Sunday, 12 May 2024
ตำรวจไซเบอร์

ตำรวจไซเบอร์ เตือนภัยมิจฉาชีพแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่สรรพากรระบาดหนัก ยังคงมีประชาชนตกเป็นเหยื่อหลังจากที่เคยออกมาเตือนแล้ว

พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) ขอประชาสัมพันธ์เตือนภัย กรณียังคงมีประชาชนตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่สรรพากร ดังนี้

ตามที่ บช.สอท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ทำการประชาสัมพันธ์ แจ้งเตือน สร้างการรับรู้ให้กับประชาชน กรณีมิจฉาชีพแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่สรรพากร ส่งข้อความสั้น (SMS) หรือโทรศัพท์ไปหลอกลวงประชาชน หลอกให้กดลิงก์แอดไลน์ของกรมสรรพากรปลอม แล้วส่งลิงก์ให้ติดตั้งแอปพลิเคชันกรมสรรพากรปลอมซึ่งแฝงมากับมัลแวร์ (Malware) หรือโปรแกรมประสงค์ร้ายที่ถูกเขียนขึ้นมา เพื่อทำอันตรายกับข้อมูลในระบบ เช่น ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์ทำงานผิดปกติ ขโมยหรือทำลายข้อมูล หรืออาจจะเปิดช่องทางให้มิจฉาชีพเข้ามาควบคุมโทรศัพท์ของเราได้ รวมไปถึงหลอกลวงให้กรอกข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลทางการเงิน โดยมิจฉาชีพมักจะอ้างว่าจะขอทำการตรวจสอบรายได้ของท่าน หรือเป็นการแจ้งเตือนให้ชำระภาษี หรือให้ทำการยกเลิกเสียภาษีจากโครงการของรัฐบาล หรืออ้างว่าสามารถช่วยเหลือไม่ให้เสียภาษีย้อนหลังได้ ผ่านแอปพลิเคชันกรมสรรพากรปลอมดังกล่าว

แต่ในปัจจุบันยังคงพบว่ามีประชาชนหลงเชื่อตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ กดลิงก์ติดตั้งแอปพลิเคชันของกรมสรรพากรปลอม แล้วถูกมิจฉาชีพโอนเงินออกจากบัญชีเป็นจำนวนมาก ซึ่งปรากฏเป็นข่าวในสื่อสังคมออนไลน์อย่างต่อเนื่อง เช่น กรณีเจ้าของร้านขายของชำถูกมิจฉาชีพ หลอกติดตั้งแอปพลิเคชันสรรพากร ให้ยกเลิกถุงเงิน และให้เสียภาษีย้อนหลัง สูญเงินกว่า 1.6 ล้านบาท หรือกรณีสามีภรรยาถูกมิจฉาชีพหลอกให้ติดตั้งแอปพลิเคชัน อ้างว่าให้ยกเลิกภาษีในโครงการคนละครึ่ง สูญเสียเงินเก็บก้อนสุดท้ายกว่า 1 ล้านบาท เป็นต้น
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ให้ความสำคัญ และมีความห่วงใยต่อภัยการหลอกลวงผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแอบอ้างเป็นหน่วยงานของรัฐ หรือเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ไปหลอกลวงเอาทรัพย์สินของประชาชน สร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ซึ่งรับผิดชอบงานป้องกันปราบปรามอาชญากรรม ได้กำชับสั่งการให้หน่วยงานในสังกัดเร่งดำเนินการปราบปรามจับกุมผู้กระทำผิดอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง รวมถึงวางมาตรการป้องกันสร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ ที่ผ่านมา กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี โดย พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ได้ขับเคลื่อนตามนโยบายของรัฐบาล และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการป้องกันปราบปรามการกระทำความผิดในโลกออนไลน์ทุกรูปแบบ

‘ตำรวจไซเบอร์’ เปิดยุทธการทลายเว็บพนันออนไลน์ หลัง ‘ดิว อริสรา’ โพสต์แฉข้อมูล

‘ตำรวจไซเบอร์’ เปิดยุทธการทลายเว็บพนันออนไลน์ ‘มาเก๊า 888’ หลัง ‘ดิว อริสรา’ โพสต์แฉข้อมูล

(3 ก.พ. 66) จากกรณีดาราสาว ‘ดิว อริสรา’ โพสต์แฉเว็บพนันออนไลน์ มาเก๊า 888 พร้อมกับให้ข้อมูลตำรวจ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) จึงได้มอบหมายให้ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รอง ผบ.ตร. และ พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ผบช.สอท.) เร่งดำเนินการสืบสวนสอบสวนเพื่อรวบรวมพยานหลักฐานดำเนินคดีกับผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด ภายใต้ยุทธการ ‘มาเก๊า 888’

ล่าสุด พล.ต.ต.วิวัฒน์ คำชำนาญ รอง ผบช.สอท. พร้อมด้วย พล.ต.ต.ชัชปัณฑกานต์ คล้ายคลึง ผบก.สอท.1 พร้อมเจ้าหน้าที่ตำรวจในสังกัด บก.สอท.1 ได้นำหมายค้นของศาลอาญา เข้าตรวจค้นที่บ้านหรูหลังหนึ่ง ถนนเลียบคลองประปา ตำบลบ้านใหม่ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ซึ่งจากการสืบสวนพบว่า บ้านหลังนี้เป็นบ้านพักของ นายณัฐพงศ์ ระชินลา ผู้ต้องหาหนึ่งในขบวนการ ซึ่งทำหน้าที่การเงินการธนาคาร และรวบรวมโพยพนัน

ตำรวจไซเบอร์เตือนภัย มิจฉาชีพหลอกลวงประชาชนให้ทำงานเสริม หรือทำภารกิจออนไลน์ ฝากผู้ปกครองหมั่นตรวจสอบพฤติกรรมของลูกหลาน

พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) ขอฝากเตือนมิจฉาชีพหลอกลวงประชาชนให้ทำงานเสริม หรือทำภารกิจออนไลน์ ดังนี้

ในช่วงที่ผ่านมาปรากฏเป็นเป็นข่าวในสื่อสังคมออนไลน์ ผู้เสียหายหลายรายถูกมิจฉาชีพหลอกลวงให้ทำงาน หรือทำภารกิจออนไลน์ต่างๆ เพื่อหารายได้เสริมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการหลอกลวงจ้างให้กดไลก์ (Like) กดแชร์ (Share) ดูคลิปวิดีโอจากยูทูบ (YouTube) กดรับออร์เดอร์สินค้า หรือทำกิจกรรมอื่นๆ ที่มิจฉาชีพออกอุบายประกาศ เชิญชวนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เช่น Facebook, Instagram, Tiktok เป็นต้น หรือผ่านทางการส่งความสั้น (SMS) ให้เหยื่อกดลิงก์เพิ่มเพื่อนทางแอปพลิเคชันไลน์ เช่น ประกาศรับสมัครด่วนงานดูคลิป YouTube จำนวน 10 คลิป 400 บาท 20 คลิป 800 บาท แต่ต้องมีค่าเงินประกัน 100 บาท หรือให้กดไลก์ กดแชร์เพจ เพิ่มระดับเลเวลเพื่อที่จะได้รับค่าตอบแทนเพิ่ม แต่ต้องโอนเงินเข้าไปในระบบก่อน หรือเชิญชวนให้ทำภารกิจกดรับออเดอร์สินค้า โดยเริ่มจากสินค้าหลักร้อยและเพิ่มสูงขึ้นไปตามระดับภารกิจ แต่จะบอกว่าเราทำผิดขั้นตอน ให้โอนเงินไปเพิ่ม เป็นต้น

การหลอกลวงในลักษณะดังกล่าว จะเห็นได้ว่าต้องมีการโอนเงินไปยังบัญชีธนาคารของมิจฉาชีพ หรือเติมเงินเข้าไปในระบบที่มิจฉาชีพสร้างขึ้นมาเสียก่อนเสมอ โดยในช่วงแรกๆ เราจะได้เงินกลับคืนมาจริง แต่หลังจากนั้นมิจฉาชีพก็จะออกอุบายต่างๆ เพื่อให้เหยื่อเติม หรือโอนเงินเพิ่ม เช่น อ้างว่ายอดเงินในระบบไม่เพียงพอ อ้างว่าเป็นค่าเอกสาร ค่าปิดบัญชี ค่าภาษี เป็นต้น เมื่อเหยื่อรู้ตัวว่าถูกหลอกลวงก็จะปิดการติดต่อหลบหนีไป ยกตัวอย่างคดีอุทาหรณ์ เช่น ในกรณีนักเรียนชั้น ม.3 อายุ 15 ปี ถูกหลอกลวงให้โอนเงินเพื่อหาค่าคอมมิชชั่นจากการทำงานกดรับออเดอร์สินค้า เป็นเหตุให้เครียดและทำอัตวินิบาตกรรม กระทั่งเจ้าหน้าที่ตำรวจ บช.สอท. ได้สืบสวนรวบรวมพยานหลักฐาน ทำการจับกุมตัวผู้ต้องหาตามหมายจับรวมกว่า 9 ราย ส่ง พงส.ดำเนินคดีตามกฎหมายในเวลาต่อมาตามนโยบายของรัฐบาล โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ซึ่งรับผิดชอบงานในด้านการป้องกันปราบปราม ได้ให้ความสำคัญ และมีความห่วงใยต่อภัยการหลอกลวงประชาชนผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์  โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับการหลอกลวงประชาชนให้ทำภารกิจ หรือทำงานออนไลน์เพื่อหารายได้เสริม โดยได้กำชับไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งวางมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดในโลกออนไลน์ทุกรูปแบบอย่างต่อเนื่อง และจริงจัง ทำให้มิจฉาชีพเหล่านี้ไม่มีจุดยืนในสังคม เพราะถือเป็นการซ้ำเติมความเดือดร้อนของประชาชน ที่ผ่านมา กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี โดย พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท. ได้ขับเคลื่อนตามนโยบายของรัฐบาล และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดในโลกออนไลน์ทุกรูปแบบ มุ่งเน้นการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เสียหายที่ยังเป็นเด็ก เยาวชน ยังไม่บรรลุนิติภาวะ อาจจะส่งผลกระทบโดยไม่คาดคิด 

การกระทำลักษณะดังกล่าวเข้าข่ายเป็นความผิดฐาน “ โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน หรือปลอม ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง ตาม พ.ร.บ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 มาตรา 14 (1) วรรคท้าย มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และความผิดฐานฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ” หรือกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องโดยดูจากพฤติการณ์แต่ละกรณีมาประกอบ ซึ่งในฐานความผิดดังกล่าวเป็นความผิดต่อส่วนตัว หากต้องการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินคดี ผู้เสียหายจะต้องมาร้องทุกข์กับพนักงานสอบสวนเพื่อให้ดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดต่อไป

ตำรวจไซเบอร์ เตือนภัยบัตรเครดิตถูกหักเงินชำระค่าโฆษณาสื่อสังคมออนไลน์โดยไม่ทราบสาเหตุ

พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) ขอประชาสัมพันธ์ เตือนภัยบัตรเครดิตถูกหักเงินชำระค่าโฆษณาสื่อสังคมออนไลน์โดยไม่ทราบสาเหตุ ดังนี้

ตามที่ปรากฏเป็นข่าวในสื่อสังคมออนไลน์ มีผู้เสียหายหลายรายแจ้งว่าบัตรเครดิตของตนถูกหักเงินไปชำระค่าโฆษณาสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ ยกตัวอย่าง เช่น กรณีของผู้เสียหายรายหนึ่งถูกหักเงินจากบัตรเครดิตไปชำระค่าโฆษณาของแอปพลิเคชัน TikTok กว่า 7,000 บาท หรือผู้เสียหายอีกกรณีถูกหักเงินจากบัตรเครดิตไปชำระค่าโฆษณาแอปพลิเคชัน Facebook กว่า 18,000 บาท เป็นต้น ซึ่งทั้งสองกรณีผู้เสียหายยืนยันว่าไม่ได้ทำธุรกรรมดังกล่าว ไม่เคยผูกบัตรเครดิตไว้กับแอปพลิเคชันใด ๆ และในการถูกหักเงินออกจากบัตรเครดิตก็ไม่ได้รับรหัส OTP เพื่อยืนยันการทำธุรกรรม รวมไปถึงไม่พบการพยายามเข้าถึงระบบ (Login) ของแอปพลิเคชันดังกล่าวด้วย นั้น

ที่ผ่านมา กองบังคับการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ตอท.) ได้ทำการสนับสนุนตรวจสอบหาสาเหตุของการหลอกลวงในรูปแบบดังกล่าวในอีกหลายรูปแบบ เช่น กรณีมิจฉาชีพอ้างเป็นสถาบันการเงินหลอกให้กดลิงก์อัปเดตข้อมูล ทำให้เงินในบัญชีผู้เสียหายสูญหายไป และยังเป็นหนี้บัตรเครดิตอีกจำนวนมาก หรือกรณีมิจฉาชีพแอบอ้างเป็นพนักงาน บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต โทรศัพท์แจ้งผู้เสียหายว่าได้รับค่าสินไหมทดแทนจากการติดเชื้อโควิด-19 ขอข้อมูลเพื่อยืนยันตัวตน เช่น หมายเลขบัญชีธนาคาร รหัส OTP เป็นต้น

โดยจากการตรวจสอบ และวิเคราะห์พบว่ามักจะเกิดได้จาก 2 กรณีหลัก คือ กรณีแรกเกิดจากการที่ผู้เสียหายเผลอให้ข้อมูลบัตรกับมิจฉาชีพ ไม่ว่าจะเป็นการถูกหลอกลวงให้เข้าไปกรอกข้อมูลทางการเงินผ่านเว็บไซต์ปลอม หรือแอปพลิเคชันปลอม หรือการให้บัตรเครดิตไปกับผู้อื่นเพื่อทำธุรกรรมการเงินในชีวิตประจำวัน แล้วบุคคลนั้นนำข้อมูลที่ได้ไปใช้แสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ เป็นต้น กรณีที่สองอาจจะเกิดจากการที่ผู้เสียหายกดลิงก์ติดตั้งแอปพลิเคชันปลอม หรือลิงก์โฆษณาต่างๆ ที่ฝังมัลแวร์ดักรับข้อมูลของมิจฉาชีพ ทั้งนี้ต้องนำโทรศัพท์ของผู้เสียหายแต่ละรายมาตรวจสอบโดยละเอียดอีกครั้ง เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงว่าเกิดจากสาเหตุใด เช่น ตรวจสอบการใช้งานโทรศัพท์ว่า ก่อนเกิดเหตุผู้เสียหายได้ทำธุรกรรมใดหรือไม่ หรือผู้เสียหายติดตั้งแอปพลิเคชันใดบ้าง เป็นต้น

ตามนโยบายของรัฐบาล โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ซึ่งรับผิดชอบงานในด้านการป้องกันปราบปราม ได้ให้ความสำคัญ และมีความห่วงใยต่อภัยการหลอกลวงประชาชนผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์  โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับการชักชวนหลอกลวงลงทุนออนไลน์ การระดมทุนที่ผิดกฎหมาย โดยได้กำชับไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งวางมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดในโลกออนไลน์ทุกรูปแบบอย่างต่อเนื่อง และจริงจัง

ที่ผ่านมา กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี โดย พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท. ได้ขับเคลื่อนตามนโยบายของรัฐบาล และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดในโลกออนไลน์ทุกรูปแบบ มุ่งเน้นการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ

การกระทำดังกล่าวเข้าข่ายเป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 269/5 ใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นโดยมิชอบในประการ  ที่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น หรือประชาชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากมีการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน ก็จะมีความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(1) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หรือความผิดตามกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

ตำรวจไซเบอร์ เรียนชี้แจงความคืบหน้าคดีแชร์ออมเงิน 'บ้านร่ำรวยเงินทองปี 4'

พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) เรียนชี้แจงความคืบหน้าคดีแชร์ออมเงิน “บ้านร่ำรวยเงินทองปี 4” ดังนี้

ตามที่มีการนำเสนอข่าวผ่านสื่อสังคมออนไลน์ กรณีมีผู้เสียหายหลายรายเข้าพบพนักงานสอบสวน กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (บช.ก.) แจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีกับนายวงแชร์ “บ้านร่ำรวยเงินทองปี 4” ที่ได้หลอกลวงชักชวนผู้เสียหายให้เล่นแชร์ออมเงิน เพื่อรับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย ในอัตราสูงถึง 30 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนเงินลงทุน ต่อมาพบความผิดปกติ มีสมาชิกวงแชร์รายใหม่เพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ ผู้เสียหายเชื่อว่านายวงแชร์หลอกลวงใช้สมาชิกที่ไม่มีตัวตนอยู่จริง หรือที่เรียกว่ามือผี มาทำการรับผลตอบแทน หรือเปียแชร์แทน ทำให้ได้รับความเสียหายรวมประมาณ 100 ล้านบาท นอกจากนี้ยังพบว่ามีการตั้งวงแชร์มากกว่า 10 วง ทั้งแบบรายวัน รายอาทิตย์ และรายเดือน มีวงเงินตั้งแต่ 10,000 ไปจนถึง 1,000,000 บาท อีกด้วย

จึงขอเรียนชี้แจงให้ทราบว่า จากการตรวจสอบมีผู้เสียหายบางส่วนแจ้งความผ่านระบบรับแจ้งความออนไลน์ที่ www.Thaipoliceonline.com โดยจากการวิเคราะห์ พบความเชื่อมโยงทางคดีมากกว่า 50 เรื่อง (Case ID) ซึ่งคาดว่าภายในต้นสัปดาห์ถัดไป ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือ ศปอส.ตร. จะมีความเห็นเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นไปยังผู้บริหารคดี ระดับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อพิจารณาสั่งการให้รวบรวม สั่งโอนสำนวนคดีไปยังพนักงานสอบสวนหน่วยที่รับผิดชอบทำการสอบสวน ตามคำสั่ง ตร.ที่ 468/65 เรื่องการรับแจ้งความและการบริหารคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ฯ และดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

ตามนโยบายของรัฐบาล โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ซึ่งรับผิดชอบงานในด้านการป้องกันปราบปราม ได้ให้ความสำคัญ และมีความห่วงใยต่อภัยการหลอกลวงประชาชนผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์  โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับการชักชวนหลอกลวงลงทุนออนไลน์ การระดมทุนที่ผิดกฎหมาย โดยได้กำชับไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งวางมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดในโลกออนไลน์ทุกรูปแบบอย่างต่อเนื่อง และจริงจัง

ที่ผ่านมา กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี โดย พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท. ได้ขับเคลื่อนตามนโยบายของรัฐบาล และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดในโลกออนไลน์ทุกรูปแบบ มุ่งเน้นการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ

การกระทำลักษณะดังกล่าวเข้าข่ายเป็นความผิดฐาน “ฉ้อโกงประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ, ความผิดตาม พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ.2534 มาตรา 6 มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และความผิดตาม พ.ร.ก.กู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯ ตามมาตรา 4, 5 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 500,000 ถึง 1,000,000 บาทและปรับอีกไม่เกินวันละ 10,000 บาท ตลอดระยะเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่ ” หรือกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ตามพฤติการณ์ในแต่ละกรณี

ตำรวจไซเบอร์ เตือนภัยช่วงนี้ มัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware) กลับมาระบาด

พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) ขอเรียนประชาสัมพันธ์เตือนภัยระวังตกเป็นเหยื่อ Ransomware หรือมัลแวร์เรียกค่าไถ่ ดังนี้

ในปัจจุบันที่เทคโนโลยีได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว แต่ในอีกมุมหนึ่งมิจฉาชีพก็พัฒนาการหลอกลวงในรูปแบบใหม่ๆ และซับซ้อนมากยิ่งขึ้นเช่นกัน Ransomware หรือที่เรียกกันว่า มัลแวร์เรียกค่าไถ่ เป็นมัลแวร์ประเภทหนึ่งที่จะเข้ามาล็อกข้อมูลผู้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นไฟล์เอกสาร รูปภาพ วิดีโอ จนทำให้ไม่สามารถเปิดไฟล์ใดๆ ได้ โดยหากต้องการกู้ข้อมูลคืนมา จะต้องจ่ายเงินค่าไถ่ตามที่ผู้โจมตี หรือมิจฉาชีพเรียกร้อง จำนวนเงินค่าไถ่ก็จะแตกต่างกันไป และการชำระเงินจะต้องชำระผ่านระบบที่มีความยากต่อการตรวจสอบ หรือติดตาม เช่น การโอนเงินผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์, การชำระเงินออนไลน์แบบเติมเงินโดยใช้บัตรกำนัล (Paysafecard), เงินสกุลดิจิทัล เป็นต้น

ในช่วงที่ผ่านมาพนักงานสอบสวน บช.สอท. ได้รับแจ้งความร้องทุกข์จากผู้เสียหายว่า บริษัทของผู้เสียหายได้รับความเสียหายจากการถูมัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware) ถูกล็อกไฟล์ข้อมูล ไม่สามารถเข้าถึงและใช้งานได้ มีการเรียกค่าไถ่เป็นบิตคอยน์ (Bitcoin) มูลค่าหลายล้านบาท กรณีดังกล่าว บช.สอท. ได้ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ได้ทำการตรวจสอบและวิเคราะห์ในเบื้องต้นพบว่า คอมพิวเตอร์บริษัทของผู้เสียหายถูกโจมตีด้วย Faust Virus หรือ Ransomware ซึ่งได้รับการออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อป้องกันไม่ให้เหยื่อเข้าถึงข้อมูลของตนเอง โดยแผนประทุษกรรมของคนร้ายจะ สร้างมัลแวร์ที่มีลักษณะการทำงานแบบเข้ารหัส หรือล็อกไฟล์ ไม่ว่าจะเป็นไฟล์เอกสาร รูปภาพ วิดีโอ ผู้ใช้งานจะไม่สามารถเปิดไฟล์ได้ จนกว่าจะได้รับรหัส หรือคีย์ที่ใช้ในการปลดล็อกไฟล์

ทั้งนี้ กรณีดังกล่าวน่าจะมาจากช่องทางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการแฝงมาในรูปแบบเอกสารแนบมากับอีเมล โดยการสร้างเว็บไซต์ปลอม หรืออีเมลปลอม แล้วส่งข้อมูลมาในรูปเอกสารที่ใช้ไฟล์ .doc หรือ .xls แต่ความจริงคือเป็นไฟล์ '.doc .exe' หรือแฝงตัวมาในรูปแบบของโฆษณา (Malvertising) โดยการโฆษณาไปยังบริษัทเป้าหมาย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือบริษัทขนาดใหญ่ที่มีความสามารถในการจ่ายเงินค่าไถ่ หรืออาจจะเกิดจากบุคคลในองค์กรเองที่ไปคลิกลิงก์ที่คนร้ายส่งมา ทำให้มัลแวร์ดังกล่าวติดตั้งตัวเองในระบบแล้วทำการเข้ารหัส หรือล็อกไฟล์ทั้งหมด จากนั้นจะมีข้อความเตือนที่หน้าจอให้ติดต่อกลับไป คนร้ายมักจะเรียกเป็นสกุลเงินดิจิทัล หากไม่ยอมจ่ายคนร้ายจะข่มขู่ว่าจะทำลายไฟล์ทั้งหมด หรือนำไปเปิดเผยต่อไป

ตามนโยบายของรัฐบาล โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ซึ่งรับผิดชอบงานในด้านการป้องกันปราบปราม ได้ให้ความสำคัญ และมีความห่วงใยต่อภัยออนไลน์ที่สร้างความเสียหายให้กับประชาชน องค์กร หน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ การเรียกค่าไถ่ทางคอมพิวเตอร์ (Ransomware) โดยได้กำชับไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งวางมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดในโลกออนไลน์ทุกรูปแบบอย่างต่อเนื่อง และจริงจัง

ที่ผ่านมา กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี โดย พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท. ได้ขับเคลื่อนตามนโยบายของรัฐบาล และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดในโลกออนไลน์ทุกรูปแบบ มุ่งเน้นการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชน หน่วยงานไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ

การกระทำลักษณะดังกล่าวเข้าข่ายเป็นความผิดฐาน “ ข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการใด ไม่กระทำการใด หรือจำยอมต่อสิ่งใด โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของผู้ถูกข่มขืนใจนั้นเองหรือของผู้อื่น มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และความผิดฐานเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตาม พ.ร.บ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 หรือกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง”

ตำรวจไซเบอร์ เตือนภัยใช้ Internet Banking ระวังเจอเว็บไซต์ธนาคารปลอม

พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) ขอประชาสัมพันธ์เตือนภัยเตือนภัยใช้ Internet Banking ระวังเจอเว็บไซต์ธนาคารปลอม ถูกมิจฉาชีพหลอกลวงกรอกข้อมูลทางการเงิน เงินหายออกจากบัญชี ดังนี้

ตามที่ในปัจจุบันประชาชนสามารถเข้าถึง ตรวจสอบข้อมูล หรือขอเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ หรือทำธุรกรรมการเงินโดยไม่ต้องเดินทางไปยังสถาบันการเงิน หรือธนาคารแต่อย่างใด สามารถใช้โทรศัพท์มือถือ หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นใด ที่เชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ตเข้าถึงระบบได้ทุกที่ทุกเวลา แต่ก็เป็นช่องทางหนึ่งให้มิจฉาชีพฉวยโอกาสสร้างเว็บไซต์ปลอม ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับเว็บไซต์จริง เพื่อหลอกลวงประชาชนที่ไม่ทันสังเกต เข้ามากรอกทั้งข้อมูลส่วนบุคคล และข้อมูลทางการเงิน เช่น รหัสผู้ใช้งาน รหัสผ่าน หมายเลขบัญชีธนาคาร เลขบัตรเดบิต/เครดิต รหัสหลังบัตร 3 หลัก รหัสใช้ครั้งเดียว (OTP) เป็นต้น เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในทางมิชอบ ไม่ว่าจะเป็นการนำข้อมูลที่ได้ไปถอนเงินของเหยื่อออกจากบัญชี  หรือไปแฮ็กบัญชีสื่อสังคมออนไลน์ หรือใช้รหัสบัตรเดบิตหรือเครดิตชำระค่าสินค้า หรือไปแอบอ้างทำเรื่องที่ผิดกฎหมาย ประกอบกับที่ผ่านมาพนักงานสอบสวน บช.สอท. ได้รับแจ้งความร้องทุกข์จากผู้เสียหายหลายรายว่า ตนได้ทำธุรกรรมทางการเงินผ่านเว็บไซต์ของธนาคารแห่งหนึ่ง จากนั้นเงินในบัญชีของผู้เสียหายก็ถูกโอนออกไปโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยจากการตรวจสอบพบว่า ผู้เสียหายได้เข้าไปค้นหาเว็บไซต์ของธนาคารผ่านทางเว็บไซต์ Google มิจฉาชีพได้ใช้เทคนิคทำให้ปรากฏเว็บไซต์ธนาคารปลอมขึ้นมาเป็นลำดับแรก คือ kasikornbank.tcbonilne.de ผู้เสียหายหลงเชื่อว่าเป็นเว็บไซต์ของธนาคารจริง จึงได้เข้าไปกรอกรหัสผู้ใช้งาน และรหัสผ่านของธนาคาร เพื่อที่จะเข้าสู่ระบบการทำธุรกรรม จึงทำให้มิจฉาชีพนำข้อมูลที่ได้ไปกรอกในเว็บไซต์ของธนาคารจริง และรอรหัสใช้ครั้งเดียว (OTP) จากผู้เสียหายอีกครั้ง ซึ่งผู้เสียหายจะได้รับเข้ามาทางข้อความสั้น (SMS) แต่ไม่ทันสังเกตคิดว่าเป็นการยืนยันตัวตนเข้าสู่ระบบธนาคาร แต่กลับเป็นการยืนยันการโอนเงินของมิจฉาชีพไปยังบัญชีม้าที่เตรียมไว้ ทำให้ได้รับความเสียหาย

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ให้ความสำคัญ และมีความห่วงใยต่อภัยการหลอกลวงผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ สร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง โดยได้กำชับไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งวางมาตรการในการป้องกันและปราบปรามอย่างต่อเนื่อง และจริงจัง

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร., พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รอง ผบ.ตร. ซึ่งรับผิดชอบในด้านงานป้องกันปราบปราม ได้กำชับสั่งการให้หน่วยงานในสังกัดเร่งดำเนินการปราบปรามจับกุมผู้กระทำผิดอย่างต่อเนื่อง รวมถึงวางมาตรการป้องกันสร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ ที่ผ่านมา กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี โดย พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท. ได้ขับเคลื่อนตามนโยบายของรัฐบาล และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดในโลกออนไลน์ทุกรูปแบบ

ตำรวจไซเบอร์ เตือนภัยมิจฉาชีพโทรศัพท์หาเหยื่ออ้างเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ส่งลิงก์ให้ติดตั้งแอปพลิเคชันดูดเงิน

พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) ขอประชาสัมพันธ์เตือนภัย กรณีเตือนภัยมิจฉาชีพโทรศัพท์หาเหยื่ออ้างเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ส่งลิงก์ให้ติดตั้งแอปพลิเคชันดูดเงิน ดังนี้

การหลอกลวงในรูปแบบที่ประชาชนมักเรียกว่า 'แอปพลิเคชันดูดเงิน' นั้น ที่ผ่านมาจากการตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลของ บช.สอท. ประกอบกับรายงานสมาคมธนาคารไทย (TB-CERT) พบว่ารูปแบบส่วนใหญ่จะปรากฎอยู่ 3 รูปแบบหลัก ๆ ในรูปแบบแรก คือ การหลอกลวงให้ติดตั้งโปรแกรมประเภทรีโมต เช่น TeamViewer, AnyDesk เป็นต้น เพื่อทำการควบคุมโทรศัพท์โอนเงินออกจากบัญชีของเหยื่อในทันที ในรูปแบบถัดมาซึ่งเป็นรูปแบบที่มิจฉาชีพใช้ก่อเหตุมากที่สุด คือ การหลอกลวงให้ติดตั้งแอปพลิเคชันปลอม หรือแอปพลิเคชันอันตราย (.apk) แล้วทำให้เสมือนว่าหน้าจอโทรศัพท์ของเหยื่อค้าง หรืออยู่ระหว่างการติดตั้ง จากนั้นมิจฉาชีพก็จะเข้ามาควบคุมโทรศัพท์โอนเงินออกจากบัญชีเหยื่อในทันที เช่น แอปพลิเคชันปลอมของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI), กรมสรรพากร, สายการบิน Thai Lion Air, บริษัท ไทยประกันชีวิต และกระทรวงพาณิชย์ เป็นต้น และในรูปแบบสุดท้าย คือ การหลอกลวงให้ติดตั้งแอปพลิเคชันปลอม หรืออันตราย (apk.) เพื่อเข้ามาควบคุมโทรศัพท์ของเหยื่อ โดยจะแตกต่างจากรูปแบบก่อนหน้านี้ คือ มิจฉาชีพจะยังไม่โอนเงินออกจากบัญชีเหยื่อในทันที แต่จะเฝ้ารอดักเก็บข้อมูล รหัสการทำธุรกรรมการเงิน รอจนเหยื่อเผลอแล้วจึงโอนเงิน เช่น กรณีที่ผู้เสียหายเชื่อว่าเงินถูกโอนออกจากบัญชีเพราะสายชาร์จโทรศัพท์ แต่จากการตรวจสอบภายหลังพบว่าเกิดจากการติดตั้งแอปพลิเคชันหาคู่ปลอม เช่น Sweet meet, Bumble, Snapchat, Kakao Talk เป็นต้น

แต่ในปัจจุบันยังคงพบว่ามีประชาชนหลงเชื่อตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพอย่างต่อเนื่อง โดยปรากฏเป็นข่าวในสื่อสังคมออนไลน์ กรณีผู้เสียหายถูกมิจฉาชีพอ้างเป็นเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ออกอุบายให้ผู้เสียหายติดตั้งแอปพลิเคชันของหน่วยงาน เพื่อเป็นการอัปเดตข้อมูลนิติบุคคล และงบการเงินของบริษัทผู้เสียหาย จากนั้นมิจฉาชีพได้ให้ผู้เสียหายเพิ่มเพื่อนทางไลน์แล้วส่งลิงก์ให้ติดตั้ง ผู้เสียหายหลงเชื่อติดตั้งแอปพลิเคชันปลอมดังกล่าว ตั้งค่าโทรศัพท์ตามที่มิจฉาชีพแจ้ง กระทั่งทำให้เงินถูกโอนออกจากบัญชีหลายครั้ง สูญเสียเงินหลายล้านบาท โดยขณะนี้ทางคดีพนักงานสอบสวน บช.สอท. อยู่ระหว่างการสอบสวนปากคำผู้เสียหายเพิ่มเติม และอยู่ระหว่างสืบสวนรวบรวมพยานหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินดดีกับผู้กระทำความผิดตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ให้ความสำคัญ และมีความห่วงใยต่อภัยการหลอกลวงผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแอบอ้างเป็นหน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่รัฐ หรือโครงการของรัฐ ไปหลอกลวงเอาทรัพย์สินของประชาชน สร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ซึ่งรับผิดชอบงานป้องกันปราบปรามอาชญากรรม ได้กำชับสั่งการให้หน่วยงานในสังกัดเร่งดำเนินการปราบปรามจับกุมผู้กระทำผิดอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง รวมถึงวางมาตรการป้องกันสร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ

ที่ผ่านมา กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี โดย พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชาผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ได้ขับเคลื่อนตามนโยบายของรัฐบาล และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการป้องกันปราบปรามการกระทำความผิดในโลกออนไลน์ทุกรูปแบบ

โฆษก บช.สอท. กล่าวอีกว่า การหลอกลวงในลักษณะดังกล่าว ถือเป็นหนึ่งในแผนประทุษของมิจฉาชีพที่นำมาใช้ในการหลอกลวงประชาชน แต่ก็ยังเป็นแผนประทุษกรรมเดิมๆ โดยมิจฉาชีพจะติดต่อไปหาเหยื่อตามช่องทางต่างๆ เช่น การโทรศัพท์หาเหยื่อโดยตรง, การส่งข้อความสั้น (SMS) หรือผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ โดยใช้ชื่อหน่วยงานต่างๆ จากนั้นจะหลอกให้เพิ่มเพื่อนโดยใช้บัญชีไลน์หน่วยงานปลอม พูดคุยสร้างความน่าเชื่อถือแล้วส่งลิงก์ให้เหยื่อติดตั้งแอปพลิเคชันปลอม ให้กรอกหมายเลขโทรศัพท์มือถือ ให้ตั้งรหัสผ่าน PIN 6 หลัก จำนวนหลายครั้ง รวมไปถึงการขออนุญาตติดตั้งแอปพลิเคชันที่อันตราย และไม่รู้จัก การขอสิทธิ์ในการเข้าถึงและควบคุมอุปกรณ์ กระทั่งมิจฉาชีพเข้าถึงและควบคุมอุปกรณ์ของเหยื่อ แล้วนำรหัส PIN 6 หลัก ที่เหยื่อกรอกไว้ในตอนแรกมาใช้ยืนยันการทำธุรกรรมการเงินโอนเงินออกจากบัญชีของเหยื่อ นอกจากนี้มิจฉาชีพจะปรับเปลี่ยนชื่อหน่วยงานที่แอบอ้าง หรือเปลี่ยนเนื้อเรื่องที่หลอกลวงไปตามสถานการณ์ หรือวันเวลาในช่วงนั้นๆ 

อย่างไรก็ตาม บช.สอท. ยังคงมุ่งมั่นปราบปราม กดดัน จับกุมผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดีตามกฎหมาย รวมถึงสร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ และขอฝากไปยังภาคประชาชนช่วยแจ้งเตือนบุคคลใกล้ชิด หรือรายงานไปยังหน่วยงานรัฐ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเร็ว 

ออกหมายจับ ‘บิ๊ก’ น้องชาย ‘เบนซ์ เดม่อน’ พร้อมพวกรวม 7 คน เอี่ยว ‘มาเก๊า 888’

(27 ก.พ. 66) พนักงานสอบสวน กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) หรือตำรวจไซเบอร์ นำหลักฐานขออำนาจศาลอาญา ออกหมายจับนายกิตติพงษ์ ขจรบุญถาวร หรือ ‘บิ๊ก’ น้องชายคนที่ 3 ของ ‘เบนซ์ เดม่อน’ ในพี่น้องตระกูล 4 บ. ในข้อหา “ร่วมกันเป็นผู้จัดให้มีการเล่น หรือทำอุบายล่อ ช่วยประกาศการโฆษณาหรือชักชวนโดยตรงหรือทางอ้อมให้ผู้อื่นเข้าเล่นหรือเข้าพนันในการเล่น ซึ่งไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน และข้อหาร่วมกันฟอกเงิน”

นอกจากนายกิตติพงษ์แล้ว ศาลยังอนุมัติหมายจับอีก 6 คน ได้แก่ นายวัลลภ อายุ 61 ปี, น.ส.ภูลดา อายุ 32 ปี, นายณัฐกร อายุ 31 ปี, น.ส.ศิริลักษณ์ อายุ 25 ปี, นายสมสิทธิ์ อายุ 30 ปี และ น.ส.ธนัฎฐา อายุ 39 ปี ในข้อหาเดียวกัน เนื่องจากชุดสืบสวน พบหลักฐานว่า ทั้งหมดเกี่ยวข้องกับเครือข่ายเว็บไซต์พนันออนไลน์ ‘มาเก๊า 888’ โดยนายณัฐกร ทำหน้าที่ดูแลเต็นท์รถหรู อู่รถหรูให้ ‘เบนซ์ เดม่อน’ ส่วน น.ส.ภูลดา ซึ่งเป็นแฟนของนายบิ๊ก พบว่าเคยผ่านเวทีประกวดเป็นดัชชี่เกิร์ลด้วย

ตำรวจไซเบอร์ เตือนภัยแก๊งคอลเซ็นเตอร์เจ้าหน้าที่ตำรวจตัวปลอมระบาดหนัก

พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ขอฝากเตือนภัยมิจฉาชีพแก๊งคอลเซ็นเตอร์แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจหลอกลวงให้ประชาชนโอนมาตรวจสอบ เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจ ดังนี้

ในปัจจุบันอาชญากรรมทางเทคโนโลยีได้สร้างความเสียหาย และความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งภัยจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ (Call Center) ซึ่งเป็นกลุ่มมิจฉาชีพที่มีรูปแบบการทำงานเป็นทีม หรือเป็นขบวนการ มีการแบ่งหน้าที่กันอย่างชัดเจน หลอกลวงเหยื่อโดยการใช้ความกลัว ความโลภ และความไม่รู้ของประชาชนเป็นเครื่องมือ 

โดยที่ผ่านมาพบว่ามีหลากหลายรูปแบบ เช่น การแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่บริษัทขนส่งสินค้า แจ้งไปยังผู้เสียหายว่าบัญชีธนาคาร หรือพัสดุที่ส่งไปต่างประเทศมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด หรือบัญชีธนาคารของคุณถูกอายัด เป็นหนี้บัตรเครดิต เกี่ยวข้องกับการค้ายาเสพติด การฟอกเงิน มีคดีความ หรือหลอกลวงว่าได้เช็คเงินคืนภาษี หรือหลอกถามข้อมูลส่วนตัวเพื่อนำไปปลอมแปลงในการทำธุรกรรมต่างๆ รวมถึงหลอกให้ติดตั้งแอปพลิเคชันปลอม เป็นต้น

ที่ผ่านมาพนักงานสอบสวน บช.สอท. ได้รับแจ้งความร้องทุกข์จากผู้เสียหายหลายรายว่าถูกมิจฉาชีพแก๊งคอลเซ็นเตอร์แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ สังกัดสถานีตำรวจภูธรแห่งหนึ่ง สร้างความน่าเชื่อถือโดยการแจ้งข้อมูลผู้เสียหาย ได้แก่ ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ ได้อย่างถูกต้อง จากนั้นจะให้ผู้เสียหายทำการแอดไลน์เพิ่มเพื่อนกับสถานีตำรวจปลอมดังกล่าว แล้วทำให้ผู้เสียหายเกิดความกลัวโดยแจ้งว่า ผู้เสียหายมีส่วนเกี่ยวข้องกับการฟอกเงินในคดีต่างๆ พร้อมส่งภาพการจับกุมผู้ต้องหา ภาพบัญชีธนาคารคารของกลาง และเอกสารคำสั่งคณะกรรมการธุรกรรม ของสำนักงาน ปปง. เรื่องการส่งทรัพย์สินเข้าตรวจสอบฯ หรือเอกสารราชการอื่นๆ เช่น หมายเรียก หมายจับ ที่มีชื่อของผู้เสียหาย เป็นต้น รวมไปถึงการเพิ่มความน่าเชื่อถือโดยการใช้ไลน์วิดีโอคอลมายังผู้เสียหาย สวมเครื่องแบบเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ แสดงบัตรประจำตัวข้าราชการ และสร้างสภาพแวดล้อมให้เหมือนอยู่ที่สถานีตำรวจจริง ต่อมามิจฉาชีพจะให้ผู้เสียหายโอนเงินที่มีอยู่ในบัญชีมาเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจ เพื่อตรวจสอบว่ามีความเกี่ยวข้องหรือไม่ กระทั่งผู้เสียหายหลงเชื่อโอนเงินไปยังบัญชีที่มิจฉาชีพเตรียมไว้ ทำให้ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ให้ความสำคัญ และมีความห่วงใยต่อภัยการหลอกลวงผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภัยจากมิจฉาชีพแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ที่ได้โทรศัพท์ไปหลอกลวงเอาทรัพย์สินของประชาชน สร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ซึ่งรับผิดชอบงานป้องกันปราบปรามอาชญากรรม ได้กำชับสั่งการให้หน่วยงานในสังกัดเร่งดำเนินการปราบปรามจับกุมผู้กระทำผิดอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง รวมถึงวางมาตรการป้องกันสร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ

ที่ผ่านมา กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี โดย พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชาผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ได้ขับเคลื่อนตามนโยบายของรัฐบาล และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการป้องกันปราบปรามการกระทำความผิดในโลกออนไลน์ทุกรูปแบบ

การกระทำลักษณะดังกล่าวเข้าข่ายความผิดฐาน “นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ด้วยข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ ในประการที่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับและความผิดฐานฉ้อโกง มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หรือกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง” ซึ่งในฐานความผิดดังกล่าวเป็นความผิดต่อส่วนตัว ผู้เสียหายจะต้องเข้าร้องทุกข์กับพนักงานสอบสวนในท้องที่ เพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด รวมถึงเตรียมหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น หลักฐานการโอนเงิน บันทึกการสนทนา รายการเดินบัญชีธนาคาร เป็นต้น เพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบการดำเนินคดี

โฆษก บช.สอท. กล่าวอีกว่า สิ่งแรกที่มิจฉาชีพมักใช้คือการสร้างความน่าเชื่อถือ ใช้จิตวิทยา เล่นกับอารมณ์ความรู้สึกของคน มีการเขียนบทสนทนาเพื่อให้ดูน่าเชื่อถือ เพื่อทำให้เหยื่อคล้อยตามหลงเชื่อ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย เช่น การใช้ระบบตอบรับอัตโนมัติ IVR (Interactive Voice Response) หรือเทคโนโลยี Deepfake เป็นต้น เพราะฉะนั้นประชาสัมพันธ์ไปยังประชาชน ให้พึงระมัดระวังการรับสายโทรศัพท์หมายเลขที่ไม่คุ้นเคย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหมายเลขที่โทรมาจากต่างประเทศ ปัจจุบันจะมีเครื่องหมาย+697 ให้ท่านตั้งสติ อย่าตื่นตระหนก หลงเชื่อง่ายๆ และอย่าเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลเลขบัตรต่างๆ รหัสใช้ครั้งเดียว หรือ One Time Password (OTP) กับผู้ใดโดยเด็ดขาด


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top