Saturday, 4 May 2024
เชียงใหม่

เชียงใหม่-กลุ่มเพื่อนรักนักข่าวจัดแข่งขัน​ “Bowling วันนักข่าวสัมพันธ์”

วันที่ 5 มีนาคม 2565 กลุ่มเพื่อนรักนักข่าว จัดแข่งขัน​ “Bowling วันนักข่าวสัมพันธ์“ ณ Bully Bow  กาดสวนแก้ว ชั้น 4 เวลา 13.00 - 16.00 น.โดยมีนายไทณ์ โรจน์รัตนจินดา รองนายกเทศมนตรีเทศบาลนครเชียงใหม่ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน

นายไทณ์ โรจน์รัตนจินดา รองนายกเทศมนตรีเทศบาลนครเชียงใหม่ กล่าวว่า กิจกรรม​ “Bowling” วันนักข่าวสัมพันธ์ ของ กลุ่มเพื่อนรักนักข่าวในจังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 5 มีนาคมของทุกปี เป็นวันนักข่าว หรือวันสื่อสารมวลชนแห่งชาติ ที่ผ่านมาหลายองค์กร ได้รับความร่วมมือจากสื่อมวลชนในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข่าวสารของแต่ละองค์กรด้วยดีมาโดยตลอดเพื่อให้ประชาชนและผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบความเคลื่อนไหวของสังคม 

เชียงใหม่- เปิดงานสัมมนาเรียนรู้กลไกตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล ยูไนเต็ดโทเค่น ผู้นำเปลี่ยนอนาคต

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2565 ที่ห้องประชุมภัตตาคารตูลู่ ต.หายยา อ.เมือง จ.เชียงใหม่ พล.ต.ต.ปชา  รัตนพันธ์  นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานเปิดงานสัมมนาเรียนรู้กลไกตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล ยูไนเต็ดโทเค่น ผู้นำเปลี่ยนอนาคต พร้อมกล่าวต้อนรับ Mr.Martin  Karus, Mr.Vabula Tullus ,คุณธัญญลักษณ์  รักษ์ปิยะสกุล  ผู้บริหารบริษัทโมนาส จำกัด (Monach) ผู้บริหารระดับสูง เจ้าหน้าที่ ผู้ประกอบการ และผู้สนใจเข้าร่วมงานจำนวนมาก

พลตำรวจตรี ปชา รัตนพันธ์  นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่  กล่าวว่าปัจจุบันเทคโนโลยีและทรัพย์สินดิจิทัลได้มีบทบาทสำคัญ เข้ามาเกี่ยวข้องกับคนทั่วทั้งโลกมากขึ้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตและเศรษฐกิจของชาวโลก ดังนั้นเราในฐานะที่เป็นคนไทยก็จำเป็นที่จะต้องมีความรู้และปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีและสินทรัพย์ทางดิจิทัล

ประกอบกับจังหวัดเชียงใหม่ได้เตรียมความพร้อมในการที่จะเป็น ”คริปโต ซิตี้” ที่เชียงใหม่ถือว่าเป็นแห่งแรกในประเทศไทย และเป็นแห่งแรกของอาเซียนเพราะฉะนั้นถ้าเมืองเชียงใหม่ได้พัฒนาในรูปแบบของ
คริปโตเคอร์เรนซี่แล้ว  เชียงใหม่จะเป็นศูนย์กลางของเทคโนโลยีและสินทรัพย์ทางดิจิทัล

ดังนั้นสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ ในฐานะที่เป็นตัวแทนของชาวเชียงใหม่ เห็นความสำคัญของสินทรัพย์ดิจิทัลซึ่งเข้ามาเกี่ยวข้องกับ ชีวิตประจำวันของผู้คนบนโลกนี้มากขึ้น จึงได้ร่วมจัดงานสัมมนา ในครั้งนี้ และยังได้เชิญผู้นำองค์กรที่เกี่ยวกับธุรกิจในเชียงใหม่มาร่วมเป็นเกียรติในงานครั้งนี้อีกด้วย

เชียงใหม่-เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี ร่วมกับ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU)

สำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) โดยสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี ร่วมกับสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่ จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ด้านการศึกษา ด้านการสร้างคุณภาพชีวิต และด้านการสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (CSR) โดยมี นายสายสิทธิ์ เจตสิกทัต ปฏิบัติหน้าที่แทน ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาพิงคนคร, นางสาวฐิติรัตน์ ต๊ะวันวงค์ ผู้อำนวยการ สำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี พร้อมด้วย นางยุพิน บัวคอม ศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่, นางอัจฉรียา ชุมนุม รองศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่ และคณะผู้บริหาร บุคลากรของทั้งสองฝ่าย เข้าร่วมด้วย ณ อาคารวารีกุญชร เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี

นายสายสิทธิ์ เจตสิกทัต ปฏิบัติหน้าที่แทน ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาพิงคนคร เปิดเผยว่า การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ในครั้งนี้ ทั้งสองหน่วยงานได้ตระหนักถึงความสำคัญในการร่วมมือกันพัฒนางานด้านการศึกษา ด้านการสร้างคุณภาพชีวิต และด้านการสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (CSR) เพื่อพัฒนางานด้านการศึกษาเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ป่า และสร้างความตระหนักด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่าในพื้นที่ชนิดต่างๆ ให้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ลดการเหลื่อมล้ำในสังคม และสร้างโอกาสในการเรียนรู้รูปแบบต่างๆ ให้สามารถเข้าถึงได้ในทุกระดับ 

‘บิ๊กตู่’ ลั่น อยากลดราคาน้ำมันจะตายอยู่แล้ว ติดเป็นปัญหาทั้งโลก

(29 มิ.ย.65) ที่ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติฯ จ.เชียงใหม่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เป็นประธานในพิธีเปิด FTI EXPO 2022 : SHAPING FUTURE INDUSTRIES FOR STRONGER THAILAND โดยกล่าวตอนหนึ่งถึงวิกฤตพลังงานว่า…

วันนี้ปัญหาราคาพลังงาน ค่าขนส่งแพงขึ้น เพราะน้ำมันราคาแพงขึ้น ซึ่งเราซื้อเขามาและต้องผ่านกลไกต่าง ๆ อยู่แล้ว ทั้งหมดมีข้อบังคับและระเบียบเยอะแยะไปหมดและมีมาตรฐาน อีกทั้งนอกจากวันนี้พลังงานสูงขึ้น ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ก็มีปัญหาเงินเฟ้ออีก ซึ่งส่วนหนึ่งก็เป็นผลจากการดำเนินนโยบายการเงินการคลังของต่างประเทศด้วย

'ธพว.' ผนึก 'ภาครัฐ-เอกชน' ร่วมลงนาม MOU ‘แปลงเครื่องจักรเป็นทุน’ หนุน SMEs เข้าถึงแหล่งทุน เพิ่มประสิทธิภาพเครื่องจักร รับ BCG Model

'ธพว.' ผนึก 'ภาครัฐ-เอกชน' ร่วมลงนาม MOU ‘แปลงเครื่องจักรเป็นทุน’ หนุน SMEs เข้าถึงแหล่งทุน เพิ่มประสิทธิภาพเครื่องจักร รับ BCG Model

นางสาวนารถนารี รัฐปัตย์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) 'โครงการแปลงเครื่องจักรเป็นทุนเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการให้เข้าถึงแหล่งเงินทุน' ที่มีนายวันชัย พนมชัย อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และนายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย เข้าร่วมลงนาม 

'บิ๊กตู่' เปิดฉากงาน FTI Expo 2022 เตรียมรีสตาร์ทประเทศไทยให้พร้อมขับเคลื่อนต่อภายใต้โมเดลเศรษฐกิจ BCG พร้อมดัน Soft Power เพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์

เชียงใหม่ - พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงาน FTI Expo 2022 ภายใต้แนวคิด “Shaping Future Industries for Stronger Thailand” งานยิ่งใหญ่ระดับประเทศที่ภาคธุรกิจจากหลากหลายสาขามาร่วมแสดงสินค้าและนำเสนอนวัตกรรมใหม่ๆ พร้อมกำหนดฉากทัศน์ใหม่ของอุตสาหกรรมไทยสู่อนาคต ซึ่งจัดโดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ภายใต้โมเดลเศรษฐกิจ BCG ซึ่งมีความสำคัญต่อประเทศในมิติต่างๆ ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม ผ่าน 4 สาขา คือ สาขาเกษตรและอาหาร สาขาสุขภาพและการแพทย์ สาขาพลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ และสาขาการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ พร้อมผลักดัน Soft Power ของไทยทั้ง 5Fs (Food, Film, Fashion, Fighting และ Festival) เพื่อเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์นำไปสู่เป้าหมายการพัฒนาประเทศให้มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน


 

(29 มิถุนายน 2565) พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางมาศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติฯ จ.เชียงใหม่ เพื่อเป็นประธานในการเปิดงาน FTI Expo 2022 โดยมีรัฐมนตรีว่าการการกระทรวงกลาโหม, รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, เลขาธิการนายกรัฐมนตรี, เอกอัครราชทูตจากประเทศกัวเตมาลา อินโดนีเซียและบังกลาเทศ ผู้แทนท่านทูตจากประเทศจีน, อินเดีย, สหรัฐอเมริกา, เดนมาร์ก, เปรู, แคนาดา, กัมพูชา, ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, หัวหน้าส่วนราชการ, ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่, ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมในพิธีเปิดงาน 

จากนั้น นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวเปิดงาน FTI Expo 2022 จัดโดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยว่า “งาน FTI Expo 2022 ภายใต้แนวคิด ‘Shaping Future Industries for Stronger Thailand’ ถือเป็นงานระดับประเทศที่ภาคธุรกิจจากหลากหลายสาขาได้มาร่วมแสดงสินค้าและนำเสนอนวัตกรรมใหม่ ๆ และเป็นโอกาสดีที่จะได้กำหนดฉากทัศน์ใหม่ของอุตสาหกรรมไทยสู่อนาคตเพื่อประเทศไทยที่แข็งแกร่งกว่าเดิม

"แม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้คลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น อย่างไรก็ดี ประเทศไทยกำลังเผชิญกับความท้าทายที่สำคัญในการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ ทั้งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดิจิทัลที่ส่งผลให้การพัฒนานวัตกรรมมีความจำเป็นมากขึ้น ตลอดจนแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่กำลังถูกหยิบยกเป็นวาระสำคัญของหลายประเทศทั่วโลก  ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องเตรียมรับมือกับความท้าทายดังกล่าว เพื่อปรับตัวให้สามารถเติบโตได้อย่างมั่นคง ภายใต้บริบทของโลกใหม่ใบเดิมนี้  วันนี้ประเทศไทยเปรียบเสมือนรถยนต์ที่ขับเคลื่อนเดินต่อไปข้างหน้าบนเวทีโลก หลังจากจอดมาเป็นเวลา 2 ปี โดยกำหนดแนวทางในแต่ละช่วงเวลาเพื่อให้รถยนต์คันนี้สามารถพลิกโฉมตัวเองไปสู่การเปลี่ยนแปลง  ในช่วงแรกจึงต้องรีสตาร์ทเครื่องยนต์ เพื่อรีสตาร์ทประเทศไทยให้ฟื้นตัวได้โดยเร็วที่สุดเมื่อเครื่องยนต์สตาร์ทติดแล้ว สิ่งสำคัญที่รัฐบาลต้องเร่งดำเนินการ คือ การเร่งเครื่องยนต์ โดยการการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG ซึ่งมีความสำคัญต่อประเทศทั้งในมิติด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม"

พลเอกประยุทธ์ กล่าวเสริมต่อว่า การจัดงานในครั้งนี้เป็นการจับมือกันระหว่างองค์กรชั้นนำ ซึ่งได้สะท้อนให้เห็นถึงความร่วมมือร่วมใจในการทำงานระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนที่มีบทบาทสำคัญในการที่จะช่วยกันขับเคลื่อนประเทศไทย ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า รถยนต์ประเทศไทยคันนี้ จะกลายเป็นยานยนต์แห่งอนาคตที่สามารถขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างเต็มกำลัง จากความสามัคคีของคนไทยด้วยกัน และผมเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่า เราทำได้อย่างแน่อน หากเราทุกคนจับมือแล้วก้าวไปพร้อมกัน

“ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยในครั้งนี้จะสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยสู่อนาคตที่แข็งแกร่งกว่าเดิม”

ด้านนายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า “ในนามของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและผู้สนับสนุนงาน FTI Expo 2022 รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้กรุณาให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิดงาน FTI Expo 2022”

ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเผชิญกับความท้าทายที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจอย่างมากมาย ส.อ.ท. จึงมุ่งขับเคลื่อนการดำเนินงานภายใต้นโยบายการหลอมรวมทุกภาคส่วนให้เป็นหนึ่งเดียวกัน (ONE FTI) โดยทุกภาคส่วนจะร่วมกันทำงานเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน ในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้อุตสาหกรรมไทยเพื่อประเทศไทยที่เข้มแข็งกว่าเดิม (Strengthen Thai Industries for Stronger Thailand) 

โดยอาศัยยุทธศาสตร์ 4 ข้อ ประกอบด้วย...

1) Industry Collaboration ผนึกกำลังอุตสาหกรรมไทยให้เข้มแข็ง ผ่านการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกลุ่มอุตสาหกรรมและสภาอุตสาหกรรมจังหวัด ในลักษณะ 1 อุตสาหกรรม 1 จังหวัด 

2) First 2 Next-Gen Industry ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสู่อนาคต ภายใต้อุตสาหกรรมเดิมและอุตสาหกรรมใหม่ซึ่งประกอบด้วย 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curves) ตามนโยบายรัฐ อุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนนโยบาย BCG หรืออุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ 

3) Smart SMEs ยกระดับ SMEs สู่สากล โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนา SMEs ในด้าน 1. Go Digital การนำดิจิทัลมาช่วยยกระดับศักยภาพทางธุรกิจ 2.Go Innovation การส่งเสริมให้ SMEs เข้าถึงนวัตกรรมและงานวิจัยมากขึ้น 3.Go Global การสร้างและขยายโอกาสในตลาดต่างประเทศผ่านสภาธุรกิจต่างๆ 

และ 4) Smart Service Platform การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยยกระดับการให้บริการ

นายเกรียงไกร กล่าวต่อว่า “งาน FTI Expo 2022 นับเป็นการผนึกกำลังครั้งสำคัญของภาคอุตสาหกรรมไทยและองค์กรชั้นนำทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคการศึกษา ทั้งด้านเทคโนโลยี อุตสาหกรรม การค้าและการท่องเที่ยว เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนประเทศหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 คลี่คลาย ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากทุกภาคส่วน มีผู้สนใจมาร่วมออกบูธนิทรรศการแสดงผลงานกว่า 340 บูธ เพื่อแสดงศักยภาพ นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อตอบโจทย์การใช้ชีวิตในยุคปกติใหม่ (New Normal) รวมถึงการสร้างความเชื่อมั่นต่อนักลงทุนทั่วโลกเพื่อส่งเสริมการค้าและการลงทุนของภาคธุรกิจ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อแสดงศักยภาพและยกระดับความก้าวหน้าของภาคอุตสาหกรรมเป้าหมายในระดับประเทศภายใต้แนวคิด BCG Economy Model ซึ่งจะเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อไปในอนาคต  รวมทั้งเพื่อสร้างโอกาสในการขยายช่องทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ไทย การค้าการลงทุนให้เชื่อมโยงสู่ระดับสากลอย่างมีประสิทธิภาพ ควบคู่ไปกับการช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภูมิภาคเพื่อให้เกิดเงินทุนหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ และสร้างความเชื่อมั่นให้ทุกภาคส่วนของประเทศให้สามารถกลับมาดำเนินธุรกิจต่อไปได้แบบ Next Normal โดยคาดว่าจะสร้างโอกาสทางการค้าและเกิดเงินทุนหมุนเวียนภายในงานไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท”

สำหรับไฮไลท์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นบนพื้นที่ของการจัดงาน FTI EXPO 2022 กว่า 30,000 ตารางเมตร จะมีการนำเสนอนวัตกรรมและเทคโนโลยีล้ำหน้า สินค้าและบริการที่ทันสมัยของบริษัทชั้นนำระดับประเทศ รวมทั้งเป็นเวทีเปิดกว้างในการแสดงศักยภาพอุตสาหกรรมไทยที่หลากหลายครบวงจร โดยประกอบด้วย 6 กิจกรรมหลักๆ ได้แก่...

>> FTI FUTURE FORUM เวทีที่รวมสุดยอดซีอีโอชั้นนำของประเทศทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน มาร่วมแสดงวิสัยทัศน์และนโยบายการขับเคลื่อนไทยสู่อนาคตในหัวข้อต่างๆ อาทิ ก้าวใหม่อุตสาหกรรมไทย ในยุค New Normal โดยคุณสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม / ความท้าทาย COP26 กับบริบทการใช้พลังงานของประเทศไทย โดยคุณสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน / Shaping Energy Industry and Beyond for Sustainable Future โดยคุณอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) /  Shaping 5G Industry Transition Towards Digital and Green Energy โดย ดร.ชวพล จริยาวิโรจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นต้น

>> EXHIBITION & RETAIL อัพเดทเทรนด์นวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพื่อธุรกิจและอุตสาหกรรม มากมายด้วยเทคโนโลยีล้ำหน้าของเหล่าพันธมิตรและสินค้าอุตสาหกรรมไทย

>> BUSINESS MATCHING & NETWORKING พบปะคู่ค้าคนสำคัญเพื่อต่อยอดธุรกิจให้เติบโตไปพร้อมกัน

>> INNOVATION & TECHNOLOGY SHOWCASE ตื่นตากับนวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรมล้ำสมัยที่เข้ามาช่วยให้ธุรกิจไปไกลกว่าเดิม

>> BCG ECONOMY MODEL SHOWCASE นำเสนอผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมจากภาคอุตสาหกรรมที่มีแนวคิดตอบโจทย์การพัฒนาเพื่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรที่จะเป็นหนึ่งพลังสำคัญในการเปลี่ยนแปลงโลกของเราให้ยั่งยืนขึ้น

>> NORTHERN FOOD VALLEY นวัตกรรมอาหารแห่งอนาคตจากผู้ประกอบการภาคเหนือ และสินค้าที่ผลิตในประเทศไทยโดยได้รับการรับรอง MADE IN THAILAND จากสภาอุตสาหกรรมฯ

การจัดงานในครั้งนี้ ยังคงมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับความสอดคล้องวิถีชีวิตแบบ New Normal เพื่อให้ความมั่นใจแก่ผู้เข้าชมงาน และสอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐที่เฝ้าระวังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อีกทั้งได้เตรียมความพร้อมอย่างเต็มที่ในทุกด้าน ทั้งด้านสถานที่ มาตรการป้องกันโควิด-19 ระบบโลจิกติกส์ การบริการรถรับ-ส่งภายในงาน การปฐมพยาบาล การรักษาความปลอดภัย การบริการต้อนรับ ร้านค้า ร้านอาหาร พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ที่มีประสบการณ์ในการดูแลต้อนรับและอำนวยความสะดวกผู้เข้าชมงาน ที่ได้รับการฉีดวัคซีนและผ่านการตรวจ ATK ก่อนเข้าปฏิบัติงานทุกคน ยิ่งไปกว่านั้นงาน FTI Expo 2022 ยังได้รับมาตรฐาน Safe Travel ซึ่งเป็นมาตรฐานด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยด้านสุขภาพระดับโลก, มาตรฐาน SHA ซึ่งเป็นมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัยสำหรับกิจการด้านการท่องเที่ยว และเป็นการจัดงานที่มีการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ (Carbon Neutral) ซึ่งได้รับการรับรองจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) เพื่อเป็นการส่งเสริมนโยบายของประเทศในการมุ่งสู่การเป็น Carbon Neutrality และ Net Zero นอกจากนั้นภายในงาน ได้นำแนวคิด PackBack มาใช้ในการนำบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วที่เกิดขึ้นภายในงาน กลับไปเป็นวัตถุดิบในภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนอย่างยั่งยืน

เฉลย!! หนูน้อยคนเก่ง สอน Coding ให้นายกฯ จบดราม่าชาวเน็ตแซะนายกฯ ใช้คอมไม่เป็น

จากกรณีโซเชียลมีการแชร์ล้อเลียนนายกฯ ใช้คอมไม่เป็น หลังมีภาพหนูน้อยนักเรียนคนหนึ่งกำลังจับมือ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ระหว่างใช้คอมพิวเตอร์ จนทำให้มีการวิพากษ์วิจารณ์ โจมตีนายกรัฐมนตรีว่า เป็นเพราะนายกรัฐมนตรีใช้คอมพิวเตอร์ไม่เป็นหรือไม่นั้น

ล่าสุด เพจเฟซบุ๊ก ‘โรงเรียนวัดเวฬุวัน (สารภีชนานุกูล)’ ได้โพสต์คลิปหนูน้อยคนดังกล่าวแล้ว ที่ชื่อ ‘เด็กหญิงพัทรศญา หน่ออินทร์ชัย’ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยเด็กหญิงพัทรศญา กล่าวว่า...

“ดีใจมากที่ได้มาสอนเรื่อง Coding ให้กับลุงตู่ ลุงตู่ไม่เคยเรียน Coding แต่หนูได้เรียน หนูก็เลยตื่นเต้นมากที่ได้มาสอนท่าน เพราะท่านเป็นถึงนายกรัฐมนตรี หนูตื่นเต้นและดีใจมากเลย”

สุดล้ำ!! พัฒนาระบบดิจิทัลให้บริการปชช. การันตีด้วย 'รางวัลต้นแบบท้องถิ่นดิจิทัล'

ต้องยอมรับว่าในประเทศไทย ยังใช้ประโยชน์จากยุคดิจิทัลได้ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย ทั้ง ๆ ที่กระแสโลกมีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลกันอย่างเต็มตัวแล้ว โดยเฉพาะหน่วยราชการไทย เรียกได้ว่า ยังช้ากว่าการวิ่งของกระแสดิจิทัลโลกอยู่หลายก้าว 

แต่เมื่อเร็ว ๆ นี้ เทศบาลเมืองแม่เหียะ จ.เชียงใหม่ ได้แสดงให้เห็นว่าถ้าเราสามารถใช้ประโยชน์จากดิจิทัลได้ จะเกิดประโยชน์และประสิทธิภาพอย่างมหาศาล สามารถลบภาพระบบราชการแบบเก่า ๆ ได้อย่างสิ้นเชิง  โดยเฉพาะในภาคการบริการประชาชน ที่เป็นภารกิจหลักของรัฐ  

เทศบาลเมืองแม่เหียะ ได้พัฒนาแพลตฟอร์มระบบข้อมูลเมือง (City Data platform Dashboard) ขึ้น และสามารถเก็บข้อมูลที่สามารถซอยย่อยได้มากถึง 84 หมวดหมู่ ครอบคลุมแทบทุกด้านของการบริหารจัดการเมือง ที่สำคัญคือ สามารถสร้างระบบบริการออนไลน์ ที่เรียกว่า e-service ขึ้นมาให้บริการประชาชน ที่สามารถใช้งานได้ผ่านแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือได้ทุกระบบ การบริการหลัก ๆ มีด้วยกัน 3 ด้าน คือ  

1.) ระบบ One Stop Service ประชาชนสามารถขอรับบริการสาธารณะและแจ้งร้องทุกข์ร้องเรียน สามารถติดตามสถานะการดำเนินการได้ด้วยตนเอง 

2.) ฐานข้อมูลตำบลออนไลน์บริการข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ของเทศบาลเมืองแม่เหียะ 

3.) ระบบชำระค่าจัดเก็บขยะออนไลน์ ประชาชนสามารถชำระค่าจัดเก็บขยะผ่านระบบออนไลน์  

นอกจากนี้ ก็มีงานด้านโครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภค งานด้านการจราจร และความปลอดภัย คุณภาพชีวิต งานด้านสาธารณสุข การท่องเที่ยว งานบริการด้านภาษี การยื่นคำร้องต่าง ๆ เช่น การขอปลูกบ้าน เป็นต้น

ข้อมูลของเมืองที่แสดงเป็น Dashboard ของเทศบาลแม่เหียะ ที่มีนายศิรวรรธน์ บงสีดา นายช่างโยธา ชำนาญงาน ขององค์กร เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงหลัก บุกเบิกการเก็บข้อมูลของเมือง โดยใช้ประโยชน์จากโดรนในการสำรวจ ซึ่งมีความละเอียดแม่นยำมากกว่าการอ้างอิงจาก Google Map กล่าวได้ว่า การพัฒนา ระบบข้อมูลของเมืองของเทศบาลเมืองแม่เหียะนำไปสู่ศูนย์บริการเป็นเลิศของ (Excellent Service) ทำให้ล่าสุด เทศบาลเมืองแม่เหียะ ได้รับรางวัลต้นแบบท้องถิ่นดิจิทัล จากสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งความสำเร็จนี้ เกิดขึ้นได้เป็นผลการวิจัย ที่เป็นความร่วมมือระหว่างเทศบาลเมืองแม่เหียะ กับหน่วยบริหารจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ซึ่ง บพท. ได้เลือกแม่เหียะเป็นพื้นที่ศึกษา (Research Area) ในการพัฒนายกระดับท้องถิ่น

ธนวัฒน์ ยอดใจ นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองแม่เหียะ เล่าถึงที่มาการเป็น Smart City ของแม่เหียะว่า แม่เหียะ เป็นพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ มีแหล่งท่องเที่ยวสถานที่สำคัญ ทั้งดอยคำ พืชสวนโลก ไนต์ซาฟารี ที่ตั้ง 6 คณะของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อุทยานวิทยาศาสตร์ และวัดโด่งดังที่สุด วัดพระธาตุดอยคำ 

เมื่อเมืองมีกระบวนการเปลี่ยนแปลงมาต่อเนื่อง จากเมืองเกษตรกรรม กลายมาเป็นเมืองเศรษฐกิจและท่องเที่ยว ทำให้เห็นปัญหาการบริการ ส่วนตัวเห็นมิติต่างๆ การพัฒนาให้เป็นเมืองคุณภาพ ซึ่งการจะทำให้เกิดกระบวนการเปลี่ยนเมืองได้ต้องใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย ทำให้เป็นที่มาของการเก็บข้อมูลเมือง แม้ที่ผ่านมาแต่ละหน่วยงานจะมีการสำรวจเก็บข้อมูล แต่มันสะเปะสะปะแยกกันทำ สำรวจเสร็จแล้วก็ทิ้งข้อมูลไป ซึ่งตนต้องการข้อมูลพวกนี้มาใช้ประโยชน์ นำมาวางแผนในการพัฒนาแม่เหียะ ไม่ว่าแผน 3 ปี หรือ 5 ปี เพราะไม่ว่าการทำถนน หรือให้นักธุรกิจมาลงทุน จำเป็นต้องมีข้อมูล ซึ่งขณะนี้เป็นการดำเนินตามแผนปี 2566-2570  โดยมีฐานข้อมูล 94 ชั้นที่จะนำมาใช้ประโยชน์

“ถ้าคุณมีที่ดินในแม่เหียะ ไม่ต้องบอกว่าทำอะไรกับที่ดินอยู่ เพราะเราสำรวจมาแล้วโดยใช้โดรนว่ามีการใช้ประโยชน์อะไรบ้างในที่ดินตรงนั้น ซึ่งตรงนี้ จะช่วยเรื่องเก็บภาษีท้องถิ่นได้มาก ปี 63 ภาษีเราหายไปกว่า 30 ล้าน เพราะโควิดทำให้เศรษฐกิจไม่ดี รัฐบาลจึงมีนโยบายเก็บภาษีท้องถิ่นแค่ 10% ปี 64 แจ้งมาอีกเก็บภาษีเหลือ 10% เราก็หายไปอีก 15 ล้าน หนักใจมาก ปีนี้ให้เก็บ 100% และเราเก็บได้เพิ่มขึ้นเพราะเรามีฐานข้อมูลที่ชัดเจนมาเป็นตัวช่วย”

นายกฯ แม่เหียะ ยังบอกอีกว่า ระบบให้บริการประชาชนแบบเก่าดั้งเดิมของท้องถิ่นต่าง ๆ คือ ถ้าใครอยากแจ้งเรื่องไฟดับเสาไฟฟ้าสักต้น หรือซ่อมท่อ ต้องเดินทางมาที่เทศบาล หรือการจ่ายค่าเก็บขยะรายเดือน ๆ ละ 40 บาท อาจต้องขับรถมา 4-5 กม. เพื่อมาจ่ายที่เทศบาล แต่ระบบใหม่ที่เป็นสมาร์ตซิตี้ ประชาชนไม่ต้องเดินทางมาเทศบาล สามารถแจ้งร้องทุกข์ หรือปัญหาได้ทางแพลตฟอร์ม ทางออนไลน์ ที่มีอยู่ 70 ภารกิจ ซึ่งทำผ่านโทรศัพท์มือถือ ข้อมูลจะวิ่งไปเข้าระบบหาผู้ปฎิบัติงานทันที หากมีการแก้ไขปัญหาล่าช้า เกิน 7 วันระบบก็จะฟ้องเองว่า ปัญหายังไม่ได้รับการแก้ไข แตกต่างจากเมื่อก่อนที่ไม่รู้ว่าเรื่องที่ต้องได้รับการแก้ไขหรือยัง ส่วนการจ่ายค่าเก็บขยะก็จ่ายผ่านทางแอปพลิเคชันแพลตฟอร์มของเทศบาลได้เช่นกัน

การบริการทางออนไลน์ที่ถือว่าเป็นไฮไลต์สุดล้ำนั้น ธนวัฒน์บอกว่า คือ การขออนุญาตปลูกบ้านชั้นเดียวขนาดพื้นที่ใช้สอย 150 ตารางเมตร ซึ่งแต่ก่อนกว่าจะได้รับอนุญาต ประชาชนที่ขอต้องมาที่เทศบาลไม่ต่ำกว่า 3 ครั้ง ถึงจะดำเนินการสร้างบ้านได้ ซึ่งตามกฎหมาย ระบุว่าการขอจะต้องใช้เวลาดำเนินการไม่น้อยกว่า  45 ว้น แต่เมื่อตนได้ดูกฎหมายเรื่องการอำนวยการความสะดวก ซึ่งในพ.ร.บ.ฉบับนี้ เขียนเปิดทางให้ใช้ลายเซ็นต์อิเล็กทรอนิกส์ได้มานานแล้ว แต่กลับไม่มีหน่วยงานไหนนำไปปฎิบัติ เพราะระบบราชการไทยแต่ก่อนต้องเป็นลายลักษณ์อักษร เช่น การประชุมออนไลน์ ผ่านระบบซูม ไม่มีผลทางกฎหมาย เบิกค่าใช้จ่ายไม่ได้  แต่เพิ่งอนุมัติเห็นชอบเมื่อไม่นานมานี้ เพราะสถานการณ์โควิด สำหรับการใช้ลายเซ็นต์ออนไลน์ ทางแม่เหียะได้ขอใช้เมื่อปี 2560 เขียนโปรแกรมขึ้นมา 1 โปรแกรม พร้อมกับใช้โดรนในการสำรวจ บ้านที่ขอก่อสร้าง

“การใช้ระบบออนไลน์ ทำให้ลดเวลาการขออนุญาตสร้างบ้านขนาด 150 ตารางเมตร จาก 45 วัน ลงเหลือ 7 วันในช่วงแรก ๆ และผมลดมาเหลือ 2 วัน และลดอีกเหลือ 24 ชั่วโมง และจนขณะนี้ผมให้ลดลงเหลือภายใน 2 ชั่วโมง ที่ทำได้ เพราะการเซ็นอนุมัติเราเซ็นผ่านออนไลน์ได้ ไม่ว่าผมหรือเจ้าหน้าที่จะไปอยู่ที่ไหนก็อนุมัติได้ ระบบมันจะมีการรีพอร์ตข้อมูล และระบบมีความปลอดภัย คนจะเข้าระบบจะต้องมีรหัส ตั้งแต่คนคีย์ระบบ นายช่าง นายตรวจ รองปลัด ปลัด และนายกฯ องค์กรท้องถิ่น แม้แต่กรุงเทพมหานคร ก็ยังไม่มีการทำกระบวนการนี้ แต่ที่เทศบาลแม่เหียะ เป็นเจ้าแรกของประเทศ" นายกฯ แม่เหียะบอกด้วยความภูมิใจ

แต่การอนุมัติคำขอสร้างบ้านในเวลาไม่กี่ชั่วโมง ยังจำกัดอยู่ที่บ้านขนาดเล็ก 150 ตารางเมตร ซึ่งนายกเมืองแม่เหียะ บอกว่า มีแนวคิดพร้อมจะขยับการให้บริการ การขออนุมัติสร้างที่อยู่อาศัยลักษณะอื่น เช่น หอพักขนาดไม่เกิน 10-20 ห้อง ผ่านทางระบบออนไลน์ได้ โดยใช้ฐานข้อมูลที่ทางเทศบาลมีอยู่มาเป็นประโยชน์การพิจารณา แต่ทั้งนี้ต้องดูกฎหมายอื่นๆ ประกอบการก้าวเดินให้บริการด้วย

“ในการทำงาน เราพูดถึงไทยแลนด์ 4.00 มากี่สมัยมันบรรลุหรือยัง ในการใช้เทคโนโลยีและแพลตฟอร์มต่างๆ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลง แม่เหียะเราเป็นต้นแบบการใช้ข้อมูลและเทคโนโลยี ตอนนี้ สันนิบาตเทศบาลองค์กรปกครองท้องถิ่นเห็นเราแล้ว เอาด้วย นายกฯ เมืองแสนสุข ยะลา ก็สนใจจะทำ เราเป็นเจ้าแรกในประเทศเรื่องอนุมัติสร้างบ้านออนไลน์ และกิจการสาธารณสุข การขอเปิดกิจการร้านอาหาร แจ้งเรื่องมาทางออนไลน์ กิจการสุขภาพ พ.ร.บ.สาธารณสุข ทำร้านอาหาร ก็อยู่ในข่ายให้บริการที่สะดวกรวดเร็วขึ้น”

นายกฯ แม่เหียะ บอกอีกว่ายังใช้ข้อมูลที่เก็บมาใช้ประโยชน์ไม่เต็มสูบ อนาคตเขามีแนวความคิด ดึงฐานข้อมูลมาเป็นฐานเมือง ทำแอปพลิเคชัน ที่เรียกว่าเป็น 'ซูเปอร์แอป' ในชื่อว่า 'มีดีแม่เหียะ' โดยตนได้คุยกับบพท. แล้วในเรื่องนี้ สำหรับ แอพฯ 'มีดีแม่เหียะ' จะให้บริการข้อมูลทุกอย่างของเมือง กิน เที่ยว บริการ เศรษฐกิจลงทุน เช่น อยากรู้ว่าร้านกาแฟในแม่เหียะมีตรงไหน หรือร้านไหนมีโปรโมชั่น พอจิ้มไปข้อมูลก็จะขึ้นมา หรือดูเรื่องการใช้ประโยชน์ที่ดินก็จะดูได้ทันที ซึ่งข้อมูลพวกนี้ จะเป็นฐานในการตัดสินใจลงทุนของนักธุรกิจต่างๆ

“เราเป็นเมืองเล็กๆ ต้นแบบ อยากให้ท้องถิ่นกว่า 7,000 แห่งทำเหมือนเรา อนาคตแม่เหียะ ผมอยากเห็นว่าแม่เหียะ เป็นเมืองที่สมาร์ตยิ่งกว่าเดิม อัจฉริยะยิ่งกว่าเดิม เห็นการเปลี่ยนแปลงยิ่งกว่าเดิม “

เมื่อถามว่า กระบวนการเปลี่ยนแปลงนี้ ทำให้เป็นจริงได้เกิดจากอะไร นายกฯ แม่เหียะ บอกว่า หัวใจหลักคือ เรื่องของคน ไม่ว่าคุณจะมีเทคโนโลยีแบบไหน จะมีราคาสูงๆ มากแค่ไหน แต่ถ้าคุณไม่สามารถเอาคนมาใช้ระบบได้ ก็คงไม่สำเร็จ ซึ่งนั่นคือคนในองค์กรต้องรวมกันเป็นหนึ่งก่อนแล้วเปิดวิสัยทัศน์นำ สู่กระบวนการเปลี่ยน ที่สำคัญทั้งผู้นำและประชาชนเอาด้วย
 

เชียงใหม่-ประชุมเชิงปฏิบัติการระบบความปลอดภัย MOE Safety Center กลุ่มพื้นที่การศึกษา ประจำเขตตรวจราชการที่ 15

วันอังคารที่ (26 กรกฎาคม 2565) เวลา 09.00 น. ที่ โรงแรมคุ้มภูคำ เชียงใหม่ นางสาวอรพินทร์ เพชรทัต เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการระบบความปลอดภัย MOE Safety Center กลุ่มพื้นที่การศึกษาประจำเขตตรวจราชการที่ 15 นายสมพงศ์ พรมจันทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 กล่าวรายงาน โดยมีคณะผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะวิทยากร คณะกรรมการบริหารกลุ่มพื้นที่การศึกษาประจำเขตตรวจราชการที่ 15 และผู้เข้าร่วมประชุม

นางสาวอรพินทร์ เพชรทัต เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการ โดยนางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดความปลอดภัยให้เป็นนโยบายสำคัญเร่งด่วนของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นความท้าทายอย่างยิ่ง ที่จะต้องหาแนวทางทำอย่างไรให้สถานศึกษาเป็นมากกว่าสถานที่ให้ความรู้ แต่ยังต้องเป็นสถานที่ที่อยู่แล้วมีความสุข มีความปลอดภัยด้วย จึงได้มีการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยส่งเสริม และสนับสนุน ให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการบริหารจัดการความปลอดภัยในสถานศึกษา เพื่อให้เข้าถึงนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และประชาชนทั่วไปได้ ให้สามารถแจ้งเหตุความไม่ปลอดภัยได้อย่างทั่วถึงและรวดเร็วมากขึ้น ผ่านการใช้แอปพลิเคชัน MOE Safety Center

นอกเหนือจากระบบมาตรฐานความปลอดภัยที่พัฒนาขึ้นแล้ว กระทรวงศึกษาธิการ ยังได้รับความร่วมมือจาก 8 กระทรวง และอีก 2 หน่วยงาน ประกอบด้วย กระทรวงกลาโหมกระทรวงมหาดไทย สํานักงานตํารวจแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงยุติธรรม และสำนักนายกรัฐมนตรี ในการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการ “SAFE สถานศึกษาปลอดภัย” ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญสำหรับการศึกษาไทยอีกครั้งหนึ่ง ที่ได้ร่วมมือเพื่อสร้าง “สถานศึกษาปลอดภัย” ให้เกิดขึ้นในประเทศของเรา

นายสมพงศ์ พรมจันทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 /ประธานกรรมการบริหารกลุ่มพื้นที่การศึกษา ประจำเขตตรวจราชการที่ 15 กล่าวว่า ด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้ความสำคัญเรื่อง “ความปลอดภัย” จึงกำหนดให้เป็นวาระแรก ใน 7 วาระเร่งด่วนของกระทรวงศึกษาธิการ อีกทั้งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  มีนโยบายมุ่งมั่นในการพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เป็น “สพฐ. วิถีใหม่ วิถีคุณภาพ” ขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านความปลอดภัย ด้านการส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียม และ ด้านการบริหารจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นพัฒนาระบบ และกลไกในการดูแลความปลอดภัยให้แก่ผู้เรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา และสถานศึกษา จากภัยพิบัติและภัยคุกคามทุกรูปแบบ รวมถึงส่งเสริมให้มีการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะที่ดี มีข้อมูลสารสนเทศความปลอดภัยที่เป็นระบบ สามารถแก้ไขปัญหาและบริหารจัดการความเสี่ยงได้อย่างยั่งยืน

ด้วยการบริหารจัดการตามมาตรการ  3ป ได้แก่ ป้องกัน ปลูกฝัง และปราบปราม เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ดำเนินการพัฒนาระบบการแจ้งเหตุความไม่ปลอดภัยขึ้น โดยจัดตั้งศูนย์ความปลอดภัยกระทรวงศึกษาธิการ (MOE Safety Center) แพลตฟอร์มดิจิทัล ในการแจ้งเหตุความไม่ปลอดภัย ครอบคลุมภัยทั้ง 4 กลุ่ม ได้แก่ ภัยที่เกิดจากการใช้ ความรุนแรงของมนุษย์ ภัยที่เกิดจากอุบัติเหตุ ภัยที่เกิดจากการถูกละเมิดสิทธิ์ และภัยที่เกิดจากผลกระทบทางสุขภาวะทางกายและจิตใจ

คณะกรรมการบริหารกลุ่มพื้นที่การศึกษาประจำเขตตรวจราชการที่ 15 ให้ความสำคัญ ในการขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติตามบริบทของพื้นที่ โดยต้องการให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ในกลุ่มพื้นที่การศึกษาประจำเขตตรวจราชการที่ 15 ครอบคลุมพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง และลำพูน จำนวน 16 แห่ง เป็นพื้นที่นำร่องขับเคลื่อนการใช้งานระบบมาตรฐาน ความปลอดภัย MOE Safety Center อย่างเป็นรูปธรรมด้วยการดำเนินการที่มีประสิทธิภาพ จึงได้จัดโครงการการประชุมเชิงปฏิบัติการระบบความปลอดภัย MOE Safety Center กลุ่มพื้นที่การศึกษาประจำเขตตรวจราชการที่ 15 

'โครงการนิทรรศการตามรอยเบื้องพระยุคลบาทในหลวง รัชกาลที่ 9'

วันที่ 2 สิงหาคม 2565 นางสาวนงลักษณ์ ยะสูงเนิน ผู้อำนวยการกองพัฒนาสังคมกลุ่มเป้าหมายพิเศษ ร่วมพิธีเปิดงานและเป็นประธาน “โครงการนิทรรศการตามรอยเบื้องพระยุคลบาทในหลวง รัชกาลที่ 9”จัดโดย ศูนย์ประสานงานโครงการหมู่บ้านสหกรณ์สันกำแพง อำเภอแม่ออน ตามรอยพระราชดำริ จังหวัดเชียงใหม่

นางสาวนงลักษณ์ ยะสูงเนิน ผู้อำนวยการกองพัฒนาสังคมกลุ่มเป้าหมายพิเศษ กล่าวว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาด้วยน้ำพระเมตตาต่อเหล่าพสกนิกรของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนารถบพิตร รัชกาลที่ 9 จึงทำให้เกิดโครงการหมู่บ้านสหกรณ์สันกำแพงฯ เป็นระยะเวลา 45 ปี ล่วงมาแล้ว ถึงแม้พระองค์จะทรงเสด็จสู่สวรรคาลัยแล้ว สมาชิกโครงการหมู่บ้านสหกรณ์สันกำแพงฯ ยังคงรำลึก ถึงพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ และยังดำเนินตามพระยุคลบาทและสืบสานพระราชปณิธานในในหลวงรัชกาลที่ 9 อย่างมิมีเสื่อมคลาย


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top