Sunday, 12 May 2024
ตำรวจไซเบอร์

ตำรวจไซเบอร์ เตือนภัยรายวัน ล่าสุดปลอม SMS บริษัท ทิพยประกันภัย อ้างให้เงินปันผล และบัตรเติมน้ำมันฟรี

พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก บช.สอท. ขอประชาสัมพันธ์เตือนภัยมิจฉาชีพแอบอ้างเป็นพนักงาน บริษัททิพยประกันภัย ส่งข้อความสั้น (SMS) และโทรศัพท์ไปยังประชาชนแจ้งว่าได้รับสิทธิ์เงินปันผล หรือได้รับบัตรเติมน้ำมันฟรี โดยให้แอดไลน์ปลอมของบริษัท แล้วหลอกลวงกดลิงก์ติดตั้งแอปพลิเคชันควบคุมโทรศัพท์มือถือ ดังนี้

ตามที่ บช.สอท. ได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์เตือนภัยกรณี การเปิดเผยรายชื่อ 29 หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ที่มิจฉาชีพมักนำมาแอบอ้างหลอกลวงประชาชน ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา นับตั้งแต่เดือน ต.ค.65 - เดือน มี.ค.66 ปรากฏว่ายังคงมีผู้เสียหายตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดได้รับรายงานจากกองบังคับการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ตอท.) ว่า พบผู้เสียหายหลายรายได้รับข้อความสั้น (SMS) จากมิจฉาชีพซึ่งแอบอ้างเป็นพนักงาน บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด แจ้งว่า ผู้เสียหายได้รับสิทธิ์เงินปันผล จำนวน 2,000 บาท หรือได้รับบัตรน้ำมันฟรี มูลค่า 3,000 บาท เมื่อผู้เสียหายกดลิงก์ที่แนบมากับข้อความดังกล่าว จะเป็นการเพิ่มเพื่อนทางแอปพลิเคชันไลน์ของ บริษัท ทิพยประกันภัย ที่มิจฉาชีพปลอมขึ้นมา

จากนั้นผู้เสียหายจะถูกสอบถามรายละเอียดต่างๆ มักเริ่มจากสอบถามว่าได้รับการแจ้งมาจากช่องทางใด ขอทราบชื่อนามสกุล พร้อมทั้งขอหมายเลขโทรศัพท์ไว้เพื่อติดต่อกลับ เมื่อตอบคำถามเสร็จสิ้น จะมีหมายเลขโทรศัพท์ที่ไม่คุ้นเคยโทรมายังผู้เสียหาย อ้างเป็นพนักงานบริษัทฯ สอบถามว่าอยู่บุคคลเดียวหรือไม่ หากอยู่บุคคลเดียวให้เปิดลำโพงโทรศัพท์มือถือเพื่อทำตามขั้นตอน จากนั้นมิจฉาชีพจะส่งลิงก์ทางไลน์ซึ่งได้เพิ่มเพื่อนไว้ก่อนหน้านี้ ให้ติดตั้งแอปพลิเคชันของบริษัทปลอม อ้างว่าจะต้องขอสิทธิ์ผ่านช่องทางนี้เท่านั้น เมื่อผู้เสียหายกดลิงก์จะมีการขอสิทธิ์ติดตั้งแอปพลิเคชันที่ไม่รู้จัก แจ้งว่าเป็นไฟล์ที่อาจเป็นอันตราย หรือไฟล์นามสกุล .apk หรือแจ้งว่าเป็นซอฟต์แวร์ที่เป็นอันตราย มีการหลอกให้ตั้งรหัสผ่าน 6 หลัก จำนวนหลายๆครั้ง เพื่อหวังให้ผู้เสียหายกรอกรหัสชุดเดียวกับรหัสการเข้าถึง หรือการทำธุรกรรมการเงินของแอปพลิเคชันธนาคารต่างๆ ในโทรศัพท์มือถือของผู้เสียหาย รวมไปถึงขอสิทธิ์ในการควบคุมอุปกรณ์ หรือโทรศัพท์มือถือของเหยื่อ เช่น ดูและควบคุมหน้าจอ ดูและดำเนินการ เป็นต้น โดยในขั้นตอนนี้มิจฉาชีพจะคอยสอนผู้เสียหายว่าต้องทำอย่างไร

กระทั่งเมื่อมิจฉาชีพได้สิทธิ์ควบคุมอุปกรณ์หรือโทรศัพท์มือถือแล้ว จะทำการล็อกหน้าจอโทรศัพท์ ทำให้เสมือนโทรศัพท์ค้าง โดยมักจะแสดงข้อความว่า อยู่ระหว่างดำเนินการตรวจสอบ ห้ามใช้งานโทรศัพท์มือถือ หรือมิจฉาชีพอาจจะให้ทำการคว่ำโทรศัพท์มือถือไว้ จากนั้นมิจฉาชีพจะสามารถนำรหัสที่ผู้เสียหายเคยกรอกเอาไว้ก่อนหน้านี้ทำการโอนเงินออกจากบัญชีของผู้เสียหาย

ทั้งนี้นับตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค.65 – 16 เม.ย.66 พบว่าการหลอกลวงให้ติดตั้งโปรแกรมควบคุมโทรศัพท์มือถือ มีผู้เสียหายดำเนินการแจ้งความร้องทุกข์ผ่านระบบการรับแจ้งความออนไลน์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กว่า 3,346 เรื่อง มีมูลค่าความเสียหายรวมกว่า 100 ล้านบาท ซึ่งจัดอยู่ในลำดับที่ 9 จาก 14 ประเภท ของการหลอกลวงออนไลน์ทั้งหมด

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ให้ความสำคัญ และมีความห่วงใยต่อภัยการหลอกลวงผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแอบอ้างเป็นหน่วยงานต่างๆ หลอกลวงให้ประชาชนติดตั้งแอปพลิเคชันปลอมเอาทรัพย์สินของประชาชน สร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. และ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รอง ผบ.ตร. ซึ่งรับผิดชอบงานป้องกันปราบปรามอาชญากรรม ได้กำชับสั่งการให้หน่วยงานในสังกัดเร่งดำเนินการปราบปรามจับกุมผู้กระทำผิดอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง รวมถึงวางมาตรการป้องกันสร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชน

ที่ผ่านมา บช.สอท. โดย พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท. ได้ขับเคลื่อนตามนโยบายของรัฐบาล และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการป้องกันปราบปรามการกระทำความผิดในโลกออนไลน์ทุกรูปแบบมาโดยตลอด มุ่งเน้นการสร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ

โฆษก บช.สอท. กล่าวอีกว่า การหลอกลวงในรูปแบบดังกล่าวยังคงเป็นการหลอกลวงในรูปแบบเดิมๆ เพียงแต่มิจฉาชีพจะเปลี่ยนชื่อหน่วยงาน และเปลี่ยนเนื้อหา หรือสิทธิประโยชน์ไปตามวันเวลา และสถานการณ์ในช่วงนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นการแจ้งว่าได้รับสิทธิต่างๆ หรือได้รับเงินคืน หรือให้อัปเดตข้อมูล โดยในขั้นตอนสุดท้ายจะหลอกลวงให้เหยื่อกดลิงก์ติดตั้งแอปพลิเคชันปลอมของหน่วยงานที่นำมาแอบอ้าง ที่ผ่านมาก็ปรากฏในหลายๆ หน่วยงาน มิจฉาชีพจะอาศัยความไม่รู้ และความโลภ ของประชาชนเป็นเครื่องมือ ใช้ความสมัครใจของเหยื่อให้ติดตั้งแอปพลิเคชันปลอม และมีการใช้สัญลักษณ์ของหน่วยงาน เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น

 

ตำรวจไซเบอร์ เตือนภัยประชาชนอย่าหลงเชื่อ มิจฉาชีพหลอกขายแผงโซลาร์เซลล์ (Solar Cell) ฉวยโอกาสช่วงค่าไฟฟ้าแพง

พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก บช.สอท. ขอเรียนประชาสัมพันธ์เตือนภัยประชาชน กรณีมิจฉาชีพเข้ามาแฝงตัวในสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ เพื่อหลอกลวงขายหลอกขายแผงโซลาร์เซลล์ (Solar Cell) ดังนี้

ได้รับรายงานจากกองบังคับการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ตอท.) พบว่าเริ่มมีมีผู้เสียหายหลายรายทยอยเข้าแจ้งความผ่านระบบรับแจ้งความออนไลน์ หลักจากถูกมิจฉาชีพหลอกลวงขายแผงโซลาร์เซลล์ (Solar Cell) หรืออุปกรณ์สำหรับการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า ให้กับเหยื่อผู้ที่ต้องการลดค่าใช้จ่ายการอุปโภค และบริโภคจากการใช้ไฟฟ้าในรูปแบบของที่พักอาศัย โดยมิจฉาชีพได้ฉวยโอกาสในช่วงที่โซลาร์เซลล์ (Solar Cell) กำลังเป็นที่นิยม และได้รับความสนใจในช่วงสถานการณ์ปัจจุบัน ใช้บัญชีเฟซบุ๊กปลอมแฝงตัวเข้ามาในกลุ่มต่างๆ ที่มีการซื้อขายโซลาร์เซลล์ (Solar Cell) และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง โพสต์ประกาศขายสินค้าดังกล่าวในราคาถูกกว่าราคาท้องตลาด ใช้รูปภาพที่คัดลอกมาจากช่องทางที่มีการซื้อจริง โฆษณาอวดอ้างสรรพคุณต่างๆ และมีการเร่งรัดให้รีบตัดสินใจว่าสินค้าใกล้จะหมด และนอกจากนี้แล้วมิจฉาชีพยังใช้วิธีการสร้างเพจเฟซบุ๊กปลอมขึ้นมาทั้งหมดเพื่อหลอกลวงขายสินค้าประเภทดังกล่าวอีกด้วย

ที่ผ่านมานับตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค.65 - 16 เม.ย.66 พบว่าการหลอกลวงซื้อสินค้า หรือบริการ ยังคงมีประชาชนตกเป็นเหยื่อ โดยได้แจ้งความร้องทุกข์ผ่านระบบการรับแจ้งความออนไลน์สูงที่สุดเป็นลำดับที่ 1 จำนวนกว่า 85,395 เรื่อง หรือคิดเป็น 35.61% ของเรื่องที่มีการรับแจ้งความออนไลน์ทั้งหมด และมีมูลค่าความเสียหายรวมกว่า 1,255 ล้านบาท

ตามนโยบายของรัฐบาล โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ซึ่งรับผิดชอบงานในด้านการป้องกันปราบปราม ได้ให้ความสำคัญ และมีความห่วงใยต่อภัยการหลอกลวงประชาชนผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ โดยได้กำชับไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งวางมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดในโลกออนไลน์ทุกรูปแบบอย่างต่อเนื่อง และจริงจัง

ที่ผ่านมา กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี โดย พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท. ได้ขับเคลื่อนตามนโยบายของรัฐบาล และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดในโลกออนไลน์ทุกรูปแบบ มุ่งเน้นการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ

โฆษก บช.สอท. กล่าวเพิ่มเติมว่า ขอประชาชนพึงระมัดระวังการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ อย่าเห็นแก่ของถูกแล้วรีบโอนเงิน โดยขอประนามการหลอกลวงในลักษณะดังกล่าว ถือว่าเป็นการซ้ำเติมความเดือดร้อนของประชาชน ทั้งนี้ที่ผ่านมา บช.สอท. ยังคงเร่งปราบปรามจับกุมผู้กระทำความผิดในลักษณะดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง นำตัวผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดทุกราย ไม่มีละเว้น เพื่อไม่ให้เอาเป็นเยี่ยงอย่าง โดยล่าสุดได้ทำการจับกุมแก๊งหลอกลวงเหยื่อส่งพัสดุเก็บเงินปลายทาง ทลายโกดังตรวจยึดของกลางจำนวนมาก อยู่ระหว่างขยายผลไปยังนายทุนจีนที่อยู่เบื้องหลัง

ตำรวจไซเบอร์ ทลายแก๊งเซียนพระ หวังรวยลัด แอบเปิดไลฟ์สดพนันออนไลน์

วันนี้ (27 เมษายน 2566) ที่กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 
(บช.สอท.) ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท., พล.ต.ต.อำนาจ ไตรพจน์ รอง ผบช.สอท., พล.ต.ต.ณัฐกร ประภายนต์ ผบก.สอท.2 ได้สั่งการให้มีการตรวจสอบการกระทำความผิดสื่อสังคมออนไลน์ที่มีพฤติกรรมเข้าข่ายการกระทำความผิดในรูปแบบต่าง ๆ สร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชนอย่างจริงจัง

สืบเนื่องจากตำรวจไซเบอร์ได้ทำการตรวจสอบพบการเล่นการพนันทางแอปพลิเคชั่น TikTok  ใช้ชื่อ “Ter_wk” จากการสืบสวนทราบว่าเป็น กลุ่มเซียนพระในพื้นที่ภาคกลาง โดยใช้วิธีการจับฉลากชิงรางวัลเป็นเงินสด พระเครื่อง สินค้าแบรนด์เนม และของมีค่าต่างๆ โดยผู้เข้ามาเล่นจับฉลากเป็นจำนวนมาก ต่อมา จึงให้สายลับแฝงตัวร่วมเล่นพนัน กระทั่งสามารถพิสูจน์ได้ว่า การกระทำดังกล่าวเข้าข่ายการกระทำความผิดจริง มีการแบ่งหน้าที่กันทำทั้งผู้ทำหน้าที่แอดมิน ผู้จับฉลาก ผู้โฆษณาเชิญชวนให้คนทั่วไปเข้ามาร่วมเล่นพนัน จึงได้รวบรวมพยานหลักฐานขออนุมัติต่อศาล พ.ต.ท.อดิชาต อมรประดิษฐ, พ.ต.ท.ประวิทย์ วงษ์เกษม รอง ผกก.วิเคราะห์ฯ บก.สอท.2 จึงสั่งการ พ.ต.ท.กัณห์พิพัฒน์ ปันแสน, พ.ต.ท.อโนทัย ดียิ่ง สว.ผกก.วิเคราะห์ฯ บก.สอท.2 
นำทีมเจ้าหน้าที่ชุดสืบสวน เข้าตรวจค้นและจับกุมผู้กระทำผิดได้ทั้งสิ้น 6 ราย ซึ่งกระทำผิดฐาน “ร่วมกันเป็นผู้จัดให้มีการเล่น หรือทำอุบายล่อ ช่วยประกาศการโฆษณาหรือชักชวน โดยทางตรงหรือทางอ้อมให้ผู้อื่นเข้าเล่นหรือเข้าพนันในการเล่น ซึ่งมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน (เล่นจับสลากโดยวิธีใดๆ)” ส่งดำเนินคดีตามกฎหมาย

พ.ต.อ.สุวัฒชัย ศรีทองสุข ผกก.วิเคราะห์ข่าวฯ บก.สอท.2 กล่าวอีกว่าจากการสอบสวนผู้ต้องหาทั้งหมด ให้การรับสารภาพว่าตนเองและพวกเป็นเซียนพระรับเช่าบูชาพระเครื่องและวัตถุมงคล แต่รายได้ไม่เพียงพอ 
จึงมีแนวคิดนำพระเครื่องและสินค้าแบรนด์เนมมาพนันจับฉลากโดยการไลฟ์สดผ่านสื่อสังคมสัปดาห์ละ 4 -5 วัน รายได้ต่อวันถึง 10,000-50,000 บาท ทำมานานกว่า 1 ปี มีรายได้หมุนเวียนกว่า 10 ล้านบาท โดยจะทำการขยายผลตามพรบ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินต่อไป

ตำรวจไซเบอร์ รวบแก๊งหลอกลวงเป็นชาวต่างชาติส่งพัสดุราคาแพงให้ผู้เสียหายหลงเชื่อ จ่ายค่าธรรมเนียม สูญเงินกว่า 36 ล้านบาท

วันนี้ (2 พ.ค. 2566) ที่กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท., พล.ต.ต.อำนาจ ไตรพจน์ รอง ผบช.สอท., พล.ต.ต.ชัชปัณฑกาณฑ์ คล้ายคลึง ผบก.สอท.1 ได้สั่งการให้มีการจับกุมขบวนการแก๊งคอลเซ็นเตอร์แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่รัฐหลอกลวงสร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชนอย่างจริงจัง

สืบเนื่องจากเมื่อต้นปี 2564 มีผู้ใช้บัญชีเฟซบุ๊ก โปรไฟล์ ชื่อ 'Helen' ส่งข้อความมาหาผู้เสียหายทางเฟซบุ๊ก อ้างว่า ถูกกักตัวอยู่ในค่ายทหารที่ประเทศซีเรีย โดยมีแผนที่จะหลบหนี เพราะในค่ายมีการสู้รบกันทุกวัน จึงขอความช่วยเหลือจากผู้เสียหาย ให้รับพัสดุที่จะส่งมายังประเทศไทยไว้ให้ก่อน แล้วจะมารับพัสดุดังกล่าวภายหลังจาก เข้ามาประเทศไทย โดยแจ้งแก่ผู้เสียหายว่าในกล่องพัสดุดังกล่าวเป็นเงินสหรัฐ จำนวน 1,700,000 เหรียญ คิดเป็นเงินไทยประมาณ 50 ล้านบาท ต่อมามีการติดต่อกันผ่านทางแอปพลิเคชันไลน์ ชื่อ 'Helen' และ 'T' จากนั้นเฟซบุ๊กดังกล่าวก็มีการปิดตัวลง

ตำรวจไซเบอร์ จับกุมขบวนการ Hybrid Scam : Bidget-coins ตุ๋นเหยื่อสูญเงินกว่า 2.5 ล้าน

กองบังคับการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 1 จับกุมขบวนการ แอบอ้างเป็นหญิงสาวหน้าตาดี เข้ามาตีสนิทผ่านโลกออนไลน์ จากนั้นชักชวนลงทุนเทรดเงินดิจิทัล ผลตอบแทนสูงร้อยละ 50 จนเหยื่อหลงเชื่อ สูญเงินรวมกว่า 2.5 ล้านบาท

สืบเนื่องจากเมื่อเดือนธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา มีประชาชนซึ่งตกเป็นผู้เสียหาย จากการถูกกลุ่มขบวนการ Hybrid Scam หลอกให้รักแล้วลงทุน ใช้โปรไฟล์หญิงสาวหน้าตาดี เข้ามาทักทายตีสนิทผ่านทางเฟสบุ๊ค จากนั้นได้มีการพูดคุยติดต่อกันทางแอปพลิเคชั่น ไลน์ เรื่อยมาประมาณ 1 เดือน และได้เริ่มชักชวนให้ผู้เสียหายลงทุนเทรด ซื้อขายเงินสกุลดิจิทัล USDT ซึ่งมีผลตอบแทนสูงถึงร้อยละ 50 ของเงินลงทุน เมื่อผู้เสียหายสนใจ คนร้ายได้ส่งแพลตฟอร์ม Bidget-coins เพื่อให้ผู้เสียหายสมัครสมาชิกเข้าไปลงทุน ซึ่งในช่วงแรกสามารถทำกำไรและเบิกถอนเงินได้ตามปกติ จนกระทั่งผู้เสียหายหลงเชื่อโอนเงินเข้าบัญชีคนร้าย จำนวน 7 ครั้ง รวมเป็นเงินกว่า 2,588,000 บาท ต่อมาไม่สามารถถอนเงินออกมาได้ โดยคนร้ายใช้ข้ออ้างต่างๆ เช่น ต้องชำระค่าภาษีหรือค่าธรรมเนียม หรือ ต้องเพิ่มการลงทุนให้มากขึ้น จึงจะถอนเงินได้ เมื่อผู้เสียหายรู้ตัวว่าถูกหลอกจึงได้มาร้องทุกข์กับ กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 

“ ตำรวจไซเบอร์ แจ้งข้อกล่าวหา เก่ง ลายพราง หลังโฆษณาชักชวนให้ผู้อื่นเข้าเล่นการพนัน เข้าตรวจค้น 3 จุด ยึดของกลางหลายรายการ ”

ตามนโยบายของรัฐบาล โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร., พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รอง ผบ.ตร. ในด้านการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีในทุกรูปแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลักลอบเปิดเว็บไซต์การพนันออนไลน์ และการโฆษณาชักชวนให้ผู้อื่นเข้าเล่นการพนันผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ โดยผิดกฎหมาย

กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) โดย พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท. ได้ให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าว โดยที่ผ่านมาได้กำชับสั่งการให้ทุกกองบังคับการในสังกัด เร่งดำเนินการบังคับใช้กฎหมายกับผู้กระทำผิดอย่างต่อเนื่อง และจริงจัง ให้มีผลการปฏิบัติเป็นรูปธรรม ไม่ว่าจะเป็นผู้จัดให้มีการเล่น ผู้เล่น และผู้โฆษณาชักชวน

วันนี้ (9 พ.ค. 66) เวลา 10.00 น. พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท., พล.ต.ต.วิวัฒน์ คำชำนาญ รอง ผบช.สอท., พล.ต.ต.อำนาจ ไตรพจน์ รอง ผบช.สอท., พล.ต.ต.นิเวศน์ อาภาวศิน รอง ผบช.สอท., พล.ต.ต.ฐายุฏฐ์ จันทร์ถาวร รอง ผบช.สอท., พล.ต.ต.ไพโรจน์ สุขรวยธนโชติ รอง ผบช.สอท., พล.ต.ต.ชัชปัณฑกาณฑ์ คล้ายคลึง ผบก.สอท.1, พ.ต.อ.กฤตัชญ์ บำรุงรัตนยศ รอง ผบก.สอท.1, พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก บช.สอท. พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เกี่ยวข้องร่วมกันแถลงข่าวกรณี การแจ้งข้อกล่าวหา นายจิรายุ หรือเก่ง ลายพราง โดยกล่าวหาว่า “ ช่วยประกาศโฆษณาหรือชักชวนโดยทางตรง หรือทางอ้อมให้ผู้อื่นเข้าเล่นการพนันออนไลน์ ซึ่งมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน ” ซึ่งมีพฤติการณ์ในการกระทำผิด ดังต่อไปนี้

ตำรวจไซเบอร์ เร่งตรวจสอบเพจ Facebook กปปค. แอบอ้างหน่วยงาน สร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง

พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก บช.สอท. ขอประชาสัมพันธ์ชี้แจงความคืบหน้ากรณีเพจ Facebook “กองป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ หรือ กปปค.” แอบอ้างใช้สัญลักษณ์ของ บช.สอท. ทำให้ประชาชนหลงเชื่อเข้าใจผิด สร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง พร้อมแนะนำวิธีการตรวจสอบเพจปลอม ดังนี้

ตามที่ปรากฏเป็นข่าวในสื่อสังคมออนไลน์กรณีเพจ Facebook “กองป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ - กปปค.” โพสต์ภาพพร้อมข้อความเกี่ยวกับการออกหมายจับไลฟ์โค้ชเข็มทิศชีวิตนั้น ได้รับรายงานจากกองบังคับการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ตอท.) ว่าจากการตรวจสอบเพจ Facebook ดังกล่าว พบมีการคัดลอกภาพโปรไฟล์ และภาพหน้าปกของเพจ Facebook “กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี บช.สอท. – CCIB มาแอบอ้างหลอกลวงให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจผิด หรือสร้างความน่าเชื่อถือในการกระทำผิดแสวงหาผลประโยชน์อื่นใดโดยมิชอบ ซึ่งอาจทำให้มีประชาชนหลงเชื่อว่าข้อความ หรือภาพที่นำเสนอผ่านเพจดังกล่าวเป็นเรื่องจริง หรือทำให้ประชาชนเข้าไปติดต่อกับเพจดังกล่าวสร้างความเสียหายเป็นวงกว้างได้ ในเบื้องต้นได้มีการประสานไปยังผู้ให้บริการดำเนินการปิดเพจดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว ทางคดีอยู่ระหว่างสืบสวนสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง นำตัวผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีตามกฎหมายโดยเร็วต่อไป

การกระทำดังกล่าวเบื้องต้นอาจจะเข้าข่ายเป็นความผิดฐาน “ นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอม ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนฯ” ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ “ นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ” ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท ตาม พ.ร.บ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560 มาตรา 14 (1), 16 และความผิดฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาก็มีเพจ Facebook หรือเว็บไซต์ในลักษณะดังกล่าวของหน่วยงานต่างๆ ที่มิจฉาชีพสร้างขึ้นมาเพื่อหลอกลวงประชาชน มีการแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ให้สิทธิพิเศษต่างๆ หรืออ้างว่าสามารถช่วยเหลือเร่งรัดติดตามคดีได้ มีการขอข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลทางการเงิน รวมไปถึงหลักฐานทางคดีของเหยื่อนำไปแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ ไม่ว่าจะเป็นการนำข้อมูลไปแฮ็กบัญชีสื่อสังคมออนไลน์ หรือนำรหัสบัตรเครดิตไปรูดซื้อสินค้า หรือโอนเงินจากบัญชีธนาคาร หรือนำข้อมูลไปขายให้กับแก๊งมิจฉาชีพคอลเซ็นเตอร์ หรือนำไปแอบอ้างทำเรื่องที่ผิดกฎหมายต่างๆ

รัฐบาล โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ให้ความสำคัญ และมีความห่วงใยต่อภัยการหลอกลวงผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับการใช้ หรือแอบอ้างหน่วยงานราชการต่างๆ มาหลอกลวงประชาชน สร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง โดยได้กำชับไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งวางมาตรการในการป้องกันและปราบปรามอย่างต่อเนื่อง และจริงจัง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร., พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รอง ผบ.ตร. ซึ่งรับผิดชอบในด้านงานป้องกันปราบปราม ได้กำชับสั่งการให้หน่วยงานในสังกัดเร่งดำเนินการปราบปรามจับกุมผู้กระทำผิดอย่างต่อเนื่อง และจริงจัง รวมถึงวางมาตรการป้องกันสร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของเหล่ามิจฉาชีพ ที่ผ่านมา บช.สอท. โดย พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท. ได้ขับเคลื่อนตามนโยบายของรัฐบาล และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดในโลกออนไลน์ทุกรูปแบบ

โฆษก บช.สอท. กล่าวเพิ่มเติมว่า ขอยืนยันว่าเพจดังกล่าวไม่มีความเกี่ยวข้องกับ บช.สอท. แต่อย่างใด หากประชาชนท่านใดได้รับความเสียหายจากแอบอ้างของเพจดังกล่าวให้เตรียมเอกสารหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องดำเนินการแจ้งความร้องทุกข์กับสถานีตำรวจใกล้บ้านในทันที หรือแจ้งความผ่านระบบรับแจ้งความออนไลน์ที่ https://thaipoliceonline.com ทั้งนี้ในปัจจุบันการเข้าถึงช่องทางหน่วยงานต่างๆ บนสื่อสังคมออนไลน์ อย่าประมาท ควรตรวจสอบให้ดีเสียก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย เพราะช่องทางดังกล่าวมิจฉาชีพ หรือผู้ไม่หวังดี อาจจะสร้างปลอมขึ้นมา โดยต้องระมัดระวังการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลทางการเงิน ข้อมูลทางคดี ซึ่งมิจฉาชีพอาจฉวยโอกาสหลอกนำข้อมูลไปเเสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ สร้างความเสียหายเป็นวงกว้างได้ รวมถึงไม่หลงเชื่อเพียงเพราะมีการแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยงาน แอบอ้างสัญลักษณ์ของหน่วยงานนั้นๆ หรือมีการยิงโฆษณา หรือมีชื่อเพจ หรือเว็บไซต์ที่คิดว่าน่าจะเป็นของหน่วยงานนั้นจริง

จึงขอฝากประชาสัมพันธ์ถึงวิธีการหลีกเลี่ยงการเข้าสู่เว็บไซต์ปลอม และเพจ Facebook ปลอม ดังนี้

1. เพจ Facebook ที่ถูกต้องของตำรวจไซเบอร์ คือ กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี บช.สอท. – CCIB หรือ @CybercopTH และเว็บไซต์ตำรวจไซเบอร์ https://www.ccib.go.th เท่านั้น โดยหากท่านต้องการที่จะเข้าสู่เพจ หรือเว็บไซต์ ขอให้พิมพ์ชื่อด้วยตนเอง ป้องกันการเข้าสู่เพจ หรือเว็บไซต์ปลอม
2. เพจ Facebook จริงจะต้องมีเครื่องหมายยืนยันตัวตน (เครื่องหมายถูกสีฟ้า) หากไม่มีเครื่องหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นเพจปลอม
3.เพจ Facebook จริง จะมีส่วนร่วมในการโพสต์เนื้อหา รูปภาพ หรือกิจกรรมต่างๆ ต่อเนื่อง รวมถึงมีจำนวนผู้ติดตามที่ไม่น้อยจนเกินไป

4. เพจ Facebook ปลอม หรือเลียนแบบ มักจะเพิ่งสร้างขึ้นได้ไม่นาน
5. หมายเลขสายด่วนตำรวจไซเบอร์ คือ 1441 และหมายเลข 081-866-3000 และไม่มีช่องทางไลน์ในการติดต่อ มีเพียงแชตบอท @police1441 ที่เอาไว้ปรึกษาคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี คอยให้บริการตอบคำถามประชาชน ตลอด 24 ชั่วโมง
6. การพิมพ์ชื่อหน่วยงานเพื่อค้นหาเว็บไซต์ของหน่วยงานใดๆ ไม่ได้มีความปลอดภัยเสมอไป ควรเพิ่มความระมัดระวังในการสังเกตชื่อเว็บไซต์ หรือสังเกต URL อย่างละเอียด และไม่หลงเชื่อเว็บไซต์ที่มีการยิงโฆษณาของมิจฉาชีพ
7. ไม่กรอก หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลทางการเงิน ข้อมูลทางคดี ผ่านสังคมออนไลน์ต่างๆ เช่น Line Facebook โดยเด็ดขาด
8. หากพบ หรือไม่แน่ใจว่าเป็นเพจ หรือเว็บไซต์ของหน่วยงานนั้นๆ จริงหรือไม่ ให้ติดต่อไปยังหน่วยงานนั้นๆ โดยตรง เพื่อแจ้งให้ทำการตรวจสอบทันที

ตำรวจไซเบอร์รวบเอเย่นต์ซื้อขายบัญชีม้าส่งแก๊งคอลเซ็นเตอร์ไปปอยเปต เดือนละกว่า 100 บัญชี

สืบเนื่องจาก ปฏิบัติการ Shutdown Fake Loan เครือข่ายแก๊งเงินกู้ทิพย์ออนไลน์ ที่มีผู้เสียหายกว่า 400 ราย เชื่อมโยง 448 Case ID มูลค่าความเสียหายรวมกว่า 7 ล้าน เมื่อปลายเดือนเมษายน 66 ที่ผ่านมา

พล.ต.ต.ชรินทร์ โกพัฒน์ตา ผบก.สอท.๕ กล่าวว่าจากปฏิบัติการนี้ ยังสืบทราบว่ามีความเชื่อมโยงหลายท้องที่และมีความสลับซับซ้อนทางคดี โดยเฉพาะการร่วมขบวนการ รวบรวมบัญชีม้าส่งขายประเทศเพื่อนบ้าน 
จึงได้สั่งการให้มีการเร่งรัดขยายผลจับกุมผู้ต้องหาโดยด่วน
อีกทั้งก่อนหน้ายังปรากฏผู้เสียหายมาร้องทุกข์ดำเนินคดีกับคนร้าย ส่งลิงค์ข้อความบริษัท ซีทีบีซี แบงค์ คอมปานี ลิมิเต็ด ซึ่งเป็นแหล่งเงินกู้ ส่งข้อความมาทางแอพพลิเคชั่นไลน์

อีกทั้งผู้เสียหายมีความเดือนร้อนต้องการหาแหล่งเงินกู้ยืมเพื่อมาใช้ดำเนินกิจการของตนอยู่ก่อนแล้วจึงเริ่มตกลงทำธุรกรรมผ่านลิ้งค์ดังกล่าว โดยเริ่มทำสัญญากู้เงินกับคนร้าย จำนวน 3 ล้านบาทซึ่งต่อมาคนร้ายอ้างว่าต้องจ่ายค่าดำเนินการต่าง ๆ เพื่อเป็นการค้ำประกัน ผู้เสียหายหลงเชื่อโดนเงินค่าดำเนินการไปให้คนร้ายจำนวนกว่า 4 แสนบาท แต่มาไม่ได้รับเงิน

กก.1 บก.สอท.5 จึงได้ทำการรวบรวมพยานหลักฐานขออนุมัติหมายจับผู้ต้องหาต่อศาล และร่วมกันจับกุม นายธนากร (ขอสงวนนามสกุล) อายุ ๓๐ ปี ชาวพื้นที่อรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ในความผิดฐาน “ร่วมกันฉ้อโกงประชาชนโดยแสดงตนเป็นบุคคลอื่น, ร่วมกันโดยทุจริต หรือหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเสียหายแก่ประชาชน” จับกุมได้ที่บริเวณพื้นที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 10 พ.ค. 66
 ด้านผู้ต้องหาได้ให้การยอมรับว่าเป็นผู้ร่วมขบวนการหลอกลวงดังกล่าว มีหน้าที่รับซื้อบัญชีธนาคารบัญชีละ 500 บาท โดยได้ค่าจัดหาบัญชีละ 1,000 บาท จากนั้นรวบรวมบัญชีม้าส่งขายออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งรวมแล้วกว่า 100 บัญชี ได้เงินกว่า 1 แสนบาทต่อเดือน

ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติม : ร.ต.อ.ขวัญชัย ปานคง รอง สว.กก.1 บก.สอท.5 โทร. 08 5791 6105

ตำรวจไซเบอร์ระดมกวาดล้างกลุ่มผู้มีอิทธิพล มือปืนรับจ้างและอาวุธสงคราม ห้วงก่อนวันเลือกตั้ง 14 พ.ค.66

ตามนโยบายของรัฐบาล โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร., พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รอง ผบ.ตร. ในด้านการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีในทุกรูปแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงใกล้วันเลือกตั้งซึ่งจะมีขึ้น ในวันที่ 14 พ.ค.66 โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้มีหนังสือสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการกวาดล้างกลุ่มผู้มีอิทธิพล มือปืนรับจ้างและอาวุธสงคราม ก่อนวันเลือกตั้ง ในห้วงระหว่างวันที่ 4 – 10 พ.ค.66 ซึ่งเชื่อได้ว่าเป็นช่วงที่กลุ่มการเมือง  ผู้มีอิทธิพลต่างๆ อาจจะก่ออาชญากรรมกำจัดศัตรูทางการเมือง หรือ หัวคะแนนของฝั่งตรงข้าม

กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) โดย พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท. ได้ให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าว โดยที่ผ่านมาได้กำชับสั่งการให้ทุกกองบังคับการในสังกัดเร่งดำเนินการบังคับใช้กฎหมายกับผู้กระทำผิดอย่างต่อเนื่อง และจริงจัง ให้มีผลการปฏิบัติเป็นรูปธรรม

วันนี้ (12 พ.ค.66) พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท., พล.ต.ต.วิวัฒน์ คําชํานาญ รอง ผบช.สอท., พล.ต.ต.นิเวศน์ อาภาวศิน รอง ผบช.สอท., พล.ต.ต.ฐายุฏฐ์ จันทร์ถาวร รอง ผบช.สอท., พล.ต.ต.ไพโรจน์ สุขรวยธนโชติ รอง ผบช.สอท. พล.ต.ต.ออมสิน ตรารุ่งเรือง รอง ผบช.สอท., พล.ต.ต.อำนาจ ไตรพจน์  รอง ผบช.สอท., พล.ต.ต.ชัชปัณฑกาณฑ์ คล้ายคลึง   ผบก.สอท.1, พล.ต.ต.ณัฐกร  ประภายนต์ ผบก.สอท.2, พล.ต.ต.สถิตย์ พรมอุทัย ผบก.สอท.3, พล.ต.ต.ฐิตวัฒน์ สุริยฉาย ผบก.สอท.4, พล.ต.ต.ชรินทร์ โกพัฒน์ตา ผบก.สอท.5 ,พล.ต.ต.ชูศักดิ์ ขนาดนิด ผบก.ตอท. และ พล.ต.ต.สมภพ คูหาวิชานันท์ ผบก.อก.บช.สอท. พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เกี่ยวข้องร่วมกันแถลงข่าวกรณี ดำเนินการกวาดล้างกลุ่มผู้มีอิทธิพลมือปืนรับจ้างและอาวุธสงคราม จำนวนทั้งสิ้น 60 จุด ได้ผู้ต้องหา 50 คน ของกลางอาวุธปืน 77 กระบอก เครื่องกระสุนปืนชนิดต่างๆ รวม 2,440 นัด  

พฤติการณ์ สืบเนื่องจาก บก.สอท.2 ได้ทำการสืบสวนขยายผล ภายหลังการจับกุมตัว ผู้ต้องหารายสำคัญ เมื่อช่วงต้นเดือน ก.พ. 66  ซึ่งมีพฤติการณ์จำหน่ายอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนในระบบออนไลน์ โดยกลุ่มลูกค้าจะเป็นกลุ่มผู้มีอิทธิพล และซุ้มมือปืน โดยการขยายผลพบรายละเอียดของการสั่งซื้ออาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนจำนวนมาก จึงนำไปสู่การปิดล้อมตรวจค้นบุคคลและสถานที่เป้าหมาย และจับกุมผู้ต้องหา พร้อมอาวุธปืน และเครื่องกระสุนปืนจำนวนมาก ในห้วงวันเวลา ดังกล่าว

ในการปฏิบัติการของ (บช.สอท.) มุ่งเน้นที่จะสนองนโยบายของรัฐบาล และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ บังคับใช้กฎหมายอย่างต่อเนื่องและจริงจัง คำนึงถึงความเดือดร้อนของประชาชน การอำนวยความยุติธรรมให้ประชาชนเป็นสำคัญ และยังคงเดินหน้าปราบปรามอาชญากรรมออนไลน์ในทุกรูปแบบอย่างต่อเนื่องต่อไป

ตำรวจไซเบอร์รวบยูทูบเบอร์สายดาร์ค “ก็แค่ลม NU” คลังแสงออนไลน์ ส่งขายทั่วประเทศ

เมื่อวันที่ (12 พ.ค.66) ที่กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) 
ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.ท.วรวัฒน์  วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท., พล.ต.ต.วิวัฒน์  คำชำนาญ รอง ผบช.สอท., พล.ต.ต.อำนาจ  ไตรพจน์ รอง ผบช.สอท., พล.ต.ต.ฐิตวัฒน์ สุริยฉาย ผบก.สอท.4 ได้สั่งการให้มีการระดมกวาดล้างอาชญากรรมห้วงก่อนการเลือกตั้งปี 2566 โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้มีอิทธิพล มือปืนรับจ้างและอาวุธสงคราม

สืบเนื่องจากตำรวจไซเบอร์ได้มีการตรวจสอบการกระทำความผิดตามสื่อสังคมออนไลน์พบช่องยูทูบ “ก็แค่ลม NU” ปรากฏคลิปวิดีโอสาธิตการใช้อาวุธปืนยาวอัดลมซึ่งใช้กระสุนเหล็กและกระสุนตะกั่วหัวจีบเป็นลูกกระสุน โดยมีผู้ติดตามกว่า 1 แสน 8 หมื่นคน โดยแต่ละคลิปมีผู้รับชมร่วม 2 ล้านครั้ง จึงได้มีการรวบรวมพยานหลักฐานขออนุมัติหมายค้น บ้านในพื้นที่บ้านด้าย อ.แม่สาย จ.เชียงราย เจ้าหน้าที่ตำรวจ บก.สอท.4 จึงได้นำกำลังเข้าตรวจค้น โดยมี นายกฤษกร เป็นผู้นำตรวจค้น ผลการตรวจค้นพบอาวุธปืนยาวอัดลมไทยประดิษฐ์ จำนวน 13 กระบอก ปืนยาวลูกกรด ขนาด .22 จำนวน 1 กระบอก อาวุธปืนยาวลูกซอง ขนาด 12 จำนวน 1 กระบอก ปืนพกสั้นขนาด 9 มม. 1 กระบอก จึงได้จับกุม นายกฤษกร อายุ 43 ปี ได้ที่บ้านหลังดังกล่าวใน ต.บ้านด้าย อ.แม่สาย จ.เชียงราย ในความผิดฐาน “ทำ ประกอบ ซ่อมแซม เปลี่ยนลักษณะ สั่ง นำเข้า มี หรือจำหน่ายซึ่งอาวุธปืนหรือเครื่องอาวุธปืนสำหรับการค้า โดยไม่ได้รับอนุญาต และมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต”

พล.ต.ต.ฐิตวัฒน์ สุริยฉาย ผบก.สอท.4 ยังกล่าวอีกว่าบ้านหลังดังกล่าวยังถูกดัดแปลงต่อเติมให้เป็นโรงงานสำหรับผลิตอาวุธปืนยาวอัดลมขนาดใหญ่ พันท้ายลำกล้องอาวุธปืนกระบอกลม กระบอกเก็บเสียงจำนวนมาก พร้อมเพียงแค่รอการนำมาประกอบเป็นอาวุธปืน อีกทั้งยังพบอุปกรณ์ในการผลิต เครื่องอัดลูกตะกั่วฝาจีบ เครื่องกลึงเหล็ก เครื่องพ่นสีพาวเดอร์โพส ตู้อบสี และอุปกรณ์อื่นๆ อีกจำนวนมากหลายรายการ

ด้านผู้ต้องหารับว่า ตนเป็นเจ้าของช่องยูทูบ ช่อง “ก็แค่ลม NU” ผลิตอาวุธปืนยาวอัดลมโดยทำเป็นอาชีพหลักยาวนานกว่า 3 ปี โดยนำมาจำหน่ายราคากระบอกละ 5,500 ถึง 8,000 บาท ส่งขายให้กับลูกค้าหลายจังหวัดทั่วประเทศ ตกเดือนละกว่า 40 กระบอก รวมเป็นรายได้กว่า 3 แสนบาทต่อเดือน


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top