Friday, 26 April 2024
การศึกษา

นโยบายพรรคการเมืองมีผลต่อ ‘การศึกษาระดับชาติ’ อย่างไร | Click on Clear THE TOPIC EP.131

📌 มอง ‘ชะตาการศึกษาไทย’ ผ่าน ‘นโยบายพรรคการเมือง’!! ไปกับ ‘ครูเป็ด มนต์ชีพ ศิวะสินางกูร’!!

📌ใน Topic : ชะตา!! ‘การศึกษาไทย’ นโยบายพรรคการเมืองมีผลต่อ ‘การศึกษาระดับชาติ’ อย่างไร?!

ในรายการ Click on Clear THE TOPIC จับประเด็น เน้นความรู้

🕗เวลา 2 ทุ่มตรง รับชมไปพร้อมกัน !!

ดำเนินรายการโดย ปริม กุญชนิตา กุญชร ณ อยุธยา PROGRAM DIRECTOR THE STATES TIMES

🎥ช่องทางรับชม LIVE 
Facebook: THE STATES TIMES
YouTube: THE STATES TIMES
TikTok: THE STATES TIMES

ถึงเวลาแล้วหรือยัง? ‘Lifelong Learning’ ควรมาแทนการศึกษาภาคบังคับ | Click on Clear THE TOPIC EP.133

📌 ถึงเวลาหรือยังที่ ‘การศึกษาไทย’ ต้องปฏิรูป!! พูดคุยไปกับ ‘นายเมธชนนท์  ประจวบลาภ’
ผู้อำนวยการสถานศึกษาศูนย์การเรียนเซนต์ ยอห์นบอสโก!!

📌ใน Topic : ถึงเวลาแล้วหรือยัง? ‘Lifelong Learning’ ควรมาแทนการศึกษาภาคบังคับ!!

ในรายการ Click on Clear THE TOPIC จับประเด็น เน้นความรู้

ดำเนินรายการโดย ปริม กุญชนิตา กุญชร ณ อยุธยา PROGRAM DIRECTOR THE STATES TIMES

.

.

มิติใหม่ ‘การศึกษาไทย’!! พัฒนาการเรียนรู้ ผ่านวิถีแห่ง ‘บ้านเกิด’ | Click on Clear THE TOPIC EP.139

📌 เปิดใจ!! พัฒนา ‘การศึกษาไทย’!! ด้วยแนวทางการเรียนรู้จาก ‘บ้านเกิด’ ไปกับ ‘คุณสริภา สุจิตต์’ นิสิตและนักกิจกรรม

📌 ใน Topic : มิติใหม่ ‘การศึกษาไทย’!! พัฒนาการเรียนรู้ ผ่านวิถีแห่ง 'บ้านเกิด'

ร่วมจับประเด็น เน้นความรู้ได้ในรายการ Click on Clear THE TOPIC

ดำเนินรายการโดย ปริม กุญชนิตา กุญชร ณ อยุธยา PROGRAM DIRECTOR THE STATES TIMES

.

.

'นายกฯ' ผลักดัน 'การศึกษา' เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก  

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  กล่าวว่า พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้ความสำคัญกับการพัฒนาการศึกษาเพื่อทรัพยากรมนุษย์มาโดยตลอด เป็นหนึ่งในปัจจัยที่นารัฐมนตรีมุ่งมั่น ตั้งใจให้เห็นภาพความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม โดยได้วางแนวทางด้านการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องตลอดการทำงาน

นายธนกร กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีเน้นการพัฒนาระบบการศึกษาเพื่อสร้างคนในชาติ ก้าวทันความเปลี่ยนแปลง และพลวัตของโลก ซึ่งในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 ได้เห็นชอบโครงการนำร่องของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ที่ได้พัฒนาหลักสูตรการศึกษารูปแบบใหม่ “Higher Education Sandbox” ตอบสนองแนวทางการศึกษาในอนาคตที่ยืดหยุ่นและคล่องตัว มุ่งให้เกิดประสิทธิภาพการเรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ ให้ความสำคัญทั้งกับหลักการ และประสบการณ์จากการลงมือปฏิบัติจริง รวมทั้ง เป็นการศึกษาที่มุ่งการสร้างอาชีพ เป็นการผลิต "กำลังคนขั้นสูง" ตอบโจทย์ความต้องการ ด้านเศรษฐกิจและสังคมยุคใหม่มากขึ้น ถือเป็นก้าวสำคัญของ “การปฏิรูปการศึกษา” ในระดับมหาวิทยาลัย สร้างทรัพยากรมนุษย์มารองรับการขับเคลื่อนประเทศชาติ

นายธนกร กล่าวว่า ในระดับ "การศึกษาขั้นพื้นฐาน" รัฐบาลได้ผลักดัน พ.ร.บ.พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ.2562 ขับเคลื่อนการศึกษาให้สอดคล้องกับบริบทในแต่ละท้องถิ่น ทั้งอาชีพและความต้องการแรงงาน กำหนด "โรงเรียนนำร่อง" และสร้าง "เครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง" เน้นการส่งเสริมความถนัดของผู้เรียน สนับสนุนการมีส่วนร่วมของ ภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม 

ปั้น​ 'นโยบาย'​ จาก​ 'ปัญหา'​ มิติใหม่แห่งนโยบายการศึกษาสไตล์​ 'ไทยสร้างไทย'​ | Click on Clear THE TOPIC EP.176

📌 การศึกษาไทยจะเดินหน้าได้ ต้องแก้ปัญหาอย่างไรถึงจะตรงจุด!! เจาะลึกแนวคิดพลิกโลกการศึกษาไทยไปกับ ‘ธิดารัตน์ ยิ่งเจริญ’ ผู้อำนวยการ ศูนย์นโยบาย พรรคไทยสร้างไทย!!
📌 ใน Topic : ปั้น​ 'นโยบาย'​ จาก​ 'ปัญหา'​ มิติใหม่แห่งนโยบายการศึกษาสไตล์​ 'ไทยสร้างไทย'​

ในรายการ Click on Clear THE TOPIC จับประเด็น เน้นความรู้

ดำเนินรายการโดย ปริม กุญชนิตา กุญชร ณ อยุธยา PROGRAM DIRECTOR THE STATES TIMES

.

.

University Ranking จะเลือกเรียนตามอันดับ หรือ เลือกคิดอย่างลุ่มลึก

ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัย โดยแบ่งตามสาขาวิชาจาก QS University Ranking by Subject 2022 น่าจะช่วยให้ผู้สนใจเรื่องการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของโลก ภายใต้ ‘การรับรู้’ คุณสมบัติ ดีกรี ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยดังๆ ในโลก ได้เปิดใจมองเห็นภาพที่แตกต่างว่า เราควรเลือกเรียน เพราะ ‘อยากรู้’ ในศาสตร์หรือสาขาที่เยี่ยมยอดแค่ไหนมากขึ้น ภายหลังจาก ‘วิทยาลัยดุริยางคศิลป์’ (College of Music) มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการจัดอันดับเข้า Top 50 เป็นครั้งแรก

ผมกำลังหมายถึงอะไร?

การจัดอันดับมหาวิทยาลัยในโลกนั้น ใช้ตัวแปรหลายอย่าง ทั้งจำนวนสาขาวิชาที่เปิด / ความเพียบพร้อมทางเทคโนโลยี / อัตราส่วนอาจารย์และนักศึกษา / จำนวนงานวิจัย / บัณฑิตในระดับปราชญ์ชั้นสูงที่ผลิตได้ / ความหลากหลายทางเชื้อชาติ และอีกหลายมิติ นั่นจึงทำให้บรรดาสถาบันที่ทำการจัดอันดับ จึงมักจะประกาศผลการจัดอันดับที่ไม่ตรงกันเท่าไรนัก

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยในทุกประเทศทั่วโลก ที่มีมากกว่า 31,097 แห่งนั้น จะมีวิธีการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุด ด้วยการประกาศอันดับที่ Top 500 หรือมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุด 500 อันดับแรก และมหาวิทยาลัยที่ ไม่ติดอยู่ใน Top 10 หรือ Top 20 ก็อาจถูกมองว่า ‘ไม่ดีจริง’ ในสายตาของผู้ที่คุ้นเคยกับการจัดอันดับที่ใช้แค่หลักสิบ

อย่างไรก็ตาม จำนวนมหาวิทยาลัย 500 แห่ง ก็ถือว่าเป็นดีกรีที่ไม่เลว เพราะถือเป็นสัดส่วนราว 1.6% หากวัดจากจำนวนมหาวิทยาลัยทั่วโลกกว่า 3 หมื่นแห่ง ซึ่งก็ถือเป็นเรื่องที่น่าภูมิใจในระดับหนึ่ง

แต่ผมก็ไม่อยากให้พวกท่าน ถูกลวงด้วยเลข 500 โดยไม่ดูมวลรวมทั้งหมดของมหาวิทยาลัยที่มีอยู่ทั่วโลกนะ!!

ที่ผมว่าเช่นนั้น เพราะการจัดอันดับมหาวิทยาลัย 500 อันดับแรก ยังถือว่าเป็นสัดส่วนน้อยมาก และควรมีการขยายการจัดอันดับของมหาวิทยาลัยให้มากกว่าหลักร้อย ไปสู่อย่างน้อยก็หลักพัน เพราะในการจัดอันดับเป็นหลักร้อยนั้น ก็ไม่ได้หมายความว่า เราจะได้ ‘จำนวน’ มหาวิทยาลัยเข้าอันดับครบ เนื่องจากมีมหาวิทยาลัยที่ได้คะแนนเสมอกันอยู่จำนวนหนึ่ง ดังนั้นอันดับที่คะแนนเท่ากัน จะทำให้อันดับที่ตามมาหายไป เช่น อันดับ 50 มี มหาวิทยาลัยได้คะแนนเท่ากัน 10 แห่ง จะทำให้ไม่มีอันดับ 51-60 อันดับ เป็นต้น

ยิ่งไปกว่านั้น หากหันไปมอง มหาวิทยาลัยเก่าแก่ ระดับโลก และเป็นที่ยกย่องยอมรับกัน ทั้งในวงการวิชาการระดับสูง และโดยประชาคมโลกมานานหลายทศวรรษ/ศตวรรษนั้น ล้วนรักษาคะแนนรวม (Overall) จนรักษาอันดับของตนเองไว้ได้ในอันดับต้นๆ จะมีเปลี่ยนแปลงขึ้นลงบ้างเล็กน้อยในแต่ละปี ส่งผลให้อันดับที่แตกต่างนั้น ไม่ได้มหาศาล แต่ต่างกันเพียงแค่หลัก ‘ทศนิยม’ เช่น Harvard อันดับ 5 (คะแนนรวม 98), Stanford และ Cambridge อันดับ 3 ทั้งคู่ (คะแนนรวม 98.7), California Institute of Technology ในเมืองพาซาดีนา แคลิฟอร์เนีย อันดับที่ 6 (คะแนน 97.4), Imperial College ลอนดอน อันดับที่ 7 (คะแนน 97.3) หรือจากมหาวิทยาลัย ในอันดับช่วง Top 20 เช่น Nanyang Technological University (NTU) สิงคโปร์ อันดับที่ 12 (คะแนน 90.8), ส่วน University of Pennsylvania อันดับที่ 13 (คะแนน 90.7) แต่ University of Pennsylvania ที่เรียกกันสั้นๆ ว่า Penn เป็นมหาวิทยาลัยในกลุ่ม Ivy League และมีความเก่าแก่ 282 ปี ส่วน NTU แม้เปิดมาได้เพียง 40 ปี แต่ได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก และอยู่ในอันดับ Top 80 ตลอดมา

สังเกตได้ว่า ปัจจัยในการเลือก ไม่สามารถจะมองเพียงตัวเลขที่เรียงอันดับ 1-2-3 แบบไร้มิติได้ เพราะคะแนนที่ต่างกันเป็นจุดทศนิยม ในแต่ช่วงอันดับ ยังบ่งบอกถึงมาตรฐานสูงในระดับเดียวกันอยู่

สิ่งที่ผมกำลังจะบอก คือ หากผู้เรียน ไม่ได้ติดตามคุณภาพของสถาบัน และมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในโลก ด้วยข้อมูลเชิงลึก ก็จะยึดติดกับอันดับของมหาวิทยาลัย หรือคำบอกเล่าแบบต่อๆ กันมา กลับกันผู้ที่เรียนเก่ง หรือมีความจริงจังทางด้านวิชาการ ไม่ว่าสาขาใดก็ตาม พวกเขามักจะศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับมาตรฐานทางวิชาการของมหาวิทยาลัยต่างๆ อย่างมีมิติ มากกว่ามองแค่ Top 10, Top 50 หรือ Top 200 

ถึงกระนั้นเรื่องของอันดับ ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีผลต่อการประเมินคุณภาพ มันยังสำคัญ!! และสะท้อนถึงความก้าวหน้าของมิติด้านการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยนั้นๆ จนถีบตัวเข้าสู่ทำเนียบแห่งความเป็นสากล!!

อย่างการเข้าอันดับ Top 50 ของมหาวิทยาลัยมหิดล ในสาขาการแสดงทางศิลป์และดนตรี ในปี 2022 นี้ ภายใต้ QS University Ranking by Subject ก็ยืนยันถึงความก้าวหน้าของ College of Music (CMMU) หรือ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ชัดเจน เพราะหากวัดระยะเวลาเพียง 28 ปี นับจากวันสถาปนาวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ในปี 2537 แล้วนั้น CMMU ได้แสดงตัวตนให้แวดวงการศึกษาดนตรี รับรู้ได้ถึงการมีตัวตน มีเสียง และมีพลัง จนโลกได้รู้จักวิทยาลัยด้านดนตรี จากประเทศเล็กๆ และเป็นประเทศที่ประชาคมโลกจำนวนมาก มองไม่เห็นถึงความเป็นสากลทางด้าน Performing Arts นั้นต้องหันมาเหลียว!!

ทั้งนี้ หากมองอันดับ Top 10 ของมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลก ในสาขา Performing Arts รายชื่อสถาบันและมหาวิทยาลัย เช่น Royal College of Music (ลอนดอน), The Juilliard School (นิวยอร์ค), Royal Academy of Music (ลอนดอน), Curtis Institute of Music (ฟิลาเดลเฟีย) หรือ University of Music and Performing Arts Vienna (เวียนนา) ล้วนเป็นสถาบันทางดนตรี และการแสดง ที่อยู่ในระดับศักดิสิทธิ์ มีความขลังสูงสุด และผู้ที่จะผ่านการคัดเลือกเข้าไปเรียนในสถาบันเหล่านี้ ล้วนแต่เป็นหัวกะทิ หรืออัจฉริยะทั้งสิ้น ไม่ต่างจาก หัวกะทิในสาขาแพทย์, กฎหมาย, วิศวกรรมศาสตร์, วิทยาศาสตร์, คณิตศาสตร์, สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยอันดับต้นของโลก

ส่วนในอันดับ Top 30 ของมหาวิทยาลัยที่มีความเป็นเลิศในสาขาการแสดงและดนตรี ยังเป็นสถาบันอันเก่าแก่ เช่น Royal Academy จากซาลซ์บูร์ก ออสเตรีย, สถาบันจากเดนมาร์ก, จากเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก, จากสวีเดน, จากมอสโก และมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด ต่อด้วย Cambridge, Oxford, Yale, Columbia, UCLA มหาวิทยาลัยเหล่านี้ มีชื่อเสียงมานับร้อยปี อีกทั้งอยู่ในประเทศที่พลเมืองมีดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต เยาวชนเติบโตมาด้วยโอกาสทางดนตรีและการแสดง ที่มีทั่วไป ชนชั้นกลางสืบทอดทักษะทางดนตรีให้กับลูกหลาน และทำให้เยาวชนพัฒนาทักษะจนสามารถแข่งขันเข้าเรียนในสถาบันอันมีชื่อเสียงได้

'ครูมิกกี้' แนะ หากมีเงินให้ส่งลูกเรียนเอกชน-ตปท. ชี้!! รร.รัฐ ครูทำแต่เอกสาร - ไม่มีเวลาเตรียมสอน

'ครูมิกกี้' ระบายร่ายยาวเรื่องราวเกี่ยวกับเอกสาร SDQ ชี้ทำให้ครูไม่มีเวลาสอนหนังสือ ถึงมีก็ทำไม่เต็มที่ แนะผู้ปกครองที่มีกำลังส่งลูกไปเอกชนหรือต่างประเทศ หนีไปให้ไกลจากโรงเรียนรัฐ ระบุโรงเรียนคือแหล่งผลิตเอกสารขยะรอวันทิ้ง ไม่ใช่ที่บ่มเพาะศักยภาพของเด็กอีกแล้ว

เมื่อวันที่ 23 ส.ค. ผู้ใช้เฟซบุ๊ก 'TeacherMickey Suphanta' หรือ 'ครูมิกกี้' ออกมาตำหนิระบบการศึกษาของไทยโดยเฉพาะโรงเรียนของรัฐบาล โดยเจ้าตัวแนะนำหากมีกำลังทรัพย์ให้ส่งลูกไปเรียนเอกชน หรือต่างประเทศไปเลยจะดีกว่า ชี้ครูโรงเรียนรัฐไม่เวลามาสั่งสอน มัวแต่ทำเอกสาร การศึกษาไทยถึงไม่พัฒนา ทั้งนี้ เจ้าตัวได้ระบุข้อความระบายออกมาว่า

"เชิญชมเอกสารงี่เง่าอีก 1 ชุดค่ะ SDQ ผู้ปกครองท่านไหนคิดอยากจะส่งลูกไปโรงเรียน ถ้ามีเงินมากพอ มีกำลังส่งไปเรียนเอกชน สาธิต หรือโปรแกรมดีๆ ไปต่างประเทศให้ รีบลาออก หรือผู้ปกครองทำบ้านเรียนเองเลย

อย่าส่งลูกคุณไปโรงเรียนรัฐค่ะ เพราะครูไม่มีเวลามาอบรมสั่งสอนลูกของคุณค่ะ ไม่ใช่ว่าครูไม่ดี หรือไม่อยากสอน แต่เป็นเพราะครูยุ่งอยู่ กรอกเอกสารอยู่ค่ะ นักเรียนมีกี่คนก็คูณเข้าไป

ถามว่ามีข้อมูลมันดีมั้ย มันก็ดีมากๆ ถ้ากรอกแล้วเอาไปใช้เพื่อพัฒนาผู้เรียนจริง ไม่ใช่กรอกส่งหน่วยเหนือแล้ว รายงานแล้ว ทิ้งไว้ให้ปลวกกิน (SDQ อันนี้คือครูต้องแจกให้ผู้ปกครองกรอก)

แต่ส่วนใหญ่แล้ว เขาแค่กรอกส่งเฉยๆ ตามหน้าที่ค่ะ นี่เป็นแค่เอกสาร 0.1% ที่ครู "ต้องทำ ต้องส่ง หรือต้องตามเก็บจากผู้ปกครองให้ครบ" ต้องทำอย่างปฏิเสธไม่ได้ เขาเลยไม่ค่อยมีเวลาเตรียมสอนกัน แล้วคุณภาพผู้เรียนก็ออกมาเละเทะ อย่างที่เป็นอยู่ตอนนี้ไง

จริงๆ ถ้าอยากได้ข้อมูลพวกนี้ แค่ปล่อยครูไปอยู่กับนักเรียนเยอะๆ ทำไมเขาจะไม่รู้ ว่าจุดแข็ง จุดอ่อน ของนักเรียนแต่ละคนเป็นยังไง ก็เห็นหน้า เห็นพฤติกรรมกันอยู่ทุกวัน

แล้วคือถ้าถ่ายเอกสารออกมาเป็นแผ่นๆ แบบนี้ หมายความว่า ผปค./ครู แต่ละคนต้องใช้มือติ๊ก ทีละข้อ ทีละข้อ ของนักเรียนแต่ละคน เสร็จแล้วครูต้องไปไล่ตามเก็บไปเข้าเล่ม รายงาน หลังจากนั้นไปอีก 2-3 ปี หรือรอจนกระดาษเหลืองแล้ว เราก็เตรียมชั่งกิโลขายกระดาษค่ะ

เบื่อจริงๆ พวกนักสำรวจ สำรวจอย่างเดียว รอรายงานอย่างเดียว ไม่รู้เลยหรือไงว่าเอกสารพวกนี้คือสิ่งที่แย่งเวลาครูไป แย่งเวลาเรียนของนักเรียนไป คุณภาพการศึกษาบ้านเราถึงตกต่ำ ต่ำแบบต่ำเตี้ยเรี่ยดิน ไม่มีวันได้ผุดได้เกิดกันขนาดนี้

คิดว่าครูเขาว่างมากนักหรือไง เอกสาร 80 อย่าง จะแบ่งเวลาตรงไหนมาสอน ต่อให้สอนก็ไม่เต็มที่ เพราะเวลามีไม่พอที่จะเตรียมตัว หรือทำสื่อ หรือมีเวลามาใส่ใจลูกของคุณ

มาเลเซีย ส่อเกิดวิกฤตการศึกษา หลังเด็กจบมัธยม 72% ไม่สนใจเรียนต่อ

สถาบันวิทยาศาสตร์แห่งมาเลเซีย (ASM) ได้ทำการสำรวจความเห็นของนักเรียนมาเลเซีย ถึงเป้าหมายในการเรียนหลังจบ ระดับมัธยมศึกษา พบว่ามีนักเรียนมาเลเซียกว่า 390,000 จากจำนวน 560,000 หรือราว ๆ 72.1% ตอบว่าไม่สนใจที่จะเรียนต่อแล้ว แต่ต้องการเริ่มอาชีพอิสระ เช่นการทำคอนเทนท์ Online หรือ เป็น YouTuber มากกว่า จึงมีนักเรียนเพียง 170,000 คน ที่ยืนยันว่าจะเรียนต่อในชั้นเรียนระดับสูงอย่างแน่นอนเท่านั้น 

3 สาเหตุหลักที่ทำให้เด็กนักเรียนมาเลเซีย ช่วงอายุระหว่าง 17-18 ปี สนใจเรียนต่อในระดับสูงน้อยลงมาก คือ 

1. การขยายตัวของ Gig Economy หรือระบบเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากงานแบบครั้งคราว ที่มักเรียกว่ากลุ่มงานฟรีแลนซ์ งานรับจ้างเป็นชิ้น ๆ ที่ไม่มีสัญญาผูกมัดระยะยาว ที่ตรงกับค่านิยมของหนุ่มสาวยุคใหม่ ที่รักอิสระ เน้นทำงานเฉพาะทางที่อยากทำจริง ๆ 

2. จึงตามมาด้วยเหตุผลที่ 2 คืออิทธิพลของสื่อโซเชียลที่กำลังมาแรง และมีโอกาสสร้างรายได้มหาศาล กลายเป็นแรงจูงใจให้เด็กรุ่นใหม่เลือกเดินสายอาชีพ Influencer, Youtuber, Streamer หรือการขายของทางออนไลน์ ซึ่งเป็นอาชีพที่สามารถทำได้ทันที ไม่จำกัดวัย และวุฒิการศึกษา 

3. ความเชื่อว่า วุฒิการศึกษาระดับสูงในปัจจุบันไม่สามารถการันตีรายได้ในอนาคต อีกทั้งการเรียนต่อในระดับวิชาชีพขั้นสูง หรือ ในมหาวิทยาลัยก็มีค่าใช้จ่ายสูง ที่บางหลักสูตรไม่ตอบโจทย์ความต้องการในตลาดแรงงานของยุคนี้อีกแล้ว

นอกจากนี้ กระทรวงการศึกษาของมาเลเซียยังเปิดเผยว่า ยังมีเด็กมาเลเซียอีกถึง 5.8% ที่ไม่เคยเข้าระบบการศึกษาภาคบังคับ หรือมีโอกาสเรียนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน เนื่องจากฐานะทางบ้านยากจน

The Star สื่อยักษ์ใหญ่ของมาเลเซียชี้ให้เห็นว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้นักเรียนมาเลเซียจำนวนมากเลิกเรียนกลางคัน ทั้ง ๆ ที่ยังไม่จบระดับมัธยมด้วยซ้ำ มาจากปัญหาความยากจน ระบบการศึกษาที่เน้นผลสัมฤทธิ์จากการสอบมากเกินไป และ นักเรียนไม่เห็นความสำคัญของการศึกษาในระดับสูงอีกต่อไปแล้วนั่นเอง 

ดาโต๊ะ เสรี แอดฮาม บาบา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี และนวัตกรรม แสดงความเป็นห่วงที่เห็นตัวเลขนักเรียนมาเลเซียจำนวนมาก ไม่สนใจจะเรียนต่อในระดับการศึกษาขั้นสูงหลังสอบจบ Sijil Pelajaran หรือวุฒิมัธยมศึกษาระดับพื้นฐานของมาเลเซีย ซึ่งหากตัวเลขที่ได้จากผลสำรวจนี้สะท้อนความเห็นของนักเรียนมัธยมส่วนใหญ่ของมาเลเซียจริง ๆ อาจไม่เป็นผลดีกับการพัฒนาประเทศในระยะยาว

'นักร้องดัง' โพสต์แง่คิด!! การที่เราโง่นั้น ไม่ผิด!! แต่เมื่อโง่แล้ว ต้องยอมรับและศึกษาจากคนที่ฉลาดกว่าเสมอ

(5 ต.ค. 65) 'บิลลี่​ โอแกน'​ นักร้อง นักแสดง นักแต่งเพลง ชาวไทยชื่อดัง​ ได้โพสต์ข้อความลงเฟซบุ๊ก​ ว่า... 

การที่เราโง่นั้น 'ไม่ผิด' เพราะเราไม่รู้ เราจึง 'โง่'

แต่เมื่อโง่แล้ว เราต้องยอมรับว่า คนที่ฉลาดกว่าเรานั้นมีมากมาย 

บางที เขาแค่มองดูเราเงียบ ๆ แล้วเห็นว่าเราโง่

เราจึงควรศึกษาจากคนที่ฉลาดกว่าเสมอ

และไม่ควรคิดว่าตนเองฉลาด เพราะเราอาจฉลาดในเรื่องโง่ๆ ก็เป็นได้


ที่มา: https://www.facebook.com/232705074832/posts/pfbid02zdQCvjA5hmEhtywfYmcRV5hdaqnyxZ1PcVt69aJbaDreRoP8KZhVa5HjfB1654PHl/

สมาคมนักเรียนไทย-จีน ขอบคุณทุกภาคส่วน ที่ช่วยทำให้เด็กไทยได้กลับไปเรียน ณ แดนมังกร

เมื่อวันที่ 11 ต.ค. 65 'สมาคมนักเรียนไทย-จีน' โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ โดยระบุข้อความว่า

#พาเด็กไทยกลับจีน เที่ยวบินเหมาลำรอบที่ 4 โดยสมาคมนักเรียนไทย-จีน 11 ตุลาคม 2565 

สมาคมนักเรียนไทย-จีน (TCSA) ร่วมกับสายการบินการบินไทย (Thai Airways) เที่ยวบินที่ TG8122 เส้นทางกรุงเทพฯ ปลายทาง กว่างโจว ประเทศจีน ซึ่งเป็นเที่ยวบินเช่าเหมาลำรอบที่ 4 ที่จัดทำโดยสมาคมนักเรียนไทย-จีน มีผู้โดยสารเป็นนักเรียนนักศึกษาทั้งหมด 232 คน เดินทางกลับสู่แดนมังกร ในเที่ยวบินนี้

นับตั้งแต่เที่ยวบินแรกเมื่อวันที่ 22 ก.พ. 65, เที่ยวบินที่สอง เมื่อวันที่  22 มิ.ย. 65 และเที่ยวบินที่สามเมื่อวันที่ 20 ก.ย. 65 ซึ่งทุกเที่ยวบินที่เกิดขึ้น ทางสมาคมนักเรียนไทย-จีน ต้องขอขอบพระคุณ รัฐบาลไทย และ รัฐบาลจีน รวมทั้งทุกภาคส่วนที่ได้ร่วมกันทำให้เกิดเที่ยวบินนี้


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top