Monday, 29 April 2024
บิ๊กโจ๊ก

“บิ๊กโจ๊ก” จับเข่าคุย!! ‘ประมงพื้นบ้าน’ ร่วมต้าน IUU

จากกรณีที่ประเทศไทยได้ถูกลดอันดับการรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์จากทางการสหรัฐฯ ลงเป็นอันดับประเทศที่ต้องจับตามอง (Tier 2 Watch List) โดยมีข้อสังเกตในเรื่องการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการค้ามนุษย์อย่างจริงจังในทุกภาคส่วน ปัญหาการบังคับใช้แรงงานและแรงงานข้ามชาติซึ่งเกิดขึ้นในหลายอุตสาหกรรมรวมถึงภาคการประมง รวมทั้งปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ตามที่ทราบแล้ว นั้นจากกรณีดังกล่าว พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ                   รองนายกรัฐมนตรี ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย เพื่อแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย และการบังคับใช้แรงงานในภาคการประมง โดยมี พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นประธานคณะทำงานเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบ ควบคุม เฝ้าระวังการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพื่อขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งได้แต่งตั้งชุดปฏิบัติการตรวจสอบและเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาการประมง เพื่อการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวและประสานการปฏิบัติร่วมกับหน่วยงานที่

ในการนี้ พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. จึงได้สั่งการให้ พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ รองผู้บัญชาการ              ตำรวจแห่งชาติ / ผู้อำนวยการ ศพดส.ตร. และ พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ / รองผู้อำนวยการ ศพดส.ตร./ รองประธานอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU Fishing) โดยเร่งด่วน

ต่อมาเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2565 พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ/รองประธานอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ได้เดินทางมาพบปะและประสานความร่วมมือกับสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย นำโดย นายสะมะแอ เจ๊ะมูดอ, นายวิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี, นายเจริญ โต๊ะอิแต และพี่น้องชาวประมงพื้นบ้าน ที่กลุ่มอนุรักษ์ประมงพื้นบ้านบ้านในถุง อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ในการต่อต้าน การทำประมงผิดกฎหมาย (IUU) เพื่อให้การดูแลทรัพยากรทางทะเลมีความยั่งยืน อุดมสมบูรณ์ 

เกี่ยวข้อง

การทำประมงผิดกฎหมาย (IUU) ทำให้เกิดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรสัตว์น้ำในเขตทะเลประเทศไทยเป็นอย่างมาก ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องชาวประมงพื้นบ้าน ซึ่งเป็นเรือประมงขนาดเล็ก ใช้เครื่องมือประมงประสิทธิภาพต่ำในการจับสัตว์น้ำเพื่อการยังชีพ และจำหน่ายในท้องถิ่นเป็นหลัก มีวิถีการทำประมงที่ไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ทำให้เกิดความมั่นคงทางอาหาร สามารถพึ่งพาตนเองได้แม้ในยามวิกฤต จนกระทั่งรัฐบาล นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้เข้ามาแก้ไขปัญหา IUU โดยสามารถปลดใบเหลืองจากสหภาพยุโรปได้ ผลของการทำงานดังกล่าว ทำให้ทรัพยากรสัตว์น้ำในเขตชายฝั่งกลับสู่ความอุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยในปีพ.ศ.2561 ชาวประมงพื้นบ้านสามารถจับปลาได้ 140,037 ตัน ปี พ.ศ.2562 ได้ 161,462 ตัน, ปีพ.ศ.2563 ได้ 250,622 ตัน และปีพ.ศ.2564 เพียง 9 เดือนแรก (ถึง ก.ย.) ได้ถึง 164,054 ตัน 

อย่างไรก็ตาม ชาวประมงพื้นบ้านยังคงประสบปัญหาการลักลอบเข้ามาทำการประมงในเขตชายฝั่งจากเรือประมงขนาดใหญ่และเรือประมงที่ใช้เครื่องมือประสิทธิภาพสูง เช่น อวนลาก คราดหอย อวนลากคู่ ซึ่งเป็นการทำประมงผิดกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปีพ.ศ.2563 และ 2564 ที่ผ่านมา ชาวประมงพื้นบ้านได้ร้องเรียนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถึงปัญหาดังกล่าว แต่ยังไม่ได้รับการแก้ไขแต่ประการใด นอกจากนั้นยังถูกข่มขู่จากผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น ซึ่งเป็นนายทุนเบื้องหลังพฤติกรรมทำประมงผิดกฎหมายเหล่านี้ ทำให้ชาวประมงพื้นบ้านไม่เชื่อถือการทำงานของเจ้าหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมาย โดยในรอบปีพ.ศ.2564 ที่ผ่านมา มีเรือประมงขนาดใหญ่ถูกดำเนินคดีความผิดประมงในทะเลเพียง 10 คดีเท่านั้น 

ในการพบปะครั้งนี้ พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ได้ให้ความมั่นใจกับชาวประมงพื้นบ้านว่า “ชาวประมงพื้นบ้าน เป็นผู้พิทักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำให้ยั่งยืนและอุดมสมบูรณ์ ผมได้รับข้อมูลและความร่วมมือในการต่อต้านการทำประมง IUU อย่างดียิ่ง นอกจากเบาะแสของเรือประมงกลุ่มทุนแล้ว ยังรวมถึงการเลือกปฏิบัติ การละเว้นปฏิบัติของเจ้าหน้าที่อีกด้วย เห็นได้จากในรอบปี 2564 ที่ผ่านมา เรือประมงกลุ่มทุนถูกดำเนินคดีทำการประมงผิดกฎหมายในทะเลเพียง 10 คดี ท่านนายกรัฐมนตรี ท่านรองนายกรัฐมนตรี ให้ความสำคัญกับชาวประมงพื้นบ้านมาก และได้กำชับให้ผมเข้ามาแก้ไขปัญหาผู้มีอิทธิพลในทะเล กลุ่มเรือนายทุน ร่วมกับเจ้าหน้าที่ที่ “หลับตา” ละเว้นการปฏิบัติ หรือเลือกปฏิบัติในการบังคับใช้กฎหมาย ทำให้พี่น้องชาวประมงพื้นบ้านไม่เชื่อมั่นการทำงานของภาครัฐ ผมได้จัดชุดปฏิบัติการ 4 ชุดระดมกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีความชำนาญ มาเพื่อแก้ไขปัญหาที่พี่น้องเสนอข้อมูลมา ผู้มีอิทธิพล นายทุนประมง เจ้าหน้าที่รัฐที่รู้เห็นเป็นใจ จะต้องไม่มีที่ยืน เบื้องต้นผมได้จัดกำลังลงตรวจเรือประมงที่แจ้งว่า “งดใช้เรือ” ไม่ออกทำประมง และขอปิดเครื่อง VMS จำนวน 620 ลำ แต่มีบางลำลักลอบออกไปทำประมงผิดกฎหมาย หรือขนของเถื่อน ขนของหนีภาษี รวมถึงค้ามนุษย์ เรือประมงเหล่านี้ ลำไหน “จอดไม่ตรงจุดที่แจ้ง ไปตรวจแล้วไม่มีเรือ” ดำเนินคดีทุกลำพร้อมทั้งเจ้าหน้าที่ด้วย ผมไม่ได้ทำงานเพราะเอาใจ EU แต่ตั้งใจมาทำงานนี้เพราะอยากให้ทรัพยากรสัตว์น้ำของเราอุดมสมบูรณ์ยั่งยืนไปชั่วลูกหลาน และขอขอบคุณที่พี่น้องประมงพื้นบ้านที่มาผนึกกำลังกับภาครัฐในการต่อต้านประมง IUU”

​​​​​​​

‘บิ๊กโจ๊ก’ ลงใต้! ติดตามปฏิบัติการ พิชิตพาล เมืองลุง ปิดล้อม - ตรวจค้น - กวาดล้างอาชญากรรม ผู้มีอิทธิพลและยาเสพติดในพื้นที่จังหวัดพัทลุง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ห้องประชุม  ตำรวจภูธรจังหวัดพัทลุง พล.ต.ท.สุรเชษฐ์  หักพาล ผู้ช่วย ผบ.ตร พร้อม พล.ต.ต.ตานิตย์ รามดิษฐ์ ผบก.ภจว พัทลุง แถลงผลการปิดล้อมตรวจค้น ตามแผนปฏิบัติการพิชิดพาล เมืองลุง โดยการระดมกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ จำนวน 840 นาย พื้นที่เป้าหมายจำนวน 79 จุด เน้นเป้าหมายสำคัญเป็นกลุ่มผู้มีอิทธิพล อาวุธปืน และยาเสพติด

เมื่อช่วงเช้าตรู่ที่ผ่านมาผลเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถจับกุมผู้ต้องหาได้จำนวน  24 คน  ของกลางปืนสั้น จำนวน  6 กระบอก ปืนยาว 6 กระบอก เครื่องกระสุนปืน จำนวน  338 นัด ยาบ้าจำนวน 2,880 เม็ด ยาไอซ์จำนวน 11.15 กรัม และกัญชาแห้ง จำนวน 103.95 กรัม

พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ ฯ ผช.ผบ.ตร กล่าวว่า การปิดล้อมตรวจค้นเป้าหมายในครั้งนี้เป็นนโยบายของ พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร ที่ต้องการให้ตำรวจสร้างความเชื่อมั่นความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดความหวาดระแวงภัยอาชญากรรม ในพื้นที่จังหวัดพัทลุง หลังพบว่าช่วงหลัง จังหวัดพัทลุง มีคดีที่เกี่ยวข้องกับผู้มีอิทธิพล อาวุธปืน และยาเสพติดบ่อยครั้ง

"บิ๊กโจ๊ก" ลงพื้นที่สอบ ผตห. "คดีรังนก" เพิ่มอีก 8 ราย จ่อส่งสำนวนฟ้อง! สรุปเป็นพลเรือน + เจ้าหน้าที่รัฐ รวมเป็น 21 ราย

พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วย ผบ.ตร. เปิดเผยว่า ตามที่ได้มีการร้องเรียนเผยแพร่ข้อมูลทางสื่อมวลชน กรณี บริษัท สยามเนสท์ 2022 จำกัด ซึ่งเป็นเจ้าของสัมปทานรังนกอีแอ่นบริเวณ หมู่เกาะสี่เกาะห้า อ.ปากพะยูน จว.พัทลุง ร้องเรียนว่าหลังจากเข้ารับมอบพื้นที่สัมปทานเก็บรังนกช่วงต้นเดือน กันยายน 2564 แล้วพบว่ามีการลักลอบเข้าไปเก็บรังนกบริเวณดังกล่าว ทำให้ลูกนกตายจำนวนมากสร้างความเสียหายต่อบริษัทผู้รับสัมปทาน  เป็น จำนวนเงินมูลค่าหลายพันล้านบาท นั้นทาง พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. และ พล.ต.อ.สุซาติ ธีระสวัสดิ์ รอง ผบ.ตร. ได้สั่งการให้เร่งรัดติดตามคดีดังกล่าว

พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ กล่าวว่า วันนี้ตนลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าเร่งรัดการสืบสวนสอบสวนกรณีดังกล่าว โดยสั่งการพล.ต.ท.นันทเดซ ย้อยนวล ผบซ.ภ.9, พล.ต.ต.กฤษฎา แก้วจันดี รอง ผบข.ภ.9., พล.ต.ต.วัลลพ จำนงค์อาษา รอง ผบช.ภ.9,พล.ต.ต.ตานิตย์ รามดิษฐ์ ผบก.ภ.จว.พัทลุง ลงไปเร่งรัดสืบสวนพบว่า มีกลุ่มคนร้ายลักลอบเข้าไปเก็บรังนกในพื้นที่สัมปทานหมู่เกาะสี่เกาะห้า ระหว่างวันที่ 14 มิ.ย.- 9 ก.ย.64 จริง ตามข้อร้องเรียน

จึงได้สืบสวนหาตัวคนร้ายที่ลักลอบเข้าไปเก็บรังนก จนมีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะดำเนินคดีผู้กระทำความผิด จำนวนทั้งสิ้น 3 คดี  คือ

1. คดีอาญาที่ 77/2564 ลงวันที่ 2 ก.ค.2564 ผู้ต้องหา จำนวน 6 คน แบ่งเป็น  พลเรือน จำนวน 4 คนเจ้าหน้าที่รัฐจำนวน 2 คนโดยให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการติดตามจับกุมได้แล้วทั้งหมด จำนวน 6 คน ความผิดฐาน "ร่วมกันเก็บรังนกที่มีอยู่ตามธรรมชาติบนเกาะหรือในที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน

โดยไม่ได้รับสัมปทานจากคณะกรรมการ, ร่วมกันเข้าไปกระทำการใด ๆ บนเกาะ หรือในที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ที่มีรังนกอยู่ตามธรรมชาติ อันเป็นหรืออาจเป็นอันตรายแก่นกอีแอ่น ไข่ของนกอีแอ่น หรือรังนก หรืออาจเป็นเหตุให้นกอีแอ่นละที่อยู่อาศัยไปจากเกาะหรือที่สาธารณสมบัติแผ่นดินดังกล่าว(ตาม พ.ร.บ.รังนกอีแอ่น พ.ศ.2540 มาตรา 14 วรรคหนึ่ง , 25, 28) , ร่วมกันเก็บ ทำอันตราย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งรังของสัตว์ป่าคุ้มครอง, ล่าสัตว์ป่า หรือเก็บ หรือทำอันตรายแก่รังของสัตว์ป่านั้น ในพื้นที่ที่รัฐมนตรีประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่า (ตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562 มาตรา 14 วรรคสอง , 67 (1) "และความผิดฐาน"เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต, เป็นเจ้าพนักงานสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ สมาชิกสภาจังหวัด หรือสมาชิกสภาเทศบาล เรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ เพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่งไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือมิชอบด้วยหน้าที่ (ตาม ป.อาญา มาตรา 149 และ 157 ) หัวหน้าคณะพนักงานสืบสวนสอบสวน ตามคำสั่ง สำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ 539/2564 ลงวันที่ 29 ตุลาคม 2564  

สำหรับ คดีดังกล่าวได้มีความเห็น ควรสั่งฟ้องผู้ต้องหา ทั้ง 6 คน  ส่งไปยัง พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษ ฝ่ายคดีปราบปรามการทุจริต 1 ภาค 9 เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2564 และได้ยื่นฟ้องผู้ต้องหาทั้ง 6 คน ต่อ ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ภาค 9 ตามคดีหมายเลขดำที่ อท.101/2564 ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2564

2. คดีอาญาที่ 107/2564 ลงวันที่ 19 ต.ค.2564 ช่วงเริ่มคดี มี ผู้ต้องหา จำนวน 13 คน แบ่งเป็น พลเรือนจำนวน 11 คนเจ้าหน้าที่รัฐจำนวน  2 คนจากการสืบสวนสอบสวน พบว่า มีกลุ่มคนร้ายอีกจำนวนหลายคนได้ร่วมกับเจ้าหน้าที่รัฐบางส่วน ร่วมกันขึ้นไปลักเอารังนกยังหมู่เกาะ  รังนก เกาะสี่ เกาะห้า อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง คณะพนักงานสืบสวนสอบสวนได้ร่วมกันทำการสืบสวนสอบสวนจนทราบตัวคนร้าย อีกจำนวนทั้งสิ้น 11 ราย จนมีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะดำเนินคดีผู้กระทำความผิด โดยขออนุมัติศาลจังหวัดพัทลุง ออกหมายจับผู้ต้องหาในคดีที่สอง จำนวน 11 คน และแจ้งข้อกล่าวหา จำนวน 1 คน รวมผู้ต้องหา ทั้งสิ้น จำนวน 12 คน เจ้าหน้าที่ตำรวจ ดำเนินการติดตามจับกุมแจ้งข้อกล่าวหาแล้ว 11 คน ยังหลบหนีอีก 1 คน คือ นายสุธรรม  ขุนล่ำ  อยู่บ้านเลขที่ 7/8 ม.6 ต.ทุ่งตำเสา อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา หมายจับศาลจังหวัดพัทลุง ที่ จ.365/64ผู้ต้องหา จำนวน 4 คน ให้การรับสารภาพ ประกอบกับมีของกลาง รังนก ที่ยึดได้จากกลุ่มผู้ต้องหา ได้รับผลการตรวจทางนิติวิทยาศาสตร์ จาก กรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธ์พืช ยืนยันว่า รังนก ของกลาง เมื่อตรวจเปรียบเทียบกับเศษหินเศษดินในถ้ำรังนกที่เกิดเหตุ พบว่า เป็นรังนกที่นำมาจากถ้ำรังนกที่เกิดเหตุจริง สอดคล้องกับคำให้การผู้ต้องหา 

คณะพนักงานสืบสวนสอบสวน ได้ทำการสอบสวนดำเนินคดีกับ ผู้ต้องหาในความผิดความผิดฐาน "ร่วมกันเก็บรังนกที่มีอยู่ตามธรรมชาติบนเกาะหรือในที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยไม่ได้รับสัมปทานจากคณะกรรมการ, ร่วมกันเข้าไปกระทำการใด ๆ บนเกาะ หรือในที่ สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ที่มีรังนกอยู่ตามธรรมชาติ อันเป็นหรืออาจเป็นอันตรายแก่นกอีแอ่น ไข่ของนกอีแอ่น หรือรังนก หรืออาจเป็นเหตุให้นกอีแอ่นละที่อยู่อาศัยไปจากเกาะหรือที่สาธารณสมบัติแผ่นดินดังกล่าว (ตาม พ.ร.บ.รังนกอีแอ่น พ.ศ.2549 มาตรา 14 วรรคหนึ่ง , 25, 28 ) , ร่วมกัน เก็บ ทำอันตราย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งรังของสัตว์ป่าคุ้มครอง, ล่าสัตว์ป่า หรือเก็บ หรือทำอันตรายแก่  รังของสัตว์ป่านั้น ในพื้นที่ที่รัฐมนตรีประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่า (ตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562 มาตรา 14 วรรคสอง , 67 (1)"  และความผิดฐาน"เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่   โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต เป็นเจ้าพนักงาน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ สมาชิกสภาจังหวัด หรือสมาชิกสภาเทศบาล เรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ เพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่งไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือมิชอบด้วยหน้าที่ (ตาม ป.อาญา มาตรา 149 และ 157 ) ซึ่งการสืบสวนสอบสวนต่อมา ได้ออกหมายเรียกผู้ต้องหาอีก จำนวน 8 คน เป็นพลเรือน 7 คน เจ้าหน้าที่รัฐ (เจ้าหน้าที่ป่าไม้) จำนวน 1 คน ให้มาพบ คณะพนักงานสืบสวนสอบสวนในวันจันทร์ที่ 24 มกราคม 2565 เวลา 10.00 น. กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดพัทลุง สรุปในคดีที่สอง มี ผู้ต้องหาจำนวน 21 คนแบ่งเป็น  พลเรือนจำนวน 18 คนเจ้าหน้าที่รัฐจำนวน  3 คน

3.คดีอาญาที่ 118/2564 ลงวันที่ 29 ต.ค.2564 ผู้ต้องหา จำนวน 20 คน แบ่งเป็นพลเรือนจำนวน 1 คน เจ้าหน้าที่รัฐจำนวน  19 คน จากการสืบสวนต่อมาพบว่า มีกลุ่มคนร้ายอีกจำนวนหลายคนได้ร่วมกับเจ้าหน้าที่รัฐ ร่วมกันกระทำผิดเกี่ยวกับการลักเอารังนก หมู่เกาะรังนก เกาะสี่ เกาะห้า อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง คณะพนักงานสืบสวนสอบสวนได้ร่วมกันทำการสืบสวนสอบสวนจนทราบตัวผู้กระทำผิด อีกจำนวนทั้งสิ้น 20 ราย

โดยขออนุมัติศาลจังหวัดพัทลุง ออกหมายจับผู้ต้องหา ศาลจังหวัดพัทลุงพิจารณาแล้วเห็นว่า ผู้ต้องหาเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่และข้าราชการ กระทำผิดร่วมกับประชาชน ผู้ต้องหามีที่อยู่เป็นหลักแหล่งแน่นอน ไม่ปรากฏพฤติการณ์หลบหนีเชื่อว่าหากพนักงานสอบสวนออกหมายเรียก ผู้ต้องหาจะมาพบตามหมายเรียกจึงเห็นควรให้พนักงานสอบสวนออกหมายเรียกผู้ต้องหาเสียก่อน ต่อมาผู้ต้องหาได้เข้าพบพนักงานสอบสวน และได้แจ้งข้อกล่าวหาให้ทราบ ทำการสอบสวนปากคำไว้แล้ว

สรุป มีผู้ต้องหาทั้งหมด 47  ราย ผู้ต้องหา 44 คน (บางคนถูกดำเนินคดี 2 คดี) แยกเป็น

1.เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง จำนวน 4 คน 2.เจ้าหน้าที่อาสาสมัครรักษาดินแดน จำนวน 8 คน

3.ผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 1 คน

4.เจ้าหน้าที่ตำรวจ จำนวน 7 คน

5.พลเรือน จำนวน 24 คน

“บิ๊กโจ๊ก” เดินหน้า!กวาดล้าง ‘มาเฟียน้ำมันเขียว’ จับกลางอันดามัน เวียนเทียนใช้รหัสเรือจม โผล่เติมน้ำมัน

จากกรณีที่ประเทศไทยได้ถูกลดอันดับการรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์จากทางการสหรัฐฯ ลงเป็นอันดับประเทศที่ต้องจับตามอง (Tier 2 Watch List) โดยมีข้อสังเกตในเรื่องการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการค้ามนุษย์อย่างจริงจังในทุกภาคส่วน ปัญหาการบังคับใช้แรงงานและแรงงานข้ามชาติซึ่งเกิดขึ้นในหลายอุตสาหกรรมรวมถึงภาคการประมง รวมทั้งปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ตามที่ทราบแล้ว นั้น

จากกรณีดังกล่าว พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย เพื่อแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย และการบังคับใช้แรงงานในภาคการประมง โดยมี พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นประธานคณะทำงานเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบ ควบคุม เฝ้าระวังการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพื่อขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งได้แต่งตั้งชุดปฏิบัติการตรวจสอบและเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาการประมง เพื่อการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวและประสานการปฏิบัติร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ในการนี้ พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. จึงได้สั่งการให้ พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ /ผู้อำนวยการ ศพดส.ตร. และ พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ / รองผู้อำนวยการ ศพดส.ตร. /รองประธานอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU Fishing) โดยเร่งด่วน

โครงการน้ำมันเขียว เป็นโครงการที่ภาครัฐจัดน้ำมันดีเซลที่เติมสารสีเขียวเพื่อให้แยกแยะจากน้ำมันบนฝั่งได้ และได้รับยกเว้นภาษีสรรพสามิต ทำให้มีราคาถูกกว่าน้ำมันดีเซลบนบกประมาณลิตรละ 6 บาท ซึ่งรัฐบาลจัดให้มีขึ้นเพื่อลดภาระต้นทุนการทำประมงให้กับชาวประมงพาณิชย์ตามมติคณะรัฐมนตรีตั้งแต่ 18 กันยายน 2555 ในการบริหารจัดการมีอธิบดีกรมสรรพสามิตทำหน้าที่เป็นประธานคณะกรรมการกำกับดูแลโครงการ ปัจจุบันมีเรือสถานีบริการ (Tanker) 51 ลำ ให้บริการพี่น้องชาวประมงพาณิชย์ทั่วเขตทะเลไทย

ต่อมาประเทศไทยได้รับ “ใบเหลือง” การทำประมง IUU จากสหภาพยุโรปเมื่อปี 2558 รัฐบาลดำเนินการจัดระเบียบการทำประมงประเทศไทยใหม่ทั้งระบบ ทำให้เรือประมงพาณิชย์ที่ได้รับสิทธิเติมน้ำมันเขียวลดลงจาก 10,459ลำ ในปี 2559 เหลือ 8,445 ลำ ในปี 2564 แต่ทว่าขณะที่เรือประมงพาณิชย์ที่เติมน้ำมันเขียวลดจำนวนลง แต่ปริมาณการจำหน่ายกลับมิได้ลดลงตามสัดส่วนจำนวนเรือ กลับ “คงที่อยู่ประมาณปีละ 610 ล้านลิตร” คิดเป็นภาษีที่รัฐบาลยกเว้นถึงปีละประมาณ 4,000 ล้านบาท หรือเท่ากับเรือประมงพาณิชย์ทุกลำที่เติมน้ำมันเขียว ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐในการยกเว้นภาษีที่ควรจะเสียประมาณ 471,717 บาท/ลำ/ปี

นอกจากนั้น การอุดหนุนภาคประมงพาณิชย์ด้วยการ “ยกเว้นภาษี” น้ำมันดีเซลให้ต่ำกว่าราคาตลาดลิตรละ 6 บาท หรือน้ำมันเขียว ได้กลายเป็นประเด็นสำคัญที่องค์การการค้าโลก (WTO) ให้ประเทศไทยชี้แจงว่า เป็นการอุดหนุนที่มีการบริหารจัดการอย่างเข้มงวดหรือไม่ เพื่อมิให้เป็นการสนับสนุนการทำประมง IUU การทำประมงทำลายล้างทรัพยากรสัตว์น้ำ Over Fishing ซึ่งหากประเทศไทยไม่มีแนวทางการบริหารจัดการ ก็มีความเสี่ยงสูงมากที่องค์การการค้าโลกจะประกาศให้ประเทศไทยต้องยกเลิกการอุดหนุนภาคประมงพาณิชย์ด้วยการยกเลิกโครงการน้ำมันเขียวทั้งหมด ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเรือประมงพาณิชย์ประเทศไทยอย่างกว้างขวาง

คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2564 จึงอนุมัติกรอบการชี้แจงกับองค์การการค้าโลก (WTO) โดยยืนยันว่าประเทศไทยมีการกำกับดูแลที่ดีในการทำประมงไม่ให้เป็น IUU ทำลายล้างสัตว์น้ำ และมีระบบควบคุมดูแลการสนับสนุนการทำประมงอย่างดีมีประสิทธิภาพ ทำให้หน่วยงานภาครัฐโดยกรมสรรพสามิต ได้ประสานขอการสนับสนุนจาก พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วย ผบ.ตร. ในฐานะประธานคณะทำงานเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบ ติดตาม ควบคุม เฝ้าระวังการทำประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เข้าตรวจสอบ สืบสวน เพื่อ “จัดระบบ” ควบคุมดูแลโครงการน้ำมันเขียว ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์อย่างเคร่งครัด ไม่ให้ถูกนำไปใช้ในการทำประมง IUU การทำประมงทำลายล้างสัตว์น้ำ และการค้ามนุษย์ แรงงานบังคับ บนเรือประมง

จากการตรวจสอบข้อมูลเรือประมงที่มีสิทธิเติมน้ำมันเขียว ซึ่งต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามประกาศกรมศุลกากร ที่ 68/2561 ลงวันที่ 10 เมษายน 2561 ประกอบด้วย

1) ต้องเป็นเรือประมงที่ได้รับใบอนุญาตทำการประมงจากกรมประมง 

2) ต้องเป็นเรือประมงที่ผ่านการรับรองจากสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย 

3) ต้องเป็นเรือประมงที่มีรหัสและรับรองจากสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย

โดยสมาคมการประมงแห่งประเทศไทยส่งให้กับกรมสรรพสามิต เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2564 จำนวน 8,445 ลำ พบข้อมูลว่า มีเรือที่ไม่มีคุณสมบัติตามประกาศกรมศุลกากร แต่สมาคมการประมงแห่งประเทศไทย ออกรหัสและรับรองให้เติมน้ำมันเขียว ถึง 791 ลำ ประกอบด้วย เรือประมงพาณิชย์ไม่มีทะเบียนเรือ เรือประมงพาณิชย์ไม่มีใบอนุญาตประมงพาณิชย์จากกรมประมง เรือประมงพาณิชย์ที่แจ้งจมหรือทำลายไปแล้ว เรือประมงพาณิชย์ที่เปลี่ยนประเภทไปเป็นเรือบรรทุกสินค้า เรือลากจูง และเรือประมงพื้นบ้านที่มีขนาดถังน้ำมันตั้งแต่ 1,500 - 10,000 ลิตร ซึ่งเกินกว่าขนาดตัวเรือที่สามารถบรรทุกได้

เมื่อนำรายชื่อเรือพร้อมรหัสเติมน้ำมันเขียวจากสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย ไปสอบยันกับข้อมูลการเติมน้ำมันเขียวที่ตำรวจน้ำได้รับจากเรือสถานีบริการ (Tanker) พบว่า มีเรือประมงที่ใช้รหัสของเรือประมงที่ขาดคุณสมบัติข้างต้น “ไปเติมน้ำมันเขียว” จำนวนหลายลำ และยิ่งไปกว่านั้นยังพบว่ามีเรือประมงอีกจำนวน 599 ลำ ใช้รหัสเติมน้ำมันไม่ตรงกับรหัสเติมน้ำมันที่สมาคมการประมงแห่งประเทศไทยออกให้และรับรอง “เข้ามาเติมน้ำมันเขียว” ด้วย เช่นเดียวกัน ทำให้จำนวนเรือที่เกี่ยวข้องในการกระทำผิด “เติมน้ำมันเขียว” โดยขาดคุณสมบัติตามประกาศกรมศุลกากร ซึ่งออกตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 มีจำนวนถึง 1,390 ลำ

พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วย ผบ.ตร. จึงบูรณาการกำลังออกปฏิบัติการร่วมกัน ระหว่าง กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร กรมประมง กรมเจ้าท่า ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) และเจ้าหน้าที่ตำรวจ เข้าจับกุมเรือประมง ชื่อ ช.ศรีพลนภา 5 ขนาด 122 ตันกรอส ขณะทำการประมงบริเวณทะเลอันดามัน พื้นที่รอยต่อจังหวัดพังงาและระนอง โดยให้เข้าเทียบท่าที่ อ.คุระบุรี จ.พังงา มีพฤติกรรมวนเวียนเติมน้ำมันจากเรือสถานีบริการ (Tanker) หลายลำ ในช่วงเวลาต่าง ๆ กัน โดยใช้รหัสเติมน้ำมันของ “เรือประมงที่แจ้งทำลายเรือ” ไปเรียบร้อยแล้ว ก่อนวันที่ 13 กรกฎาคม 2564 และขยายผลเข้าตรวจค้นเอกสารหลักฐานต่าง ๆ จากผู้เกี่ยวข้อง คือ เรือสถานีบริการน้ำมันเขียว บริษัทเข้าของเรือสถานีบริการน้ำมันเขียว รวมถึงสมาคมประมงที่ให้การรับรอง เพื่อดำเนินคดีตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560มาตรา 189 ขนถ่ายน้ำมันในเขตต่อเนื่องโดยไม่มีคุณสมบัติ มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือปรับเป็นเงินสองเท่าของราคาน้ำมันที่อยู่ในเรือ หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งเรือประมงที่ถูกจับกุมวันนี้บรรทุกน้ำมันประมาณ 30,000 ลิตร และได้เติมน้ำมันเขียวโดยใช้รหัสเติมน้ำมันเขียวจากเรือประมงลำอื่นที่แจ้งกับกรมเจ้าท่าว่า ถูกทำลายไปแล้ว จำนวน 6 ครั้ง จะต้องโดนปรับ 4,320,000 บาท นอกจากนั้น ยังเข้าข่ายกระทำความผิดพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 มาตรา 203 ฐานนำน้ำมันที่ยังไม่เสียภาษีสรรพสามิตเข้ามาในราชอาณาจักร มีโทษปรับสองถึงสิบเท่าของภาษี จึงจะต้องเสียค่าปรับอีก 12,600,000 บาท รวมค่าปรับทั้งสองกฎหมาย รวม 16,920,000 บาท ทั้งนี้ยังไม่รวมการดำเนินคดีจากกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 พระราชบัญญัติเรือไทย พ.ศ. 2481 เป็นต้น และจะมีการจับกุมดำเนินคดี กับเรือประมงที่กระทำความผิดในลักษณะเดียวกันตามมาอีกจำนวนมากในทุกจังหวัดชายทะเล ซึ่งชุดปฏิบัติการได้กำหนดเป้าหมายไว้เรียบร้อยหมดแล้ว ตั้งแต่วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2565 เป็นต้นไป

นอกจากจะมีการดำเนินคดีกับกลุ่มเรือประมงที่ไม่มีคุณสมบัติเติมน้ำมันเขียวแล้ว ในส่วนของเรือสถานีบริการ (Tanker) และสมาคมการประมง ที่ให้การรับรองคุณสมบัติและออกรหัสเติมน้ำมันเขียว ก็จะถูกดำเนินคดีด้วยทั้งหมดเช่นเดียวกัน

“ผมขอเรียนว่า ปฏิบัติการครั้งนี้ไม่มีผลกระทบต่อพี่น้องชาวประมงที่ประกอบอาชีพโดยสุจริตแต่อย่างใด ทุกท่านยังสามารถเติมน้ำมันเขียวได้ตามปกติเหมือนเดิมทุกประการ ผมขอย้ำว่าการทำงานของผมคือการแยกน้ำเสียออกจากน้ำดี ให้คนดีมีที่ยืนอย่างภาคภูมิใจในสังคม คนไม่ดีต้องได้รับการลงโทษ ซึ่งผมมั่นใจว่า พี่น้องชาวประมง 95% เป็นคนดี หน้าที่ของผมคือ นำคนไม่ดี 5% ไม่ให้ปะปนกับคนดีและทำให้คนดีได้รับความเสียหาย การบูรณาการการทำงานร่วมกันหลายหน่วยงานครั้งนี้ เป็นการสร้างความเป็นธรรมในระบบภาษีของประเทศในภาวะที่ประชาชนกำลังได้รับความลำบาก แต่มีบางพวก บางกลุ่ม แสวงหาผลประโยชน์จากสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ภาครัฐดูแลสนับสนุนไป เพื่อประโยชน์ส่วนตัว สร้างความเสียหายจากมูลค่าภาษีที่รัฐควรจะได้ถึงปีละ 700 ล้านบาท อย่างไรก็ตามผมจะประสานงานหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร กรมประมง ในการเร่งรัดปรับปรุงกระบวนการควบคุม ดูแลการบริหารจัดการน้ำมันเขียวไม่ให้เกิดการกระทำความผิดเช่นนี้อีก โดยเร็วที่สุด ไม่เช่นนั้นประเทศของเราจะอยู่ในความเสี่ยงสูงที่จะถูกองค์การการค้าโลก (WTO) พิจารณายกเลิกมาตรการอุดหนุนการทำประมงโดยโครงการน้ำมันเขียว ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อพี่น้องชาวประมงทุกคนอย่างร้ายแรง อีกทั้งโดนประชาคมโลกกล่าวหาว่าสนับสนุนการทำประมง IUU ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสินค้าประมงไทยที่กำลังเป็นรายได้หลักของประเทศในขณะนี้”

 

สมุทรปราการ - บิ๊กโจ๊ก!! สนองนโยบายรัฐบาล ลงพื้นที่ตรวจเรือประมง กว่า 10,000 ลำ ก่อนออกใบอนุญาต ลั่น! พร้อมปราบปรามการทำประมงผิดกฎหมาย

ที่ท่าเทียบเรือสะพานปลาสมุทรปราการ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ โดย พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วย ผบ.ตร. ประธานคณะทำงานเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบ ควบคุม และเฝ้าระวังการทำประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เดินทางมาเป็นประธาน เปิดปฏิบัติการ joint Mission by IUU Hunter ณ บริเวณท่าเทียบเรือสะพานปลาสมุทรปราการ โดยมี นายอานันต์ อัลมาตร์ ผอ.กองตรวจสอบเรือประมง สินค้าสัตว์น้ำ และปัจจัยการผลิตกรมประมง พร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่จาก กรมประมง กรมเจ้าท่า กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และองค์กรภาคประชาสังคมตลอดจนคณะเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการร่วมให้การต้อนรับและร่วมในพิธีเปิดปฏิบัติการการตรวจเครื่องมือประมงพาณิชย์แบบบูรณาการ

ด้าน พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วย ผบ.ตร. ประธานคณะทำงานเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบ ควบคุม เฝ้าระวังการทำประมงโดยมิชอบด้วยกฎหมาย เปิดเผยว่า โดยในวันนี้ได้มีการกำหนดให้มีการตรวจสอบเรือประมง โดยการสอบตรวจเรือประมงนั้น จะอยู่ในระยะเวลาคราวละ 2 ปี ต่อครั้ง ซึ่งในวันนี้ก็ครบรอบในการตรวจสอบเรือประมงเพื่อที่จะออกใบอนุญาตในปี 65 - ปี 67 โดยยอมรับว่าในรัฐบาลปัจจุบันโดยท่าน พล.อ.ประยุทธ จันทรโอชา นายกรัฐมนตรี ได้กำหนดแม่แบบโดยให้ประเทศไทยเป็นผู้นำอาเซียนในการต่อต้านการทำประมงที่ผิดกฎหมาย

และสิ่งสำคัญในวันนี้คือ การทำประมงอย่างยั่งยืนเพื่อให้สัตว์น้ำอยู่ต่อถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน โดยได้กำหนดมาตรการ 4 ส่วน คือ การตรวจการออกใบอนุญาตเรือประมงพาณิชย์ การกำหนดมาตรฐานของเรือประมง การกำหนดการตรวจสภาพการจ้างงานเพื่อคุ้มครองดูแลความปลอดภัยของลูกจ้างเรือประมง และการกำหนดเครื่องมือการจับสัตว์น้ำการทำประมง เพื่อช่วยควบคุมดูแลรักษาทรัพยากรสัตว์น้ำให้อยู่ถึงรุ่นลูกรุ่นหลานต่อไปในอนาคต

'บิ๊กโจ๊ก' ลงใต้ร่วมโครงการจิต อาสา ปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ

ที่ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าทะเลน้อย หมู่ที่ 1 ต.ทะเลน้อย อ.ควนขนุน จ.พัทลุง
พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วย ผบ.ตร. ในฐานะนายกสมาคมชาวปักษ์ใต้ ในพระบรมราชูปถัมภ์  ได้จัดโครงการ "จิตอาสาปลูกป่าทะเลน้อยเฉลิมพระเกียรติ" โดยภายในงานมี ผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐ ภาคีเครือข่ายภาคเอกชน นักเรียน นักศึกษา และประชาชนจิตอาสา กว่า 3,500 คน เข้าร่วมกิจกรรม

พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ฯ กล่าวว่า สำหรับกิจกรรม "จิตอาสาปลูกป่าทะเลน้อยเฉลิมพระเกียรติ" ทางสมาคมชาวปักษ์ใต้ ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยการสนับสนุนจากบริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน)  ได้ร่วมกับ จังหวัดพัทลุง และตำรวจภูธรจังหวัดพัทลุง จัดโครงการดังกล่าวเพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณและแสดงความจงรักภักดี แด่พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 28 กรกฏาคม 2565          

ซึ่งโครงการนี้  มีความคิดริเริ่มมาจากจิตสำนึกที่ดีที่ต้องการจะพัฒนา และฟื้นฟูพื้นที่ทะเลน้อย ให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ผสานกับหลักคิดที่ว่า เราทำความดีด้วยหัวใจ ถือเป็นโครงการที่มีหลายภาคส่วนร่วมแรงร่วมใจกันเพื่อที่จะสร้างประโยชน์ให้กับชุมชนและประเทศชาติ ทั้งยังเป็นการปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์ธรรมชาติให้แก่ประชาชนและเยาวชนในพื้นที่ต่อไป

'บิ๊กโจ๊ก' ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง 'Smart Safety Zone 4.0'

(4 ส.ค.65) ที่ห้อง Lotus 7 ชั้น 22 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วย ผบ.ตร.เป็นวิทยากรการปาฐกถาพิเศษ เรื่อง 'Smart Safety Zone 4.0 นวัตกรรมความปลอดภัย เพื่อการป้องกันอาชญากรรม' ในงาน มหากรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565 

พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ กล่าวว่า การทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ยุคนิวนอมอลล์ ภายใต้การนำของ พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กล่าวไว้ว่า ตำรวจต้องทำงานเชิงรุก ท่ามกลางการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ทำให้มองเห็นได้ว่า มี ประชาชนตกงานเป็นจำนวนมาก ก่อให้เกิดปัญหาการว่างงาน ตลอดถึงสภาวะเศรษฐกิจ ลดถอย หนี้ครัวเรือนหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น เป็นกันทั่วทั้งโลก วันนี้สถานะของประชาชน ของประเทศไทยถือว่าเศรษฐกิจ ย่ำแย่ สิ่งที่จะตามมาที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นห่วงนั้นคือ 'ปัญหาอาชญากรรม' การลัก วิ่ง ชิงปล้นต่างๆ ซึ่งเป็นหน้าที่ของตำรวจโดยตรง แต่สิ่งที่ทำให้ประชาชนสัมผัสได้ก็คือ การทำงานเชิงรุก คือการทำงานในด้านการป้องกันปราบปราม 

เราต้องป้องกันไม่ให้เหตุเกิด หรือว่ามีการลัก-วิ่ง-ชิง-ปล้น การป้องกันปราบปรามดียิ่งกว่าเหตุเกิดแล้ว จะมาสืบสวนจับกุม ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน อย่างมากมาย ซึ่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้เน้นในเรื่องของการทำงานเชิงรุก คือการป้องกัน ซึ่งจะตรงใจประชาชน และใช้งบประมาณน้อย ทำให้ผู้ต้องหาไม่ล้นคุก ประหยัดงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งการทำงานของตำรวจ จะกลับมาในรูปแบบของตำรวจคือประชาชน และประชาชนคือตำรวจ ประชาชนทุกคนคือตำรวจความหมายคือว่า ทุกคนจะต้องมีส่วนร่วม และมีส่วนรับผิดชอบในชุมชนของตนเองที่อาศัยอยู่ในชุมชน ตำบลหมู่บ้าน 

เพราะฉะนั้น สิ่งที่สำคัญ คือ ตำรวจต้องทำให้ประชาชนไว้ใจยิ่งขึ้น เมื่อความห่างระหว่างตำรวจกับประชาชนน้อยลง ความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อตำรวจ ก็จะมากขึ้น เพราะฉะนั้นความร่วมมือร่วมใจ ที่จะเป็นหูเป็นตา และแจ้งเบาะแสคนร้าย ที่จะนำข้อมูลข่าวสารส่งมาให้ เช่นกรณีเกิดเหตุในหมู่บ้าน วินมอเตอร์ไซค์รับจ้างทุกคนมีหน้าที่หมด เพราะว่าทุกคนมีส่วนเป็นเจ้าของพื้นที่ นอกจากที่ทำการของผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ซึ่งมีหน้าที่ดูแลรักษาความสงบในหมู่บ้านแล้ว วินมอเตอร์ไซค์ ก็มีหน้าที่ช่วยกันดูแลประชาชนในซอยท้องถิ่นนอกเหนือจากตำรวจ 

ด้วยเหตุนี้ พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ จึงได้ริเริ่มโครงการ Smart Safety Zone 4.0 เพื่อให้การทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นไปตามความต้องการของประชาชน โดยก่อนเริ่มได้มีการตรวจสอบ โดยใช้แบบสอบถาม People Poll เป็นการวัดผลในลักษณะ Google form ในการวัดผลแบบ Real Time ทำให้ การบริหารงานปราบปรามเป็นไปตามสภาพในความเป็นจริง และเป็นไปตามความต้องการของประชาชนจริงๆ

จากการสำรวจแบบสอบถามของประชาชน วันนี้จะเห็นได้เลยว่า ภัยที่ประชาชนกลัวมากที่สุดอันดับ 1 ภัยจากอาชญากรรมไซเบอร์ และ Social Media เป็นอาชญากรรมสมัยใหม่ เช่น แก๊งคอลเซ็นเตอร์ แก๊งโรแมนซ์สแกม เป็นภัยที่ประชาชนกลัวมากที่สุด และสร้างความเสียหายเป็นจำนวนมาก ในลำดับต้นๆเช่นเดียวกัน และอีกภัยหนึ่งคือ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ซึ่งมักจะปรากฏให้เห็นว่าประชาชนกลัว ภัยวิ่งราวทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ชิงทรัพย์ มากกว่าการฆ่าคนตาย

ถามว่าทำไมการสำรวจจึงสะท้อนมาในภาพเหล่านี้ เพราะสิ่งที่สะท้อนออกมาจาก การวัดผลแบบ Real Time จากเดิมสมัยก่อน ในการวัดผลเราวัดผลกันปีละครั้ง แต่ขณะนี้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติได้ปรับเปลี่ยนใหม่ มีการวัดผล ในลักษณะ Google Poll และ Google form ผลแบบ Real Time ส่วนนี้จะทำให้สามารถนำข้อมูล ตามความต้องการของประชาชน มาใช้ในการบริหารงาน ได้อย่างตรงใจของประชาชน ด้วยเหตุนี้สำนักงานแห่งชาติ โดยพล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้ริเริ่มนำร่อง โครงการ Smart Safety Zone 4.0 ในพื้นที่กรุงเทพฯ และหัวเมืองหลัก ซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยวและเป็นแลนด์มาร์กของประเทศไทย เช่น ภูเก็ต, พัทยา, เชียงใหม่, โคราช เป็นแลนด์มาร์ค สำคัญของประเทศ ที่นำรายได้เข้าสู่ประเทศไทยเป็นจำนวนมากในแต่ละปี และย่านห้วยขวาง ซึ่งมีสถานที่สำคัญอย่างเช่น สถานทูตจีน และร้านอาหารต่างๆ ที่นักท่องเที่ยวชาวจีนมักจะหลั่งไหลเข้ามาท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก 

พล.ต.ท.สุรเชษฐ์  กล่าวอีกว่า โครงการสมาร์ทเซฟตี้โซน 4.0 (Smart Safety Zone 4.0) คว้ารางวัลชนะเลิศ The Best Experience in Community Policing ประเภทการป้องกันอาชญากรรม เป็นรางวัลที่มอบให้กับองค์กรตํารวจที่มีผลงานในการพัฒนาแนวคิดตํารวจชุมชนไปสู่การปฏิบัติได้อย่างยอดเยี่ยมที่สุด จากประชุมสุดยอดตํารวจโลก ในด้านการปฏิบัติการชุมชนสัมพันธ์ยอดเยี่ยม ณ เมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เมื่อวันที่ 14 - 17 มี.ค.2565 ที่ผ่านมา 

นวัตกรรมสมาร์ทเซฟตี้โซน 4.0 ของ ตร.ได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อนำร่องในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร เป็นลำดับแรก ในการพัฒนารูปแบบวิธีการป้องกันอาชญากรรมโดยใช้นวัตกรรมและยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางตามแนวคิดเรื่อง “เมืองอัจฉริยะ” โครงการสมาร์ทเซฟตี้โซน 4.0 เกิดจากแนวคิดของพล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ที่ต้องการให้เกิดพื้นที่ปลอดภัย สร้างความเชื่อมั่น อุ่นใจให้กับประชาชน 

ตำรวจจึงได้คัดเลือกพื้นที่ที่เป็นแลนด์มาร์ก แหล่งเศรษฐกิจ และพื้นที่ที่ประชาชนมีความหวาดกลัวภัยอาชญากรรมมาสร้างเป็นพื้นที่ปลอดภัย โดยการยกระดับการป้องกันอาชญากรรมในพื้นที่สาธารณ ตามแนวคิดเรื่อง “เมืองอัจฉริยะ” ยกระดับการทำงานของตำรวจ ตามกรอบแนวคิด “ราชการ 4.0” ก้าวเข้าสู่ยุคดิจิตอล และบูรณาการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และ สตช. ในด้านการป้องกันอาชญากรรม  ในระยะแรกได้คัดเลือกสถานีตำรวจทั่วประเทศ จำนวน 15 สถานี เป็นสถานีนำร่อง ได้แก่ สน.ห้วยขวาง, สน.ลุมพินี, สน.ภาษีเจริญ, สภ.ปากเกร็ด, สภ.เมืองสมุทรปราการ, สภ.เมืองพัทยา, สภ.เมืองระยอง, สภ.เมืองปราจีนบุรี, สภ.ปากช่อง, สภ.เมืองอุดรธานี, สภ.เมืองเชียงใหม่, สภ.เมืองพิษณุโลก, สภ.เมืองราชบุรี, สภ.เมืองภูเก็ต และ สภ.หาดใหญ่ สถานีตำรวจทั้ง 15 สถานี และในระยะที่ 2 ได้ทำการขยายต่อให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ตอนนี้มีอยู่ 100 สถานีตำรวจที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งได้เน้นการสร้างพื้นที่เซฟตี้โซน เพื่อสร้างความเชื่อมั่น อุ่นใจ ปลอดภัยในชุมชน ให้เป็นรูปธรรมโดยได้เริ่มดำเนินการดังนี้...

'บิ๊กโจ๊ก' แถลงข่าวจัดงานบุญสารทเดือนสิบ ยันสืบทอดต่อเจตนารมณ์ผู้ก่อตั้ง 90 ปีสมาคมชาวปักษ์ใต้

(3 ก.ย. 65) ที่สมาคมปักษ์ใต้ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้จัดพิธีทำบุญเลี้ยงพระเพล เนื่องในโอกาสครบรอบ 90 ปีของการก่อตั้งสมาคมฯ เพื่ออุทิศกุศลให้แก่บรรพบุรุษผู้ก่อตั้งสมาคมฯ โดยมี พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วย ผบ.ตร.นายกสมาคมชาวปักษ์ใต้ฯ เป็นประธาน 

ด้านนายอารี ไกรนรา ส.ส.พรรคเพื่อชาติ กล่าวรายงานตอนหนึ่งว่า สมาคมปักษ์ใต้ฯ จดทะเบียนก่อตั้งเป็นสมาคมฯ ที่สองของประเทศไทย หลังจากผู้อาวุโสชาวปักษ์ใต้ได้นั่งปรึกษาหารือกัน ถามสารทุกข์สุกดิบ ก็ตกลงปลงใจกันว่า ชาวใต้ในกรุงเทพมหานคร จะร่วมกันจัดตั้งสมาคมขึ้น ใช้ชื่อว่าสมาคมปักษ์ใต้ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณรับไว้ในพระบรมราชูถัมภ์

ด้าน พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ กล่าวว่า จะสืบทอดเจตนารมณ์ของผู้ก่อตั้งสมาคมปักษ์ใต้ฯ ต่อไปอย่างไร้รอยต่อ ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจให้สมาคมปักษ์ใต้ฯ เป็นศูนย์รวม ศูนย์กลางของพี่น้องชาวปักษ์ใต้สืบไป

'ปวีณา' พาผู้เสียหาย ร้อง 'บิ๊กโจ๊ก' ถูกหลอกค้าประเวณี-หลอกทำงานต่างประเทศ

นางปวีณา หงสกุล ประธานมูลนิธิปวีณาเพื่อเด็กและสตรี พาผู้เสียหายวัย 16 ปี ที่ถูกหลอกไปค้าประเวณีที่ประเทศเมียนมา พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานการสนทนาหลอกลวงทางอินเตอร์เน็ต และโทรศัพท์ที่ใช้ติดต่อพูดคุยเข้าร้องเรียนต่อ พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วย ผบ.ตร. ในฐานะรองผู้อำนวยการศูนย์พิทักษ์เด็ก สตรี ครอบครัว ป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์และภาคประมง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อขอให้สืบสวนติดตามและดำเนินคดีกับกลุ่มคนร้ายข้ามชาติกลุ่มนี้

โดย นางปวีณา เปิดเผยว่าเมื่อวันที่ 1 ก.ย. ที่ผ่านมา ครอบครัวเหยื่อวัย 16 ปี ได้ร้องทุกข์เข้ามายังมูลนิธิปวีณา หลังลูกสาวถูกหลอกให้ไปทำงานที่ร้านคาราโอเกะและถูกบังคับให้ค้าประเวณี ที่เมืองเมียวดี ประเทศเมียนมา ทางมูลนิธิจึงพาครอบครัวผู้เสียหายไปร้องทุกข์ที่กรมการกงสุลฯ และประสานทหารเมียนมาชุด TBC ที่ดูแลพื้นที่แม่สอดเมียวดีเข้าไปพาตัวออกมาจากร้านคาราโอเกะที่ถูกหลอกไปทำงาน จนสามารถพาตัวเหยื่อกลับมายังประเทศไทยได้เมื่อวันที่ 6 ก.ย. ที่ผ่านมา 

ขณะที่ แม่ของเหยื่อผู้เสียหายวัย 16 ปี เล่าว่าลูกสาวได้ถูกคนไทยทักมาใน Facebook ชักชวนให้ไปทำงานร้านคาราโอเกะ อ้างว่าจะให้ค่าตอบแทนทำงาน 5 วัน จำนวนเงิน 50,000บาท ลูกสาวจึงมาขอตนว่าอยากไปทำงาน ตนถึงให้ไป แต่ปรากฏว่าลูกสาวทักข้อความมาบอกว่าตัวเองถูกหลอกและถูกบังคับให้ค้าประเวณี ก่อนบอกว่าอยากตาย ตนจึงรีบไปแจ้งความตำรวจแต่ก็ไม่มีความคืบหน้าจึงตัดสินใจร้องขอความช่วยเหลือมูลนิธิปวีณา

ด้าน พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ บอกว่าเบื้องต้นได้พาเหยื่อเขาให้ข้อมูลกับพนักงานสอบสวนแล้ว โดยได้รับหลักฐานโทรศัพท์มือถือที่เป็นข้อมูลสำคัญในการติดต่อกับเครือข่ายนี้ โดยเบื้องต้นมองว่าจะต้องสืบถึงตัวชาวไทยที่เป็นนกต่อในประเทศ ก่อนขยายผลไปหาเครือข่ายในต่างประเทศต่อไป โดยมองว่าหากไม่มีคนไทยที่หลอกคนไทยด้วยกันเองตั้งแต่แรกก็จะไม่มีคนถูกหลอกไปเป็นค้ามนุษย์ในลักษณะนี้

บิ๊กโจ๊ก” ลั่นฟันไม่เลี้ยง เจ้าหน้าที่รัฐเอื้อ รับเงิน คลับวัน พัทยา สั่งการตม.ตรวจวีซ่า เจ้าของตัวจริง

    จากกรณีเมื่อกลางดึก 23 ตุลาคม ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ป้องกันจังหวัดชลบุรี พร้อมกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจสืบภาคสอง เจ้าหน้าที่ตำรวจสืบสวนจังหวัดชลบุรี เจ้าหน้าที่ตำรวจสภ.เมืองพัทยา บุกเข้าจับกุมผับ คลับ วัน พัทยา แต่เกิดมีผู้ชายโวยวายอ้างได้เคลียจ่ายเงินกับหน่วยงาน รวมถึงผู้ใหญ่ ไปแล้ว ก่อนที่กลุ่มนักเที่ยว จะกรูผลักเจ้าหน้าที่เพื่อเลี่ยงการตรวจปัสสาวะออกจากตัวผับไป ในภายหลังทางผู้บริหารได้ออกมาขอโทษ กับเหตุการที่เกิดขึ้นเพราะความเมา

     ล่าสุดวันที่ 24 ตุลาคม 2565 พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร.ได้เปิดเผยถึงความคืบหน้าเกี่ยวกับการดำเนินการติดตามตรวจสอบคลับวัน พัทยา ว่าสำหรับสถานบริการที่ได้มีการจับกุมไปแล้วและเป็นกระแสโด่งดัง ในขณะได้มีการหารือกับผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เพื่อขยายผลไปถึงเจ้าของและนอมีนี ทั้งนี้คาดว่าเจ้าของน่าจะเป็นคนจีน โดยได้สั่งการเจ้าหน้าที่ตำรวจทุกฝ่ายเร่งตรวจสอบทั้งหมด หากพบว่าเกี่ยวข้องกับยาเสพติดก็จะดำเนินการตามกฎหมายอย่างสูงสุด ทั้งนี้ได้ให้ผกก.ตม. นำข้อมูลเรื่องของการอนุญาติให้คนลักษณะเช่นนี้เข้ามาอยู่ในประเทศได้อย่างไร และเข้ามาประเทศด้วยวีซ่าอะไร หากเข้ามาโดยวีซ่าท่องเที่ยวและเข้ามาประกอบอาชีพดังกล่าวได้อย่างไร จากนี้ตัวจะเร่งติดตามต่อไป
   


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top