Monday, 29 April 2024
ทรงพระเจริญ

ในหลวง พระราชินี ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลพระราชพิธีสงกรานต์ ประจำปีพุทธศักราช 2565

15 เม.ย.2565 - เวลา 10.21 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลในการพระราชพิธีสงกรานต์ ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระบรมมหาราชวัง

ในโอกาสนี้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร โดยเสด็จในการนี้ด้วย


เมื่อเสด็จพระราชดำเนินถึงหอพระสุราลัยพิมาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระสุหร่าย สรงพระพุทธรูปสำคัญต่าง ๆ ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการ และทรงสรงพระบรมสารีริกธาตุ จากนั้น เสด็จพระราชดำเนินไปยังพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการท้ายที่นั่งบูชาพระสยามเทวาธิราช แล้วเสด็จพระราชดำเนินไปยังหอพระธาตุมณเฑียร ทรงจุดธูปเทียนเครื่องราชสักการะ ทรงกราบถวายบังคมพระบรมอัฐิ และพระอัฐิ ทรงสรงน้ำพระบรมอัฐิ และพระอัฐิ ทั่วทุกพระโกศ ทรงกราบที่พระแท่นหน้าเครื่องราชสักการะ เสร็จแล้ว เสด็จพระราชดำเนินไปยังพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการ พานทองสองชั้นบูชาพระพุทธรูปประจำพระชนมวาร รัชกาลที่ 1 - รัชกาลที่ 9 ที่หน้าพระที่นั่งบุษบกมาลา พระสงฆ์ถวายศีลและถวายพรพระ

‘ช่างภาพจิตอาสา’ เผย ในหลวงรับสั่ง ขบวนเสด็จพระราชดำเนิน งานพิธียกฉัตร จ.อุบลราชธานี ไม่ต้องปิดถนน - ร้านค้าเปิดขายได้ตามปกติ

เพจเฟซบุ๊กกรมประชาสัมพันธ์ เขต 2 กรมประชาสัมพันธ์ ได้เผยแพร่เรื่องเล่าจากนายพงศธร โชติมานนท์ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการ ช่างภาพจิตอาสา งานพิธียกฉัตรฯ จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 30 เมษายน ที่ผ่านมา ซึ่งให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์ไกด์อุบลว่า บรรยากาศก่อนจะถึงวันสำคัญของชาวอุบลฯ ที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงประกอบพิธียกฉัตรขึ้นประดิษฐานเหนือพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง พระประธานพระวิหาร วัดมหาวนาราม จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 30 เมษายน เต็มไปด้วยข่าวลือว่า บริษัทร้านค้าตามเส้นทางเสด็จฯ จะต้องปิดมิดชิด และมีการปิดถนนตลอดวันด้วย ซึ่งเมื่อถึงวันงานจริง กลับไม่มีประกาศจากหน่วยงานใดๆ ว่าจะต้องปิดร้านค้า หรือจะปิดการจราจรห้วงเวลาใดเลย

โดยนายพงศธร ได้ประจำจุดรับเสด็จฯ สี่แยกกิโลศูนย์ ถนนชยางกูร ได้ความว่า ก่อนถึงวันงาน มีการประชุมช่างภาพจิตอาสาแล้ว ได้รับข้อมูลมาว่า ในหลวงทรงโปรดฯ ไม่ให้ปิดการจราจร รวมทั้งร้านค้าต่างๆ สามารถเปิดกิจการได้ตามปกติ ซึ่งตนคิดว่าจะเป็นไปได้หรือ เพราะเกี่ยวพันกับเรื่องถวายการอารักขาความปลอดภัยด้วย แต่ก็เก็บไว้ในใจ กะว่าถึงวันงานก็จะเห็นเอง

๔ กรกฎาคม วันคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้าคณะผู้บริหารและพนักงาน สำนักข่าวออนไลน์ THE STATES TIME

4 กรกฎาคม วันคล้ายวันประสูติ สมเด็จเจ้าฟ้า ฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี

สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ประสูติเมื่อ วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ.2500 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต

ทรงเป็นพระราชธิดาพระองค์เล็กในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

ได้รับพระราชทานพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี

พระนาม จุฬาภรณ์ หมายถึง การอัญเชิญพระนาม "จุฬา" ในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มาเป็นคำต้นพระนามของพระองค์ เนื่องด้วยในวันประสูตินั้น เป็นวันมหาปีติของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เสด็จฯ ไปพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา

ทรงเริ่มศึกษาระดับอนุบาลที่โรงเรียนจิตรลดา ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ทรงได้รับการปลูกฝังทางศิลปะ นาฏศิลป์และดนตรี จากพระอาจารย์ทั้งชาวไทยและต่างชาติ ทั้งยังทรงสนพระทัยวิชาคำนวณและวิทยาศาสตร์ ขณะเดียวกันโปรดศึกษาวิชาภาษาต่างประเทศ และวิชาศิลปะควบคู่กันไป โดยทรงเลือกเรียนสายวิทยาศาสตร์ ในระดับมัธยมปลาย เพื่อนำความรู้มาต่อยอดทำประโยชน์เพื่อความสุขของประชาชน

เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมปลาย ทรงเข้าศึกษาระดับปริญญาตรีคณะวิทยาศาสตร์ สาขาอินทรีย์เคมี เกียรตินิยมอันดับ 1 จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทรงสอบได้ที่ 1 ในวิชาเคมีและชีววิทยา ทั้งยังทรงได้รับรางวัลเรียนดีจากมูลนิธิศาสตราจารย์ ดร.แถบ นีละนิธิ

พ.ศ.2528 ทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาอินทรีย์เคมี มหาวิทยาลัยมหิดล ทั้งนี้ยังทรงสำเร็จการอบรมระดับหลังปริญญาเอก จากมหาวิทยาลัยอูล์ม สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

พ.ศ.2550 ทรงสำเร็จการศึกษาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

พ.ศ.2557 ทรงสำเร็จการศึกษาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพสัตวแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ) จากคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อนำความรู้ไปช่วยเหลือสัตว์ต่างๆ

ทรงมีพระธิดา 2 พระองค์ คือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ และ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ

สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ฯ ทรงอุทิศพระวรกายเพื่ออาณาประชาราษฎร์ให้มีความสุข อยู่ดีกินดี และร่วมพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศ ไม่ว่าจะในแขนงใด

‘ศาสน์-กษัตริย์’ เสาหลักค้ำจุนกันและกัน

คำยืนยันจากหลวงปู่มั่น!! ‘ศาสน์-กษัตริย์’ เปรียบเสมือนเสาหลักค้ำจุนกันและกัน...เมื่อใดขาดธรรมราชา เมื่อนั้นอาจถึงคราวสาบสูญของพระอริยะ!!

เรื่องของพระอริยบุคคลนี้ พระอาจารย์มั่นปรารภไว้หลายสถานที่ หลายวาระต่าง ๆ กัน แล้วแต่เหตุ
ท่านกล่าวว่า ชาวพุทธมีหลายประเทศ แต่จะขอกล่าวเฉพาะที่ใกล้เคียง คือ เขมร ลาว เวียดนาม และพม่า นอกนี้ไม่กล่าว

พระอาจารย์มั่นบอกว่า…

“เราไม่ได้ว่าเขาเหล่านั้น...แต่ได้พิจารณาแล้ว ไม่มีก็ว่าไม่มี มีก็ว่ามี”
ท่านหมายถึงว่า พระอริยบุคคลในประเทศเหล่านี้มีที่ประเทศพม่าเพียงคนเดียว อยู่ในหมู่บ้านที่ท่านไปจำพรรษา เป็นผ้าขาว (อุบาสกผู้ถือศีล) ซึ่งเล่ากันว่า บุตรสาว บุตรเขย และบุตรชายของผ้าขาวคนนั้นล่ะ ที่มาจัดเสนาสนะของบิดาเพื่อถวายพระอาจารย์มั่นและท่านเจ้าคุณบุญมั่นครั้งจำพรรษาที่ประเทศพม่า

ท่านว่า...

“ยกเว้นสยามประเทศแล้ว...นอกนั้นไม่มี!
สำหรับสยามประเทศตั้งแต่บัดนั้นมาจนถึงปัจจุบัน...มีติดต่อมาโดยไม่ขาดสาย ทั้งคฤหัสถ์ชายหญิงและบรรพชิต แต่มรรคขั้นต้นคฤหัสถ์มากกว่าทั้งปริมาณ และมีสิกขาน้อยกว่า”

ทรงอยู่ข้างคนไทย ไม่ว่าภัยโควิดจะใกล้เพียงใดก็ตาม

พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานทรัพย์รวมกว่า 2,852,144,487.59 บาท สมทบทุน-จัดอุปกรณ์การแพทย์ รับมือวิกฤตโควิด-19

เมื่อวันที่ (23 กรกฎาคม 2564) ที่เฟซบุ๊ก โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัย เผยแพร่ข้อความ ว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีความห่วงใยประชาชนและบุคลากรการแพทย์ในภาวะวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เป็นอย่างยิ่ง  

โดยพระราชทานทรัพย์เพื่อสมทบทุนและจัดหาอุปกรณ์การแพทย์ให้กับโรงพยาบาลและสถานที่ต่าง ๆ เพื่อใช้ในการรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ดังนี้...

‘ถุงพระราชทาน’

‘ถุงพระราชทาน’ ไม่ได้มาจากงบประมาณภาษีที่รัฐบาลจัดสรรให้กับในหลวง ไม่ใช่เงินงบประมาณจากภาษีประชาชนเอามาแจกประชาชนตามที่มีผู้พยายามบิดเบือน

แต่มาจากการทำงานและทุนดำเนินการซึ่งเป็นดอกผลของ ‘มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์’ ที่ก่อตั้งขึ้นโดยในหลวงรัชกาลที่ 9 เพื่อช่วยเหลือประชาชนในภาคใต้ที่ได้รับความเดือดร้อนจากเหตุการณ์วาตภัยครั้งใหญ่ในอดีต

ชื่อของมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ หมายความว่า ‘พระราชา’ และ ‘ประชาชน’ อนุเคราะห์ซึ่งกันและกัน เป็นการแสดงน้ำพระทัยว่า เวลาทำงานควรจะให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมด้วย ซึ่งเงินทุนที่ใช้ขับเคลื่อนการดำเนินงานนั้น นอกจากดอกผลของมูลนิธิฯ แล้ว ยังมาจากเงินที่ผู้มีจิตศรัทธาทั่วประเทศร่วมกันบริจาค รวมถึงเงินที่ในหลวงทรงพระราชทานเป็นทุนดำเนินงานด้วย

แลนด์มาร์กแห่งใหม่

อีกไม่นาน สวนสัตว์ (เขาดิน) แห่งใหม่ที่จังหวัดปทุมธานี คลอง 6 ซึ่งตั้งบนที่ดินพระราชทานจากในหลวงรัชกาลที่ 10 จำนวน 300 ไร่ จะกลายเป็นพื้นที่กิจกรรม แหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศ และสัตว์จากแหล่งต่างๆ ในรูปแบบที่ทันสมัยและสวยงาม พร้อมเป็น Landmark ใหม่ของจังหวัดปทุมธานีในเร็ววัน

โดยเมื่อ 26 ก.ค. 65 ที่ผ่านมา มติ ครม. ได้อนุมัติโครงการลงทุนก่อสร้างสวนสัตว์แห่งใหม่ (คลอง 6) จังหวัดปทุมธานี ในกรอบวงเงินงบประมาณรวมทั้งสิ้น 10,974.65 ล้านบาท มีระยะเวลาดำเนินโครงการ 5 ปี พ.ศ. 2566-2570 และวงเงินเบิกจ่ายในปีงบประมาณ 2566 จำนวน 1,109.07 ล้านบาท ซึ่งการดำเนินการก่อสร้างโครงการแบ่งออกเป็น 2 ระยะ 

ระยะที่ 1 มีมูลค่าการก่อสร้าง 5,383.82 ล้านบาท (ครม. ได้มีมติเห็นชอบไปแล้วเมื่อ 11 ม.ค. 65)
ระยะที่ 2 มีมูลค่าการก่อสร้าง 4,340.16 ล้านบาท เมื่อรวมกับค่าใช้จ่ายอื่นๆ จะมีวงเงินโครงการทั้งสิ้น 10,974.65 ล้านบาท

สำหรับ โครงการสวนสัตว์แห่งใหม่ (คลอง 6) จะเป็นสวนสัตว์ที่ทันสมัยระดับนานาชาติ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติ ชีวิตสัตว์ป่า การอนุรักษ์ ศึกษาวิจัย และเพาะขยายพันธุ์สัตว์ป่าคืนสู่ธรรมชาติ รวมถึงเป็นแหล่งนันทนาการรองรับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โครงการตั้งอยู่ที่ตำบลรังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี แบ่งการใช้ประโยชน์พื้นที่ดังนี้...

1.) พื้นที่จัดแสดงสัตว์และนิทรรศการ 171 ไร่
2.) พื้นที่ป้องกันน้ำท่วมและถนน 42 ไร่
3.) พื้นที่ส่วนบริหารและวิจัย 33 ไร่
4.) พื้นที่สวนเฉลิมพระเกียรติ 21 ไร่
5.) พื้นที่ส่วนกลางและเชิงพาณิชย์ 18 ไร่
6.) ที่จอดรถ 15 ไร่

ความรู้สึกของคนเป็น ‘พ่อ’

ยามลูกมีทุกข์ ‘พ่อ’ ทุกคน มีความรู้สึกอย่างไรกับลูก ฉันใด
‘พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว’ กับพสกนิกรของพระองค์ยามนี้ ก็ฉันนั้น

ทราบหรือไม่ว่าการที่ในหลวงรัชกาลที่ 10 ทรงย้าย ‘สนามม้านางเลิ้ง’ ออกไป มีความหมายเพียงใด? 

ที่ดินผืนนี้มีเนื้อที่กว่า 200 ไร่ เป็น ‘ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์’ ราชตฤณมัยสมาคมเช่าทำสนามม้า สนามกอล์ฟมายาวนาน เมื่อหมดสัญญา ไม่มีพระราชประสงค์ให้เช่าต่อ ทรงนำที่ดินกว่า 200 ไร่นั้น แปลงจากสนามม้าเพื่อคนเฉพาะกลุ่มเป็น ‘สวนสาธารณะ’ เพื่อพสกนิกรทั้งแผ่นดินได้ใช้เป็นรมณียสถานแห่งชีวิตคุณภาพ

พูดกันชัด ๆ ก็คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงนำที่ดินทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ที่ราชตฤณมัยสมาคมเช่ากลับคืนมา รื้อทิ้งสนามม้า สนามกอล์ฟ อะไรมิต่ออะไร ออกไปทั้งหมด แล้วทำเป็น ‘สวนสาธารณะ’ ให้ประชาชนใช้ เพิ่มสีเขียวเป็นปอดให้คนกรุงเทพฯ

ที่สำคัญยิ่ง สวนสาธารณะร่วม 216 ไร่ นี้ ยังเป็นสถานที่ตั้ง พระบรมราชานุสาวรีย์ ‘พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙’ ซึ่งนับเป็นของขวัญล้ำค่าที่พระองค์ทรงมอบให้คนไทยได้สืบสาน-รักษา ‘รากรัก’ ของลูก ๆ ทั้งแผ่นดิน ที่หยั่งลึกพันผูกต่อพ่อบนฟ้าอันยากถอนพระบรมราชานุสาวรีย์นี้ อันจะเป็นสายใยสืบสานความจงรักและคิดถึง ‘พ่อบนฟ้า’ นั้น ทั้งรักษาความผูกพัน ‘พระภูมิพล’ พ่อของแผ่นดินกับลูก ๆ ทุกคนคือพสกนิกร ไปตราบชั่วฟ้าดินสลาย

คิดถึงพ่อ ก็มีที่ให้มากราบ ให้มาถวายราชสักการะ ให้มาคุกเข่าแหงนหน้ามองดูพ่อ ซึ่งเป็นพระมหากรุณาธิคุณในหลวงรัชกาลที่ 10 สุดหาสิ่งใดเปรียบแล้ว

กล่าวย่นย่อถึงการ ‘สืบสาน-รักษา’ แล้ว มิเพียงแค่นั้น ธ ยังทรงต่อยอดการสืบสานด้วยพระวิสัยทัศน์กอปรน้ำพระทัยเมตตาอีกหลายกรณี เช่น สร้างสวนสาธารณะแล้ว ยังทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยต่อไป ถึงด้านความสะดวกของประชาชนที่จะมาพักผ่อนหย่อนใจ ออกกำลังกายในสวนแห่งนี้ จึงทรงให้สร้างที่จอดรถใต้ดิน 3 ชั้น รองรับรถยนต์ได้ประมาณ 700 คัน

มีอะไรบ้าง ที่เป็นความเดือดร้อนของประชาชนแล้วที่พระองค์จะไม่ทรงทราบ?

ทุกอย่างล้วนอยู่ในสายพระเนตร

กระทั่ง ‘โรงพยาบาลรามาธิบดี’ แต่ละวัน ผู้เจ็บป่วยและประชาชนเดินทางไปหาหมอทะลักล้น แต่สถานที่จอดรถ เป็นปัญหามาก จึงทรงให้สร้าง ‘อาคารจอดรถ’ โรงพยาบาลรามาธิบดีด้วย

เท่านี้ก็ว่าครอบคลุมด้าน ‘อำนวยสะดวก’ ในความเป็นสวนสาธารณะเกินพอแล้ว

ตั้งแต่ทรงขึ้นครองราชย์

ในหลวงรัชกาลที่ 10 ตั้งแต่ทรงขึ้นครองราชย์ เมื่อ พ.ศ. 2559 เป็นต้นมา และเป็นปีที่ 6 แล้ว ในรัชกาลปัจจุบัน หลาย ๆ คนคงได้เห็นข่าวอยู่เรื่อย ๆ ว่าพระองค์ได้ทรงรับคนยากไร้ หรือประชาชนที่เจ็บป่วยไว้เป็นคนไข้ในพระบรมราชานุเคราะห์อยู่ตลอด

แต่ก็คงไม่รู้กันว่า ที่ผ่านมาทั้งหมดมีจำนวนเท่าไหร่แล้ว ?

เพจ ‘ไทยรักษา’ ได้รวบรวมค่ารักษาพยาบาลที่ทรงรับผิดชอบดูแล โดยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ และจำนวนเคสที่เกิดขึ้น

โดยพบว่าในรัชกาลปัจจุบัน มีคนไข้ที่ทรงรับไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์แล้วรวมกว่า 601 เคส รับผิดชอบค่ารักษาไปแล้ว 54,612,025 บาท 

ถือว่าไม่ใช่จำนวนที่น้อยเลย และเป็นแค่จุดเล็กของด้านการสาธารณสุข ยังไม่รวมกับการพระราชทานอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้อีกหลายโรงพยาบาล ทั่วประเทศ รวมแล้วกว่าพันล้านบาท

จิตอาสาพระราชทาน พระราชปณิธานเพื่อ ‘ปวงชน’

ย้อนไปเมื่อราวเดือนมิถุนายน 2560 เหล่าข้าราชบริพารในพระองค์ หน่วยราชการในพื้นที่ และประชาชนจิตอาสา ได้ร่วมกันบำเพ็ญประโยชน์ บริเวณชุมชนโดยรอบพระราชวังดุสิต เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล แด่ พระพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 

และนั่นคือจุดเริ่มต้นของโครงการจิตอาสาพระราชทานตามแนวพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในหลวงรัชกาลที่ 10 ของปวงชนชาวไทย ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้หน่วยราชการในพระองค์ 904 ร่วมกันจัดโครงการจิตอาสาพระราชทานตามแนวพระราชดำริเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติและแสดงความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการ เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน 

อีกทั้ง เพื่อให้ประชาชนมีความสมัครสมานสามัคคี มีความสุขและประเทศชาติ มีความมั่นคงอย่างยั่งยืน โดยมีหน่วยราชการในพระองค์ 904 เป็นผู้กำกับดูแลการปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชน และให้จัดตั้งศูนย์อำนวยการใหญ่โครงการจิตอาสาพระราชทานตามแนวพระราชดำริ มีหน้าที่ควบคุม อำนวยการและประสานการ ปฏิบัติเพื่อให้การจัดกิจกรรมจิตอาสาพระราชทานตามแนวพระราชดำริ เป็นไปอย่างต่อเนื่องถูกต้องตามพระราโชบาย และสมพระเกียรติ

ในระยะเริ่มแรก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชปณิธานในการบำเพ็ญประโยชน์พื้นที่ชุมชนโดยรอบพระราชวังดุสิตเป็นการทำความดีด้วยหัวใจ ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยหน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์หน่วยทหารรักษาพระองค์ ข้าราชบริพารในพระองค์ฯ ร่วมกับประชาชนจิตอาสา ‘เราทำความ ดี ด้วยหัวใจ’ ร่วมกันดูแลและพัฒนารักษาพื้นที่จากชุมชนเล็ก ๆ รอบพระราชวังดุสิตขยาย สู่พื้นที่โดยรวมของประเทศในการพัฒนาอย่างมั่นคงและยั่งยืนสืบไป

เรามาทำความรู้จักกับ ความหมายของ ‘จิตอาสา’ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฉบับ พ.ศ. 2542 ได้ให้ความหมายของ ‘จิตอาสา’ ดังนี้ 

‘จิต’ เป็นคำนาม หมายถึง ใจ สิ่งที่มีหน้าที่รู้ คิด และนึก

‘อาสา’ เป็นคำกริยาหมายถึง เสนอตัวเข้ารับทำ

ดังนั้นเมื่อรวมกันเป็น ‘จิตอาสา’ จึงหมายถึง จิตแห่งการให้ความดีงามทั้งปวงแก่เพื่อนมนุษย์โดยเต็มใจสมัครใจอิ่มใจ ซาบซึ้งใจ ปีติสุข ที่พร้อมจะเสียสละเวลา แรงกาย แรงสติปัญญา เพื่อสาธารณประโยชน์ในการทำกิจกรรมหรือสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน และมีความสุขที่ได้ช่วยเหลือผู้อื่น เป็นจิตที่ไม่นิ่งดูดาย เมื่อพบเห็นปัญหาหรือความทุกข์ยากที่เกิดขึ้นกับผู้คน เป็นจิตที่มีความสุขเมื่อได้ทำความดีและเห็นน้ำตาเปลี่ยนแปลงเป็นรอยยิ้ม เป็นจิตที่เปี่ยมด้วย ‘บุญ’ คือความสงบเยือกเย็น และพลังแห่งความดีอีกทั้งยังช่วยลด ‘อัตตา’ หรือความเป็นตัวตนของตนเองลงได้

ที่ผ่านมา ภาพของความสมัครสมานร่วมมือร่วมใจของประชาชนชาวไทย ที่มีสัญลักษณ์ที่สังเกตได้ง่าย นั่นคือ หมวดสีฟ้า และผ้าพันคอสีเหลือ มักจะพบเห็นได้อย่างสม่ำเสมอตามพื้นที่สาธารณะต่าง ๆ ผ่านโครงการ ‘หน่วยพระราชทานและประชาชนจิตอาสา เราทำความ ดี ด้วยหัวใจ’ ที่ได้ร่วมกิจกรรมบำเพ็ญสาธารณประโยชน์เฉลิมพระเกียรติมาอย่างต่อเนื่อง โดยไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top