Friday, 29 March 2024
ไทย

"ดร.ซก" ที่ปรึกษาฮุนเซน เข้าหารือ "สุริยะ" ไทย - กัมพูชา พร้อมร่วมมือ!! ด้านพลังงาน - อุตสาหกรรมดิจิทัล - การท่องเที่ยว หลังจากโควิดผ่านไป

รศ.ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา ได้ทำหน้าที่ประสานและนำ ดร.ซก ซกกรัดทะยา  (Dr.Sok Sokrethya) ที่ปรึกษาส่วนตัวของท่านนายกรัฐมนตรีสมเด็จฮุนเซน ผู้แทนรัฐบาลกัมพูชา และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการท่องเที่ยว แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา เข้าพบนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ณ ห้องรับรอง 1 ชั้น 2 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อกระชับความสัมพันธ์อันดีระหว่างรัฐบาลของสองประเทศให้มั่นคงยิ่งขึ้น นอกจากนี้ เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างนักการเมืองรุ่นใหม่ของกัมพูชากับของประเทศไทย ตลอดจนเพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแสวงหาความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ในช่วงที่ทั้งสองประเทศเกิดโควิดและหลังจากสถานการณ์โควิดผ่านไปแล้ว

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ได้กล่าวขอบคุณท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงท่องเที่ยวของกัมพูชาว่า กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ท่านได้มาเยือนกระทรวงอุตสาหกรรมในวันนี้ ทางไทยได้ทราบว่ารัฐบาลกัมพูชาให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมการแปรรูปการเกษตรอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอุตสาหกรรมยานยนต์และประเทศกัมพูชากำลังอยู่ในกระบวนการสร้างอุตสาหกรรมดิจิตัล ท่านจึงมีความเชื่อมั่นว่าไทยและกัมพูชาสามารถจะทำงานร่วมกันได้

นอกจากนี้ นายสุริยะ ได้เสริมว่าการค้าชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชามีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ ท่านจึงมีความปรารถนาที่จะเห็นการค้าชายแดนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมทั้งท่านยังไข้ขอให้รัฐบาลกัมพูชาจะให้การสนับสนุนให้นักธุรกิจไทยมีโอกาสจับคู่กับนักธุรกิจกัมพูชาเพื่อให้ความสัมพันธ์ด้านการค้าของสองประเทศมีความมั่นคงยิ่งขึ้นด้วย พร้อมกันนี้ ยังได้ ฝากความขอบคุณและความปรารถนาดีไปถึงนายกฮุนเชนผู้นำกัมพูชาในโอกาสนี้ด้วย

ทางด้าน ดร.ซก ซกกรัดทะยา รัฐมนตรีช่วยการท่องเที่ยวกัมพูชากล่าวว่า ท่านนายกรัฐมนตรีแห่งกัมพูชาสมเด็จฮุนเซน ได้ฝากความปรารถนาดีอย่างสูงสุดมายังรัฐบาลไทย ว่า ท่านปรารถนาที่จะเห็นนักการเมือง ข้าราชการ และประชาชนของกัมพูชาและไทยช่วยเหลือกัน ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดฉันท์ประเทศบ้านพี่เมืองน้อง  

อย่างไรก็ดีในสถานการณ์โควิดท่านนายกรัฐมนตรีสมเด็จฮุนเซน ได้มีนโยบายเร่งให้สร้างถนนและระบบการขนส่งอย่างกว้างขวางเพื่อเป็นการตระเตรียมรองรับการท่องเที่ยวที่จะกลับมาอีกครั้งหนึ่งในเร็ววันนี้  ซึ่งไทยแบะกัมพูชาพร้อมจับมือกับพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไปพร้อมกัน

นราธิวาส - ผบ.ฉก.นราธิวาส ลาดตระเวนทางน้ำ ติดตามความคืบหน้าโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมพื้นที่ชายแดน ตามแผนงานโครงการก่อสร้างรั้วชายแดนไทย - มาเลเซีย

ที่ห้องประชุมหน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส ค่ายกัลยาณิวัฒนา ตำบลกะลุวอเหนือ อำเมือง จังหวัดนราธิวาส พลตรีเฉลิมพร ขำเขียว ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 15 / ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส พร้อมด้วย พันเอก ก่อเกียรติ เข็มแดง รองผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส ให้การต้อนรับ พลโท สิทธิพงษ์ จันทรัตน์  ผู้อำนวยการศูนย์บูรณาการระบบ กล้องโทรทัศน์วงจรปิด CCTV ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ สำนักอำนวยการข่าวกรอง กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า เดินทางมาตรวจเยี่ยมติดตาม การดำเนินตามโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมพื้นที่ชายแดน พร้อมทั้งประสานการปฏิบัติกับหน่วยโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมพื้นที่ชายแดน ตามแผนงานโครงการก่อสร้างรั้วชายแดนไทย-มาเลเซีย ในรายการจัดหาวัสดุสำหรับก่อสร้างรั้วความมั่นคงอิเล็กทรอนิกส์ตามแนวชายแดน ระยะทาง 6 กิโลเมตร โดยได้รับฟัง การชี้แจงบรรยายสรุปของหน่วยตามแผนงานโครงการก่อสร้างรั้วชายแดนไทย - มาเลเซีย สอบถามปัญกาข้อขัดข้องในการดำเนินงาน

จากนั้น ได้เดินทางต่อไปยัง ด่านศุลกากรตากใบ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เพื่อลงเรือลาดตระเวน ตรวจพื้นที่ในการดำเนินการก่อสร้างรั้วอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 4 ท่าข้าม ได้แก่ 1. ท่าข้ามบันได 2. ท่าข้ามศรีพงัน 3. ท่าข้ามปะลุกา และ 4.ท่าข้ามกัวลอต๊ะ  โดยโครงการก่อสร้างรั้วชายแดน ไทย-มาเลเชีย เริ่มต้นเมื่อปี 2560โดย พลตรี ไพศาล หนูสังข์ รองแม่ทัพภาคที่ 4 ซึ่งในขณะนั้น ดำรงตำแหน่ง รองผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส มีเจตนารมณ์ ต้องการให้ สร้างรั้วป้องกันชายแดนขึ้น จึงให้ชุดควบคุม ป้องกันชายแดน เสนอโครงการขึ้นมา เพื่อป้องกันสกัดกั้นยับยั้ง การลักลอบขนย้าย อาวุธ ยาเสพติด แรงงานต่างด้าว สิ่งผิดกฎหมายต่าง ๆ และการคัดกรองบุคคล ตลอดจนการป้องกัน การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด -19 หรือ โรคติดต่อ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

เพื่อให้พื้นที่ชายแดน มีความมั่นคงปลอดภัยความต้องการงบประมาณที่เสนอขอ ประกอบด้วย 4 รายการ ได้แก่ 1.การก่อสร้างผนังเขื่อนป้องกันตลิ่ง ระยะทาง 7.528 กิโลเมตร 2. การสร้างรั้วตาข่าย ระยะทาง 15 กิโลเมตร  3. การสร้างฐานปฏิบัติการย่อย จำนวน 3 ฐาน และ 4 รั้วความมั่นคงอิเล็กทรอนิกส์ ระยะทาง 6 กิโลเมตร

โดยเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2564 คณะอนุกรรมาธิการแผนงานบูรณาการ 2 ในคณะกรรมาธิการ วิสามัญ พิจารณาร่าง พ.ร.บ งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2565 สภาผู้แทนราษฎร ได้พิจารณาให้ผ่านจำนวน 2 รายการ ได้แก่ การก่อสร้างผนังเขื่อนป้องกันตลิ่งระยะทาง 7.528 กิโลเมตร และรั้วความมั่นคงอิเล็กทรอนิกส์ระยะทาง 6 กิโลเมตร ซึ่งแบ่งจ่ายในปีงบประมาณปี 2565 -2567

โดย หน่วยเฉพาะกิจนราธิวาสได้จัดกำลังพลลงพื้นที่ เพื่อพบปะ สร้างความเข้าใจ ถึงเหตุผลและความจำเป็น ในการก่อสร้างรั้วชายแดน และให้ลงนามในหนังสือยินยอม ให้ก่อสร้างรั้วชายแดนในที่ดินของตนซึ่งมีผู้ที่มีที่ดินติดแนวชายแดน จำนวน 293 ราย ได้ยินยอมให้สร้างรั้วชายแดนเพราะเข้าใจในสภาพปัญหาในพื้นที่ และรับทราบว่าในการสร้างรั้วชายแดน ได้เปิดช่องทางบริเวณจุดผ่อนปรนให้สามารถเดินทางเข้า-ออก ตามวิถีชีวิตของประชาชน ตามแนวชายแดน และเหตุผลอีกประการหนึ่งที่ประชาชนที่มีที่ดิน ติดแนวชายแดนยินยอมให้สร้างรั้วชายแดน คือ การที่แนวชายแดน ด้านประเทศมาเลเซียได้สร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งตลอดแนวชายแดนทำให้ตลิ่งฝั่งไทยถูกกัดเซาะมาอย่างยาวนาน

 

“รองโฆษกรัฐบาล” เผย ไทยเตรียมลงนามความร่วมมือไทย-ฝรั่งเศส ดัน หนุนเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ภายในปี 66

ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  เปิดเผยว่า เตรียมลงนามร่วมกับประเทศฝรั่งเศสในการจัดทำแผนการ สำหรับการดำเนินความสัมพันธ์ไทย-ฝรั่งเศส (ค.ศ. 2021-2023)  ระหว่างการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศของอาเซียนและกลุ่มประเทศ G7 (ASEAN-G7 Foreign Ministers’ Meeting) วันที่ 11-12 ธ.ค. 64 ที่เมืองลิเวอร์พูล สหราชอาณาจักร  เพื่อยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสู่การเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์  หลังจากไทยและฝรั่งเศส  ได้เคยมีการจัดทำแผนปฏิบัติการร่วม (Joint Plan of Action) สองฉบับด้วยกัน ฉบับที่ 1 ปี 2547-2551 และฉบับที่2 ปี 2553-2557 

น.ส.รัชดา กล่าวว่า ทั้งสองประเทศเห็นพ้องที่จะกำหนดแนวทางการกระชับความสัมพันธ์ให้เป็นรูปธรรมและมีความจำเพาะเจาะจงมากขึ้น จึงได้จัดทำโรดแม็ป ประกอบด้วยความร่วมมือ 4 ด้าน คือ 1.สันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคง 2.หุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน 3.การแลกเปลี่ยนระหว่างประชาชนกับประชาชน และ 4.ความร่วมมือในประเด็นระดับโลก โดยจำแนกเป็นประเด็นย่อย อาทิ การส่งเสริมความร่วมมือในสาขาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ การยกระดับความร่วมมือด้านความมั่นคงในการต่อต้านภัยคุกคามระดับภูมิภาคและภัยข้ามชาติ

เช่นอาชญากรรมทางไซเบอร์ การก่อการร้าย การส่งเสริมความร่วมมือด้านสาธารณสุขโดยเฉพาะการวิจัยและพัฒนาวัคซีน การอำนวยความสะดวกการจัดตั้งสตาร์ทอัพ การผลักดันให้เกิดการลงทุนเขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) และเขตเศรษฐกิจพิเศษต่างๆทั่วประเทศไทย การส่งเสริมการท่องเที่ยวในจุดหมายปลายทางที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักในทั้งสองประเทศ การส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน การผลักดันความร่วมมือด้านอาหารปลอดภัยและการปกป้องสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ เป็นต้น

“เฉลิมชัย” มอบ “อลงกรณ์” ลงพื้นที่หน้าด่านหนองคาย-อุดรฯ สัปดาห์หน้า ประสานผู้ประกอบการ ”ไทย-ลาว-จีน” ร่วมมือส่งออกข้าว-ยางพารา-ผลไม้ บนเส้นทางรถไฟสายใหม่รับมือฤดูกาลผลิตปี 2565

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะประธานคณะกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กรกอ.)และประธานคณะทำงานจัดทำแผนแก้ไขปัญหาผลไม้เศรษฐกิจล่วงหน้าทั้งระบบเปิด

เผยวันนี้(21ม.ค.)ว่า ในวันพฤหัสบดีสัปดาห์หน้าจะเดินทางไปหนองคาย-อุดรฯ เพื่อหารือกับผู้ประกอบการ ”ไทย-ลาว-จีน” ด้านโลจิสติกส์เพื่อร่วมมือกันในการสนับสนุนการส่งออกสินค้าเกษตร เช่น ข้าว ยางพารา ผัก ผลไม้กล้วยไม้ สินค้าประมงและสินค้าปศุสัตว์บนเส้นทางรถไฟลาว-จีน 

สำหรับฤดูกาลผลิตปี 2565 ตามข้อสั่งการของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รวมทั้งการติดตามความคืบหน้าของนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานีทางด้านการลงทุนอุตสาหกรรมเกษตรอาหารและโครงการโลจิสติกส์ปาร์คตลอดจนการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น ไนโตรเจนฟรีสเซอร์และระบบตรวจสอบย้อนกลับเพื่อการส่งออก

“ประเทศไทยสามารถส่งออกข้าวสาร จำนวน 20 ตู้ ปริมาณ 500 ตันโดยใช้เส้นทางรถไฟสายจีน-ลาวโดยมีจุดหมายปลายทางที่มหานครฉงชิ่ง (Chongqing)ในภาคตะวันตกของจีนเป็น Shipment แรกซึ่งสามารถผ่านการตรวจตราและออกใบรับรองจากด่านตรวจพืชที่หนองคายขนส่งถึงท่าบกท่านาและผ่านการเห็นชอบของด่านศุลกากรลาวแล้วรอขบวนรถขนส่งสินค้าเพื่อเดินทางออกจากสถานีเวียงจันทน์ใต้ไปมหานครฉงชิ่ง ก่อนหน้านี้ได้รับรายงานคลาดเคลื่อนจากหน่วยงานว่าขนส่งไปฉงชิ่งแล้วรวมทั้งจำนวนน้ำหนักซึ่งได้ช่วยประสานงานกับทางลาวและได้รับความร่วมมืออย่างดีในการอนุมัติผ่านด่านศุลกากรและกระทรวงเกษตรของลาว เมื่อขบวนรถไฟขนส่งมาถึงก็พร้อมออกเดินทางได้ทันที

การขนส่งระบบรางเป็นระบบใหม่จากไทยผ่านแดนลาวเพื่อขยายโอกาสทางการค้าภายใต้การทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กับกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการต่างประเทศ ภาคเกษตรกรและภาคเอกชนตามนโยบายการพัฒนาโลจิสติกส์เกษตรและยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิตเพื่อการส่งออกของนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีพาณิชย์กับ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ซึ่งทั้ง 2 ท่านได้ดำเนินการเจรจากับทางการจีนและลาวทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการตลอดมาโดยเฉพาะในภาวะที่ต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกแล้วระลอกเล่าซึ่งทำให้การทำงานเป็นไปด้วยความยากลำบากแต่ด้วยความมุ่งมั่นและความร่วมมือของทุกฝ่ายจึงสามารถฝ่าฟันอุปสรรคมาได้และถอดบทเรียนปัญหามาสู่การขับเคลื่อนไปข้างหน้าร่วมกัน” 

32 ปี ที่รอคอย!! 'ไทย' ได้อะไรคืนมา หลังความสัมพันธ์ 'ซาอุดีอาระเบีย' กลับมาหวานชื่น

สัมพันธ์ไทย - ซาอุดีอาระเบีย แตกร้าวยาวนานกว่า 30 ปี 

ตลอด 3 ทศวรรษ ทุกรัฐบาลพยายามลบปมร้าว
แต่...ไม่สำเร็จสักรัฐบาล

ส่งผลให้ไทยสูญเสียโอกาสอย่างมหาศาล โดยเฉพาะในด้านแรงงาน และการค้า - การลงทุน จากการที่ซาอุดีอาระเบียลดระดับความสัมพันธ์ ทั้งการลดระดับตัวแทนทางการทูตเป็นระดับอุปทูต, ห้ามชาวซาอุดีอาระเบียเดินทางมาไทย และเปิดรับคนไทยไปทำงานในซาอุดีอาระเบีย 

'นันทิวัฒน์' ยกเครดิต 'ดอน' มิตรภาพใหม่ 'ไทย-ซาอุฯ' ไม่เข้าใจ 'คนติ' ทั้งๆ ที่สิ่งดีๆ กำลังจะตามมา

นายนันทิวัฒน์ สามารถ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ถึงกรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เดินทางเยือนซาอุดีอาระเบีย เพื่อฟื้นฟูความสัมพันธ์ครั้งใหม่ โดยมีข้อความ ระบุว่า...

สิ่งดีๆ กำลังจะตามมา

วันนี้ลุงตู่ได้เขียนประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับซาอุดีอาระเบีย ความสำเร็จของการปรับความสัมพันธ์ครั้งนี้ต้องยกเครดิตให้ท่านดอน ปรมัตถ์วินัย รมว.กต. ที่เพียรพยายามมาหลายปี
 

32 ปีที่รอคอย! ‘ไทย-ซาอุฯ’ ฟื้นสัมพันธ์ กระตุ้นภาคแรงงาน-ท่องเที่ยว | Click on Clear THE TOPIC EP.136

📌 ฟื้นสัมพันธ์ครั้งนี้..ดีอย่างไร?! หาคำตอบไปกับ  ‘ทิพานัน ศิริชนะ’ ข้าราชการการเมืองประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี! 
📌ใน Topic : 32 ปีที่รอคอย! ‘ไทย-ซาอุฯ’ ฟื้นสัมพันธ์ กระตุ้นภาคแรงงาน-ท่องเที่ยว

ในรายการ Click on Clear THE TOPIC จับประเด็น เน้นความรู้

ดำเนินรายการโดย ปริม กุญชนิตา กุญชร ณ อยุธยา PROGRAM DIRECTOR THE STATES TIMES

.

.

ครม. เห็นชอบ ร่าง MOU ขยายความร่วมมือด้านไฟฟ้า ไทย-สปป.ลาว หวัง พัฒนาพลังงานสะอาดในภูมิภาค

เมื่อวันที่ 1 มีนาคม ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.เห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจความร่วมมือในการพัฒนาไฟฟ้าในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างไทย และ สปป. ลาว โดยให้ความสำคัญกับการซื้อขายพลังงานสะอาดในภูมิภาค ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 

รวมถึงเป็นการเสริมสร้างโอกาสทางการค้าและการลงทุนระหว่างสองประเทศในรูปแบบต่างๆ ซึ่งขอบเขตความร่วมมือในครั้งนี้ มุ่งขยายความร่วมมือด้านพลังงานไฟฟ้า โดยเพิ่มปริมาณกำลังการผลิตขึ้นอีก 1,500 เมกะวัตต์ จากปริมาณกำลังผลิตเดิม 9,000 เมกะวัตต์ รวมปริมาณกำลังผลิตเป็น 10,500 เมกะวัตต์ เพื่อขายพลังงานไฟฟ้าให้กับไทย โดยมีการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเป็นผู้รับผิดชอบการซื้อขายไฟฟ้า 

สำหรับขอบเขตความร่วมมือในด้านอื่นๆ อาทิ 1.การจัดตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาร่วมกันในรายละเอียดเชิงเทคนิค 2.พัฒนาไฟฟ้าจากแหล่งเชื้อเพลิงความร้อน พัฒนาระบบโครงข่ายสายส่งไฟฟ้าและระบบขายปลีกไฟฟ้า ใน สปป.ลาว 3.จัดสรรทรัพยากรน้ำ รวมถึงความร่วมมืออื่นๆในการลดการปล่อยคาร์บอน  4.พิจารณาการก่อสร้างระบบสายส่งไฟฟ้าข้ามพรมแดนของแต่ละประเทศ รวมถึงเชื่อมโยงกับระบบสายส่งเดิมกับประเทศที่สาม 

กระชับความสัมพันธ์ไทย-มาเลเซีย

พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นรม.และรมว.กห. ได้มอบหมายให้ พล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล รมช.กห.เป็นผู้แทนให้การต้อนรับ พล.อ.อ. Tan Sri Dato’ Sri Haji Affendi bin Buang (ตัน ซรี ดาโตะ ซรี ฮัจญี อัฟเฟนดิ บิน บวง) ผบ.ทสส.มาเลเซีย ในโอกาสเดินทางเยือนไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของ กองทัพไทย ระหว่าง 7-10 มี.ค.65 

โดยทั้งสองฝ่าย เห็นร่วมกันในการประชุมหารือภายใต้กลไกและกรอบความร่วมมือต่างๆที่มีร่วมกันเพื่อผลักดันให้เกิดความคืบหน้าอย่างเป็นรูปธรรม และผลักดันความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ

รมช.กห กล่าวต้อนรับและได้กล่าวถึงความขอบคุณที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นรม.และรมว.กห.ได้ส่งไปถึง นรม. ของมาเลเซียที่ได้เดินทางมาพบและได้หารือข้อราชการระหว่างกันอันจะนำไปสู่ความร่วมมือในทุกด้าน อาทิ ด้านเศรษฐกิจ และความมั่นคง ส่วนในด้านการทหาร รมช.กห.ได้ย้ำถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างกระทรวงกลาโหมทั้งสองประเทศและความร่วมมือด้านความมั่นคงที่ทางมาเลเซียสนับสนุนไทยเป็นอย่างดีมาตลอด

‘บิ๊กตู่’ ปลื้ม ซาอุฯ ให้คน 2 ประเทศไปมาหาสู่ได้ พร้อมไฟเขียวนำเข้าสินค้าสัตว์ปีกจากไทย

เมื่อวันที่ 16 มีนาคม นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับทราบข่าวที่น่ายินดีว่ารัฐบาลซาอุดีอาระเบียประกาศยกเลิกการห้ามบุคคลสัญชาติซาอุฯ เดินทางเข้าไทย ซึ่งเป็นข้อห้ามที่มีมายาวนานกว่า 30 ปี รวมทั้งอนุญาตให้บุคคลสัญชาติไทยเดินทางเข้าซาอุฯ ได้

นายธนกรกล่าวว่า รัฐบาลเชื่อมั่นว่าประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวที่มีเสน่ห์ มีเอกลักษณ์ สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวซาอุฯ ได้แน่นอน โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ตั้งเป้าดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวซาอุฯ ให้มาเที่ยวไทย 200,000 คน โดยเน้นกลุ่มครอบครัว คนรุ่นใหม่ วัยทำงาน กลุ่มคนรักสุขภาพ และกลุ่มคู่รักฮันนีมูน ซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวที่มีศักยภาพ เป็นกลุ่มที่ค่าใช้จ่ายต่อหัวสูงกว่าหลายๆ ชาติ และเป็นกลุ่มที่ยังไม่เคยเดินทางมาไทย


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top