Monday, 20 May 2024
Special News Team

ก๊อป MV : ‘แรงบันดาลใจ’ หรือ ‘หรือลอกเลียนแบบ’ | LOCK LENS GURU EP.1

ก๊อป MV : ‘แรงบันดาลใจ’ หรือ ‘หรือลอกเลียนแบบ’ | LOCK LENS GURU EP.1

???? GURU : ดร.พีรภัทร ฝอยทอง ทนายความและที่ปรึกษากฎหมาย

▶️ หัวข้อ : ก๊อป MV : ‘แรงบันดาลใจ’ หรือ ‘หรือลอกเลียนแบบ’

อ่านคอลัมน์เพิ่มเติม : https://thestatestimes.com/post/2021030602

???? ดำเนินรายการโดย : เจ THE STATES TIMES

.

.

ถ้าต้องโดนกักตัวอยู่บ้าน 14 วัน เหล่าคนดังจะทำอะไร ‘ทิพย์...ทิพย์’ กันบ้าง?

ก่อนอื่น มิได้แช่งใครให้ต้องกักตัวนะครับ แฮ่! แต่อย่างที่ทราบกันดี ช่วงเวลานี้ ข้าศึก เอ้ย! พี่โควิด บุกกระหน่ำทำแฮททริคไปแล้ว 3 รอบ เล่นเอาประเทศไทย คนไทย ป่วนสุดอะไรสุด ณ ขณะนี้

จึงเป็นที่มาของการขอความร่วมมือจากทางการให้ ‘อยู่กับบ้าน’ หรือเรียกทางการสักหน่อย คือการกักตัวเอง อยู่กับที่ ไม่เคลื่อนตัวไปไหน จะเป็นการช่วยกันในยามนี้ ได้ดีที่สุด

เวลากักตัวอยู่บ้าน ถ้าทำงานไปด้วย เราเรียก ‘เวิร์ค ฟอร์ม โฮม’ บางคนจมอยู่หน้าจอดูซีรี่ย์ อันนี้เรียก ‘เน็ตฟลิกซ์ ฟอร์ม โฮม’ หรือบางคนจิ้มๆ ๆ ๆ ซื้อของบนมือถือ อันนี้เรียก ‘โชปี๊ ฟอร์ม โฮม’ (หรือใครจะเถียงว่า เป็นอาการ ‘ลาซาด้า ฟอร์ม โฮม’ อันนั้นก็สุดแท้)

เวลานี้ ไม่ว่าใคร ล้วนแต่ต้องกักตัวเองให้ปลอดภัย จะปลอดภัยกับตัวเอง หรือจะปลอดภัยกับคนอื่น ยังไงก็ควรต้องทำ แต่ไหน ๆ ก็เบื่อ ๆ เครียด ๆ กับบรรยากาศการระบาดของโควิด แถมยังต้องอยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือน งั้นเรามาลองตั้งโจทย์สนุก ๆ กันดีกว่า

ช่วงนี้ไปไหนไม่ได้ เห็นหลายคนใช้วิธีไปแบบทิพย์..ทิพย์ ถ้างั้นสมมตินะครับสมมติ ถ้าเหล่าคนดังระดับประเทศ ต้องโดนกักตัวอยู่บ้าน 14 วัน คิดว่าพวกเขา (น่าจะ) ทำอะไร ‘แบบทิพย์...ทิพย์’ กันบ้าง?

พริษฐ์ ชีวารักษ์ & ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล: สำหรับเพื่อนรักสายสามนิ้วคู่นี้ ตอนนี้ไม่ได้แค่กักตัว 14 วัน แต่ถูกควบคุมตัวมาเป็นเดือนแล้วล่ะ แฮ่! ทางเราขอแนะนำว่า ให้คุณเพนกวิน และคุณรุ้ง ลองทำกิจกรรม ‘ม็อบทิพย์’ เพื่อสร้างสีสันในยามกักตัว แก้เหงา หรือจะเพิ่มเอาอีกออพชั่นหนึ่ง ด้วยกิจกรรม ‘อิ่มทิพย์’ เพราะทราบข่าวว่า ทั้งสองท่านอดอาหารกันอยู่ Fighting!

ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ : ช่วงนี้ไม่ค่อยเห็นคุณเอก –ธนาธร ตามหน้าสื่อเสียเท่าไร ไม่แน่ใจกำลังกักตัวอยู่หรือเปล่า หรือว่ากำลังเตรียมโปรเจ็คต์ใหญ่ อันนี้ก็ไม่ทราบได้ แต่เอาเป็นว่า แนะนำกิจกรรมทิพย์ให้คุณเอกนิสนึง เป็น ‘วัคซีนทิพย์’ เพราะที่ผ่านมา คุณเอกเป็นหัวหอกด้านการวิพากษ์วิจารณ์การจัดหาวัคซีนของรัฐบาลมาตลอด ๆ ทั้งมาช้า มาน้อย มาได้ มาเสีย โอย...สารพัด คงต้องจัด ‘วัคซีนทิพย์’ ให้ไปเพื่อความฟิน อ๊อ! แต่ไม่แนะนำลูกพรรคก้าวไกล อาทิ คุณวิโรจน์ ลักขณาอดิศร นะครับ ท่านนี้ก้าวไกล ก้าวไว ก้าวก่อน ไปฉีดวัคซีนเรียบโร้ยยย แฮ่ะ ๆ

อนุทิน ชาญวีรกูล: อีกท่านที่แนะนำให้ลองกิจกรรม ‘วัคซีนทิพย์’ เพราะที่ผ่านมา ชุลมุนวุ่นวายกับการจัดหาวัคซีนมาตลอด ได้จินตนาการถึง ‘วัคซีนทิพย์’ เอาที่แบบมาสารพัดยี่ห้อไปเลย เผื่อ ส.ส.ฝ่ายค้านได้ฉีดกันให้ครบถ้วน จะไม่มีประโยคแทงม้าตัวเดียว เพราะงานนี้แทงม้าทั้งคอก เอาที่สบายใจกันไป

ปิยบุตร แสงกนกกุล : จารย์ครับ ทางเราขอแนะนำ ‘กฎหมายทิพย์’ เพราะอย่างที่แควน ๆ เอ้ย! แฟน ๆ ที่ติดตามผลงานอาจารย์ทราบดี อาจารย์ค่อนข้างหมกมุ่น เอ้ย! ใช้คำว่า อาจารย์ค่อนข้างแม่นยำเรื่องกฎหมายมากมาย และอาจารย์ก็อยากแก้กฎหมายนู่นนี่นั่นมากมายเช่นเดียวกัน ดังนั้น แนะนำกิจกรรม ‘กฎหมายทิพย์’ ในช่วงกักตัวอยู่บ้าน อาจารย์เขียนเลยครับ เขียนกฎหมายทิพย์กันให้หนำใจ

ทักษิณ ชินวัตร: สำหรับท่านนี้อาจจะอยู่นอกเมือง เอ้ย! เมืองนอก มาอย่างยาวนานนนนน แต่นี่เป็นเรื่องสมมตินะครับสมมติ สมติถ้าคุณโทนี่จะต้องกักตัวอยู่เฉย ๆ 14 วัน ทางเราก็ขอแนะนำ ‘เมืองไทยทิพย์’ ออกเสียงคล้าย ๆ อุทัยทิพย์ กินชื่นใจดับร้อน แต่สำหรับ ‘เมืองไทยทิพย์’ อันนี้เป็นกิจกรรมให้คุณโทนี่มโนถึงเมืองไทย ให้ชื่นใจคลายเหงา แฮ่! อยากไปเที่ยวไหน จัดเลยขอรับ!

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา: ปิดท้ายที่ ‘ลุงตู่’ นายกรัฐมนตรีประเทศไทย ในโลกความจริงลุงตู่มีภารกิจมากมาย คงยากที่จะได้กักตัว แต่สมมติถ้าได้กักตัว แนะนำกจิกรรม ‘สเปซทิพย์’ ชื่อแปลกหู ดูอินเตอร์ หรือจะเรียกเป็นไทยว่า ‘อวกาศทิพย์’ ก็ได้เช่นกัน ไม่มีที่ไหนจะสงบเงียบและสบายใจไปกว่าอวกาศอีกแล้ว จินตนาการเลยครับ ว่าได้ท่องไปในท่องอวกาศ ล่องลอยยยยย ล่องไปในอ๊าววะกาด! แนะนำให้โทรปรึกษาอีลอน มัสก์ เสียก่อนก็ได้ ถ้าไม่มั่นใจเรื่องการเดินทาง แฮ่!

ย้ำ! สมมตินะครับสมมติ ดังนั้น ขอจบแต่เพียงเท่านี้ ก่อนที่จะได้ไปประกอบกิจกรรม ‘ตะรางทิพย์’ ที่ไหนสักแห่ง แฮ่! ขออนุญาตบ้ายบาย สู้ตายนะพี่น้องชาวไทย เราจะผ่านโควิดไปด้วยกัน ปู๊น ๆ!!


สนับสนุนข่าวโดย : แหล่งรวม "บทความและคอนเทนต์แปลกใหม่!!!" แบบไร้ Toxic ติดตามได้ที่ THE STATES TIMES Blockdit

คลิก : https://www.blockdit.com/pages/60583e7ff90e240c3e7f1c32

Self Home Quarantine​: กักตัวกับบ้าน​ มายาคติแห่งอิสรภาพ​ แต่บาปไปตกกับคนรอบตัว

ช่วงนี้เห็นกระแสบ่นถึง​ 'อิสรภาพ'​ ที่สูญหายจากการถูกกักตัวใน​ State​ Quarantine​ รูปแบบต่าง ๆ​ จากบรรดาผู้ติดเขื้อโควิด-19 ทั้งที่ต้องกักตัวในโรงพยาบาลทั่วไปหรือแม้แต่โรงพยาบาลสนามที่ต้องเปิดเพิ่มกันแทบทุกจังหวัด​

แต่ที่ทำให้ขุ่นมัวประสาทตานิดหน่อย​ คือ​ บางคนที่ต้องกักตัวดันชอบออกมาแชร์​ แอร์ไม่มี​ อาหารสุนัข​ไม่รับประทาน​ บริการไม่​ First​ Class

เฮ้ย!! รู้ไหมว่า​ ไอ้สิ่งที่ตัวคุณเป็นอยู่เนี่ย​ มองในเชิงกายภาพ​แล้ว​ มัน​เหมือน​'​ระเบิดเคลื่อนที่'​ ที่มีความอันตรายสูง​ จนคนเขาอี๋กันอยู่นะเว้ยเฮ้ย

อยากได้อิสรภาพ​ในวันที่ตัวเองติดโควิด-19 จนทำตัวเหมือนตนเองไม่รู้เดียงสา​ เล่นไฮโล​ โชว์ก้น​ เซลฟี่กันเพลิดเพลินในที่กักกัน​ โดยมิได้สำเหนียกว่าตนเองอยู่ในสถานะอะไร​ (ผู้ป่วย)​ ก็อย่าทะลึ่งการ์ดตกกันดิฟระ!!

14​ วันในการกักตัว​ของผู้ติดเชื้อ​ มันน่าอึดอัด​ มันไม่อิสระ​ มันไม่สามารถทำอะไรตามใจนึกได้ อันนี้เข้าใจดี แต่มันไม่มีวิธีไหน​ดีสุดเท่ากับการยึดมั่นในวินัยที่ตัวผู้ติดเชื้อต้องแบกรับ​นะฮิ...

เพราะหัวใจของการควบคุมโควิด-19 ในกลุ่มคนที่ติดเชื้อแล้ว​ มันมีความหมาย​ ต่อทั้งตัวคุณเอง​ ว่า​ 14​ วันนี้จะรุนแรงจนแดดิ้นดับ​ หรือจะได้กลับไปสู่อ้อมอกครอบครัว​ หรือสังคมหรรษาที่จากมา

เอาล่ะ!! ที่ว่ามาทั้งหมด​ ขอจบในกรณีผู้ที่ติดเชื้อ​แล้วต้องถูกเฝ้าดูอาการ...

แต่เนื่องจากโรคนี้ 80% มักไม่มีอาการหรือมีอาการเพียงเล็กน้อย ทำให้ยากที่จะรู้ ครั้นจะจับคนมาสวนจมูกตรวจเชื้อ​ ก็ดูจะสิ้นเปลืองทรัพยากรมาก และถึงผลการตรวจจะบอกว่า Negative หรือไม่พบเชื้อ ก็ยังไม่อาจไว้ใจได้ และต้องกักตัว 14 วันอยู่ดี

มันก็เลยเป็นที่มาของ​คนอีกกลุ่มที่เรียกว่า 'กลุ่มเสี่ยง'​ ซึ่งต้องมีการกักตัว 14 วัน​ แบบ 'เฝ้าระวัง'​ เพื่อดูความเคลื่อนไหวของโรค

อย่างไรซะ​ การกักตัว 14 วันแบบเฝ้าระวังของกลุ่มเสี่ยง ก็มีรูปแบบให้เลือกอยู่​ 2​ แนวทาง​ได้แก่...

1.)​ การกักตัวแบบ​ State Quarntine ซึ่งจะสร้างความมั่นใจให้กับสังคมได้มากกว่า​ เพราะไม่ว่าคุณจะเป็นหรือไม่เป็น​ คนรอบข้างจะไม่เจอผลกระทบ แต่ก็มีราคาที่ต้องจ่ายในระดับหนึ่ง​ รวมถึง ราคาแห่งเสรีภาพที่ผู้ถูกกักต้องสูญเสียไปใน

สถานที่กักตัวที่เป็น State Quarantine นั้น ๆ​ เพราะต้องกักตัวในห้องเดี่ยว ไม่เอาไปนอนรวมกันกับห้องสองคนสามคน​ ที่หากมี 1 คนติดเชื้อคนที่เหลือก็จะติดเชื้อไปด้วย

กลุ่มเสี่ยงที่กลับจากต่างประเทศ หรือกลับจากเมืองและแหล่งเสี่ยงหนักมาก​ จึงมักถูกดูแลกักตัว 14 วันโดยรัฐก่อนกลับสู่ชุมชน หากเสี่ยงน้อยก็สามารถให้กลับบ้านไปกักตัวเองที่บ้านได้ แต่ต้องมีระบบการติดตามเยี่ยมหรือเฝ้าระวังจากคนในชุมชน​ (ส่วนใครที่มีเชื้อจะต้องมาแจ้งเพื่อแยกกักตัวจากทางบ้านโดยอัตโนมัติ​ ห้ามปิดบัง​ เพราะมีความผิด)​

2.) การกักตนเองที่บ้านหรือ Self Home Quarantine เป็นอิสรภาพที่หลายคนที่ผ่านพ้นพื้นที่เสี่ยงมามักแสวงหา​ เพราะมันก็คือการกลับมาบ้านของ​ตนเอง​ ซึ่งสะดวกและมีความสุขในมุมผู้ถูกตีตราให้กักตัว

แต่ทราบหรือไม่ว่า​ ในความเป็นจริงแล้ว​ การกักตัวที่บ้านก็ต้องมีวินัย และต้องเป็นคนพอมีอันจะกินด้วยถึงจะทำให้การกักตัวมีประสิทธิภาพ

ฟังแล้วแปลก ๆ​ และทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ?

เพราะปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจของคนแต่ละคนไม่เหมือนกัน

เคยมีแพทย์อินเดียท่านหนึ่งได้เสนอบทความว่า Home quarantine is priviledge หรือ​ การกักตัวที่บ้านนั้น​ เหมาะแก่​ กลุ่มอภิสิทธิ์ชน ที่สุด​ หมายความว่า เขาต้องมีบ้านหลังใหญ่พอ มีห้องนอนมากพอ มีคนดูแลส่งข้าวส่งน้ำ มีเงินออมที่ไม่ต้องทำงาน 14 วัน​ก็มีข้าวกิน เป็นต้น

ซึ่งชีวิตคนส่วนใหญ่​ มันก็มักจะสวนทางกับสิ่งที่เขาว่ามาทั้งนั้น​ และนั่นก็ยากที่จะทำให้การกักตัวเป็นไปอย่างมีประสิทธิผล

ในประเทศไทย​เอง​ ก็สะท้อนปัญหาด้านความพร้อมของการกักตัวที่บ้านได้ชัด​ โดยผ่านประสบการณ์​ของ​ นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ​ ผู้อำนวยการ​ โรงพยาบาล​ จะนะ จังหวัดสงขลา​ ทึ่เคยแชร์ให้ฟังว่า...

"ผมมีประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับเรื่องนี้​ โดยผู้ใหญ่บ้านโทรมาปรึกษาว่า มีคนกลับจากมาเลเซีย และเขาเข้าใจว่าต้องกักตัวเอง 14 วัน

"แต่บังเอิญบ้านเขาเล็กมาก แถมดันอยู่เป็นครอบครัวใหญ่ ญาติพี่น้องก็ยากจน ไม่รู้จะทำอย่างไร ให้มากักตัวที่โรงพยาบาลได้ไหม ?

"ผมก็ตอบไปว่า หากป่วยติดเชื้อ มากักที่โรงพยาบาลได้ แต่หากเป็นการเฝ้าระวังเช่นนี้ ก็ต้องให้ผู้ใหญ่เป็นธุระในการจัดการ ซึ่งจะใช้โรงเรียน ใช้กุฏิร้าง ได้ไหม ผู้ใหญ่ต้องปรึกษากันเองในหมู่บ้าน"

จากตัวอย่างนี้​ ลองนึกภาพดูว่า​ ถ้าคุณเกิดติด​เชื้อโควิด-19​ ในช่วงเฝ้าระวังขึ้นมาบนพื้นฐานครอบครัวราว ๆ​ นี้ โอกาสที่คนในครอบครัวจะติดจากคุณ​ จะเกิดขึ้นได้หรือไม่ ? ยิ่งถ้าคนในบ้านเกิดมีผู้สูงอายุอยู่ด้วยจะเป็นอย่างไร ? เพราะหากย้อนดูข้อมูลจากกองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขแล้ว​ จะพบว่า​ ที่ผ่านมากลุ่มผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 เป็นผู้ป่วยที่มีอายุมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ยประมาณ 50% ของคนสูงอายุที่เกิน 70 ปี ขึ้นไป​ทั้งสิ้น

ฉะนั้นหากมองภาพความเป็นจริงของสังคมไทย​ หรืออาจจะสังคมอื่น ๆ​ คนที่มีศักยภาพพอที่จะกักตัวได้แบบไม่สร้างภาระหรือนำโรคไปแพร่ให้คนในครอบครัวได้​ 'มันน้อย'​ ก่อนหน้านี้คนเขียนก็เจอกับตัวมาแล้ว​ เพราะบ้านเพื่อนติดกันทั้งบ้าน​จากการกักตัว​เอง​แบบเฝ้าระวัง แต่มีข้อจำกัดของการใช้พื้นที่ร่วมในบ้านและวินัยที่ต่ำ​ จนคนในบ้านร่วม​ 5​ ชีวิตตั้งแต่เด็กยันแก่​ ติดโควิดกันถ้วนหน้า​

อย่าปล่อยให้พวกเขาต้องมาเจ็บและเสียชีวิตจากโควิด-19 เพียงเพราะคำว่าอิสรภาพโง่ ๆ​ ที่มักนำพาวินัยต่ำ ๆ​ มาสู่ตน​ ภายใต้การการ์ดตก​ของตัวเอง...ว่าแล้วโบกหัวตัวเอง​ 10​ ที​ ปฏิบัติด่วน!!

อ่ะ​!! บ่นไปเยอะ​ เอาเป็นว่าใครที่อยู่คนเดียว การกักตัวเฝ้าระวัง 14 วันที่บ้านไม่ใช่เรื่องยาก แต่หากใครต้องอยู่บ้านกับครอบครัวที่อยู่กันหลายชีวิต​ อยากให้เคร่งครัดกับวินัยตามนี้...

1.) ที่วัดอุณหภูมิร่างกาย ที่ปกติแล้วอุณหภูมิในร่างกายไม่ควรเกิน 37.5 องศาเซลเซียส ซึ่งข้อนี้ใครกักตัว 14 วันที่บ้าน และอยู่บ้านคนเดียวก็ต้องมีไว้ เพื่อเช็กอาการของตัวเองเป็นระยะ ๆ

2.) ล้างมือด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์บ่อยๆ อยู่คนเดียวก็ต้องปฏิบัติข้อนี้เช่นกัน

3.) หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับคนในบ้าน มีระยะห่าง 1-2 เมตร โดยเฉพาะผู้สูงอายุ และคนในบ้านที่มีโรคประจำตัว

4.) แยกห้องนอน เป็นห้องพักที่โปร่ง อากาศถ่ายเท แสงแดดเข้าถึง

5.) แยกห้องน้ำ หากแยกไม่ได้ ให้ใช้เป็นคนสุดท้าย ทำความสะอาดทันที ปิดฝาก่อนชักโครกทุกครั้ง จุดเสี่ยงที่สำคัญคือ โถส้วม อ่างล้างมือ ก๊อกน้ำ ลูกบิดประตู

6.) แยกของใช้ส่วนตัว จาน ชาม แก้วน้ำ เสื้อผ้า ผ้าห่ม ผ้าเช็ดตัว และแยกทำความสะอาด

7.) แยกรับประทานอาหาร ตักแบ่งมาต่างหาก ล้างด้วยน้ำยาล้างจาน ผึ่งแห้ง ตากแดด

8.) แยกขยะที่มีสารคัดหลั่ง น้ำมูก น้ำลาย เช่นหน้ากากอนามัย ทิชชู เพราะเป็นขยะติดเชื้อ ใส่ถุงขยะ 2 ชั้น ราดด้วยสารฟอกขาว มัดปากถุงให้แน่นก่อนนำไปทิ้ง กรณีนี้สำคัญมากรวมถึงคนที่กักตัว 14 วันที่บ้าน ที่กักตัวอยู่คนเดียวก็ต้องทำด้วยเช่นกัน เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อออกไปสู่คนอื่น

9.) สวมหน้ากากอนามัย โดยเฉพาะเมื่อต้องพบปะคนอื่น และต้องอยู่ห่างกัน 1 - 2 เมตร

10.) ทั้งคนที่กักตัว 14 วันที่บ้านคนเดียว และอยู่บ้าน ก็ต้องงดกิจกรรมนอกบ้าน หยุดงาน หยุดเรียน งดใช้รถสาธารณะ

นอกจากนี้คนในครอบครัวเองก็ต้องระมัดระวังตัวเองด้วย โดยต้องล้างมือบ่อยๆ ระวังจุดเสี่ยงสัมผัสต่างๆ แยกใช้สิ่งของร่วมกัน

ส่วนพวกที่อยู่คอนโด แม้อยู่คนเดียว ก็ต้องเน้นเรื่องการแยกขยะฆ่าเชื้อ ใส่ถุงขยะ 2 ชั้น มัดปากถุงให้แน่นก่อนทิ้ง งดใช้บริการของส่วนกลาง เช่น สระว่ายน้ำ, ฟิตเนส

ส่วนการเริ่มนับวันกักตัวจำนวน 14 วันที่บ้าน​ จะต้องนับจากวันไหนนั้น ขอให้เริ่มนับจากวันที่เจอผู้ติดเชื้อโควิดวันสุดท้าย เช่น หากเจอเพื่อนที่เป็นโควิดวันที่ 1 เมษายน ซึ่งยังไม่แสดงอาการ จนกระทั่งยืนยันว่าพบเชื้อวันที่ 4 เมษายน ก็ให้นับตั้งแต่วันที่เจอคือ 1 เมษายน​ และต่อไปอีก 14 วันเลย

อย่างไรเสียคนที่ยอมกักตัวเองอย่างมีวินัย ยอมทิ้งอิสรภาพบางประการ​ พร้อมทำตัวเหมือนคนไข้คนหนึ่งที่เต็มไปด้วยความรับผิดชอบและเชื่อฟังตามแพทย์แนะนำ​ ควรได้รับความชื่นชม ไม่ไปรังเกียจเขา

เพราะเขาจะเป็น​ 'ฮีโร่'​ ได้​ทันที​ หากวินัยในช่วง 14 วันนั้น ส่งผลต่ออนาคตที่ภาคส่วนด้านสาธารณสุขควบคุมต่อได้โดยง่าย

.

ข้อมูลอ้างอิง:

https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2068084

https://www.chanahospital.go.th/content/

https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/873235


สนับสนุนข่าวโดย : แหล่งรวม "บทความและคอนเทนต์แปลกใหม่!!!" แบบไร้ Toxic ติดตามได้ที่ THE STATES TIMES Blockdit
คลิก : https://www.blockdit.com/pages/60583e7ff90e240c3e7f1c32

???? LOCK LENS GURU  เปิดตัว ‘กูรู’ ทั้ง 5 ท่าน ในสัปดาห์แรก !! 

???? LOCK LENS GURU  เปิดตัว ‘กูรู’ ทั้ง 5 ท่าน ในสัปดาห์แรก !! 
???? เริ่ม วันจันทร์ที่ 26 เมษายน - วันศุกร์ที่ 30 เมษายน  
???? ทุกเช้า 8 โมงตรง   
???? มาร่วมเจาะลึกประเด็นที่น่าสนใจ ไปกับ ‘กูรู’ ตัวจริง พร้อมกัน เร็วๆนี้

????EP.1 วันจันทร์ที่ 26 เมษายน 
???? GURU : ดร.พีรภัทร  ฝอยทอง 
ทนายความและที่ปรึกษากฎหมาย  
▶️ หัวข้อ  : ก๊อป MV : ‘แรงบันดาลใจ’ หรือ ‘หรือลอกเลียนแบบ’

????EP.2 วันอังคารที่ 27 เมษายน
???? GURU : อ.ระวีวรรณ  ทรัพย์อินทร์  
อาจารย์ประจำหลักสูตรการจัดการมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (BMCI) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
▶️ หัวข้อ  : I Care a Lot เมื่อห่วง...แต่หวังฮุบ มิจฉาชีพในคราบนักธุรกิจ

????EP.3 วันพุธที่ 28 เมษายน
???? GURU : อ.ศรัณย์ ดั่นสถิตย์  
อาจารย์ประจำหลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์ คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
▶️ หัวข้อ : ภาวะโลกร้อน กับการบุกเบิกเส้นทางเดินเรือสายใหม่ของจีน  

????EP.4 วันพฤหัสบดีที่ 29 เมษายน
???? GURU : กภ.คณิต คล้ายแจ้ง  
นักกายภาพ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลศิริราช
▶️ หัวข้อ : ปลดล็อก!! ‘นิ้วล็อก’ 

????EP.5 วันศุกร์ที่ 30 เมษายน
???? GURU : อ.อาทิตยา ทรัพย์สินวิวัฒน์ 
อาจารย์ประจำสาขานวัตกรรมการสื่อสาร วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
▶️ หัวข้อ : Soft Power ไทย ... อะไรดี ???

???? ดำเนินรายการโดย เจ  THE STATES TIMES

???? ช่องทางรับชม LIVE 
Facebook: THE STATES TIMES
YouTube: THE STATES TIMES
 

กักตัว 14 วัน ทำไรดี ?

‘อยู่อย่างคนเหงาเหงา..อยู่กับความเดียวดาย..แม้ใครจะมองว่าทุกข์..แต่ฉันกลับสุขใจ’

ขอยกเพลง ‘อยู่อย่างเหงา ๆ’ ของ สิงโต นำโชค ให้เป็นบทเพลงที่แทนความในใจของเราได้ดีที่สุดในตอนนี้

ก่อนหน้านี้เราก็เคยอยู่อย่างคนเหงา ๆ ตามเนื้อเพลงจริง ๆ ในช่วงที่ไวรัสระบาดรอบสอง เดือนมกราคม 2564 เราไปเที่ยวเกาะกูดกับเพื่อน ๆ จังหวัดตราด ซึ่งตอนนั้นจังหวัดตราด ถือเป็นพื้นที่สีแดง พอเรากลับมาจากท่องเที่ยวเสร็จ ที่ทำงานของเราสั่งให้กักตัว 14 วัน นั่นเป็นการกักตัวครั้งแรกของเราเลย แต่เป็นการกักตัวที่ยังไม่ได้เตรียมความพร้อม เตรียมข้าวของ เตรียมใจ อะไรทั้งสิ้น อารมณ์แบบเที่ยววันนี้ พรุ่งนี้กักตัว

ตอนที่ทำงานประกาศให้ Work from home เพื่อกักตัว 14 วัน เรามีความคิดชั่ววูบนึง ว่ากักตัวก็ดีสิ ได้อยู่ห้อง อยู่บ้าน ไม่ต้องไปไหน ได้ใช้ชีวิตแบบ Slow Life ตามหนังที่เคยดู หรือตามมายาคติที่หลายๆ คนเคยบอก เราจะได้ลองทำมันในช่วงนี้แหละ

แต่ทำไมพอได้ลองกักตัวอยู่จริงถึงยิ่งเหงากันนะ ?

อย่างแรกเลย พอเราได้อยู่ห้อง และแน่ใจแล้วว่าจะต้องอยู่ห้องแน่ ๆ ไปอีก 14 วัน ไม่ต้องไปไหน ไม่ต้องรีบ ไม่ต้องแต่งตัว ความขี้เกียจก็จะเข้ามาครอบงำเราทันที อย่างเรา ช่วงกักตัวคือเป็นคนที่ใช้เตียงนอนได้คุ้มค่ามาก เราสามารถอยู่บนเตียงนอนได้ทั้งวัน นั่ง นอน เล่นเกม คอลกับเพื่อน ลุกออกจากเตียงแค่ไปห้องครัว และเข้าห้องน้ำเท่านั้น

อย่างที่สอง เราใช้ชีวิตเดิม ๆ ตื่นมาในห้องเดิม เตียงเดิม หมอนเดิม กิจวัตรเหมือนเดิม ทุกอย่างมันเดิมไปหมด พอถึงจังหวะนี้ เริ่มก็คิดถึงข้างนอก ยิ่งนั่งดูรูปที่เพิ่งไปเที่ยวมา ก็ยิ่งอยากเผชิญโลกอีกครั้ง ร้านสะดวกซื้อในซอยก็ยังดี

และอย่างที่สามที่เราคิดออกในตอนนี้ มันเป็นเพราะว่าเราไม่ได้เลือกเองว่าเราจะอยู่ตรงนี้ มันเป็นสภาพความจำยอมที่ต้องอยู่ เพื่อไม่แพร่เชื้อให้คนอื่น และให้คนอื่นมาแพร่เชื้อให้เรา เปรียบไปตอนเด็ก ๆ ที่เรารู้อยู่แล้วว่าเดี๋ยวเราต้องล้างจาน แต่พอแม่มากระตุ้นก่อนเวลาที่เราจะทำ เราจะไม่อยากทำเสียเฉย ๆ อารมณ์ประมาณว่า ถ้าอยากทำเดี๋ยวทำเอง ไม่ต้องบอก!

การกักตัวสำหรับเรา พอเข้าวันที่ 5 - 6 มันรู้สึกเฉื่อยมาก เวลาแต่ละวันกว่าจะผ่านไปคือนานมาก นอกจากทำงานที่ได้มอบหมายจากที่ทำงาน ในแต่ละวันเราไม่ได้อะไรเลย เราแค่ทำตัวเดิม ๆ อยู่กับกิจวัตรเดิม ๆ

จนมีวันนึง ที่เรานอนอยู่บนเตียงนิ่ง ๆ เราไม่มีอะไรทำเลย ไม่มีอารมณ์อยากเล่นโทรศัพท์ เล่นเกม ดูซีรีส์เลยแม้แต่นิด สิ่งที่เรานอกจากนอนมองเพดานห้อง แล้วเราก็ได้ตั้งคำถามกับตัวเอง แล้วทำไมเราถึงต้องใช้ชีวิตให้มันไม่สนุกด้วย

เราอยากใช้ชีวิตให้มันสนุกแล้วล่ะ

สิ่งแรกที่เราทำ คือทำความสะอาด และจัดห้องใหม่ ยกโต๊ะ ตู้ เตียง ย้ายที่ตามที่ใจเราอยาก ล้างแอร์ รวมไปถึงเปลี่ยนสีหลอดไฟ ทีแรกคิดว่าแค่หาอะไรทำฆ่าเวลา แต่พอจัดเสร็จมันกลายเป็นว่าเราได้เปลี่ยนบรรยากาศ เราได้ใช้พื้นที่ห้องในทุกมุมแล้ว จากปกติเราทำทุกอย่างอยู่บนเตียงนอน เราก็ได้โอกาสออกจากเตียงมานั่งโซฟา ดูโทรทัศน์ ออกไประเบียงรดน้ำต้นไม้ เลี้ยงปลาหน้าห้อง เรียกได้ว่าได้คราวใช้พื้นที่ห้องอย่างคุ้มค่าเสียที

พอจัดห้องเสร็จ สงสัยวิญญาณแม่บ้านเข้าสิง เราอยากทำอาหาร! เราเริ่มจากสั่งวัตถุดิบออนไลน์มาส่งที่คอนโด คิดว่าถึงคราวแล้วที่เราจะได้โชว์สกิลแม่ศรีเรือน พอทำจริง ๆ อาหารของเรากลายเป็นเมนูลดน้ำหนักได้ดีทีเดียว เพราะเราทำอะไรไม่อร่อยเลย นอกจากเมนูไข่ สุกี้ และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป แต่ไม่รู้ทำไมเราก็ยังคงทำอาหารทานเองอยู่ทุกมื้อ อาจจะเพราะเราสนุก อ๋อ โอเค งั้นเอาสนุกก่อนแล้วกัน ความอร่อยค่อยพัฒนาตามมา

อีกอย่างที่เราทำเป็นประจำ คือ ร้องเพลง มีดนตรีในหัวใจ เราร้องหมดทุกแนว สากล ไทยสากล ลูกทุ่ง เพื่อชีวิต เราอินได้กับทุกเพลง เพลงไหนเศร้ามาก เรานั่งร้องไห้ เพลงไหนสนุกหน่อย เราเต้นเหมือนโคโยตี้เลย ร้องด้วยเสียงเพี้ยน ๆ ของเราเนี่ยแหละ โครตจะมีความสุข

อย่างเรา เราเป็นคนที่มีความสุขได้ง่ายมาก สถานการณ์โรคระบาดจึงมีผลกับเราน้อย เราไม่ชอบให้ตัวเองไม่มีความสุขด้วย เราเป็นคนที่มีความเชื่อว่าความทุกข์จะต้องอยู่กับเราไม่นาน หรือมีท่าทีว่าจะนาน ก็เป็นเราเนี่ยแหละที่จะทำให้มันหายไปเอง กักตัวเราก็จะสู้ เราจะอยู่รอด อย่างน้อยก็รอดจากความเครียด

ช่วงกักตัวถือเป็นโอกาสสำหรับเราที่ได้เรียนรู้ที่จะอยู่กับตัวเอง เราได้พูดคุยกับตัวเองมากขึ้น เรารู้ว่าเราต้องการอะไร ไม่ต้องการอะไร เรามีเป้าหมายในชีวิตใหม่ ได้รู้วิธีทำให้ตัวอย่างมีความสุข เราได้ทำเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เราเคยอยากทำแต่พลัดวันไปเรื่อย ๆ จนหมด

เราแชร์วิธีการกักตัวให้มีความสุขฉบับของเรา มาเล่าให้ผู้อ่านฟังนะคะ เผื่อผู้อ่านจะลองนำวิธีของเราไปใช้ดู จริงอยู่ที่เราได้ทำหลาย ๆ อย่างในช่วงกักตัว แต่ให้เลือกได้ เราก็อยากทำทุกอย่างเองแบบอิสระ ไม่ต้องมีสถานการณ์โรคระบาดมาเป็นข้อกำหนดอยู่ดีแหละเนอะ แล้วผู้อ่านคิดว่ายังไงคะ ?


สนับสนุนข่าวโดย : แหล่งรวม "บทความและคอนเทนต์แปลกใหม่!!!" แบบไร้ Toxic ติดตามได้ที่ THE STATES TIMES Blockdit

คลิก : https://www.blockdit.com/pages/60583e7ff90e240c3e7f1c32

การดูแลตัวเองให้ดีที่สุดในวิกฤติโควิด-19 เพื่อไม่ให้กระทบคนในครอบครัว แม้กระทั่ง การกระทบทางด้านจิตใจ...

ในสถานการณ์เดียวกัน สำหรับคนที่อยู่กับครอบครัวแบบเราแล้วมันเกิดขึ้น 2 แบบ ขอเล่าแบบแรกและย้อนไปตอนล็อกดาวน์เมื่อปี 2563 ก่อน น่าจะเริ่มตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคม เมษายน ซึ่งตอนนั้นการอาศัยอยู่เป็นครอบครัวของเรา เป็นการอาศัยอยู่แบบเป็นบ้าน 2 ชั้น 3 ห้องนอนปกติ และไม่ใช่เรื่องยากเท่าไหร่ เพราะเราค่อนข้างมีพื้นที่ส่วนตัวมาก นอกจากห้องนอนที่แยกกันอยู่แล้ว พื้นที่จับจ่ายใช้สอยก็ค่อนข้างมีพอเช่นกันที่จะเว้นระยะห่างกัน บวกกับปกติครอบครัวเราจะไม่ค่อยเจอหน้ากันเท่าไหร่

ซึ่งบอกไว้ก่อนว่าครอบครัวเราเป็นคนสนุกสนานมาก และมีเสียงหัวเราะเวลาที่ได้อยู่ด้วยกันเสมอ แต่เป็นเพราะว่าทุกคนต่างมีหน้าที่ของตัวเองที่ต้องทำ เวลาเลยไม่ค่อยตรงกัน เราก็จะเป็นประเภทที่ค่อนข้างติดห้องนอนอยู่แล้ว และอยู่ในช่วงที่เราเองเรียนจบใหม่ ก็ถือว่าได้รับผลกระทบเต็ม ๆ จากการว่างงาน ทำให้ต้องอยู่บ้านเรื่อยเปื่อยไปอีกยาว ๆ ครอบครัวเรามีกัน 4 คน

ในตอนนั่นนอกจากแม่ก็เหลือพ่อคนเดียว ที่ยังคงต้องไปทำงานอยู่ แต่ช่วงเวลาในการทำงานสั้นลง บริษัทของพ่อไม่ได้มีการประกาศปิด ไม่รู้ว่ามันดีหรือไม่ดีที่พ่อไม่ได้หยุดงานและยังต้องเจอความเสี่ยงมากแค่ไหน แต่คงยังต้องทำมาหากินกันต่อไป เพราะเราก็เลือกไม่ได้แต่สถานการณ์นั้นก็ทำให้เราผ่านมันมาได้ อาจจะด้วยเราก็ไม่ได้ปรับเปลี่ยนอะไรมากไปจากเดิมจากการเป็นอยู่ แต่ก็ถือว่าทุกคนในครอบครัวปลอดภัยก็เพียงพอ

จากนั้นที่สถานการณ์เริ่มดีขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนเราก็ได้เริ่มทำงานแล้วในช่วงเดือนกรกฎาคม ขอเล่าต่อในแบบที่ 2 แบบที่ครอบครัวเราได้ย้ายจากบ้านที่เคยอยู่ มาอยู่คอนโด 1 ห้องนอน ตอนนี้เราอยู่กัน 3 คน เนื่องจากน้องชาย 1 สมาชิกของเราต้องไปอยู่หอเนื่องจากมหาวิทยาลัยไกลจากบ้าน ดูทุกอย่างจะลงตัวขึ้น พ่อ แม่ และเราไปทำงานปกติ แต่สิ่งที่ยังคงปฏิบัติอยู่เสมอ คือการสวมหน้ากากตลอด พกเจลแอลกอฮอล์ ล้างมือ หรือแม้กระทั่งใส่ถุงมือในการไปซื้อของ ยิ่งต้องออกข้างนอกไปทำงาน เดินทาง

ซึ่งการย้ายมาอยู่คอนโดจะแตกต่างจากการอยู่บ้านแบบแต่ก่อน เพราะต้องมีการใช้ลิฟท์ส่วนรวม หรือการแสกนนิ้ว และอีกอย่างหลาย ก็ยิ่งค่อนข้างจะเป็นระเบียบและเข้มงวดกับตัวเองมาก กลับมาบ้านทุกคนจะต้องไปอาบน้ำก่อนเลยอันดับแรก พอได้ออกมาข้างนอกหรือมาทำงานเราเลยอยากดูแลตัวเองให้ดีที่สุด เพราะจากเหตุการณ์ที่ผ่าน เราอาจจะไม่ได้เล่าในมุมมองส่วนตัวมากเท่าไหร่ เพราะเราก็เครียดมากจากสถานการณ์โควิด-19 จะเสพข่าวทุกวันว่ามีใครติดเพิ่ม บอกตามตรงว่าเราโกรธโควิดมาก แต่ขอหยุดเล่าถึงความโกรธไว้แค่ตรงนี้

เพราะว่าไม่นานหลังจากนั้น มันกลับมาให้โกรธอีกครั้งจนได้ โอยยยย อยากจะกรี้ดดัง ๆ ๆ แต่คอนโดห้ามเสียงดัง... จากที่โควิด-19 กลับมาระบาดหนักอีกครั้งอีกครั้งในช่วงเดือนธันวา หรือระลอก 2 นี่จะเป็นเรื่องที่เรารู้สึกแย่มาก “ถ้าเราอยู่บ้านเหมือนเดิมก็คงดี” (บ้านก่อนจะย้ายมาคอนโด) นี่เป็นคำที่เราบอกกับพ่อและแม่ออกไปหลังจากที่แม่บอกว่าให้น้องกลับมาอยู่บ้านก่อน เพราะแม่เป็นห่วงทุกคนโดยเฉพาะพ่อที่เป็นเสาหลักของครอบครัว

ตอนนั้นเราไม่ได้ตั้งใจที่จะสื่อไปแบบนั้น เรานึกแค่ว่า จะอยู่กันยังไง ก็ต้องอึดอัด ถ้าเราอยู่บ้านแบบที่เคยอยู่ อย่างที่บอกข้างต้นว่า มีพื้นที่ส่วนตัว และก็ค่อนข้างกว้างแบบเดิมคงดีกว่า ต่างจากคอนโดที่ค่อนข้างหลีกเลี่ยงหรือเว้นระยะห่างได้ยาก และยังต้องมีการใช้พื้นที่ส่วนรวมร่วมกันหลายอย่าง ซึ่งมันแย่มากหลังจากที่ได้พิมพ์ไป (เนื่องจากเหตุผลที่เราย้ายมาอยู่คอนโดก็มาจากปัจจัยที่เราต้องการลดภาระลงด้วย) แต่เรากลับทำให้ครอบครัวรู้สึกแย่...นึกแค่ว่าถ้าอยู่ห้องแยกกันเหมือนเดิมก็คงดีกว่า ซึ่งเป็นความคิดที่เห็นแก่ตัวมาก จนเราไม่ได้สังเกตเลยว่าตอนช่วงสถานการณ์เริ่มกลับมาปกติ และการที่เราได้ย้ายบ้านมาบ้านใหม่ นอกจากวันอาทิตย์หรือวันหยุดของครอบครัวแล้ว เราได้เจอหน้ากันทุกวัน และได้พูดคุยกันมากขึ้นกว่าเดิมในวันจัทร์-ศุกร์ ซึ่งมันไม่เหมือนเดิม มันดีกว่าเดิม และความสนุกในครอบครัวมันก็ยิ่งทวีคูณมากกว่าเดิมอีก

จากนั้นเราได้คิดทบทวนหลายอย่างว่าทำไมเราถึงโทษสิ่งนั้น ทั้งที่เราไม่ได้นึกคิดเลยว่า การที่ทุกคนในครอบครัวเราอยู่ร่วมกันได้ มันเริ่มจากที่ทุกคนในครอบเรารักกัน และช่วยดูแล รับผิดชอบตัวเองได้ดีมาก ๆ ขนาดเราไปทำงานทุกวันยังนึกเสมอเลยว่า อย่าติดนะ เรากลัวนะ อย่าเป็นนะ ห้ามเป็นนะ ถ้าเป็นไม่ได้นะ มีคนที่บ้านอีกนะ แล้วความกลัวมันทำให้เราระมัดระวังตลอด เราเลยเชื่อว่าทุกคนในบ้านคิดเหมือนเรา ทุกคนเลยปฏิบัติ ดูแลตัวเองมาตลอด เพื่อกลับไปถึงที่บ้านอย่างปลอดภัย และทุกคนในบ้านก็ปลอดภัยด้วยเป็นสิ่งสำคัญที่สุดจนถึงทุกวันนี้

ก่อนนั้นเราเคยถามแม่ว่า ทำไมแม่คอยบอกตลอดว่า ไม่อยากให้พ่อติดโควิด หรือดูเป็นห่วงพ่อมาก แม่ตอบว่าเป็นห่วงทุกคนมากเท่ากัน ส่วนตัวแม่เอง ก็บอกตัวกับตัวเอง ดูแลตัวเองอยู่แล้ว และส่วนที่บอกกับพ่อบ่อย ๆ เพราะไม่อยากให้พ่อเป็นอะไรไปรวมถึงแม่เอง เพราะไม่อย่างงั้นใครจะอยู่ดูแลลูก เป็นคำพูดสั้น ๆ ที่เข้าใจได้อย่างลึกซึ้ง นี่คือสิ่งที่ทำให้เราได้เรียนรู้และเป็นบทเรียนที่มีค่าที่สุด

ถ้าเรายิ่งดูแลตัวเองดีเท่าไหร่ เราก็ยิ่งดูแลคนที่เรารักได้ดีมากขึ้นเท่านั้น อาจจะเป็นที่มาของคำว่า ก่อนจะดูแลคนอื่น ดูแลตัวเองให้ดีก่อน อาจจะฟังดูฮาร์ดคอร์ หรือแปลก ๆ ไปหน่อย แต่ก็พอที่จะใช้ได้กับเหตุการณ์ที่เป็นแบบนี้ เพราะสุดท้ายมันมีเหตุผลที่ดีกว่าอยู่เบื้องหลังเสมอ


สนับสนุนข่าวโดย : แหล่งรวม "บทความและคอนเทนต์แปลกใหม่!!!" แบบไร้ Toxic ติดตามได้ที่ THE STATES TIMES Blockdit

คลิก : https://www.blockdit.com/pages/60583e7ff90e240c3e7f1c32

กักตัว 14 วัน เปลี่ยนความวิตกกังวล เป็นการพัฒนาตัวเอง

เชคอาการกันหน่อย ! คนรอบข้างใครยังไม่ติดเชื้อโควิด-19 บ้าง ที่ถามแบบนี้ไม่ได้บอกว่าโควิด-19 เป็นเทรนด์ฮิตที่ทุกคนจะต้องพบเจอ แต่จากสภาพปัจจุบันที่ผู้ติดเชื้อรายวันในบ้านเราเพิ่มขึ้นวันละไม่ต่ำกว่า 1,000 คน ทำให้อดหลอนไม่ได้จริง ๆ

“ฉันติดหรือยัง?”

“เพื่อนฉันติดฉันต้องกักตัวไหม?”

“กักตัวต้องทำยังไง?”

“กักตัวแล้วรายได้หายไปเท่าไหร่?”

สารพัดสาระเพความคิดที่เข้ามา จนหลายคนบ่น จะเป็นโรคประสาทก่อนโรคโควิด-19

แต่หากได้สัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อโควิด-19 แล้วจริงๆ! และต้องกักตัว 14 วันขึ้นมา

14 วันแห่งความวิตกกังวลจะทำให้เป็น 14 วันแห่งความแข็งแกร่งได้อย่างไร ?

เมื่อรู้ว่าตัวเองต้องกักตัว 14 วัน ตั้งสติให้มั่น แล้วทำตามข้อแนะนำของกระทรวงสาธารณสุขทันที 10 ข้อที่ต้องทำ ไปดูกัน !

1.) อยู่ที่บ้าน โดยจำกัดคนเยี่ยม และรายงานตัวต่อกรมควบคุมโรค โทร 1422

2.) สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา

3.) แยกขยะติดเชื้อออกจากขยะทั่วไป เช่น กระดาษชำระ หน้ากากอนามัย

4.) ปิดฝาชักโครกทุกครั้งเมื่อกดล้าง เพื่อลดการฟุ้งกระจายของไวรัส

5.) ล้างมือด้วยน้ำและสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล

6.) เปิดหน้าต่างเพื่อให้อากาศภายในบ้านถ่ายเท

7.) งดรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น แยกของใช้ส่วนตัว

8.) ยืนให้ห่างจากผู้อื่นในระยะที่มากกว่า 4 เมตร

9.) ล้างจานด้วยน้ำยาล้างจานก่อนใช้เสมอ

10.) ไม่ควรใช้รถโดยสารสาธารณะ และไม่จำเป็นไม่ควรออกจากบ้าน

ทั้งนี้ก็อย่าลืมไปตรวจเชื้อซ้ำ !!! 2 - 3 รอบให้ชัวร์ด้วย

ขั้นตอน 10 ข้อนี้ เขียนเตือนในที่ๆเห็นได้ชัด และปฏิบัติอย่างเคร่งครัดแบบมีวินัย เมื่อจัดการระเบียบสิ่งต้องทำได้แล้ว แล้ว 14 วันนี้ จะปล่อยเวลาให้ผ่านไปทำไม ? แน่นอนว่าความวิตกกังวลกับโรคและอยู่กับตัวเองมาเกินไปจะทำให้เกิดความทุกข์ทางในแน่นอน ระหว่างนี้ลองปรับวิธีคิด มองเรื่องวิกฤตให้เป็นโอกาส

โอกาส ! ที่จะได้จัดของในบ้านส่วนที่รกให้เป็นระเบียบ

โอกาส ! ที่จะมีเวลาออกกำลังกาย หลังจากที่ผัดวันประกันพรุ่งนี้ เพราะข้ออ้างไม่มีเวลา (ตอนนี้มีเวลาแล้ว)

โอกาส ! ได้ทบทวนเรื่องราวในชีวิตห้วงเวลาที่ผ่านมา โอกาสแบบนี้ไม่ได้หาได้ง่ายๆ เพราะโลกที่หมุนเร็วและการทำงานที่อัดแน่นในทุกๆวัน การทบทวนสิ่งที่ผ่านมาอาจจะแทบไม่ได้ทำเลย

โอกาส ! ลองทำสิ่งที่อยากทำมานาน แต่ไม่ได้ทำสักที

โอกาส ! พัฒนาทักษะ เพิ่มความรู้ให้กับตัวเอง จากการเรียนรู้ในโลกออนไลน์ ติดตามข่าวสารบ้านเมือง

ทั้งหมดนี้ ย่อสั้นๆ คือ 14 วันกักตัว คือโอกาสในการอยู่กับตัวเอง ได้มองเห็นตัวเองจริง ๆ

ในขณะที่จังหวะของโลก หมุนไปอย่างรวดเร็ว ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีผลต่อจังหวะชีวิตของมนุษย์ผู้กระหายในสิ่งต่างๆเร็วขึ้นเช่นกัน กับความคาดหวังว่าจะทำให้ชีวิตเราดีขึ้น อาทิ งาน เงิน และความสำเร็จ

การได้กลับมาอยู่กับตัวเอง ! ในจังหวะปกติ ไม่ช้าไม่เร็ว อาจทำให้เราพบคำตอบว่า ความสุขของเราในจังหวะชีวิตในแบบของเราก็เป็นได้

กักตัว 14 วัน ไม่ใช่เรื่องน่ายินดี แต่ก็ไม่ควรทำให้ชีวิตในช่วงนี้ต้องระทม

.

ข้อมูลอ้างอิง

ขอบคุณที่มา 10 วิธี อยู่ในบ้านต้าน COVID-19 เมื่อกักตัว 14 วัน (thaihealth.or.th)


สนับสนุนข่าวโดย : แหล่งรวม "บทความและคอนเทนต์แปลกใหม่!!!" แบบไร้ Toxic ติดตามได้ที่ THE STATES TIMES Blockdit
คลิก : https://www.blockdit.com/pages/60583e7ff90e240c3e7f1c32

Freemason กับ 4 องค์กรลับเขย่าโลก | The States Times Story เรื่องจริง ฟังเพลิน โดย เจต ณ นคร : EP.17

รู้จัก 5 องค์กรลับ Freemason , Skull and Bones , Illuminati , Rosicrucians และ Opus Dei องค์กรผู้ชักใยเหตุการณ์สำคัญของโลกอยู่เบื้องหลัง มีใครเคยสงสัยไหม เวลาที่เราได้ดูหนังหรือภาพยนตร์เกี่ยวกับองค์ลับ เคยคิดไหมว่าองค์กรเหล่านี้มีอยู่จริงหรือเปล่า เกิดขึ้นมาได้อย่างไร มีไว้ทำอะไร หรือจุดประสงค์เพื่ออะไร ? และถ้ามีผู้คนแบบเราเองก็รู้จัก หรือได้รู้จักแล้ว...จะเรียกว่าองค์กรลับอยู่หรือไม่ ?

.

.

รับมืออย่างไรเมื่อไม่มีเขา...แต่เราต้องไปต่อ

เมื่อไม่นานมานี้ในระหว่างที่ผู้เขียน ไถฟีดเฟซบุ๊กตัวเองไปเรื่อย ๆ ก็ได้ไปเจอกับภาพ ๆ นึงที่ชวนให้หวนคิดถึงเพื่อนรักที่จากไป ซึ่งภาพที่เห็นก็มาจากรายการ Cooking with Dog รายการทำอาหารที่ไม่ได้สอนแค่ทำอาหารแต่ยังแสดงให้เห็นถึงมิตรภาพของหญิงวัยกลางคนที่ใครก็รู้จักเธอในหน้าที่ ‘เชฟ’ กับคู่หูคู่ใจอย่าง ‘เจ้าฟรานซิส’ สุนัขพุดเดิ้ลที่คอยอยู่เคียงข้างตลอดการดำเนินรายการ

ด้วยความน่ารักและมิตรภาพของทั้งคู่ทำให้รายการดำเนินมายาวนานหลายปีและสุดท้ายก็ถึงเวลายุติการทำหน้าที่ของพิธีกรคู่หูคนสำคัญอย่าง ‘เจ้าฟรานซิส’ เมื่อเขาได้จากไปในวัย 14 ปี 9 เดือน แต่ภาพที่ชวนสะเทือนใจยิ่งกว่าคือภาพของ ห้องครัวห้องเดิม ผู้หญิงวัยกลางคนคนเดิม แต่สิ่งที่เข้ามาแทนที่ฟรานซิส กลายเป็นตุ๊กตาตัวแทนของฟรานซิสแทน แม้ว่าเขาจะไม่ได้ทำหน้าที่ต่อไปแต่รายการก็ยังคงต้องดำเนินต่อ ‘เพราะวันนึงที่ไม่มีเขาแล้ว เราก็ต้องทำหน้าที่ของตัวเองต่อไป’

นี่แหละค่ะ จุดเริ่มต้นของการหวนคิดถึงเพื่อนรักในวัยเยาว์ และช่วงเวลาของการอยู่ต่อไปโดยไม่มีเขา ต้องบอกก่อนว่าผู้เขียนไม่ใช่กูรูในการจัดการบริหารความรู้สึก แต่เพียงแค่อยากแชร์ในมุมมองของผู้ที่ผ่านจุด ‘ไม่มีเขาแต่เราต้องไปต่อ’ ก็เพียงเท่านั้น

เชื่อว่าหลาย ๆ ท่าน คงเคยสัมผัสบรรยากาศการพบปะและลาจากใช่ไหมคะ แน่นอนค่ะ สัตว์เลี้ยงแสนรักก็เช่นเดียวกัน พวกเขาไม่อายุยืนเท่าเรา แต่ช่วงชีวิตอันสั้นของพวกเขาสร้างความสุขให้กับเราได้ไม่น้อย แต่ในวันที่เขาจากไป ดูเหมือนเขาจะพรากเอาความสุขนั้นไปด้วย แล้วเราจะจัดการอย่างไรล่ะเมื่อความสุขของเราหายไปกับเขา และเหลือเพียงแต่ความหม่นหมองในวันที่ไม่มีเขาอยู่?

แน่นอนว่ากลไกการรับมือของแต่ละคนคงต่างกัน แต่ที่แน่ ๆ สิ่งที่ทุกคนต้องพยายามเผชิญและผ่านมันไปให้ได้คือ ‘การยอมรับ’ ซึ่งยอมรับในที่นี้นอกจากยอมรับว่าสัตว์เลี้ยงแสนรักของเราได้จากไปแบบไม่มีวันกลับแล้ว การยอมรับอีกอย่างที่สำคัญคือ ยอมรับเสียเถอะว่าเราเสียใจ การฟูมฟายในบางครั้งก็ระบายความเจ็บปวดได้ดีกว่าการเก็บเอาไว้ภายใน

บางครั้งการจัดการกับความรู้สึกด้วยตัวเองอาจไม่ดีเท่ากับมีใครรับฟังเรา ดังนั้น ‘การระบายกับใครสักคน’ ก็เป็นเรื่องที่ดีและไม่ได้น่าอาย เพราะการที่ได้พูดออกไปดีกว่าเก็บไว้คนเดียว ไม่แน่ว่าสิ่งที่ได้รับกลับมานอกจากได้ระบายแล้วคุณอาจได้กำลังใจหรือมุมมองใหม่ ๆ ในการรับมือกับการจากไปของสัตว์เลี้ยงแสนรักของคุณก็ได้

เช่นเดียวกับทุก ๆ เรื่อง เราต้องรู้จักให้เวลา เช่นเดียวกับการรับมือในการจากไปเช่นกัน หลาย ๆ คนคงคุ้นหูกับประโยคที่ว่า ‘เวลาจะเยียวยาทุกสิ่ง’ ซึ่งก็เยียวยาได้จริง ๆ อย่างไม่น่าเชื่อ เมื่อวันเวลาผ่านไปความทุกข์ที่มีจะคลายลงตามเวลา และภาพที่ยังคงอยู่คือเวลาดี ๆ ที่เรามีกับสัตว์เลี้ยงแสนรัก การใช้เวลาในการเยียวยาของแต่ละคนไม่เท่ากันแต่แน่นอนว่าเราจะสามารถผ่านไปได้อย่างแน่นอน

วิธีรับมือกับการจากไปของสัตว์เลี้ยงแสนรักที่ผู้เขียน บรรยายยาวเหยีดมาจนถึงตอนนี้ ล้วนเป็นบทเรียนจากเพื่อนรักสี่ขาของผู้เขียนที่มอบให้เป็นครั้งสุดท้ายก่อนจากกัน และทำให้เรียนรู้ว่าสิ่งเหล่านี้นี่แหละ ที่ทำให้เราก้าวเดินต่อไปได้ แม้ในวันนี้จะไม่มีเขาอยู่แล้วก็ตาม

การเยียวยาตัวเองต่อการจากไปคงไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว และอาจเป็นสูตรเฉพาะของแต่ละบุคคล แต่ผู้เขียนก็เชื่อว่าสิ่งที่ผู้เขียนได้บรรยายมาข้างต้นอาจช่วยให้เราจัดการกับความรู้สึกของตนเองได้ง่ายขึ้น เพราะแม้ว่าในวันที่ไม่มีสัตว์เลี้ยงแสนรักของเราอยู่ข้างกายเหมือนเดิม แต่ชีวิตคนเราก็ยังต้องไปต่ออยู่ดี เหมือนอย่างที่ ‘เชฟ’ ก็ยังคงต้องทำหน้าที่ของตัวเองต่อไปแม้จะไม่มี ‘ฟรานซิส’ เพื่อนคู่ใจเหมือนเคยก็ตาม

ใช้ชีวิตท่ามกลางโควิดอย่างไร ? เรื่องเล่าจากสถาปนิกสาวไทย ในกรุงบูดาเปสต์ ประเทศฮังการี กับวัคซีนเข็มแรก ‘Sputnik V’ ของรัสเซีย

ฮังการี ถือเป็นประเทศแรกที่สั่งซื้อวัคซีนจากประเทศรัสเซีย ชื่อวัคซีน Sputnik V (สปุตนิก วี หรือ สปุตนิก ไฟว์) วัคซีนนี้ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์เรื่องความรีบเร่ง ขาดความโปร่งใส ไม่ปลอดภัย หรือบางคนก็บอกว่ารู้สึกกลัวมาก ก็มีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน หากเราเป็นผู้อาศัยอยู่ในเมืองหลวงของฮังการี อย่าง บูดาเปสต์ (Budapest) มีประชากรมากที่สุดในประเทศฮังการี อยู่ที่ประมาณ 1.8 ล้านคน และหากกล่าวถึงช่วงสถานการณ์โควิดในบูดาเปสต์แล้ว ตอนนี้พบผู้ติดเชื้อในเมืองบูดาเปสต์ รวม ๆ สะสมอยู่ประมาณแสนกว่าคน แล้วท่ามกลางสถานการณ์โควิดจะใช้ชีวิตอย่างไร ? กับการที่จะได้รับวัคซีน แต่ถูกกล่าวหาว่าไม่ปลอดภัย

คือ อาจจะเป็นคนที่ไม่ค่อยตกใจอะไรง่าย ๆ และอีกเพราะทางนี้ เราระบาดช้ากว่าทางจีน แรก ๆ ก็หาจะข้อมูล เตรียมความพร้อมไว้หลายอย่าง เหมือนก็ได้เตรียมตัวไว้ก่อน ได้อ่านข่าวทุกวัน เตรียมหน้ากากอนามัย แอลกอฮอล์ ถุงมือยาง หรือเรียกว่า ตุนไว้ก่อน ซึ่งปกติที่นี่ฝรั่งไม่ค่อยใส่หน้ากากกันในช่วงแรก ๆ แต่ถึงตอนนี้ก็ใส่ทุกคนแล้ว บางคนใส่หน้ากากหนา 2 ชั้น การใช้ชีวิตของเรายังค่อนข้างปกติ ยกเว้นการงดปาร์ตี้ ส่วนอื่น ๆ ยังคงออกไปเดินเล่น ออกกำลังกาย เรื่องอาหารการกิน ถ้าออกไปซื้อของกินที่ Supermarket ก็จะไปอาทิตย์ละ 1 ครั้ง โดยเฉลี่ย ก็ดูก่อนว่าข้างในมีคนเยอะมากมั้ย ถ้าเยอะมาก ๆ ก็รอวันอื่น ไว้ค่อยไปใหม่วันหลัง เพื่อลดระยะห่างให้ได้มากที่สุด ทางที่ดีจะไม่ไปทานอาหารที่ร้าน จะสั่งมาทานที่บ้าน และทำอาหารทานเองสะส่วนใหญ่ แล้วก็พกข้าวกล่องเพื่อไปทานที่ทำงาน แต่ก็ยังคงไปทำงานทุกวัน ไม่เคย Work from Home เลย

ในขณะที่เราก็ยังป้องกัน ดูแลตัวเองทุกอย่าง ลดระยะห่าง และใส่หน้ากากตลอด ตอนนี้ทำงานอยู่ที่ บริษัทสถาปนิกญี่ปุ่น ที่ฮังการี ซึ่งแรก ๆ อาจจะกังวลในเรื่องของการเดินทางไปทำงาน เพราะจากที่เคยขึ้นรถสาธารณะไปทำงานก็ต้องหลีกเลี่ยง เนื่องจากเสี่ยงโควิด ก็เปลี่ยนมาปั่นจักรยานไปทำงานบ้าง เดินไปทำงานบ้าง ในเรื่องนี้อาจจะแตกต่างจากสถานการณ์โควิด ตรงที่เรายังสามารถเตรียมตัวรับมือป้องกัน ซึ่งการเดินทางด้วยตัวเองก็ไม่ได้ง่าย ก็กลัวโดนทำร้ายจากการที่ป้องกันตัวเองได้ไม่ทัน เพราะก็มีเหตุการณ์ที่เห็นเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ที่คนเอเชียมักจะโดนทำร้ายจากชาวตะวันตก ซึ่งยังไม่เคยเจอกับเหตุการณ์นี้ และหวังว่าจะไม่เกิดขึ้น

ไม่เพียงแต่การความเตรียมพร้อมแค่นี้เท่านั้น ทุกคนอาจจะไม่ได้โชคดี.. แต่เราเองก็รอดมาตลอด 90% เลย เพราะมีคนที่ทำงานใน บริษัท สถาปนิก ทีมเดียวกัน ติดโควิดไปแล้วถึง 3 รอบ เท่ากับที่ผ่านมา 1 ปี เราก็เลยต้องได้ตรวจโควิด ไปถึง 3 ครั้ง ตรวจ Antigen ไป 1 ครั้ง เช่นกัน (แอนติเจน มักเป็นสารที่แปลกปลอมหรือเป็นพิษต่อร่างกาย เช่น ตัวเชื้อแบคทีเรีย) แล้วถ้าเกิดว่าวันนึงเราไม่โชคดีแล้ว…จะยอมรับวัคซีนป้องกันก่อนดีกว่าไหม

เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2554 เราได้ฉีดวัคซีนมาแล้ว เป็นแข็มแรก และครั้งแรก... วัคซีนที่ได้ฉีดนั้นเป็นของผู้ผลิตจากประเทศรัสเซีย ชื่อว่า “ Sputnik V ” (สปุตนิก ไฟว์) เป็นวัคซีนต้านโรคโควิด-19 ที่พัฒนาโดยสถาบันวิจัยและพัฒนากามาเลยา (Gamaleya Research Institute of Epidemiology and Microbiology) ของประเทศรัสเซีย ซึ่งขณะนี้ “ Sputnik V ” (สปุตนิก ไฟว์) ได้รับการอนุมัติให้ใช้แล้วหลายประเทศทั่วโลก อย่าง อาร์เจนตินา เมียนมา ลาว อิหร่าน อินเดีย ตูนิเซีย และปากีสถาน ซึ่งระบุถึงประสิทธิภาพ 91.6% หรือกลม ๆ 92 % โดยไม่มีผลข้างเคียงที่ผิดปกติ ทำให้ Sputnik V นี่ยิ่งได้รับความไว้วางใจมากยิ่งขึ้น ด้วยประสิทธิภาพที่ใกล้เคียงกับวัคซีนตัวอื่น ๆ ในขณะที่จำนวนผู้ติดเชื้อในฮังการีเริ่มลดลงจากระดับสูงสุดที่เคยทำไว้กว่า 6,000 รายต่อวัน ในช่วงต้นเดือน ธ.ค. มาอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 2,000 รายต่อวัน และยังได้ถูกตีพิมพ์ผลการทดลองเชิงคลินิคในเฟสที่ 3 ตีพิมพ์ลงในวารสารแลนเซต วารสารการแพทย์ระดับนานาชาติ ถึงประสิทธิภาพในการป้องกันอาการจากการติดเชื้อโควิด-19 “เวลานี้มีวัคซีนชนิดใหม่ในการร่วมต่อสู้ เพื่อลดอาการแพร่ระบาดของโควิด-19 แล้ว”


ข้อมูลอ้างอิง

https://www.matichon.co.th/foreign/news_2559957

ผู้เขียน : สถาปนิกสาวไทย บริษัท สถาปนิกญี่ปุ่น ในกรุงบูดาเปสต์ ประเทศฮังการี


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top