Friday, 10 May 2024
กระทรวงคมนาคม

'ศักดิ์สยาม' สั่งด่วน ชะลอค่าปรับ 10 เท่า M-Flow พร้อมให้กรมทางหลวงเร่งคืนค่าปรับทุกราย

'ศักดิ์สยาม' สั่งด่วน ชะลอค่าปรับ 10 เท่า ผู้ใช้ระบบ M-Flow ทุกราย จนถึง 31 มี.ค. 65 พร้อมให้กรมทางหลวงเร่งคืนค่าปรับทุกราย

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า จากปัญหา ที่กรมทางหลวง (ทล.) ได้เปิดใช้ ระบบจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้น (M-Flow) เต็มรูปแบบ บนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9 (วงแหวนบางปะอิน-บางพลี) จำนวน 4 ด่าน คือ ด่านธัญบุรี 1 ด่านธัญบุรี 2 ด่านทับช้าง 1 และด่านทับช้าง 2 ตั้งแต่ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 22.00 น. ที่ผ่านมา ซึ่งตนรับทราบปัญหาผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประชาชน ที่ต้องเสียเงินค่าปรับ 10 เท่า กรณีที่จ่ายเงินค่าผ่านทางเกิน 2 วัน ในการใช้ช่องทาง ระบบ M-Flow

สำหรับประชาชนที่ไม่ได้สมัครเป็นสมาชิก ระบบ M-Flow โดยตนได้สั่งการให้กรมทางหลวง (ทล.) ชะลอการเรียกเก็บเงินค่าปรับ 10 เท่า สำหรับผู้ที่ไม่ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกระบบ M-Flow และได้เข้าใช้ช่องทางระบบ M-Flow ในระยะเวลา 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา ที่ได้ชำระค่าธรรมเนียมผ่านทาง ทั้งนี้เริ่มตั้งแต่วันนี้ จนถึง 31 มีนาคม 2565

'ศักดิ์สยาม' ดีเดย์รถเมล์ อีวี แทนสาย 8 เดิม 20 ส.ค.นี้ พร้อมดันรถเมล์ EV ไม่น้อยกว่า 1,000 คัน ภายในปี 65

‘ขนส่งฯ’เตรียม Kick Off วิ่งรถเมล์ EV สาย 2-38 (สาย 8 เดิม) ‘แฮปปี้แลนด์-ท่าเรือสะพานพุทธ’ นำร่อง 20 คัน ดีเดย์ 20 ส.ค. นี้ พร้อมตั้งเป้ารถขนส่งสาธารณะใช้ระบบ EV ไม่น้อยกว่า 1,000 คันภายในปี 65 

(15 ส.ค. 2565) นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ในวันที่ 20 ส.ค. 2565 เตรียม Kick Off ให้บริการเดินรถโดยสารปรับอากาศที่ใช้พลังงานสะอาด (EV) สาย 2-38 (สาย 8 เดิม) แฮปปี้แลนด์-ท่าเรือสะพานพุทธในเบื้องต้น 20 คัน จากทั้งหมด 40 คัน ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของแผนการปฏิรูปรถโดยสารของกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ที่ในระยะแรกจะมีการทดลองนำร่องทั้งหมด 150 คัน กระจายไปในเส้นทางอื่น ๆ

ขณะเดียวกัน ยังได้มอบหมายให้ ขบ. ไปพิจารณาให้รถขนส่งสาธารณะ ทั้งรถเมล์ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) , รถร่วมบริการ ขสมก. และรถโดยสารของบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) เปลี่ยนเป็นรถโดยสารระบบ EV โดยในปี 2565 ได้ตั้งเป้าหมายไว้ไม่น้อยกว่า 1,000 คัน จากแผนทั้งหมด 3,200 คัน

ด้านนายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดี ขบ. กล่าวถึงกระแสความสับสนของประชาชน กรณีการปรับเปลี่ยนเลขสายรถเมล์แบบใหม่ว่า ขบ. ไม่ได้นิ่งนอนใจ และรับฟังความเห็นของประชาชน โดยในขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาข้อมูล อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า ช่วงนี้อาจจะเกิดความสับสน แต่ ขบ. ได้เดินหน้าแก้ไขปัญหา อาทิ การประชาสัมพันธ์ล่วงหน้าทั้งบนรถเมล์ และเว็บไซต์ว่า สายเดิมเป็นเลขหมายใด และสายใหม่เป็นเลขหมายใด เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบ

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม ระบุว่า ก่อนหน้านี้ รถโดยสารประจำทาง (รถเมล์ร้อน) สาย 8 เส้นทางแฮปปี้แลนด์–สะพานพุทธ เตรียมยุติการดำเนินกิจการเนื่องจากไม่ผ่านคุณสมบัติในเส้นทางสัมปทานเดินรถ จำนวน 77 เส้นทางในแผนการปฏิรูปฯ ทั้งนี้ เส้นทางเดินรถของสาย 8 เดิม จึงมีรถโดยสารประจำทางของบริษัท ไทย สมายล์ บัส จำกัด หรือ TSB ผู้ได้รับสัมปทานมาเดินรถแทน โดยเรียกชื่อสายใหม่ว่า สาย 2-38 โดยจะใช้รถพลังงานไฟฟ้า พร้อมด้วยนำระบบเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้ในการควบคุมการเดินรถ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางให้กับประชาชน

M-Flow ยอดใช้ทะลุ 17 ล้านเที่ยว ‘ศักดิ์สยาม’ เผยปี 67 เปิดครบทุกด่าน

‘ศักดิ์สยาม’ ปลื้มระบบ M-Flow ยอดใช้ทะลุ 17 ล้านเที่ยวประสิทธิภาพตามเป้าแก้รถติดหน้าด่าน ตั้งเป้าปี 67 ใช้ได้ครบทุกด่าน ‘มอเตอร์เวย์ ทางด่วน’ ขณะที่ยอดสมาชิกเพิ่มต่อเนื่องเกือบ 4 แสนบัญชี มีรถใช้สัดส่วนกว่า 32% ต่อวัน

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงการใช้ระบบเก็บค่าผ่านทางแบบไม่มีไม้กั้น (M- Flow) บนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9 (วงแหวนตะวันออก) ที่ด่านธัญบุรี 1 ด่านธัญบุรี 2 ด่านทับช้าง 1 และด่านทับช้าง 2 ซึ่งเปิดใช้เมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2565 เพื่อแก้ปัญหาการจราจรว่า หลังจากที่มีปัญหาการใช้งานในช่วงแรก ซึ่งเกิดจากการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ยังอาจไม่ทั่วถึง ซึ่งกระทรวงคมนาคมและกรมทางหลวงได้แก้ไขปัญหา โดยยกเว้นค่าปรับในช่วง 1 เดือน ในขณะที่พยายามสร้างการรับรู้ให้ประชาชนผ่านทุกช่องทาง โดยปัจจุบันการใช้งานมีประสิทธิภาพและมีปัญหาลดลงมาก โดยมีรถเข้าใช้ระบบ M- Flow สะสมไปแล้วกว่า 17 ล้านเที่ยว 

ซึ่งตามแผนงานจะขยายการใช้ M- Flow ให้ครอบคลุมครบทุกด่านทุกเส้นทางมอเตอร์เวย์และทางพิเศษในปี 2567 โดยจะทำให้มีการชำระค่าผ่านทาง M-Flow ร่วมกับแบบเก่า คือ ช่องเงินสด M-pass/ Easy-pass แต่จะลดจำนวนช่องในแต่ละด่านลง โดยตามผลศึกษาระบบ M-pass/ Easy-pass มีขีดความสามารถรองรับ 500 คัน/1 ชม. ส่วน M- Flow นั้นจะเร็วกว่า  5 เท่า หรือ 2,500 คัน/ชม. 

นายธนศักดิ์ วงศ์ธนากิจเจริญ ผู้อำนวยการกองทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) กรมทางหลวง (ทล.) กล่าวว่า จำนวนสมาชิกระบบ M-Flow เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ตั้งแต่เปิดให้บริการ M-Flow ในเดือน ก.พ. 2565 มีผู้ใช้ระบบ 18.90% จากปริมาณจราจรเฉลี่ย 57,031 คัน/วัน

เดือน มี.ค. เพิ่มเป็น 22.82% จากปริมาณจราจรเฉลี่ย 60,456 คัน/วัน, เดือน เม.ย. 26.09% จากปริมาณจราจรเฉลี่ย 73,483 คัน/วัน, เดือน พ.ค. 28.44% จากปริมาณจราจรเฉลี่ย 80,170 คัน/วัน

เดือน มิ.ย. 30.01% จากปริมาณจราจรเฉลี่ย 82.890 คัน/วัน, เดือน ก.ค. 31.34% จากปริมาณจราจรเฉลี่ย 87,224 คัน/วัน, เดือน ส.ค. 2565 ผู้ใช้ M-Flow 32.90% จากปริมาณจราจรเฉลี่ย 92,133 คัน/วัน

ข้อมูลถึงวันที่ 18 ส.ค. 2565 มีสมาชิกระบบ M-Flow จำนวนทั้งหมด 396,760 ราย โดยมีจำนวนรถที่ผูกเข้าระบบรวมทั้งหมด 467,007 คัน 

ขณะที่ข้อมูลปริมาณจราจรสะสมที่ใช้ระบบ M-Flow ตั้งแต่เปิดให้บริการถึงปัจจุบันรวม 17,470,850 รายการ หรือเฉลี่ยวันละ 92,133 คัน/วัน

ส่วนกรณีที่มีผู้ใช้บริการในระบบ M-Flow ยังไม่ชำระค่าผ่านทาง พบว่ามีประมาณ 3-4% ซึ่งเรื่องค่าผ่านทางค้างชำระนี้ผู้รับจ้างงานบริหารจัดการ M-Flow ได้ดำเนินการชดเชยให้กรมทางหลวงตามสัญญา โดยหักจากค่าจ้างที่ผู้รับจ้างได้รับในแต่ละเดือน ดังนั้นทำให้กรมทางหลวงได้รับเงินค่าผ่านทางจากการใช้บริการ M-FLOW ครบถ้วน ไม่มีความเสี่ยงเรื่องหนี้ค้างชำระใด ๆ

สำหรับกรณีผู้ที่ยังไม่ชำระค่าผ่านทางนั้น ได้ดำเนินการประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และติดตามทวงเงิน ตามระเบียบ กฎหมาย ที่กำหนดไว้

‘ก.คมนาคม’ ผุดแคมเปญมอบของขวัญปีใหม่ให้คนไทย ‘มอเตอร์เวย์-ทางด่วน-รถไฟสีแดง-เรือไฟฟ้า’ เปิดบริการฟรี

‘คมนาคม’ จัดเต็มทุกโหมดมอบของขวัญปีใหม่ 2566 วิ่งฟรี 7 วัน มอเตอร์เวย์สาย 7, 9 และ M 6 ช่วงปากช่อง - สีคิ้ว - ขามทะเลสอ ส่วนทางด่วนบูรพาวิถีและบางพลี - สุขสวัสดิ์ฟรี 6 วัน สายสีแดงฟรีด้วยตั้งแต่เที่ยงวันที่ 31 ธ.ค.- เที่ยงวันที่ 1 ม.ค. ส่วนเรือไฟฟ้าฟรี 31 ธ.ค.65-1 ม.ค.66

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มีนโยบายให้ทุกหน่วยงานพิจารณามอบของขวัญปีใหม่ 2566 เพื่อมอบความสุขให้กับประชาชนทุกคน ที่ได้ร่วมกันผ่านวิกฤต COVID-19 ในช่วงที่ผ่านมาด้วยกัน โดยกระทรวงคมนาคม ได้มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัด อำนวยความสะดวกและความปลอดภัยในการเดินทาง พร้อมรังสรรค์ความสวยงามรื่นรมย์ให้กับพื้นที่คมนาคมเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว โดยมีแผนดำเนินการใน 5 มิติ ภายใต้หลักการ ‘GIFTS’ ดังนี้

G (Gift to People) คมนาคมส่งต่อความสุข ประกอบด้วย
1. เปิดให้วิ่งฟรีทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) หมายเลข 6 สายบางปะอิน - สระบุรี -นครราชสีมา ช่วงอำเภอปากช่อง - อำเภอสีคิ้ว - อำเภอขามทะเลสอ และยกเว้นค่าผ่านทาง มอเตอร์เวย์หมายเลข 7 และหมายเลข 9 ระหว่างวันที่ 29 ธันวาคม 2565 เวลา 00.01 น. จนถึงวันที่ 4 มกราคม 2566 เวลา 24.00 น.
2. ยกเว้นค่าผ่านทาง ทางพิเศษบูรพาวิถีและกาญจนาภิเษก ระหว่างวันที่ 29 ธันวาคม 2565 เวลา 00.01 น. จนถึงวันที่ 3 มกราคม 2566 เวลา 24.00 น.
3. ยกเว้นค่าโดยสารรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ระหว่างวันที่ 31 ธันวาคม 2565 เวลา 12.00 น. จนถึงวันที่ 1 มกราคม 2566 เวลา 12.00 น.
4. ลดค่าโดยสาร บขส. 10% ทุกเส้นทาง สำหรับผู้โดยสารที่จองตั๋วรถ บขส. ล่วงหน้าผ่านช่องทางออนไลน์
5. ตรวจรถฟรี ขับขี่ปลอดภัย โดยกรมการขนส่งทางบก ตลอดเดือนธันวาคม 2565

I (Inspiration for Society and Environment) : คมนาคมสร้างสรรค์สังคมไทย ห่วงใยสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย
1. รถโดยสารประจำทางพลังงานไฟฟ้า (EV Bus) มาให้บริการประชาชนได้ครบทั้ง 1,250 คัน ภายในเดือนมกราคม 2566 ซึ่งเป็นรถเมล์ใหม่ที่จะอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้โดยสาร และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
2. รถไฟที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า (EV on Train) โดยจะเริ่มทดสอบการเดินรถได้ ในเดือนมกราคม 2566 ซึ่งจะทำให้ลดต้นทุนการใช้พลังงานได้ถึงร้อยละ 40 เมื่อเทียบกับหัวรถจักรดีเซล
3. เรือไฟฟ้า (EV Boat) ได้นำมาให้บริการประชาชนแล้ว ตั้งแต่ปี 2565 ในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ เรือไฟฟ้า จะให้บริการฟรี ตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2565 ถึงวันที่ 1 มกราคม 2566

F (Facilitation) : คมนาคมสะดวก บริการประทับใจ ประกอบด้วย
1. ขยายเวลาการเดินรถเมล์ ในเขตกรุงเทพมหานคร ในเส้นทางที่ผ่านสถานที่จัดงานเคานท์ดาวน์ (Count Down) เช่น สยามพารากอน ไอคอนสยาม และเอเชียทีค ถึงเวลา 02.00 น. ของวันที่ 1 มกราคม 2566
2. ขยายเวลาเปิดให้บริการเดินรถของโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) และสายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) ตั้งแต่เวลา 06.00 น. ของวันที่ 31 ธันวาคม 2565 จนถึงเวลา 02.00 น. ของวันที่ 1 มกราคม 2566
3. ขยายเวลาให้บริการของอาคารและลานจอดรถ MRT ทั้ง 2 สาย (สีน้ำเงิน และสีม่วง) ตั้งแต่เวลา 05.00 น. ของวันที่ 31 ธันวาคม 2565 จนถึงเวลา 03.00 น. ของวันที่ 1 มกราคม 2566
4. บริการจอดรถฟรี ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และ ท่าอากาศยานภูเก็ต 29 ธันวาคม 2565 ถึงวันที่ 3 มกราคม 2566

T (Tourist Promotion) : คมนาคมส่งเสริมการท่องเที่ยว ประกอบด้วย

1. ปรับปรุงภูมิทัศน์ให้เป็น '3 จุดเช็กอินแห่งใหม่'
- สกลนคร : โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ทางหลวงหมายเลข 213 ตอนสร้างค้อ - สกลนคร
- กรุงเทพมหานคร : โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ทางหลวงหมายเลข 9 (กาญจนาภิเษก) ตอนบางแค – คลองมหาสวัสดิ์
- เชียงใหม่ : โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ทางหลวงหมายเลข 107 ตอนแม่ทะลาย - หัวโท

2. โครงการถนนสายแยกทางหลวงหมายเลข 2 - พิพิธภัณฑ์ธรรมเจดีย์ จังหวัดอุดรธานี เพื่อรองรับพุทธศาสนิกชนและนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางมาสักการะบูชาพิพิธภัณฑ์ธรรมเจดีย์ พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน)

‘ศักดิ์สยาม’ ลงนามตั้ง 10 คณะกรรมการ สอบปมเปลี่ยนป้ายชื่อ ‘สถานีกลางบางซื่อ’

(5 ม.ค. 65) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อ 4 ม.ค.ที่ผ่านมา นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ลงนามในคำสั่ง แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาตรวจสอบข้อเท็จจริงการก่อสร้างในโครงการปรับปรุงป้ายชื่อ ‘สถานีกลางบางซื่อ’ เป็น ‘สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์’ และตราสัญลักษณ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แล้ว

โดยประกาศเนื้อหาระบุว่า ตามที่ปรากฏข้อมูลทางโซเชียลมีเดีย (Social Media) และ เว็บไซต์ข่าว เกี่ยวกับการลงนามในสัญญาจ้างการก่อสร้างโครงการปรับปรุงป้ายชื่อสถานีกลางบางซื่อเป็นสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์และตราสัญลักษณ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่มีมูลค่าสูงถึง 33 ล้านบาทเศษ (วงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรรจำนวน 34 ล้านบาท) มีราคากลางคำนวณ ณ วันที่ 9 ธันวาคม 2566 จำนวน 33,169,726.39 บาท โดยใช้วิธีการจัดซื้อหรือจ้างแบบเฉพาะเจาะจง ซึ่งผู้ที่ได้รับ การคัดเลือกและราคาที่ตกลงซื้อหรือจ้าง ได้แก่ บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ UNIQ

เป็นเหตุให้มีการตั้งข้อสังเกตถึงความเหมาะสมในการใช้งบประมาณ รวมถึงนายสราวุธ สราญวงศ์ ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ยื่นหนังสือเพื่อขอให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ตรวจสอบเรื่องดังกล่าว เนื่องจากไม่ใช่เหตุของความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการโดยใช้วิธีการว่าจ้างเอกชนด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง ซึ่งจะทำให้การรถไฟแห่งประเทศไทยสูญเสียงบประมาณในการว่าจ้างปรับปรุงป้ายชื่อที่มีมูลค่าสูงเกินกว่าปกติ

ทั้งนี้ หากดำเนินการให้เป็นไปตามขั้นตอนของการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 โดยวิธีการประกาศเชิญชวนหรือวิธีการคัดเลือกก่อนจะทำให้การใช้งบประมาณของการรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นไปอย่างเหมาะสมเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการก่อสร้างโครงการดังกล่าวว่า ได้มีการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ และระเบียบที่เกี่ยวข้องหรือไม่ อย่างไร และการใช้งบประมาณเหมาะสมกับปริมาณงาน และราคากลางของกรมบัญชีกลางหรือไม่ และเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมตามหลักธรรมาภิบาลและรักษาผลประโยชน์ของชาติ จึงอาศัยอำนาจตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 แต่งตั้ง คณะกรรมการพิจารณาตรวจสอบข้อเท็จจริงการก่อสร้างในโครงการปรับปรุงป้ายชื่อสถานีกลางบางซื่อเป็นสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์และตราสัญลักษณ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยมีองค์ประกอบ ดังนี้

‘ศักดิ์สยาม’ เป็นประธานเปิดบริการรถไฟทางไกล ดีเดย์วันนี้ 52 ขบวน ขึ้นลงที่ ‘สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์’

‘ศักดิ์สยาม’ เป็นประธานพิธีเปิดให้บริการขบวนรถไฟทางไกล และปล่อยขบวนรถไฟเที่ยวปฐมฤกษ์ เส้นทางสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ - ที่หยุดรถมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต)

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานพิธีเปิดให้บริการขบวนรถไฟทางไกล และปล่อยขบวนรถไฟเที่ยวปฐมฤกษ์ เส้นทางสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ - ที่หยุดรถมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต) โดยมีนายวิรัช พิมพะนิตย์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นางสุขสมรวย วันทนียกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วยนายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน รองปลัดกระทรวงคมนาคม นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก รักษาราชการแทนรองปลัดกระทรวงคมนาคม ประธานกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทย นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง นายนิรุฒ มณีพันธ์  ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย รองศาสตราจารย์เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงคมนาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมพิธี ในวันที่ 19 มกราคม 2566 ณ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ กรุงเทพฯ

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีของรัฐบาล ภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่มุ่งเน้นการสร้างความสามารถในการแข่งขันด้านโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพในด้านโครงข่ายคมนาคม เพื่อการเชื่อมโยงอย่างไร้รอยต่อ โดยกระทรวงคมนาคม ได้แปรนโยบายดังกล่าวไปสู่การปฏิบัติ ผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบราง เพื่อยกระดับคุณภาพการให้บริการให้มีมาตรฐานทัดเทียมในระดับนานาชาติ  

กระทรวงคมนาคม โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ดำเนินการก่อสร้างสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ศูนย์กลางการขนส่งระบบรางที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ เพื่อเป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อการเดินทางทางรางทุกเส้นทาง โดยระยะแรกได้เปิดให้บริการเชิงพาณิชย์รถไฟชานเมืองสายสีแดง (บางซื่อ - ตลิ่งชัน และ บางซื่อ - รังสิต) อย่างเต็มรูปแบบเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2564 ซึ่งมีจำนวนผู้โดยสารใช้บริการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการดำเนินการก่อสร้างสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการขนส่งระบบรางที่สามารถเชื่อมโยงทุกจุดหมายทั่วประเทศ และเพื่ออำนวยความสะดวกการเดินทางแก่ประชาชน ตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม 2566 เป็นต้นไป ขบวนรถไฟทางไกลจะเปิดให้บริการ ณ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ เพื่อลดภาระความแออัดการให้บริการของสถานีกรุงเทพหรือหัวลำโพง และลดปัญหาการจราจรติดขัดในพื้นที่ชั้นในของกรุงเทพมหานครบริเวณจุดตัดทางรถไฟ รวมทั้งลดปัญหามลภาวะทางสิ่งแวดล้อม PM 2.5 และเพิ่มประสิทธิภาพการเดินรถไฟให้มีความตรงต่อเวลามากยิ่งขึ้น ซึ่งในลำดับแรกจะดำเนินการเปิดให้บริการขบวนรถไฟทางไกล ณ บริเวณประตู 4 ชั้น 2 จำนวน 8 ชานชาลา รวม 52 ขบวน แบ่งเป็น รถไฟสายเหนือ 14 ขบวน รถไฟสายใต้ 20 ขบวน และรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ 18 ขบวน โดยในวันนี้ (19 มกราคม 2566) มีขบวนรถไฟเข้า-ออก สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ จำนวน 27  ขบวน แบ่งเป็น สายเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ ขาออก จำนวน 10 ขบวน ขาเข้า จำนวน 7 ขบวน และรถไฟสายใต้ ขาเข้า จำนวน 1 ขบวน ขาออก จำนวน 9 ขบวน 

ทั้งนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย คาดการณ์ว่า ภายหลังการเปิดให้บริการขบวนรถไฟทางไกล จะส่งผลให้มีผู้ใช้บริการสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์เพิ่มขึ้นอีก 10,000 คนต่อวัน ซึ่งกระทรวงคมนาคมมีมาตรการรองรับและมีความพร้อมในการให้บริการแก่ผู้โดยสารรถไฟทางไกล ณ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ทั้งป้ายบอกทาง จุดพักคอยผู้โดยสาร รวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวก โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย ร่วมกับ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จัดรถโดยสารปรับอากาศให้บริการเส้นทางระหว่างสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์และสถานีหัวลำโพง โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งมีความถี่ทุก ๆ 30 นาที หรือตามจำนวนเที่ยวที่ขบวนรถไฟมาถึงสถานี และการเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนอื่น ๆ ได้แก่ รถไฟชานเมืองสายสีแดง รถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล ซึ่งในอนาคตจะมีการเชื่อมต่อการเดินทางทางอากาศผ่านระบบรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน โดยการดำเนินงานในครั้งนี้ จะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้พี่ประชาชนได้รับความสะดวก สบาย ปลอดภัย ตรงต่อเวลา ในราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรม รวมทั้งเป็นการพัฒนาระบบการคมนาคมขนส่งทางรางของประเทศในระยะยาว 

ศาลรัฐธรรมนูญ สั่ง หยุดปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรี ปม 'ถือหุ้น-เป็นเจ้าของ' หจก.บุรีเจริญ

(3 มี.ค.66) องค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีการประชุมปรึกษาคดี กรณีที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งคําร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ 170 วรรคสาม ประกอบมาตรา 82 ว่า ความเป็นรัฐมนตรีของ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (5) ประกอบ มาตรา 187 หรือไม่

ทั้งนี้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จํานวน 54 คน ยื่นคําร้องต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ว่า นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (ผู้ถูกร้อง) ยังคงไว้ซึ่งหุ้นส่วนและยังคงเป็นผู้ถือหุ้น และเจ้าของห้างหุ้นส่วนจํากัด บุรีเจริญคอนสตรัคชั่น อย่างแท้จริง ซึ่งจะทําให้ผู้ถูกร้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับ การบริหารจัดการหุ้นหรือกิจการของห้างหุ้นส่วน

เป็นการกระทําอันเป็นการต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 187 ประกอบพระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ. 2543 มาตรา 4 (1) เป็นเหตุให้ ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (5) หรือไม่ ผู้ร้องจึงส่งคําร้องเพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสาม ประกอบมาตรา 82 ผลการพิจารณา

มั่นใจในหลักฐาน ‘ศักดิ์สยาม’ ยันถอนหุ้นก่อนนั่ง ‘รมว.คมนาคม’ ลั่น!! พร้อมแจงข้อมูล หลังศาลรธน. สั่งหยุดปฎิบัติหน้าที่

(3 มี.ค.66) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติเอกฉันท์ให้นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ หยุดปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นการชั่วคราว ระหว่างรอคำวินิจฉัยในคำร้องที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน 54 คน เข้าชื่อให้วินิจฉัยสถานภาพความเป็นรัฐมนตรีต้องสิ้นสุดลง หลังยังคงถือหุ้นและเป็นเจ้าของห้างหุ้นส่วนจำกัด บุรีเจริญคอนสตรัคชั่น ซึ่งเข้าข่ายขาดคุณสมบัตินั้น

ผู้สื่อข่าวได้สอบถามไปยังไลน์ส่วนตัวของนายศักดิ์สยาม โดยนายศักดิ์สยาม ระบุว่า หลังจากที่ได้รับคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญอย่างเป็นทางการ ก็จะชี้แจงข้อกล่าวหาไปตามกรอบเวลาภายใน 15 วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้งจากศาลรัฐธรรมนูญ อย่างเป็นทางการ ซึ่งตนได้เตรียมคำชี้แจงไว้เรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้ตนได้ยกเลิกภารกิจตรวจราชการที่จ.นครนายก และจ.ปราจีนบุรี ตามกำหนดการเดิมของวันนี้ทั้งหมดแล้ว

'ก้าวไกล' ขยี้ต่อ!! ร้อง ครม.ระงับทุกโครงการ ก.คมนาคม หลังผนึกกำลังฝ่ายค้าน เอาผิด 'ศักดิ์สยาม' นอกสภาฯ

'ก้าวไกล' เรียกร้อง ครม. หยุดอนุมัติโครงการคมนาคมทุกโครงการทิ้งทวนก่อนยุบสภา หลังศาลรัฐธรรมนูญสั่ง "ศักดิ์สยาม" หยุดปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราว เพื่อรักษาผลประโยชน์ประชาชน

(3 มี.ค.66) ปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์รับคำร้อง กรณีที่ขอให้ศาลฯ วินิจฉัยคุณสมบัติความเป็นรัฐมนตรีของ ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม สิ้นสุดลงเฉพาะตัว สืบเนื่องจากการคงไว้ซึ่งหุ้นส่วนและยังคงเป็นผู้ถือหุ้นและเจ้าของ หจก.บุรีเจริญคอนสตรัคชั่น โดยศาลฯ พิจารณาให้ศักดิ์สยาม ผู้ถูกร้อง หยุดปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรี จนกว่าศาลฯ จะวินิจฉัย

ปกรณ์วุฒิ กล่าวว่า กรณีนี้เป็นการยื่นคำร้องร่วมกันของ ส.ส.พรรคฝ่ายค้าน 54 คน ตั้งประเด็นหลักมาจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจของตนเมื่อกลางปี 2565 โดยจากข้อมูลเอกสารที่ตนได้รับมานั้น พบว่าการโอนหุ้น หจก.บุรีเจริญคอนสตรัคชั่น ซึ่งเคยเป็นของศักดิ์สยาม และได้โอนหุ้นออกไปก่อนจะรับตำแหน่งรัฐมนตรีนั้น มีพิรุธอยู่ในหลายจุด

ไม่ว่าจะเป็น ผู้ที่รับโอน ซึ่งปรากฏว่ามีความพัวพันกับครอบครัวชิดชอบมาอย่างยาวนาน, การให้ หจก. ใช้ที่อยู่บ้านของตระกูลตนเองต่อยาวนานเป็นปี ทั้งๆ ที่ไม่มีสถานะผู้ถือหุ้น หรือกรรมการใน หจก.แล้ว, การยื่นทรัพย์สินของศักดิ์สยาม ที่น้อยจนผิดปกติ หากมีการขายหุ้นครั้งนี้จริง, ตัวเลขในงบการเงิน ที่มีความขัดแย้งกันในตัวเอง, ราคาในการซื้อขายซึ่งไม่สมเหตุสมผลกับรายได้ของธุรกิจ และไม่ปรากฎหลักฐานการโอนเงินการซื้อขายหุ้นครั้งนี้

‘ภูมิใจไทย’ ส่ง ‘เสี่ยหนู’ คุมกระทรวงคมนาคม สกัด ‘อธิรัฐ’ รื้องานโครงการรถไฟสายสีส้ม

(14 มี.ค. 66) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นประธาน ที่อาจเป็นนัดสุดท้ายก่อนยุบสภาฯ พบว่ามีการเสนอวาระสำคัญหลายเรื่อง อาทิ การแต่งตั้งนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นรักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม แทนนายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ที่ทำหน้าที่รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมก่อนหน้านี้ หลังนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมถูกศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การแต่งตั้งนายอนุทิน เป็นรักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เนื่องจากนายอธิรัฐ จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงโครงการต่าง ๆ สมัยที่นายศักดิ์สยามทำไว้ โดยเฉพาะโครงการรถไฟสายสีส้ม ที่นายอธิรัฐจะเร่งเสนอให้ ครม.อนุมัติในวันเดียวกันนี้ แต่ถูกคัดค้านในที่ประชุม ครม.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม หยุดปฏิบัติหน้าที่เป็นการชั่วคราว กรณีศาลรับคำร้องตรวจสอบการถือครองหุ้นห้างหุ้นส่วนจำกัด (หจก.) บุรีเจริญคอนสตรัคชั่น โดยกระทรวงคมนาคมมีคำสั่งให้ นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม รับตำแหน่งรักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top