Tuesday, 30 May 2023
ECONBIZ

‘ก.คลัง’ เล็งดึง BRT-สองแถวรับจ้าง-เรือโดยสารสาธารณะ ร่วมโครงการ ‘บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ’ ให้บริการแก่ผู้มีสิทธิ

‘คลัง’ กางยอดยืนยันตัวตนโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐปี 2565 แล้ว 11.38 ล้านราย ส่วนยอดยื่นอุทธรณ์พุ่ง 1.12 ล้านราย พร้อมแจงลุยศึกษาประเภทระบบขนส่งเล็งดึงรถเอกชนร่วมขสมก.-BRT-สองแถวรับจ้าง-เรือโดยสารสาธารณะ เพื่อเป็นสวัสดิการให้แก่ผู้มีสิทธิ

(22 มี.ค.66) นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยความคืบหน้าการยืนยันตัวตนของผู้ที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติตามโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐปี 2565 ณ วันที่ 21 มี.ค. 2566 เวลา 13.00 น. ว่า มีผู้ผ่านเกณฑ์ที่ยืนยันตัวตนสำเร็จ 11,383,700 ราย คิดเป็น 77.99% ของจำนวนผู้ผ่านเกณฑ์ทั้งหมด 14,596,820 ราย โดยมีจำนวนผู้ยื่นอุทธรณ์ผลการพิจารณาคุณสมบัติของผู้ที่ไม่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติ ทั้งสิ้น 1,122,950 ราย

สำหรับผู้ผ่านเกณฑ์และยืนยันตัวตนสำเร็จ ภายในวันที่ 26 มี.ค. 2566 จะสามารถใช้สิทธิสวัสดิการผ่านบัตรประจำตัวประชาชนได้ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2566 ตามกำหนดการที่กำหนดไว้ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะได้รับสวัสดิการ ดังนี้ 

1. วงเงินค่าซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น สินค้าเพื่อการศึกษาและวัตถุดิบเพื่อเกษตรกรรม จากร้านธงฟ้าราคาประหยัดพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น และร้านอื่น ๆ ตามที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด จำนวน 300 บาทต่อคนต่อเดือน โดยผู้มีสิทธิสามารถใช้จ่ายได้ตั้งแต่เวลา 05.00 - 23.00 น. ของทุกวัน 

2. วงเงินส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้มจากร้านค้าตามที่กระทรวงพลังงานกำหนด จำนวน 80 บาทต่อคน ต่อ 3 เดือน โดยผู้มีสิทธิสามารถใช้จ่ายได้ตั้งแต่เวลา 05.00 - 23.00 น. ของทุกวัน

3. วงเงินรวมค่าเดินทางผ่านระบบขนส่งสาธารณะ จำนวน 750 บาทต่อคนต่อเดือน โดยสามารถใช้โดยสารได้กับระบบขนส่ง ได้แก่ รถองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.), รถบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.), รถไฟฟ้า บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS-รถไฟฟ้ามหานคร (MRT) และบริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด และรถไฟ โดยไม่จำกัดวงเงินตามประเภทรถ โดยผู้มีสิทธิสามารถใช้บริการระบบขนส่งดังกล่าวได้ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2566 ตั้งแต่เวลา 00.30 น. เป็นต้นไป

“คลังอยู่ระหว่างเตรียมการเพิ่มเติมประเภทระบบขนส่งเพื่อเป็นสวัสดิการให้แก่ผู้มีสิทธิ ได้แก่ รถเอกชนร่วม ขสมก. รถเอกชน รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (BRT) รถเอกชนร่วม บขส. และรถเอกชน รถสองแถวรับจ้างและเรือโดยสารสาธารณะ ซึ่งจะแจ้งความคืบหน้าให้ประชาชนทราบต่อไป” นายพรชัย กล่าว

ยุทธศาสตร์คานงัดเศรษฐกิจไทย 10 ล้านล้าน โอกาสที่ 'อาเซียน-จีน-ตะวันออกกลาง' พร้อมเสิร์ฟ

“...ปีนี้จะเป็นปีแห่งโอกาสในวิกฤติทางด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยวของไทย...”

“…เราทำเงินจากโอกาสการค้าของไทยกว่า 10 ล้านล้านบาท ในตลาดอาเซียน-จีน-ตะวันออกกลาง...”

นี่คือคำกล่าวโดยนายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์, ที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรฯ และอดีตรัฐมนตรีช่วยพาณิชย์ ซึ่งถือเป็นภาคต่อ (ติดตามตอนแรก >> https://thestatestimes.com/post/2023031438) ในการฉายภาพเศรษฐกิจไทยที่กำลังพุ่งทะยาน โดยมีประชาธิปัตย์ทันสมัยเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนผ่านกระทรวงเกษตรฯ 

สำหรับในตอนล่าสุดนี้ นายอลงกรณ์ ได้พา THE STATES TIMES ไปโฟกัสถึงโอกาสขนาดใหญ่ที่ไทยกำลังปั้นให้เกิดเป็นผลลัพธ์จาก ตลาดอาเซียน-จีน-ตะวันออกกลาง ซึ่งเข้ามามีบทบาทต่อการเติบโตของภาคเศรษฐกิจไทยเป็นอย่างยิ่ง โดยมีรายละเอียดที่น่าสนใจ ดังนี้...

ปลายปี 2565 ไทยเป็นเจ้าภาพในการประชุม APEC ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญและมีผลต่อเศรษฐกิจของไทยและภูมิภาคอาเซียนอย่างมาก รวมถึงการฟื้นความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับซาอุดีอาระเบีย ในรอบ 30 ปี ถือเป็น 'ลมส่งท้าย' ถึงปีนี้ ซึ่งจะเป็นปีแห่งโอกาสในวิกฤติของไทยทางด้านการค้า, การลงทุน, การท่องเที่ยว

เริ่มต้นปีด้วยข่าวดี เมื่อจีนเริ่มผ่อนคลายนโยบายการควบคุมโควิดและเปิดประเทศในเดือนมกราคม

ทั้งนี้ภาคการเกษตรของไทยถือเป็นกลไกสําคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยพร้อมกับยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเกษตรไทย ภายใต้วิสัยทัศน์เปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาสสร้างเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งในประเทศ พร้อมทั้งมุ่งเน้นการขับเคลื่อนการผลิตสินค้าเกษตรมูลค่าสูงด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่และนวัตกรรม องค์ความรู้ ศาสตร์พระราชาภูมิปัญญาไทยโดยจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (Agritech and Innovation Center : AIC) ทั้ง 77 จังหวัด และศูนย์ AIC ประเภทศูนย์ความเป็นเลิศ (Center of Excellence) อีก 23 ศูนย์ เมื่อ 1 มิถุนายน 2563 ซึ่งถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีที่สำคัญของการยกระดับอัพเกรดการพัฒนาประเทศภายใต้ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีเกษตร 4.0 และยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิตบนความร่วมมือระหว่าง นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีพาณิชย์กับ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีเกษตรฯ

สำหรับโอกาสการค้าการลงทุนของไทยในจีน-ตะวันออกกลาง และอาเซียน ประเทศไทยถือได้ว่ามีศักยภาพสูงโดยใช้จุดแข็งของไทยที่ขอเรียกว่า...

>> '8 ลมใต้ปีก' ช่วยผลักดันโอกาสของไทยและหุ้นส่วนเศรษฐกิจให้เดินหน้าสู่ความสำเร็จ ได้แก่...

1. การฟื้นสัมพันธ์ไทย-ซาอุดีอาระเบีย 
- สร้างระเบียงเศรษฐกิจใหม่ (New Economic Corridor) ระหว่างไทย-ซาอุดีอาระเบีย อาเซียนและตะวันออกกลาง

2. รถไฟลาว-จีน เชื่อมไทย เชื่อมโลก 
- การพัฒนาโลจิสติกส์เชื่อมการขนส่งการค้า และการลงทุนของไทยไปยังตลาดทุกมณฑลในจีน อาเซียนตะวันออกกลาง เอเซียกลาง ยุโรป และอังกฤษเพราะการขนส่งสินค้าจะเร็วขึ้น ต้นทุนจะลดลง โดยเฉพาะอีสานเกตเวย์ และท่าเรือหวุ่งอ๋างเปิดเส้นทางสู่แปซิฟิก

3. 'ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค' (RCEP:Regional Comprehensive Economic Partnership)
- เป็นเขตการค้าเสรี (FTA) ที่ใหญ่ที่สุดของโลก ทำให้ภาษีนำเข้าสินค้าไทยเหลือศูนย์ทันทีเกือบ 30,000 รายการ ใน 14 ประเทศที่ร่วมเป็น FTA Partner ของ RCEP เริ่มมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 โดยมีสมาชิก 15 ประเทศรวมทั้งจีน และประเทศอาเซียนซึ่งผู้มีบทบาทสำคัญคือรองนายกรัฐมนตรีนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีพาณิชย์และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เป็นประธานการประชุมตั้งแต่ต้นจนบรรลุข้อตกลงRCEP

4. มินิ-เอฟทีเอ (Mini-FTA)
- เป็นกลยุทธ์ใหม่เพิ่มโอกาสความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าการลงทุนเปิดตลาดเมืองรองในประเทศต่างๆ ปูทางสร้างโอกาสสำหรับผู้ประกอบการไทย โดยรัฐมนตรีพาณิชย์เดินหน้าเชื่อมสัมพันธ์กับเมืองต่างๆในหลายประเทศ เช่น ไห่หนาน, กานซู และเสิ่นเจิ้นของจีน / เมืองโคฟุของญี่ปุ่น / เมืองเตลังกานาของอินเดีย และปูซานของเกาหลีใต้ เป็นต้น

5. FTA และการเปิดเจรจา FTA รอบใหม่ 
- ไทยมีความตกลงการค้าเสรี (FTA) ที่มีผลบังคับใช้แล้วถึง 14 ฉบับ กับ 18 ประเทศ ทำให้ไทยมีศักยภาพในการเป็นจุดหมายการลงทุนและการค้า รวมทั้งการเปิดเจรจา FTA กับสหภาพยุโรป อังกฤษ EFTA และ UAE

6. การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่
- เป็นอีกปัจจัยที่มีบทบาทสำคัญต่อการค้าการลงทุนในการสร้างศักยภาพเศรษฐกิจ และขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เช่น โครงการรถไฟสี่รางทางคู่ โครงการรถไฟความเร็วสูง โครงการพัฒนาท่าเรือมาบตาพุดระยะที่ 3 โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก โครงการท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 โครงการทางหลวงระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์)

‘สุชาติ’ เผย ส่งแรงงานไทยทำงาน ‘ภาคเกษตร’ ที่อิสราเอล ผ่านโครงการ TIC พร้อมหารือ ขยายตลาดภาคอุตสาหกรรมในอนาคต

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ในปี 2566 กระทรวงแรงงานมีโควตาจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานภาคเกษตรรัฐอิสราเอล จำนวน 6,500 คน โดยตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม - 20 มีนาคม 2566 จัดส่งแรงงานไทยไปทำงานฯ จำนวนทั้งสิ้น 1,513 คน แบ่งเป็นเพศชาย จำนวน 1,480 คน เพศหญิง จำนวน 33 คน 

ล่าสุดในวันนี้จะมีแรงงานไทย จำนวน 225 คน เดินทางไปทำงานภายใต้โครงการ “ความร่วมมือไทย - อิสราเอล เพื่อการจัดหางาน (Thailand-Israel Cooperation on the Placement of Workers: TIC)  ด้วยเครื่องบินโดยสารเที่ยวบินที่ EY084 ของสายการบินแอล อัล อิสราเอล แอร์ไลน์ ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยแรงงานทั้งหมดได้ผ่านการอบรมคนหางานก่อนการเดินทางไปทำงานในต่างประเทศแล้ว 

ปตท. ผนึกภาครัฐ-ภาคีเครือข่าย เร่งปลูกป่าเพิ่ม 2 ล้านไร่ มุ่งบรรลุเป้า Net Zero Emissions ปี 2050

เมื่อวานนี้ (20 มี.ค.66) นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธาน ในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือโครงการปลูกป่า 2 ล้านไร่ ระหว่าง กรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ร่วมกับ กลุ่ม ปตท. จำนวน 3 ฉบับ โดยมี นายสุรชัย อจลบุญ อธิบดีกรมป่าไม้ นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และรักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และนายอภิชัย เอกวนากุล รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รักษาราชการแทนอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พร้อมด้วย นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. รวมทั้งผู้บริหาร กลุ่ม ปตท. อีก 7 บริษัท ร่วมลงนาม ณ ปตท. สำนักงานใหญ่ 

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปตท. พร้อมบริษัทในกลุ่ม ประกอบด้วย บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) บริษัท พีทีที 
โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) บริษัท ปตท. น้ำมันและค้าปลีก จำกัด (มหาชน) และ บริษัท พีทีที แอลเอ็นจี จำกัด ได้ลงนาม MOU จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ โครงการพัฒนาพื้นที่ปลูก บำรุงรักษา และระบบนิเวศป่าไม้ กับ กรมป่าไม้ โครงการพัฒนาพื้นที่ปลูก บำรุงรักษา และระบบนิเวศป่าไม้ กับ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และโครงการปลูกและบำรุงรักษาป่าชายเลน เพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต กับ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 

ซึ่งเป็นการผนึกกำลังของภาคีภาครัฐและเอกชนทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เช่น การสนับสนุนงานวิจัยและแบ่งปันข้อมูลเชิงวิชาการ การปลูกป่าใหม่และฟื้นฟูบำรุงป่าเก่า ป่าอนุรักษ์ ป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ป่าชุมชน และป่าชายเลน เพื่อเพิ่มพื้นที่ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และแหล่งกักเก็บคาร์บอน จำนวน 2 ล้านไร่ ตลอดจนส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ สัตว์ป่า ความหลากหลายทางชีวภาพ รวมไปถึงสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ในปี 2065 ตามที่ประเทศได้กำหนดไว้

‘เหมืองอัครา’ พิจิตร-เพชรบูรณ์ เปิดเครื่องถลุงแร่แล้ว เดินหน้าสร้างอาชีพ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจท้องถิ่นคึกคัก

อัครา รีซอร์สเซส เจ้าของเหมืองทองรายเดียวในไทย ได้ฤกษ์กดปุ่มเดินเครื่องถลุงแร่แล้ว 20 มี.ค. 2566 ที่ผ่านมา หลังต่อสู้ยาวนานกว่า 6 ปี ลุยสร้างงาน สร้างอาชีพ ระบบเศรษฐกิจในท้องถิ่นกลับมาคึกคัก พร้อมส่งเงินเข้า 4 กองทุนตามเงื่อนไขของกฎหมาย

นายเชิดศักดิ์ อรรถอารุณ ผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายความยั่งยืนขององค์กร บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2566 บริษัทได้รับหนังสือจากสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดพิจิตร แจ้งให้ทราบว่า ได้ออกใบอนุญาตการเปิดการทำเหมืองและการประกอบโลหกรรมให้แก่บริษัทแล้ว

และต่อมาวันที่ 16 มี.ค. 2566 บริษัทก็ได้รับหนังสืออนุญาตเปิดการทำเหมืองสำหรับประทานบัตรฝั่งเพชรบูรณ์ จากสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเพชรบูรณ์เช่นเดียวกัน

ซึ่งส่งผลให้บริษัทสามารถเปิดดำเนินกิจการได้เต็มรูปแบบ โดยคงมาตรฐานการประกอบการในระดับสากล ภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และยึดหลักธรรมาภิบาลที่ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคม

ทั้งนี้ บริษัทมุ่งหวังเป็นส่วนสำคัญในการสร้างงาน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เพื่อประโยชน์ของชุมชนโดยรอบและประเทศ

โดยเมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2566 นายวรงค์ สราญฤทธิชัย ผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายบริหารองค์กร ร่วมกับนายเชาว์ลิต ทองคำ หัวหน้างานอาวุโสฝ่ายผลิต อาศัยอยู่ที่หมู่ 3 บ้านเขาดิน ตำบลเขาเจ็ดลูก อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร ซึ่งทำงานกับบริษัทมากว่า 22 ปี เป็นตัวแทนพนักงานกดปุ่มเดินเครื่องจักร และได้กล่าวกับเพื่อนพนักงานว่า

“กว่า 6 ปีที่เราสู้ด้วยกันมาตลอด เพื่อพาพี่น้องของเรากลับบ้าน วันนี้พวกเราทำสำเร็จแล้ว ชุมชนของพวกเราจะไม่เงียบเหงาอีกต่อไป”

โดยบรรยากาศเต็มไปด้วยความปลื้มปีติของพนักงานที่มาร่วมเป็นสักขีพยานในการกดปุ่มเดินเครื่องจักรอีกครั้ง และทันทีที่เรากดปุ่มเดินเครื่องจักร เท่ากับเป็นการกดปุ่มเดินหน้านำเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจในทันที โดยบริษัทต้องสมทบเงินเข้ากองทุนจำนวน 4 กอง คิดเป็น 21% ของค่าภาคหลวงแร่ที่บริษัทชำระให้กับรัฐบาล หรือรวมแล้วต้องไม่น้อยกว่า 65 ล้านบาทต่อปี ตามกรอบนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการทรัพยากรแร่ทองคํา ซึ่งส่งผลให้มีเม็ดเงินจากกองทุนไปใช้ในการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนและสาธารณประโยชน์ต่าง ๆ ในพื้นที่

สรุปสถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 13 - 17 มี.ค.66 จับตาปัจจัย ‘บวก-ลบ’ พร้อมแนวโน้ม 20 - 24 มี.ค.66

ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวลดลง โดยราคาน้ำมัน ICE Brent และ NYMEX เฉลี่ยรายสัปดาห์ลดลงสู่ระดับต่ำสุดตั้งแต่ ธ.ค. 64 ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ Dubai ลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 10 สัปดาห์ ท่ามกลางความกังวลของนักลงทุนต่อสภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ จะเผชิญความเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอย (Recession) โดยตลาดส่วนใหญ่คาดการณ์มีโอกาส 75% ที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Federal Reserve: Fed) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% สู่ระดับ 4.75 - 5.0% ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (Federal Open Market Committee: FOMC) ในวันที่ 21 - 22 มี.ค. 66 ขณะที่มีโอกาส 25% ที่ Fed จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิม หลังสัปดาห์ก่อน ธนาคาร Silicon Valley Bank (SVB) และ Signature Bank ปิดกิจการจากปัญหาสภาพคล่อง

ขณะที่ธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank: ECB) ยังคงเดินหน้าขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อชะลอเงินเฟ้อ โดยวันที่ 16 มี.ค 66 ECB มีมติปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.5% โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากสำรองของธนาคารพาณิชย์ (Deposit Facility Rate) อยู่ที่ 3.0%, อัตราดอกเบี้ยนโยบายสำหรับการปล่อยสภาพคล่องให้ระบบธนาคารพาณิชย์ (Main Refinancing Operations Rate) อยู่ที่ 3.5% และอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ให้ธนาคารกู้ยืม (Marginal Lending Facility Rate) อยู่ที่ 3.75% สูงสุดตั้งแต่ปี 51 ทั้งนี้ ประธานธนาคารกลางออสเตรีย (Reserve Bank of Australia: RBA) นาย Robert Holzman คาดว่า ECB จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Deposit Facility Rate สู่ระดับ 4.0% ภายในปี 66 แม้ตลาดกังวลต่อความไม่แน่นอนของภาคธนาคารยุโรป ล่าสุด ธนาคารแห่งชาติสวิตเซอร์แลนด์ (Swiss National Bank) อนุมัติเงินกู้ให้ธนาคาร Credit Suisse มูลค่า 5 หมื่นล้านฟรังก์สวิส (5.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ) ภายใต้แผนปรับโครงสร้างหนี้และเพิ่มสภาพคล่องในระยะสั้น

สัปดาห์นี้ ทางเทคนิคคาดว่าราคา ICE Brent จะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 70 - 80 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล โดยแนวรับสำคัญคือ 70 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ซึ่งต้องจับตาการประชุม FOMC และสถานการณ์วิกฤตธนาคาร ซึ่งหากสถานการณ์คลี่คลาย ราคา ICE Brent มีโอกาสทดสอบแนวต้านที่ 70 - 80 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ตามลำดับ

>> ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก

-Goldman Sachs ปรับเพิ่มคาดการณ์อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ของจีนในปี 66 อยู่ที่ 6.0% จากปีก่อนหน้า จากคาดการณ์ครั้งก่อนที่ 5.5% จากปีก่อนหน้า จากจีนเปิดประเทศและกิจกรรมทางเศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว

‘สิงห์ เอสเตท’ จ่อเปิดโครงการแฟล็กชิฟใหม่ ขายบ้านหลังละ 550 ล้าน ทุบสถิติแพงสุดในไทย

‘สิงห์ เอสเตท’ เขย่าวงการอสังหาฯไทย จ่อเปิดขาย โครงการแฟล็กชิฟ บ้านระดับอัตราลักชัวรี บนทำเลทอง แห่งที่ 2 ราคาเริ่ม 550 ล้านบาทต่อหลัง โค่นแชมป์ สันติบุรี เดอะ เรสซิเดนเซส ของตัวเอง ที่เคยเปิดขายในราคา 250 ล้านบาท

(21 มี.ค.66) เรียกว่าโค่นแชมป์ตัวเองก็คงไม่ผิดนัก สำหรับ กลุ่มทุนใหญ่ 'สิงห์ เอสเตท' ในเครือ บุญรอดบริวเวอรี่ หลังเผยว่า ปี 2566 จะเปิดโครงการบ้านเฟล็กชิฟ ที่ตั้งราคาขายไว้แพงมากกว่า 550 ล้านบาทต่อหลัง ซึ่งจะรั้งตำแหน่ง บ้านที่มีราคาแพงมากที่สุดในไทย อีกทั้ง ยังโค่นตำแหน่งตัวเองลง หลัง 3 ปีก่อนหน้า เคยเปิดการขายโครงการ สันติบุรี เดอะ เรสซิเดนเซส ในราคา 250 ล้านบาทต่อหลัง มาแล้ว 

นางฐิติมา รุ่งขวัญศิริโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน) เผยว่า ปีนี้ บริษัทจะต่อยอดความสำเร็จ ด้วยการเปิดตัวโครงการบ้านแนวราบใหม่ ที่ตอบโจทย์ ไลฟ์สไตล์ ที่ทันสมัย บนทำเลศักยภาพ ขยายฐานเจาะตลาดหลากหลายเซกเมนต์ อีก 5 โครงการ รวมมูลค่า 1 หมื่นล้านบาท ประกอบไปด้วย

BOI ไฟเขียว!! ลงทุนโครงการขนาดใหญ่ 5 หมื่นล้านบาท เสริมแกร่งโครงสร้างพื้นฐานด้าน ‘พลังงาน-ดิจิทัล’ ไทย

(20 มี.ค.66) พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน วันนี้ โดยที่ประชุมได้อนุมัติส่งเสริมการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ รวมมูลค่า 56,615 ล้านบาท เพื่อเสริมความแข็งแกร่งโครงสร้างพื้นฐานในด้านพลังงานของประเทศ เช่น โครงการท่าเทียบเรือขนถ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) มูลค่าเงินลงทุน 32,710 ล้านบาท และโครงการโรงไฟฟ้าระบบ Cogeneration ซึ่งเป็นโครงการร่วมทุนระหว่างไทยและสิงคโปร์ มูลค่าเงินลงทุน 5,005 ล้านบาท 

รวมทั้งยังได้อนุมัติให้การส่งเสริมกิจการดาต้า เซ็นเตอร์ ขนาดใหญ่ 2 ราย มูลค่าเงินลงทุนรวม 10,371 ล้านบาท โดยหนึ่งในนั้นเป็นโครงการร่วมทุนระหว่างอังกฤษและสิงคโปร์ ซึ่งเป็นกิจการดาต้า เซ็นเตอร์ ที่เน้นความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมและจะใช้พลังงานหมุนเวียน เพื่อลด Carbon Footprint ด้วย เพื่อตอบสนองการเติบโตอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมดิจิทัล โดยเฉพาะความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นสำหรับบริการด้านการจัดการและจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ขององค์กรทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งการใช้งานแพลตฟอร์มต่าง ๆ อีกด้วย

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้อนุมัติให้การส่งเสริมโครงการขนาดใหญ่อื่น ๆ เช่น โครงการผลิตเหล็กแผ่นรีดเย็นเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตชิ้นส่วนต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า โครงการผลิตโลหะทองคำและเงินภายใต้รูปแบบโลหะผสม และโครงการกำจัดของเสียอุตสาหกรรม มูลค่าเงินลงทุนรวมกว่า 8,500 ล้านบาท โดยโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนในครั้งนี้ เป็นโครงการที่ช่วยเสริมความแข็งแกร่งด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ทั้งพลังงาน และดิจิทัล 

‘ก.เกษตร’ ผุดมาตรการช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายชาวประมง ยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตเพาะสัตว์น้ำ-ประมงพื้นบ้าน

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานคณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการประมงไทย เปิดเผยวันนี้ว่า กลุ่มชาวประมงพื้นบ้านใน 23 จังหวัดชายทะเลและกลุ่มประมงเพาะเลี้ยงชายฝั่งได้แสดงความขอบคุณ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมประมงและประธานคณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการประมงไทย ที่รับฟังปัญหาความเดือดร้อนจากการประกอบอาชีพเนื่องจากได้รับผลกระทบจากโควิด-19และดำเนินการให้ความช่วยเหลืออย่างรวดเร็วในการยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. ...”  ให้แก่พี่น้องเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงหอยทะเล สัตว์น้ำในกระชัง และสัตว์น้ำอื่นๆ ที่ทำการเพาะเลี้ยง เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและพี่น้องชาวประมงพื้นบ้าน ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด -19 โดยเสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบกฎกระทรวง “ยกเว้นค่าอากรใบอนุญาตให้ใช้เครื่องมือทำการประมงและค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำการประมงพื้นบ้าน พ.ศ. ...” ให้กับพี่น้องประมงพื้นบ้าน ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19  โดยแบ่งเป็นผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จำนวนกว่า 16,700 ราย คิดเป็นเงินกว่า 50 ล้านบาท ในพื้นที่ 67 จังหวัด และชาวประมงพื้นบ้าน จำนวนกว่า 50,000 ลำ คิดเป็นเงินกว่า 20 ล้านบาท ในพื้นที่ 23 จังหวัด  รวมแล้วสามารถลดภาระค่าใช้จ่ายได้กว่า 70 ล้านบาท 

นายอลงกรณ์ กล่าวว่า เรื่องนี้เริ่มต้นจากเมื่อปลายปีที่แล้วกลุ่มประมงเพาะเลี้ยงและกลุ่มประมงพื้นบ้านได้นำเสนอขอความช่วยเหลือยกเว้นค่าธรรมเนียมและใบอนุญาตในการประชุมกับตนและประมงจังหวัดเพชรบุรี ที่วัดอุตมิงค์ อำเภอบ้านแหลมจังหวัดเพชรบุรี

จึงได้รายงานให้ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เห็นชอบในหลักการและมอบหมายกรมประมงดำเนินการเสนอเรื่องต่อ

‘บิ๊กตู่’ ย้ำ!! 5 ยุทธศาสตร์ยางพารา ช่วยเหลือเกษตรกร ตั้งเป้า ‘ประเทศผู้ผลิตยางคุณภาพดี เกษตรกรมีรายได้มั่นคง’

(20 มี.ค. 66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับทราบความก้าวหน้าจากรายงานการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ซึ่งได้ดำเนินการผลักดันซื้อขายยางมาตรฐาน และการจัดการป่าไม้ยั่งยืน โดยการซื้อขายล็อตแรกมีจำนวนกว่า 500 ตัน ระหว่างสหกรณ์ชุมชน กับ เอกชน ซึ่งเป็นผลจากการดำเนินการตามนโยบายเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยาง ของรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา แผนยุทธศาสตร์ยางพารา ระยะ 20 ปี (2560-2579) ที่ช่วยยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการผลิตยางของไทยให้สูงขึ้น ควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม และเพื่อให้เกษตรกรมีรายได้มั่นคง

นายอนุชา กล่าวว่า จากการเปลี่ยนแปลงทางด้านประชากร ด้านเศรษฐกิจ ด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ และด้านเทคโนโลยี ทำให้อาจมีผลกระทบต่อแนวทางการพัฒนา และการปรับตัวภายใต้การผลิตและการซื้อขายผลิตภัณฑ์ยาง ส่งผลให้การซื้อขายยางในหลายประเทศ เริ่มให้ความสำคัญในด้านสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปด้วย กยท. จึงจัดระบบ ผลักดันสวนยางไทย ให้เข้าสู่ระบบการรับรองป่าไม้ ตั้งแต่กระบวนการปลูกสร้างสวนยาง เก็บเกี่ยว แปรรูป เพื่อผลักดันให้เกิดการซื้อ - ขายผลิตภัณฑ์จากยางพารา ที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล ผ่านระบบตลาดยางพาราของ กยท. ซึ่งเป็นแนวทางจากแผนยุทธศาสตร์ยางพารา ระยะ 20 ปี (2560-2579) ซึ่งประกอบไปด้วย 5 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 

1.การสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรฯ และสถาบันเกษตรกรฯ 
2.การเพิ่มประสิทธิภาพ และการยกระดับคุณภาพและมาตรฐาน  
3.การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม 
4.การพัฒนาตลาด และช่องทางการจัดจำหน่าย 
และ 5.การพัฒนาปัจจัยสนับสนุน

‘บิ๊กตู่’ ปลื้ม!! 2 เดือน ต่างชาติแห่ลงทุนในไทยเพิ่ม 21 ราย มูลค่าเงินลงทุนในพื้นที่ EEC สะพัดกว่า 2 พันล้านบาท

(19 มี.ค. 66) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะประธานคณะกรรมการ นโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) หรือบอร์ด EEC เร่งขับเคลื่อนการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในพื้นที่ EEC เพื่อยกระดับเศรษฐกิจไทย ล่าสุดรายงานของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เกี่ยวกับการลงทุนในพื้นที่ EEC ของนักลงทุนต่างชาติ เดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2566 มีนักลงทุนต่างชาติสนใจลงทุนในพื้นที่ EEC เพิ่มอีกจำนวน 21 ราย คิดเป็นร้อยละ 19 ของจำนวนนักลงทุนทั้งหมด โดยมีมูลค่าการลงทุนในพื้นที่ EEC กว่า 2,078 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 8 ของเงินลงทุนทั้งหมด 

ทั้งนี้ จำแนกเป็นนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น 7 ราย ลงทุน 1,352 ล้านบาท จีน 5 ราย ลงทุน 529 ล้านบาท ไต้หวัน 3 ราย ลงทุน 37 ล้านบาท และประเทศอื่น ๆ อีก 6 ราย ลงทุน 160 ล้านบาท 

สิ่งที่ไทยต้องระวัง จากผลกระทบของอัตราแลกเปลี่ยน หากมองว่า ‘สหรัฐฯ’ ขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย เป็นเรื่องไกลตัว

(19 มี.ค. 66) นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์ฮิโรชิมะ ประเทศญี่ปุ่น และอดีตปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้ให้มุมมองถึงผลกระทบต่อการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ โดยเฉพาะประเทศไทยที่อาจต้องขี้นตาม ว่าเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวพวกเราเกินคาด ผ่านรายการ ‘NAVY TIME เรื่องดี ๆ ประเทศไทยยามเช้า’ ออกอากาศช่วงเช้า เวลา 07.00- 08.00 น. ทางสถานีวิทยุเสียงจากทหารเรือวังนันทอุทยาน (ส.ทร.วังนันทอุทยาน) FM93 เมื่อวันที่ 19 มี.ค. 66 ระบุว่า...

ในวันนี้ หากมองไปถึงเรื่องการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐฯ แล้ว ถือเป็นอีกเรื่องที่ไม่ได้ไกลตัวผู้คนอย่างที่คิด แล้วถ้าหากใครคิดว่าไทยจะไม่ได้รับผลกระทบ หากไม่ขึ้นดอกเบี้ยตามนั้น ผมคิดว่าคงไม่ใช่ เพราะในวันที่อเมริกาขึ้นดอกเบี้ยไปเยอะ แบงก์ชาติไทยก็มีแรงกดดันที่ต้องขึ้นดอกเบี้ยตามไปด้วย

คำถาม คือ หากไทยไม่ขึ้นดอกเบี้ยตาม จะเกิดอะไรขึ้น?
ปกติแล้ว แบงก์ชาติไทย มีกรอบอัตราเงินเฟ้อเหมือนแบงก์ชาติอเมริกา โดยเขาจะมีสิ่งที่ภาษาการเงินเรียกว่า Inflation Targeting เป็นกรอบเป้าเงินเฟ้อว่าต้องไม่ให้เกินเท่าไหร่ จึงจะชะลอการขึ้นดอกเบี้ย ซึ่งของอเมริกานั้น จะอยู่ที่ 2% ส่วนไทยอยู่ที่ 3% และหากเงินเฟ้อออกนอกกรอบ 3% เมื่อไหร่ สถานการณ์แบบนี้แบงก์ชาติของไทยก็มีโอกาสที่จะต้องขี้นดอกเบี้ย เพราะอันนี้คือ สัญญาประชาคมของแบงก์ชาติ ที่ให้ไว้กับประชาชนและรัฐบาล ว่าเขาจะคุมเงินเฟ้อให้ไม่เกิน 3% หากจะยังไม่ขึ้นดอกเบี้ย

ทว่าวันนี้ล่าสุดตัวเลขเงินเฟ้ออยู่ที่ 3.8-3.9% ก็เกินจากกรอบ 3% เพราะฉะนั้นแบงก์ชาติจะต้องถูกบังคับให้ขึ้นดอกเบี้ย เพื่อแก้ปัญหาเงินเฟ้อ ให้ดึงลงมาอยู่ในกรอบ 3% ที่สัญญาไว้กับประชาชน ถ้าผิดสัญญาถือว่าสอบตก

ดังนั้นในวันที่ระบบการเงินของไทย มีความเชื่อมต่อกันกับโลกพอสมควรนั้น จึงปฏิเสธได้ยากว่า ถ้าเกิดอัตราดอกเบี้ยของแต่ละชาติมันมีความต่างกันเยอะ มันจะสะเทือนไปสู่ปัญหาเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราไปในตัว เช่น...

‘บิ๊กตู่’ ลุยภูเก็ต ส่องความคืบหน้างาน ‘Expo 2028’ พร้อมมอบนโยบายทิศทางอนาคตอันดามัน

(19 มี.ค. 66) ที่เดินทางจากท่าอากาศยานทหาร 2 กองบิน 6 (บน.6) ดอนเมือง กรุงเทพฯ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อม พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย, นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน, นายธนกร วังบุญคงชนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ, นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค เลขาธิการนายกรัฐมนตรี หัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ และคณะเดินทางโดยเครื่องบินกองทัพอากาศ ไปยังท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง เพื่อปฎิบัติภารกิจ ตรวจพื้นที่จัดงาน Expo 2028 Phuket Thailand ที่ ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต

และในช่วงบ่าย นายกฯและคณะ ติดตามการใช้พื้นที่ป่าชายเลนภายใต้โครงการ ‘ป่าในเมือง’ ที่ชุมชนบ้านกิ่งแก้ว เทศบาล ต.รัษฎา อ.เมืองภูเก็ต

‘บิ๊กตู่’ สั่ง ต่ออายุเครื่องหมายรับรอง ‘ข้าวหอมมะลิไทย’ โชว์คุณภาพ-มาตรฐาน สร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภค

(18 มี.ค. 66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับทราบการดำเนินงานของกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เดินหน้าคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ต่ออายุเครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย และเครื่องหมายการค้า ‘HOM MALI’ และสั่งการให้ประชาสัมพันธ์ และพัฒนาฐานข้อมูลเครื่องหมายการค้าของผู้ส่งออกข้าวหอมมะลิไทย (List of Certified Thai Hom Mali Rice Brands) ตรวจสอบ สร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพ มาตรฐาน และขยายฐานตลาดข้าวหอมมะลิไทย ตามเป้าหมายยุทธศาสตร์ข้าวไทย และสั่งการ ให้หน่วยงานของไทยเร่งประชาสัมพันธ์ผ่าน https://thaihommaliricecertificationmark.dft.go.th/ และเชื่อมั่นในคุณภาพ และเอกลักษณ์ของข้าวหอมมะลิไทย มีมาตรฐานและเป็นที่นิยมสำหรับผู้บริโภคในตลาดต่างประเทศ จึงกำชับให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันส่งเสริมศักยภาพตั้งแต่ต้นทางการผลิต การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา การควบคุมคุณภาพ ไปจนถึงปลายทางการส่งออกเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค รวมทั้งได้เน้นย้ำให้หน่วยงานของกระทรวงพาณิชย์ในต่างประเทศ เฝ้าระวังการปลอมปมหรือละเมิด และดำเนินตามขั้นตอนของกฎหมายเมื่อพบการละเมิดใช้เครื่องหมายการค้าข้าวหอมมะลิไทย

‘ปตท.’ ช่วยเหลือประชาชน ฝ่าปัญหาภัยแล้ง ผ่านโครงการ ‘ราษฎร์ รัฐ ร่วมใจ ช่วยภัยแล้ง’ ปี 2566

วันนี้ (17 มีนาคม 2566) –  พลเอก ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผู้บัญชาการทหารบก นายประสงค์ อินทรหนองไผ่ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารกลยุทธ์กลุ่มธุรกิจปิโตรเลียม ขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้แทน ปตท. พร้อมด้วยผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ จากกรมทรัพยากร น้ำบาดาล การประปาส่วนภูมิภาค และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ร่วมเปิดโครงการ “ราษฎร์ รัฐ ร่วมใจ ช่วยภัยแล้ง” ประจำปี 2566 ณ กองบัญชาการกองทัพบก โดยในปีนี้ ปตท. ร่วมสนับสนุนความช่วยเหลือรวมมูลค่ากว่า 2,900,000 บาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนและเกษตรกรที่ประสบปัญหาภัยแล้งจากการขาดแคลนน้ำในการอุปโภคบริโภค โดยเฉพาะเขตทุรกันดารและพื้นที่ห่างไกล 

สำหรับการสนับสนุนในปี 2566 ปตท. สนับสนุนผลิตภัณฑ์น้ำมันเชื้อเพลิง บัตรเติมน้ำมัน PTT Privilege Card มูลค่า 2,100,000 บาท ถังบรรจุน้ำสะอาด Innoplus ซึ่งผลิตโดย บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ที่มีความคงทนแข็งแรง น้ำหนักเบา ทนแรงกระแทกสูงเมื่อเทียบกับพลาสติกทั่วไป ทนทานต่อสภาพแวดล้อมและสภาพอากาศได้ดี ขนาด 1,500 ลิตร จำนวน 100 ถัง มูลค่า 500,000 บาท รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์และดำเนินงานโครงการฯ เพื่อช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ประสบปัญหาภัยแล้ง ทั้งนี้ตั้งแต่ปี 2542 กลุ่ม ปตท. ได้สนับสนุนโครงการ “ราษฎร์ รัฐ ร่วมใจ ช่วยภัยแล้ง” ช่วยผู้ประสบภัยแล้งทั่วประเทศมากว่า 24 ปี รวมเป็นเงินทั้งสิ้นกว่า 96 ล้านบาท


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top