Sunday, 28 May 2023
Y WORLD

คำคมการศึกษา ประจำวันที่ 30 กรกฎาคม 2564

#คำคมการศึกษา ประจำวันที่ 30 กรกฎาคม 2564

✏️"ความรู้" คือ ทรัพย์ชนิดเดียวที่จะมีเพิ่มขึ้น เมื่อมันถูกแบ่งปัน

วิชาชีววิทยา: เรื่อง Glycolysis

THE STUDY TIMES X DekThai Online
.
????วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม
วิชาชีววิทยา: เรื่อง Glycolysis

โดย ครูหมอเมศ กฤษณะ ธรรมศิริ 
ปริญญาตรี คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
#สอนชีววิทยาม.ต้น-ม.ปลาย

#DekThaiOnline
https://dekthai-online.com/browse

.

.
 

คำคมการศึกษา ประจำวันที่ 29 กรกฎาคม 2564

#คำคมการศึกษา ประจำวันที่ 29 กรกฎาคม 2564

✏️ไม่ได้เก่ง ไม่ได้เก๋า ในกระเป๋ามีแต่หนังสือ

วิชาดาราศาสตร์: เรื่อง น้ำขึ้นน้ำลง

THE STUDY TIMES X DekThai Online

????วันพุธที่ 28 กรกฎาคม
วิชาดาราศาสตร์: เรื่อง น้ำขึ้นน้ำลง

โดย คุณน้ำหวาน ภิรมณ กำเนิดมณี
นักเรียนทุน พสวท. (ฟิสิกส์) ปริญญาตรี-ปริญญาเอก สหรัฐอเมริกา
#สอนวิชาฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ เตรียมเข้าม.4

#DekThaiOnline
https://dekthai-online.com/instructor/P'NAMWAN

.

.

คำคมการศึกษา ประจำวันที่ 28 กรกฎาคม 2564

#คำคมการศึกษา ประจำวันที่ 28 กรกฎาคม 2564

✏️ความจริงจัง ตั้งใจ คือ กุญแจไขสู่ความสำเร็จ

๒๘ กรกฎาคม วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐ ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ 

เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พุทธศักราช 2495 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ได้รับพระราชทานพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ


ด้านการศึกษา 
เดือนกันยายน พุทธศักราช ๒๔๙๙ ขณะที่ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ มีพระชนมายุ ๔ พรรษา ทรงเข้าศึกษาชั้นอนุบาลปีที่ ๑ ณ โรงเรียนจิตรลดา 

ต่อมาพุทธศักราช ๒๕๐๙ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไปทรงเข้ารับการศึกษาต่อระดับประถมศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ ที่โรงเรียนคิงส์มีด เมืองซีฟอร์ด แคว้นซัสเซ็กส์ และในเดือนกันยายนปีเดียวกัน ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนมิลล์ฟิลด์ เมืองสตรีท แคว้นซัมเมอร์เซต จนถึงเดือนกรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๑๓

ในเดือนสิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๑๓ ได้เสด็จพระราชดำเนินจากประเทศอังกฤษไปทรงศึกษาวิชาการทหารที่โรงเรียนคิงส์ เขตพารามัตตา นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเป็นโรงเรียนเตรียมทหาร หลังทรงแสดงความสนพระราชหฤทัยในกิจการเกี่ยวกับกองทัพและกิจการทหาร พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสด็จพระราชดำเนินไปศึกษาเป็นเวลา ๕ สัปดาห์

พุทธศักราช ๒๕๑๕ ทรงเข้าศึกษาในวิทยาลัยการทหารชั้นสูงที่วิทยาลัยการทหารดันทรูน กรุงแคนเบอร์รา ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งหลักสูตรของวิทยาลัยการทหารแห่งนี้แบ่งออกเป็น ๒ ภาค คือ 

ภาควิชาการทหาร รับผิดชอบและดำเนินการโดยกองทัพบก ออสเตรเลีย นักเรียนที่สำเร็จตามหลักสูตรนี้จะได้เป็นนายทหารยศร้อยโท ส่วนอีกภาคหนึ่งเป็นการศึกษาวิชาสามัญ ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ รับผิดชอบการวางหลักสูตร แบ่งออกเป็นสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ อักษรศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ 

นักเรียนนายร้อยที่ผ่านหลักสูตรดังกล่าวจะได้รับปริญญาตรีตามสาขาวิชาที่เลือกศึกษา โดยพระองค์ทรงเลือกศึกษาในสาขาวิชาอักษรศาสตร์ ทรงสำเร็จการศึกษา พุทธศักราช ๒๕๑๙

เมื่อเสด็จนิวัตประเทศไทย ทรงรับราชการทหารและทรงศึกษาต่อที่โรงเรียนเสนาธิการทหารบก รุ่นที่ ๔๖ 
พุทธศักราช ๒๕๒๐ 

ทรงเข้าศึกษาในสาขาวิชานิติศาสตร์ รุ่นที่ ๒ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พุทธศักราช ๒๕๒๕ ทรงสำเร็จการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ ๒)

นอกจากนี้ ยังทรงศึกษาต่อยังวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร และทรงรับการฝึกอบรมหลักสูตรทางการทหาร การบินอีกหลายหลักสูตร ทรงผ่านการฝึกอบรมเครื่องบินรบจนมีพระปรีชาสามารถและมีจำนวนชั่วโมงบินสูงมาก รวมทั้งทรงศึกษาหลักสูตรนักบินพาณิชย์ จากสถาบันการบินพลเรือน ทรงสอบได้ใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ตรี

เมื่อพุทธศักราช ๒๕๔๗ ทรงเข้าศึกษาหลักสูตรนักบินพาณิชย์เอก จากบริษัท การบินไทย และทรงสำเร็จการศึกษาและการบินด้วยเครื่องบินพาณิชย์จริง ทรงได้รับใบอนุญาตเป็นกัปตันเครื่องบินโบอิ้ง ๗๓๗ ด้วยความสนพระราชหฤทัยและวิริยอุตสาหะทำให้พระองค์ทรงมีพระปรีชาชาญด้านการบิน รอบรู้ทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ จนได้รับพระนามให้เป็น “เจ้าฟ้านักบิน”

พระราชกรณียกิจ ด้านการศึกษา

รัชกาลที่ ๑๐ ทรงตระหนักในคุณค่าและความสําคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จึงสนับสนุนด้านการศึกษาสามารถนํามาใช้ประกอบอาชีพ รวมถึงสามารถพัฒนาสังคมและประเทศชาติได้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับโรงเรียนมัธยมศึกษาในถิ่นทุรกันดาร ๖ แห่ง ไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้แก่

๑. โรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา ๑ จ.นครพนม
๒. โรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา ๒ จ.กำแพงเพชร
๓. โรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา ๓ จ.สุราษฎร์ธานี
๔. โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๑ จ.อุดรธานี
๕. โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ จ.สงขลา
๖. โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๓ จ.ฉะเชิงเทรา

นอกจากนี้ มีพระราชดําริให้นําพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์และทรัพย์จากผู้บริจาคโดยเสด็จพระราชกุศลมาจัดทํา “โครงการทุนการศึกษา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร” ขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี ๒๕๕๒ 

ต่อมาทรงมีพระราชดําริให้จัดตั้ง “มูลนิธิทุนการศึกษาพระราชทาน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร” หรือ ม.ท.ศ. เมื่อวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ เพื่อเสริมสร้างโอกาสทางการศึกษาแก่เยาวชนที่เรียนดี ขยันหมั่นเพียร ประพฤติดี มีคุณธรรม และฐานะยากจน ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างมั่นคง 

สนับสนุนทุนการศึกษาเยาวชนที่กำลังจะเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ มีโอกาสศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายไปจนจบปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาที่สอดคล้องกับความรู้ความสามารถ และความต้องการของผู้เรียนโดยไม่มีภาระผูกพันต้องใช้ทุนคืน เมื่อจบการศึกษาจะเปิดโอกาสให้เข้าทำงานเป็นข้าราชบริพารในพระองค์ฯ ตามความสมัครใจ

พระราชกรณียกิจ ด้านทหารและการบิน 

รัชกาลที่ ๑๐ ทรงสนพระราชหฤทัยในวิทยาการด้านการทหาร มาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ นอกจากทรงรับการศึกษาทางด้านการทหารจากประเทศออสเตรเลียแล้ว ยังทรงพระราชวิริยอุตสาหะในการเพิ่มพูนความรู้และพระประสบการณ์ด้านการทหารอยู่ตลอดเวลา

โดยหลังสิ้นสุดการศึกษาด้านการทหารจากประเทศออสเตรเลียแล้ว ยังทรงเข้ารับการฝึกเพิ่มเติมระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนตุลาคม ๒๕๑๙ และทรงศึกษางานทางการทหารในประเทศออสเตรเลีย โดยทุนกระทรวงกลาโหม ทรงประจำการ ณ กองปฏิบัติการทางอากาศพิเศษ การทำลายและยุทธวิธีรบนอกแบบ หลักสูตรต้นหนชั้นสูง หลักสูตรการลาดตระเวนและต้นหนชั้นสูง หลักสูตรส่งทางอากาศ และหลักสูตรต่าง ๆ ทางด้านการบินอีกมากมาย ทำให้พระองค์ทรงมีพระประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านการบินในระดับสูงมาก

ทรงดำรงพระยศทางทหารของ ๓ เหล่าทัพ คือ

พระยศ พลเอก ของกองทัพบกไทย
พระยศ พลเรือเอก ของกองทัพเรือไทย
พระยศ พลอากาศเอก ของกองทัพอากาศไทย

พระราชกรณียกิจด้านการทหารที่รักษาความมั่นคงของประเทศ พระองค์ทรงเข้าร่วมปฏิบัติการรบในการต่อต้านการก่อการร้ายบริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย รวมทั้งการคุ้มกันพื้นที่ในบริเวณรอบค่ายผู้อพยพชาวกัมพูชาที่เขาล้าน จังหวัดตราด

พระราชกรณียกิจ ด้านสังคมสงเคราะห์ 

รัชกาลที่ ๑๐ เสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมชุมชนแออัดของกรุงเทพฯ หลายแห่ง เช่น ชุมชนแออัดพระโขนง เขตคลองเตย เขตยานนาวา พระราชทานพระราชทรัพย์สนับสนุนโครงการของชุมชน เช่น โครงการพัฒนาเด็กเล็กที่ขาดแคลน โครงการปราบปรามยาเสพติด

พระราชกรณียกิจ ด้านการแพทย์และสาธารณสุข 

รัชกาลที่ ๑๐ ทรงสนพระราชหฤทัยในการประกอบพระราชกณียกิจ เช่น เมื่อรัฐบาลได้น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช 21 แห่งทั่วประเทศ พระองค์ก็ได้ทรงพระอุตสาหะเสด็จฯ ไปทรงประกอบพิธีเปิดโรงพยาบาลทุกแห่งและทรงเยี่ยมโรงพยาบาลอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งพระราชทานพระราชทรัพย์สนับสนุนให้มีอุปกรณ์การแพทย์ เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทันสมัย

ด้านกีฬา

รัชกาลที่ ๑๐ ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจทั้งในฐานะผู้แทนพระองค์และในส่วนของพระองค์เอง อาทิ การพระราชทานไฟพระฤกษ์กีฬาเยาวชนแห่งชาติ พระราชทานพระราชวโรกาสให้นักกีฬาไทยผู้นำความสำเร็จ นำเกียรติยศ มาสู่ประเทศชาติ เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับพระราชทานรางวัลนักกีฬายอดเยี่ยม รับพระราชทานพร และทรงแสดงความชื่นชมยินดีที่นำความสำเร็จ นำเกียรติยศมาสู่ตนเอง สู่วงศ์ตระกูล และประเทศชาติ

เมื่อเดือนธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๔๑ ได้เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงประกอบพิธีเปิดกีฬาเอเชียนเกมส์ ทำให้นักกีฬามีขวัญและกำลังใจในการแข่งขัน ประสบชัยชนะนำเหรียญรางวัลมาสู่ประเทศไทยเป็นจำนวนมาก

พระองค์ทรงเป็นประธานในกิจกรรม Bike for Mom ปั่นจักรยานเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๓ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๘ โดยวัตถุประสงค์นอกจากจะให้ประชาชนแสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ แสดงออกถึงความรักที่มีต่อแม่ของตนและแม่ของแผ่นดินแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมสุขภาพในการร่วมออกกำลังกาย ทำให้สุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง และปลูกฝังให้ประชาชนรักการออกกำลังกาย รวมถึงเสริมสร้างความมีน้ำใจเป็นนักกีฬาอีกด้วย

กิจกรรม Bike For Dad “ปั่นเพื่อพ่อ” เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๘ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๘ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร โดยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงนำขบวนผู้ที่มาเข้าร่วมกิจกรรมปั่นจักรยานเฉลิมพระเกียรติ

ด้านพระศาสนา 

รัชกาลที่ ๑๐ ทรงเสด็จฯ แทนพระองค์ไปปฏิบัติพระราชกรณียกิจทางศาสนาเป็นประจำสม่ำเสมอ เช่น ทรงเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ตามฤดูกาล รวมถึงการเสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานถ้วยรางวัล การทดสอบการอัญเชิญพระมหาคัมภีร์อัลกุรอ่านระดับประเทศ

ด้านเกษตรกรรม 

เมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในการพระราชพิธีพืชมงคล ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นประจำ 

รวมทั้งทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้านเกษตรกรรมแทนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร มาโดยตลอด และทรงติดตามความก้าวหน้าด้านการชลประทาน การสร้างเขื่อนต่าง ๆ โดยพระราชทานแนวพระราชดำริให้กรมชลประทานแก้ปัญหาตามที่ชาวบ้านกราบทูล ทำให้มีน้ำใช้ในการเกษตรอย่างอุดมสมบูรณ์และช่วยบรรเทาปัญหาอุทกภัยในฤดูฝน และพระองค์มีโครงการในพระราชดำริมากมายอย่าง โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณหนองอึ่ง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ยโสธร โครงการพัฒนาพื้นที่บ้านกูแบซีรา และ โครงการเกษตรวิชญา ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น


แหล่งที่มา 
https://king.kapook.com/kingrama10/index.html
https://news.thaipbs.or.th/content/258223
.

กระทรวงวัฒนธรรม
ขอเชิญชวนประชาชนร่วมลงนามถวายพระพร
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา
วันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๔
ระหว่างวันที่ ๑๕-๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๔
ได้ที่ลิงก์ https://bless.m-culture.go.th/king/

????นักเรียน-นักศึกษาเฮ‼️ ครม.เคาะ มาตรการช่วยเหลือภาคเรียนที่ 1/64 ทั้งโรงเรียนและมหาวิทยาลัย รัฐ-เอกชน ช่วยผู้ปกครอง 2 พัน ลดค่าเทอมรัฐสูงสุด 50% เอกชนช่วย 5 พันต่อคน

นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เห็นชอบในหลักการมาตรการให้ความช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของครัวเรือนและประชาชน ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับอุดมศึกษา ภาครัฐและเอกชน ดังนี้

1. กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ) กรอบวงเงิน 23,000 ล้านบาท สำหรับนักเรียนในระบบการศึกษาไทย ภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2564 

✅สนับสนุนค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ปกครอง 2,000 บาท/นักเรียน 1 คน
✅จัดสรรค่าใช้จ่ายให้แก่สถานศึกษาเพื่อช่วยจัดการเรียนรู้
✅ลดหรือตรึงค่าใช้จ่ายในโรงเรียนเอกชนให้เท่ากับปีการศึกษา 63

2. สถาบันอุดมศึกษาภาครัฐและเอกชน ของ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กรอบวงเงิน 10,000 ล้านบาท

กลุ่มเป้าหมาย คือ นิสิต/นักศึกษาชาวไทย ระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา ในสถาบันอุดมศึกษาภาครัฐและเอกชน ระยะเวลา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564

แนวทางการดำเนินการ
????สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ จะได้รับส่วนลดเป็นลักษณะร่วมจ่ายระหว่างรัฐและสถาบันอุดมศึกษาในอัตรา 6:4 โดยค่าเล่าเรียน/ค่าธรรมเนียมการศึกษาส่วนที่

✅ไม่เกิน 50,000 บาท ลดร้อยละ 50  
✅50,001 - 100,000 บาท ลดร้อยละ 30 
✅เกิน 100,000 บาท ลดร้อยละ 10 โดยส่วนลดสูงสุดรวมกันไม่เกินร้อยละ 50

????สถาบันอุดมศึกษาของเอกชน ค่าเล่าเรียน/ค่าธรรมเนียมการศึกษา รัฐสนับสนุนในอัตรา 5,000 บาท/คน

นอกจากนี้ กระทรวง อว. ยังขอให้พิจารณาเพิ่มเติม ทั้งขยายเวลาผ่อนชำระ จัดหาอุปกรณ์/โปรแกรมสำหรับยืมเรียนออนไลน์ รวมทั้งลดค่าหอพักด้วย

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยังเปิดเผยว่า ศธ. และ อว. จะได้เร่งจัดทำข้อเสนอโครงการเพื่อขอรับสนับสนุนแหล่งเงิน ตามขั้นตอนของ พ.ร.ก. กู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 รวมทั้งจะมีการกำหนดกลไกการตรวจสอบยืนยันตัวตนของผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือและการจ่ายเงินให้ความช่วยเหลือผ่านระบบบัญชีธนาคาร พร้อมเร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้และเข้าใจถึงหลักการและแนวทางการให้ความช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของครัวเรือนและประชาชนต่อไป


ที่มา: https://mgronline.com/politics/detail/9640000073472

วิชา BMAT: เรื่อง แนวข้อสอบ BMAT Problem Solving

THE STUDY TIMES X DekThai Online

????วันอังคารที่ 27 กรกฎาคม
วิชา BMAT: เรื่อง แนวข้อสอบ BMAT Problem Solving

โดย ครูจึ๋ง สมนึก สงวนตระกูล
นักเรียนทุนรัฐบาลญี่ปุ่น Monbusho
เกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง Computer Engineering Osaka University
#BMAT เรียนเตรียมสอบแพทย์ Critical Thinking, Problem Solving, Maths & Science

#DekThaiOnline
https://dekthai-online.com/browse

.

.

คำคมการศึกษา ประจำวันที่ 27 กรกฎาคม 2564

#คำคมการศึกษา ประจำวันที่ 27 กรกฎาคม 2564

✏️รักเรียนจะมีความรู้ รักเธออยู่จะรู้เมื่อไร

คำคมการศึกษา ประจำวันที่ 26 กรกฎาคม 2564

#คำคมการศึกษา ประจำวันที่ 26 กรกฎาคม 2564

✏️การศึกษา คือ หนทางที่จะเปลี่ยนแปลงอนาคต

THE STUDY TIMES X DekThai Online สัปดาห์ที่สิบเอ็ด พบกับวิดีโอสรุปเนื้อหา เทคนิค แนวข้อสอบ แต่ละรายวิชา

????THE STUDY TIMES X DekThai Online สัปดาห์นี้

????วันจันทร์ที่ 26 กรกฎาคม - วันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

⏰ทุกวัน เวลา 18.00 น.

พบกับวิดีโอสรุปเนื้อหา เทคนิค แนวข้อสอบ 5 รายวิชา 

????วันจันทร์ที่ 26 กรกฎาคม
วิชาคณิตศาสตร์: เรื่อง ทฤษฎีจำนวน สำหรับ สอวน.

โดย ครูพี่ปุ๊ องอาจ สุภัคชูกุล 
อดีตตัวแทนคณิตศาสตร์โอลิมปิก นักเรียนทุนรัฐบาลญี่ปุ่น
#สอนวิชาคณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ ม.ต้น-ม.ปลาย  

????วันอังคารที่ 27 กรกฎาคม
วิชา BMAT: เรื่อง แนวข้อสอบ BMAT Problem Solving

โดย ครูจึ๋ง สมนึก สงวนตระกูล
นักเรียนทุนรัฐบาลญี่ปุ่น Monbusho
เกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง Computer Engineering Osaka University
#BMAT เรียนเตรียมสอบแพทย์ Critical Thinking, Problem Solving, Maths & Science

????วันพุธที่ 28 กรกฎาคม
วิชาดาราศาสตร์: เรื่อง น้ำขึ้นน้ำลง

โดย คุณน้ำหวาน ภิรมณ กำเนิดมณี
นักเรียนทุน พสวท. (ฟิสิกส์) ปริญญาตรี-ปริญญาเอก สหรัฐอเมริกา
#สอนวิชาฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ เตรียมเข้าม.4

????วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม
วิชาชีววิทยา: เรื่อง Glycolysis

โดย ครูหมอเมศ กฤษณะ ธรรมศิริ 
ปริญญาตรี คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
#สอนชีววิทยาม.ต้น-ม.ปลาย

????วันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม
วิชาปัญญาเลิศ 1: เรื่อง การเคลื่อนที่

โดย ดร.ถาวร ตันหยงมาศกุล (อ.บู้)
การศึกษาดุษฎีบัณฑิต หลักสูตรและการสอนมหาวิทยาลัยบูรพา ปริญญาเอก
#คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ระดับ ป.5-ม.3

????ช่องทางรับชม 
Facebook และ YouTube: THE STUDY TIMES

วิชาชีววิทยา: เรื่อง Brain

THE STUDY TIMES X DekThai Online

????วันอาทิตย์ที่ 25 กรกฎาคม

วิชาชีววิทยา: เรื่อง Brain

โดย ครูหมอเมศ กฤษณะ ธรรมศิริ

ปริญญาตรี คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

#สอนชีววิทยาม.ต้น-ม.ปลาย

#DekThaiOnline

https://dekthai-online.com/browse

.

.

คำคมการศึกษา ประจำวันที่ 25 กรกฎาคม 2564

#คำคมการศึกษา ประจำวันที่ 25 กรกฎาคม 2564

✏️ สอบมีสองอย่าง อ่านแทบไม่ได้นอน กับ นอนแทบไม่ได้อ่าน

คุณอาร์ต ดร.พิบูลย์ ชุมพลไพศาล | Click on Clever EP.13

บทสัมภาษณ์ รายการ Click on Clever EP.13
ดร.พิบูลย์ ชุมพลไพศาล (คุณอาร์ต) คณบดี วิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

Q: จุดเริ่มต้นการศึกษา จากวิศวกรรมโยธา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สู่ความสนใจด้านศาสนศึกษา 

A: ตอนเรียนอยู่ที่เตรียมอุดมศึกษา ผมได้แบ่งเวลาทั้งในด้านการเรียนและการทำกิจกรรม ผมแบ่งเวลามาอ่านหนังสือทุกวัน กระทั่งสามารถอ่านเนื้อหาของม. 6 จบหมดตั้งแต่ศึกษาอยู่ชั้นม. 5 จึงได้มีโอกาสสอบเทียบเข้าคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ในสมัยนั้นคณะวิศวกรรมมีความโด่งดังมาก คิดว่าจบไปน่าจะมีหน้าที่การงานที่ดี จึงได้เลือกเรียนคณะนี้ หลังจบจากวิศวกรรมโยธาที่จุฬาฯ มา ได้ทำงานในสายของวิศวกรรมประมาณปีครึ่ง 

ในส่วนเรื่องของศาสนานั้นมีความสนใจมาตั้งแต่สมัยมัธยมปลาย โดยส่วนตัวมีความชื่นชอบในการอ่านหนังสือของท่านพุทธทาสภิกขุ เรื่องราวเกี่ยวกับศาสนา และช่วงตอนที่เรียนวิศวกรรมก็ได้อ่านหนังสือเกี่ยวกับศาสนาด้วย 

หลังจากนั้นมีความสนใจในการศึกษาต่อปริญญาโทที่ต่างประเทศ ในตอนแรกอยากเรียนเกี่ยวกับ MBA การจัดการ การบริหาร แต่ก่อนที่จะเรียนได้มีการเรียนปูพื้นฐานภาษาอังกฤษก่อน และได้อ่านหนังสือเกี่ยวกับแนวคิด ปรัชญาตะวันตก ทำให้เกิดความรู้สึกชื่นชอบเกี่ยวกับด้านศาสนามากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งการเรียนศาสนาไม่ได้จบมาเพื่อเป็นนักบวช แต่การเรียนศาสนาเป็นการเรียนเพื่อทำความเข้าใจคน ทั้งในเรื่องของจิตใจ พฤติกรรม วัฒนธรรมของแต่ละบุคคล สังคมต่าง ๆ เลยตัดสินใจที่จะเรียนปริญญาโทในด้านศาสนา ซึ่งในตอนแรกเรียนปริญญาโทที่ King's College London แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากมีอุปสรรคทางภาษาอังกฤษ

โดยอาจารย์ก็ได้พูดกับผมว่า “กลับไปทำงานวิศวะดีกว่า” แต่สุดท้ายผมก็ไม่ยอมแพ้ ฝึกภาษาอังกฤษใหม่หมด โดยฝึกภาษาจากการอ่านหนังสือทุกหมวด ฝึกเขียนภาษาอังกฤษทุกวัน ฝึกพูดภาษาอังกฤษ ใช้เวลาในกับภาษาอังกฤษกับมัน ถ้าเราจะตั้งใจทำอะไรสักอย่างหนึ่ง วันนี้เรายังไม่เก่งไม่เป็นไร ขอให้เราพยายาม ตั้งใจ มีวินัยในความตั้งใจของเรา วันหนึ่งเราก็จะทำได้ 

หลังจากนั้นก็เข้าเรียนปริญญาโท (MA in the Study of Religions, School of Oriental and African Studies (University of London) จนสามารถจบมาด้วยคะแนนสูงสุดของภาควิชา หลังจากนั้นก็ได้รับทุนการศึกษาจากทางมหาวิทยาลัยในการเรียนต่อปริญญาเอก และในระหว่างการเรียน ผมอยากมีประสบการณ์ในด้านศาสนาเพิ่มเติม เลยเริ่มฝึกสอนที่ School of Oriental and African Studies (SOAS) วิชาที่ฝึกสอนจะเป็นแนวทางในการศึกษาทางด้านศาสนา ทฤษฎี ปรัชญาเบื้องต้น เป็นต้น ได้ฝึกสอนเป็นระยะเวลา 5 ปี หลังจากนั้นก็เรียนจบปริญญาเอกและเริ่มทำงานวิจัยเกี่ยวกับคัมภีร์ที่มหาวิทยาลัยอื่น ๆ

 

Q: ทำไมถึงมีความสนใจ หรือ มีอะไรที่ทำให้รู้สึกชื่นชอบในเรื่องของศาสนา
A: ในช่วงมัธยมปลายเรียนสายวิทย์ – คณิต มาก็ได้เข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ แต่พอได้มาอ่านหนังสือเกี่ยวกับศาสนาก็ทำให้ผมเข้าใจอีกมิติหนึ่ง ได้เปิดโลกมิติทางจิตใจ ได้ศึกษากรอบความคิดอีกด้านหนึ่ง ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมมนุษย์ได้ ศาสนามีอิทธิพลต่อคนส่วนใหญ่ในโลก เช่น เรื่องความเชื่อ ความคิด กลายมาเป็นพฤติกรรมของคน ถึงแม้บางคนจะไม่นับถือศาสนาแต่สุดท้ายศาสนาก็จะมีอิทธิพลบางอย่างที่ส่งผลในด้านของพฤติกรรมคน ๆ นั้นอย่างไม่รู้ตัว ทำให้รู้สึกสนใจในเรื่องศาสนาเป็นพิเศษ

Q: แก่นแท้ของศาสนาในความคิด ดร.อาร์ตคืออะไร  
A: จากที่ได้ศึกษามา ในความคิด คนส่วนใหญ่มีความเชื่อในเรื่องศาสนาใดศาสนาหนึ่ง หรือถ้าไม่ได้เชื่อในเรื่องศาสนา คนเหล่านั้นก็จะมีความเชื่อบางอย่าง เช่น ความเชื่อในเรื่องเกี่ยวกับพระเจ้า ศาสนาพุทธก็จะมีความเชื่อในเรื่องของกฎแห่งกรรม โดยอย่างแรกคำสอนของแต่ละศาสนาทำให้คนเรามองในเรื่องของการทำความดี อย่างที่สองเป็นกระบวนการในเรื่องของการพัฒนาจิตใจและการพัฒนาตัวเอง ในปัจจุบันมีคนพูดถึง Growth Mindset อย่าง ทัศนคติเชิงบวก ความคิด จริง ๆ เป็นภาพสะท้อนออกมา ถ้าเราได้เรียนในเรื่องของศาสนาจะมีความรู้หลายอย่างมาก ทำให้เรามารถพัฒนาตัวเราเองได้ดีหลาย ๆ เรื่อง ยิ่งเราเรียนรู้ศาสนา เข้าใจสังคมที่มีความหลากหลาย ทำให้เราสามารถใช้ชีวิตกับผู้คนที่มีความเชื่อที่ความหลากหลายมากยิ่งขึ้น โดยมีเป้าหมายเหมือนกันคืออยากทำให้สังคมดีขึ้น สุดท้ายแล้วศาสนาก็จะสอนให้เราตั้งเป้าหมาย มองโลกในแง่บวก พัฒนาตัวเองให้ไปสู่จุดที่เราต้องการได้ 

Q: ศาสนากับวิทยาศาสตร์มีความเชื่อมโยงกันหรือไม่ 
A: เหมือนเป็นโลกคู่ขนาน วิทยาศาสตร์เป็นเหมือนกายภาพ แต่ศาสนาเป็นเหมือนองค์ความรู้ เป็นความรู้ที่พัฒนาทางด้านจิตใจและพฤติกรรม ที่ผ่านมาเราอาจจะได้ยินว่าโลกของเราเรียนวิทยาศาสตร์มาก จริง ๆ แล้วคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิต เขามีทักษะในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาจิตใจ คิดบวก มีการพัฒนาศักยภาพ ยิ่งเราสามารถพัฒนาตัวเองได้เท่าไร เราจะยิ่งประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น 

Q: คัมภีร์ใบลานคืออะไร? และมีการศึกษาอย่างไร 
A: ในช่วงที่ได้เรียนปริญญาโท การเรียนจะเน้นการอ่านหนังสือเป็นส่วนใหญ่ แต่พอมาทำวิจัย เราจะต้องสืบค้นจากข้อมูลปฐมภูมิ หลาย ๆ คนก็อาจจะรู้จักศิลาจารึกซึ่งเป็นข้อมูลปฐมภูมิทางด้านประวัติศาสตร์ แต่รายละเอียดจะไม่ค่อยมาก แต่คัมภีร์ใบลานจะมีรายละเอียดมากยิ่งขึ้น จะมีศาสตร์มากมาย เช่น ตำรายา คณิตศาสตร์ วัฒนธรรม ความคิด เป็นองค์ความรู้ทั่วโลกที่บางคัมภีร์มีอายุเป็นพันกว่าปี เป็นสิ่งที่ผมสนใจ เมื่อก่อนด้านตะวันตก จะมีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แต่สมัยก่อนในเอเชียก็มีศาสตร์ความรู้ไม่แพ้กัน แต่ส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์ออกมา ยังอยู่ในรูปแบบของการใช้เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน หรือสมุดไทย สมุดข่อย ทางด้านตะวันตกมีความชื่นชอบในศาสตร์ความรู้พวกนี้มาก มีการวิจัยและเก็บรักษาอย่างดี แต่ในประเทศไทยไม่ได้มีการศึกษาอย่างจริงจัง และผมเชื่อว่าคัมภีร์ใบลานสามารถต่อยอดความรู้ การศึกษาในแต่ละด้านได้ 

ส่วนในเรื่องของการศึกษาคัมภีร์ใบลาน ผมจะเข้าไปในพื้นที่ ๆ มีคัมภีร์ใบลาน จัดทำบัญชีรายชื่อ ทำผังข้อมูล ถ่ายภาพเก็บเอาไว้ และนำข้อมูลในคัมภีร์ใบลาน ซึ่งมีภาษาต่าง ๆ มากมาย มีทั้งอักษรขอม ภาษาไทย ภาษาล้านนา ภาษาพม่า ใช้เวลาในการศึกษาค่อนข้างนาน และนำข้อมูลมารวมกัน เพื่อทำเป็นผลงานวิจัยออกมา 

Q: องค์ความรู้ที่ได้จากคัมภีร์ใบลานเป็นองค์ความรู้อะไรบ้าง 
A: องค์ความรู้หรือข้อมูลที่ได้จากคัมภีร์ใบลานมีทั้งข้อมูลทางกายภาพ มีตั้งแต่ การบันทึกวัฒนธรรม อารยธรรมทางประวัติศาสตร์ของแต่ละภูมิภาค แต่ละประเทศ อย่างพงศาวดารบางส่วนก็เป็นข้อมูลที่ได้มาส่วนใหญ่เป็นการถอดข้อมูลมาจากคัมภีร์ใบลาน ทำให้เรามีความรู้เกี่ยวกับทางด้านประวัติศาสตร์ ข้อมูลทางด้านกฎหมาย ข้อมูลเลขคณิตศาสตร์ ข้อมูลวิทยาศาสตร์ ในสมัยก่อนคัมภีร์ใบลานจะมีการบันทึกข้อมูลพวกนี้เอาไว้ ถ้าในเรื่องของศาสนาและความเชื่อ มีการบันทึกคำสอนและวิธีการปฏิบัติ ของหลาย ๆ ศาสนา และมีการเล่าถึงข้อมูลสำคัญ อย่างเช่นพระมหาเถรในอดีต และความสำคัญในการเผยแพร่ศาสนา ยกตัวอย่างเช่น พระไตรปิฎกที่เราได้อ่านได้ศึกษากันก็ถือได้ว่าเป็นข้อมูลที่เราได้มาจากคีมภีร์ใบลานเหมือนกัน ดังนั้นคัมภีร์ใบลานถือว่าเป็นข้อมูลชั้นปฐมภูมิที่มีความสำคัญอย่างมาก 

Q: การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ผ่านคัมภีร์ใบลานและวิชาศาสนศึกษา มีความสำคัญต่อการเรียนรู้ของทุก ๆ คนอย่างไร 
A:  ในมุมมองส่วนตัวคิดว่ามีความสำคัญมาก ๆ การเรียนในเรื่องของความเชื่อและความคิดของแต่ละคนนั้น สุดท้ายแล้วจะทำให้เราเข้าใจในพฤติกรรมของคน อย่างการเรียนรู้ประวัติศาสตร์สมัยก่อนทำให้เราเข้าใจว่าทำไมคนในอดีตถึงตัดสินใจทำสิ่ง ๆ นั้น หรือ ตัดสินใจแบบนั้น เพราะมีความเชื่อ หรือ ความคิดอย่างไร ส่งผลต่อมาอย่างไร การที่เราเรียนรู้ในเรื่องของประวัติศาสตร์จะทำให้เราเข้าใจในเรื่องของคนปัจจุบันอีกด้วย 

จริง ๆ แล้วคนที่จบในเรื่องของศาสนศึกษาในต่างประเทศสามารถทำงานได้หลายรูปแบบ การเรียนจบทางด้านศาสนศึกษาไม่ว่าจะมีความเชื่อหรือความคิดอย่างไร พอเรียนจบแล้วจะสามารถเปิดโลกทัศน์ที่กว้างขึ้น ทำให้สามารถให้เกียรติและยอมรับสังคมที่เป็นอยู่ให้ได้ พฤติกรรมของคนในหลาย ๆ เชื้อชาติ หลาย ๆ ศาสนา คนที่จบในเรื่องของศาสนศึกษาก็จะสามารถปรับตัวและทำความเข้าใจกับคนในสังคมใหม่ ๆ ได้ ไปทำงานได้หลากหลายสาขาอาชีพ บางครั้งองค์กรหรือบริษัทใหญ่ ๆ ที่สำคัญหลาย ๆ ที่ถึงเปิดรับคนที่จบในสาขานี้ เพราะองค์กรเหล่านั้นต้องการคนทำงานที่เข้าใจคน เพราะการสื่อสารและการเข้าใจคนแบบเข้าใจจริง ๆ  จะมีประสิทธิภาพในการสื่อสาร ทำให้งานหลาย ๆ อย่างสามารถขับเคลื่อนและดำเนินการไปได้อย่างรวดเร็ว 

Q: หลักสูตรการเรียนเกี่ยวกับเรื่องของศาสนศึกษาเป็นอย่างไร 
A: จากประสบการณ์ในการเรียนและการทำงานวิจัยคัมภีร์ใบลาน ในประเทศไทยลักษณะการสอนจะครอบคลุมหมด การเรียนจะเป็นในเชิงกว้าง  ไม่ว่าจะถามเรื่องอะไรก็สามารถตอบได้ แต่ที่ต่างประเทศจะเน้นการเรียนไปในทางเดียว เจาะลึกในประเด็นมากกว่า คนที่เรียนแล้วจบมาจะเก่งเฉพาะทางในด้านนั้น ๆ บางคนเก่งเรื่องศาสนา จิตวิทยา ข้อดีของการเรียนในต่างประเทศคือการเรียนจะมุ่งเน้น โฟกัสไปที่จุด ๆ นั้น คิดทุกอย่างให้เป็นระบบ ตั้งคำถาม บางเรื่องหรือบางอย่างจะเป็นในเรื่องของความเชื่อที่เราเชื่อมาตั้งแต่ต้น ในต่างประเทศจะถูกฝึกให้ตั้งคำถาม ว่าสิ่งที่เราเชื่อมาตลอดเป็นความจริงหรือไม่ จะเรียนในแบบการมอง 2 ด้านตลอด ถูกเพราะอะไร ไม่ถูกเพราะอะไร และสุดท้ายสิ่งที่เราเรียนรู้จะนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร อย่างเช่นทฤษฎีจิตวิยาของฟรอยด์ ฟรอยด์ได้พูดถึงบทบาทความสำคัญของจิตใต้สำนึก ชีวิตของคนแต่คนนั้นผ่านประสบการณ์ชีวิต ทั้งที่สมหวังและก็ไม่สมหวัง บางครั้งการไม่สมหวังในบางอย่างกลายเป็นบาดแผลลึก ๆ ในจิตใจ แล้วกลายเป็นปมของเรา สุดท้ายกลายเป็นจุดด้อยของเรา การเรียนในศาสนศึกษาจะสอนว่าถ้าเมื่อไรที่เราเข้าใจจุดด้อยของคนนั้น ๆ เราสามารถจะไปช่วยแก้ไขสิ่งที่เค้าผิดพลาด ทำให้คน ๆ นั้นสามารถมีชีวิตที่ดีขึ้นได้อีกด้วย 

หลังจากที่ได้รับตำแหน่งคณบดีของวิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ในภาคเรียนมีทั้งอาจารย์ที่เป็นชาวต่างประเทศและอาจารย์ไทย ถ้าเราสามารถพัฒนาปรับหลักสูตรให้เสริมจุดเด่นทั้ง 2 ด้าน มีความรู้ในด้านกว้างและมีการเจาะลึก ฝึกให้คิด รวมไปถึงทักษะใหม่ ๆ การคิดเชิงวิพากษ์ การคิดเชิงนวัตกรรม การคิดเชิงผู้ประกอบการ ได้เรียนรู้แบบผสมผสานกัน เมื่อจบไปแล้วก็สามารถทำงานได้ทั้งในและต่างประเทศ ได้ทำงานในสิ่งที่อยากจะเป็น 

Q: ในวิทยาลัยศาสนศึกษามีกี่ระดับชั้นเรียน
A: ปัจจุบันมีทั้งปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก หลักสูตรในปริญญาตรีก็จะเป็นการปูพื้นฐานความรู้ พอเรียนในระดับชั้นสูงขึ้นก็จะเรียนในการคิดเชิงวิเคราะห์ การคิดเชิงวิพากษ์ คิดเชิงประยุกต์ ได้รับความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างไร ในปริญญาโทและปริญญาเอกจะมีการเรียนรู้หลักสูตรแบบนี้เหมือนกัน แต่จะเจาะลึกเนื้อหาและประเด็นเชิงลึกมากยิ่งขึ้น มีการผลักดันการเรียนและการทำงานในต่างประเทศด้วย มีอาจารย์ในต่างประเทศมาบรรยายออนไลน์ในทุก ๆ เดือนเกี่ยวกับเรื่องของศาสนาในต่างประเทศ

และในอนาคตอาจจะเปิดหลักสูตรที่สามารถเรียนออนไลน์ได้ด้วย โดยจะเริ่มเปิดประมาณปีหน้า เพราะการเรียนรู้เกี่ยวกับจิตใจและศาสนาเป็นความรู้ที่มีประโยชน์ต่อคนทั่วโลก ถ้าเราสามารถนำองค์ความรู้ไปสอนให้กับคนทั่วโลกได้ ก็จะเกิดประโยชน์กับคนหลากหลาย

Q: มุมมองในเรื่องศาสนาของคนยุคใหม่ ที่เริ่มมีความห่างไกลกัน 
A: ถ้าเรามองเทรนด์ของโลก บทบาทของศาสนาเริ่มมีความลดลงอย่างมาก เพราะมีทฤษฎีวิทยาศาสตร์เข้ามา แต่ก่อนเมื่อประมาณ 200 – 300 ปีก่อนหน้านั้น ศาสนาเป็นศูนย์กลางทั้งในเรื่องของจิตใจ และ ความเชื่อ รวมไปถึงการสอนองค์ความรู้ต่าง ๆ อีกด้วย พอวิทยาศาสตร์เข้ามา คนเริ่มเห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์มากกว่า บทบาทของศาสนาเริ่มลดลงไปเรื่อย ๆ พอมาถึงยุคในการล่าอาณานิคม ศาสนาก็เริ่มมีความเชื่อลดลงไปอีก พอมาถึงยุค 50 – 60 ปีที่แล้ว ยุคโลกาภิวัตน์โดยรวมคนให้ความสำคัญกับศาสนาลดน้อยลง แต่ในความเป็นจริงแล้วศาสนามีความสำคัญอยู่มาก คนในยุคโลกาภิวัตน์
เริ่มมีการแลกเปลี่ยนศาสนากัน แลกเปลี่ยนเรื่ององค์ความรู้และความเชื่อ พอมาถึงยุค 20 – 30 ปีที่ผ่านมา คนเริ่มยอมรับคำสอนของศาสนาโดยไม่ต้องบอกว่าตัวเองนับถือศาสนาอะไร แต่เลือกที่จะเชื่อและประยุกต์ใช้ในหลักคำสอนที่เหมาะสมกับตัวเองมากกว่า 

พอมาถึงในยุคปัจจุบัน ยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญกับชีวิตของมนุษย์ คนเริ่มเลือกรับสื่อที่จะมาประยุกต์ใช้กับลักษณะของศาสนาที่มีความเฉพาะตน สุดท้ายแล้วผู้คนอาจจะมีความเชื่อในศาสนาอีกแบบหนึ่ง ในบัตรประชาชนเป็นอีกแบบหนึ่ง แต่ทิศทางโดยภาครวม แม้ภาครวมของคริสต์และอิสลามจะมีช่วงขาลง แต่ศาสนาพุทธในตะวันตกกลับมีคนให้ความสนใจเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ  ในหลายประเทศอย่างออสเตรเลียและอังกฤษยังขาดครูสอนด้านศาสนาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายด้วยซ้ำ 

Q: มีภาพฝันอยากให้วิชาศาสนาจรรโลงคนอย่างไรบ้าง
A: การที่เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับศาสนา ได้เรียนรู้เกี่ยวกับจิตใจ มีประโยชน์มาก ๆ ถ้าเราได้เรียน ค่อย ๆ เจาะลึกไปเรื่อย ๆ อย่างข้อแรก ทำให้เราเข้าใจความหลากหลายของคนและวัฒนธรรมมากขึ้น ต่อมาได้ใช้ความรู้ที่ได้นำไปพัฒนาตนเองและทรัพยากรมนุษย์ด้วย อีกทั้งได้นำความรู้ทางด้านจิตวิทยาไปช่วยบุคคล ซึ่งความเป็นจริงแล้วเรื่องราวในสังคมเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับศาสนาทั้งสิ้น เช่น เศรษฐกิจ การเมือง ประวัติศาสตร์ กฎหมาย เราสามารถนำความรู้ที่ได้จากการเรียนศาสนศึกษาไปประยุกต์ใช้พัฒนาให้เกิดประโชยน์สูงสุด และสุดท้ายเราทุกคนมีคุณค่ามาก ๆ ในตัวของตัวเอง ถ้าได้เรียนรู้เรื่องของจิตใจและนำไปประยุกต์ใช้ เราจะมีบทบาทสำคัญในการมองเห็นคุณค่าของคนและดึงศักยภาพของคนมาสร้างประโยชน์ให้กับสังคมต่อไป 

.

\

.

.

วิชาภาษาอังกฤษ: เรื่อง ตัวอย่างข้อสอบวิชาสามัญ (ภาษาอังกฤษ)

THE STUDY TIMES X ClassOnline

????วันเสาร์ที่ 24 กรกฎาคม
วิชาภาษาอังกฤษ: เรื่อง ตัวอย่างข้อสอบวิชาสามัญ (ภาษาอังกฤษ)

โดย ครูพี่ทาม์ย ฐานุวัชร์ รินนานนท์
ศิลปศาสตร์บัณฑิต สาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา (เรียนเน้นภาษาสเปน) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, อาจารย์ผู้สอนอบรม TOEIC ให้องค์กรภาครัฐและเอกชนระดับประเทศ
#สอนวิชาภาษาอังกฤษ ระดับ ม.ต้น-ม.ปลาย

#ClassOnline
https://www.classonline.co.th/

.

.


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top