Saturday, 4 May 2024
สหรัฐอเมริกา

เฟดทนไม่ไหวปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.75% ดันหุ้นสหรัฐฯ-ทองคำปิดบวก แต่ฉุดน้ำมันร่วง $3

วอลล์สตรีทปิดบวกและน้ำมันขยับลงราว 3 ดอลลาร์ในวันพุธ (15 มิ.ย.) หลังธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ปรับขึ้นดอกเบี้ยตามที่คาดหมายไว้ ในความพยายามต่อสู้กับเงินเฟ้อโดยไม่ฉุดเศรษฐกิจดำดิ่งสู่ภาวะถดถอย ปัจจัยนี้ผลักทองคำปรับขึ้น

ดาวโจนส์ เพิ่มขึ้น 303.70 จุด (1.00 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 30,668.53 จุด เอสแอนด์พี เพิ่มขึ้น 54.51 จุด (1.46 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 3,789.99 จุด แนสแดค เพิ่มขึ้น 270.81 จุด (2.50 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 11,099.16 จุด

คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.75% ถือเป็นการปรับขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 1994 และคาดหมายว่าเศรษฐกิจกำลังชะลอตัวและตัวเลขคนว่างงานจะเพิ่มขึ้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า

เฟดได้ปรับลดตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปีนี้ สู่ระดับ 1.7% จากเดิมคาดการณ์ที่ระดับ 2.8% ในเดือน มี.ค. และคาดว่าจะขยายตัว 1.7% ในปี 2023

นอกจากนี้ เฟดคาดว่าเงินเฟ้อจะพุ่งแตะระดับ 5.2% ในสิ้นปีนี้ จากเดิมคาดการณ์ที่ระดับ 4.3% และจะชะลอตัวสู่ระดับ 2.6% และ 2.2% ในปี 2023 และ 2024 ตามลำดับ

วอลล์สตรีทซื้อขายผันผวนหลังจากเฟดแถลงปรับขึ้นดอกเบี้ย ก่อนแกว่งตัวขึ้นหลังจาก เจอโรม พาวเวล ประธานเฟดระบุในถ้อยแถลงว่ามีความเป็นไปได้ที่จะปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.50% หรือ 0.75% ในการประชุมครั้งถัดไปในเดือนกรกฎาคม แต่เขาไม่คาดหมายว่าการปรับขึ้น 0.75% จะกลายเป็นเรื่องปกติ

'รัสเซีย' เย้ย ตะวันตกจ่อยิงหัวตัวเอง หลังร่วมแบนน้ำมันรัสเซีย แต่ได้ผลลัพธ์ตรงกันข้าม

รัสเซียในวันพุธ (15 มิ.ย.) ระบุว่าตะวันตก "จ่อยิงศีรษะตนเอง" ด้วยการพยายามจำกัดนำเข้าพลังงานจากบ่อน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในไซบีเรีย สืบเนื่องจากความขัดแย้งในยูเครน สวนทางโดยสิ้นเชิงกับจีน ซึ่งเพิ่มนำเข้าพลังงานจากมอสโก

สงครามในยูเครน และความพยายามของตะวันตกที่หวังโดดเดี่ยวรัสเซีย ตอบโต้ปฏิบัติการรุกรานดังกล่าว ผลักให้ราคาธัญพืช น้ำมันประกอบอาหาร ปุ๋ยและราคาพลังงานพุ่งสูงขึ้น ในขณะที่ยุโรปประกาศลดพึ่งพิงน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจากรัสเซีย

มาเรีย ซาคาโรวา โฆษกกระทรวงการต่างประเทศรัสเซีย ระบุว่า ความเป็นพันธมิตรทางยุทธศาสตร์ระหว่างรัสเซียกับจีน สามารถต้านทานความพยายามหว่านเมล็ดพันธุ์แห่งความไม่ลงรอยของตะวันตก ในขณะที่สหรัฐฯ และพันธมิตรยุโรปได้ทำลายความสัมพันธ์ระหว่างพวกเขากับมอสโกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

"อุปทานพลังงานกำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จีนรู้ในสิ่งที่พวกเขาต้องการและไม่ยิงเท้าตัวเอง ส่วนในฝั่งตะวันตกของมอสโก พวกเขายิงตัวเองที่ศีรษะ" ซาคาโรวาบอกกับผู้สื่อข่าว "ตะวันตกโดดเดี่ยวตัวเองจากเรา"

เธอให้คำจำกัดความมาตรการของสหภาพยุโรปว่าเป็น "การวางแผนฆ่าตัวตาย" ในความพยายามกระจายหนทางปลีกตัวเองออกจากพลังงานของรัสเซีย ซึ่งป้อนอุปทานแก่เยอรมนีมาตั้งแต่ช่วงตึงเครียดสุดของสงครามเย็น

รัสเซียเป็นชาติผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ที่สุดอันดับ 2 ของโลก รองจากซาอุดีอาระเบีย และเป็นผู้ส่งออกก๊าซธรรมชาติรายใหญ่ที่สุดในโลก

ซาคาโรวา บอกว่าทรัพยากรด้านการทูตของรัสเซีย ได้เบี่ยงเส้นทางเรียบร้อยแล้ว บ่ายหน้าจากยุโรป สหรัฐฯ และแคนาดา สู่เอเชีย แอฟริกาและอดีตสหภาพโซเวียต

ก่อนหน้านี้ ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย กล่าวว่าความสัมพันธ์ระหว่างมอสโกกับจีนถือว่าดีที่สุดเท่าที่เคยมีมา และยกย่องความเป็นพันธมิตรทางยุทธศาสตร์ที่มีเป้าหมายตอบโต้อิทธิพลของสหรัฐฯ

สหรัฐฯ และมหาอำนาจยุโรป กล่าวโทษการตัดสินใจรุกรานยูเครนของปูติน ว่าเป็นเหตุผลที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับตะวันตกดำดิ่งสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่วิกฤตขีปนาวุธคิวบาปี 1962 ในนั้นรวมถึงการกำหนดมาตรการคว่ำบาตรหนักหน่วงที่สุดในประวัติศาสตร์ยุคสมัยใหม่
 

'ทรัมป์' เตือน!! อาวุธที่สหรัฐฯ มอบให้ยูเครน อาจบานปลายสู่ 'สงครามโลกครั้งที่ 3'

ความช่วยเหลือด้านการทหารอันมากมายเกินขอบเขตที่ทางสหรัฐฯ มอบแก่เคียฟ อาจก่อผลลัพธ์ลากความขัดแย้งในยูเครนลุกลามบานปลายกลายเป็นสงครามโลกครั้งที่ 3 จากคำเตือนของ โดนัลด์ ทรัมป์ อดีตประธานาธิบดีอเมริกา

"เรามีสงครามในยูเครน และบางทีมันอาจกำลังมุ่งหน้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 3 สืบเนื่องจากแนวทางที่เรากำลังบริหารจัดการมัน" ทรัมป์พูดเตือนระหว่างกล่าวปราศรัยกับที่ประชุมหนึ่งในเมืองแนชวิลล์ รัฐเทนเนสซี เมื่อวันศุกร์ (17 มิ.ย.)

"เราเพิ่งมอบเงิน 40,000 ล้านดอลลาร์ เพิ่มเติมจาก 16,000 ล้านดอลลาร์ ดังนั้นเราทุ่มเงินไปทั้งหมด 56,000 ล้านดอลลาร์" ทรัมป์กล่าวพาดพิงถึงแพกเกจช่วยเหลือของรัฐบาลไบเดน ที่อนุมัติมอบแก่ยูเครน ท่ามกลางความขัดแย้งกับรัสเซีย

"แต่หากคุณมองไปที่ยุโรป เยอรมนี ฝรั่งเศสและประเทศอื่นๆ เหล่านั้นทั้งหมด พวกเขามอบเงินแค่เศษเล็กๆ เล็กน้อยมากเมื่อเทียบกับสิ่งที่เรากำลังมอบให้ เรากำลังมอบความช่วยเหลือ 56,000 ล้านดอลลาร์ พวกเขาให้เงินช่วยเหลือแค่ไม่กี่พันล้านดอลลาร์ และพวกเขาก็เป็นหนึ่งที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักเช่นกัน"

สื่อสหรัฐฯ เผย ชาวมะกัน 62% อยากย้ายประเทศ!! พบอเมริกันชนย้ายไป 'เม็กซิโก' แล้ว 8 แสนคน

สำนักข่าว CNBC ของสหรัฐฯ ได้รายงานเมื่อวันที่ 11 มิ.ย.ที่ผ่านมาว่า ชาวแคลิฟอร์เนียหลายแสนคน ย้ายฐิ่นฐานออกจากประเทศสหรัฐฯ ไปยังประเทศเม็กซิโก เนื่องจากค่าครองชีพที่สูงเกินกว่าจะรับไหว ในขณะที่เม็กซิโกมีค่าครองชีพที่ถูกกว่า และมีลักษณะการใช้ชีวิตที่สุขสบายไม่เคร่งเครียด

แคลิฟอร์เนีย ถือเป็นรัฐที่มีค่าครองชีพสูงที่สุดเป็นอันดับ 2 ของสหรัฐฯ รองจากรัฐฮาวาย ซึ่งราคาบ้าน 1 หลังในแคลิฟอร์เนีย มีราคาเฉลี่ยหลังละ 797,470 ดอลลาร์ หรือประมาณ 28 ล้านบาท โดยสำนักข่าว CNBC ระบุว่า มีชาวแคลิฟอร์เนียเพียง 25% เท่านั้น ที่มีเงินมากพอที่จะซื้อบ้านในแคลิฟอร์เนีย โดยพบว่าไตรมาสสุดท้ายของปี 2564 มีประชากรเดินทางออกจากรัฐแคลิฟอร์เนียไม่ต่ำกว่า 3.6 แสนคน ย้ายไปอาศัยอยู่ในรัฐวอชิงตัน รัฐอาริโซนา รัฐเท็กซัส และประเทศเม็กซิโก โดยในปี 2563 พบว่ามีประชากรชาวอเมริกัน 8 แสนคน อาศัยอยู่ในประเทศเม็กซิโก

จากกระแสการย้ายถิ่นฐานออกจากสหรัฐฯ ไปเม็กซิโก ที่เริ่มมีมากขึ้นเรื่อย ๆ สำนักข่าว CNBC ยังได้เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นส่วนใหญ่ของชาวอเมริกัน พบว่า 62% อยากย้ายไปประเทศอื่น โดยผู้ตอบแบบสอบถามผลสำรวจ ไม่ค่อยมีความกังวลเรื่องการสูญเสียโอกาสการงานหน้าที่ในสหรัฐฯ เพราะสามารถทำงานอยู่ที่บ้านหรือ Work From Home จากต่างประเทศ

นายทราวิส กรอสซี (Travis Grossi) และนายเดวิด ซิมมอนส์ จูเนียร์ (David Simmons Jr.) ชาวแคลิฟอร์เนีย 2 คนที่เคยอาศัยอยู่ในฮอลลีวูด ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว CNBC โดยทั้ง 2 เปิดเผยว่า พวกเขาย้ายมาประเทศเม็กซิโก เพราะค่าครองชีพทุกอย่างในเม็กซิโก ถูกกว่ามากถึงครึ่งหนึ่งของค่าครองชีพในแคลิฟอร์เนีย 

แม้ว่าค่าเงินดอลลาร์สหรัฐและค่าจ้างแรงงานในแคลิฟอร์เนียจะมีตัวเลขที่สูงกว่ามาก แต่ระบบสาธารณสุขก็เป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน แต่ช่วงที่นายเดวิด ซิมมอนส์ จูเนียร์ ยังอาศัยอยู่ในแคลิฟอร์เนีย นายเดวิด ไม่มีเงินมากพอที่จะจ่ายค่าฉีดยารักษาโรคภูมิแพ้ แต่เมื่อย้ายมาอยู่เม็กซิโก การรักษาพยายาบาลในเม็กซิโก นอกจากจะถูกกว่าและเข้าถึงได้ง่ายกว่าแล้ว นายเดวิดยังได้รับการดูแลเรื่องโรคผิวหนังควบคู่ไปกับการรักษาโรคภูมิแพ้ ซึ่งถือว่าถูกกว่าและคุ้มค่ากว่ามาก

'จีน' ยืนหนึ่ง!! หุ้นส่วนสำคัญอาเซียนในอนาคต หลัง 'การทูตวัคซีนจีน' กุมใจชาติกำลังพัฒนา

จีน ‘ยืนหนึ่ง’ หุ้นส่วนสำคัญของอาเซียนในอนาคต

จากผลสำรวจความคิดเห็นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐบาลญี่ปุ่น เปิดเผยในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาว่า 48% ของผู้ตอบแบบสอบถามเลือก ‘จีน’ เป็นหุ้นส่วนรายสำคัญที่สุดในอนาคต ท่ามกลางกลุ่มประเทศสมาชิก G20 โดยมีญี่ปุ่นตามมาเป็นที่ 2 ที่ 43% ขณะที่สหรัฐอเมริกาอยู่ที่ 41% ซึ่งเป็นครั้งแรกที่จีนขึ้นครองเป็นอันดับหนึ่ง นับตั้งแต่กระทรวงต่างประเทศเริ่มทำการสำรวจในรูปแบบนี้ในปีงบประมาณ 2558

ผลสำรวจครั้งนี้นับว่าเป็นการล้มแชมป์เก่าอย่างญี่ปุ่น เนื่องจากการสำรวจในปีงบประมาณ 2562 พบว่าญี่ปุ่นรั้งตำแหน่งอันดับหนึ่งที่ 51% ขณะที่จีนอยู่ที่ 48% 
 

TOPIC 15 : สหรัฐฯ ปล้น 9 หมื่นล้านข้อมูลบนโลกอินเทอร์เน็ต พร้อมฉก ‘แสนล้าน’ บันทึกเสียงโทรศัพท์

สหรัฐฯ ปล้น 9 หมื่นล้านข้อมูลบนโลกอินเทอร์เน็ต พร้อมฉก ‘แสนล้าน’ บันทึกเสียงโทรศัพท์

Click on Clear Original 
โดย ปริม THE STATES TIMES (กุญชนิตา กุญชร ณ อยุธยา) 
 

TOPIC 16 : จับตา ‘ประชาธิปไตย’ ที่ไร้ ‘ราวกันตก’ เมื่อผู้คนเริ่มมองคนเห็นต่างเป็น ‘ศัตรู’ มุ่งสู่ ‘อนาธิปไตย’

จับตา ‘ประชาธิปไตย’ ที่ไร้ ‘ราวกันตก’ เมื่อผู้คนเริ่มมองคนเห็นต่างเป็น ‘ศัตรู’ มุ่งสู่ ‘อนาธิปไตย’

Click on Clear Original 
โดย ปริม THE STATES TIMES (กุญชนิตา กุญชร ณ อยุธยา) 

'โจ ไบเดน' ออกประณาม ศาลสูงสุดสหรัฐฯ หลังคว่ำคำพิพากษารับรอง ‘สิทธิการทำแท้ง’

ศาลสูงสุดสหรัฐฯ มีคำพิพากษาคว่ำคำตัดสินคดี Roe v. Wade ในปี 1973 ซึ่งรับรองสิทธิตามรัฐธรรมนูญของผู้หญิงในการทำแท้งเมื่อวานนี้ (24 มิ.ย.) ขณะที่ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ออกมาประณามคำตัดสินดังกล่าวว่าจะส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อชีวิตสตรีหลายล้านคน และกระพือความตึงเครียดในสังคมอเมริกัน

ศาลสูงสุดสหรัฐฯ ซึ่งเวลานี้ประกอบด้วยองค์คณะที่เป็นผู้พิพากษาสายอนุรักษนิยมเป็นส่วนใหญ่ มีคำวินิจฉัย 6 ต่อ 3 เสียงยืนกฎหมายของรัฐมิสซิสซิปปีที่ห้ามการทำแท้งหลังจากตั้งครรภ์เกิน 15 สัปดาห์ และ 5 ต่อ 4 เสียงให้กลับคำพิพากษาในคดี Roe v. Wade โดยมีผู้พิพากษาสายอนุรักษนิยม 1 คน คือ “จอห์น โรเบิร์ตส” เลือกที่จะสนับสนุนกฎหมายของรัฐมิสซิสซิปปี โดยไม่จำเป็นต้องคว่ำคำตัดสินในคดี Roe

คำตัดสินครั้งนี้ได้ก่อแรงกระเพื่อมขึ้นในสังคมอเมริกันอย่างรุนแรง และจุดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงความชอบธรรมของศาลสูงสุดซึ่งควรจะเป็นหลักให้แก่ระบอบประชาธิปไตยอเมริกัน แต่กลับมีคำวินิจฉัยเอียงเองไปในทางอนุรักษนิยมสุดขั้วมาแล้วหลายคดี

คณะผู้พิพากษาลงความเห็นว่า คำวินิจฉัยในคดี Roe ซึ่งระบุว่าผู้หญิงมีสิทธิตามรัฐธรรมนูญที่จะยุติการตั้งครรภ์ได้จนถึงจุดที่ทารกจะสามารถมีชีวิตรอดและเติบโตได้ภายนอกมดลูก ซึ่งอยู่ที่ราวๆ 24-28 สัปดาห์หลังการปฏิสนธิ “เป็นคำตัดสินที่ผิดพลาด” เนื่องจากรัฐธรรมนูญอเมริกัน “ไม่ได้มีข้อความที่ระบุชัดเจนเกี่ยวกับสิทธิในการทำแท้ง”

คำพิพากษานี้จะส่งผลให้รัฐต่างๆ ทั่วอเมริกามีอำนาจออกกฎเกี่ยวกับการทำแท้งได้เอง และนั่นหมายความว่าผู้หญิงที่ตั้งครรภ์โดยไม่พร้อมอาจต้องเดินทางไปยังรัฐอื่นๆ ซึ่งอนุญาตให้มีการทำแท้งอย่างถูกกฎหมาย ซื้อยาขับเลือดทางออนไลน์ หรือแม้กระทั่งพึ่งคลินิกทำแท้งเถื่อนซึ่งเป็นเรื่องที่เสี่ยงอันตรายอย่างยิ่ง

เวลานี้มีอยู่ 26 รัฐในอเมริกาที่ประกาศจุดยืนว่าพร้อมจะออกกฎห้ามการทำแท้งหรือกำลังพิจารณาเรื่องดังกล่าว ขณะที่มิสซิสซิปปีเป็นหนึ่งใน 13 รัฐที่กฎหมายห้ามทำแท้งมีผลบังคับทันทีที่คำพิพากษาในคดี Roe ถูกยกเลิก

ขณะเดียวกัน กลุ่มนักเคลื่อนไหวต่อต้านการทำแท้งได้เริ่มเสนอไอเดียให้ศาลสูงสุดออกคำวินิจฉัยว่ารัฐธรรมนูญอเมริกันห้ามการทำแท้งด้วย ทว่าแนวคิดนี้ถูกปฏิเสธทันควันโดยผู้พิพากษา เบร็ตต์ คาวานอห์ ที่ยืนยันว่า “รัฐธรรมนูญไม่ได้ระบุห้าม หรืออนุญาตให้มีการทำแท้ง”

คาวานอห์ ย้ำว่า คำตัดสินของศาลสูงสุดในวันนี้ไม่ได้ห้ามชาวอเมริกันเดินทางไปยังรัฐอื่นเพื่อทำแท้งอย่างถูกกฎหมาย และไม่มีบทลงโทษย้อนหลังสำหรับผู้ที่ได้ทำแท้งไปแล้ว

คุณแม่ชาวมะกัน อึ้ง!! หลังตั้งครรภ์ซ้อน ขณะที่ตั้งครรภ์อยู่ก่อนแล้ว

คุณแม่ชาวอเมริกันรายหนึ่ง ประสบเหตุเหลือเชื่อทางการแพทย์ โดยเธอตั้งครรภ์ซ้อนขึ้นมา ขณะที่ตัวเองก็ตั้งครรภ์อยู่ก่อนแล้ว และลูกในท้องก็ยังไม่คลอด

หลังจากประสบภาวะแท้งบุตรมาแล้ว 3 ครั้ง คารา วินโฮลด์ จากเมืองฟอร์ธเวิร์ธ รัฐเทกซัส ก็ตั้งครรภ์สมใจ ลูกน้อยของเธอมีกำหนดคลอดในฤดูใบไม้ร่วง ปี 2564

แต่ในขณะที่ครรภ์ของเธอย่างเข้าสู่สัปดาห์ที่ 5 คุณแม่มือใหม่ก็ต้องพบเรื่องประหลาดใจ เมื่อเธอไปตรวจครรภ์ด้วยวิธีอัลตราซาวด์ แล้วพบว่าในท้องของเธอ มีหัวใจของเด็กน้อย 2 คนเต้นอยู่

กลายเป็นว่าเธอมีลูกอีกคนที่เพิ่งถือกำเนิด ทั้งที่ลูกคนแรกของเธอยังอยู่ในครรภ์และยังไม่ได้คลอดออกมา ซึ่งทำให้วินโฮลด์ถึงกับช็อกจนพูดไม่ออก

แม้จะเป็นเรื่องไม่ปกติที่จะมีการตรวจพบเด็กแฝดภายหลังจากพบคู่แฝดคนแรก แต่ วินโฮลด์ ก็บอกว่า คุณหมอของเธอกลับไปดูภาพสแกนโดยละเอียดแล้วพบว่า ตัวอ่อนของคู่แฝดคนที่ 2 มีขนาดเล็กมากอย่างเห็นได้ชัด จึงสันนิษฐานว่า เด็กคนนี้ถือกำเนิดขึ้นภายหลังจากคนแรกราว 1 สัปดาห์

วินโฮลด์ ยอมรับว่า เธอไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ว่าเกิดอะไรขึ้น แต่เธอก็เล่าว่า ตนใช้แอพพลิเคชั่นที่ช่วยระบุวันตกไข่ เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ ดังนั้นเธอรู้ว่าตัวอ่อนของลูกคนแรกปฏิสนธิขึ้นตอนไหน แต่หลังจากนั้นราว 1 สัปดาห์ เธอกับสามีก็มีเพศสัมพันธ์กันอีกครั้ง ซึ่งเป็นช่วงที่เธอคิดว่าเลยระยะตกไข่ไปแล้ว

การที่ตัวอ่อนของเด็กทารกคนหนึ่งปฏิสนธิขึ้นภายหลังจากที่มีการปฏิสนธิของเด็กคนแรกไปแล้วในช่วงเวลาที่ห่างกันเพียงไม่กี่วันหรือไม่กี่สัปดาห์ เรียกว่า ‘Superfetation’ หรือปรากฏการณ์ตั้งครรภ์ซ้อน ซึ่งเกิดจากการที่ผู้หญิงยังคงมีภาวะตกไข่ต่อไปได้อีก หลังจากที่ตั้งครรภ์ไปแล้ว

ปรากฏการณ์ตั้งครรภ์ซ้อนในมนุษย์เกิดขึ้นไม่มากนัก เท่าที่เคยตรวจพบจนถึงปัจจุบัน มีไม่ถึง 10 ราย

G7 ทุ่ม 6 แสนล้านฯ ล่อประเทศกำลังพัฒนาเข้าซบ ด้านอเมริกันชน เซ็ง!! สนแต่คนนอก ไม่แคร์คนใน

การประชุมกลุ่ม G7 ในประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่ (26 มิถุนายน 2022) ที่ผ่านมา ประชุมสุดยอดผู้นำ G7 ครั้งที่ 48 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ (26-28 มิถุนายน 2022) ที่เมือง Schloss Elmau แคว้นบาวาเรีย ในเยอรมัน ซึ่งประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา, อังกฤษ, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, แคนาดา, ญี่ปุ่น และอิตาลี ได้มีข้อตกลงร่วมกันว่า…

ทางกลุ่ม G7 จะทุ่มเงินให้กับประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งคาดว่าเป็นการปล่อยกู้ ไม่ใช่การกุศล แต่เพื่อการลงทุน โดยหวังจะดึงความนิยมให้ประเทศเหล่านั้นหันมาหาซบ G7 และมองข้ามโครงการ Belt and Road หรือ เส้นทางสายไหมใหม่ของจีน ผ่านโครงการยักษ์อย่าง The Partnership for Global Infrastructure and Investment เพื่อสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้กับประเทศกำลังพัฒนา ที่จะทุ่มงบประมาณลงในโครงการนี้ถึง 6 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ

โดยการประชุมย่อยในครั้งนี้ น่าสนใจที่ทางฟาก สหรัฐฯ ในฐานะผู้นำกลุ่ม ประกาศจะทุ่มเงินกว่า 2 แสนล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 7 ล้านล้านบาทภายใน 5 ปี เพื่อการนี้โดยเฉพาะด้วย

ถึงกระนั้น ก็มีคำถามว่า แล้วสหรัฐฯ จะไปหาเงินจำนวนมากขนาดนั้นมาจากไหน ทางด้านทำเนียบขาวจึงได้ตอบว่า “จะเป็นการตั้งเงินงบประมาณจากรัฐบาลกลาง ประกอบกับการขอความร่วมมือจากกองทุนและธนาคารต่างๆ ไปจนถึงความร่วมมือจากภาคเอกชนยักษ์ใหญ่ของสหรัฐอเมริกา”

ก่อนหน้านี้ สหรัฐฯ ได้มีโครงการนำร่องที่ให้เงิน 2 พันล้านดอลลาร์ (ประมาณ 3.6 หมื่นล้านบาท) แก่ประเทศแองโกลา โดยเป็นการรวมเงินจากกระทรวงพานิชย์, ธนาคารเพื่อการนำเข้าและส่งออกแห่งสหรัฐอเมริกา และกองทุนภาคเอกชนที่เข้าไปลงทุนในแอฟริกา


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top