Sunday, 12 May 2024
ตำรวจไซเบอร์

ตำรวจไซเบอร์ ชี้แจงความคืบหน้าการดำเนินคดีหลอกลงทุน Forex TRB พบผู้เสียหายมากกว่า 300 ราย ความเสียหายกว่า 100 ล้านบาท

พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก บช.สอท. ขอเรียนชี้แจงความคืบหน้าการดำเนินคดีกับ นายเตคุณ กับพวก รวม 5 ราย ที่ได้ร่วมกันหลอกลวงชักชวนผู้เสียหายหลายรายให้ร่วมลงทุนเก็งกำไรในอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (Forex) ผ่านนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ หรือโบรกเกอร์ FXTRB ดังต่อไปนี้

ตามนโยบายของรัฐบาล โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่ได้ให้ความสำคัญ และมีความห่วงใยต่อประชาชนจากภัยการหลอกลวงผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการหลอกลวงชักชวนประชาชนให้ร่วมลงทุน อ้างว่าจะได้รับผลตอบแทนสูงในเวลาอันรวดเร็ว พร้อมได้กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการสืบสวนสอบสวนและปราบปรามการกระทำความผิดตามกฎหมายอย่างต่อเนื่อง และจริงจัง    

เพื่อเป็นการดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล และแก้ไขปัญหาอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. และ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รอง ผบ.ตร. ซึ่งรับผิดชอบในด้านงานป้องกันปราบปราม ได้กำชับไปยัง พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งรัดทำการสืบสวนสอบสวน ขยายผลหาความเชื่อมโยงในดดี ปราบปรามจับกุมผู้กระทำความผิดที่เกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีในทุกรูปแบบ มุ่งเน้นการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ

คดีดังกล่าวเมื่อประมาณเดือน มี.ค.64 จนถึงปัจจุบัน ผู้เสียหายหลายรายถูกผู้ต้องหากับพวกชักชวนหลอกลวงให้ลงทุนเก็งกำไรในอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินสกุลต่างๆ บนแพลตฟอร์มออนไลน์ หรือเว็บไซต์ secure.elitefundgroup.com โดยมีนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ หรือโบรกเกอร์ FXTRB เป็นผู้ดำเนินการนำเงินของที่ผู้เสียหายไปลงทุนเก็งกำไรค่าเงินสกุลต่างๆ มีการแอบอ้างผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน ซึ่งหากมีการซื้อขายได้กำไร หรือขาดทุน ผู้เสียหายสามารถตรวจสอบผ่านบัญชีผู้ใช้ของตนได้ ในช่วงแรกผู้เสียหายสามารถถอนเงินได้ตามปกติ ต่อมาเมื่อประมาณเดือน ส.ค.65 ไม่สามารถถอนเงินได้ จึงเชื่อว่าถูกหลอกลวงและได้รับความเสียหาย จึงแจ้งความร้องทุกข์ผ่านระบบรับแจ้งความออนไลน์ thaipoliceonline.com ให้ดำเนินดดีกับผู้ต้องหาตามกฎหมาย

ต่อมาจากการสืบสวนสอบสวนพบว่า บัญชีธนาคารที่รับโอนเงินของผู้เสียหายมีการโอนเงินเข้าออกเป็นจำนวนมากผิดปกติวิสัย โดยผู้ต้องหากับพวกไม่ได้มีการนำเงินไปลงทุนตามที่กล่าวแต่อย่างใด กลับนำไปใช้จ่ายส่วนตัว และมีการนำเงินลงทุนของผู้เสียหายรายใหม่ หมุนเวียนไปให้กับผู้เสียหายรายเก่า ทำให้เชื่อว่าลงทุนแล้วได้ผลตอบแทนจริง พงส.บก.สอท.1 จึงได้รวบรวมพยานหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ยื่นคำร้องต่อศาลขออนุมัติออกหมายจับผู้ต้องหา จำนวน 5 ราย ในข้อหา “ ร่วมกันฉ้อโกงประชาชน และร่วมกันโดยทุจริต หรือโดยหลอกลวงนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่ง ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน หรือปลอมไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน ” ต่อมาเมื่อ 17 ม.ค. 66 เจ้าหน้าที่ตำรวจ บช.สอท. สามารถทำการจับกุมตัวผู้ต้องหาทั้ง 5 ราย พร้อมตรวจยึดของกลางหลายรายการ ส่ง พงส.ดำเนินคดีตามกฎหมายในเวลาต่อมา

กระทั่งเมื่อปลายเดือน ก.พ.66 ที่ผ่านมา พงส.บก.สอท.1 ได้สรุปสำนวนการสอบสวนมีความเห็นสั่งฟ้องผู้ต้องหาดังกล่าวไปยังพนักงานอัยการ สำนักงานคดีเศรษฐกิจ และทรัพยากร เพื่อพิจารณาดำเนินในส่วนที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายต่อไปแล้ว

โฆษก บช.สอท. กล่าวเพิ่มเติมว่า ขอฝากเตือนประชาชนถึงแนวทางการลงทุนในรูปแบบต่างๆ ดังนี้

 

ตำรวจไซเบอร์เตือนภัย หวั่นเยาวชนตกเป็นเหยื่อซื้อไอเทมเกมออนไลน์

พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) ขอประชาสัมพันธ์เตือนภัยกรณีการซื้อสินค้า หรือไอเทมเกมออนไลน์ ดังต่อไปนี้

ตามที่ปรากฏเป็นข่าวในสื่อสังคมออนไลน์ กรณีมีผู้เสียหายหลายรายถูกผู้ต้องหาหลอกลวงประกาศโฆษณาขายสินค้าประเภทไอเทมเกมออนไลน์ หรือสกุลเงินในเกมออนไลน์ผ่านเพจในเฟซบุ๊ก โดยเสนอขายในราคาถูกกว่าราคาของบริษัทผู้ผลิตและพัฒนาเกมดังกล่าว เช่น สกุลเงินในเกม 1 แพ็ก มี 7,200 เหรียญ ราคา 3,700 บาท แต่ผู้ต้องหาขายในราคาเพียง 2,050 บาท นอกจากนี้ผู้ต้องหายังอ้างว่าปลอดภัย ไม่มีการขอ Refund หรือยกเลิกการซื้อแน่นอน (หมายถึงการขอคืนเงินที่ชำระค่าสินค้าภายในเกมในภายหลัง) 

เมื่อผู้เสียหายโอนเงินแล้วปรากฏว่าได้รับสกุลเงินในเกมจริง ต่อมาผู้เสียหายได้รับอีเมลจากบริษัทผู้ผลิตและพัฒนาเกมว่า มีการขอยกเลิกการซื้อสกุลเงินภายในเกม เนื่องจากได้ตรวจสอบพบธุรกรรมที่เป็นการฉ้อโกง หรือธุรกรรมเท็จ ส่งผลให้ไอเทม หรือสกุลเงินในเกมของผู้เสียหายสูญหายไป และไม่ได้รับเงินที่ซื้อสกุลเงินกลับคืนแต่อย่างใด ผู้เสียหายเชื่อว่าถูกหลอกลวงและได้รับความเสียหาย จึงแจ้งความผ่านระบบรับแจ้งความออนไลน์ www.thaipoliceonline.com ดำเนินคดีกับผู้ต้องหาให้ได้รับโทษตามกฎหมาย

กระทั่งที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ตำรวจ บช.สอท. ได้ทำการจับกุมตัวผู้ต้องหา 2 ราย ตามหมายจับศาลอาญา โดยกล่าวหาว่า “ ร่วมกันฉ้อโกงประชาชน โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน หรือปลอมไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนฯ ” พร้อมตรวจยึดของกลาง นำตัวส่ง พงส.ดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี โดย พล.ต.ท.วรวัฒน์  วัฒน์นครบัญชา ผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ผบช.สอท.) ได้ขับเคลื่อนตามนโยบายของรัฐบาล โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. และ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รอง ผบ.ตร. ซึ่งรับผิดชอบงานในด้านการป้องกันปราบปราม ได้ให้ความสำคัญและมีความห่วงใยต่อภัยการหลอกลวงผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้าออนไลน์ โดยได้กำชับไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งวางมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดในโลกออนไลน์ทุกรูปแบบอย่างต่อเนื่อง และจริงจัง พร้อมสร้างการรับรู้แนวทางป้องกันให้ประชาชน ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ

โฆษก บช.สอท. กล่าวเพิ่มเติมว่า การหลอกลวงที่แฝงมากับเกมออนไลน์ยังมีอีกหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น การหลอกลวงขายไอเทมที่ไม่มีอยู่จริง การหลอกลวงจ้างให้เล่นเกม หรือที่เรียกว่า การปั๊มแรงค์ การหลอกลวงเอาข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลทางการเงินไปใช้ประโยชน์ในทางมิชอบ เช่น นำไปเปิดบัญชีธนาคาร ไปแฮ็กบัญชีสื่อสังคมออนไลน์ นอกจากนี้ที่ผ่านมายังปรากฎว่ามีบุตรหลานนำไปสร้างเรื่องหลอกลวงผู้ปกครองว่าถูกแก๊งมิจฉาชีพหลอกลวงให้โอนเงิน แต่แท้จริงแล้วนำเงินผู้ปกครองไปใช้ซื้อไอเทมภายในเกม ไปสนับสนุนช่องยูทูบเบอร์เกมออนไลน์ เป็นต้น

ตำรวจไซเบอร์ ชี้แจงความคืบหน้าการดำเนินคดีกับแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ความเสียหายรวมกว่า 150 ล้านบาท

พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก บช.สอท. ขอเรียนชี้แจงความคืบหน้าการดำเนินคดีกับมิจฉาชีพแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ที่ได้หลอกลวงผู้เสียหายหลายราย สร้างความเสียหายเป็นจำนวนมาก ดังต่อไปนี้

ตามนโยบายของรัฐบาล โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่ได้ให้ความสำคัญ และมีความห่วงใยต่อประชาชนจากภัยการหลอกลวงผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภัยจากมิจฉาชีพแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ที่ได้แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่างๆ โทรศัพท์ไปหลอกลวงเอาทรัพย์สินของประชาชน สร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง พร้อมได้กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการสืบสวนสอบสวนและปราบปรามการกระทำความผิดตามกฎหมายอย่างต่อเนื่อง และจริงจัง    

เพื่อเป็นการดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. และ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รอง ผบ.ตร. ซึ่งรับผิดชอบในด้านงานป้องกันปราบปราม ได้กำชับไปยัง บช.สอท. โดย พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท. ให้หน่วยงานในสังกัด เร่งรัดทำการสืบสวนสอบสวน ขยายผลหาความเชื่อมโยงในดดี มุ่งมั่น ปราบปรามจับกุมผู้กระทำความผิดที่เกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีในทุกรูปแบบ เน้นการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ รวมไปถึงการอำนวยความสะดวก และอำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชน

ตามที่ปรากฏเป็นข่าวในสื่อสังคมออนไลน์ เมื่อประมาณเดือน ต.ค. 65 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ร่วมกันจับกุมตัวผู้ต้องหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่ได้แอบอ้างเป็น ผกก.สภ.เมืองเชียงราย ร่วมกันกับพวกก่อเหตุโทรศัพท์ไปหลอกลวงประชาชนได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นคดีหลอกลวงนักลงทุนหุ้น ความเสียหายกว่า 41 ล้านบาท หรือคดีหลอกลวงแพทย์ในจังหวัดชุมพร ความเสียหายกว่า 101 ล้านบาท นั้น 

กวาดล้างเรียบ!! ‘ตำรวจไซเบอร์’ บุกทลายโกดัง ‘บุหรี่ไฟฟ้า’ พร้อมอายัดของกลาง รวมมูลค่ากว่า 80 ล้านบาท

ตำรวจไซเบอร์บุกทลายโกดัง ยึดบุหรี่ไฟฟ้า มูลค่าของกลางกว่า 80 ล้านบาท

(11 มี.ค. 66) เมื่อเวลา 11.00 น. ที่กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) เมืองทอง พล.ต.ต.ไพโรจน์ สุขรวยธนโชติ รองผบช.สอท. พล.ต.ต.ชัชปัณฑกาณฑ์ คล้ายคลึง ผบก.สอท.1 พล.ต.ต.ณัฐกร ประภายนต์ ผบก.สอท.2 ร่วมกันแถลงข่าวผลปฏิบัติการทลายแหล่งซุกซ่อน-จำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้ารายใหญ่ 2 ราย ที่จำหน่ายให้กับผู้ค้ารายย่อยในพื้นที่ต่าง ๆ

พล.ต.ต.ไพโรจน์ เปิดเผยว่า รายแรก เป็นแหล่งซุกซ่อนอยู่ในพื้นที่จังหวัดนครปฐม เข้าตรวจค้น 3 จุด คือ อาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง บนถนนจันทราคามพิทักษ์ ตำบลสนามจันทร์ อำเภอเมืองนครปฐม , บ้านหลังหนึ่งที่หมู่ 5 ตำบลถนนขาด อำเภอเมืองนครปฐม และโกดังแห่งหนึ่งบนถนนเทศา ตำบลพระประโทน อำเภอเมืองนครปฐม จับกุมผู้ต้องหาได้ 2 คน น.ส.วีรวรรณ ลี่ผาสุข อายุ 33 ปี น.ส.นาริน หุ้มแพร อายุ 25 ปี 

พร้อมยึดของกลาง และตรวจยึดของกลาง น้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า คละแบบ จำนวน 88,214 ชิ้น หัวน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า คละแบบ จำนวน 70,589 ชิ้น บุหรี่ไฟฟ้าแบบดูดแล้วทิ้ง จำนวน 17,631 เครื่อง เครื่องบุหรี่ไฟฟ้า คละแบบ จำนวน 10,350 เครื่อง คอยน์บุหรี่ไฟฟ้า จำนวน 1,000 ชิ้น อะไหล่หัวบุหรี่ไฟฟ้า จำนวน 2,705 ชิ้น รวมมูลค่าของกกลางที่ตรวจยึดได้กว่า 50 ล้านบาท

พล.ต.ต.ไพโรจน์ เปิดเผยอีกว่า รายที่ 2 เป็นแหล่งซุกซ่อนในกรุงเทพมหานคร โดยเข้าตรวจค้นคอนโดมีเนียม บนถนนพญาไท แขวงพญาไท เขตราชเทวี จับกุมผู้ต้องหาได้ 1 คน นายยุทธภูมิ ทองย้อย หรือโอม  อายุ 47 ปี และตรวจยึดของกลาง

บุหรี่ไฟฟ้า iqos ตัวแท่งดูด+เครื่องชาร์ต จำนวน 537 เครื่อง บุหรี่ไฟฟ้า IQOS ตัวแท่งดูด จำนวน 189 ตัว มวนบุหรี่สำหรับบุหรี่ไฟฟ้า ยี่ห้อ TEREA จำนวน 6,529 คอตตอน มวนบุหรี่สำหรับบุหรี่ไฟฟ้า ยี่ห้อmarlboro จำนวน 6,017 คอตตอน รวมมูลค่าของกกลางที่ตรวจยึดได้กว่า 30 ล้านบาท 

รวมผลการตรวจค้นทั้ง 2 ราย ยึดของกลางรวมมูลค่ากว่า 80 ล้านบาท จึงดำเนินคดีผู้ต้องหาในความผิด พ.ร.บ.ศุลกากร นำสินค้าห้ามนำเข้ามาในราชอาณาจักร , พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค , พ.ร.บ. การส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักร เนื่องจากเป็นสินค้าต้องห้ามเข้ามาในราชอาณาจักร และอยู่ระหว่างขยายผลถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง

ตำรวจไซเบอร์ เตือนระวังเพจปลอมเลียนแบบเพจจริงหลอกขายสินค้าออนไลน์

พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) ขอประชาสัมพันธ์เตือนภัย กรณีการหลอกลวงขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ระวังเจอเพจในเฟซบุ๊กปลอม ลอกเลียนแบบของเพจในเฟซบุ๊กจริง ดังนี้


ที่ผ่านมาได้รับรายงานจากกองบังคับการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ตอท.) พบว่ามีประชาชนตกเป็นเหยื่อจากการซื้อสินค้าแต่ไม่ได้รับสินค้าเฉลี่ยกว่า 1,900 รายต่อสัปดาห์ ส่วนใหญ่สินค้าที่มักถูกหลอกลวง ได้แก่ โทรศัพท์มือถือ ผลไม้ บัตรคอนเสิร์ต รถจักรยานยนต์มือสอง และปลาแซลมอน เป็นต้น โดยภัยจากการซื้อขายสินค้าออนไลน์มีหลากหลายรูปแบบ เริ่มตั้งแต่การซื้อสินค้าแต่ไม่ได้รับสินค้า หรือซื้อสินค้าแต่ได้รับสินค้าไม่ตรงกับที่สั่งซื้อ หรือได้ไม่ตรงปก หรือซื้อสินค้าแต่ได้รับสินค้าที่ไม่มีคุณภาพ ไปจนถึงการใช้หลักฐานการโอนเงินปลอมเพื่อหลอกลวงผู้ขาย เป็นต้น โดยส่วนใหญ่มิจฉาชีพมักจะสร้างความน่าเชื่อถือของร้านค้า การการันตีสินค้า การรีวิวสินค้าปลอม รวมไปถึงการโฆษณาสรรพคุณเกินจริง นอกจากนี้ยังมีการสร้างเพจในเฟซบุ๊กปลอมตั้งชื่อลอกเลียนแบบให้เหมือน หรือคล้ายคลึงกับเพจในเฟซบุ๊กที่มีการซื้อขายสินค้าจริง โดยการคัดลอกรูปภาพสินค้า และเนื้อหาจากเพจจริงมาใช้ เมื่อหลอกลวงผู้เสียหายได้หลายรายก็จะเปลี่ยนชื่อเพจ หรือสินค้าไปเรื่อยๆ หรือสร้างเพจปลอมขึ้นมาใหม่ ยกตัวอย่างเช่น มีผู้เสียหายถูกหลอกลวงซื้อโทรศัพท์มือถือโทรศัพท์ซิมเน็ตรายปี ผ่านเพจปลอม Moblie2you ซึ่งเพจจริงคือ Mobile2youmbk หรือกรณีปลอมเพจหลายเพจขายทุเรียนของดาราท่านหนึ่ง เป็นต้น


ตามนโยบายของรัฐบาล โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ซึ่งรับผิดชอบงานในด้านการป้องกันปราบปราม ได้ให้ความสำคัญ และมีความห่วงใยต่อภัยการหลอกลวงประชาชนผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ โดยได้กำชับไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งวางมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดในโลกออนไลน์ทุกรูปแบบอย่างต่อเนื่อง และจริงจัง

ที่ผ่านมา กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี โดย พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท. ได้ขับเคลื่อนตามนโยบายของรัฐบาล และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดในโลกออนไลน์ทุกรูปแบบ มุ่งเน้นการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ


โฆษก บช.สอท. กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ผ่านมา บช.สอท. ได้เร่งปราบปรามจับกุมผู้กระทำความผิดในลักษณะดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง มีปฏิบัติการสำคัญเมื่อต้นเดือน มี.ค.66 ระดมตรวจค้นกว่า 40 จุด ทั่วประเทศภายใต้ยุทธการ “ ปิด Job - Shop ทิพย์ ” หลอกขายสินค้าและบริการผ่านโลกออนไลน์ มีประชาชนหลายรายได้ความเสียหายหลายล้านบาท สามารถทำการจับกุมผู้ต้องหาตามหมายจับกว่า 30 ราย ตรวจยึดของกลางได้เป็นจำนวนมาก


อย่างไรก็ตามการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ถึงแม้จะมีข้อดีหลายๆ ประการ ไม่ว่าจะสะดวกสบาย มีให้เลือกหลากหลาย สามารถเปรียบเทียบราคาสินค้าแต่ละแหล่งได้ ติดตามโปรโมชันต่างๆ ได้ ที่สำคัญสามารถสั่งซื้อได้ตลอดเวลา แต่ก็เป็นช่องทางหนึ่งให้มิจฉาชีพฉวยโอกาสเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ หลอกลวงเอาทรัพย์สินของประชาชนโดยมิชอบ

อย่าหลงเชื่อ!! ‘ตำรวจไซเบอร์’ แนะ 10 แนวทางระวังภัย ‘เพจปลอม’ สวมรอยเฟซบุ๊กจริง ลวงขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์

โฆษก บช.สอท. เตือนภัยระวังมิจฉาชีพหลอกลวงขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ระวังเจอเพจเฟซบุ๊กปลอม สวมรอยลอกเลียนแบบเพจเฟซบุ๊กจริง อย่าหลงเชื่อ

(12 มี.ค.66) พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) ขอประชาสัมพันธ์เตือนภัย กรณีการหลอกลวงขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ระวังเจอเพจในเฟซบุ๊กปลอม ลอกเลียนแบบของเพจในเฟซบุ๊กจริง ดังนี้

ที่ผ่านมาได้รับรายงานจากกองบังคับการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ตอท.) พบว่ามีประชาชนตกเป็นเหยื่อจากการซื้อสินค้าแต่ไม่ได้รับสินค้าเฉลี่ยกว่า 1,900 รายต่อสัปดาห์ ส่วนใหญ่สินค้าที่มักถูกหลอกลวง ได้แก่ โทรศัพท์มือถือ ผลไม้ บัตรคอนเสิร์ต รถจักรยานยนต์มือสอง และปลาแซลมอน เป็นต้น

โดยภัยจากการซื้อขายสินค้าออนไลน์มีหลากหลายรูปแบบ เริ่มตั้งแต่การซื้อสินค้าแต่ไม่ได้รับสินค้า หรือซื้อสินค้าแต่ได้รับสินค้าไม่ตรงกับที่สั่งซื้อ หรือได้ไม่ตรงปก หรือซื้อสินค้าแต่ได้รับสินค้าที่ไม่มีคุณภาพ ไปจนถึงการใช้หลักฐานการโอนเงินปลอมเพื่อหลอกลวงผู้ขาย เป็นต้น โดยส่วนใหญ่มิจฉาชีพมักจะสร้างความน่าเชื่อถือของร้านค้า การการันตีสินค้า การรีวิวสินค้าปลอม รวมไปถึงการโฆษณาสรรพคุณเกินจริง

นอกจากนี้ยังมีการสร้างเพจในเฟซบุ๊กปลอมตั้งชื่อลอกเลียนแบบให้เหมือน หรือคล้ายคลึงกับเพจในเฟซบุ๊กที่มีการซื้อขายสินค้าจริง โดยการคัดลอกรูปภาพสินค้า และเนื้อหาจากเพจจริงมาใช้ เมื่อหลอกลวงผู้เสียหายได้หลายรายก็จะเปลี่ยนชื่อเพจ หรือสินค้าไปเรื่อยๆ หรือสร้างเพจปลอมขึ้นมาใหม่ ยกตัวอย่างเช่น มีผู้เสียหายถูกหลอกลวงซื้อโทรศัพท์มือถือโทรศัพท์ซิมเน็ตรายปี ผ่านเพจปลอม Moblie2you ซึ่งเพจจริงคือ Mobile2youmbk หรือกรณีปลอมเพจหลายเพจขายทุเรียนของดาราท่านหนึ่ง เป็นต้น

ตามนโยบายของรัฐบาล โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ซึ่งรับผิดชอบงานในด้านการป้องกันปราบปราม ได้ให้ความสำคัญ และมีความห่วงใยต่อภัยการหลอกลวงประชาชนผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ โดยได้กำชับไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งวางมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดในโลกออนไลน์ทุกรูปแบบอย่างต่อเนื่อง และจริงจัง

ที่ผ่านมา กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี โดย พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท. ได้ขับเคลื่อนตามนโยบายของรัฐบาล และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดในโลกออนไลน์ทุกรูปแบบ มุ่งเน้นการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ

โฆษก บช.สอท. กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ผ่านมา บช.สอท. ได้เร่งปราบปรามจับกุมผู้กระทำความผิดในลักษณะดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง มีปฏิบัติการสำคัญเมื่อต้นเดือน มี.ค.66 ระดมตรวจค้นกว่า 40 จุด ทั่วประเทศภายใต้ยุทธการ “ ปิด Job - Shop ทิพย์ ” หลอกขายสินค้าและบริการผ่านโลกออนไลน์ มีประชาชนหลายรายได้ความเสียหายหลายล้านบาท สามารถทำการจับกุมผู้ต้องหาตามหมายจับกว่า 30 ราย ตรวจยึดของกลางได้เป็นจำนวนมาก

อย่างไรก็ตามการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ถึงแม้จะมีข้อดีหลายๆ ประการ ไม่ว่าจะสะดวกสบาย มีให้เลือกหลากหลาย สามารถเปรียบเทียบราคาสินค้าแต่ละแหล่งได้ ติดตามโปรโมชันต่าง ๆ ได้ ที่สำคัญสามารถสั่งซื้อได้ตลอดเวลา แต่ก็เป็นช่องทางหนึ่งให้มิจฉาชีพฉวยโอกาสเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ หลอกลวงเอาทรัพย์สินของประชาชนโดยมิชอบ

'ตำรวจไซเบอร์' พร้อมปฏิบัติหน้าที่ตาม พ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ.2566

พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก บช.สอท. ขอประชาสัมพันธ์ชี้แจงกรณี ตำรวจไซเบอร์พร้อมปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ.2566 ดังนี้

ตามที่เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้มีการประกาศเผยแพร่ พ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ.2566 ซึ่งกำหนดให้มีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 17 มี.ค.66 ที่ผ่านมานั้น ก็เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์อาชญากรรมทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน เพื่อคุ้มครองประชาชนไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ ป้องกันการสูญเสียทรัพย์สินผ่านการหลอกลวงด้วยวิธีการต่างๆ และเพื่อป้องกันปราบปรามอาชญากรรมดังกล่าวให้ลดน้อยลง หรือหมดสิ้นไปโดยเร็ว โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจไซเบอร์พร้อมปฏิบัติหน้าที่ เพื่ออำนวยความสะดวก และความยุติธรรมให้กับประชาชน

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ให้ความสำคัญ และมีความห่วงใยต่อภัยอาชญากรรมออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับการลักลอบรับจ้างการเปิดบัญชีธนาคาร และปัญหาการครอบครองหมายเลขโทรศัพท์ โดยได้ขอบคุณหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ได้ร่วมกันวางมาตรการในการป้องกันปราบปราม คุ้มครองประชาชนจากมิจฉาชีพโดยเร็ว

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร., พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รอง ผบ.ตร. ซึ่งรับผิดชอบงานป้องกันปราบปราม ได้กำชับสั่งการให้หน่วยงานในสังกัดดำเนินการตาม พ.ร.ก.ดังกล่าว อย่างเคร่งครัด รวมถึงประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การดำเนินการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมประเภทดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และยับยั้งความเสียหายได้ทันท่วงที รวมถึงสร้างการรับรู้ให้กับภาคประชาชนเพื่อป้องกันการตกเป็นเหยื่อของอาชญากรไซเบอร์

กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี โดย พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท. ได้ขับเคลื่อนตามนโยบายของรัฐบาล และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการเร่งรัดปราบปรามจับกุมผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับการให้ผู้อื่นใช้บัญชีธนาคาร และใช้หมายเลขโทรศัพท์ รวมถึงเป็นธุระจัดหา หรือโฆษณา มาดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป รวมถึงกำชับให้พนักงานสอบสวนรับคำร้องทุกข์ และดำเนินการตามกฎหมาย ภายใต้กรอบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด

ทั้งนี้ พ.ร.ก. ดังกล่าว มีประเด็นที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องปฏิบัติ และประเด็นที่ประชานควรรับทราบ ดังต่อไปนี้

1. เมื่อประชาชนถูกหลอกลวง หรือสงสัยว่าตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ (มาตรา 7, 8) ให้รีบดำเนินการแจ้งธนาคาร หรือสถาบันการเงินผ่านหมายเลขศูนย์รับแจ้งเหตุภัยทางการเงินจากมิจฉาชีพทันที เพื่อเป็นการยับยั้งการทำธุรกรรมการเงินที่ต้องสงสัย หรือที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดชั่วคราว จากนั้นให้เร่งดำเนินการแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ณ สถานีตำรวจได้ทุกท้องที่ทั่วประเทศ หรือพนักงานสอบสวน บช.สอท. ไม่ว่าความผิดนั้นจะเกิดที่ใดในราชอาณาจักรก็ตาม หรือแจ้งผ่านระบบการรับแจ้งความออนไลน์ www.thaipoliceonline.com ภายในระยะเวลา 72 ชม. เพื่อให้พนักงานสอบสวนดำเนินการส่งหมายอายัดเงินในบัญชีให้กับสถาบันการเงิน หรือผู้ประกอบธุรกิจ ภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับคำร้องทุกข์ โดยให้ถือว่าการร้องทุกข์ดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายแล้ว

2. กำหนดให้มีระบบการเปิดเผยและแลกเปลี่ยนข้อมูล (มาตรา 4, 5) ระหว่างสถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจ (กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์) และระหว่างผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ และผู้ให้บริการเครือข่ายโทรคมนาคม หรือผู้ให้บริการอื่น โดยให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมสอบสวนคดีพิเศษ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน มีอำนาจนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ได้ ทั้งนี้ก็เพื่อแก้ไขปัญหาการรับจ้างเปิดบัญชีเงินฝาก การครอบครองหมายเลขโทรศัพท์มือถือที่ไม่สามารถระบุผู้ใช้บริการได้ ป้องกันมิจฉาชีพเข้าถึงประชาชนในช่องทางต่างๆ และช่วยเหลือ ยับยั้ง ติดตามจับกุมผู้กระทำความผิดได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ

ตำรวจไซเบอร์ ชี้แจงความคืบหน้าคดีหลอกลงทุน Turtle Farm ส่งสำนวนแล้ว 2 ครั้ง พบผู้เสียหายกว่า 2,000 ราย ความเสียหายกว่า 2,000 ล้านบาท

พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก บช.สอท. ขอเรียนชี้แจงความคืบหน้าการดำเนินคดีกับ บริษัท ไมน์นิ่งมายน์ เอ็กซ์ จำกัด, ห้างหุ้นส่วนจำกัดสถานีหลักสี่ โดยนางสาวฐานวัฒน์ กับพวก รวม 9 ราย ที่ได้ร่วมกันหลอกลวงชักชวนผู้เสียหายหลายรายให้ร่วมลงทุนเพาะเห็ด ปลูกพืชกระท่อม เลี้ยงผึ้ง หรือการลงทุนในรูปแบบอื่นๆ ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ ดังต่อไปนี้

ตามนโยบายของรัฐบาล โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่ได้ให้ความสำคัญ และมีความห่วงใยต่อประชาชนจากภัยการหลอกลวงผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการหลอกลวงชักชวนประชาชนให้ร่วมลงทุน โดยอ้างว่าจะได้รับผลตอบแทนสูงในเวลาอันรวดเร็ว โดยได้กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการสืบสวนสอบสวนและปราบปรามการกระทำความผิด บังคับใช้กฎหมายอย่างต่อเนื่อง และจริงจัง    

เพื่อเป็นการดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล และแก้ไขปัญหาอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. และ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รอง ผบ.ตร. ซึ่งรับผิดชอบในด้านงานป้องกันปราบปราม ได้กำชับไปยัง พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งรัดทำการสืบสวนสอบสวน ขยายผลหาความเชื่อมโยงในดดี ปราบปรามจับกุมผู้กระทำความผิดที่เกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีในทุกรูปแบบ มุ่งเน้นการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ

เมื่อประมาณเดือน พ.ย.64 - ก.ค.65 ผู้ต้องหากับพวกได้สร้างโรงเพาะเห็ดขึ้นมาหลายโรง ในพื้นที่ จว.สกลนคร ประกาศโฆษณาผ่านสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ ให้ประชาชนทั่วไปเข้าร่วมลงทุนเพาะเห็ด ปลูกต้นกระท่อม และเลี้ยงผึ้ง โดยอ้างว่าผู้ที่เข้าร่วมลงทุนจะได้ผลตอบแทนเป็นจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง โดยมีเงื่อนระยะเวลาในการลงทุน เช่น โครงการฝากเลี้ยงเห็ดเยื่อไผ่ ใช้เงินลงทุน 264,360 บาท ในเดือนที่ 3 จะได้รับเงินปันผล 108,640 บาทต่อเดือน หรือโครงการฝากเลี้ยงกระท่อม ใช้เงินลงทุน 275,000 บาท ในเดือนที่ 8 จะได้รับกำไร 150,000 บาทต่อเดือน โดยมีการสร้างความน่าเชื่อถือโดยการทำสัญญาระหว่างผู้ร่วมลงทุนกับผู้ต้องหา มีการใช้บุคคลสำคัญ หรือบุคคลที่มีชื่อเสียงมาร่วมโฆษณาชักชวน มีการสร้างภาพว่าฟาร์มดังกล่าวได้รับรางวัล ทำให้ผู้เสียหายรายหลายหลงเชื่อ และนำเงินมาร่วมลงทุนเป็นจำนวนมาก ซึ่งกลุ่มผู้ต้องหาไม่ได้มีการดำเนินการตามที่ชักชวนแต่อย่างใด กระทั่งเมื่อถึงกำหนดผู้ต้องหากับพวกอ้างเหตุขัดข้องต่างๆ ไม่สามารถจ่ายเงินผลตอบแทนได้ เป็นเหตุให้ประชาชนได้รับความเสียหายและมาแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีกับผู้ต้องหาตามกฎหมาย

คดีดังกล่าวพนักงานสอบสวน บก.สอท.3 ได้ดำเนินการสอบสวนสืบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานมาโดยตลอด ได้ขออนุมัติศาลขอออกหมายจับผู้ต้องหากับพวก รวม 9 ราย ในข้อหา “ร่วมกันฉ้อโกงประชาชน, กู้ยืมเงินอันเป็นการฉ้อโกง และนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่ง ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน หรือปลอมไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน” ปัจจุบันสามารถจับกุมผู้ต้องหาได้ 7 ราย อยู่ระหว่างติดตามจับกุมตัวมาดำเนินคดี 2 ราย และที่ผ่านมาสามารถทำการตรวจยึดทรัพย์สิน และอายัดเงินในบัญชีที่เกี่ยวข้องได้เป็นจำนวนมาก

ต่อมาเมื่อ 3 ต.ค.65 พนักงานสอบสวนได้สรุปสำนวนการสอบสวน ครั้งที่ 1 มีความเห็นสั่งฟ้องผู้ต้องหาไปยังพนักงานอัยการ โดยมีผู้เสียหาย 119 ราย ความเสียหาย 60 ล้านบาท และเมื่อ 22 ธ.ค.65 ได้สรุปสำนวนการสอบสวน ครั้งที่ 2 มีความเห็นสั่งฟ้องผู้ต้องหาไปยังพนักงานอัยการ มีผู้เสียหาย 1,001 ราย ความเสียหายกว่า 703 ล้านบาท ทั้งนี้พนักงานสอบสวนอยู่ระหว่างสรุปสำนวนการสอบสวน ครั้งที่ 3 ปัจจุบันมีผู้เสียหายอีกกว่า 1,000 ราย ความเสียหายกว่า 1,000 ล้านบาท คาดว่าจะแล้วเสร็จสามารถส่งสำนวนการสอบสวนได้ภายในเดือน เม.ย.66 เพื่อให้พนักงานอัยการพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

โฆษก บช.สอท. กล่าวเพิ่มเติมว่า จากสถิติการรับแจ้งความออนไลน์ ความเสียหายจากการหลอกลวงให้ลงทุนนั้นอยู่ในลำดับที่ 1 ของความเสียหายจากการหลอกลวงทั้งหมด หรือคิดเป็นประมาณ 25% โดยส่วนใหญ่เงินลงทุนของประชาชนบางรายเป็นเงินเก็บก้อนสุดท้ายของชีวิต หรือบางรายต้องเอาทรัพย์สินไปจำนองเพื่อให้ได้เงินมาลงทุน ถือเป็นการซ้ำเติมความเดือดร้อนของประชาชน ฝากเตือนไปยังมิจฉาชีพที่ยังคงหลอกลวงประชาชนในลักษณะดังกล่าว ให้หยุดการกระทำนั้นเสีย เพราะท้ายที่สุดก็ต้องถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจติดตตามจับกุมมาดำเนินคดีทุกราย ไม่มีละลเว้น

‘ตร.ไซเบอร์’ ทลาย 2 เว็บพนันออนไลน์ ตรวจค้น 4 จุด  จับกุมผู้ต้องหา 11 คน มูลค่ากว่า 70 ล้านบาท

(25 มี.ค. 66) ที่กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 
(บช.สอท.) พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท. พล.ต.ต.ณัฐกรณ์ ประภายนต์ ผบก.สอท.2 และ พล.ต.ต.ชรินทร์ โกพัฒน์ตา ผบก.สอท.5 แถลงผลปฏิบัติการทลายเครือข่ายเว็บไซต์พนันออนไลน์ จับกุมผู้กระทำผิดและตรวจยึดทรัพย์สิน มูลค่ากว่า 70 ล้านบาท

พล.ต.ท.วรวัฒน์ กล่าวว่า ตำรวจไซเบอร์ได้สืบสวนทราบว่ามีกลุ่มบุคคลเป็นเครือข่ายทำเว็บไซต์พนันออนไลน์ โดยสืบสวนตรวจสอบข้อมูลพบว่า มีการจัดให้มีการเล่นพนันออนไลน์เกี่ยวกับ ทายผลฟุตบอล, พนันสล็อต, เกมยิงปลา เกมสล็อต บิงโก หรือ เกมอื่นๆ มีการเสนอการฝาก ถอน เงินสดสำหรับเป็นเครดิตในการเล่นพนันผ่านธนาคารพานิชย์ (ในประเทศไทย) และเว็บไซด์มีระบบ ฝาก-ถอน อัตโนมัติ โดยเบื้องต้นได้ทำการอำพรางและทดลองเล่นการพนันดังกล่าวแล้วสามารถเล่นพนันได้จริง จึงได้รวบรวมพยานหลักฐานเพื่อขอหมายค้นจากศาล เพื่อเข้าตรวจค้น จำนวน 4 จุด ดังนี้

จุดตรวจค้นแรกเครือข่ายเว็บพนัน Xoslotz1688.com ซึ่งมีสมาชิกที่เป็นผู้เล่นประมาณ 35,000 คน มียอดเงินหมุนเวียนเดือนละ 20 ล้านบาท ยอดเงินหมุนเวียนทั้งปีประมาณ 240 ล้านบาท โดยเข้าตรวจค้นบ้านเลขที่ 6/1 หมู่ที่ 6 ต.พลับพลา อ.เมืองจันทบุรี จ.จันทบุรี ซึ่งเปิดเป็นล้งรับซื้อมังคุด โดยสามารถจับกุมผู้ต้องหาได้จำนวน 4 คน คือ นายศรายุทธ เจริญวัย อายุ 39 ปี,น.ส.วาธินี พลคิด อายุ 38 ปี,น.ส.รัญญาดา วรชินา อายุ 19 ปี และนายศุภวิชญ์ สืบฤกษ์ อายุ 25 ปี พร้อมตรวจยึดของกลางและทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องประกอบด้วยรถยนต์ ยี่ห้อฟอร์ด รุ่นมัสแตง จำนวน 1 คัน ราคาประมาณ 3,800,000 บาท, รถยนต์ยี่ห้อโตโยต้า รุ่น อัลพาร์ด จำนวน 1 คัน ราคาประมาณ 3,000,000 บาท, รถยนต์บรรทุก ยี่ห้อ HINO จำนวน 1 คัน, รถยนต์ ยี่ห้อโตโยต้า รุ่น ครอส  1 คัน, รถยนต์กระบะ 4 คัน, รถจักรยานยนต์ 3 คัน และของกลางทรัพย์สินอื่นๆ อีกจำนวนหลายรายการ รวมมูลค่ากว่า 30 ล้านบาท

จุดตรวจค้นที่ 2 เครือข่ายเว็บพนัน slotking77.com ซึ่งมีสมาชิกที่เป็นผู้เล่นประมาณ 15,000 คน มียอดเงินหมุนเวียนเดือนละ 15 ล้านบาท ยอดเงินหมุนเวียนทั้งปีประมาณ 180 ล้านบาท โดยเข้าตรวจค้นบ้านเลขที่ 1128/55 หมู่บ้านคาซ่าวิลล์ ถนนเลียบคลองรังสิต ต.ประชาธิปัตย์ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี และจับกุมผู้ต้องหาได้ 1 คน คือ นายพชิระวัสส์ ภิญโญชีพ อายุ 40 ปี พร้อมตรวจยึดของกลางและทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องประกอบด้วยรถยนต์ ยี่ห้อปอร์เช่ จำนวน 2 คัน ราคาประมาณ 20,000,000 บาท, รถยนต์ 1 คัน, นาฬิกายี่ห้อริชาร์ดมิล 1 เรือน ราคาประมาณ 6,000,000 บาท, เงินสด 1,000,000 บาท, กระเป๋าแบรนด์เนม, ทองคำรูปพรรณ ๕ บาท, อาวุธปืน 2 กระบอกและของกลางทรัพย์สินอื่นๆ อีกจำนวนหลายรายการ รวมมูลค่ากว่า 30 ล้านบาท

จุดตรวจค้นที่ 3 เครือข่ายเว็บพนัน slotking77.com ซึ่งมีสมาชิกที่เป็นผู้เล่นประมาณ 15,000 คน มียอดเงินหมุนเวียนเดือนละ 15 ล้านบาท ยอดเงินหมุนเวียนทั้งปีประมาณ 180 ล้านบาท โดยเข้าตรวจค้นบ้านเลขที่ 44/81 หมู่ 1 ต.คลองสี่ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี โดยสามารถจับกุมผู้ต้องหาได้จำนวน 1 คน นายเอกรัฐ ตากัน อายุ 42 ปี พร้อมตรวจยึดของกลางและทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องประกอบด้วยรถยนต์ ยี่ห้อBMW รุ่น 530E จำนวน 1 คัน ราคาประมาณ 3,500,000 บาท, นาฬิกา ยี่ห้อโรเล็กซ์ รุ่น daytona ราคาประมาณ 800,000 บาท, พระเครื่องพร้อมทองคำรูปพรรณ, กระเป๋าแบรนด์เนม และของกลาง ทรัพย์สินอื่นๆ อีกจำนวนหลายรายการ รวมมูลค่ากว่า 10 ล้านบาท

‘ดิว อริสรา’ บินกลับไทย เข้าพบ ตร.ไซเบอร์ ให้ปากคำเพิ่มเติมคดี ‘มาเก๊า888’ เจ้าตัวเผยไม่กังวลอะไร

หลังจากที่ ‘ดิว อริสรา ทองบริสุทธิ์’ ได้ออกมาแฉ 4 พี่น้องตระกูล บ. เป็นเจ้าของเว็บพนันออนไลน์ ‘มาเก๊า888’ อีกทั้งโดน ‘เบนซ์ เดม่อน’ แฟนเก่าหนึ่งในพี่น้องตระกูล บ. ทำร้ายร่างกาย ซึ่งภายหลังดิวออกมาแฉ ก็มีการบุกทลายเว็บพนัน รวมทั้งมีการจับกุมตัวเบนซ์ เดม่อน ที่บินจากฮ่องกงมอบตัวสู้คดี โดยยืนยันไม่มีส่วนพัวพันกับเว็บพนันดังกล่าว และขอปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top