Tuesday, 7 May 2024
การศึกษา

10 เมืองแห่งโอกาสในประเทศจีน เหมาะสำหรับศึกษาเรียนรู้-ใช้ชีวิต

การไปเรียนต่อต่างประเทศ อาจจะเป็นฝันของเด็กไทยจำนวนไม่น้อย และประเทศที่เป็นหนึ่งในตัวเลือกอันดับต้นๆ ก็คือ ‘ประเทศจีน’ ด้วยเหตุผลหลายปัจจัย เช่น ชื่นชอบวัฒนธรรม ประเพณี ภาษา ค่าใช้จ่ายอยู่ในระดับที่เอื้อมถึง มีการสอบชิงทุน หรือแม้แต่ได้เรียนในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง 

วันนี้จะพามาดู 10 เมืองแห่งโอกาสในประเทศจีน ที่เหมาะสำหรับการศึกษาเรียนรู้ และใช้ชีวิต หากใครมีแผนไปเรียนต่อที่จีน แต่ยังไม่รู้จะไปที่เมืองไหนดี ก็ลองมาเลือกดูกันได้นะ

เปิดตัวเลข ‘นักศึกษาต่างชาติ’ เรียนอยู่ในสหรัฐอเมริกา

ในทุก ๆ ปี จะมีนักศึกษาจากทั่วโลกบินข้ามน้ำข้ามทะเลเพื่อไปเรียนต่อที่ ‘สหรัฐอเมริกา’ ซึ่งสัดส่วนจะมากน้อยต่างกันในแต่ละประเทศ สำหรับในปี 2023 ที่ผ่านมา นักศึกษาต่างชาติที่ไปเรียนต่อในสหรัฐฯ มากเป็นอันดับ 1 ได้แก่ จีน รองลงมาคืออินเดีย

วันนี้ THE STATES TIMES ได้รวบรวมรายชื่อ 25 ประเทศที่มีนักศึกษาไปเรียนต่อในสหรัฐมากที่สุดประจำปี 2023 จะมีประเทศใดบ้าง มาดูกัน!!

แชร์ประสบการณ์!! เรียนต่อที่จีน เปิดโลกทัศน์กว้างไกล ได้เรียนรู้วัฒนธรรม-สังคม-ธุรกิจ ใช้ต่อยอดชีวิตในอนาคต

เมื่อไม่นานมานี้ เพจ ‘ตี๋น้อย’ เพจแชร์เรื่องราวและข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับประเทศจีน ได้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับประโยชน์ของการเรียนภาษาจีน โดยระบุว่า…

เล่าเรื่องหนึ่ง ช่วงนี้ที่จีนใกล้จะเปิดเทอมแล้ว น้อง ๆ หลาย ๆ คน อาจจะเริ่มเตรียมตัวกลับไปจีน หรือบางคนเพิ่งจะไปจีนครั้งแรกในเทอมนี้ ตี๋น้อยเลยอยากจะมาแชร์ประสบการณ์กันครับว่า การไปเรียนภาษาหรือปริญญาที่จีน เป็นยังไงบ้าง ได้อะไรเพิ่มกลับมาบ้าง

เริ่มแรกเลย แน่นอนแหละว่ามันได้ภาษากลับมาแน่นอน เพราะว่าการเรียนภาษาที่จีน คุณจะได้คุยภาษาจีนกับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นชาวจีนหรือต่างชาติ ทุกคนจะพูดภาษาจีนกับคุณทุกคน ยิ่งถ้าเราเฟรนด์ลี่ เรายิ่งได้ภาษาแน่นอน แต่บางครั้งอาจจะรู้สึกแปลก ๆ หน่อย เวลาเราคุยกับพวกยุโรป แอฟริกา เป็นภาษาจีน

สองคือได้สังคม ได้เรียนรู้วัฒนธรรมอื่น ๆ ด้วย จากข้อแรก ถ้าเราเฟรนด์ลี่ คุยกับคนอื่นง่าย ชาวต่างชาติและชาวจีนคนอื่น ๆ จะยิ่งต้อนรับเรามากขึ้น บางทีบางครั้งเราคุยและสนิทกับเพื่อนต่างชาติ เราก็จะได้เรียนรู้วัฒนธรรมของเขาด้วย บางครั้งเราก็ได้แลกเปลี่ยนของฝากแต่ละประเทศด้วยครับ

ข้อสามเลย คือได้ลองทานอาหารหลากหลายประเทศ นักเรียนชาวต่างชาติที่นี่ปกติส่วนใหญ่มักจะทำกับข้าวกันเอง ผมเองก็ไปฝากท้องห้องคนอื่นบ่อย ๆ (เขาเชิญไปนะครับ) บางครั้งก็ได้ทานอาหารแอฟริกา บางครั้งได้ทานอาหารปากีสถาน อินเดีย บางทีก็ได้ทานกิมจิ หรือถ้าไปบ้านคนจีนก็ได้ทานอาหารจีนประจำภาคนั้น ๆ ด้วยครับ

ข้อสามได้เรียนรู้คน แน่นอนแหละว่า ร้อยพ่อพันแม่มาเจอกัน ทุกคนมีนิสัยที่แตกต่างกันไป มันก็ทำให้เราเรียนรู้ครับว่าคนแบบนี้มีนิสัยแบบนั้น คนแบบไหนที่เราไม่ควรยุ่งด้วย คนไหนที่เราสนิทด้วยได้

ข้อสี่ เรียนรู้การควบคุมตัวเอง แน่นอนแหละว่าการมาเรียนต่างประเทศ สิ่งยั่วยุมันเยอะ เราก็แค่เรียนรู้ที่จะควบคุมตัวเองให้ได้ เรียนบ้าง เที่ยวบ้าง เที่ยวได้แต่ต้องไม่เสียคนจนเสียการเรียน เพราะตี๋น้อยเคยเห็นหลายคนเสียคน เสียการเรียน เสียประวัติ ไปกับสิ่งยั่วยุ การต่อยตี โดยเฉพาะการทะเลาะต่อยตี ที่จีนโทษหนักถึงขั้นขึ้นแบล็กลิสต์ห้ามเข้าจีนนะครับ เป็นไปได้อย่าทะเลาะเลยดีสุด

ข้อห้า นอกจากเราจะได้ภาษาจีนแล้ว เรายังได้ภาษาอังกฤษด้วย เพราะชาวต่างชาติบางคนพูดจีนไม่ได้ เราต้องพูดภาษาอังกฤษกับเขา ทำให้พัฒนาภาษาอังกฤษของเราเองด้วย

ข้อหก นอกจากได้ภาษาแล้ว เรายังได้โอกาสทางธุรกิจด้วย คือที่จีนเนี่ยหลายเมืองเป็นเมืองค้าส่ง หรือว่าเราสามารถเอาสิ่งที่จีนมี แต่ไทยไม่มี เอามาปรับใช้ได้ เช่น อี้อู กวางโจว เราสามารถไปดูลู่ทางธุรกิจ หรือโอกาสทางธุรกิจได้

ข้อเจ็ด นักเรียนหญิงไทยที่จีนมักมีแฟนเป็นแถบประเทศ เอเชียกลาง สถาน ๆ ทั้งหลาย เช่น คาซัคสถาน อุซเบกิสถาน พวกหล่อ ๆ ทั้งหลายครับ อิจฉาคนหล่อครับฮ่า ๆ 

ข้อแปด นักเรียนชายต่างชาติ ห้าสิบเปอร์เซ็นต์ขึ้นไป มักเจ้าชู้ แต่คนดี ๆ ก็มีเช่นกัน

สุดท้าย ไม่ว่าคุณจะไปเรียนจีนผ่านเอเจนซี่ หรือสมัครเองตามมหาวิทยาลัย ขอบอกว่า ไปเถอะครับ เราได้อะไรกลับมาเยอะกว่าแค่ภาษาแน่นอน

ปล.รูปนี้ผมถ่ายตอน 2013 ตอนที่ผมไปแลกเปลี่ยนที่กวางโจวครับ #ตี๋น้อย #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน #จีน #ชีวิตในซินเจียง #ซินเจียง

เมื่อ 'อว.' ให้ทุน 'นศ.ต่างชาติ' เรียนต่อ 'ตรี-โท-เอก' ในรั้ว 'ม.ไทย' สะท้อน!! Soft Power ด้านการศึกษาที่พบได้บ่อยจาก 'สยาม'

เมื่อไม่นานมานี้ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยไทย เชิญชวนนักศึกษาต่างชาติสมัครรับทุนในปีการศึกษา 2567 โดยผู้สมัครที่สนใจสามารถส่งใบสมัครโดยตรงกับสถาบันเจ้าภาพภายในระยะเวลาการสมัครของแต่ละโปรแกรม 

ทั้งนี้ ดาวน์โหลดข้อมูลเกี่ยวกับโครงการทุนการศึกษา มหาวิทยาลัยเจ้าภาพ และขั้นตอนการสมัครได้ที่: https://mhesi.e-office.cloud/d/ffeb26cc

ทั้งนี้ ‘การมอบทุนการศึกษา’ ถือเป็นเรื่องปกติและเห็นได้บ่อยครั้งในสังคมไทย เพื่อมอบโอกาสทางการศึกษาและเป็นการส่งเสริม สนับสนุน และให้กำลังใจแก่เยาวชนที่มุ่งมั่น ใฝ่เรียนรู้ การมอบทุนให้แก่นักศึกษาต่างชาติ ก็ถือเป็นการสะท้อน Soft Power ของไทย สื่อถึงการมอบความปรารถนาดี ความเมตตา และโอบอ้อมอารี ที่เป็นนิสัยพื้นฐานของคนไทย

‘ไทย’ คว้าอันดับ 7 ดัชนีของเอเชียแปซิฟิก ด้านความเป็นเลิศการศึกษา ‘STEM’

นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์เป็นส่วนสำคัญสูงสุดในการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ โดยล่าสุด Center for Excellence in Education (CEE) ซึ่งเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไรได้สร้างดัชนีความพร้อมด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ (STEM) เพื่อให้ข้อมูลเชิงลึกในการเปรียบเทียบคุณภาพของนักเรียนประเทศต่าง ๆ 

สำหรับดัชนีความเป็นเลิศของ CEE ในด้านการศึกษา STEM จะประเมินว่านักเรียนมีความพร้อมทางวิชาการสำหรับการแข่งขันระดับโลก โดยจะเปรียบเทียบผลงานโอลิมปิกวิชาการโดยรวมตามประเทศ คำนวณค่าเฉลี่ยและการจัดอันดับตามประเทศที่เข้าร่วม และตรวจสอบผลงานของนักเรียนในการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการที่เกี่ยวข้องกับ STEM ทั้ง 5 รายการ

ทั้งนี้ ดัชนีฯ ดังกล่าวช่วยให้ผู้กำหนดนโยบายและนักการศึกษามีเครื่องมือสำคัญในการวัดว่านักสร้างสรรค์รุ่นต่อไปของแต่ละประเทศมีอนาคตดีเพียงใดเมื่อเปรียบเทียบกับผู้สร้างนวัตกรรมทั่วโลก โดยการพัฒนาเศรษฐกิจจีนมีความเกี่ยวข้องกับความสำเร็จของจีนในการแข่งขัน STEM Olympiads การทบทวนวิธีที่จะฝึกอบรมผู้นำรุ่นต่อไปจะต้องรวมเครื่องมือนี้ไว้ด้วย

สำหรับ ดัชนีฯ นี้จะแสดงข้อมูลต่อไปนี้ตามผลรวมของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกนานาชาติในสาขาชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ และสารสนเทศ (IT) โดยในการจัดอันดับดัชนีฯ พบว่า อันดับ 1. ได้แก่ จีน อันดับ 2. เกาหลีใต้ อันดับ 3. สิงคโปร์ อันดับ 4. เวียดนาม อันดับ 5. ญี่ปุ่น อันดับ 6. ไต้หวัน อันดับ 7. ไทย อันดับ 8. อิหร่าน อันดับ 9. อินโดนีเซีย อันดับ 10. อินเดีย อันดับ 11. ออสเตรเลีย และอันดับ 12. ฮ่องกง

ซึ่งดัชนีฯ ยังเผยให้เห็นว่าในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศในเอเชียได้เข้ามาครองการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการ ส่งผลให้ผลงานของนักเรียนจากยุโรปลดลง ตัวอย่างเช่น เยอรมนี เป็นประเทศแรกในปี 1989, 1988 และ 1982 แต่หลังจากนั้นก็ถูกเขี่ยออกจาก 30 อันดับแรก แม้ว่าจะมีประชากรเพียง 1/8 ของเยอรมนี แต่ฮังการีก็ยังคงรั้งอันดับที่ 20 ได้ ซึ่งถือเป็นการลดลง จากอันดับ 1 หรือ 2 ที่ได้รับในทศวรรษ 1960 และต้นทศวรรษ 1970 

โดยน่าประหลาดใจที่สิงคโปร์ ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรน้อยกว่า 6 ล้านคน (น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของฮังการี) สามารถเสมอกับเวียดนามเป็นอันดับที่ 5 ได้ การทบทวนผลงานของทีม USA ตั้งแต่ปี 1993 ถึงปัจจุบันเผยให้เห็นอันดับเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เส้นแนวโน้มแสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงจากการจัดอันดับอันดับที่หกโดยประมาณเป็นอันดับสองหรือสามรองจากจีน

นอกจากนี้ การแข่งขันที่ดุเดือดในธุรกิจระดับโลกได้ผลักดันให้นักศึกษามีความเป็นเลิศในการแข่งขันทางวิชาการเพื่อที่จะโดดเด่น จากข้อมูลของ DiGennaro รัฐบาลส่วนใหญ่ให้การสนับสนุนโครงการโอลิมปิกวิชาการในประเทศต่าง ๆ รวมถึงการฝึกอบรมและทรัพยากรอื่นๆ เช่น ครูและนักเรียน อย่างไรก็ตาม กรณีนี้ไม่ได้เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา

โดยประเทศจีนได้ลงทุนมหาศาลในการแข่งขันเหล่านี้ และอาจจะทำให้จีนได้เปรียบอย่างมากนอกเหนือจากการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการ สิ่งสำคัญ คือ ต้องเน้นว่าจีนใช้เงินจำนวนมากกับการวิจัยและพัฒนา ซึ่งลดลงในยุโรป

รู้จัก ‘กิจการไฟฟ้ากองทัพเรือ’ คุณค่าที่ถูกนักการเมืองหยิบมาโจมตี ทั้งที่ ‘เงินขายไฟ’ ช่วยต่อลมหายใจทางการศึกษามากว่า 50 ปี

เรียกว่าเป็นอีกด้านที่น้อยคนจะได้รู้!! กับ ‘กิจการไฟฟ้ากองทัพเรือ’ ที่โดนนักการเมืองโจมตีอย่างหนัก แต่น้อยคนนักที่รู้ ‘เงินขายไฟ’ คือ ลมหายใจ ช่วยเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้บุตรหลานข้าราชการและประชาชน ผ่าน ‘โรงเรียนสัตหีบ’ ทั้ง 2 แห่ง มากว่า 50 ปี

จากกรณีที่มีนักการเมืองได้หยิบยก ประเด็นกิจการไฟฟ้าสวัสดิการสัมปทานกองทัพเรือ ซื้อกระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มาจ่ายให้แก่หน่วยราชการและประชาชนในพื้นที่ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ว่า การดำเนินกิจการดังกล่าว ไม่ใช่ภารกิจของกองทัพเรือ เพราะเป็นหน่วยงานด้านความมั่นคง และไม่ควรจะมีกิจกรรมทางธุรกิจเข้ามาเกี่ยวข้อง

แต่ทว่า นอกจากมิติด้านความมั่นคงแล้ว การรายได้ที่เกิดขึ้นจากกิจการไฟฟ้าสวัสดิการสัมปทานกองทัพเรือนั้น ทางกองทัพเรือ ได้นำกำไรส่วนหนึ่งไปเป็นสวัสดิการให้กับข้าราชการและทหารชั้นผู้น้อย โดยเฉพาะในด้านการศึกษาของบุตรหลานข้าราชการทหารเรือและประชาชนทั่วไปในพื้นที่สัตหีบ

ทั้งนี้ คนส่วนใหญ่อาจจะยังไม่ทราบว่า กองทัพเรือ ได้บริหารกิจการโรงเรียนที่ชื่อว่า ‘โรงเรียนสัตหีบ’ ซึ่งได้ก่อตั้งอย่างไม่เป็นทางการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2479 เพื่อให้การศึกษาแก่บุตรหลานของข้าราชการ ลูกจ้าง และคนงาน ในสังกัดกองทัพเรือที่ย้ายมารับราชการที่สัตหีบ จากนั้นในปี พ.ศ. 2480 จึงได้จดทะเบียนเป็นโรงเรียนราษฎร์ชื่อ ‘โรงเรียนสถานีทหารเรือสัตหีบ’ 

และได้ เปลี่ยนชื่อโรงเรียนใหม่ตามมติของสภากองทัพเรือเป็น ‘โรงเรียนสัตหีบ’ เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2502 ในช่วงแรกจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปัจจุบันได้พัฒนาเป็นโรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาจัดการศึกษาระดับอนุบาล ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มี 2 แห่ง ได้แก่...

1. โรงเรียนสัตหีบ เขตฐานทัพเรือสัตหีบ
- เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้น อนุบาล 1 - มัธยมศึกษาปีที่ 3
- ผู้บริหาร ครู และบุคลากร จำนวน 127 คน
- นักเรียนจำนวน 1,498 คน

2. โรงเรียนสัตหีบ เขตกองเรือยุทธการ
- เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้น อนุบาล 1 - ประถมศึกษาปีที่ 6
- ผู้บริหาร ครู และบุคลากร จำนวน 96 คน
- นักเรียนจำนวน 963 คน
รวมนักเรียนทั้ง 2 เขต เป็นจำนวน 2,461 คน

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าโรงเรียนทั้ง 2 แห่งนี้ จะบริหารงานจดทะเบียนเป็นโรงเรียนราษฎร์ และมีการบริหารงานแบบเอกชน แต่การเก็บค่าเล่าเรียนจากผู้ปกครองนั้นถือว่าอยู่ในระดับที่ต่ำมาก เมื่อเทียบกับโรงเรียนเอกชนทั่วไป นั่นเพราะนักเรียนส่วนใหญ่ เป็นบุตรหลานของข้าราชการในสังกัดกองทัพเรือ 

ทั้งนี้ อดีตครูที่เคยสอนในโรงเรียนสัตหีบ ได้ให้ข้อมูลว่า ค่าใช้จ่ายที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทัพเรือในแต่ละปีนั้น ทราบมาว่า ส่วนหนึ่งเป็นเงินที่ได้จากกิจการไฟฟ้าสวัสดิการสัมปทานกองทัพเรือ ทำให้โรงเรียนทั้ง 2 แห่ง ได้รับการพัฒนาทั้งทางด้านการเรียนการสอน และอาคารสถานที่ ตลอดระยะเวลากว่า 50 ปี ที่กิจการไฟฟ้าฯ ได้ดำเนินงานมา

แน่นอนว่า งบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนในส่วนนี้ ได้ก่อเกิดประโยชน์และเพิ่มโอกาสทางด้านการศึกษาให้กับคนในพื้นที่สัตหีบ นับตั้งแต่อดีตจวบถึงปัจจุบัน มีนักเรียนที่จบการศึกษาไปแล้วหลายหมื่นคน ทั้งที่เป็นบุตรหลานข้าราชการและบุตรหลานของคนทั่วไป ซึ่งหลายคนเติบใหญ่เป็นคนคุณภาพและเป็นกำลังหลักในการพัฒนาประเทศ ซึ่งเป็นผลประโยชน์ที่ได้จาก ‘เงินขายไฟ’ ที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้

‘โรงเรียนวัดทรงธรรม’ ประกาศ!! เกณฑ์การซ้ำชั้น ประจำปีการศึกษา 2566 หวังช่วยเด็กที่ยังไม่พร้อม เลี่ยงปัญหาการเรียนในระดับชั้นที่สูงขึ้นวันหน้า

ไม่นานมานี้ ทางเพจโรงเรียนวัดทรงธรรม ได้โพสต์ประกาศเกี่ยวกับเกณฑ์การซ้ำชั้น ประจำปีการศึกษา 2566 ระบุว่า…

ตามระเบียบโรงเรียนวัดทรงธรรม ว่าด้วยการวัดผลและประเมินผลการเรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551–พ.ศ.2557 (แก้ไขเพิ่มเติม) ลงวันที่ 18 กรกฎาคม 2557 หมวดที่ 7 การเรียนซ้ำชั้น โดยดำเนินงานตามหนังสือของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ศธ04010/1478 ลงวันที่ 22 เมษายน 2559 เรื่องซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับ แนวปฏิบัติการเรียนซ้ำชั้น

ซึ่งการเรียนช้ำชั้นในระดับมัธยมศึกษา เมื่อผู้เรียนไม่ผ่านเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่งหรือ ทั้ง 2 ข้อ ดังนี้

1.) ผู้เรียนมีระดับผลการเรียนเฉลี่ยในปีการศึกษานั้นต่ำกว่า 1.00 และมีแนวโน้มว่าจะเป็นปัญหา
ต่อการเรียนในระดับชั้นที่สูงขึ้น

2.) ผู้เรียนมีผลการเรียน 0, ร, มส เกินครึ่งหนึ่งของรายวิชาที่ลงทะเบียนเรียนในปีการศึกษานั้น

ทั้งนี้ การพิจารณาให้ผู้เรียน เรียนซ้ำชั้นของโรงเรียนวัดทรงธรรม จะดำเนินการในรูปแบบของ
คณะกรรมการ โดยจะเริ่มการพิจารณาเมื่อการสอบแก้ตัวในรอบที่ 2 สิ้นสุดลง ทางโรงเรียนวัดทรงธรรมจึงขอแจ้งผู้ปกครองและผู้เรียนทราบ เพื่อดำเนินการแก้ไขผลการเรียนตามช่วงเวลาที่โรงเรียนกำหนด จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

‘อดีตอาจารย์’ บริจาคเงิน 3.5 หมื่นลบ. ให้วิทยาลัยการแพทย์ในนิวยอร์ก นักศึกษาแพทย์ทุกคนจะได้เรียนฟรีจนจบหลักสูตร ไม่ต้องกู้ยืม-เป็นหนี้

เมื่อไม่นานมานี้ เว็บไซต์ต่างประเทศ รายงานเรื่องราวที่กำลังเป็นที่ฮือฮาบนโลกโซเชียลของสหรัฐ เมื่อนาง รูธ กอตส์แมน วัย 93 ปี ได้ทิ้งมรดกหุ้นจากบริษัทโฮลดิงข้ามชาติยักษ์ใหญ่ของสามี บริจาคเงินให้วิทยาลัยการแพทย์อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์เป็นจำนวนเงินกว่า 3.5 หมื่นล้านบาท เรียนฟรีตลอดการศึกษา พร้อมระบุว่า ไม่อยากให้เป็นหนี้

ตามรายงานของสื่อท้องถิ่น เผยว่า นางรูธ กอตส์แมน ได้ประกาศมอบเงินบริจาคก้อนใหญ่เป็นประวัติศาสตร์ถึง 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือราว 3.5 หมื่นล้านบาทให้กับวิทยาลัยแพทยศาสตร์อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ในเขตบรองซ์ นครนิวยอร์ก

โดยเงินบริจาคทั้งหมดนี้นางกอตส์แมนให้กับนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 4 ของวิทยาลัย จะได้รับเงินค่าเล่าเรียนคืนสำหรับภาคการศึกษาฤดูใบไม้ผลิของปีนี้ และเมื่อถึงเดือน ส.ค. 2567 นักเรียนแพทย์ทั้งรุ่นปัจจุบันและที่กำลังจะสมัครเข้ามา จะได้เรียนฟรีทุกคน และไม่ต้องต้องจ่ายค่าเล่าเรียนอีกต่อไป

สำหรับ นางกอตส์แมน ระบุว่า เงินบริจาคของเธอจะช่วยให้แพทย์จบใหม่สามารถเริ่มต้นประกอบวิชาชีพได้โดยไม่ต้องมีภาระหนี้สินจากค่าเล่าเรียนทางการแพทย์ ซึ่งเธอยังหวังว่า ทุนการศึกษานี้จะเปิดโอกาสการเรียนแพทย์ให้กว้างขึ้น โดยรวมถึงผู้ที่ไม่สามารถจ่ายค่าเล่าเรียนที่สูงลิ่วได้

อย่างไรก็ตาม เศรษฐีนีใจบุญรายนี้ มีประวัติการทำงานยาวนานที่วิทยาลัยแพทย์อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ซึ่งเป็นสถาบันทางการแพทย์ที่มีชื่อเสียง โดยเริ่มงานในปี 2511 ในตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายจิตวิทยาการศึกษา อีกทั้ง เธอยังเป็นสมาชิกคณะกรรมการอำนวยการของไอน์สไตน์มาอย่างยาวนาน และดำรงตำแหน่งประธานคนปัจจุบัน

ขณะเดียวกันทางด้านนายเดวิด กอตส์แมน ผู้เป็นสามีเป็นนักลงทุนรุ่นแรก ๆ ของบริษัทเบิร์กเชอร์ แฮทอะเวย์ หนึ่งในบริษัทโฮลดิงที่ บัฟเฟตต์ เป็นเจ้าของที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในยุคทศวรรษที่ 1960 โดยเขายังเป็นเพื่อนกับ วอร์เรน บัฟเฟตต์ มหาเศรษฐีระดับโลกผู้ร่ำรวยจากการลงทุนและเทรดหุ้นอีกด้วย

ทั้งนี้ สำหรับค่าเล่าเรียนของวิทยาลัยการแพทย์แห่งนี้ เริ่มต้นที่ 59,000 ดอลลาร์สหรัฐหรือราว 2.11 ล้านบาทต่อคน ทำให้นักเรียนแพทย์จำนวนมาก ต้องกู้ยืมเงินเพื่อมาจ่ายค่าเล่าเรียน

โดยมีการประเมินว่า หลังจากสำเร็จการศึกษาแล้ว นักเรียนแพทย์บางคนจะเป็นหนี้ทางการศึกษาไม่ต่ำกว่า 200,000 ดอลลาร์สหรัฐหรือราว 7.18 ล้านบาทเลยทีเดียว

'ดร.เอ้' ยัน!! นายกฯ เดินทางไปต่างแดน เป็นสิ่งจำเป็น แต่ต้องหมั่นโฟกัสเรื่องใหญ่ ไม่ใช่แค่รับมาแล้วก็เงียบไป

เมื่อไม่นานมานี้ นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (ดร.เอ้) รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ได้โพสต์วิดีโอในช่องติ๊กต็อก @aesuchatvee พร้อมระบุแคปชันว่า “นายกรัฐมนตรีแสดงวิสัยทัศน์ ‘IGNITE Thailand’ มุ่ง 8 เป้าหมายพัฒนาประเทศ ในงาน ไม่มีเรื่อง ‘เป้าหมายการศึกษา’ และ ‘การพัฒนาทักษะคนไทย’ แม้แต่ข้อเดียว น่าเสียใจ” 

โดยภายในวิดีโอได้พูดและแนะนำถึงสิ่งที่นายกรัฐมนตรีควรให้ความสำคัญ ไม่น้อยกว่าการไปเยือนต่างประเทศ โดยกล่าวว่า… “สําหรับการเดินทางไปต่างประเทศของนายกฯ คนใหม่เป็นสิ่งจําเป็น เพราะต้องแนะนําตัวและนโยบายของประเทศตอนนี้ว่าเป็นอย่างไร ผมว่าเรื่องพวกนี้มีความจําเป็น แต่ท่านต้องไม่ฉาบฉวย มีภาพท่านที่ออกมาในลักษณะที่มีคนร้องเรียนทีนึง เมื่อไปดู แล้วก็หาย ไปอีกตรงหนึ่ง ท่านก็หาย กลายเหมือนกับว่า ไม่ได้โฟกัสอะไร…”

ดร.เอ้ กล่าวต่อว่า “จริง ๆ แล้วท่านต้องโฟกัส และต้องจัดอันดับเรื่องของปัญหา ยกตัวอย่างเช่น วันนี้ประเทศไทยไม่พ้นความยากจน ประเทศไทยมีปัญหาหลายเรื่องที่มาจากเรื่องของการศึกษา แต่ท่านไม่พูดเลย”

ดร.เอ้ ได้ยกตัวอย่างประเทศเพื่อนบ้านอย่างสิงคโปร์ที่กำลังจะมีนายกรัฐมนตรีคนใหม่ คือ ‘ลอว์เลนซ์ หว่อง’ ที่ได้พูดเรื่องการศึกษามาเป็นเรื่องแรก ๆ 

ดร.เอ้ ระบุต่อว่า “แต่นายกฯ เศรษฐาไม่พูดเลย ท่านไปดูตรงไหน ท่านก็พูดแต่เรื่องฉาบฉวย แต่ความสามารถในการแข่งขัน การสร้างคนซึ่งเป็นเรื่องที่จําเป็นที่สุด ท่านไม่เคยพูด”

สุดท้ายดร.เอ้ ได้พูดถึงประเด็นที่นายกฯ เดินทางไปต่างประเทศบ่อยครั้งว่า “เรื่องท่านไปต่างประเทศ ผมไม่ว่า แต่งานที่สําคัญที่สุดคือ ‘เรื่องของรากลึกของสังคมไทย’ เรื่องการศึกษา ท่านไม่พูดเลย อีกทั้งเรื่องการแก้ปัญหา ท่านต้องไม่โยนให้กับกระทรวงอื่น แต่ท่านต้องแสดงบทบาทผู้นําว่าท่านหยิบจับอะไรมันก็สําเร็จ ไม่ใช่จับแล้วปล่อย ๆ แบบนี้ ผมว่าท่านจะต้องปรับปรุง”

🔎เช็กลิสต์!! จำนวนเด็กเก่งจากโรงเรียนต่างๆ ที่สอบติด 'กำเนิดวิทย์' ประจำปี 2567

‘โรงเรียนกำเนิดวิทย์’ ประกาศรายชื่อนักเรียนที่ได้รับการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม.4) ปีการศึกษา 2567 จำนวน 72 คน โดยเป็นนักเรียนจากโรงเรียนต่าง ๆ ทั่วประเทศ เช่น แสงทองวิทยา สวนกุหลาบวิทยาลัย ระยองวิทยาคม 

วันนี้ THE STATES TIMES ได้รวบรวมรายชื่อโรงเรียนของน้อง ๆ ทั้ง 72 คนมาแล้ว มาดูกันว่า น้อง ๆ จากโรงเรียนใดบ้าง ที่ผ่านคัดเลือกเข้าเรียนที่โรงเรียนกำเนิดวิทย์ได้บ้าง ถ้าพร้อมแล้วมาดูกัน…


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top