนันตรัมพร ประธานกรรมการ บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ILINK ได้เปิดเผยว่า หลังจากที่ ILINK ได้ชนะการประกวดราคางานจัดซื้อพร้อมติดตั้งระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (Automated People Mover : APM) ภายใต้ความร่วมมือของคณะนิติบุคคลร่วมทำงานไออาร์ทีวี (IRTV) และบริษัท ซีเมนส์ โมบิลิตี้ จำกัด ในการจัดหารถไฟฟ้าไร้คนขับ (APM) ยี่ห้อ SIEMENS รุ่น Airval สำหรับ “โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะที่ 2” นั้น

ล่าสุดรถไฟฟ้าไร้คนขับ (APM) ได้ถูกส่งมอบให้แก่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. แล้ว จำนวน 4 ขบวน และจะทยอยส่งมอบรถไฟฟ้า APM จนครบทั้ง 6 ขบวนภายในสิ้นปีนี้

ปัจจุบันรถไฟฟ้าไร้คนขับที่จะนำมาให้บริการภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิทั้ง 4 ขบวน ได้ทดสอบวิ่งบนรางในอุโมงค์ใต้ดินระหว่างอาคารผู้โดยสารหลักกับอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (Satellite 1 : SAT-1) ระยะทางวิ่ง 1 กิโลเมตร โดยผู้เชี่ยวชาญจากบริษัท ซีเมนส์ โมบิลิตี้ จำกัด ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2563 ที่ผ่านมา และผ่านการตรวจสอบความปลอดภัยจากบริษัทผู้ผลิต SIEMENS เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ภาพรวมของโครงการรถไฟฟ้าไร้คนขับ APM คืบหน้ากว่า 80% ไม่พบปัญหาในการทดสอบระบบ สามารถเดินรถได้ตามมาตรฐาน หลังจากนี้จะเป็นการทดสอบระบบควบคุมการเดินรถอัตโนมัติ (Automatic Train Control : ATC) เพื่อให้มีความเสถียร แม่นยำ และตรงต่อเวลา คาดว่าจะพร้อมเปิดให้บริการประชาชนภายในเดือนเมษายน ปี 2565 ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่ใช้ระบบรถไฟขับเคลื่อนแบบไร้คนขับ รับ-ส่งผู้โดยสารในสนามบินสุวรรณภูมิ

สำหรับรถไฟฟ้าไร้คนขับ (APM) รับ-ส่งผู้โดยสารระหว่างสถานีอาคารผู้โดยสารหลัก กับ อาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (SAT-1) มี 2 สถานี ระยะทางวิ่ง 1 กิโลเมตร วิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้เวลา 2 นาทีต่อเที่ยว วิ่งบริการทุก ๆ 3 นาที ตลอด 24 ชั่วโมง รองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 3,590 คนต่อชั่วโมง ส่วนชั่วโมงเร่งด่วนสามารถรองรับผู้โดยสารได้ถึง 5,960 คนต่อชั่วโมง

โดยรูปแบบรถเป็นระบบอัตโนมัติ (Automatic Train Control : ATC) เป็นระบบการควบคุมการขับเคลื่อนอยู่ที่ศูนย์กลางผ่านห้องปฏิบัติการ OCC (Operation Control Center) พร้อมด้วยระบบอาณัติสัญญาณ Communication Based Train Control system (CBTC) แบบ Moving Block ระบบรางวิ่งเป็นแบบ central rail-guided APM ช่วยให้รถไฟฟ้าเดินทางไปมาในทิศทางที่กำหนดได้อย่างแม่นยำ ซึ่งเป็นการทำงานแบบไร้คนขับโดยสมบูรณ์

“ขณะนี้งานระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ APM มีความคืบหน้าไปกว่า 80% อินเตอร์ลิ้งค์ฯ มุ่งมั่นที่จะพัฒนาทดสอบการเดินระบบรถไฟฟ้าไร้คนขับอย่างต่อเนื่อง เพื่อความเสถียร ปลอดภัย แม่นยำ ตรงต่อเวลา เพื่อส่งมอบรถไฟฟ้าไร้คนขับที่ทันสมัยและดีที่สุดแก่ผู้ใช้บริการ เรามีความภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ดั่งวิสัยทัศน์ของอินเตอร์ลิ้งค์ฯ ที่ต้องการนำเทคโนโลยีมาพัฒนาประเทศไทย” นายสมบัติกล่าวทิ้งท้าย


สนับสนุนข่าวโดย : แหล่งรวม "บทความและคอนเทนต์แปลกใหม่!!!" แบบไร้ Toxic ติดตามได้ที่ THE STATES TIMES Blockdit

คลิก : https://www.blockdit.com/pages/60583e7ff90e240c3e7f1c32

หอหารค้าฯ ชี้โควิดรอบ 3 ฉุดเงินในระบบศก.หาย 3 แสนล.

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ เปิดเผยว่า ศูนย์ฯ ประเมินผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด -19 ระลอกใหม่ทำให้อัตราการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจลดหายไปกว่า 200,000-300,000 ล้านบาท ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยในปีนี้ จะเติบโตได้เพียง 1.2-1.6% ลดลงจากเป้าหมายเดิม ที่ประเมินเอาไว้ว่า หากไม่มีการระบาดโควิด-19 เศรษฐกิจไทยจะเติบโตได้ถึง 2.8% อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า ตัวเลขนี้ยังไม่ใช่การปรับประมาณการทั้งปีของหอการค้าไทย เพราะเป็นตัวเลขการประเมินผลกระทบของการระบาดระลอกใหม่เท่านั้น
 
ทั้งนี้ ได้มีข้อเสนอแนะถึงภาครัฐให้เร่งแก้ไขปัญหา บริการจัดการ และควบคุมการแพร่ระบาดให้อยู่ โดยร่วมมือทุกฝ่าย ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนจะต้องเดินหน้าแก้ไขไปด้วยกัน โดยเฉพาะเร่งหาและฉีดวัคซีนร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงต้องฟื้นฟูเศรษฐกิจโดยรวม และสร้างความเชื่อมั่นให้กับภาคเอกชนและคนในสังคมให้มีความชัดเจน พร้อมทั้งพยายามเปิดประเทศให้เร็วที่สุด 

นอกจากนี้ภาคธุรกิจต้องการให้รัฐบาลรีบดำเนินการหรือช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากโควิด โดยเฉพาะภาคการเงินจะต้องเร่งเสริมสภาพคล่องการเข้าถึงแหล่งเงินทุน การพักชำระหนี้ในกลุ่มภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ พร้อมทั้งเร่งกระตุ้นภาคธุรกิจการท่องเที่ยวในประเทศ ผ่านโครงการต่าง ๆของรัฐที่ออกมาอย่างต่อเนื่องอีกด้วย

'ดร.สามารถ' ติงข้อเสนอคมนาคม ชง กทม.เก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว 50 บาท สร้างกำไรถึง 380,200 ล้านบาท ได้จริงหรือ?

'ดร.สามารถ' ติงข้อเสนอคมนาคม ชง กทม.เก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว 50 บาท สร้างกำไรถึง 380,200 ล้านบาท ได้จริงหรือ? พร้อมวิเคราะห์เจาะลึกสูตรคำนวณ พบจากที่มองเห็นเป็นกำไร อาจขาดทุนถึง 7.4 หมื่นล้าน อีกทั้งยังเสี่ยงถูก ‘บีทีเอส’ ฟ้องผิดสัญญา

ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ - Dr.Samart Ratchapolsitte ถึงข้อเสนอของกระทรวงคมนาคม ในการกำหนดค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวสูงสุด 50 บาท และจะได้กำไรถึง 380,200 ล้านบาท โดยระบุว่า

คมนาคมชงค่าโดยสาร รถไฟฟ้าสายสีเขียว 50 บาท ฟุ้งกำไร 3.8 แสนล้าน! จริงหรือราคาคุย?

เมื่อไม่นานมานี้กระทรวงคมนาคมเสนอแนะค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวสูงสุด 50 บาท คุยว่าจะได้กำไรถึง 380,200 ล้านบาท ถ้าได้กำไรจริงก็น่าสน แต่จะได้กำไรหรือจะขาดทุนต้องอ่านบทความนี้

เป็นข้อเสนอของกระทรวงคมนาคมที่น่าติดตาม โดยอ้างว่าถ้า กทม. จ้างเอกชนให้เดินรถตั้งแต่ปี 2573-2602 เก็บค่าโดยสารสูงสุด 50 บาท ให้ กทม.รับภาระหนี้เองทั้งหมด จะทำให้ กทม. มีกำไรถึง 380,200 ล้านบาท ดีกว่าขยายเวลาสัมปทานให้บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส เป็นเวลา 30 ปี ตั้งแต่ปี 2573-2602 โดยมีเงื่อนไขให้บีทีเอสเก็บค่าโดยสารสูงสุดไม่เกิน 65 บาท และแบ่งรายได้ให้ กทม.ไม่น้อยกว่า 2 แสนล้านบาท

ด้วยเหตุนี้ ผมจึงวิเคราะห์เจาะลึกถึงวิธีการคิดกำไรของกระทรวงคมนาคม ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

1.) รายรับ

กระทรวงคมนาคมคิดรายรับได้ 714,000 ล้านบาท ซึ่งคลาดเคลื่อนเพราะไม่ได้คิดรายรับในช่วงปี 2564-2572 ด้วย หากคิด จะได้รายรับประมาณ 1,047,000 ล้านบาท โดยให้ผู้โดยสารเพิ่มปีละ 2% รายรับนี้ได้หักค่าชดเชยกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนทางรางบีทีเอสโกรท (BTSGIF) ประมาณ 17,000 ล้านบาท ออกไปแล้ว

2.) รายจ่าย

(2.1) หนี้

กระทรวงคมนาคมคิดหนี้ที่ กทม. จะต้องจ่ายถึงปี 2572 ได้ 76,000 ล้านบาท ไม่ได้คิดหนี้ในช่วงปี 2573-2602 และไม่ได้คิดหนี้ครบทุกรายการ ถ้าคิดหนี้ให้ถูกต้องตั้งแต่ปี 2564-2602 จะได้หนี้รวมประมาณ 121,000 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วยหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยงานโยธา 90,650 ล้านบาท หนี้เงินต้นและดอกเบี้ยงานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล 20,768 ล้านบาท และหนี้ค่าจ้างเดินรถค้างจ่าย 9,602 ล้านบาท

(2.2) ปันผล

กระทรวงคมนาคมเสนอแนะให้จัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานรถไฟฟ้าสายสีเขียว และระดมทุนจากผู้ร่วมลงทุนมาจ่ายหนี้ ผู้ร่วมลงทุนจะได้เงินปันผลปีละ 5% ทุกปี ในช่วงปี 2573-2585 รวมเป็นเงิน 9,800 ล้านบาท แต่ในความเป็นจริงจะไม่สามารถจ่ายเงินปันผลได้ เพราะเป็นกองทุนที่ขาดทุน คงยากที่จะมีผู้สนใจมาร่วมลงทุน จึงไม่สามารถจัดตั้งกองทุนฯ ได้

(2.3) ค่าจ้างเดินรถ

กระทรวงคมนาคมคิดค่าจ้างเดินรถเฉพาะส่วนต่อขยายในช่วงปี 2573-2602 ได้ 248,000 ล้านบาท ซึ่งคลาดเคลื่อนเพราะ

- ไม่ได้คิดค่าจ้างส่วนต่อขยายในช่วงปี 2564-2572

- ไม่ได้คิดค่าจ้างส่วนหลักซึ่งประกอบด้วยช่วงหมอชิต-อ่อนนุช และช่วงสนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน ในช่วงปี 2573-2602

หากคิดให้ครบถ้วน จะได้ค่าจ้างรวมทั้งหมดประมาณ 841,000 ล้านบาท

(2.4) ค่าซ่อมบำรุงรักษาใหญ่

กระทรวงคมนาคมไม่ได้คิดค่าซ่อมบำรุงรักษาใหญ่ในช่วงปี 2573-2602 เช่น ค่าเปลี่ยนขบวนรถไฟฟ้าและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งใช้งานมานานหลายปี หากคิดจะต้องใช้เงินประมาณ 93,000 ล้านบาท

3.) การคิดกำไรหรือขาดทุน

กระทรวงคมนาคมคิดกำไรได้ถึง 380,200 ล้านบาท ซึ่งเป็นวิธีคิดที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากใช้รายรับ (ในข้อ1) ลบด้วยรายจ่าย (ในข้อ2.1-2.4) โดยไม่ได้แปลงให้เป็นมูลค่าในปีปัจจุบัน (Present Value) หรือปี 2564 ก่อน ทำให้ได้ผลลัพธ์ที่มีกำไรถึง 380,200 ล้านบาท ซึ่งไม่ถูกต้อง หากคิดรายรับและรายจ่ายให้ถูกต้อง พร้อมทั้งแปลงให้เป็นมูลค่าในปี 2564 จะพบว่า กทม. จะขาดทุนถึงประมาณ 74,000 ล้านบาท

ดังนั้น หากลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหลือ 25 บาท ตามที่สภาองค์กรของผู้บริโภคเสนอแนะ โดยไม่ได้ระบุว่าเป็นค่าโดยสารราคาเดียวตลอดสายหรือค่าโดยสารสูงสุด กทม. จะขาดทุนไม่น้อยกว่าหนึ่งแสนล้านบาท ไม่ใช่ได้กำไร 23,200 ล้านบาท แต่ผมไม่ตำหนิสภาองค์กรของผู้บริโภคที่คำนวณได้ผลลัพธ์เช่นนี้ เนื่องจากใช้วิธีคำนวณของกระทรวงคมนาคมซึ่งสมควรใช้อ้างอิง แต่เมื่อวิธีคำนวณของกระทรวงคมนาคมคลาดเคลื่อนก็ย่อมทำให้ผลลัพธ์ของสภาองค์กรของผู้บริโภคคลาดเคลื่อนตามไปด้วย

 

สรุป

1.) หากเก็บค่าโดยสารสูงสุด 50 บาท กทม. จะขาดทุนประมาณ 74,000 ล้านบาท ไม่ใช่ได้กำไร 380,200 ล้านบาท ตามที่กระทรวงคมนาคมคิด

2.) หากเก็บค่าโดยสาร 25 บาท กทม. จะขาดทุนไม่น้อยหนึ่งแสนล้านบาท ไม่ใช่ได้กำไร 23,200 ล้านบาท ตามที่สภาองค์กรของผู้บริโภคคิด

3.) นอกจากจะขาดทุนจำนวนมากแล้ว หาก กทม. จะจ้างเอกชนรายอื่นให้มาเดินรถในช่วงปี 2573-2602 จะมีปัญหาดังนี้

(3.1) บีทีเอสอาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจาก กทม. เนื่องจาก กทม.ได้ทำสัญญาจ้างบีทีเอสให้เดินรถทั้งส่วนหลักและส่วนขยายถึงปี 2585 ไว้ก่อนแล้ว

(3.2) กทม. จะต้องหาเงินสำหรับจ่ายหนี้และค่าจ้างเดินรถส่วนต่อขยายช่วงปี 2564-2572 รวมทั้งค่าชดเชยกองทุน BTSGIF เป็นเงินประมาณ 135,000 ล้านบาท จะหาได้หรือ?

ผมเห็นด้วยที่จะทำให้ค่าโดยสารรถไฟฟ้าทุกสายถูกลง ไม่เฉพาะสายสีเขียวเท่านั้น แต่ในกรณีสายสีเขียวเมื่อได้รับทราบข้อมูลดังกล่าวข้างต้นแล้ว กระทรวงคมนาคมจะแก้ปัญหาได้อย่างไร?

ที่มา : https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=2349710735173816&id=232025966942314


สนับสนุนข่าวโดย : แหล่งรวม "บทความและคอนเทนต์แปลกใหม่!!!" แบบไร้ Toxic ติดตามได้ที่ THE STATES TIMES Blockdit

คลิก : https://www.blockdit.com/pages/60583e7ff90e240c3e7f1c32

2 สหภาพแรงงานฯ การบินไทย แท็กทีมเดินหน้าร้องรัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน แจงเงื่อนไขที่การบินไทยขอสนับสนุนจากกระทรวงแรงงาน ขัด พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ทั้งร้องคัดค้านเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างงานโดยไม่เป็นธรรม

สหภาพแรงงานพนักงานบริษัทการบินไทยจับมือสหภาพแรงงานการบินไทยร่วมใจสัมพันธ์ แท็กทีมเดินหน้าร้องรัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน แจงเงื่อนไขที่การบินไทยขอสนับสนุนจากกระทรวงแรงงาน ขัด พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ทั้งร้องคัดค้านเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างงานโดยไม่เป็นธรรม ผิดกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ทำโครงสร้างใหม่ ลดพนักงาน ลดคนแต่ไปจ้างเอ้าท์ซอร์ทเพิ่ม ผิดต่อกฎหมายคุ้มครองแรงงาน และกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ รวมทั้งข้อตกลงสภาพการจ้างที่มีอยู่ในปัจจุบัน วอนขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้แจ้งต่อคณะผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการฯ เพื่อยกเลิกการดำเนินการดังกล่าวโดยด่วนที่สุด

นายสรยุทธ หอมสุคนธ์ ประธานสหภาพแรงงานพนักงานบริษัทการบินไทย พร้อมด้วยนายไพบูลย์ กันตะลี ตัวแทนสหภาพแรงงานการบินไทยร่วมใจสัมพันธ์ ได้ยื่นหนังสือถึงนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

โดยระบุว่าเนื่องด้วยสหภาพแรงงานพนักงานบริษัทการบินไทย (สร.พบท.) ได้พบเห็นเอกสารของคณะกรรมการติดตามการดำเนินการแก้ไขปัญหา บริษัท การบินไทย ฯ วันที่ 25 ธ.ค. พ.ศ.2563 ที่การบินไทยได้ขอการสนับสนุนจากกระทรวงแรงงาน และสหภาพแรงงานพนักงานบริษัทการบินไทย (สร.พบท.) ได้วิเคราะห์และพบประเด็นข้อสงสัยบางประเด็นซึ่งนำมาเพื่อเรียนขอคำวินิจฉัยจากท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเนื่องจากในเอกสารดังกล่าวได้ระบุว่า เป็นการขอความช่วยเหลือจากทางกระทรวงแรงงานและเกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518

1.) ประเด็นปัญหาข้อกฎหมาย ตามที่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ขอความร่วมมือจากกระทรวงแรงงาน ใจความว่า “การออกกฎกระทรวงตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 (พรบ.คุ้มครองแรงงานฯ) เพิ่มเติมโดยกำหนดยกเว้นมิให้นำ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาใช้บังคับกับกรณีที่นายจ้างที่อยู่ระหว่างกระบวนการดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการที่ศาลให้ความเห็นชอบแล้วเลิกจ้างลูกจ้าง

โดยยกเว้นให้ผ่อนจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายได้ภายในกรอบระยะเวลาที่กำหนดทั้งนี้ เพื่อให้การบินไทยสามารถเลิกจ้างพนักงาน และสามารถกำหนดระยะเวลาที่เหมาะสมในการจ่ายค่าชดเชยหรือเงินอื่น ๆ ได้” และ “ออกพระราชกฤษฎีกาตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ) โดยกำหนดยกเว้นมีให้ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ มาใช้บังคับกับนายจ้างที่อยู่ในระหว่างกระบวนการดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการที่ศาลให้ความเห็นชอบแล้ว และกำหนดวิธีการเฉพาะมุ่งเน้นไปที่การยกเลิกความคุ้มครองให้เลิกจ้างในกรณีต่าง ๆ

เช่น คณะกรรมการลูกจ้าง/การเลิกจ้างในระหว่างมีการเจรจาไกล่เกลี่ยข้อเรียกร้อง/การเลิกจ้างในระหว่างข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลบังคับ ทั้งนี้ตามความเหมาะสม การกระทำดังกล่าวของบริษัทการบินไทย ที่นำเสนอให้กระทรวงแรงงานกระทำสิ่งที่ผิด ขัดหรือแย้งต่อ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ซึ่งร่างขึ้นโดยมีเจตนารมณ์คุ้มครองลูกจ้างเนื่องจากลูกจ้างมีอำนาจทางเศรษฐกิจด้อยกว่านายจ้าง และโดยกระทรวงแรงงานมีหน้าที่ต้องคุ้มครองแรงงานตามเจตนารมณ์ของการจัดตั้งกระทรวง

สร.พบท. เห็นว่าไม่สามารถทำการยกเว้นแก่นายจ้างที่เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการให้กระทำการที่ ผิด ขัด หรือแย้งต่อกฎหมายได้ ดังนั้น การที่กระทรวงแรงงานจะออกกฎกระทรวงหรือออกพระราชกฤษฎีกาที่ ขัดหรือแย้ง กฎหมายคุ้มครองแรงงานซึ่งเป็นการกระทำที่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน เพื่อประโยชน์ขององค์กรใดองค์กรหนึ่งย่อมเป็นการกระทำที่เข้าข่ายปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ดังนั้นสหภาพแรงงานจึงขอคัดค้านการกระทำดังกล่าว

2.) ประเด็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมาย ข้อบังคับการทำงานที่บริษัทการบินไทยฯ และพนักงานบริษัทการบินไทยฯ ต้องยึดถือว่ามีผลใช้บังคับเกี่ยวกับสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ตามข้อตกลงสภาพการจ้าง คือ ระเบียบบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ว่าด้วยการบริหารงานบุคคล รวมทั้งสิ้น 21 ตอน ตามบันทึกการประชุมหารือร่วมกัน ณ สำนักแรงงานสัมพันธ์ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2563 ระหว่างฝ่ายลูกจ้างสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทย กับ ฝ่ายนายจ้าง

ทั้งสหภาพแรงงานพนักงานบริษัทการบินไทย (สร.พบท.) ได้ยื่นเรื่องเกี่ยวกับข้อตกลงสภาพการจ้างเดิมอย่างต่อเนื่องไว้กับกรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงานไว้และได้ทำการหารือกับตัวแทนฝ่ายนายจ้างแล้วถึงสองนัด ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเมื่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับแล้ว ห้ามมิให้นายจ้างทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างขัดหรือแย้งกับข้อตกลงสภาพการจ้าง เว้นแต่สัญญาจ้างแรงงานนั้นจะเป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่า

ดังนั้นการที่บริษัทการบินไทยฯ ได้มีการประกาศรายชื่อพนักงานที่ได้ร่วมงานกับบริษัทการบินไทยฯ ในโครงสร้างองค์กรใหม่ หรือที่เรียกว่า “การคัดเลือกพนักงานเข้าทำงานในโครงสร้างองค์กรใหม่ หรือ Relaunch” โดยให้พนักงานสมัครใจยอมรับระดับตำแหน่งงาน หรือ Level ที่ต่ำลง (หรือสูงขึ้นในบางคนส่วนน้อย) และยอมรับเงินเดือนที่ลดลง

รวมทั้งข้อตกลงสภาพการจ้างตามข้อบังคับที่ยังไม่มีพนักงานคนใดเห็นและทําการศึกษา เนื่องจากจะมีการออกข้อบังคับการทำงานใหม่สำหรับพนักงานที่ได้รับการคัดเลือกเข้าสู่โครงสร้างองค์กรใหม่ในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2554 โดยจะเปลี่ยนแปลงไปจากระเบียบบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ว่าด้วยการบริหารงานบุคคล รวมทั้งสิ้น 21 ตอนหรือแม้แต่ฉบับลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ.2553 ที่บริษัทการบินไทยฯ พยายามอ้างถึงอย่างแน่นอนที่สุด และเป็นไปได้อย่างยิ่งที่จะไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่า

ฉบับวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ.2558 และในขั้นตอนการคัดเลือก ก็ได้มีมาตรฐานในการคัดเลือกเป็นหนึ่งเดียวกันและเหมือนกันทั้งองค์กรและมีการเปลี่ยนแปลงในข้อตกลงที่บริษัทการบินไทยฯ เสนอแก่พนักงานก่อนการตัดสินใจเข้าร่วมโครงสร้างองค์กรใหม่และหลังจากการประกาศผลรายชื่อผู้ได้เข้าร่วมเรียบร้อยแล้ว เช่น พนักงานในฝ่ายปฏิบัติการบินในส่วนของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน เป็นต้น

นอกจากนี้พนักงานยังมีการกล่าวถึงระบบอุปถัมภ์และเส้นสายในการคัดเลือกครั้งนี้ มีการกล่าวด้วยวาจาในทำนองให้สละสิทธิ์เรียกร้อง เช่น หากพนักงานต้องการเข้าร่วมสมัครงานกับโครงสร้างองค์กรไหม ต้องสละสิทธิ์ในการเรียกร้องในฐานะเจ้าหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในหนี้สินค่าจ้าง (ค่าชดเชยวันลาหยุดพักร้อน) เป็นต้น ทั้งที่สิทธิการเรียกร้องดังกล่าวเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่เจ้าหนี้พึงกระทำได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 อีกทั้งยังมีข่าวว่ามีบุคคลที่ถูกตั้งกรรมการสอบสวนความผิดทางวินัยได้รับการคัดเลือกเป็นต้น

นอกจากนี้บริษัทการบินไทยฯ ได้แจ้งแก่พนักงานว่าเมื่อพนักงานสมัครเข้าร่วมโครงสร้างองค์กรใหม่ ข้อบังคับ/ข้อกำหนดใหม่ที่บริษัทการบินไทยฯ ได้จัดทำขึ้น “ห้ามพนักงานเรียกร้อง/โต้แย้งสิทธิใดใดทางกฎหมาย บริษัทการบินไทยฯ อ้างถึงเหตุผลการปรับโครงสร้างองค์กรในการยุบฝ่าย/หน่วยงาน (บางฝ่าย/บางหน่วยงานเพื่อความคล่องตัวและลดจำนวนพนักงาน เพื่อดำเนินการตามกระบวนการฟื้นฟูกิจการ

แต่การปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อความคล่องตัวจะต้องมีการลดอัตราส่วน พนักงานบริหารประดับ 8 ขึ้นไป ต่อพนักงานระดับปฏิบัติการ (ระดับ 1-7) แต่จากอัตราส่วนเดิมประมาณ 1 ต่อ 27.0 (หรือระดับบริหาร 740 คนต่อระดับปฏิบัติการ 20,000 คน เมื่อต้นปี 2563) เป็นอัตราส่วน 1 ต่อ 20.8 (หรือระดับบริหาร 500 คนต่อระดับปฏิบัติการ 10,400 คน หลังมีการปรับโครงสร้างองค์กรอย่างสมบูรณ์) ซึ่งเห็นได้ว่าอัตราส่วนมิได้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญที่จะทำให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารงานเพิ่มขึ้น และการลดจำนวนพนักงานจะต้องสามารถทำให้บริษัทการบินไทยฯ สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นเดิม

แต่ข้อเท็จจริงจะยังมีการจ้างงานโดยใช้การจ้างแรงงานภายนอกหรือ Outsource และในอุตสาหกรรมการบินการมีมาตรฐานความปลอดภัยและอาชีวอนามัย รวมถึงงานบางประเภทต้องใช้ความชำนาญที่สั่งสมและเรียนรู้รวมทั้งประสบการณ์และความรับผิดชอบสูง จึงสมควรต้องจ้างพนักงานประจำที่เป็นผู้มีประสบการณ์และความรู้ความชำนาญในงานเท่านั้น แต่บริษัทการบินไทยฯ เลือกที่จะเลิกจ้างพนักงานเพื่อลดจำนวนพนักงานประจำ ผ่านการอ้างถึงการปรับโครงสร้างองค์กร

มีแผนที่จะจ้างแรงงานภายนอกเนื่องจากมีความต้องการใช้แรงงานภายนอกถึง 2,072 ตำแหน่งมาทดแทนพนักงานที่จะถูกเลิกจ้างจากการปรับโครงสร้างองค์กร ซึ่งการกระทำเช่นนี้ย่อมเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น

สร.พบท. และเพื่อนสหภาพแรงงานฯ ร่วมอุดมการณ์ขอเรียนท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานว่า การให้พนักงานสมัครเข้าสู่โครงสร้างองค์กรใหม่ หรือที่เรียกว่า “การคัดเลือกพนักงานเข้าทำงานในโครงสร้างองค์กรใหม่ หรือ “Relaunch” เมื่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับแล้ว ห้ามมิให้นายจ้างทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างขัดหรือแย้งกับข้อตกลงสภาพการจ้าง เว้นแต่สัญญาจ้างแรงงานนั้นจะเป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่า และการทำสัญญาระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างที่ละเมิดกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ เป็นการกระทำที่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน

พนักงานที่ไม่แสดงความจำนงเข้ากระบวนกลั่นกรองสู่โครงสร้างองค์กรใหม่ 2564 หรือเรียกว่า“การคัดเลือกพนักงานเข้าทำงานในโครงสร้างองค์กรใหม่ หรือ Relaunch” และไม่เข้าร่วมโครงการร่วมใจจากองค์กร (พนักงานที่เรียกตนเองว่ากลุ่มไทยรักษาสิทธิ หรือ ไทยเฉย) ยังคงเป็นพนักงานของบริษัทการบินไทยฯ ภายใต้สภาพการจ้างเดิมต่อไป เพราะการปรับโครงสร้างองค์กรไม่ตอบโจทย์พนักงาน พนักงานไม่สามารถเลือกที่เข้าไปเลือกได้เพราะไม่มีอัตราที่จะให้เลือก หรือ พนักงานกลุ่มดังกล่าวต้องการรักษาสิทธิตามสภาพการจ้างเดิม

เนื่องจากเห็นว่านายจ้าง/บริษัทการบินไทยฯ ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างได้เพียงฝ่ายเดียวโดยไม่ผ่านกระบวนการแรงงานสัมพันธ์ เป็นต้น และพนักงานที่แสดงความจำนงเข้ากระบวนกลั่นกรองสู่โครงสร้างองค์กรใหม่ 2564 แต่ไม่ได้รับการคัดเลือก และไม่ต้องการแสดงความจำนงเลือก relaunch #2 และ/หรือไม่เข้าร่วมโครงการร่วมใจจากองค์กรหรือ MSP (กลุ่มฟ้าใหม่) ยังคงเป็นพนักงานของบริษัทการบินไทยฯ ภายใต้สภาพการจ้างเดิม และขอให้กรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงานคุ้มครองสิทธิพนักงานกลุ่มนี้ด้วย ตำแหน่งงานหรือหน่วยงานที่พนักงานสังกัดอยู่ถูกปรับหรือลดจำนวนพนักงานในหน่วยงาน แต่มีแผนที่จะจ้างแรงงานภายนอกมาใช้ทดแทนพนักงานที่ลดลง ข้อเท็จจริงปรากฏว่าบางหน่วยงานคนขาดเพราะการบินไทยไม่ได้รับพนักงานมาเป็นเวลาร่วมสิบกว่าปีและยังมีพนักงานที่ MSP และเกษียณอายุไปอีกจำนวนมาก

จึงขอให้กรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงานคุ้มครองสิทธิของพนักงาน 2 กลุ่มนี้ สหภาพแรงงานพนักงานบริษัทการบินไทย (สร.พบท.) และเพื่อนสหภาพแรงงานฯ เห็นว่ากระบวนการเงื่อนไข และขั้นตอนของการคัดเลือกพนักงานเข้าทำงานในโครงสร้างองค์กรใหม่ หรือ Relaunch เข้าสู่องค์กรเดิม บริษัทการบินไทยฯ เป็นการดำเนินการที่ผิดต่อกฎหมายคุ้มครองแรงงาน และกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ รวมทั้งข้อตกลงสภาพการจ้างที่มีอยู่ในปัจจุบัน จึงขอให้ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้แจ้งต่อคณะผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการฯ เพื่อยกเลิกการดำเนินการดังกล่าวโดยด่วนที่สุด

 

ที่มา : https://www.thansettakij.com/content/business/476774


สนับสนุนข่าวโดย : แหล่งรวม "บทความและคอนเทนต์แปลกใหม่!!!" แบบไร้ Toxic ติดตามได้ที่ THE STATES TIMES Blockdit

คลิก : https://www.blockdit.com/pages/60583e7ff90e240c3e7f1c32

ททท.พร้อม “เราเที่ยวด้วยกัน - ทัวร์เที่ยวไทย” เปิด พ.ค.นี้

นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า ททท.ยังคงเป้าหมายการเปิดให้ประชาชนเริ่มจองสิทธิโครงการเราเที่ยวด้วยกัน ระยะที่ 3 และทัวร์เที่ยวไทย ในช่วงกลางเดือน พ.ค.64 ต่อไป แต่ก็ต้องติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่ควบคู่ไปด้วย เพราะแม้จะเปิดจองได้ตามกำหนด 

แต่ในระยะสั้นนักท่องเที่ยวไทยก็ยังไม่สามารถออกเดินทางได้เต็มที่ เนื่องจากคณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อในหลาย ๆ จังหวัดมีมาตรการควบคุมการเดินทาง เช่น ถ้าเดินทางมาจากพื้นที่สีแดง 18 จังหวัด จะต้องกักตัว 14 วัน จึงอาจทำให้หลายคนยังไม่เดินทาง 

อย่างไรก็ตาม ททท. หวังว่าทุกอย่างน่าจะเรียบร้อยภายในเดือน เม.ย.นี้ และเกิดการเดินทางได้ในเดือน พ.ค.นี้ เพื่อเปิดให้ประชาชนจองสิทธิทั้ง 2 โครงการได้ในช่วงกลางเดือน พ.ค.นี้ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างเตรียมระบบร่วมกับธนาคารกรุงไทย เพื่อเริ่มเปิดจองสิทธิทั้ง 2 โครงการเพื่อให้เกิดการเดินทางจริง 

ส่วนจะเป็นวันที่เท่าไรนั้น ยังต้องรอดูอีกที เพราะมีประเด็นเรื่องการเชื่อมต่อข้อมูลระบบสแกนใบหน้ากับทางกระทรวงมหาดไทยตามมติของ ครม. ที่ต้องเชื่อมต่อให้แล้วเสร็จก่อน ถึงจะเคาะวันเปิดจองสิทธิอย่างเป็นทางการได้ ด้านการเปิดให้ผู้ประกอบการบริษัทนำเที่ยวลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการทัวร์เที่ยวไทย น่าจะเริ่มลงทะเบียนได้ภายในสิ้นเดือน เม.ย.นี้

กลุ่มอุตสาหกรรมเหล็กชี้ความต้องการเหล็กโลกสูงขึ้นสวน “โควิด-19” เหตุจีนฟื้นตัว ทำให้ปริมาณผลิตตามไม่ทัน ส่งผลราคาเหล็กทั่วโลกพุ่ง เชียร์รัฐหนุนใช้สินค้าเหล็ก “Made in Thailand” ช่วยฟื้นเศรษฐกิจ

นายนาวา จันทนสุรคน ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศ ไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ในช่วงต้นปี 2564 นี้ อุตสาหกรรมเหล็กโลกในภาพรวมมีการปรับตัวในทิศทางบวก โดยทั้งโลกมีผลิตเหล็กปริมาณเฉลี่ยกว่า 150 ล้านตันต่อเดือน เพิ่มขึ้น 6.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 โดยทวีปเอเชียมีการผลิตเหล็กเพิ่มขึ้น 10.1% แต่ทวีปอเมริกาเหนือ สหภาพยุโรป มีการผลิตเหล็กถดถอย -7.1% และ -3.7% ตามลำดับ

แม้การผลิตเหล็กของโลกมีปริมาณมากขึ้น แต่ก็ไม่เพียงต่อความต้องการใช้เหล็กที่ปรับตัวขึ้นมากกว่า โดยคาดว่าทั้งปี 2564 ความต้องการใช้เหล็กของโลกจะเพิ่มเป็น 1,874 ล้านตัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศจีนซึ่งผลิตและใช้เหล็กมากที่สุดราว 55% ของโลก ในปี 2563 จีนต้องนำเข้าสินค้าเหล็กจากประเทศต่าง ๆ มากถึง 18.3 ล้านตัน เพิ่มเป็น 6 เท่าจากปี 2562 โดยสินค้าเหล็กที่จีนนำเข้าสูงสุด 3 ลำดับแรก คือ เหล็กแผ่นรีดร้อน 9.9 ล้านตัน เหล็กแผ่นรีดเย็น 3.8 ล้านตัน เหล็กแผ่นเคลือบ 2.4 ล้านตัน ส่งผลให้สินค้าเหล็กดังกล่าวที่จีนแย่งซื้อในตลาดโลกขาดแคลนและราคาสูงขึ้นมาตลอด โดยในปีนี้จีนยังมีความต้องการใช้เหล็กเพิ่มต่อเนื่อง อย่างไตรมาสแรก เพิ่มขึ้น 52% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และคาดว่าทั้งปี 2564 จะมีความต้องการใช้เหล็กราว 1,025 ล้านตัน

 

จีนฟื้นหนุนตลาดเหล็กคึกคัก

เนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน ซึ่งรัฐบาลจีนตั้งเป้าผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (จีดีพี) ปี 2564 เติบโต 6.0% แต่เชื่อว่าเศรษฐกิจของจีนสามารถเติบโตได้ถึง 8.2% - 9.5% เพราะจากข้อมูลดัชนีทางเศรษฐกิจ การลงทุนของจีนช่วงต้นปี 2564 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เติบโตขึ้นอย่างมหาศาล เช่น การลงทุนในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในเขตเมืองเติบโต 38.3% การลงทุนในอุตสาหกรรมต่อเนื่องเติบโต 34.1% การผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้น 89.9% เป็นเฉลี่ยเดือนละ 1.93 ล้านคัน การลงทุนในระบบรางเพิ่มขึ้น 52.9% การลงทุนในระบบถนนเพิ่มขึ้น 30.7% การลงทุนในด้านการบินพลเรือน เพิ่มขึ้น 84.5% เป็นต้น ส่งผลให้จีนผลิตเหล็กไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้

แม้จีนได้เร่งเพิ่มการผลิตเหล็กในช่วงต้นปีนี้ แต่โรงงานเหล็กในจีนจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในนครถังซาน ซึ่งถือเป็นเมืองแห่งอุตสาหกรรมเหล็กที่มีกำลังการผลิตเหล็กดิบมากกว่า 144 ล้านตัน จำเป็นต้องลดการผลิตลงราว 50% ระหว่างช่วงฉุกเฉิน มี.ค.-มิ.ย. และบางโรงงานต้องลดการผลิตไปจนถึงสิ้นปี 2564 ตามมาตรการของรัฐบาลจีนในการควบคุมและลดมลภาวะทางอากาศ ซึ่งจะทำให้ภาวะปริมาณเหล็กไม่พอเพียงต่อความต้องการของจีนทวีความรุนแรง มีแนวโน้มยืดเยื้อไปถึงสิ้นไตรมาสที่ 3 ทำให้ราคาสินค้าเหล็กในทั่วโลกปรับตัวสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ เช่น ประเทศจีน ราคาเหล็กแผ่นรีดร้อนเมื่อกลางปี 2563 ต่ำสุดอยู่ที่ตันละ 420 ดอลลาร์ แต่ขณะนี้ราคาเสนอขายสูงขึ้นเป็น 2.2 เท่า ระหว่าง 910-925 ดอลลาร์ต่อตัน หรือในสหรัฐอเมริกา ราคาเหล็กแผ่นรีดร้อนขึ้นสูงสุดในโลกถึงกว่า 1,400 ดอลลาร์ต่อตัน เป็นต้น

นายนาวา กล่าวว่า อุตสาหกรรมเหล็กของประเทศไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดในปี 2563 ซึ่งการบริโภคสินค้าลดเหลือ 16.5 ล้านตัน โดยมีอัตราการบริโภคเหล็กของคนไทย 248 กก.ต่อคนต่อปี ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลกที่ 229 กก.ต่อคนต่อปี แต่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของเอเชียที่ 299 กก.ต่อคนต่อปี โดยรัฐบาลไทยสามารถดูแลปัญหาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ต่ออุตสาหกรรมก่อสร้างได้ดี ประกอบกับอุตสาหกรรมยานยนต์ และอื่น ๆ เริ่มฟื้นตัว

ดังนั้น ปี 2564 ตลาดเหล็กของไทยจึงฟื้นและปรับตัวตามตลาดโลกด้วย คาดว่าปริมาณความต้องการใช้เหล็กของไทยจะเพิ่มขึ้น 5-7% เป็น 17.3-17.7 ล้านตัน ทั้งนี้ การใช้เหล็กภายในประเทศไทยจะเป็นภาคการก่อสร้างมากสุด 57% ตามด้วยอุตสาหกรรมยานยนต์ 22% อุตสาหกรรมเครื่องจักรกล 9% อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า 8% และอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์โลหะ 5%

 

ผู้ผลิตเหล็กไทยชี้รัฐมาถูกทาง

นายนาวา กล่าวว่า กลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก ส.อ.ท. มั่นใจว่านโยบายที่รัฐบาลได้ขับเคลื่อนมาแล้ว หากสามารถผลักดันให้หน่วยราชการปฏิบัติได้ผลจริงจะส่งผลบวกอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย ได้แก่

1.) การส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์เหล็กที่ผลิตในประเทศที่ได้ขึ้นทะเบียน “Made in Thailand” กับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ตามมติคณะรัฐมนตรี 1 ก.ย.2563 และกฎกระทรวงการคลัง ณ วันที่ 22 ธ.ค.2563 เรื่องกำหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน พ.ศ.2563 ให้สามารถดำเนินการได้อย่างจริงจัง จากงบประมาณรายจ่ายปีละกว่า 3.3 ล้านล้านบาท สามารถจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่ผลิตในประเทศได้หลายแสนล้านบาท

ทั้งนี้ ผลการศึกษาวิจัยโดยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ระบุว่า อุตสาหกรรมเหล็กมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของไทย ทั้งในส่วนของการผลิต มูลค่าจีดีพี มูลค่าและจำนวนการจ้างงาน โดยสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจอื่น ๆ ในห่วงโซ่อุปทาน หากส่งเสริมการใช้สินค้าเหล็กที่ผลิตในประเทศไทยมากขึ้นจะช่วยสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนทำให้จีดีพีของประเทศเพิ่มขึ้นได้อีก 0.66% ถึง 0.75% จากการเติบโตปกติ

2.) การออกมาตรการทางกฎหมายการตอบโต้การหลบเลี่ยงมาตรการทางการค้า ซึ่ง พ.ร.บ.การตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ ฉบับที่ 2 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ พ.ย. 2562 และใช้เวลาอีกปีกว่าจึงเพิ่งมีประกาศกระทรวงพาณิชย์ และประกาศกรมการค้าต่างประเทศ ตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว เมื่อ มี.ค. 2564 โดยหวังให้กระทรวงพาณิชย์จะสามารถบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว และนำไปปฏิบัติได้ผลอย่างจริงจังและทันต่อเหตุการณ์

และ 3.) ขอให้รัฐบาลพิจารณาขยายผลให้โครงการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (Public Private Partnership : PPP) ต่าง ๆ เช่น โครงการรถไฟฟ้า โครงการทางด่วน โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง เป็นต้น ซึ่งมีมูลค่าการลงทุนรวมกันอีกนับล้านล้านบาท ส่งเสริมการใช้เหล็กที่ผลิตในประเทศไทยด้วยเช่นกัน เพื่อก่อให้เกิดการจ้างงานและการหมุนเวียนเศรษฐกิจภายในประเทศไทย


สนับสนุนข่าวโดย : แหล่งรวม "บทความและคอนเทนต์แปลกใหม่!!!" แบบไร้ Toxic ติดตามได้ที่ THE STATES TIMES Blockdit

คลิก : https://www.blockdit.com/pages/60583e7ff90e240c3e7f1c32

โฆษกรัฐบาล ย้ำโครงการเราชนะไม่เปิดรับลงทะเบียนเพิ่ม ผู้ได้รับสิทธิใช้จ่ายได้ถึง 30 มิ.ย 64 ใช้จ่ายหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจไทยแล้วกว่า 200,734 ล้านบาท

นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงโครงการเราชนะว่า รัฐบาลไม่ได้มีการเปิดรับสมัครลงทะเบียนเพิ่ม โดยครม.นั้นได้เคยมีมติอนุมัติจำนวนกลุ่มเป้าหมายแล้วประมาณ 31.1 ล้านคน แต่เนื่องจากจำนวนผู้มีสิทธิที่เข้าร่วมโครงการจริงมีมากกว่าที่ประมาณการไว้ แยกเป็นผู้ได้รับสิทธิตามโครงการแล้ว 33.1263 ล้านคน, ผู้ที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบคัดกรอง ประมาณ 86,000 คน และผู้ต้องการความช่วยเหลือ/ผู้ที่อยู่ระหว่างการทบทวนสิทธิประมาณ 284,000 คน ดังนั้นครม.จึงมีมติเห็นชอบให้ขยายกลุ่มเป้าหมายโครงการเราชนะให้เป็นประมาณ 33.5 ล้านคนเนื่องจากมีผู้รับสิทธิสูงกว่ากรอบเดิมที่วางไว้ 

กระทรวงการคลังจึงได้ขออนุมัติจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมมาใช้ให้สอดคล้องกับจำนวนคนที่เพิ่มขึ้น โดยกระทรวงการคลังไม่ได้มีการเปิดรับสมัครลงทะเบียนเพิ่มในโครงการเราชนะแต่อย่างใด นอกจากนี้ ครม.ยังเห็นชอบขยายระยะเวลาที่ประชาชนผู้ได้รับสิทธิสามารถใช้จ่ายได้ไม่เกินวันที่ 30 มิถุนายน 2564 จากเดิมที่ใช้จ่ายได้ไม่เกินวันที่ 31 พฤษภาคม 2564 และให้กระทรวงการคลังพิจารณาผลการทบทวนสิทธิให้เสร็จสิ้นภายใน 13 พ.ค. 64 ด้วย

ทั้งนี้ ความคืบหน้าของโครงการเราชนะ ณ วันที่ 21 เมษายน 2564 มีรายละเอียดผู้ได้รับสิทธิ และการใช้จ่าย ดังนี้

1) ประชาชนกลุ่มผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ มีจำนวน 13.7 ล้านคน ได้มีการใช้จ่ายตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นมา จำนวน 
73,254 ล้านบาท

2) ประชาชนกลุ่มที่อยู่ในระบบฐานข้อมูลของแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ในโครงการเราเที่ยวด้วยกันและคนละครึ่ง และกลุ่มประชาชนทั่วไปที่ลงทะเบียนทางเว็บไซต์ www.เราชนะ.com ที่ผ่านการคัดกรองคุณสมบัติเบื้องต้นและยืนยันการใช้สิทธิ์ร่วมโครงการฯ แล้ว จำนวน 16.8 ล้านคน และมีการใช้จ่ายวงเงินสิทธิ์สะสมตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นมา จำนวน 113,233 ล้านบาท

3) ประชาชนกลุ่มผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษที่ผ่านการคัดกรองคุณสมบัติแล้ว จำนวน 2.3 ล้านคน มียอดใช้จ่ายวงเงินสิทธิ์สะสมตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม 2564 เป็นต้นมา จำนวน 14,247 ล้านบาท 

ทำให้มีผู้ได้รับสิทธิ์ในโครงการฯ แล้ว รวมทั้งสิ้นจำนวน 32.8 ล้านคน คิดเป็นมูลค่าการใช้จ่ายหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจไทยแล้วกว่า 200,734 ล้านบาท ซึ่งเป็นการใช้จ่ายผ่านผู้ประกอบการร้านธงฟ้าราคาประหยัดพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นที่มีแอปพลิเคชัน “ถุงเงิน” ร้านค้าคนละครึ่งที่ตกลงยินยอมเข้าร่วมโครงการฯ รวมถึงผู้ประกอบการร้านค้าและผู้ให้บริการที่ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการฯ จำนวนทั้งสิ้นมากกว่า 1.3 ล้านกิจการ โดยแยกเป็นการใช้จ่ายผ่านร้านธงฟ้า 68,671 ล้านบาท, ร้านอาหารและเครื่องดื่ม 38,538 ล้านบาท, ร้าน OTOP 8,343 ล้านบาท, ร้านค้าทั่วไปและอื่นๆ 81,199 ล้านบาท, ร้านค้าบริการ 3,849 ล้านบาท, และขนส่งสาธารณะ 134 ล้านบาท

ภาคธุรกิจเอกชน เล็งเสนอแผนกระจายวัคซีนต่อนายกรัฐมนตรี หวั่นโควิดทำเลื่อนเปิดประเทศ คาดกระทบแผน กระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ 3 เดือนข้างหน้า ย้ำพร้อมควักเงินซื้อวัคซีนโควิด 10-15 ล้านโดส

วันที่ 21 เมษายน พ.ศ.2564 นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวในฐานะประธานที่ประชุม คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ว่า การระบาดของโควิด-19 ระลอกเดือนเมษายน 2564 คาดว่าจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจในประเทศอย่างน้อย 3 เดือน โดยจะกระทบการท่องเที่ยวและทำให้การกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศในช่วง 3 เดือนข้างหน้า ทำได้ยาก หรืออาจต้องเลื่อนออกไป

รวมทั้งกระทบอย่างมากต่อกำลังซื้อ เพราะแรงงานในภาคบริการต้องหยุดหรือลดชั่วโมงการทำงาน ดังนั้นรัฐจำเป็นต้องใช้เม็ดเงินที่มีกว่า 2 แสนล้านบาท เข้ามาเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการประคับประคองกำลังซื้อในประเทศ และการขยายระยะเวลามาตรการเยียวยาผู้ประกอบการและแรงงาน

นอกจากนี้ การแจกกระจายวัคซีนต้านโควิด-19 ต้องเป็นไปอย่างรวดเร็ว เพราะมันเป็นปัจจัยที่สร้างเสริมความเชื่อมั่นให้กับภาคธุรกิจและประชาชนได้มากที่สุด จะทำให้ภาพของอุปสงค์ในประเทศกลับมาฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว

ขณะที่เศรษฐกิจโลกเริ่มมีทิศทางฟื้นตัวขึ้นชัดเจน โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะขยายตัวดีกว่าที่ประเมินไว้ก่อนหน้าค่อนข้างมาก เป็นแรงขับเคลื่อนหลักให้ภาพรวมเศรษฐกิจและการค้าโลกมีทิศทางฟื้นตัวได้เร็วกว่าที่ประเมินไว้ สอดคล้องกับรายงานของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ที่ได้ประเมินเศรษฐกิจโลกในปี 2564 ว่าจะขยายตัว 6% สอดคล้องกับรายงานขององค์การการค้าโลก (WTO) ณ เดือน มี.ค. ที่ประเมินว่า ปริมาณการค้าโลก (World Merchandise Trade) ในปี 2564 จะขยายตัวได้ถึง 8.0% ส่วนเศรษฐกิจไทยได้รับอานิสงส์จากเศรษฐกิจคู่ค้าที่ขยายตัวดีขึ้น

ขณะที่ปัญหาขาดแคลนตู้ขนส่งสินค้าและค่าระวางเรือที่ทรงตัวในระดับสูง รวมถึงต้นทุนราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่อยู่ในระดับสูง ยังเป็นแรงกดดันสำคัญต่อความสามารถของผู้ส่งออกของไทยในระยะต่อไป และยังเผชิญความเสี่ยงค่อนข้างมากจากการระบาดระลอกใหม่ที่รวดเร็วและรุนแรง กระทบต่ออุปสงค์ในประเทศ แม้ว่าเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวชัดเจนขึ้นมาก

ที่ประชุม กกร. จึงปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทย GDP ปี 2564 ขยายตัวได้ในกรอบ 1.5% ถึง 3.0% (จากเดิม 1.5-3.5%) ซึ่งประมาณการนี้ขึ้นอยู่กับการฉีดวัคซีนได้ตามเป้าหมายและมาตรการของรัฐที่มีขนาดกว่า 2 แสนล้านบาท ที่จะเข้ามาเยียวยาเศรษฐกิจ โดยหากไม่มีเม็ดเงินดังกล่าว GDP จะไม่ขยายตัวหรือเติบโต 0%

ด้านการส่งออก กกร. ปรับเพิ่มประมาณการการส่งออกในปี 2564 คาดว่าจะขยายตัว 4.0% ถึง 6.0% ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ในกรอบ 1.0% ถึง 1.2%

อย่างไรก็ตาม เอกชนยังมีความเป็นห่วง เรื่องการกระจายวัคซีนที่ยังล่าช้าและแผนงานยังไม่ชัดเจน จึงได้ร่วมกันจัดตั้งคณะทำงานใน 4 ด้าน เพื่อจัดทำข้อเสนอต่อนายกรัฐมนตรี คือ

1.) คณะแก้ไขปัญหาการกระจายและฉีดวัคซีน โดยได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชนในเรื่องโลจิสติกส์ การขนส่งและสถานที่ในการฉีด เช่น ห้างสรรพสินค้า ธนาคาร นิคมอุตสาหกรรม ปั๊มน้ำมัน เป็นต้น

2.) คณะสร้างความเชื่อมั่นและประชาสัมพันธ์ โดยประสานข้อมูลกับผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ เพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ประชาชน

3.) คณะสนับสนุนระบบอำนวยความสะดวกระบบงานต่าง ๆ ตั้งแต่ขั้นตอนการฉีด จนถึงการออกใบรับรอง และการจัดทำระบบ Vaccine Passport เพื่อใช้แสดงในการเดินทางไปสถานที่ต่าง ๆ

4.) คณะจัดหาวัคซีนเพิ่มเติม ที่ผ่านมาได้รวบรวมความต้องการภาคเอกชนในการซื้อวัคซีนเพื่อเร่งการฉีดให้เร็วขึ้น โดยมีผู้ซื้อแสดงความจำนงมาแล้วกว่า 5 ล้านโดส ขณะที่เอกชนพร้อมควักเงินจ่าย-ซื้อเอง รวมแล้วคาดว่าจะมีถึง 10-15 ล้านโดส และขอให้ อย. ผ่อนคลายระเบียบเพื่อให้มีการซื้อวัคซีนได้มากขึ้น โดยจะมีการประชุมในสัปดาห์หน้าของ 3 สถาบัน จากนั้นจะสรุปเพื่อเสนอนายกฯ

“การที่มีการประชุมของภาคเอกชน และได้ส่งข้อมูลไปให้ภาครัฐนั้น ทางภาคเอกชน ต้องขอขอบคุณ ท่านนายกรัฐมนตรี และคณะทำงานพิจารณาการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ตอบรับข้อเสนออย่างรวดเร็วในการเร่งหาวัคซีนทางเลือก

โดยได้อำนวยความสะดวกในการจัดหาวัคซีนเพิ่มเติม พร้อมกับ จะจัดหาวัคซีน COVID-19 อีก 2-3 ยี่ห้อ เพิ่มเติม 35 ล้านโดส นอกเหนือจากที่ ภาครัฐดำเนินการไว้แล้ว ซึ่งภาคเอกชนนำโดย กกร. จะช่วยรัฐบาลจัดหาให้กับพนักงานลูกจ้างเองด้วย เพื่อช่วยลดงบประมาณของรัฐบาล”

ทั้งนี้ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้เสนอให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ขยายเวลา พรก.กำหนดหน่วยงานและกิจการที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ที่ได้ขยายระยะเวลามา 1 ปี และจะครบกำหนดเดือน พ.ค.นี้ออกไปก่อน

เนื่องจากยังไม่มีความชัดเจนเรื่องรายละเอียดการบังคับใช้ ทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถปฎิบัติตามได้ นอกจากนี้ จะขอให้กระทรวงฯ ทบทวนพรบ. PDPA ที่มีรายละเอียดและบทลงโทษเข้มงวดเกินไปให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย


สนับสนุนข่าวโดย : แหล่งรวม "บทความและคอนเทนต์แปลกใหม่!!!" แบบไร้ Toxic ติดตามได้ที่ THE STATES TIMES Blockdit

คลิก : https://www.blockdit.com/pages/60583e7ff90e240c3e7f1c32

จากเนื้อหา “ปิดฉาก Motor Show 2021 ยอดจองในงานทะลักกว่า 2.7 หมื่นคัน ทะลุเป้าโต 51.5% เงินสะพัด 3 หมื่นล้าน ส่วนยอดเข้าชมกว่า 1.34 ล้านคน”

จากเนื้อหาพูดถึงโดยที่ผ่านมาต้องเจอผลกระทบจากโควิด-19 ทำให้ยอดจองลดลงจากช่วงปกติ แต่ด้วยตัวเลขยอดจองในปีนี้ มีการเติบโตขึ้นจากปีก่อนถึง 51.5 เปอร์เซ็นต์ เชื่อว่ากำลังซื้อของคนไทยไม่ได้หายไปไหน แค่รอเวลาที่เหมาะสม โดยเฉพาะเมื่อได้รับการสนับสนุนจากสถาบันการเงิน ในการออกแคมเปญ และโปรโมชั่นของค่ายรถช่วยให้ทุกคนเป็นเจ้าของรถคันใหม่ได้สะดวกขึ้น

ขณะที่ในส่วนพฤติกรรมของผู้บริโภคเองปีนี้ต่างให้การตอบรับกับรถยนต์รุ่นใหม่ที่เปิดตัวก่อนหน้างาน และเปิดจองภายในงานมอเตอร์โชว์เป็นครั้งแรก เห็นได้จากบรรยากาศการเจรจาที่หนาแน่นดังเช่นทุกปีโดยเฉพาะในช่วงสุดสัปดาห์ที่มียอดจองเป็นสองเท่าของวันธรรมดา แต่ด้วยพฤติกรรมของคนผู้บริโภคเปลี่ยนไป เพื่อให้สมกับช่วงที่ต้องรัดเข้มขัด จึงหันมาซื้อหารถใหม่ที่ตอบโจทย์ความคุ้มค่ามากขึ้น

ขณะที่ตลาดรถหรูยังคงเติบโตตามเป้าด้วยสาเหตุที่ค่ายรถเองต่างชิงเปิดตัวสินค้าใหม่แทบทุกรุ่น เพื่อกระตุ้นยอดขาย...

วันนี้มาร่วมหาคำตอบกันกับ หยก THE STATES TIMES

.

.

ครม.เว้นภาษีสรรพสามิตดีเซลที่ผลิตจากปาล์มน้ำมัน 100%

รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า ขณะนี้ ที่ประชุม ครม.ได้เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภทสินค้า และพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตสินค้าน้ำมันดีเซลที่ผลิตจากปาล์มน้ำมัน 100% ให้เป็นพิกัดสินค้าใหม่ พร้อมกับให้สิทธิยกเว้นการเสียภาษีสรรพสามิต โดยขั้นตอนหลังจากนี้จะต้องรอการประกาศราชกิจจานุเบกษาก่อน ถึงจะเริ่มมีผลใช้ได้อย่างทางการ

ทั้งนี้เพื่อต้องการส่งเสริมนโยบายพลังงานของประเทศ ให้มีการใช้พลังงานหมุนเวียนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ขณะเดียวยังเป็นการส่งเสริมใช้ผลผลิตปาล์มน้ำมันมาผลิตเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งช่วยส่งผลดีต่อเกษตรกรชาวสวนปาล์มให้มีโอกาสขายผลผลิตได้ราคาดีกว่าเดิม

สำหรับการกำหนดอัตราภาษีน้ำมันดีเซลจากปาล์มขึ้นเป็นสินค้าพิกัดใหม่ เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมรับอนาคต และสนับสนุนนโยบายด้านพลังงานทดแทนของประเทศในการส่งเสริมใช้พลังงานหมุนเวียน และลดการเกิดก๊าซมลพิษ  โดยน้ำมันดีเซลชนิดนี้จะใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีการผลิตเชื้อเพลิงสมัยใหม่ ที่แปรรูปจากน้ำมันปาล์มแบบ 100% ไม่มีการใช้เชื้อเพลิงจากถ่านหิน หรือน้ำมันดีเซลที่มีส่วนผสมของไบโอดีเซลเหมือนที่ผ่านมา ดังนั้น รัฐจะช่วยสนับสนุนการผลิตด้วยการยกเว้นภาษีสรรพสามิตให้เหลือ 0% จากปกติที่น้ำมันดีเซลทั่วไปต้องเสียภาษีสรรพสามิตอยู่ลิตรละ 5 บาทเศษ

'เฉลิมชัย' เร่งดันไทยฮับฮาลาลโลกเห็นชอบพิมพ์เขียว 2570 เดินหน้า '1 วิสัยทัศน์ 5 แนวทาง' บุกตลาด 2 พันล้านคน

'เฉลิมชัย' เร่งดันไทยฮับฮาลาลโลกเห็นชอบพิมพ์เขียว 2570 เดินหน้า '1 วิสัยทัศน์ 5 แนวทาง' บุกตลาด 2 พันล้านคน ดึง 'สคช.' ยกระดับมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพฮาลาล จับมือ 'ศอบต.' ขับเคลื่อน 3 โครงการอุตสาหกรรมฮาลาลภาคใต้พร้อมขยายบทบาทไทยในเวทีโลกผนึกองค์การความร่วมมือกลุ่มประเทศอิสลาม (OIC) จัดงานฮาลาลนานาชาติเดือนมิถุนายน

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการส่งเสริม สินค้าและผลิตผลการเกษตรมาตรฐาน “ฮาลาล” (ฮาลาลบอร์ด-Halal Board) แถลงว่า...

อุตสาหกรรมฮาลาลมีความสำคัญต่อประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง และถือว่าเป็นโอกาสของประเทศไทย เนื่องจากไทยมีศักยภาพในการผลิตสินค้าอาหารและเกษตรอันดับ 2 ของเอเชีย รองจากจีน และเป็นอันดับ 12 ของโลก และภายใต้ '5 ยุทธศาสตร์ปฏิรูปภาคเกษตรฯ' ของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่เล็งเห็นถึงโอกาสและศักยภาพของประเทศไทยภายใต้วิกฤติการณ์โควิด-19 ในการเป็นประเทศผู้นาในการผลิตและส่งออก สินค้าอาหารและผลผลิตเกษตรมาตรฐานฮาลาลสู่ตลาดเป้าหมายใหม่กลุ่มประเทศมุสลิม 2,000 ล้านคน และผู้บริโภคสินค้าฮาลาลที่ไม่ใช่มุสลิมทั่วโลกภายใต้ความร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์และทุกภาคีภาคส่วน

ปี 2563 ที่ผ่านมาตลาดอาหารและเครื่องดื่มฮาลาลทั่วโลก มีมูลค่า 1,533,280 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (48,004,350 ล้านบาท) และประเมินว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 2,285,190 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 71,545,354 ล้านบาท) ในปี 2569 โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยปีละ 20% คิดเป็นมูลค่าเพิ่มปีละ 560 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (16.8 ล้านล้านบาท)

ดังนั้น ที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมสินค้าและผลิตผลการเกษตรมาตรฐาน “ฮาลาล” ครั้งที่ 2/2564 ได้ให้ความเห็นชอบเนื้อหาร่างวิสัยทัศน์และนโยบายการส่งเสริมสินค้าและผลิตผลการเกษตรมาตรฐานฮาลาล (1 วิสัยทัศน์ 5 แนวทาง) ซึ่งจัดทำขึ้นโดยอนุกรรมการจัดทำวิสัยทัศน์และนโยบายการส่งเสริมสินค้าและผลิตผลการเกษตรมาตรฐาน “ฮาลาล” โดยมีเป้าหมายให้ไทยเป็นประเทศผู้นำในการผลิต การแปรรูป การส่งออกและการพัฒนาสินค้าเกษตร และอาหารฮาลาลที่ได้รับความเชื่อมั่นในระดับสากล และเข้าสู่ตลาดโลกด้วยมาตรฐานฮาลาลไทย โดยใช้หลักศาสนา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม 'ภายในปี 2570' ผ่านการขับเคลื่อนการดำเนินงานที่กำหนดทั้งหมด 5 แนวทาง ได้แก่...

(1) เพิ่มศักยภาพหน่วยงานรับรองมาตรฐานฮาลาล

(2) สร้างความเชื่อมั่นให้กับสินค้าเกษตรและอาหาร ด้วยมาตรฐานฮาลาลไทย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

(3) เสริมสร้างองค์ความรู้ในการผลิต และการบริหารจัดการตั้งแต่ระดับฟาร์มจนถึงผู้บริโภค

(4) เพิ่มศักยภาพทางตลาดและโลจิสติกส์

(5) ยกระดับความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคทั้งใน และต่างประเทศ

ทั้งนี้ ร่างวิสัยทัศน์ดังกล่าวเปรียบเสมือนพิมพ์เขียวฮาลาลไทย (Thailand Halal Blueprint) ฉบับแรกที่มีความสมบูรณ์ประกอบด้วยเป้าหมาย วิสัยทัศน์ แผนปฏิบัติการ (Action Plan) เป็นแผนแม่บทสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาลของไทยให้มีศักยภาพในการแข่งขันในตลาดที่สำคัญ ผ่านการดำเนินกิจกรรม และโครงการที่กำหนดในแผนปฏิบัติการโดยร่างวิสัยทัศน์ดังกล่าวจะเสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณา เพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป

นอกจากนี้ คณะอนุกรรมการส่งเสริมการผลิตและการลงทุนเกี่ยวกับสินค้าและผลิตผล การเกษตรมาตรฐาน “ฮาลาล” และคณะอนุกรรมการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจเพื่อส่งเสริมการค้าและผลิตผลการเกษตร มาตรฐาน “ฮาลาล” ในพื้นที่ชายแดนใต้ได้รายงานความก้าวหน้าของโครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมไก่และโคครบวงจรที่จังหวัดยะลา 2 โครงการ มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการหลายร้อยรายในพื้นที่โครงการละกว่า 3,000 ไร่ ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการทำสัญญาโรงไฟฟ้าชีวมวลและโครงการอุตสาหกรรมไก่ที่จังหวัดปัตตานี ซึ่งทั้ง 3 โครงการเป็นการทำงานบนความร่วมมือกับศอบต.อย่างใกล้ชิดเพื่อให้ 3 จังหวัดภาคใต้เป็นฮับของอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลตามเป้าหมายที่วางไว้

“ที่ประชุมยังมีมติให้เปลี่ยนชื่อและปรับภารกิจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการจัดทำวิสัยทัศน์และนโยบายฯ เป็นคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนวิสัยทัศน์และนโยบายฯ เพื่อขยายการส่งเสริมสนับสนุนอุตสาหกรรมฮาลาลในภาคเหนือภาคอีสานภาคกลางและภาคตะวันออกโดยเฉพาะในจังหวัดชายแดนที่เป็นเมืองท่าหน้าด่าน เช่น อุดรธานี, เชียงราย, ตาก เป็นต้น

ส่วนภาคใต้มีอนุกรรมการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจฮาลาลภาคใต้รับผิดชอบอยู่แล้วโดยเร่งขับเคลื่อนโครงการ '1 กลุ่มจังหวัด 1 นิคมอุตสาหกรรม' ภายใต้ความร่วมมือกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและศูนย์ AIC เพื่อเป็นฐานการผลิตแปรรูปสร้างมูลค่าสินค้าเกษตรในการส่งออกไปอาเซียน เอเซียตะวันออก เอเซียใต้เอเซียกลาง ตะวันออกกลาง แอฟริกา ยุโรปและอเมริกา

นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้เชิญนายพิริยพงศ์ แจ้งเจนเวทย์ จากสำนักงานมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพ (สคช.) ร่วมหารือแนวทางการพัฒนาผู้ประกอบการ และบุคลากรในอุตสาหกรรมฮาลาลของไทยในยุคเกษตร 4.0 ผ่านการเสริมสร้างความรู้ และทักษะฝีมือให้สอดคล้องกับมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพที่สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพเป็นผู้กำหนด ซึ่งสามารถนำมาเทียบเคียงกับกรอบคุณวุฒิแห่งชาติได้ โดยสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพได้กำหนดมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพสำหรับผู้ประกอบอาหารฮาลาล ซึ่งสอดคล้องกับหลักศาสนา และมาตรฐานสากล

อีกทั้งยังได้เชิญผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ชายแดนภาคใต้เข้าร่วมโครงการต่าง ๆ เพื่อยกระดับผู้ประกอบอาหารฮาลาลของไทย โดยคณะกรรมการฯ จะจัดทำความร่วมมือร่วมกับสถาบันฯ ในด้านการขยายผลสาขาอาชีพที่กำหนดมาตรฐานเสร็จแล้ว การจัดหลักสูตรฝึกอบรมออนไลน์ การให้การรับรองตามมาตรฐานอาชีพ รวมถึงการจัดทำมาตรฐานอาชีพเพิ่มเติมในสาขาที่ยังขาดแคลน โดยเฉพาะอาชีพที่ปรึกษาธุรกิจด้านฮาลาล ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาผู้ประกอบการฮาลาลไทย

ทางด้านรศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ รศ.ดร. ปกรณ์ ปรียากร ผู้อำนวยการสถาบันมาตรฐานฮาลาลแห่งประเทศไทยรายงานความคืบหน้างานสมัชชาฮาลาลไทยแลนด์ 2021 (Thailand Halal Assembly 2021) ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-3 มิถุนายน 2564 ผ่านระบบ video conference ภายใต้ธีม A Virtual Way for Actual Halal World ซึ่งจะมีการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับโอกาส และความท้าทายต่ออุตสาหกรรมฮาลาล และการรับรองฮาลาลในยุคหลัง COVID-19 โดยงาน Thailand Halal Assembly 2021 จะมีสถาบันมาตรฐานและมาตรวิทยาของประเทศอิสลาม (SMIIC) ภายใต้องค์การความร่วมมือประเทศอิสลาม (OIC) และสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพร่วมกับศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลและสถาบันมาตรฐานฮาลาลแห่งประเทศไทย

ภายในงานจะประกอบไปด้วยการประชุมวิชาการด้านฮาลาล และการจัดแสดงสินค้าฮาลาล รวมกว่า 4 กิจกรรมสำคัญ ได้แก่...

1.) การประชุมนานาชาติว่าด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฮาลาล2021 (The International Halal Science and Technology Conference 2021)

2.) การประชุมนานาชาติฮาลาลว่าด้วยอุตสาหกรรมและธุรกิจครั้งที่ 14 (The 14th Halal Science, Industry and Business Virtual Conference)

3.) การประชุมว่าด้วยการรับรองและมาตรฐานฮาลาลนานาชาติ (The International Halal Standards and Certification Convention)

4.) งานนานาชาติไทยแลนด์ฮาลาลเอ็กซ์โป (Thailand International Halal Expo 2021 Virtual Expo)

“นับเป็นการขยายบทบาทของไทยในเวทีโลกครั้งสำคัญที่สุดครั้งหนึ่งโดยเฉพาะการแสดงถึงมาตรฐานฮาลาลไทยและการพัฒนาสินค้าเกษตรและอาหารฮาลาล”

สำหรับการประชุมของคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 19 เม.ย. มีนายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการส่งเสริมสินค้าและผลิตผลการเกษตรมาตรฐาน “ฮาลาล” ทำหน้าที่ประธานการประชุมโดยมีผู้เข้าร่วมประชุมอาทิ นายสมชวน รัตนมังคลานนท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง นายขจร เราประเสริฐ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร รองประธานและเลขาธิการหอการค้าไทยในจีน นายสมศักดิ์ เมดาน รองเลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย รศ.ดร.ปกรณ์ ปรียากร ผู้อำนวยการสถาบันมาตรฐานฮาลาลแห่งประเทศไทย นายชยดิฐ หุตานุวัชร์ รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อานวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายพิริยพงศ์ แจ้งเจนเวทย์ผู้แทนสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) นายอำนวย ศรีระแก้ว ผู้ช่วยเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตัวแทนหน่วยงานราชการ เช่นกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงเกษตร กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม ภาคเอกชน ภาคประชาชนที่เกี่ยวข้อง โดยมีประเด็นสำคัญประกอบด้วย ความร่วมมือในด้านการพัฒนามาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพผู้ประกอบฮาลาล ผลการดำเนินงานส่งเสริมสินค้าและผลิตผลการเกษตรมาตรฐานฮาลาล ในปี พ.ศ.2563 และปี 2564

พร้อมรับทราบรายงานการดำเนินงานของ คณะอนุกรรมการจัดทำวิสัยทัศน์และนโยบายการส่งเสริมสินค้าและผลิตผล การเกษตรมาตรฐาน “ฮาลาล” คณะอนุกรรมการส่งเสริมการค้าสินค้าและผลิตผลการเกษตรมาตรฐาน “ฮาลาล”

คณะอนุกรรมการส่งเสริมการผลิตและการลงทุนเกี่ยวกับสินค้าและผลิตผล การเกษตรมาตรฐาน “ฮาลาล” และคณะอนุกรรมการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจเพื่อส่งเสริมการค้าและผลิตผลการเกษตร มาตรฐาน “ฮาลาล” ในพื้นที่ชายแดนใต้

รวมทั้งการรายงานผลการแก้ไขปัญหาเนื้อวัวปลอม ซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจ


สนับสนุนข่าวโดย : แหล่งรวม "บทความและคอนเทนต์แปลกใหม่!!!" แบบไร้ Toxic ติดตามได้ที่ THE STATES TIMES Blockdit

คลิก : https://www.blockdit.com/pages/60583e7ff90e240c3e7f1c32

รัฐบาลลุยออกมาตรการดูแลศก. - เยียวยา พ.ค.นี้

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พลังงาน เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ได้เรียกหน่วยงานทางด้านเศรษฐกิจหารือด่วน ภายหลังการประชุมครม. ถึงแนวทางการออกมาตรการทางเศรษฐกิจ เพื่อรองรับผลกระทบจากผลกระทบของโควิด-19 ระลอกใหม่ ที่ทำเนียบรัฐบาล โดยมี นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง และนายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เข้าร่วมหารือ 

รองนายกฯ กล่าวภายหลังการประชุม ว่า รัฐบาลจะออกมาตรการทางด้านเศรษฐกิจ และช่วยเหลือประชาชนอกมา โดยล่าสุดกระทรวงการคลัง กำลังพิจารณาแนวทางอยู่ ทั้งมาตรการเดิม เช่น โครงการเราชนะ คนละครึ่ง ม33 เรารักกัน หรือมาตรการใหม่ คือ เราผูกพัน ที่จะช่วยเหลือข้าราชการ โดยรัฐบาลยืนยันว่ายังมีเงินเพียงพอมาทำมาตรการในครั้งนี้ 

เช่นเดียวกับมาตรการด้านท่องเที่ยว ซึ่งที่ประชุมได้หารือถึงการเปิดรับนักท่องเที่ยวที่ จ.ภูเก็ต ซึ่งจะดำเนินการตามแผนเดิม โดยเน้นการท่องเที่ยวจากประเทศระยะไกลเป็นหลัก ส่วนการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่นี้จะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยหรือไม่ นายสุพัฒนพงษ์ ยอมรับว่า ขอประเมินสถานการณ์ในช่วงเดือนนี้ก่อน ถ้าหากสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ในสิ้นเดือนนี้ก็หาทางขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อไป

ครม. เปิดตัว “โครงการสร้างรายได้ด้วยแฟรนไชส์ฝ่าโควิด-19” วงเงิน 68 ล้านบาท

นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.อนุมัติโครงการสร้างรายได้ด้วยแฟรนไชส์ฝ่าโควิด-19 ตามที่ กระทรวงพาณิชย์ เสนอ วงเงิน 68 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินงาน 8 เดือน ตั้งแต่เดือนพ.ค.-ธ.ค.นี้ เพื่อช่วยเหลือและสร้างอาชีพแก่คนว่างงานและตกงาน กระตุ้นและฟื้นฟูธุรกิจแฟรนไชส์ และธุรกิจเอสเอ็มอี ขนาดเล็ก สร้างโอกาสทางการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์และการขยายการลงทุนในธุรกิจให้กับแฟรนไชส์ เพิ่มช่องทางการหารายได้ สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจไทย ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดไวรัสโควิด-19 

โดยกิจกรรม ประกอบด้วย 1.จัดงานแฟรนไชส์สร้างอาชีพ Road Show 2021 ในภูมิภาค รวม 15 ครั้ง เดือนละ 2 จังหวัด มีเป้าหมาย 100 ธุรกิจ และประสานงานการเข้าถึงแหล่งเงินทุนระหว่างเจ้าของแฟรนไชส์ และสถาบันการเงินของรัฐและธนาคารพาณิชย์ที่มีสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ให้แก่ผู้ที่ต้องการทำธุรกิจแฟรนไชส์ มีเงินลงทุนเพื่อประกอบอาชีพได้ง่ายขึ้น 

2.จัดงาน DBD Franchise & SME Expo 2021 ส่วนกลาง 1 ครั้ง เป้าหมาย 400 ธุรกิจ และประสานงานการเข้าถึงแหล่งเงินทุนระหว่างเจ้าของแฟรนไชส์ และสถาบันการเงินของรัฐและธนาคารพาณิชย์ที่มีสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้แก่ผู้ที่ต้องการทำธุรกิจ มีเงินลงทุนเพื่อประกอบอาชีพได้ง่ายขึ้น   ทั้งนี้คาดว่าธุรกิจแฟรนไชส์ 500 ราย จะได้นำเสนอธุรกิจเป็นทางเลือกในการสร้างรายได้แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 และผู้ว่างงาน ได้ร่วมกิจกรรมแฟรนไชส์สร้างอาชีพ จำนวน 1 หมื่นราย


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top