Monday, 6 May 2024
การศึกษา

'ตรีนุช' ตั้งเป้าสิ้นปีการศึกษา 2565 เด็กออกกลางคันเป็นศูนย์ พร้อมเน้นให้ครูเข้าใจนักเรียนเป็นรายบุคคล

(1 พ.ย. 65) ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวตอนหนึ่งในการมอบนโยบายเปิดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ให้แก่ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และผู้อำนวยการโรงเรียนทั่วประเทศ ผ่าน OBEC Channel ว่า ขอบคุณทุกคนที่ได้นำนโยบายของกระทรวงไปปฏิบัติให้มีผลสำเร็จมีความคืบหน้าตามลำดับ ซึ่งในโอกาสเปิดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ขอเน้นย้ำการขับเคลื่อนนโยบายการศึกษาที่สำคัญในการดูแลพัฒนาการของนักเรียนอย่างเป็นองค์รวม ได้แก่ ความปลอดภัยในสถานศึกษา ทั้งด้านการเดินทางไป-กลับของนักเรียน การจัดสภาพแวดล้อมสถานศึกษาให้ปลอดภัย การให้บริการดูแลด้านโภชนาการ และสุขภาพ การป้องกันภัยธรรมชาติ และที่สำคัญ คือ การป้องกันภัยจากยาเสพติด และภัยจากอาวุธปืน ซึ่งต้องไม่เกิดขึ้นในสถานศึกษาอย่างเด็ดขาด และต้องปฏิบัติอย่างเข้มข้น ตามหลัก 3 ป. ได้แก่ ป้องกัน, ปลูกฝัง และ ปราบปราม ภายใต้โครงการ MOE Safety Center เพื่อสร้างความปลอดภัยให้นักศึกษา ครู และบุคลากรทุกคน

“ในการเปิดภาคเรียนที่ 2/2565 นี้ กระทรวงศึกษาธิการ ได้มุ่งเน้นให้ครูกระชับความสัมพันธ์กับนักเรียนและผู้ปกครองมากขึ้น เพื่อทำให้เข้าใจนักเรียนเป็นรายบุคคล ทั้งนิสัยและชีวิตความเป็นอยู่ ได้พูดคุยกับผู้ปกครองโดยตรง เพื่อร่วมกันหาแนวทางช่วยเหลือได้อย่างถูกต้องเหมาะสม อีกทั้งยังเป็นการสร้างเครือข่ายผู้ปกครองและชุมชนให้ช่วยกันเฝ้าระวัง และมีส่วนร่วมในการแจ้งเหตุความไม่ปลอดภัย ตลอดจนสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ปกครองไว้วางใจในการนำผู้เรียนมาอยู่ภายใต้การดูแลของเราผ่านการเยี่ยมบ้านนักเรียน” นางสาวตรีนุช กล่าว

รมว.ศธ.กล่าวต่อไปว่า เราจะสร้างความเข้มแข็งให้แก่นักเรียน ผ่านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ‘Screening Learning Loss’ ครอบคลุม 4 มิติ ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม ดำเนินการแก้ไขปัญหาการเรียนรู้ที่ถดถอย ด้วยการนำข้อมูลนักเรียนมาใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสม และป้องกันเด็กนักเรียนหลุดออกจากระบบการศึกษา ซึ่งโครงการพาน้องกลับมาเรียน ยังเป็นนโยบายสำคัญที่เดินหน้าต่อเนื่อง โดยติดตามเด็กกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาครบ 100% และ ทำให้การออกกลางคันเป็นศูนย์ (zero drop out) ในปีการศึกษา 2565 นี้ นอกจากนี้ยังมีแพลตฟอร์ม School Mental Health ระบบดูแลนักเรียนและครูในสถานศึกษา ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เพื่อตรวจสภาพจิตใจของเด็กและครู ซึ่งสถานศึกษาสามารถประสานกับหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อขอรับคำปรึกษาและความช่วยเหลือเกี่ยวกับสุขภาพจิตได้

รมว.ศธ.กล่าวอีกว่า การยกระดับคุณภาพทางการศึกษา และการแก้ไขปัญหาการเรียนรู้ที่ถดถอยนั้น ให้โรงเรียนจัดกิจกรรมสอนซ่อมเสริม ชดเชย หรือ กิจกรรมเสริมทักษะเพิ่มเติมตามความถนัด ความสนใจ และเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน โดยนำการเรียนการสอนรูปแบบ Active Learning มาใช้ช่วยให้ผู้เรียน เรียนอย่างมีความสุข สนุก และมีทักษะการคิด ซึ่งจะทำให้เรียนรู้ได้เร็วและนำไปใช้ในชีวิตจริงได้ และขอให้เพิ่มความสำคัญในวิชาประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมือง เพื่อสร้างสำนึกของความเป็นไทย รักในการเป็นชาติของเรา โดยจัดการเรียนรู้ตามความพร้อม และเหมาะสมในแต่ละบริบทพื้นที่

นางสาวตรีนุช กล่าวด้วยว่า สำหรับนักเรียนที่จะจบชั้น ม. 3 สถานศึกษาควรสำรวจความต้องการในการศึกษาต่อสายอาชีพ เพื่อเตรียมความพร้อม ให้คำแนะนำและส่งต่อเข้าสู่โครงการ ‘อาชีวะ อยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ’ ในปีการศึกษา 2566 โดยเฉพาะกลุ่มเด็กที่ครอบครัวประสบปัญหาด้านค่าใช้จ่าย สำหรับหลักสูตรทวิศึกษา ซึ่งเป็นการเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย เมื่อสำเร็จการศึกษาผู้เรียนจะได้รับวุฒิการศึกษาทั้งการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) นั้น ตนได้มอบหมายให้ สพฐ. ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จัดทำแผนระดับจังหวัดว่า ควรจัดทวิศึกษารายวิชาใด ในโรงเรียนไหน โดยให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ ทั้งแก้ไขปัญหา และข้อจำกัดจากการดำเนินงานในอดีต โดยเป้าหมายระยะสั้น เน้นการเรียนการสอนทวิศึกษาในโรงเรียนราชประชานุเคราะห์, โรงเรียนตามโครงการพระราชดำริ และโรงเรียนที่มีความพร้อม

'บิ๊กตู่' หนุน 6 โครงการลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา ดูแล 'เด็ก-เยาวชน' ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

เมื่อวันที่ 7 ม.ค.66 น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตามที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ให้ความสำคัญกับพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ นอกจากการดูแลสวัสดิการในทุกช่วงวัยแล้ว ยังมุ่งให้เด็กและเยาวชน ได้รับการศึกษาที่ดีมีมาตรฐาน ได้รับโอกาสทั่วถึง เท่าเทียมและทันสมัยก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของโลก เพื่อเป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วยปัตตานี นราธิวาส และยะลา ที่มีรายงานของสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระบุว่าภาคใต้เป็นภูมิภาคที่มีอัตราส่วนเด็กยากจนที่ขัดสนด้านการเรียนรู้ ในช่วงอายุ 5-17 ปี มากที่สุดร้อยละ 7.21 พล.อ.ประยุทธ์จึงเร่งเดินหน้าขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหา ผ่านกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา หรือ กสศ. ซึ่งได้ดำเนินการไปแล้วใน 6 โครงการ ดังนี้

1. หลักประกันการเข้าถึงโอกาสการศึกษา เพื่อช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาส ให้สามารถเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาและคงอยู่ในระบบการศึกษาตั้งแต่อนุบาลจนจบการศึกษาภาคบังคับ (ม.3) โดยในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ มีจำนวนนักเรียนทุนเสมอภาค จำนวน 123,309 คน

2. โครงการทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง พัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาสายอาชีพที่สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และความต้องการแรงงานฝีมือใน 10 สาขาวิชาหลัก ที่เป็นเป้าหมายในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ สร้างโอกาสทางการศึกษาให้แก่เยาวชนผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาสในพื้นที่ให้เข้าถึงการศึกษาสายอาชีพในระดับระกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือ ปวช. และ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือปวส. จำนวน 521 คน 

3. โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น สร้างโอกาสให้แก่เยาวชนยากจนหรือด้อยโอกาสที่มีศักยภาพสูงและมีใจรักอยากเป็นครู ได้ศึกษาจนสำเร็จระดับปริญญาตรีในคณะครุศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์ และได้รับการบรรจุเป็นครูรุ่นใหม่ในโรงเรียนพื้นที่ห่างไกลซึ่งเป็นชุมชนบ้านเกิด ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ไม่อาจยุบหรือควบรวมได้ (Protected School) ในสังกัด สพฐ. ปัจจุบันมีนักศึกษาครูรักษ์ถิ่นรวม 3 รุ่น (ปีการศึกษา 2563-2564-2565) ที่เมื่อจบการศึกษาจะได้รับการบรรจุจำนวน 156 คน ในโรงเรียนปลายทาง 137 แห่ง 

‘นักวิชาการ’ วิจารณ์ยับ!! ปม ‘ช็อปปิงงานวิจัย’ พบบางรายมีชื่อในงานกว่า 40 ฉบับภายใน 1 ปี

นักวิชาการดังร่วมวิจารณ์สนั่น ปมพบนักวิชาการในต่างประเทศจ่ายเงินเพื่อซื้องานวิจัยก่อนจะยัดชื่อตัวเองเข้าไปด้วยโดยไม่ได้ทำจริง พบบางราย 1 ปี มีชื่อในงานวิจัยกว่า 40 ฉบับ เรียกร้องให้มีการตรวจสอบและจัดการขั้นเด็ดขาด

(9 ม.ค. 66) ได้เกิดประเด็นดรามาในวงการนักวิชาการ หลังมีประเด็นที่กำลังถูกถกเถียงกันอยู่ในเรื่องที่เกี่ยวกับนักวิชาการไทยในต่างประเทศรายหนึ่งได้ออกมาแฉว่ามีการซื้อขายออนไลน์เพื่อให้ได้ใส่ชื่อตัวเองเป็นผู้แต่งงานวิจัยโดยไม่ต้องทำจริง และเลือกได้ว่าอยากให้มีชื่อตัวเองอยู่ในงานไหน ซึ่งงานวิจัยที่มีผู้แต่งหลายคนจะเรียงชื่อตามลำดับความสำคัญและการมีส่วนร่วม ถ้าอยู่ลำดับแรกก็แพงหน่อย ลำดับถัดมาก็ราคาลดหลั่นลงไป

โดยเมื่อวันที่ 8 ม.ค. ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้ออกมาโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุ

"ธุรกิจที่น่ากลัวที่สุดของสังคมวิจัยคือการที่นักวิจัยไป shopping งานวิจัยที่ตัวเองไม่ได้ทำ เช่น ไปอ่านงานที่คิดว่าอยากมีชื่อตัวเองใน paper นั้น ๆ แล้วใช้เงินไปซื้อตำแหน่งของการเป็นผู้แต่ง หรือผู้นิพนธ์ ในงานวิจัย ชื่อแรกก็จะแพงหน่อย ชื่อกลาง ๆ ก็จะถูกหน่อย เมื่อได้จำนวนผู้แต่งครบแล้ว งานวิจัยผี ๆ นี้ก็ส่งไปตีพิมพ์โดยคนที่จ่ายเงินเป็นผู้แต่งก็จะไปสามารถ claim ผลงานทางวิชาการ หรือไปใช้ขอทุนจากหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อถอนทุนคืนได้ งานวิจัยที่ออกมาจะมีผู้แต่งแบบหลากหลายสถาบัน หลายประเทศที่ไม่เคยเห็นหน้า หรือรู้จักกันเลย พฤติกรรมแบบนี้ไม่แตกต่างจากการคอร์รัปชันที่เกิดขึ้นในวงการราชการเลย ที่เสียใจคือ เห็นชื่อนักวิจัยของไทยในงานแบบนี้ด้วย"

นอกจากนี้ ยังมีนักวิชาการอีกมากมายเช่น รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊ก ระบุว่า “มีอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่คนหนึ่งไปตีพิมพ์ในเรื่องของวัสดุนาโนเป็นชื่อที่หนึ่งโดยจ่ายค่าตีพิมพ์ไป 30,000 บาท โดยที่สายงานอยู่เทคนิคการแพทย์ ไม่ใช่วัสดุศาสตร์ แล้วนำบทความที่ตีพิมพ์นั้นมาเบิกกับมหาวิทยาลัยจำนวน 120,000 บาท เรื่องนี้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ต้องสืบสวนสอบสวนครับ เพราะตอนนี้มีเว็บไซต์ที่ขายการเอาชื่อไปแปะในวารสารวิชาการ กำลังเป็นประเด็นอยู่ #CHES ศูนย์ประสานงานบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ อ.อ๊อด ในฐานะ เลขาธิการ”

รัฐบาลประกาศ 'เด็กท้องต้องได้เรียน' เพื่อโอกาสทางการศึกษา ย้ำ!! ครู ต้องมีจรรยาบรรณ ช่วยประคองเด็กได้เรียนต่อเนื่อง

(19 ก.พ. 66) น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ราชกิจจานุเบกษา (18 กุมภาพันธ์ 2566) ได้เผยแพร่กฎกระทรวงกำหนดประเภทของสถานศึกษาและการดำเนินการของสถานศึกษา ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2566 โดยมีความว่า อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 วรรคหนึ่ง และมาตรา 6 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2559 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 7 แห่งกฎกระทรวงกำหนดประเภทของสถานศึกษา และการดำเนินการของสถานศึกษาในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน 

ข้อ 7 สถานศึกษาตามข้อ 2 ที่มีนักเรียนหรือนักศึกษาซึ่งตั้งครรภ์อยู่ในสถานศึกษา ต้องไม่ให้นักเรียนหรือนักศึกษานั้นออกจากสถานศึกษาดังกล่าว เว้นแต่เป็นการย้ายสถานศึกษา ตามความประสงค์ของนักเรียนหรือนักศึกษานั้น

รู้จัก Muhammad Huzaifa ฝ่าชีวิตสังเวชด้วยการศึกษา แม้โอกาสไม่เอื้อเท่าเด็กอื่นที่มีทรัพยากรล้นหัว

เด็กชายคนนี้คือ Muhammad Huzaifa เด็กขายน้ำผลไม้จากเมือง Mutan ในปากีสถาน เรื่องราวของ Huzaifa เป็นเรื่องราวที่อบอุ่นใจที่สุดเรื่องหนึ่งที่ผู้เขียนเคยได้ยินมาจนถึงตอนนี้ เป็นเรื่องราวของความทุ่มเทและการทำงานหนักอย่างแท้จริง

Huzaifa มาจากพื้นที่ชนบทของ Multan ในปากีสถาน Huzaifa รู้อยู่เสมอว่า การศึกษาเป็นเพียงประตูบานเดียวที่จะพาเขาออกจากชีวิตอันน่าสังเวชที่เป็นอยู่

เนื่องจากเขาเป็นเด็กกำพร้า เขาต้องทำงานหลายชั่วโมงต่อวันในโรงกลึงเพื่อให้ได้ทั้งสองเรื่อง 

Huzaifa เป็นเพียงผู้ที่อยู่รอดเพียงคนเดียวของครอบครัวของเขาที่สามารถเหลือรอดได้ในโลกที่โหดร้ายใบนี้

ในการให้สัมภาษณ์ เขาเล่าว่า เขาได้นอนเพียงคืนละสามชั่วโมงเพื่อเรียนเองต่อ และเขายังต้องทำงานที่ร้านผลไม้ของลุงนอกเหนือจากโรงกลึงที่ทำอยู่เป็นประจำเพื่อหาเงินเรียนต่อ

การทำงานอย่างหนักและความทุ่มเทของเขาส่งผลให้มีการสอบเข้าศึกษาที่ยอดเยี่ยม (เทียบเท่ากับการ O Level ของสหราชอาณาจักร) โดยเขาได้คะแนน A++ ด้วยคะแนน 1,050/1,100 คะแนน 

ชะตากรรมของเขานั้นไม่ได้เปลี่ยนแปลง เพราะต้องการใช้เงินทุนการศึกษาจำนวนมหาศาลสำหรับการเล่าเรียนในมหาวิทยาลัย ส่งผลทำให้เขาต้องเลิกเรียน แล้วผันตัวมาเป็นพ่อค้าขายน้ำผลไม้ริมถนน

หลังจากผ่านไป ๖ เดือน เด็กผู้หญิงคนหนึ่งก็ได้บอกเล่าเผยแพร่เรื่องราวของเขาทางสื่อสังคมออนไลน์ เรื่องราวของเขาจึงกลายเป็นไวรัล เขาได้รับการยอมรับในหลายแพลตฟอร์มรวมถึง Parhlo.pk ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่เป็นที่นิยมที่สุดของปากีสถานด้วย

รองอธิการบดีของ GCU Lahore ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่กวีชื่อดัง Alama Iqbal และ Faiz Ahmed Faiz ยอมรับความกระหายในความใคร่รู้ของเขา จึงมอบทุนการศึกษาเต็มจำนวนให้กับเขา ขณะนี้เขากำลังศึกษาอยู่ที่นั่นโดยไม่ต้องความกังวลใจใดๆ เลย

ผีเสื้อโบยบิน ‘กรณีศึกษา’ แก่นแท้แห่งบุญอันยิ่งใหญ่ 1มอบโอกาสชีวิตใหม่ ผ่านการศึกษา

ว่ากันว่า บุญที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ไม่ใช่เงินทอง หรือ สิ่งของที่มากคุณค่า หากแต่เป็น ‘องค์ความรู้ - การศึกษา’ ที่ส่งต่อให้กับใครสักคน ได้นำไปต่อยอดชีวิตในอนาคตได้ด้วยตนเอง

จากเฟซบุ๊ก Win Phromphaet ได้โพสต์เรื่องราวน่าประทับใจจากการเป็นผู้ให้แก่บุคคลท่านหนึ่ง (ไม่เอ่ยนาม) ที่เขาได้ให้การช่วยเหลือด้านทุนการศึกษา โดยในจดหมายดังกล่าวระบุความจากผู้รับความช่วยเหลือว่า...

รายงานผลการเรียนภาคเรียนที่ 1/2565

เรียน คุณวิน พรหมแพทย์

ตามที่กระผม ได้รับทุนการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565 จากท่าน กระผมขออนุญาตรายงานผลการศึกษาให้ท่านทราบว่า ขณะนี้กระผมได้จบการศึกษาแล้วภายในระยะเวลา 3.5 ปี ซึ่งในภาคการศึกษา (ภาค 1/2565) กระผมได้เกรดเฉลี่ย 3.30 ส่งผลให้เกรดเฉลี่ยสะสมเท่ากับ 3.12 ดังปรากฏในใบรับรองผลการศึกษาแนบ ทั้งนี้กระผมได้แนบบัญชีรายรับรายจ่ายมาพร้อมกับจดหมายฉบับนี้ด้วย

นอกจากการเรียนแล้ว กระผมใช้วลาว่างกับการค้นคว้าหาข้อมูลในด้านที่สนใจ เช่น การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ การฝึกใช้ภาษาอังกฤษ และการค้นหาอาชีพในอุตสาหกรรมที่น่าสนใจ นอกจากนี้ยังเข้าร่วมกิจกรรมของคณะ เช่น การเข้าร่วมฟังอบรมการสืบต้นฐานข้อมูลออนไลน์เพื่อการวิจัย การเข้าร่วมฟังกิจกรรมแนะแนวอาชีพ และกิจกรรมจิตอาสานอกรั้วมหาวิทยาลัย เช่น กิจกรรมปลูกป้าชายเลน เป็นต้น หลังจากจบการศึกษา กระผมมีความตั้งใจจะศึกษาต่อในระดับปริญญาโท คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อให้สามารถทำงานที่ตนเองสนใจและตรงกับสาขาที่เรียนมาในระดับที่สูงขึ้น และต้องเป็นงานที่ใช้ความรู้ที่เรียนมาพัฒนาประเทศต่อไป

กระผมขอขอบพระคุณในความอนุเคราะห์ของท่าน กระผมจะตั้งใจศึกษาล่าเรียนและปฏิบัติตนให้บรรลุเป้าหมายในชีวิตให้อย่างดีที่สุด เพื่อเป็นการตอบแทนพระคุณผู้ให้ทุนการศึกษากับกระผม เพราะครอบครัวของกระผม ซึ่งเป็นแหล่งสนับสนุนด้านการเรียนมีภาระค่าใช้จ่ายที่สูง และรายได้ที่ลดลงจากภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ส่งผลให้บิดาผู้ซึ่งหารายได้เพียงคนเดียวสนับสนุนด้านการเรียนของกระผมไม่ได้เต็มที่ อีกทั้งยังมีโรคประจำตัวเป็นโรคเบาหวาน ส่งผลต่ออาการเหนื่อยง่าย สายตาแย่ลง และพักผ่อนน้อย

'TDRI' ดันกลุ่ม 'คุณแม่วัยเรียน' เข้าสู่ระบบการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตทุกคน อย่างเท่าเทียม

(1 มี.ค. 66) สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เผยแพร่บทความ “โอกาสที่หายไปของ ‘แม่วัยรุ่น’ และสังคมไทย” เนื้อหาดังนี้ “สังคมไทยมีอัตราแม่วัยรุ่นสูงห่างจากหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศพัฒนาแล้ว” ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นอยู่ในระดับที่สูง สะท้อนจากสถิติอัตราการคลอดของหญิงอายุ 15-19 ปี ต่อประชากรหญิงอายุเดียวกันพันคน (ปี 2563 หญิง 29 คน ต่อ 1 พันคน ตั้งครรภ์ในวัยรุ่น) แม้ว่าหลังปี 2555 เป็นต้นมา สถานการณ์แม่วัยรุ่นจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น 

แต่จำนวนยังสูงกว่าประเทศในแถบเอเชียแปซิฟิก ที่มีอัตราคลอด 23 ต่อพันคน และประเทศพัฒนาแล้วที่มีอัตราคลอด 12 ต่อพันคน รวมไปถึงแม่วัยรุ่นต้องเผชิญกับภาระทางสุขภาพและความต่างทางรายได้ในอนาคตเมื่อเข้าสู่วัยทำงาน สูญเสียโอกาสของตนเองและประเทศ การกำหนดมาตราการป้องกันและช่วยเหลือทั้งก่อนและหลังตั้งครรภ์ รวมถึงการสร้างความเข้าใจและให้โอกาสกับแม่วัยรุ่นจึงเป็นสิ่งสำคัญ

“แม่วัยรุ่นส่วนใหญ่จบการศึกษาสูงสุดในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น” เมื่อแบ่งกลุ่มอายุแม่วัยรุ่นเป็นกลุ่มช่วงอายุต่างๆ สามารถให้ผลที่ชัดเจนขึ้นในเรื่องการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น กลุ่มแม่วัยรุ่นที่ปัจจุบันอายุอยู่ระหว่าง 15-30 ปี มีสัดส่วนของการตั้งครรภ์ในขณะเรียนสูงในกลุ่มนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น (ร้อยละ 38.8) รองลงมาคือ ประถมปลาย ร้อยละ 34.5 และอันดับ 3 มัธยมปลาย ร้อยละ 21.4

“ลักษณะสภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของแม่วัยรุ่นส่วนใหญ่” เมื่อทดสอบข้อมูลในกลุ่มหญิงอายุ 15-30 ปี โดยควบคุมลักษณะบุคคล และครัวเรือน พบปัจจัยร่วมที่ส่งผลต่อการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นส่วนใหญ่ ทั้งด้านลักษณะของครอบครัว ชั้นรายได้ของครอบครัว 3 ประการ ประกอบด้วย 1.อยู่นอกเขตเทศบาล 2.อยู่ในครัวเรือน เกษตรกร/ผู้ใช้แรงงาน และ 3.มักเกิดซ้ำในครัวเรือนที่มีแม่เป็นวัยรุ่น

“แม่วัยรุ่น (อายุ 15-19 ปี) มีรายได้เฉลี่ยต่อปีตํ่ากว่า แม่ที่ตั้งครรภ์เมื่ออายุ 20 ปีขึ้นไป” การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นจะลดโอกาสในการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น รวมทั้งโอกาสในอาชีพและการหารายได้ ข้อมูล socio economic survey แสดงให้เห็นว่ากลุ่มตั้งครรภ์ในวัยรุ่นมีรายได้เฉลี่ยต่อปีในระดับต่ำกว่ากลุ่มที่ตั้งครรภ์เมื่ออายุ 20 ปีขึ้นไป โดยแม่อายุ 20 ปีขึ้นไป มีรายได้อยู่ที่ 159,305 บาท/ปี ขณะที่แม่วัยรุ่น อยู่ที่ 121,867 บาท/ปี ทั้งนี้ “3 ลักษณะชีวิตด้านการศึกษาของแม่วัยรุ่น” มีอยู่ 3 รูปแบบ คือ 1.ตั้งครรภ์แต่ยังกลับเข้าเรียน 2.ตั้งครรภ์แล้วหลุดจากระบบการศึกษา และ 3.หลุดจากระบบการศึกษาแล้วตั้งครรภ์ 

“โอกาสทางรายได้ที่หายไปของแม่วัยรุ่น” หากแม่วัยรุ่นไม่ได้รับการดูแลและความเข้าใจจากสังคม การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นจะนำไปสู่การแบกรับภาระหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นการต้องออกจากโรงเรียนกลางคัน สูญเสียรายได้ในอนาคต และเมื่อต้องเข้าสู่ตลาดแรงงานก็เป็นแรงงานที่ได้รับผลตอบแทนไม่สูงมาก ตลอดจนโอกาสที่ทารกจากแม่วัยรุ่นจะมีสุขภาพไม่ดี และนำไปสู่ภาวะพึ่งพิงทางการเงินของครอบครัวมากขึ้น สำหรับรายได้ของแม่วัยรุ่นที่หายไปนั้น แม่วัยรุ่นทั้ง 3 ลักษณะ จะมีรายได้เฉลี่ยตํ่ากว่ากลุ่มควบคุมวัยเดียวกันที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ 2,811บาท/คน/เดือน

“ความต่างของรายได้ยิ่งมากหากไม่ได้กลับเข้าเรียน” การตั้งครรภ์ไม่ว่าจะเกิดโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ แม่วัยรุ่นกลุ่มนี้หากต้องการเข้าสู่ตลาดแรงงานหลังคลอดบุตร โอกาสในการทำงานและค่าจ้างที่ได้รับจะขึ้นอยู่กับ ระดับการศึกษา และ เวลาที่ต้องใช้ในการดูแลเด็กเล็ก ดังนั้นความต่างของรายได้เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ จะยิ่งมากหากไม่ได้กลับเข้าเรียน โดยหากตั้งครรภ์แต่ยังได้กลับเข้าเรียน รายได้จะต่างจากกลุ่มที่ไม่ได้ตั้งครรภ์เฉลี่ย -3,936 บาท/คน/เดือน แต่หากตั้งครรภ์แล้วยังหลุดออกจากะบบการศึกษา รายได้จะยิ่งต่างมากขึ้นไปอีก โดยอยู่ที่เฉลี่ย -4,582 บาท/คน/เดือน

“ปรากฎการณ์ ‘แม่วัยรุ่น’ ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจของประเทศ” ไม่เพียงแต่แม่วัยรุ่นจะเสียโอกาสทางเศรษฐกิจด้านรายได้ตลอดช่วงชีวิต แต่ยังส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศในช่วงชีวิตของตนเอง มูลค่าถึง 8.3 แสนล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 5.1 ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ในอนาคต รายได้ของกลุ่มคนรุ่นใหม่ มีแนวโน้มแตกต่างกันมากขึ้น ทำให้ต้นทุนค่าเสียโอกาสทางเศรษฐกิจของแม่วัยรุ่นในรุ่นถัดไป มากยิ่งขึ้นไปอีกและจะส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศ สูงขึ้นถึง 12 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 7.2 ต่อ GDP

“พาแม่วัยรุ่นกลับเข้าเรียน เพิ่มโอกาสสร้างรายได้” แม่วัยรุ่น ต้องได้กลับเข้าเรียนในระบบการศึกษาหรือกลับเข้าโรงเรียนโดยไม่มีอุปสรรค จนเรียนจบในระดับการศึกษาตามที่ได้ตั้งไจไว้ เพื่อให้มีโอกาสทำงานและมีรายได้ที่เหมาะสมในอนาคต อย่างไรก็ตาม แม่วัยรุ่นจำนวนไม่น้อยไม่กลับเข้าเรียนในระบบ แต่เลือกที่จะเข้าเรียนในการศึกษานอกระบบหรือการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) แทน การพัฒนาคุณภาพของการศึกษานอกระบบให้เท่าเทียมกับการศึกษาในระบบจึงเป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจากแม่วัยรุ่นควรมีโอกาสเพิ่มพูนความรู้และทักษะเพื่อการหารายได้ในระดับที่ใกล้เคียงกับกลุ่มที่เรียนอยู่ในระบบ

การศึกษาทั่วถึง!! ครม. เคาะ!! ทุนอุดมศึกษาพัฒนาชายแดนใต้ เฟส 4 มอบทุนคนละ 4 หมื่นบาท ให้เยาวชน 5 จชต. เรียนต่อ ป.ตรี

ครม.เห็นชอบโครงการทุนอุดมศึกษาพัฒนาจังหวัดชายแดนใต้ เฟส 4 มอบทุนคนละ 4 หมื่นบาท เพิ่มโอกาสเรียนต่อปริญญาตรี

(8 มี.ค.66) น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 7 มี.ค.2566 ครม.เห็นชอบโครงการสนับสนุนทุนการศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในประเทศให้แก่เยาวชนที่มีภูมิลำเนาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปีการศึกษา 2566 – 2570 วงเงิน 419.5 ล้านบาท สำหรับใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการทุนอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ระยะที่ 4 เพื่อให้การดำเนินการโครงการมีความต่อเนื่อง และเพิ่มโอกาสให้เยาวชนในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส จังหวัดสตูล และจังหวัดสงขลา 4 อำเภอ (จะนะ เทพา นาทวี และสะบ้าย้อย) ได้เข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาในสาขาวิชาที่ขาดแคลนตามความต้องการของพื้นที่ รวมทั้งสามารถนำความรู้ไปพัฒนาท้องถิ่นภูมิลำเนาของตนเองได้

'สิงคโปร์' ยกเลิกระบบเรียงลำดับคนเก่งในห้องเรียน ชี้!! การเรียนไม่ใช่การแข่งขัน-ลดเปรียบเทียบ

สิงคโปร์ประสบความสําเร็จด้านการศึกษามาอย่างยาวนาน โดยรับรองการเรียนรู้แบบท่องจําและชั่วโมงเรียนที่ยาวนานเพื่อขับเคลื่อนเด็กนักเรียนให้ประสบความสําเร็จในการสอบ

แต่การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นแล้ว เมื่อรัฐคิดใหม่เกี่ยวกับแนวทางการศึกษา

การอภิปราย การบ้าน และแบบทดสอบถูกตั้งค่าให้แทนที่เกรด

โดยรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษา เริ่มตั้งแต่ปี 2019 การสอบสําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 2 จะถูกยกเลิก

นักเรียนชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาที่มีอายุมากกว่าจะเรียนในสภาพแวดล้อมที่มีการแข่งขันน้อยกว่า เพื่อลดการเน้นที่ความสําเร็จทางวิชาการ

‘ดร.กมล’ ชี้!! 'ภท.' ขอยกระดับ 'กัญชาศึกษา' เดินหน้าใช้เพื่อ 'การแพทย์-สุขภาพ-เศรษฐกิจ'

ไม่นานมานี้ ดร.กมล รอดคล้าย ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อและคณะทำงานยุทธศาสตร์ด้านการศึกษา พรรคภูมิใจไทย ได้อธิบายเรื่อง กัญชาศึกษา เพื่อใช้เป็นยาอย่างชาญฉลาด ว่า....

“ในสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ โดยเฉพาะการศึกษาที่มีคณะแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ ได้มีการนำกัญชาไปจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอน ตั้งแต่ระดับปริญญาตรี ถึงระดับปริญญาเอก”

ดร.กมล ยังได้เสริมอีกว่า “นโยบายกัญชาเพื่อการแพทย์ของพรรคภูมิใจไทยที่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง และเตรียมจะขับเคลื่อนต่อไปในอนาคต เรามุ่งเน้นไปที่ กัญชาเพื่อการแพทย์ เพื่อการรักษาโรค ซึ่งกัญชามีการใช้มาตั้งแต่โบราณ แล้วยังมีงานวิจัย มีหน่วยงานรับรองว่าถ้าเราใช้กัญชาเพื่อการแพทย์ เราจะลดการสูญเสียการซื้อยาจากต่างประเทศ โดยใช้กัญชาเป็นสารตั้งต้น ในการแก้ปัญหาโรคภัยไข้เจ็บของพี่น้องประชาชน”

“ในขณะเดียวกันนั้นกัญชาสามารถใช้เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ เพราะกัญชาเป็นพืชเศรษฐกิจ ที่นอกจากใช้เพื่อการแพทย์แล้วยังใช้ในการประกอบอาหาร ประกอบเครื่องดื่ม ประกอบกับสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพอนามัย”

ดร.กมล ได้ยกนโยบายของพรรคขึ้นมาพูดเสริมอีกว่า “ระบบการจัดการของเราในวันนี้คือพรรคภูมิใจไทย ได้มีการขับเคลื่อนเรื่องนี้ ผ่านโรงพยาบาลต่าง ๆ ในการใช้กัญชาเพื่อการแพทย์ แต่เรายังมีการขับเคลื่อนผ่านระบบการศึกษาอีกด้วย

“โดยวันนี้พรรคภูมิใจไทยสามารถขับเคลื่อนการเรียนรู้กัญชาเพื่อการแพทย์ไปยังสถานศึกษาของ กศน. ทั่วประเทศใน 77 จังหวัด และอีกประมาณ 800-900 อำเภอ นอกจากในการจัดการเรียนการสอนผ่าน กศน. แล้ว ในสภาบันการศึกษาทั่วประเทศ โดยเฉพาะที่มีคณะแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ ได้มีการนำกัญชาไปจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอน ตั้งแต่ระดับปริญญาตรี ถึงระดับปริญญา


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top