(1 พ.ค. 67) จากกรณีแอสตร้าเซนเนก้า ออกมายอมรับครั้งแรกว่า วัคซีนโควิดของบริษัททำให้เกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน และเกล็ดเลือดต่ำ
ล่าสุด ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้เชี่ยวชาญทางอายุรกรรมและระบบประสาท โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวถึงผลกระทบของวัคซีนโควิด mRNA กับการเกิดมะเร็ง โดยมีรายละเอียด ดังนี้
วัคซีนโควิดกับการเกิดมะเร็ง
รายงานจนกระทั่งถึงปลายเดือนเมษายน 2024 ตอกย้ำความเชื่อมโยงของวัคซีน mRNA กับอัตราตายสูงขึ้นอย่างผิดปกติ (statistically significant increases) ของมะเร็งทุกชนิดโดยเฉพาะในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนเอสโตรเจน (estrogen- related cancers) ตามหลังการระดมฉีดเข็มสาม
รายงานจากประเทศญี่ปุ่นในวันที่ 8 เมษายน 2024 ในวารสาร Cureus ในเครือเนเจอร์
โดยที่เป็นการรายงาน ประเมินผลกระทบของการระบาดโควิดในประเทศญี่ปุ่น ทั้งนี้เป็นการวิเคราะห์อัตราการตายของมะเร็ง 20 ชนิดในประเทศญี่ปุ่น โดยใช้ข้อมูลของทางการที่เกี่ยวข้องกับการตาย การติดเชื้อโควิดและการฉีดวัคซีนโควิด โดยเป็น การปรับตัวแปรในช่วงอายุต่างๆ (age adjusted mortality)
ผลที่ได้ถือเป็นการค้นพบ ที่น่าตกใจ ในช่วงหนึ่งปีแรกของการระบาดโควิด ไม่พบการตายที่เกิดจากมะเร็งที่เพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติ (excess cancer deaths) แต่การตาย กลับเพิ่มขึ้นโดยแปรตามการฉีดวัคซีนโควิด
ประเทศญี่ปุ่นมีอัตราการฉีดวัคซีนสูงที่สุด และในปี 2024 กำลังระดมการฉีดวัคซีนโควิดเข็มที่เจ็ด
การระดมฉีดทั้งประเทศญี่ปุ่นเริ่มในปี 2021 และ เริ่มเห็นตัวเลขของการตายจากมะเร็งเพิ่มขึ้นคู่ขนานไปกับการฉีดฉีดวัคซีนเข็มที่หนึ่งและเข็มที่สอง
หลังจากที่มีการฉีดเข็มที่สามในปี 2022 พบว่ามีการตายจากมะเร็งที่เกิดขึ้นอย่างผิดปกติ ในมะเร็งทุกชนิดและโดยเฉพาะกับมะเร็งที่ไวหรือตอบสนองต่อ ฮอร์โมนเอสโตรเจน ที่เรียกว่า estrogen and estrogen receptor alpha( ERalpha)-sensitive cancers โดยรวมทั้งมะเร็งรังไข่ มะเร็งเม็ดเลือดขาว ต่อมลูกหมาก มะเร็งริมฝีปาก ช่องปาก ช่องลำคอ มะเร็งตับอ่อนและมะเร็งเต้านม
สำหรับมะเร็งเต้านมนั้นในช่วงระยะเวลาปี 2020 พบการตายจากมะเร็งเต้านมลดลง แต่แล้วเปลี่ยนมาเป็นเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญในปี 2022 พร้อมกับการระดมฉีดทั่วประเทศของวัคซีนเข็มที่สาม
มะเร็งตับอ่อนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นคงที่ก่อนหน้าระบาดโควิดและมะเร็งอีกห้าชนิดมีแนวโน้มลดลง อย่างไรก็ตามมะเร็งหกชนิดยังมีการตายเพิ่มกว่าที่คาดการณ์ไว้ในในปี 2021 ในปี 2022 หรือในช่วงระยะเวลาทั้งสองปี
ยิ่งไปกว่านั้น มะเร็งสี่ชนิดซึ่งมีการตายสูงอยู่แล้ว ได้แก่มะเร็งปอด ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มะเร็งกระเพาะอาหารและมะเร็งตับ ซึ่งมีการตายลดลงก่อนปี 2020 แต่เมื่อเริ่มมีการใช้วัคซีนนั้นอัตราการตายกลับไม่ลดลงมากดังก่อนมีการระบาด
อัตราตาย ของมะเร็งที่พุ่งขึ้นทั้งๆ ที่ก่อนหน้าการระบาดของโควิดในช่วงระหว่างปี 2010 ถึง 2019 ในประเทศญี่ปุ่น พบว่าการตายจากมะเร็งมีแนวโน้มลดลงในทุกอายุ ยกเว้นที่อายุ 90 หรือสูงกว่า 90 ปี
และแม้แต่ในปี 2020 ช่วงที่ยังไม่มีการระดมฉีดวัคซีนและมีการระบาดของโควิดแล้ว อัตราการตายจากมะเร็งก็ยังลดลงในช่วงแทบทุกอายุยกเว้นช่วงอายุ 75 ถึง 79 ปี
ในปี 2021 เริ่มเห็นแนวโน้มในอัตราการตายของมะเร็งที่สูงขึ้นและสูงขึ้นต่อเนื่องจนกระทั่งถึงในปี 2022 ในช่วงทุกอายุ
ในปี 2021 มีอัตราตายเพิ่มขึ้นจากทุกสาเหตุอย่างมีนัยสำคัญ 2.1% และ 1.1% สำหรับการตายที่เกิดจากมะเร็ง
ในปี 2022 การตายจากทุกสาเหตุกระโดดขึ้นเป็น 9.6% และสำหรับมะเร็งสูงขึ้นเป็น 2.1%
การศึกษานี้ได้แยกแยะตามอายุและพบว่าจำนวนการตายจากมะเร็งทุกชนิดจะสูงสุดในช่วงอายุ 80 ถึง 84 ปีซึ่งประชากรในกลุ่มนี้มากกว่า 90% ได้รับวัคซีนสามเข็ม และวัคซีนที่ได้รับนั้นเกือบ 100% เป็น mRNA และเป็นไฟเซอร์ 78% โมเดนา 22%
คณะผู้รายงานยังได้เพ่งเล็งประเด็นของการตายจากมะเร็งดังกล่าวที่ อาจจะมาจากสาเหตุที่มีการคัดกรองมะเร็งน้อยลง และ การเข้าถึงการรักษาได้จำกัดในช่วงที่มีการล็อคดาวน์ แต่อย่างไรก็ตาม คณะผู้รายงานระบุว่า ไม่สามารถอธิบายการกระโดดขึ้นของการตายโดยเฉพาะในมะเร็งหกชนิดในปี 2022 ซึ่งไม่มีข้อจำกัดในการคัดกรองมะเร็งและการรักษาแล้ว
และมะเร็งที่มีอัตราตายสูงขึ้นจะตกอยู่ในกลุ่มที่เป็น ERalpha-sensitive ทั้งนี้สามารถอธิบายได้จากกลไกหลายอย่างของวัคซีน mRNA ซึ่ง อยู่ในอนุภาคนาโนไขมัน มากกว่าที่จะอธิบายจากการติดเชื้อโควิดหรือการที่มีการรักษาลดลงในช่วงล็อกดาวน์
นักวิทยาศาสตร์วิจัยอาวุโส ของ MIT Stephanie Seneff ได้ให้ความเห็นว่ารายงานดังกล่าวชี้ชัดเจนในข้อมูลทางระบาดวิทยาซึ่งสามารถเชื่อมโยงอัตราตายที่สูงขึ้นของมะเร็งหลายชนิดและการที่ได้รับวัคซีนหลายเข็ม
ทั้งนี้ โดยที่ได้เคยให้ความเห็น ก่อนหน้านี้แล้วโดยยึดถือพื้นฐานกลไกทางวิทยาศาสตร์ทางด้านระบบภูมิคุ้มกันว่าวัคซีนควรจะมีความเกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็ง
โดยที่วัคซีนนั้นทำให้ระบบการตรวจตราเฝ้าระวังและป้องกันการเกิดมะเร็งนั้นถดถอยลงโดยเฉพาะในระบบ ที่เรียกว่า innate immunity และความบกพร่องห่วงโซ่ ในระบบภูมิคุ้มกัน ที่นำไปถึงการติดเชื้อโรคได้ง่ายขึ้นและมีโรคภูมิคุ้มกันแปรปรวนทำร้ายตัวเองมากขึ้นและทำให้มะเร็งมีการเติบโตแพร่กระจายได้เร็ว
กลไกที่ mRNA วัคซีน โยงไปถึงการเกิดมะเร็งได้ไวขึ้นและโตเร็วขึ้นนั้น โดยเฉพาะในกลุ่มที่เป็น estrogen และ ERalpha-sensitive เกิดจากการที่โปรตีนหนามของวัคซีน มีการจับตัวอย่างเฉพาะเจาะจงกับ ERalpha และเร่งให้เกิดปฏิกริยามากขึ้น
การศึกษาที่รายงานในปี 2020 ในวารสาร Translational Oncology พบว่า ส่วนของโปรตีนหนาม S2 มีความสัมพันธ์จำเพาะกับยีนส์ที่ปกป้องไม่ให้เกิดมะเร็ง คือ p53 BRCA1 และ BRCA2 ที่มักมีการผันเปลี่ยน พันธุกรรมในมะเร็ง
ซึ่งสอดคล้องกับรายงานในประเทศญี่ปุ่นโดยที่มีการตายเพิ่มของมะเร็งเต้านม มะเร็งมดลูกและรังไข่ในผู้หญิงและมะเร็งต่อมลูกหมาก ในผู้ชายซึ่งเกี่ยวพันกับการทำงานของ BRCA1 ลดลง และยังเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งตับอ่อน การทำงานผิดปกติ ของ BRCA2 ยังมีความสัมพันธ์กับมะเร็งเต้านม รังไข่ในผู้หญิง มะเร็งต่อมลูกหมากและมะเร็งเต้านมในผู้ชาย และมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน acute myeloid leukemia ในเด็ก
การกระจายตัวได้ทั่วไปในร่างกายมนุษย์ในทุกอวัยวะ จากการที่วัคซีนอยู่ในอนุภาคนาโนไขมัน โดยมีการพิสูจน์ชัดเจนแล้วโดยที่ วัคซีนยังเข้าไปฝังตัวที่ ตับ ม้าม ต่อมหมวกไต รังไข่และไขกระดูก ซึ่งก็ทำการผลิตโปรตีนหนาม ปล่อยออกมาตลอดและยังทำให้มีการติดเชื้อง่ายขึ้นอีก
ในเดือนสิงหาคม 2023 รายงานในวารสาร Proteomics Clinical Applications พบว่าชิ้นส่วนของโปรตีนหนามจากวัคซีนยังล่องลอยอยู่ในเลือดของผู้ได้รับวัคซีนยาวนาน ได้อย่างน้อยสามถึงหกเดือนใน 50% ของตัวอย่าง และเมื่อเปรียบเทียบกับการติดเชื้อโควิดตามธรรมชาตินั้น โปรตีนหนามจากไวรัส จะพบได้นาน ประมาณ 10 ถึง 20 วัน แม้ว่าการติดเชื้อนั้นจะมีความรุนแรงมากก็ตาม และในรายงานดังกล่าวนี้ยังชี้ให้เห็นว่าโปรตีนหนามนั้นสามารถที่จะเข้าไปอยู่ในเซลล์บางชนิด หรือมีการสร้างใหม่ซ้ำแล้วซ้ำเล่าขึ้นมาอีกในเซลล์
การศึกษา รายงานในเดือนพฤศจิกายนปี 2021 ในวารสาร the Journal of Immunology พบ exosome ซึ่งบรรจุโปรตีนหนามที่ 14 วันหลังจากฉีดวัคซีน และ เมื่อได้รับวัคซีนเข็มที่สองและวัคซีนเข็มต่อไป โปรตีนหนามดังกล่าว พบมากขึ้นเรื่อยๆ
วัคซีนโควิดยังเป็นวัคซีนที่ปรับแต่งให้เสถียรขึ้นด้วย N1-Methyl-Pseudouridine
การที่วัคซีนมีการปรับแต่งดังกล่าวจะทำให้มีการด้อยหรือเปลี่ยนการทำงานของโปรตีนที่สำคัญคือ toll-like receptors ที่คอยป้องกันการเกิดเนื้องอกและการโตของเนื้องอก
การที่วัคซีนมีการปรับแต่งดังกล่าวทำให้ร่างกายมีการผลิตโปรตีนหนามในจำนวนมากมาย และทำให้มีการขัดขวางระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย และ ด้อยการส่ง สัญญาณผ่านทางอินเตอร์เฟียรอน (early interferon signaling) ทำให้มีการสร้างโปรตีนหนามได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในขณะเดียวกันทำให้การ ระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันด้อยลง
รายงานในวันที่ 5 เมษายนในวารสาร International Journal of Biological macromolecules พบว่าการดัดแปลงของวัคซีนดังกล่าวทำให้เกิดการกดภูมิคุ้มกันและช่วยส่งเสริมให้เกิดมะเร็ง ทั้งนี้ โดยการใส่ N1-methyl-pseudouridine mRNA วัคซีน ในการทดลองที่ใช้ มะเร็งผิวหนัง melanoma ผลปรากฏว่าสามารถกระตุ้นการเติบโตของ เซลล์ มะเร็งและการแพร่กระจาย ในขณะที่ mRNA วัคซีนที่ไม่มีการดัดแปลงจะไม่เกิดผลร้ายดังกล่าว
ระบบภูมิคุ้มกันในระดับที่เรียกว่า ADE หรือ antibody dependent enhancement
การได้วัคซีนหลายเข็ม เป็นการทำให้ได้รับโปรตีน หนาม มากขึ้นเรื่อยๆ และทำให้กลับมีการติดเชื้อโควิดตามธรรมชาติได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้ยังร่วมกับการที่มนุษย์ประทับความทรงจำกับไวรัสโควิดบรรพบุรุษหรือดั้งเดิมและจากการที่มีการกดภูมิคุ้มกัน
ADE เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อแอนติบอดีแทนที่จะทำลายไวรัส กลับช่วยนำพาไวรัสเข้าเซลล์ได้ง่ายขึ้นและมีการเพิ่มจำนวนในเซลล์ได้เก่งขึ้น ผลของโปรตีนหนามและอนุภาคนาโนไขมัน ทำให้หลอดเลือดอุดตัน
ผลการวิจัยต่างๆ แสดงว่าวัคซีนโควิดก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการตันของเส้นเลือดและยิ่งเป็นคนป่วยด้วยโรคมะเร็ง ดังนั้นจะทำให้อัตราตายของมะเร็งยิ่งสูงขึ้นไปอีก หลังจากมีระดมการฉีดในประเทศญี่ปุ่น
จากการศึกษาพบว่าโปรตีนหนามของไวรัสโควิดและจากวัคซีนเองนั้น มีศักยภาพทางไฟฟ้าบวกและทำให้จับกับ glycoconjugates ที่มีศักยภาพทางไฟฟ้าเป็นลบและอยู่บนผิวของเม็ดเลือดแดงและเซลล์ชนิดอื่นๆ นอกจากนั้นโปรตีน หนาม ยังสามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันผ่านทางตัวรับ ACE2 ทำให้เกิดผนังหลอดเลือดหนาตัว ขัดขวางการทำงานของ ไมโตคอนเรีย โรงพลังงานของเซลล์ และการเกิด reactive oxygen species (ROS)
ทั้งนี้ ROS เป็น highly reactive radicals ions หรือ โมเลกุล ที่มีอิเล็กตรอน โดดเดี่ยว ไม่มีคู่ ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเกิดพันธะ (single unpaired electron) โดยที่เซลล์มะเร็งนั้นจะมีปริมาณของ ROS สูงมากจากการ ผลของเมแทบอลิซึม การทำงานของ oncogene และการที่ไมโตคอนเดรีย ผิดปกติและยังรวมทั้งกลไกทางด้านภูมิคุ้มกันต่างๆ
ส่วนจำเพาะของโปรตีนหนามยังสามารถทำให้เกิดการก่อตัวของโปรตีนอมิลอยด์ (fibrous insoluble tissue) และแอนติบอดีต่อโปรตีนหนามที่เกาะกับโปรตีน S ที่โผล่ออกมาจากผิวเซลล์ ทำให้เกิดปฏิกิริยาการอักเสบทำลายเซลล์และเนื้อเยื่อของตนเอง และอธิบายปรากฏการณ์เกิดแท่งย้วยสีขาว หรือ white clots
ระบบการเฝ้าระวังตรวจตรามะเร็งของมนุษย์อ่อนด้อยลง
จากการที่วัคซีนทำให้ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องจึงทำให้มีการปะทุของไวรัสที่ซ่อนอยู่ในร่างกายอยู่แล้ว โดยที่มีศักยภาพในการก่อให้เกิดมะเร็ง เช่น ไวรัสงูสวัด ไวรัสเริม herpesvirus 8 โดยที่ไวรัสตัวนี้ถือว่าเป็นไวรัสที่ก่อให้เกิดมะเร็งชนิด Kaposi’s sarcoma และการปะทุของไวรัส EBV และ human papilloma virus ที่สามารถเหนียวนำให้เกิดมะเร็งในช่องปากและลำคอ
ปรากฏการณ์เช่นนี้จะช่วยอธิบายอัตราการตายที่สูงขึ้นของมะเร็งที่ริมฝีปากช่องปากและลำคอในปี 2022 ในประเทศญี่ปุ่นที่มีการระดมฉีด เข็มที่สาม การเปลี่ยน RNA เป็น DNA จากกระบวนการ reverse transcription และเข้าไปเสียบในจีโนมของมนุษย์
รายงานในปี 2022 ในวารสาร Current Issues in Molecular Biology แสดงให้เห็นว่าวัคซีน mRNA สามารถเสียบเข้าไปในยีนส์ของมนุษย์หรือดีเอ็นเอโดยใช้กระบวนการนี้ https://www.mdpi.com/1467-3045/44/3/73
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2023 รายงานในวารสาร Medical Hypotheses พบว่าการเพิ่มปริมาณของวัคซีน mRNA และโมเลกุลของดีเอ็นเอที่ได้ถูกปรับเปลี่ยนจากอาร์เอ็นเอในเซลล์ (cytoplasm) จะสามารถเหนียวนำให้เกิดภาวะอักเสบด้วยตัวเองอย่างเรื้อรัง และนำไปสู่ภูมิคุ้มกันแปรปรวนต่อต้านตัวเอง จนกระทั่งถึงการทำลายดีเอ็นเอ และเกิดมะเร็งในมนุษย์ที่มีปัจจัยโน้มน้าวอยู่แล้วด้วย
นักวิจัยทางด้านพันธุศาสตร์ Kevin McKernan พบว่าวัคซีนโควิดสามารถถูกเปลี่ยนให้เป็นดีเอ็นเอ ทั้งนี้โดยสามารถตรวจพบส่วนของพันธุกรรมโปรตีนหนามของวัคซีนโควิด ในโครโมโซม 9 และ 12 ของเซลล์มะเร็งเต้านมและรังไข่หลังจากที่ฉีดวัคซีนโควิด mRNA
และพบว่ามีความเชื่อมโยงกับบาง batch ของวัคซีนที่มีปริมาณของดีเอ็นเอที่ปนเปื้อนกับความรุนแรงของผลข้างเคียงและผลกระทบที่เกิดขึ้น
นักวิจัยจากสถาบันวิจัยสาธารณสุข และการแพทย์ของฝรั่งเศส Helene Banoun ได้สนับสนุนรายงานจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งคล้องจองกับศักยภาพในการกระตุ้นการเกิดมะเร็งจากผลิตภัณฑ์ที่เป็น gene therapy ซึ่ง mRNA วัคซีน ถือว่าจัดอยู่ในประเภทนี้ และผลของวัคซีนที่เหนียวนำให้เกิดภาวะภูมิคุ้มกันชาด้าน(immune tolerance) ส่งเสริมการเกิดมะเร็ง
ทั้งนี้ สำนักอาหารและยาของสหรัฐเอง ได้มีการระบุอย่างชัดเจนมาก่อนว่า มีกลไกหลายอย่างที่เป็นไปได้ที่ DNA ที่ปะปนปนเปื้อนจะทำให้เกิดมะเร็ง ทั้งนี้ รวมถึงการที่เข้าไปเสียบในดีเอ็นเอของมนุษย์และสั่งให้มีการสร้าง ยีนส์มะเร็ง (oncogenes) หรือ มีการสอดใส่ซึ่งทำให้มีการผันแปร ทางรหัสพันธุกรรม (intentional mutagenesis)
คณะผู้รายงานจากญี่ปุ่นได้ตอกย้ำว่า กระบวนการวิธีมาตรฐานในผลิตภัณฑ์วัคซีนตามที่สำนักอาหารและยาของสหรัฐได้ระบุไว้นั้นควรต้องถูกนำมาพิจารณา ทั้งนี้เนื่องจากในช่วงระบาดของโควิดนั้น เป็นการใช้ในภาวะฉุกเฉินเท่านั้น
บทความนี้เรียบเรียงจากรายงานของคณะผู้ศึกษาจากประเทศญี่ปุ่นและจาก คุณเมแกน เรดชอ สื่อ เอปิค ไทม์ส