Sunday, 13 October 2024
POLITICS NEWS

กรมชลฯ เปิดแผนจัดสรรน้ำรับฤดูแล้ง ยันเขื่อนหลักมีน้ำเพียงพอ

นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ขณะนี้ ภาพรวมสถานการณ์น้ำอยู่ในเกณฑ์ดี โดยอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้น 58,692 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็น 77% ของความจุอ่างฯ รวมกัน เป็นน้ำใช้การได้ 34,760 ล้าน ลบ.ม. เฉพาะ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำรวมกันประมาณ 14,586 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 59% ของความจุอ่างฯ เป็นน้ำใช้การได้ 7,890 ล้าน ลบ.ม. 

ทั้งนี้กรมชลประทาน ได้วางแผนจัดสรรน้ำในช่วงฤดูแล้งปี 2564/65 (วันที่ 1 พ.ย.2564 – 30 เม.ย.2565) จากปริมาณน้ำต้นทุน ณ วันที่ 1 พ.ย. 2564 จำนวน 37,857 ล้าน ลบ.ม. โดยมีแผนจัดสรรน้ำในฤดูแล้งทั้งประเทศจำนวน 22,280 ล้าน ลบ.ม. ตามลำดับความสำคัญดังนี้ เพื่อการเกษตรฤดูแล้ง 11,785 ล้าน ลบ.ม. เพื่อการอุปโภค-บริโภค 2,535 ล้าน ลบ.ม. อุตสาหกรรม 518 ล้าน ลบ.ม. รักษาระบบนิเวศและอื่นๆ 7,442 ล้าน ลบ.ม. และสำรองน้ำไว้ต้นฤดูฝนปี 65 อีก 15,577 ล้าน ลบ.ม. 

“แรมโบ้” ซัด “เลขา ครป.” ฟังไม่ครบแล้วจับมากระเดียด! นายกพูดถึงนักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เน้น ปชช. มีรายได้ ชี้ เป็นถึงเลขาครป.น่าจะมีสมองเข้าใจเจตนานายกฯ ขออย่าเปรียบเจ้าสัว และหากว่างมากเอาเวลาไปทำประโยชน์มากกว่ามาโจมตีนายกฯ

นายเสกสกล อัตถาวงศ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรีกล่าวถึงนายเมธา มาสขาว เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) โพสต์เฟซบุ๊กวิพากษ์วิจารณ์นายกฯ ที่กล่าวกับประชาชน จ.ยะลา แนะนำให้เลี้ยงไก่บ้านละ 2 ตัว ไม่เข้าใจปัญหาเกษตร เลี้ยงไก่เป็นร้อยตัวไม่มีวันรวย เพราะเจ้าสัวผูกขาดการเกษตร โดยนายเสกสกล กล่าวว่า การที่นายกฯส่งเสริมให้เลี้ยงไก่นั้นเป็นเจตนาที่ดีนายกฯต้องการให้ประชาชนยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวทางพ่อหลวงรัชกาลที่9 นายกฯมองการณ์ไกลอยากเห็นประชาชนรู้จักหารายได้ทำการเกษตรอย่างพอเพียงให้มีมูลค่าในแปลงเกษตรของตนเองให้มีรายได้สูงขึ้นและลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน

นายกเน้นการปลูกพืชผักสวนครัวเลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ ในพื้นที่จำกัดที่มี และพูดถึงการเลี้ยงไก่จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนได้บ้าง ลดรายจ่ายในครอบครัว  ซึ่งนายเมธาเป็นถึงเลขา ครป.มีความรู้ มีสมองก็น่าที่จะเข้าใจนายกฯ และก็ไม่ควรเอาเรื่องนี้ไปเปรียบเทียบกับเจ้าสัว เพราะคนละเรื่องกัน มีแต่คนไร้สมองเท่านั้นที่เอาไปผูกโยงกับนายทุนหรือเจ้าสัวได้

ส่วนการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและชาวนา รวมถึงประชาชนทุกกลุ่มอาชีพนั้น นายกฯและรัฐบาลมีนโยบายให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว  เพราะนายกฯให้ความสำคัญ และทราบดีถึงความเดือดร้อนของประชาชน

จับสัญญาณ ‘อุตตม’ พบปะ ‘สนธิรัตน์’ หลังยกความหวังอนาคตไทยมาถก

(17 ธ.ค. 64) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังนายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ อดีตรมว.พลังงาน และอดีตเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ โพสต์ภาพขณะนั่งจิบกาแฟแบบสบาย ๆ พูดคุยกับนายอุตตม สาวนายน อดีตรมว.คลัง และอดีตหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว พร้อมโพสต์ข้อความว่า “คุยกันหลายเรื่องครับ มุมมองของเราทั้ง 2 ยังคงเป็นเรื่องอนาคตประเทศไทย แล้วจะมาเล่าให้ฟังต่อ ๆ ไปนะครับ” #สนธิรัตน์

ต่อมา กลางดึกของวันที่ 16 ธ.ค. นายอุตตม ได้โพสต์ภาพอีกมุมหนึ่งที่มีการพูดคุยกับนายสนธิรัตน์ในวันนั้น พร้อมโพสต์ข้อความว่า “มาจิบกาแฟกันครับ... ก็ได้พูดคุยเรื่องอนาคตของประเทศ ซึ่งผมเชื่อว่าคนไทยคงคิดถึงเรื่องนี้กันมาก โดยเฉพาะในช่วงเวลานี้ที่ใกล้จะหมดปีแล้ว คิดว่าคนไทยต้องการเห็นโอกาสใหม่ ๆ ต้องการมีความหวัง และเมื่อมีความหวัง ทุกคนก็จะสามารถร่วมกันสร้างความหวังนั้นให้เป็นความจริง ผมคงมีเรื่องมาแลกเปลี่ยนกันหลังปีใหม่อย่างแน่นอนครับ”

'ไทยรักษา'​ ชี้!! โซเชียลไทยแขวะรถไฟมือสองญี่ปุ่นถี่ แต่อวยรถไฟลาว เพราะหวังแค่ดูถูกประเทศตัวเอง

เฟซบุ๊กเพจ​ ไทยรักษา​ ได้โพสต์ข้อความ​ ระบุว่า... 

เราจะอวยรถไฟลาว เพื่อมาดูถูกประเทศตัวเองไปเพื่ออะไร ?

ขอถามคนไทยทุกคนว่า ถ้าวันนี้!! ไทยไม่รับบริจาครถไฟมือสองของญี่ปุ่น แล้วเรามีรถไฟเหมือนที่ลาวใช้ คนไทยจะโอเคมั้ย .... 

รถไฟความเร็วสูงอะไร ! วิ่งได้แค่ 160 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง ซึ่งมาตรฐานของรถไฟความเร็วสูงจริง ๆ​ คือ ใช้ความเร็วได้ตั้งแต่ 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป 

ถ้ารถไฟความเร็วสูงของไทย วิ่งได้แค่ 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมงแค่นี้ วันนี้คนไทยจะว่ายังไง ?  

การมีรถไฟของลาว ทำให้ลาวต้องกู้เงินจากจีนมาลงทุน จีนถือหุ้นกว่า 70% ส่วนลาวที่เป็นเจ้าของประเทศ กลับถือหุ้นแค่ 30% แถมยังต้องเอาเหมืองทอง 5 แห่ง ที่เป็นสมบัติของชาติ ไปค้ำประกันจีนไว้ด้วย

 “ราเมศ”แจงปชป.เลือก “ดร.เอ้”ลงผู้ว่าฯกทม.เหมาะสมที่สุด ชี้ทุกฝ่ายควรคิดเพื่อบ้านเมือง หมดเวลาสร้างวาทะโจมตีกันแล้ว เชื่อคนกรุงอยากเห็นการต่อสู้ด้วยนโยบาย 

นายราเมศ รัตนะเชวง โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง กรณีที่นายชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ ออกมากล่าวถึงการเปิดตัวนายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ หรือดร.เอ้ ว่าที่ผู้สมัครลงรับเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. พรรคประชาธิปัตย์ ว่านโยบายดีแต่อยู่ผิดพรรค ว่า พรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคการเมืองเดียวที่ได้รับความไว้วางใจให้ผู้สมัครในนามพรรคทำหน้าที่ในตำแหน่งผู้ว่าฯกทม.ยาวนานที่สุด ระยะเวลาและผลงานคือคำตอบที่ดีที่สุด ทุกครั้งพรรคจะเตรียมความพร้อมในทุกเรื่องอย่างเต็มที่ เริ่มต้นที่นโยบายที่คิดและทำเพื่อพี่น้องชาวกรุงเทพฯ การคัดเลือกผู้สมัครที่มีความรู้ความสามารถและเข้าใจปัญหาของประชาชนอย่างลึกซึ้งแท้จริง คือสาระสำคัญที่สุด ดังนั้นการเมืองยุคนี้ควรหยุดวาทะที่นำไปสู่ความขัดแย้ง ทางที่ดีที่สุดคือ ผู้ที่ตั้งใจเข้ามาทำหน้าแทนประชาชนกรุงเทพฯ ควรแสดงให้เห็นถึงสาระของนโยบายว่าจะทำสิ่งใดให้เกิดประโยชน์ให้มากที่สุด เพื่อให้ประชาชนได้ตัดสินใจ

นายราเมศกล่าวต่อว่า การที่พรรคได้เลือก นายสุชัชวีร์ เป็นว่าที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. ถือว่าเป็นบุคคลที่เหมาะสมที่สุดในสถานการณ์ขณะนี้ เป็นคนรุ่นใหม่ มีความรู้ ความสามารถ เชื่อว่าปัจจุบันนี้ด้วยวิวัฒนาการทั้งในทางสังคม เศรษฐกิจและเทคโนโลยี การได้บุคคลที่มีความรู้ความสามารถ มีประสบการณ์ มีความตั้งใจที่จะพัฒนาให้กรุงเทพฯมีความเจริญรุ่งเรืองในทุกด้าน ย่อมเกิดประโยชน์ต่อพี่น้องชาวกรุงเทพฯอย่างแน่นอน และพรรคประชาธิปัตย์ก็คือคำตอบที่ทำให้ นายสุชัชวีร์ เลือกลงในนามพรรค และพี่น้องชาวกทม.จะเป็นผู้ตัดสินใจ เมื่อได้รับทราบถึงแนวคิด นโยบาย ความรู้ความสามารถและสามารถมองเห็นความหวังได้ในวันข้างหน้าประชาชนจะเป็นคนตอบผ่านกระบวนการเลือกตั้ง

“ดร.พิสิฐ” ขอให้คลังจัดหมวดหมู่กองทุนหมุนเวียนให้รวมเฉพาะส่วนที่เป็นงานของราชการ เพื่อความโปร่งใสทางการคลัง

ดร.พิสิฐ ลี้อาธรรม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายในวาระรับทราบรายงานผลการดำเนินงานทุนหมุนเวียน ประจำปีบัญชี 2562 ว่า กองทุนต่างๆ ที่มีอยู่ 115 กองทุนนี้ เป็นส่วนหนึ่งของระบบการคลัง และเป็นส่วนเสริมของระบบงบประมาณแผ่นดิน  ซึ่งมีวงเงินประมาณ 3 ล้านล้านบาทต่อปี แต่ยอดรวมกองทุนที่รวบรวมมานำเสนอนี้ มีตัวเลขที่สูงถึงกว่า4 ล้านล้านบาท ดูประหนึ่งว่าเงินในกองทุนเหล่านี้มีมากมายมหาศาล และเป็นที่เพ่งเล็งกันว่าน่าจะนำมาใช้จ่ายเพื่อประโยชน์ทางการกระตุ้นเศรษฐกิจมากกว่านี้ 

ดร.พิสิฐ ชี้ว่า ตัวเลขที่ได้รวบรวมมาเสนอต่อสภานี้ แม้ได้ทำไปตามกฎหมายกองทุน ที่จะต้องนำเสนอภาพรวมต่อครมและสภา แต่หากทำในลักษณะนี้จะทำให้เกิดความไขว้เขวว่าเรามีเงินเยอะ ความจริงแล้วในบรรดา 4 ล้านล้านบาทที่ปรากฎในรายงาน กว่าครึ่งหนึ่งเป็นของกองทุนประกันสังคม ซึ่งเงินกองทุนประกันสังคมก็เป็นเงินของลูกจ้างที่ได้จ่ายสะสมและนายจ้าง กับรัฐได้จ่ายสมทบให้ทำให้เงินกว่าครึ่งหนึ่งหรือสองล้านล้านบาทเราจะไปแตะต้องไม่ได้ และไม่ควรนำมารวมอยู่ในรูปของกองทุนณ ที่นี้ นอกจากนี้ยังเงิน กองทุน กบข. ก็เป็นเงินออมของข้าราชการที่สะสมเก็บเพื่อใช้ยามเกษียณ มียอดเกือบ1 ล้านล้านบาท ก็เป็นอีกก้อนหนึ่งที่แตะต้องไม่ได้ ดังนั้นจะเห็นได้ว่า จากยอด 4 ล้านล้านบาทที่ได้รวบรวมมา มีถึง 3 ใน 4 ที่ไม่ใช่เงินของรัฐบาลโดยตรง แต่เป็นเงินที่มีกฎหมายรองรับอยู่ว่าเป็นของผู้อื่น ยังมีเงินกองทุนที่มีจำนวนเงินไม่มาก ตัวอย่างเช่นกองทุนผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภาเป็นต้นก็อยู่ในลักษณะเดียวกัน

แม้กระทั่งเงินที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลต่างๆเช่น เงินกองทุนน้ำมัน ที่มีกว่า 4 หมื่นล้านบาท ที่ฝากไว้ที่กระทรวงการคลัง และกระทรวงการคลังเก็บเป็นส่วนหนึ่งของเงินคงคลัง ก็เป็นอีกก้อนหนึ่งที่แตะต้องไม่ได้ เพราะมีกฎหมายบังคับเฉพาะอยู่แล้วว่าไม่อาจใช้เพื่อการอื่นได้ แต่ใช้เพื่อพยุงราคาน้ำมันเท่านั้น 

ดังนั้น ดร.พิสิฐ จึงได้เน้นถึงเรื่องการแยะแยะเงินเหล่านี้ โดยจัดหมวดหมู่ของกองทุนต่างๆให้ชัดเจน 
แต่ที่คลังได้จัดหมวดหมู่มา 5-6 ประเภทในรายงานนั้น ไม่น่าจะเกิดประโยชน์ในการวิเคราะห์ หรือประเมินภาพรวมเงินกองทุนตามเจตนารมย์ของกฎหมายกองทุนควรเลือกเฉพาะกองทุนที่มีลักษณะคล้ายกับงบประมาณรายจ่ายแผ่นดินคือมีแหล่งรายได้หลักมาจากรัฐบาล หรือเป็นรายได้ที่รัฐบาลกำหนดให้ และเป็นงานที่มีลักษณะส่งเสริมสนับสนุนนโยบายส่วนกองทุนอย่าง กองทุนประกันสังคม กองทุน กบข. ที่มีกฎหมายรองรับอยู่แล้ว มีเจ้าของเงินชัดเจนก็จะต้องจัดไว้อีกหมวดหมู่หนึ่ง เพราะถือว่ามีลักษณะเชานเดียวกับรัฐวิสาหกิจที่มีเงินมาก แต่แยกตัวออกไปไม่ใช่กองทุน ซึ่งหากได้จะจัดหมวดหมู่ให้ชัดเจนตามที่เสนอนี้ เราก็จะได้ประโยชน์ มีความชัดเจนโปร่งใส ได้ข้อมูลเงินนอกงบประมาณที่ช่วยนำมาใช้วิเคราะห์งบประมาณรายจ่ายและหนี้สินทรัพย์สินในะบบการคลังได้

ทุกวันนี้มีปัญหาว่า จะมีความพยายามใช้เงินในระบบงบประมาณแผ่นดิน แต่เมื่อจ่ายไปแล้ว เงินอาจไม่เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ แต่อาจจะไปจมอยู่ในกองทุนต่างๆ และไม่ออกไปนอกระบบการคลังทำให้กองทุนเหล่านี้กลายเป็นบ่อพักของเงินงบประมาณแผ่นดิน และไม่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของการใช้จ่ายของรัฐบาล

ขณะเดียวกัน หากจะวิเคราะห์ลึกลงไป ก็พบว่ายังมีเงินอีกหลายประเภทที่มีลักษณะคล้ายเงินกองทุนดังกล่าว เช่น เงินทุนหมุนเวียนในหน่วยงานต่างๆ ที่เรียกรวมๆว่าเงินนอกงบประมาณ จะมีวิธีการใดหรือไม่ที่จะสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ให้มาแสดงภาพรวมด้วยกัน เพื่อจะได้เห็นว่าเงินแผ่นดินเหล่านั้นมีจำนวนเท่าใด  เช่น เงินที่เกี่ยวกับการศึกษา ซึ่งมหาวิทยาลัยต่างๆ โรงเรียนต่างๆ ของรัฐได้จากค่าเล่าเรียนที่เป็นเงินนอกงบประมาณ ซึ่งต้องถือว่าเป็นบัญชีเงินทุนหมุนเวียนเช่นกัน 

“ดร.พิสิฐ” ติง "สตง" ตรวจงบรายงานงบการเงิน กสทช. ล่าช้าถึง 3 ปี แนะให้องค์กรต้องโปร่งใส  หลังพบจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีตกลงราคาเป็นส่วนใหญ่

ดร.พิสิฐ ลี้อาธรรม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายในวาระรับทราบการแจ้งผลการตรวจสอบงบการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2561 และการตรวจสอบการประเมินผลการใช้จ่ายเงินและทรัพย์สินสำหรับปี 2561 ของ สนง. คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ 

โดยระบุว่า ขอบคุณ สตง. ที่รับเป็นเจ้าภาพในการชี้แจง ซึ่งการมาชี้แจงในสภาผู้แทนราษฎรนั้น ตนอยากให้ คกก. กสทช. ซึ่งควรเป็นผู้รับผิดชอบผลการดำเนินงานกสทชเป็นผู้มาชี้แจงมากกว่า เพราะงบการเงินนี้เป็นเรื่องของหน่วยงาน และ สตง. ทำหน้าที่เป็นผู้ประเมิน แต่งานเป็นของ คกก. กสทช. ทั้ง 7 ท่าน ดังนั้นในครั้งต่อไปขอเสนอให้มี คกก. กสทช. มาร่วมเป็นผู้ชี้แจงด้วย 

ในการทำหน้าที่ของ สตง. ตามมาตรา 69 นั้น ตนยอมรับว่า สตง. ทำหน้าที่เป็นนักบัญชี และตรวจการใช้เงินตามตัวหนังสือ แต่เจตนารมณ์ของผู้ร่างกฎหมายเกี่ยวกับการให้วิเคราะห์ประสิทธิผล กสทช นั้น น่าจะมองมากไปกว่านั้น และควรต้องการให้ดูว่า เมื่อมีการตั้ง กสทช. ขึ้นแล้ว ได้ทำประโยชน์ให้ประเทศอย่างไรในเรื่องการเสริมสร้างให้มีเทคโนโลยี ดิจิทัลเกิดขึ้นในประเทศ โดยเฉพาะการดูแลตลาดให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม และให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง อีกด้านหนึ่งคือดูแลให้ประชาชนผู้ด้อยโอกาส โดยเฉพาะในที่ห่างไกลสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี ดังนั้นตนจึงอยากให้มีการประเมินว่า กสทช. ได้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์เหล่านี้หรือไม่ จะได้มีการทุ่มเทการทำงานให้บรรลุเป้าหมายเหล่านี้

ด้วยเหตุนี้ ดร.พิสิฐ จึงอยากเห็นเอกสารฉบับนี้รายงานถึงเทคโนโลยี ดิจิทัล ทางด้านสื่อสารว่า ประเทศไทยทุกวันนี้มีความก้าวหน้า หรือล้าหลังตรงไหนอย่างไรบ้าง อยากให้มีการประเมินว่า สิ่งที่ กสทช. ทำไปแล้วประชาชนได้ประโยชน์อย่างไรโดยตรง มีกี่หมู่บ้าน กี่ครัวเรือน ประชาชนกี่คนมีโอกาสได้เข้าถึงอินเทอร์เน็ต เข้าถึงระบบโทรคมนาคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงเรียน และสถานศึกษา

ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา หลังจากที่กฎหมายฉบับนี้ตราขึ้นมา 10 ปีเศษ ได้เกิดปัญหาการแพร่ระบาดโควิด ทำให้ต้องเวิร์คฟรอมโฮม หรือทำงานจากบ้าน และจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีดิจิทัล หรือการสื่อสารมาช่วย  จึงอยากให้มีรายงานในเรื่องดังกล่าว ในการเขียนรายงาน ขอให้ดูตัวอย่างรายงานของ สสส. เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพของประชาชน การใช้ชีวิตให้มีสุขภาพดีอย่างไร ซึ่งเป็นการทำรายงานที่ก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์เป็นไปตามเป้าหมายของกฎหมาย สสส

'ราเมศ' แจง 'ปชป' คิดดีทำดีเพื่อชาวกรุงเทพ ทุกฝ่ายควรคิดเพื่อบ้านเมือง หยุดสร้างวาทะนำขัดแย้ง 

นายราเมศ รัตนะเชวง โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ได้กล่าวถึง กรณีที่นายชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ ได้ออกมากล่าวถึงการเปิดตัวว่าที่ผู้สมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครว่า พรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคการเมืองเดียวที่ได้รับความไว้วางใจให้ผู้สมัครในนามพรรคทำหน้าที่ในตำแหน่งผู้ว่าราชกากรุงเทพมหานครยาวนานที่สุด ระยะเวลาและผลงานคือคำตอบที่ดีที่สุด ทุกครั้งพรรคจะเตรียมความพร้อมในทุกเรื่องอย่างเต็มที่ เรื่มต้นที่นโยบายที่คิดและทำเพื่อพี่น้องชาวกรุงเทพมหานคร การคัดเลือกผู้สมัครที่มีความรู้ความสามารถและเข้าใจปัญหาของประชาชนอย่างลึกซึ้งแท้จริง คือสาระสำคัญที่สุด 

การเมืองยุคนี้ควรหยุดวาทะที่นำไปสู่ความขัดแย้ง ทางที่ดีที่สุดคือ ผู้ที่ตั้งใจเข้ามาทำหน้าแทนประชาชนกรุงเทพ ควรแสดงให้เห็นถึงสาระของนโยบายว่าจะทำสิ่งใดให้เกิดประโยชน์ให้มากที่สุด เพื่อให้ประชาชนได้ตัดสินใจ

นายราเมศกล่าวต่อว่า การที่พรรคได้เลือก ดร สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ เป็นว่าที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งในตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ถือว่าเป็นบุคคลที่เหมาะสมที่สุดในสถานการณ์ขณะนี้ เป็นคนรุ่นใหม่ มีความรู้ ความสามารถ เชื่อว่าปัจจุบันนี้ด้วยวิวัฒนาการทั้งในทางสังคม เศรษฐกิจและเทคโนโลยี การได้บุคคลที่มีความรู้ความสามารถ มีประสบการณ์ มีความตั้งใจที่จะพัฒนาให้กรุงเทพมหานครมีความเจริญรุ่งเรื่องในทุกด้าน ย่อมเกิดประโยชน์ต่อพี่น้องชาวกรุงเทพอย่างแน่นอน และพรรคประชาธิปัตย์ก็คือคำตอบที่ทำให้ ดร สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ เลือกลงในนามพรรค 

‘เต้ชมตู่’ ไอเดีย ‘เลี้ยงไก่’ เจ๋งกว่า ‘ปลูกผักชี’ พร้อมชวน ‘เลี้ยง-ชนไก่’ ดูซิใครจะชนะ

(16 ธ.ค. 64) นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ หัวหน้าพรรคไทยศรีวิไลย์ กล่าวถึงกรณีที่ นายกรัฐมนตรี เสนอให้ประชาชนเลี้ยงไก่ บ้านละ 2 ตัว เพื่อเก็บไข่กินลดค่าครองชีพ ว่า... 

เป็นความคิดที่ดีกว่าเดิม ดีกว่าตอนให้ทหารไปปลูกผักชี โดยมองว่านายกรัฐมนตรีคงไปศึกษาอะไรมามากขึ้น เพราะตอนเด็กๆ ตนก็เคยเลี้ยงไก่ ไว้กินไข่ แต่ต้องใช้เวลา ถึง 3 เดือน ไม่ใช่เลี้ยงแล้วได้กินเลย

ดังนั้นความคิดนายกฯ ถือว่าดีแต่ก็ยังดีไม่มาก เพราะคงไม่ทัน เนื่องจากขณะนี้ราคาไข่ไก่แพงแล้ว และต้องเลี้ยงอีกกี่ตัว ถึงจะสามารถลดค่าครองชีพได้ และต้องคิดด้วยว่าช่วง 3 เดือนที่รอไก่ออกไข่ ประชาชนจะทำอย่างไร ทางที่ดีนายกรัฐมนตรี ควรเอาเวลาไปลดภาษีน้ำมัน หรือ ลดค่าอาหารไก่ หรือไม่ก็ใช้ที่ดินบ้านนายกรัฐมนตรี ที่มีหลายไร่ไปเลี้ยงไก่ให้ประชาชน 

ชำแหละข้อผิดพลาด ‘อนาคตใหม่ถึงก้าวไกล’ มองข้าม ‘คนรุ่นเก่า’ ผู้ทรงอำนาจทางการเมือง

ดร.เฉลิมพล ไวทยางกูร นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กประเด็น จากพรรคอนาคตใหม่…ถึงก้าวไกล…ไปต่ออย่างไร ว่าสมัยที่เริ่มตั้งพรรคอนาคตใหม่ สนใจมากเหมือนกัน เพราะเข้ากับแนวโน้มของโลกที่คนรุ่นใหม่อายุน้อยเริ่มเข้ามามีบทบาททางการเมืองในหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศแถบตะวันตกไม่ว่า แคนาดา, นิวซีแลนด์, ฟินแลนด์, ฝรั่งเศส, ออสเตรีย

ในขณะเดียวกัน ก็เขียนถึงพรรคอนาคตใหม่ว่ามีจุดอ่อนอะไรบ้างที่ต้องป้องกัน เมื่อเข้าสู่การเป็นพรรคการเมืองแบบไทย ๆ อย่างเต็มรูปแบบ

1.) พรรคและสมาชิกพรรค ตั้งแต่หัวหน้าพรรค รองหัวหน้าพรรค คณะกรรมการบริหารพรรค ทั้งหลายต้องเตรียมตัวเตรียมการที่จะตกในสถานะตั้งรับมากกว่ารุกหลังการเลือกตั้ง เพราะก่อนเลือกตั้งนั้นเป็นการโจมตีคนอื่น พรรคอื่น นักการเมืองอื่น รวมทั้งคนที่อยู่ในอำนาจ ไม่ว่ารัฐบาลทหาร คนรักสถาบัน อะไร ๆ ที่พรรคอนาคตใหม่เห็นต่าง แต่หลังการเลือกตั้ง พรรคจะกลับเป็นฝ่ายถูกโจมตีจากคนหรือฝ่ายที่เคยถูกพรรคอนาคตใหม่โจมตี เพราะคนในพรรคอนาคตใหม่กลายเป็นบุคคลสาธารณะ เป็นนักการเมืองเริ่มมีบทบาทอำนาจในทางการเมือง ถนนทุกสายจะมุ่งหน้ามาที่พรรค พรรคจะรับมืออย่างไร

2.) พรรคอนาคตใหม่มีนักบริหารและนักสื่อสารองค์กรด้วยเทคโนโลยีและวิธีการสื่อสารแบบใหม่เข้าถึงคนรุ่นใหม่ แต่ไม่มีบุคลากรที่เข้าถึงคนรุ่นเก่าที่ยังมีอำนาจและอิทธิพลในทางการเมือง สื่อเหล่านี้เข้าไม่ถึง พรรคอนาคตใหม่ไม่มีการเตรียมการในเรื่องเหล่านี้เลย มุ่งเน้นจับกลุ่มคนรุ่นใหม่ ผู้บริหารพรรคไม่มีการผสมผสานคนรุ่นเก่าที่เข้าใจการเมืองแบบไทย ๆ มีประสบการณ์

3.) พรรคอนาคตใหม่ขาดนักกฎหมายระดับหัวกะทิ ประสบการณ์เชิงเทคนิคมากกว่าคนสอนกฎหมาย พรรคไม่ได้มองปัญหานี้ คิดว่าถ้าได้ทำตามกฎระเบียบแล้วเป็นอันใช้ได้ แต่ในทางกฎหมายจะมีเทคนิคการใช้กฎหมายที่ไม่มีสอนในมหาวิทยาลัย นักกฎหมายของพรรคขึ้นอยู่กับสองสามคนระดับรองหัวหน้าและเลขาธิการพรรค ซึ่งไม่พอ พรรคอนาคตใหม่ต้องมี war room ระดมกำลังจากนักกฎหมายฝีมือดีป้องกันปัญหา ไม่ใช่คอยตามแก้ปัญหา ซึ่งสายเกินไป

สิ่งที่เกิดกับพรรคอนาคตใหม่นี้ เป็นเรื่องของการเตรียมการอย่างฉุกละหุกในการตั้งพรรค แก้ปัญหารายวัน ปัญหาเฉพาะหน้า การทำงานแบบนี้ขาดความรอบคอบอย่างมาก เกิดช่องโหว่ให้ถูกโจมตีจากทุกทิศทางโดยไม่สามารถตั้งรับได้ทั้งหมด การถูกถาโถมรอบทิศ ทำให้พรรคอนาคตใหม่เปรียบเสมือนหมาบ้านหลงฝูงเข้ามาสู่วงหมาวัด ที่ไม่รู้ว่าจะมาไม้ไหนบ้าง ตั้งรับไม่ถูก และไม่สามารถรุกได้


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top