Thursday, 18 April 2024
กกต

เปิดขั้นตอนการลงคะเเนน เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. และ ส.ก. เตรียมตัวให้พร้อมก่อนเข้าคูหา วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม 2565

เวลาลงคะแนนเลือกตั้ง เวลา 08.00 - 17.00 น.

✨️ขั้นตอนก่อนหย่อนบัตร
1. ตรวจสอบรายชื่อ ต
รวจสอบรายชื่อ และลำดับที่จากบัญชีรายชื่อ ที่ประกาศไว้หน้าที่เลือกตั้ง

2. ยื่นหลักฐานแสดงตน
แสดงหลักฐาน เช่น บัตรประจำตัวประชาชน (บัตรที่หมดอายุก็ใช้ได้) หรือ บัตรหรือหลักฐานที่ทางราชการหรือหน่วยงานของรัฐออกให้ที่มีรูปถ่ายและมีเลขประจำตัวประชาชน ต่อ กปน. พร้อมลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือในบัญชีรายชื่อ

3. รับบัตรเลือกตั้ง
ลงลายมือชื่อ หรือพิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือลงที่ต้นขั้วบัตรเลือกตั้ง รับบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ ได้แก่ บัตรเลือกตั้ง ผู้ว่า กทม และบัตรเลือกตั้ง ส.ก.

4. ทำเครื่องหมายกากบาท
เข้าคูหาลงคะแนนทำเครื่องหมายกากบาท (X) ลงในช่องทำเครื่องหมาย ดังนี้

- บัตรเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. สีน้ำตาล เลือกผู้สมัครได้ 1 คน
- บัตรเลือกตั้ง ส.ก. สีชมพู เลือกผู้สมัครได้เขตเลือกตั้งละ 1 คน
- หากไม่ต้องการเลือกผู้สมัครผู้ใด ให้ทำเครื่องหมายกากบาท (X) ในช่องไม่เลือกผู้สมัครผู้ใด แล้วพับบัตรเลือกตั้ง

กกต.ตั้งขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ตามกฎหมาย ไม่ได้ตั้งขึ้นมาเพื่อทำตามความต้องการของผู้ใด

กกต.ตั้งขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ตามกฎหมาย ไม่ได้ตั้งขึ้นมาเพื่อทำตามความต้องการของผู้ใด
 สิ่งที่เราทำทุกอย่างเป็นเรื่องที่ถูกต้องตามกฎหมาย กระแสไม่ได้ทำให้เราละเลยความถูกต้อง

นายแสวง บุญมี 
เลขาธิการ กกต.
กล่าวเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2565

นายแสวง บุญมี เลขาธิการ กกต.ให้การต้อนรับ และมอบใบรับรองแก่นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและ ส.ก. 45 ราย
โดยนายแสวง กล่าวว่า ขอแสดงความยินดีกับทุกท่านที่ได้รับเลือกให้เป็นผู้ว่าฯ กทม. และส.ก. ท่านได้รับเสียงมหาชน ต้องไปทำหน้าที่ตามที่ได้เสนอต่อประชาชน ขอให้ท่านทำหน้าที่ได้สำเร็จตามที่ได้เสนอไว้ เพราะประชาชนคาดหวังไว้ ขอบคุณท่านและผู้สมัครทุกคนทั้งที่ไม่ได้อยู่ที่นี่ ที่ได้ร่วมกับ กกต. ทำให้การเลือกตั้งนี้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยตั้งแต่เริ่มสมัคร หาเสียง จนประกาศผล การหาเสียงครั้งนี้เป็นไปด้วยความสร้างสรรค์ มีรูปแบบที่แตกต่างออกไปจากการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา ทำให้การเลือกตั้งเป็นที่สนใจ และเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

สุรนันทน์ ขอให้กกต.เปิดกว้างให้ทุกฝ่ายได้มีโอกาสแข่งขันกันอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม

นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ รองหัวหน้าพรรคสร้างอนาคตไทย ในฐานะประธานภาคกรุงเทพฯ ร่วมกับนายสันติ กีระนันทน์ รองหัวหน้าพรรค ได้ลงพื้นที่ชุมชนวัดดุสิดารามและตลาดบางขุนนนท์ เขตบางพลัด โดยมีนายพัลลภ ปิยะตระกูล เป็นผู้ประสานงานพรรคในพื้นที่ 

นายสุรนันทน์ กล่าวถึงกรณีหลักเกณฑ์ 180 วันก่อนเลือกตั้ง ซึ่งจะเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 24 กันยายนนี้ว่า เรื่องนี้ควรมีการตีความในข้อปฏิบัติต่างๆ ให้ชัดเจน ว่าอะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้ เพื่อเปิดกว้างให้ทุกฝ่ายได้มีโอกาสแข่งขันกันอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม  ไม่อย่างนั้นแล้วทุกอย่างก็จะกลับไปสู่วงจรอุบาทว์ทางการเมืองแบบเดิมอีก  
    
ถ้าคิดตามหลักประชาธิปไตยแล้ว เราควรเปิดโอกาสให้ประชาชนได้รับรู้ว่า จะมีการเลือกตั้ง แต่ละพรรคจะส่งใครเป็นผู้สมัครเพื่อมาเป็นตัวแทนของพี่น้องประชาชน โดยผ่านการเสนอแนวคิด ไม่ว่าจะเป็นการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ หรือผ่านสื่อที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งทั้งหมดนี้กกต.ก็สามารถตรวจสอบการใช้งบประมาณได้อย่างโปร่งใสและเป็นธรรม

นายสุรนันทน์ ยังกล่าวว่า ต้องยอมรับว่าพรรคใหม่ๆ หรือพรรคการเมืองที่ไม่ได้มีบทบาทในรัฐบาลหรือในสภาฯ จะเสียเปรียบกับเรื่องนี้มาก ยกตัวอย่าง ที่ผ่านมาเกิดปัญหาน้ำท่วม เรายังมีโอกาสช่วยเหลือดูแลพี่น้องประชาชนได้ แต่ขณะนี้ทำอะไรไม่ได้เลย  แต่รัฐบาลยังทำได้ทุกอย่าง ถึงแม้จะมีการอ้างว่าเป็นการทำในฐานะภาครัฐ ไม่ใช่พรรคการเมืองก็ตาม แต่ กกต.จะตีความอย่างไร ว่าการลงปฏิบัติงานในพื้นที่ต่างๆ  นั้นจะเป็นฐานะรัฐมนตรี, หัวหน้าพรรคการเมือง หรือ ส.ส. โดยไม่มีนัยยะใดๆ แอบแฝง

'อนุสรณ์' ชี้ กฎเหล็กกกต. ห้ามสร้างความเหลื่อมล้ำ ต้องบังคับใช้อย่าง 'เท่าเทียม - เที่ยงธรรม'

นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์และทิศทางการเมืองพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณี ประชาชนจับตามองกฎเหล็กของ กกต. จะบังคับใช้อย่างเสมอภาค และเป็นธรรมกับพรรคการเมืองและนักการเมืองทุกพรรคหรือไม่ ว่า หลังกฎเหล็กกกต.มีผลบังคับใช้ ก็ถูกทดสอบทันที โดยเฉพาะการลงพื้นที่ จ.เพชรบูรณ์ ของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ เป็นประเด็นตั้งแต่การทำป้ายต้อนรับพล.อ.ประวิตร โดยป้ายดังกล่าวยังเกินขนาด และมีภาพว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.ทั้ง 6 เขตของพรรคพลังประชารัฐ ประชาชนตั้งคำถามว่าเจตนาให้เป็นการหาเสียงแฝงหรือไม่ การแจกสิ่งของ การโปรยทาน หรือการสัญญาว่าจะให้ ล้วนแต่เข้าข่ายผิดกฎหมายเลือกตั้ง เข้าข่ายทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบ ถ้าสิ่งเหล่านี้ฝ่ายรัฐบาลทำได้ทั้งหมด แล้วฝ่ายค้านไม่สามารถทำได้เลย จะเกิดการเลือกตั้งที่สุจริตและเที่ยงธรรมได้อย่างไร

“อย่าลืมว่า แม้วันนี้ฝ่ายรัฐบาลจะสวมหมวกรัฐมนตรีลงพื้นที่ แต่หมวกอีกใบที่ใส่ซ้อนทับลงไปคือการเป็นว่าที่ผู้สมัครส.ส. กฎเหล็ก กกต.ต้องไม่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำเพิ่ม หรือไม่สร้างปัญหา จนทำให้การเลือกตั้งที่สุจริตและเที่ยงธรรม ไม่สามารถเกิดขึ้นได้” นายอนุสรณ์ กล่าว

'เพื่อไทย' เรียกร้อง กกต. ทำหน้าที่ให้ชัดเจน ชี้!! อย่าทำให้การเมืองมีแต่ความคลุมเครือ - สิ้นหวัง

(3 ต.ค. 65) สุธรรม แสงประทุม อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้กล่าวถึงสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ที่มีบรรยากาศอยู่ภายใต้ความคลุมเครือ ความสิ้นหวัง ทั้งที่เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งหรือ กกต. ที่ควรทำหน้าที่ตัวเองให้โปร่งใส เพื่อให้ประชาชนเห็นความหวัง เชื่อมั่นในความยุติธรรม และเดินหน้าประเทศนี้ต่อไปได้อย่างโปร่งใส โดยมี 3 ข้อที่กังวลใจคือ

1.) ความคลุมเครือ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่แล้ว มีหลายเรื่องที่บิดเบือนเจตนารมณ์ของประชาชนที่ไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ตั้งแต่เรื่องการแบ่งเขตการเลือกตั้ง ถึงการตัดสินใจตามอำนาจหน้าที่ ปรากฎว่า พรรคเพื่อไทย ได้ที่นั่งมากที่สุด ไม่ได้จัดตั้งรัฐบาล แต่มีบัตรเขย่งทำให้มีพรรคเล็กได้สนับสนุนรัฐบาลที่มีที่มาจากสมาชิกวุฒิสภา 

นอกจากนี้ การประกาศผลการเลือกตั้งบางเขตมีปัญหา ในที่สุด คดีให้ใบแดงผู้สมัครของพรรคเพื่อไทย ศาลตัดสินให้ กกต. ต้องใช้หนี้เลือกตั้ง จากความผิดพลาด ดังกล่าว

2.) ความยุติธรรม หลังจากการประกาศระเบียบของ กกต. ในเรื่อง 180 วัน ในการห้ามผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทำเรื่องใด ปรากฏว่า ข้อจำกัดต่างๆ ที่แจ้งมา ไม่มีความชัดเจน คนของรัฐบาลทำได้ แต่ฝ่ายค้านทำไม่ได้ สิ่งที่ควรทำ กลับไม่ได้ทำ เช่น การแบ่งเขตเลือกตั้ง 400 เขต ควรทำทันทีที่ประกาศจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พึงมี และเมื่อมีระเบียบระยะ 180 วันแล้ว ควรให้ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเตรียมตัว กลับเก็บเรื่องเขตเลือกตั้งไว้ให้เป็นปัญหาเหมือนในปี พ.ศ. 2562 ที่มีข้อครหาว่า ใครสนับสนุนพรรคของคณะผู้ยึดอำนาจ มีโอกาสเลือกเขตเลือกตั้งที่ต้องการ 

'วรวัจน์' จี้ กกต. ผ่อนกฎให้ส.ส. ช่วยปชช. ช่วงน้ำท่วม ชี้!! รัฐบาลมีอำนาจหน้าที่ แต่ไม่มีท่าทีใส่ใจดูแล

เมื่อวันที่ (17 ต.ค. 65) นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล คณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงสถานการณ์น้ำท่วมล่าสุดที่จ.ภูเก็ตว่า ตั้งแต่มีสถานการณ์พายุโนรูที่ทำให้น้ำท่วมบริเวณภาคอีสาน ภาคเหนือและภาคกลางไปแล้ว วันนี้น้ำก็ท่วมหนักอีกที่จ.ภูเก็ต ซึ่งสถานการณ์ขณะนี้กฎหมายเลือกตั้งคุมฝ่ายการเมือง ทำให้ไม่สามารถลงไปดำเนินการให้ความช่วยเหลือพี่น้องประชาชนได้ แต่ทางรัฐบาลที่มีอำนาจหน้าที่ทำได้ กลับไม่ได้แสดงท่าทีอะไรที่เป็นความใส่ใจลงไปช่วยเหลือพี่น้องประชาชนอย่างทันท่วงทีเลย 

นอกจากนี้ยังไม่เห็นแนวทางการแก้ปัญหาที่ชัดเจนจากทางรัฐบาล ไม่รู้ว่าทางรัฐบาลมัวแต่ห่วงเรื่องของตัวเองอยู่หรือไม่ จนละเลยพี่น้องประชาชนเช่นนี้ วันนี้น้ำท่วมทั่วทุกพื้นที่ตั้งแต่เหนือจรดใต้แล้วแต่ทางรัฐบาลก็ยังไม่ได้ขยับดำเนินการอะไรที่จริงจัง ขณะเดียวกันก็มีข่าวว่าให้อีก 8 จังหวัดภาคใต้เตรียมรับมือน้ำ ซึ่งขณะนี้ฝนก็ยังไม่หยุดตก รัฐบาลทำให้คนไทยรู้สึกเหมือนกับว่าไม่มีรัฐบาล เรายังไม่เคยเห็นแผนการจัดการน้ำทั้งระยะสั้นและระยะยาวจากรัฐบาลนี้เลย 

นายวรวัจน์ กล่าวต่อว่า ภาคใต้จัดว่าเป็นเมืองท่องเที่ยวหลัก และเป็นเมืองเศรษฐกิจสำคัญ วันนี้จังหวัดหลัก ๆ เช่น ภูเก็ต กระบี่ พังงา สตูล สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช กำลังได้รับผลกระทบทั้งหมด แต่กลับไม่ได้รับความสนใจจากรัฐบาลเท่าที่ควร ที่ผ่านมาเราเข้าใจได้ว่าพื้นที่ภาคเหนือและภาคอีสาน ทางรัฐบาลอาจมองว่าไม่ใช่พื้นที่ฐานเสียงของพรรคการเมืองฝ่ายตน แต่ขณะนี้ปัญหาก็เกิดที่ภาคใต้แต่รัฐบาลยังกลับนิ่งนอนใจ ไม่ได้สนใจสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่ดี รัฐบาลโยนภาระการช่วยเหลือประชาชนให้เป็นหน้าที่ของท้องถิ่นเท่านั้น ส่วนตัวเองกลับไม่มีใจให้ประชาชน เท่าที่ควรจะเป็น

นายวรวัจน์ กล่าวอีกว่า ตนขอเสนอให้รัฐบาลเข้ามาเยียวยา และเร่งให้ความช่วยเหลือประชาชนให้มากกว่าที่ท้องถิ่นทำอยู่ อาจจะมีงบประมาณพิเศษจัดสรรลงไปให้ หรือเปิดช่องให้จังหวัดสามารถใช้งบกรณีฉุกเฉินล่วงหน้าเพื่อป้องกันน้ำท่วมได้ ไม่ใช่ให้ยึดเพียงแต่กรอบงบประมาณเยียวยาแบบเดิม ทั้งนี้ สมัยรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ เคยจัดวางงบประมาณโดยแบ่งเป็น 2 กรอบ คือกรอบป้องกันน้ำท่วม คือให้มีการเตรียมการก่อนที่น้ำจะท่วม และกรอบที่จะใช้หลังจากเกิดสถานการณ์น้ำท่วมแล้ว รัฐบาลนี้ก็น่าจะผลักดันให้มีมติเหมือนสมัย ครม.น.ส.ยิ่งลักษณ์ คือให้จังหวัดสามารถใช้วงเงินงบประมาณได้ก่อนจะเกิดเหตุ เช่น อาจจะวางช่องทางการระบายน้ำ การทำแผงกั้นน้ำ หรือการขุดลอกเพิ่มเติมเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้สถานการณ์หนัก ในช่วงที่พายุลูกใหม่กำลังจะเข้ามานี้ รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ควรดูแบบอย่างของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ว่าคนที่คิดถึงประชาชนเป็นหลักก่อนนั้น เขาทำงานกันอย่างไร

‘อนุสรณ์’ จี้ กกต.จับตาดู ‘ประยุทธ์’ ลงพื้นที่ หวั่นฝ่าฝืนกฎเหล็กกกต. - หาเสียงล่วงหน้าคนอื่น

(25 พ.ย. 65) นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์และทิศทางการเมืองพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวกรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ ยอมรับว่ากำลังพิจารณาที่จะไปร่วมงานกับพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ไม่ไปต่อกับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯและหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ในขณะที่ทั้งสองฝ่าย ต่างคนต่างแย่งกันลงพื้นที่เข้าหาประชาชนว่า แม้พล.อ.ประยุทธ์จะยังไม่ชี้ชัดว่าอนาคตทางการเมืองของตัวเองจะจบลงตรงไหน แต่การลงพื้นที่เร่งหาเสียงล่วงหน้าหนักและชัดเจน พล.อ.ประยุทธ์จะทำพิธีกดปุ่มโอนเงินโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปาดหน้าพรรคร่วมรัฐบาล พอพรรคร่วมรัฐบาลรู้ข่าวก็ชิงแถลงข่าวปาดหน้าพล.อ.ประยุทธ์กลับ โดยการนำตัวแทนสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย สมาคมชาวนาข้าวไทย สมาคมส่งเสริมเกษตรกรชาวนาอีสาน มาร่วมแถลงข่าวคิกออฟจ่ายเงินช่วยเหลือชาวนาที่กระทรวงพาณิชย์ ปาดมาปาดกลับไม่โกง 

ประชาชนตั้งคำถามว่ากฎเหล็ก 180 วันของ กกต.ยังมีอยู่หรือไม่ ได้บังคับใช้อย่างเท่าเทียมเป็นธรรมหรือเลือกปฏิบัติ หรือเป็นธรรมเฉพาะกับฝ่ายรัฐบาล ก่อนหน้านี้ กกต.บอกว่ารัฐบาลสามารถลงพื้นที่ได้เฉพาะนอกเวลาราชการ กิจกรรมที่ทำอย่างหนักในช่วงนี้ ทุกฝ่ายก็เห็นว่าพรรคร่วมรัฐบาลทำกิจกรรมลงพื้นที่ในเวลาราชการ ไม่ใช่นอกเวลาราชการ แบบนี้ กกต.จะตีความอย่างไร

'เพื่อไทย' คาด!! กลางเดือนนี้เปิดตัวผู้สมัครครบ 400 เขต ชี้!! รอ ‘กกต.’ แบ่งเขตเลือกตั้งอย่างชัดเจน - ยุติธรรม

'เลขาฯ เพื่อไทย' เผยเปิดตัวว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.แล้ว 300 เขต ทั้งหมด 400 เขต คาดทยอยเปิดตัวแล้วเสร็จกลางเดือนม.ค.นี้ รอ ‘กกต.’ แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ด้วยความบริสุทธิ์-ยุติธรรม 

(4 ม.ค. 66) ที่พรรคเพื่อไทย นายประเสริฐ จันทรรวงทอง ส.ส.นครราชสีมา และเลขาธิการพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงความคืบหน้าการเปิดตัวว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.ทั้ง 400 เขต ว่า ขณะนี้พรรคได้เปิดตัวไปแล้ว 300 เขต ยังเหลืออีกประมาณ 100 เขต คาดว่าในส่วนที่เหลือจะสามารถเปิดตัวแล้วเสร็จภายในกลางเดือน ม.ค.นี้ ซึ่งสาเหตุที่ยังไม่เปิดตัวให้ครบทุกเขตทั้งที่พรรคเพื่อไทยมีผู้ซึ่งประสงค์สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ครบทุกเขต ส่วนหนึ่งมาจากผู้สมัครในแต่ละเขตนั้นมีมากกว่า 1 คน จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่พรรคจะต้องพิจารณาคัดเลือกซึ่งประสงค์สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ที่มีความเหมาะสมมากที่สุด ขณะเดียวกัน ยังรอการแบ่งเขตเลือกตั้งของคณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.) ซึ่งทราบจาก กกต.ว่า หลังจากที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) ได้ประกาศจำนวนประชากรตอนสิ้นปี 65 แล้ว จึงจะมีประกาศการแบ่งเขตการเลือกตั้งตามมา

กกต.ติดอาวุธความรู้ แลกเปลี่ยนความเห็น

วันที่ 19 มกราคม 2566 นางสาวพัชรินทร์ รัตนวิภา ผู้อำนวยการสำนักประชาสัมพันธ์ ระดมความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อ 'ความร่วมมือระหว่างส่วนกลางและจังหวัดในการรณรงค์การใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส.' กับผู้เข้ารับการอบรมโครงการให้ความรู้แก่ภาคีเครือข่ายประชาสัมพันธ์ระดับจังหวัด รุ่นที่ 1 โดยการจัดอบรมครั้งนี้เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่ภาคีเครือข่ายของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารการเลือกตั้งทุกระดับ 

ครม. ไฟเขียว เกือบ 6 พันล้านบาท ให้ กกต.จัดการการเลือกตั้งทั่วไป

(24 ม.ค. 66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.อนุมัติหลักการให้สำนักงานคณะกรรมการเลือกตั้ง จำนวน 5,945 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการควบคุมและการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไป ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ แบ่งเป็นค่าใช้จ่าย รายการค่าใช้จ่ายในการควบคุมและจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่ดำเนินการโดยสำนักงาน กกต. จำนวน 5,104,546 บาท อาทิ ภารกิจในการจัดการเลือกตั้ง ส.ส. ภารกิจเตรียมความพร้อมบุคลากร วิทยากร และเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกระดับ รวมทั้งภารกิจจัดการเลือกตั้งกรณีคณะกรรมการการเลือกตั้งสั่งให้มีการลงคะแนนเลือกตั้งใหม่ แทนตำแหน่งที่ว่าง

ขณะเดียวกันยังมีรายการค่าใช้จ่ายในการควบคุมและจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ดำเนินการโดยหน่วยงานสนับสนุน ทั้งราชการและรัฐวิสาหกิจ รวม 10 หน่วยงาน วงเงิน  840,614,250 ล้านบาท อาทิ  ภารกิจสนับสนุนการควบคุมและการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนอกราชอาณาจักร โดยกระทรวงการต่างประเทศ ภารกิจการรักษาความสงบเรียบร้อยโดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ภารกิจสนับสนุนการรณรงค์เผยแพร่ความรู้การเลือกตั้ง โดยกระทรวงศึกษาธิการ ภารกิจขนส่งบัตรเลือกตั้งและวัสดุอุปกรณ์การเลือกตั้ง หนังสือแจ้งเจ้าบ้านและอื่น ๆ โดย บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เป็นต้น


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top