Sunday, 12 May 2024
ECONBIZ

'อินเตอร์ลิ้งค์' เผยโฉม!! 'กิตติภพ สารโพธิ์' ผู้ชนะเลิศ รายการ 'Cabling & Networking Contest ปีที่ 10'

บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ILINK พร้อมด้วย กระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม 

ร่วมมือกัน จัดงานอย่างยิ่งใหญ่ กับ การแข่งขัน 'สุดยอดทักษะสายสัญญาณและเน็ตเวิร์ก Cabling & Networking Contest ปีที่ 10' โดยมีเป้าหมายให้ กลุ่มนิสิต นักศึกษา อาชีวศึกษา และเยาวชนไทย ได้มีโอกาสพัฒนาฝีมือ เพิ่มทักษะด้านเทคนิคที่เกี่ยวกับระบบเครือข่าย และเทคโนโลยีทางด้านสายสัญญาณ 

รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ นับเป็นการเสริมความรู้ ได้สัมผัสกับประสบการณ์จริง โดยต้องการให้ผู้เข้าร่วมการแข่งขัน นำประสบการณ์ไปใช้ในชีวิตจริง และต่อยอดไปสู่ความสำเร็จในอนาคตได้ 

ซึ่งการแข่งขันในรอบคัดเลือก ได้ค้นหาตัวแทนประจำภาคจากทั่วประเทศไทย รวมถึงกรุงเทพมหานคร จำนวนรวมกว่า 1,000 คน ได้ผู้ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ ไปชิงถ้วยพระราชทาน จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 400,000 บาท จำนวนทั้งสิ้น 60 คน 

และในการแข่งขันรอบสุดท้ายก็ได้ ผู้ชนะเลิศ ซึ่งได้แก่ นายกิตติภพ สารโพธิ์ จากวิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการอยุธยา ได้รับถ้วยรางวัลพระราชทานจาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมเงินรางวัลมูลค่า 30,000 บาท 

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ นายวิทวัส สิมงาม วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการอยุธยา ได้รับถ้วยเกียรติยศ จากนายกรัฐมนตรี พร้อมเงินรางวัลมูลค่า 20,000 บาท และใบประกาศเกียรติคุณ 

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ นางสาววรรณวิษา มาโยธา วิทยาลัยเทคอำนาจเจริญ ได้รับถ้วยเกียรติยศจาก รัฐมนตรีว่ากระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พร้อมเงินรางวัลมูลค่า 10,000 บาท และใบประกาศเกียรติคุณ

รางวัลชมเชย 3 รางวัล ได้แก่...

1.) นายยุโส๊ป หวันมะเส็น วิทยาลัยการอาชีพนครศรีธรรมราช

2.) นายณัฐกิตต์ ภิรมนัด วิทยาลัยอาชีวศึกษาลำปาง

3.) นายศุคลวัฒน์ ทิพย์ชาติ วิทยาลัยการอาชีพหนองหาน

ได้รับถ้วยเกียรติยศจาก ผู้อำนวยการสำนักพัฒนา

'บิ๊กตู่-ผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค' สนับสนุน WTO ผลักดันการค้าพหุภาคีรูปแบบใหม่ 'เปิดกว้าง-สมดุล-ยั่งยืน'

(19 พ.ย.65) ที่ห้อง Plenary Hall 2 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิต์ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เข้าร่วมการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 รูปแบบ Retreat ช่วงที่ 2 หัวข้อ 'การค้าและการลงทุนที่ยั่งยืน' ภายหลังเสร็จสิ้น นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยสาระสำคัญ ดังนี้...

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การค้าและการลงทุนมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการเติบโตอย่างยั่งยืนและครอบคลุมทั่วทั้งภูมิภาคและโลก การค้าและการลงทุนถือเป็นหัวใจสำคัญของความร่วมมือในเอเปค โดยองค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งที่เอเปคสนับสนุน และสนับสนุนมาโดยตลอด คือ ระบบการค้าพหุภาคี มี WTO เป็นแกนหลัก ทั้งนี้ เอเปคสามารถมีบทบาทในฐานะแหล่งบ่มเพาะทางความคิด โดยร่วมกันหาทางออกใหม่ๆ เพื่อขับเคลื่อนประเด็นต่างๆ อาทิ ความครอบคลุม ความยั่งยืน และการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัล

การสนับสนุนสำคัญอย่างหนึ่งของเอเปคในระบบการค้าพหุภาคี คือ การขับเคลื่อนวาระเรื่องเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก (Free Trade Area of the Asia- Pacific: FTAAP) ที่ในปีนี้มีความก้าวหน้าอย่างมาก โดยจัดทำแผนงานต่อเนื่องหลายปี เพื่อขับเคลื่อนวาระเรื่อง FTAAP ต่อไป ซึ่งจะช่วยสร้างศักยภาพและเตรียมเศรษฐกิจให้พร้อมสำหรับยุคหน้า รวมถึงประเด็นการค้าและการลงทุนยุคใหม่ เช่น ความยั่งยืน เศรษฐกิจดิจิทัล การค้า และสาธารณสุข

ซึ่งนายกรัฐมนตรี เห็นว่า นอกจากจะต้องดำเนินการตามแผนงานต่อเนื่องแล้ว ยังต้องคำนึงถึงขั้นตอนต่อไปด้วย โดยปีที่ผ่านมา เทคโนโลยีดิจิทัลช่วยรับมือและให้ฟื้นตัวจากโควิด-19 รวมทั้งยังสนับสนุน MSMEs ที่ถือเป็นกลไกขับเคลื่อนการเติบโต ให้สามารถเข้าสู่ตลาดโลกและห่วงโซ่อุปทาน นอกจากนี้ยังขยายการเข้าถึงและสร้างโอกาสให้กับสตรี เยาวชน ตลอดจนในชนบทและพื้นที่ห่างไกล อย่างไรก็ดี นายกรัฐมนตรีเห็นว่า ยังคงมีช่องว่างอยู่ จึงจำเป็นที่จะต้องลดช่องว่างด้านดิจิทัลและเสริมพลัง เพื่อสร้างหลักประกันให้กับคนทุกกลุ่ม

'นายกฯ ออสเตรเลีย' ปลื้ม!! ไทยมุ่งแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ชม!! เอเปคไทย ช่วยดันความร่วมมือต่างๆ ให้เป็นรูปธรรมขึ้น

'บิ๊กตู่-นายกฯ ออสเตรเลีย' หารือแบบพบหน้าเป็นครั้งแรก ชื่นชม ความสัมพันธ์ระหว่างกัน พร้อมขยายความร่วมมือให้แน่นแฟ้นครอบคลุม แก้ปัญหาความท้าทายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม 

(19 พ.ย.65) ที่ห้อง 111 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้พบหารือกับ นายแอนโทนี แอลบาเนซี (The Honourable Anthony Albanese MP) นายกรัฐมนตรีเครือรัฐออสเตรเลีย ภายหลังเสร็จสิ้นการหารือ นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยสาระสำคัญจากการหารือ ดังนี้...

นายกรัฐมนตรียินดีที่ได้หารือแบบพบหน้า หลังจากที่ได้หารือทางโทรศัพท์กันเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทั้งนี้ ปีนี้เป็นปีที่ ไทยและออสเตรเลียได้ร่วมเฉลิมฉลองโอกาสครบรอบ 70 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นและพิเศษจากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประทับและทรงศึกษาในออสเตรเลียอยู่เป็นระยะเวลานานหลายปี ซึ่งรวมถึงความร่วมมือระหว่างกัน ที่มีพลวัตสูง ครอบคลุม ทุกมิติและเป็นรูปธรรม อยู่บนพื้นฐานของประโยชน์ร่วมกัน 

'บิ๊กตู่-นายกฯ นิวซีแลนด์' ย้ำความร่วมมือรอบด้าน ร่วมยกระดับพัฒนา 'เศรษฐกิจ-ท่องเที่ยว-สิ่งแวดล้อม'

(19 พ.ย.65) ที่ห้อง 111 ชั้น 1 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม หารือทวิภาคีกับ น.ส.จาซินดา อาร์เดิร์น (H.E. Rt Hon. Jacinda Ardern) นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ โดยสรุปสาระสำคัญ ดังนี้...

นายกรัฐมนตรียินดีที่นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์เดินทางมาร่วมการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคในครั้งนี้ ซึ่งไทยตั้งใจจะสานต่อความสำเร็จของการเป็นเจ้าภาพเอเปคของนิวซีแลนด์เมื่อครั้งล่าสุด ไทยและนิวซีแลนด์มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและความร่วมมือที่ครอบคลุมทุกมิติ โดยพร้อมเพิ่มพูนความร่วมมือที่มีอยู่เดิมและในสาขาความร่วมมือใหม่ โดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยว ซึ่งรัฐบาลพร้อมผลักดันและเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างกันมากยิ่งขึ้นในระดับภูมิภาค อนุภูมิภาค และเวทีพหุภาคี

นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ยินดีที่พบกับนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ยินดีกับการเป็นเจ้าภาพการจัดการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี แม้ในช่วงสถานการณ์ที่ยากลำบาก ชื่นชมไทยที่สามารถผลักดันความร่วมมือจากทุกเขตเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยนิวซีแลนด์พร้อมสนับสนุนแนวทางที่หารือร่วมกันเพื่อการพัฒนาและฟื้นฟูเศรษฐกิจระหว่างภูมิภาค โดยเฉพาะประเด็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การส่งเสริมการท่องเที่ยว ที่นิวซีแลนด์ให้ความสำคัญ เชื่อมั่นว่าทั้งสองประเทศจะสามารถขยายความร่วมมือในด้านอื่นๆ ได้อีกมาก

'บิ๊กตู่-IMF' ร่วมหารือประเด็น 'สังคมผู้สูงอายุ-สภาพภูมิอากาศ' ผนึกกำลังทุกฝ่ายสร้างประโยชน์เพื่อประชาชนคนไทย

(19 พ.ย.65) ที่ห้อง 111 ชั้น 1 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ นางคริสตาลินา กอร์เกียวา กรรมการจัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund: IMF) เข้าเยี่ยมคารวะ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โดยสรุปสาระสำคัญ ดังนี้...

นายกรัฐมนตรีกล่าวต้อนรับกรรมการจัดการ IMF สู่ประเทศไทย และกล่าวชื่นชม IMF ที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินโลกท่ามกลางภาวะที่มีความไม่แน่นอนสูง โดยเป็นเวทีหารือและการให้คำแนะนำด้านนโยบายที่เหมาะสม และการเข้าให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประเทศ ที่ประสบปัญหาอย่างรวดเร็ว 

กรรมการจัดการ IMF รู้สึกยินดีที่ได้เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรีในวันนี้ และเป็นเกียรติที่ได้ร่วมการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคที่ประเทศไทย ซึ่งในช่วงเวลานี้ โลกประสบกับสถานการณ์ความท้าทาย ทั้งการแพร่ระบาดของโควิด-19 และสถานการณ์ในยูเครน พร้อมกล่าวชื่นชมการบริหารจัดการสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ของไทย

‘อลงกรณ์’ นำสินค้าเกษตรฯร่วมไฮไลท์เอเปค โชว์ก้าวใหม่สร้างสรรค์เกษตรสู่มูลค่าสูง

‘อลงกรณ์’ รวมพลคนครีเอทีฟร่วมคิกออฟ งานสินค้าเกษตรXคาแรคเตอร์ หนึ่งในกิจกรรมไฮไลท์การประชุมเอเปค 2022 ระหว่างวันที่ 18 - 20 พ.ย.ที่ตลาดน้ำ อตก.

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดงาน 'ตลาดนัดสินค้าเกษตร X คาแรคเตอร์' ( Agriproducts X Character Market ) พร้อมกล่าวว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ นโยบาย 'ตลาดนำการผลิต และนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0' ของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่มุ่งพัฒนาการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำเพื่อให้ประเทศไทยเป็นครัวของโลก รวมทั้งยกระดับสู่เกษตรมูลค่าสูงตามหมุดหมายใหม่ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 โดยใช้แนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในรูปแบบคาแรคเตอร์มาเพิ่มมูลค่าของสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์เกษตรของเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์และสถาบันเกษตรกร รวมทั้งการส่งเสริมสตาร์ทอัพเกษตรรุ่นใหม่ 

ซึ่งจากข้อมูลของสมาคมลิขสิทธิ์นานาชาติ หรือ LIMA ระบุว่า สำหรับปี 2564 ภาพรวมของสินค้าและบริการที่นำเอาลิขสิทธิ์ของผลงานสร้างสรรค์ในรูปแบบต่าง ๆ มาใช้ในโลก มีมูลค่าสูงถึง 315.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยเพิ่มขึ้นมาจากปี 2019 ร้อยละ 7.75 แม้จะเป็นช่วงที่มีสถานการณ์การระบาดของโคโรนาไวรัสทั่วโลกก็ตาม นอกจากนี้มูลค่าของค่าลิขสิทธิ์ผลงานสร้างสรรค์ในช่วงเวลาเดียวกัน ก็เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 โดยมีมูลค่าราว 17.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยคาแรคเตอร์เป็นประเภทผลงานสร้างสรรค์ที่มูลค่าสูงสุดถึง 129.9 พันล้านเหรียญ หรือคิดเป็นร้อยละ 41 ของผลงานสร้างสรรค์ทุกประเภท เนื่องจากคาแรคเตอร์มีจุดเด่นที่สามารถนำเอาไปใช้ได้ง่าย และเข้าถึงผู้บริโภคได้หลากหลายวิธี ส่วนในประเทศไทยมีมูลค่าการใช้คาแรคเตอร์สูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลกราวร้อยละ 20 (ร้อยละ 62 ของมูลค่ารวมโดยประมาณ) ติดต่อกันมาอย่างต่อเนื่องหลายปี โดยใช้ในการส่งเสริมการขายและการตลาดของภาคธุรกิจในสินค้าหลากหลายประเภทที่จำหน่ายอยู่ในร้านสะดวกซื้อ ตามกิจกรรมการตลาดที่ประชาสัมพันธ์ออกมาตามสื่อต่าง ๆ หรือนำไปผลิตเป็นสินค้า ตลอดจนใช้ในการประชาสัมพันธ์การบริการต่าง ๆ ซึ่งเกือบทั้งหมดก็จะเป็นคาแรคเตอร์ชั้นนำ ที่ได้รับความนิยมจากต่างประเทศที่เรารู้จักกันดี แต่แทบจะไม่มีคาแรคเตอร์ไทยได้แชร์ส่วนแบ่งเลย

สำหรับการจัดงานในครั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มองเห็นโอกาสดังกล่าวในการนำไปเพิ่มมูลค่าของสินค้าเกษตรไทย จึงได้กำหนดแนวทางการดำเนินการส่งเสริมการใช้คาแรคเตอร์กับธุรกิจเกษตร โดยคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนธุรกิจเกษตร (Agribusiness) ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งมีนายโฆสิต สุวินิจจิต เป็นประธาน ได้ต่อยอดผลสำเร็จของโครงการ Change 2021 และ 2022 Visual Character Arts for SME ของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ร่วมกับสมาคมการค้าลิขสิทธิ์และของที่ระลึก จากคาแรคเตอร์ดีไซน์ของเล่น และผลงานศิลป์ร่วมสมัยไทย หรือสมาคม TCAP (ทีแคป) ซึ่งยึดแนวความคิดแบบเศรษฐกิจเผื่อแผ่ โดยให้โอกาสเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการ SME ในพื้นที่ของคาแรคเตอร์นั้น ๆ สามารถยื่นขออนุญาตนำลิขสิทธิ์คาแรคเตอร์ไปใช้ส่งเสริมการขายสินค้าและบริการของตนได้ โดยไม่มีค่าลิขสิทธิ์ ซึ่งแนวทางนี้หากได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมผลักดัน ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดความแข็งแรงของคาแรคเตอร์ในภาพรวมเปรียบเสมือนหนึ่งในแบรนดิ้งจังหวัดแล้ว ยังจะทำให้เกิดประโยชน์กับทุกภาคส่วนที่นำไปใช้ กระจายไปทั่วประเทศ โดยผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถาม เพื่อซื้อหรือขอใช้ลิขสิทธิ์คาแรคเตอร์ไปใช้ในการพัฒนาสินค้า โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะขยายผลความร่วมมือนี้ให้กระจายไปสู่พี่น้องเกษตรกรและผู้ประกอบการทั่วประเทศต่อไป 

IMF ชมไทยกุมนโยบายการคลังอยู่ แม้ดอลลาร์แข็ง แต่กระทบน้อย

นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ร่วมประชุมหารือทวิภาคีกับนาง Kristalina Georgieva กรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ในระหว่างการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยมีผลการหารือที่สำคัญ ดังนี้...

1. ทั้ง 2 ฝ่ายได้มีการหารือถึงภาพรวมในประเด็นด้านเศรษฐกิจ โดย IMF มีความเห็นว่า ภาพรวมเศรษฐกิจของสมาชิกเขตเศรษฐกิจเอเปคในปี 2565 จะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเศรษฐกิจโลกยังคงมีความเสี่ยงจากปัญหาเงินเฟ้อและสถานการณ์ที่ส่งผลต่อราคาพลังงานที่สูงขึ้น โดยนาง Georgieva ได้ชื่นชมการบริหารจัดการนโยบายการคลังของไทย โดยเฉพาะการบริหารจัดการหนี้สาธารณะ โดยที่เงินกู้ของรัฐบาลเกือบทั้งหมดอยู่ในรูปของสกุลเงินบาททำให้ไม่ได้รับผลกระทบจากการที่ดอลลาร์สหรัฐแข็งตัว 

2. นาง Georgieva เห็นว่าความท้าทายทางเศรษฐกิจที่สำคัญในขณะนี้ ได้แก่ การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยได้เสนอให้ประเทศไทยแบ่งปันประสบการณ์การรับมือกับปัญหาดังกล่าวแก่ประเทศอื่น และความท้าทายอีกประการหนึ่งก็คือปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดย IMF สนับสนุนการใช้กลไก Carbon Pricing โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แจ้งว่าการใช้กลไกทางการเงินการคลังเพื่อจัดการกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นนโยบายที่กระทรวงการคลังให้ความสำคัญเป็นลำดับแรกอยู่แล้ว 

‘ไทย’ เตรียมดัน ‘FTAAP’ ในการประชุม APEC 2022 สร้างเขตการค้าเสรีใหญ่ที่สุดในโลก พาศก.ไทยโตหลายมิติ

(18 พ.ย. 65) นายอนุชา บรูพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในการประชุมเอเปกวันที่ 17-19 พฤศจิกายน 2565 นี้ จะมีการประชุมประเด็น เขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก หรือ Free Trade Area of the Asia-Pacific (FTAAP) ซึ่งรัฐบาลได้ประชุมและร่างถ้อยแถลงร่วมรัฐมนตรีเอเปก ครอบคลุมประเด็นสำคัญ 47 หัวข้อ ซึ่งแบ่งเป็น 3 ประเด็นหลัก คือ 

1.) การเปิดกว้างต่อทุกโอกาส 
2.) การเชื่อมโยงในทุกมิติ 
และ 3.) ความสมดุลในทุกด้านในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ FTAAP

นายอนุชา กล่าวว่า นอกจากนี้ ไทยจะเสนอแผนงานขับเคลื่อน FTAAP ได้รวบรวมประเด็นที่สมาชิกเอเปกสนใจร่วมกัน ทั้งการค้าดั้งเดิม การค้าใหม่และการฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยตั้งเป้าหมายของ FTAAP เพื่อขยายการค้าการลงทุนภายในเอเชีย-แปซิฟิก รวมทั้งลดอุปสรรคการค้าการลงทุนที่ไม่จำเป็น และเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของสมาชิกเอเปก และลดช่องว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจการค้าระหว่างกัน ทั้งนี้ ปัจจุบันกำลังทำแผนงาน FTAAP ระยะ 4 ปี (2566-2569) ที่มุ่งสู่การจัดทำ FTAAP เพื่อตอบสนองสถานการณ์เศรษฐกิจโลก ด้านการค้า การลงทุน นวัตกรรม การเข้าสู่ยุคดิจิทัล

ททท. รุกตลาดแดนอิเหนา จับมือ บริษัทนำเที่ยวยักษ์ใหญ่อินโดนีเซียสำรวจสินค้าท่องเที่ยวเชียงใหม่

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมกับ สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ และบริษัทนำเที่ยว Ayo Wisata ประเทศอินโดนีเซีย จัดกิจกรรม Amazing Thailand New Chapter X Ayo Wisata Agent Fam Trip นำผู้ประกอบการนำเที่ยวชั้นนำจากอินโดนีเซีย จำนวน 16 ราย และสื่อมวลชน 2 ราย สำรวจสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวเส้นทางเชียงใหม่-เชียงราย-กรุงเทพฯ ในระหว่างวันที่ 16-20 พฤศจิกายน 2565 

ในโอกาสเดียวกันนี้ ได้จัดเวทีเจรจาธุรกิจในลักษณะ B2B ระหว่างผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวอินโดนีเซียจำนวน 16 ราย ในฐานะผู้ซื้อ (Buyer) กับผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 32 ราย ในฐานะผู้ขาย (Seller) ประกอบด้วย โรงแรมที่พัก 11 หน่วยงาน แหล่งท่องเที่ยว 9 หน่วยงาน บริษัทนำเที่ยว 7 หน่วยงาน สปาและเวลเนส 3 หน่วยงาน สนามกอล์ฟ 1 หน่วยงาน และสายการบิน 1 หน่วยงาน จัดขึ้นในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2565 ณ โรงแรมดวงตะวันเชียงใหม่ เพื่อสร้างโอกาสในการเสนอขายและแลกเปลี่ยนสินค้าบริการทางการท่องเที่ยวให้เกิดการเชื่อมโยงทางธุรกิจต่อไปในอนาคต รวมทั้งได้จัดงานเลี้ยงต้อนรับ ณ ร้านอาหารเอื้องคำสาย ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่

นางสิรินาถ ฉัตรศุภกุล ผู้อำนวยการ ททท. สำนักงานจาการ์ตา กล่าวว่า "ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2565 (มกราคม-ตุลาคม 2565) มีนักท่องเที่ยวชาวอินโดนีเซียเดินทางเข้ามายังประเทศไทยแล้วจำนวน 139,638 คน-ครั้ง มีค่าใช้จ่ายต่อคนต่อทริปอยู่ที่ราว 26,000 บาท ระยะเวลาพำนัก 9.5 วัน ขณะที่สายการบินเชื่อมโยงเส้นทางอินโดนีเซีย-ไทย ปัจจุบันกลับมาเปิดให้บริการแล้วราวร้อยละ 50 ในเส้นทางจาการ์ตา-กรุงเทพฯ และเดนบาซาร์-กรุงเทพฯ รวมจำนวน 59 เที่ยวบิน/สัปดาห์ หรือราว 13,227 ที่นั่ง/สัปดาห์ การเดินทางของชาวอินโดนีเซียส่วนใหญ่ยังคงพึ่งพิงเอเย่นต์ในการจัดการเดินทางเป็นหลัก การรับประทานอาหารหากมีการจัดแยกส่วนอาหารฮาลาลจะดีมาก รวมทั้งยังคงต้องการมัคคุเทศก์ที่สื่อสารภาษาบาฮาซา-อินโด"

'ดร.เผ่าภูมิ' ชี้หุ้น MORE สะท้อนช่องโหว่ที่ไม่เคยถูกปิดของตลาดหุ้นไทย เสียหายซ้ำซาก ประเมินค่าไม่ได้

ดร.เผ่าภูมิ โรจนสกุล รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย และผู้อำนวยการศูนย์นโยบายพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีหุ้น MORE ว่า

เรื่องนี้แบ่งได้ 3 ระดับ 
ต้นน้ำ คือ ความจริงของตลาดหุ้นไทยที่เต็มไปด้วยช่องโหว่และโอกาสการปั่นหุ้น กฎเกณฑ์ที่ล้าหลังไม่ทันเกม หน่วยงานกำกับที่ไม่ทันการณ์
กลางน้ำ คือ ความหละหลวมของโบรกเกอร์เรื่องหลักประกันและการปล่อยวงเงิน จนเกิดความเสียหาย 
ปลายน้ำ คือ นักลงทุนรายย่อยกลายเป็นเหยื่อ

จริงอยู่ที่หัวใจของเรื่องนี้มักถูกชี้เป้าที่ความหละหลวมของโบรกเกอร์ในเรื่องหลักประกันและการปล่อยวงเงิน แต่เรื่องทั้งหมดจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากตลาดหุ้นไทยมีความสมบูรณ์เชิงโครงสร้าง ซึ่งความรับผิดชอบตรงนี้ก็ต้องชี้เป้าไปที่ หน่วยงานที่กำกับดูแลตลาดหลักทรัพย์ 

‘เทมส์ ไกรทัศน์’ วอนอย่าทำเสียบรรยากาศเอเปค ชี้ เป็นโอกาสสำคัญฟื้นท่องเที่ยวหลังวิกฤตโควิด

นายเทมส์ ไกรทัศน์ ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.ภูเก็ต  พรรคชาติพัฒนากล้า กล่าวว่า วันนี้เราคงรู้กันดีอยู่แล้วว่า เรากำลังเข้าสู่ห้วงเวลาสัปดาห์การประชุมสุดยอดผู้นำเอเปค #APEC2022THAILAND เป็นเวลาและโอกาสสำหรับประเทศไทยที่จะได้แสดงศักยภาพของประเทศ รวมถึงการเน้นย้ำความเป็นผู้นำโลกในเรื่องของการต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองระดับสำคัญและผู้มาเยือนจากทั่วโลก 

ขณะเดียวกัน ห้วงเวลานี้ของภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยและโดยเฉพาะชาวภูเก็ตที่เป็นธุรกิจท่องเที่ยวและบริการทั้งจังหวัดเกือบ 100% เรากำลังมีการเปิดฤดูการท่องเที่ยว ที่จะเป็น High Season แรกที่เราจะทำมาหากินกันได้อย่างเต็มที่ หลังวิกฤตการระบาดของโรคโควิด-19 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา 

'จุรินทร์' โชว์วิชั่นกลางวงผู้นำเข้าข้าวโลกกว่า 1,000 ราย ดันข้าวไทยเป็นแหล่งผลิตแปรรูป-ส่งออก สร้างความมั่นคงทางอาหารคุณภาพโลก พร้อมย้ำ!ไทยส่งเสริมการค้าข้าวเสรีทั้งตลาดในและต่างประเทศ

(16 พ.ย.65) เวลา 10.30 น. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ร่วมประชุมและกล่าวปาฐกถาพิเศษการประชุมข้าวโลก ครั้งที่ 14 (14th World Rice Conference) พร้อมด้วย Mr.Jeremy Zwinger ประธานกรรมการบริหารนิตยสาร The Rice Trader นายกีรติ รัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยและผู้ประกอบการค้าข้าวทั้งในและต่างประเทศ ที่โรงแรมดวงจิตต์ รีสอร์ท แอนด์ สปา จังหวัดภูเก็ต โดยในงานนายจุรินทร์ได้กล่าวว่า ขอบคุณ Mr.Jeremy Zwinger และนิตยสาร The Rice Trader ที่ให้เกียรติกับประเทศไทยเป็นครั้งที่ 3  เพราะเคยจัดที่ไทยมาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกที่จังหวัดเชียงใหม่ปี 2016 ครั้งที่สองที่จังหวัดภูเก็ตปี 2010 และครั้งนี้ครั้งที่สาม 2022 จังหวัดภูเก็ตเป็นเกาะเชื่อมกับจังหวัดพังงา ซึ่งเป็นเขตเลือกตั้งของตน การที่มาจัดการประชุมข้าวโลกที่ภูเก็ต หวังว่าทุกท่านจะได้มีโอกาสข้ามสะพานท้าวเทพกระษัตรีไปยังจังหวัดพังงาและจังหวัดอื่นในอันดามัน ทั้งภูเก็ตและกระบี่ ขอต้อนรับผู้ประกอบการข้าวจากทั่วโลกที่ได้มีโอกาสมาเยือนภูเก็ต

สำหรับสถานการณ์ข้าว ถือเป็นธัญพืชที่เพาะปลูกมากเป็นลำดับ 3 ของโลก รองจากข้าวโพด และข้าวสาลี ภูมิภาคที่บริโภคข้าวมากที่สุดในโลกคือทวีปเอเชีย มากกว่า 90% ของผลผลิตทั้งโลก ข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์พบว่าปีนี้ 2022  ความต้องการข้าวโลกจะมากขึ้นประมาณ 3.5% เทียบจากปีที่แล้วที่ 517 ล้านตัน สูงสุดในรอบ 10 ปี เพราะปัญหาความวิตกกังวลเรื่องความมั่นคงทางอาหารจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน เศรษฐกิจโลกและความเปลี่ยนแปลงทางด้านภูมิอากาศ ส่งผลให้หลายประเทศที่เป็นผู้นำเข้าข้าวหันมาปลูกข้าวเพิ่มขึ้น เช่น อินโดนีเซียเซเนกัล ออสเตรเลีย ทั้งที่เป็นผู้นำข้าวมาก่อน ทำให้เกิดการแข่งขันด้านการตลาดข้าวรุนแรงตามไปด้วย

สำหรับประเทศไทย ถือเป็นประเทศที่ผลิตข้าวรายสำคัญของโลกปีนี้ ประเทศไทยผลิตข้าวเป็นลำดับ 4 ของโลก ประเทศที่ผลิตมากที่สุดในโลกคือ จีน 147 ล้านตัน อินเดีย 124 ล้านตัน เวียดนาม 27 ล้านตันและไทยผลิตได้ 20 ล้านตัน สำหรับการส่งออก 9 เดือนแรกของปีนี้ ม.ค.-ก.ย.ประเทศไทยส่งออกข้าวแล้ว 2,796 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 35.5% ปีที่แล้วส่งออกได้ 6.1 ล้านตัน ปีนี้คาดว่าจะส่งออกได้ถึง 7.5 ล้านตันโดยประมาณ  ด้านคุณภาพในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะตัวแทนรัฐบาลไทย ขอยืนยันว่าข้าวไทยเป็นข้าวที่มีคุณภาพดีที่สุดในโลกชนิดหนึ่งหรือประเทศหนึ่ง ดูจากผลการประกวดข้าวโลกของนิตยสาร The Rice Trader ซึ่งจัดมา 13 ครั้งประเทศไทยได้แชมป์ข้าวโลกถึง 7 ครั้ง เกินกว่าครึ่งหนึ่งของการจัดประกวด คือเครื่องการันตีว่าข้าวไทยเป็นข้าวที่มีคุณภาพมากที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง สำหรับนโยบายของรัฐบาลไทย 1. ประเทศไทยมียุทธศาสตร์ข้าวไทย ว่า 5 ปีตั้งแต่ปี 2020-2024 มีเป้าหมายสำคัญทำให้ประเทศไทยเป็นผู้นำด้านการผลิตด้าน การตลาดและด้านผลิตภัณฑ์ข้าวที่มีคุณภาพของโลกใช้ยุทธศาสตร์ 'ตลาดนำการผลิต' เพื่อสนองความต้องการของตลาดโลก กำหนดเป้าหมายแต่ละด้านชัดเจน เช่น ภายใน 5 ปี จะเพิ่มพันธุ์ข้าวใหม่ให้ได้อย่างน้อย 12 พันธุ์ วันนี้ปี 2022 มีข้าวพันธุ์ใหม่ที่ได้รับการรับรองแล้ว 6 พันธุ์ และคาดว่าไม่เกินปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า จะได้ข้าวพันธุ์ใหม่เพิ่มอีก 6 พันธุ์ รวมเป็น 12 พันธุ์ใหม่สนองความต้องการของตลาดโลกต่อไป 

ข้าวพันธุ์ใหม่ประกอบด้วยข้าวพื้นนุ่ม 4 พันธุ์ ข้าวพื้นแข็ง 4 พันธุ์ ข้าวหอม 2 พันธุ์ รวมทั้งข้าวคุณสมบัติพิเศษ เช่น ข้าวสี ข้าวเพื่อการบริโภค ข้าว Functional Food อีก 2 พันธุ์ วันนี้สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยกับกระทรวงพาณิชย์นำมาแสดงและให้ทุกท่านได้ชิม 2. นโยบายประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาลชุดนี้ดำเนินการมา 3 ปีเต็ม และปีนี้เป็นปีที่ 4 ปลายอายุของรัฐบาลนี้ จะหมดวาระประมาณเดือนมีนาคมปีหน้า  เมื่อวานคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเดินหน้าต่อนโยบายประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวใช้เงิน 81,200 ล้านบาท ให้ชาวนาในประเทศไทยมีรายได้เพียงพอกับการยังชีพ ถ้าราคาตกต่ำกว่ารายได้ที่ประกันจะมีเงินส่วนต่างช่วยชดเชยให้สามารถเลี้ยงชีพได้ ไม่เลิกอาชีพปลูกข้าวเพื่อทำให้ประเทศไทยมีข้าวบริโภคและเป็นส่วนหนึ่งด้านความมั่นคงทางอาหารของโลกดำรงอยู่ต่อไปได้ ด้วยฝีมือชาวนาไทยที่มีส่วนสำคัญ และทำให้ประเทศไทยเป็นครัวโลกหรือ Kitchen of the World เป็นแหล่งสำรองอาหารให้กับโลกโดยเฉพาะข้าวได้ต่อไป

‘สุริยะ’ ผนึก METI สานต่อความร่วมมือ ไทย-ญี่ปุ่น ยัน ‘โซนี่กรุป’ ปักหมุดไทย ขยายรง.เซมิคอนดัคเตอร์

รมว.อุตสาหกรรรม ผนึก METI ดึงบริษัทยักษ์ใหญ่ญี่ปุ่นลงทุนในไทยเพิ่ม ยกระดับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เสริมศักยภาพเศรษฐกิจไทย ยัน ‘โซนี่กรุปคอร์ปอเรชัน’ เตรียมขยายโรงงานการผลิตเซมิคอนดัคเตอร์ในไทย ส่วนโตโยต้า ลุย EV

(16 พ.ย. 65) กระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม หรือ METI ประเทศญี่ปุ่น หารือกรอบความร่วมมือการพัฒนาอุตสาหกรรม 2 ประเทศ หวังดึงกลุ่มทุนข้ามชาติร่วมพัฒนาศักยภาพเอสเอ็มอีไทย กระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจด้วยศักยภาพต่างแดน พร้อมเร่งสร้างบุคลากรเชี่ยวชาญเทคโนโลยีดิจิทัลเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม ภายใต้กรอบการทำงานร่วมกันตลอดจนพัฒนาระบบการขึ้นทะเบียนที่ปรึกษาเพื่อรองรับบุคลากรที่ผ่านการพัฒนาทักษะและองค์ความรู้จากโครงการต่าง ๆ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้าน Digitalization เพื่อตอบสนองต่อเป้าหมายการสร้าง System Integrator ตลอดจนยกระดับภาคการผลิตเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 ให้ประเทศไทยเป็นผู้นำการผลิตและใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติของอาเซียน ล่าสุดข้อมูลต้นปี 2565 ญี่ปุ่นยังเชื่อมั่นการลงทุนไทย ผ่านการลงทุนโครงการต่าง ๆ เป็นจำนวนร้อยละ 23 ของโครงการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมด

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม (Ministry of Economy, Trade and Industry, METI) ได้ร่วมมือกันในด้านการพัฒนาและยกระดับภาคอุตสาหกรรมของทั้งสองประเทศมาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดได้ร่วมประชุมกับ นายนิชิมุระ ยาสึโทชิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และ อุตสาหกรรม (METI) ประเทศญี่ปุ่น ผ่านการหารือเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานด้านการส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมและกำหนดแนวทางการดำเนินงานความร่วมมือในอนาคต ระหว่างการประชุมเอเปค 2022 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ 

โดยการประชุมครั้งนี้มุ่งส่งเสริมภาคอุตสาหกรรม พร้อมกำหนดความร่วมมือในอนาคต ภายใต้ กรอบการทำงาน Cooperation Framework on Human Resource Development for Realizing Industry 4.0 ผ่าน 3 ประเด็นหลัก ประกอบด้วย 1. แนวทางการร่วมกันพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลให้แก่บุคลากรในภาคอุตสาหกรรม 2. การขับเคลื่อนนโยบาย BCG ในสาขาอุตสาหกรรมเป้าหมาย และ 3. การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับห่วงโซ่อุปทานผ่านแนวคิดการร่วมสร้าง (Co-creation) และการพัฒนาความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนไทยและญี่ปุ่น 

“การแลกเปลี่ยนกรอบความร่วมมือครั้งนี้ จะเป็นการสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมไทย มุ่งเน้นการสร้างโอกาสด้านการค้าและการลงทุน ตลอดจนโอกาสทางเศรษฐกิจใหม่ ๆ ผ่านการถอดบทเรียนหลังการระบาดของโรคโควิด-19 รวมทั้งสอดคล้องกับโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว หรือ Bio-Circular-Green Economy : BCG Model ของไทย” นายสุริยะ กล่าว

ทั้งนี้ รัฐมนตรีอุตสาหกรรม ยังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ที่ผ่านมา กระทรวงอุตสาหกรรม และ METI ร่วมกันยกระดับภาคอุตสาหกรรมสู่ Thailand 4.0 อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งการใช้เทคโนโลยีเข้ามายกระดับภาคการผลิตตามเป้าประสงค์ต่าง ๆ อาทิ โครงการ Lean Automation and System Integrators (LASI) และการใช้วิธีการแก้ปัญหาด้วยความคิดสร้างสรรค์ หรือ โมโนซึกุริ ที่ใช้พลังกลที่มีอยู่ในธรรมชาติแก้ปัญหาซึ่งสามารถลดต้นทุนค่าพลังงาน ทั้งยังเป็นการเสริมสร้างความเป็นอันหนึ่งเดียวกัน โดยกรอบการทำงานที่ทั้งสองกระทรวง ได้มีการแลกเปลี่ยนกันไปเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2565 และจะได้รับการยกระดับไปอีกขั้น โดยเฉพาะในด้านการสร้างบุคลากรเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมด้วยการแลกเปลี่ยนกรอบความร่วมมือในวันนี้ 

ยิ่งไปกว่านั้นภายใต้กรอบความร่วมมือดังกล่าว ยังมุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาระบบการขึ้นทะเบียนที่ปรึกษาเพื่อรองรับบุคลากรที่ได้รับการพัฒนาทักษะและองค์ความรู้จากโครงการต่าง ๆ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้าน Digitalization เพื่อตอบสนองต่อเป้าหมายการสร้าง System Integrator เพื่อยกระดับภาคการผลิตเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 ให้ประเทศไทยเป็นผู้นำการผลิตและใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติของอาเซียน

รู้จัก ‘Supercomputer’ ของไทย ที่แรงติดอันดับโลก กับประโยชน์มหาศาล ช่วยหนุนงานวิจัยเชิงลึก

จากที่ ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวถึงข่าวการจัดอันดับซูเปอร์คอมพิวเตอร์ TOP500 ซึ่งเป็นการจัดอันดับเพื่อจัดเก็บข้อมูลเชิงสถิติของระบบซูเปอร์คอมพิวเตอร์จากทั่วโลก รวมทั้งยังถูกนำไปใช้ในการแสดงศักยภาพด้านการคำนวณ 

หลายคนคงจะสงสัยว่า Supercomputer มันคืออะไร แล้วไทยจำเป็นต้องซื้อมาด้วยหรือ แล้วคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เหล่านั้น มันจะซื้อมาทำไม มันจะทำงานอย่างไร มันจะเหมือนที่เราเห็นในหนังไซไฟหรือไม่ แล้วในโลกของความเป็นจริง Supercomputer จะทำได้เหมือนในหนังหรือ แค่เพียงดีดนิ้วปุ๊บ ทุกอย่างก็จะประมวลผลออกมาเลยหรือ 

คำตอบก็คือ มันยังไม่ล้ำถึงขนาดในหนังหรอก แต่ Supercomputer นั้นก็จะถูกนำไปใช้งานในเรื่องต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่นงานวิจัยพันธุกรรมดีเอ็นเอต่าง ๆ เรื่องยา การแพทย์ การเกษตร โดยทีมนักวิจัยนั้นก็จะใช้ Supercomputer ในการประมวลผล วิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะรวดเร็วขึ้นมาก 

นอกจากนั้นก็จะนำไปใช้จำลองสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างเช่น ภัยพิบัติสึนามิ ถ้าจะเกิดขึ้นอีกจะเกิดขึ้นในลักษณะไหน และเราควรจะอพยพกันแบบใด Supercomputer ก็จะช่วยเราประมวลผลได้ล่วงหน้า หรือ นำ Supercomputer มาใช้ร่วมกันกับ Ai ซึ่ง Ai นั้นก็เป็นสิ่งที่เราคุ้นเคยกันอยู่แล้ว มันเป็นสิ่งที่ช่วยเราประมวลผล แต่ก่อนที่มันจะประมวลผลได้ มันก็จะต้องทำงานโดยมีฐานข้อมูลจำนวนมาก ซึ่งต้องอาศัย Supercomputer นั่นเอง 

และที่จริงนั้น ประเทศไทย เรามี Supercomputer กันตั้งนานแล้ว มีมาตั้งแต่เมื่อ 30 ปีที่แล้ว โดย Supercomputer เครื่องแรกในไทยนั้น คือ IBM RS/6000 ซึ่งใช้พยากรณ์อากาศอยู่ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา เครื่องนี้มีความเร็วอยู่ที่ 12.96 GFLOP

ซึ่งคอมพิวเตอร์ทั่วไปความเร็วจะไม่ถึง 0.5  GFLOP ด้วยซ้ำไป และต่อมา ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ NECTEC ก็ได้ซื้อ  Supercomputer มาใช้ในงานวิจัยต่าง ๆ เช่น การจัดการข้อมูลน้ำของประเทศ ออกมาเป็นศูนย์รวมข้อมูลด้านการจัดการน้ำของประเทศ ให้สามารถขึ้นมาดูได้ในหน้าเดียว ในคลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ ให้หน่วยงานต่าง ๆ นำไปใช้ประโยชน์ได้ 

และในปัจจุบันก็ได้พัฒนาเป็นแอป Thai water ต่อมา TNGC ก็นำ Supercomputer มาใช้ความเร็วอยู่ที่ 2.5 Teraflop แรงกว่า Supercomputer เครื่องแรกที่กรมอุตุนิยมวิทยา 200 เท่า ต่อมาก็เป็นระบบอิคลิปส์คลัสเตอร์ ซึ่งตั้งอยู่ที่ ศูนย์ไบโอเทค และก็มีเครื่องศิลาคลัสเตอร์ ตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง ต่อมาสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ก็มีอีกเครื่องชื่อว่า ชาละวัน ในปี 2016 เครื่องนี้ความเร็วอยูที่ 16 Teraflop และในปี 2019 ประเทศไทยก็ได้จัดตั้งศูนย์ Supercomputer ขึ้นมา มีระบบชื่อว่า ธารา เป็น CPU 4,320 cores โดยทางจุฬาฯ เคยใช้เครื่องนี้ช่วยประมวลผลการวิจัยสารต้านโควิด จากที่เคยต้องประมวลผลประมาณ 1 สัปดาห์  เจ้าเครื่องนี้ก็ประมวลผลให้เสร็จภายใน 2 ชั่วโมง  

นอกจากนี้ก็ยังใช้เครื่องนี้ในการวิจัย คาดการณ์ P.M. 2.5 จากที่เคยใช้เวลา 12 ชั่วโมง ก็เหลือแค่ 45 นาที และบอกเตือนล่วงหน้าได้ถึง 3 วัน และตัวที่แรงที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งมีชื่อว่า ลันตา นั้นความเร็วอยู่ที่ 13 Petaflop มี CPU 31,744 cores แรงขึ้นกว่าระบบ ธารา 30 เท่า หรือเทียบได้กับ iPhone 14 pro max 6,500 เครื่อง

ททท.เปิดตัวเลขนักท่องเที่ยวทะลุ 7.3 ล้านคน คาดสิ้นปีเป้า 10 ล้าน ไม่พลาดแน่นอน

(16 พ.ย. 65) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เผยตั้งแต่ 1 มกราคม ถึง 26 ตุลาคม 65 มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยแล้ว 7,349,843 ล้านคน และตั้งเป้าไว้ทั้งหมดในปีนี้ราว 10 ล้านคน โดยจำแนกจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติรายเดือนได้ดังนี้...

• มกราคม 133,903 คน

• กุมภาพันธ์ 152,954 คน

• มีนาคม 210,836 คน 

• เมษายน 293,350 คน 

• พฤษภาคม 521,410 คน


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top