Wednesday, 1 May 2024
กกต

กกต. พร้อมอำนวยความสะดวกกลุ่มเปราะบาง  ทั้ง ‘คนพิการ-ทุพพลภาพ-ผู้สูงอายุ’ ใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส.

กกต. พร้อมอำนวยความสะดวกคนพิการ-ทุพพลภาพ-ผู้สูงอายุ ใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส. พร้อมอบรม จนท.ให้มีความรู้ความเข้าใจ ย้ำตระหนักถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เสมอภาค

( 27 มี.ค.66 )สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แจ้งว่า ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะมีขึ้น กกต.คำนึงถึงสิทธิในการเลือกตั้งของคนพิการทุพพลภาพและผู้สูงอายุ ตามที่มาตรา 92 พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. 2561 บัญญัติไว้ จึงจะได้จัดให้มีการอำนวยความสะดวกสําหรับการออกเสียงลงคะแนนของคนพิการ หรือทุพพลภาพ หรือผู้สูงอายุไว้เป็นพิเศษ โดยการจัดวางคูหาออกเสียงลงคะแนนในที่เลือกตั้ง จะอยู่ห่างจากคูหาอื่นอย่างน้อย 1.50 เมตร โต๊ะวางคูหาออกเสียงลงคะแนนมีความสูงไม่เกิน 0.75 เมตร และจัดเก้าอี้ไว้ในคูหาออกเสียงลงคะแนนด้วย ส่วนคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง (กปน.) จะคำนึงถึงลักษณะทางกายภาพของคนพิการ ทุพพลภาพ และผู้สูงอายุ หากไม่สามารถทำเครื่องหมายลงในบัตรเลือกตั้งได้ ให้กปน. หรือญาติหรือบุคคลที่ไว้วางใจ เป็นผู้ทำเครื่องหมายลงในบัตรเลือกตั้งแทน โดยความยินยอมและเป็นไปตามเจตนาของคนพิการ หรือทุพพลภาพ หรือผู้สูงอายุนั้น โดยกปน.จะบันทึกการกระทำดังกล่าวลงในรายงานเหตุการณ์ประจำที่เลือกตั้ง (ส.ส. 5/6) และให้ถือว่าเป็นการออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ

‘ก้าวไกล’ ร่วม 3 พรรค ร้อง กกต.ปมเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร แนะ ใช้วิธีเลือกตั้งทางไปรษณีย์-ไม่เลือกตั้งกระทบวันทำงาน

‘ก้าวไกล’ ร่วมอีก 3 พรรคการเมือง ยื่น กกต. ประสานกระทรวงการต่างประเทศ อำนวยความสะดวกเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร ‘ชัยธวัช’ ชี้ ตอนนี้ปัญหาเพียบ สร้างความลำบากผู้ใช้สิทธิ สงสัยเอื้อประโยชน์ผู้มีอำนาจกลุ่มใดหรือไม่ เรียกร้องใช้วิธีเลือกตั้งทางไปรษณีย์-ไม่เลือกตั้งวันทำงาน

(31 มี.ค. 66) ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นายชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคก้าวไกล ร่วมกับตัวแทนอีก 3 พรรคการเมือง ประกอบด้วย นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ ตัวแทนพรรคเพื่อไทย, พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการพรรคประชาชาติ และนายสมชัย ศรีสุทธิยากร ประธานยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนนโยบายพรรคเสรีรวมไทย ยื่นหนังสือถึง กกต. เพื่อขอให้แก้ไขวิธีการเลือกตั้งของคนไทยนอกราชอาณาจักร

นายชัยธวัช กล่าวว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ประชาชนมีความคาดหวังสูงมาก เพราะมองเป็นโอกาสเปลี่ยนชีวิตและเปลี่ยนประเทศ แต่ยิ่งใกล้วันเลือกตั้งเท่าไร ประชาชนกลับยิ่งไม่เชื่อมั่นมากขึ้น ว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะดำเนินไปอย่างเสรีและเป็นธรรมได้จริง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การจัดการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร การพิมพ์บัตรเลือกตั้ง การรายงานผลการเลือกตั้งแบบเรียลไทม์ วันนี้ก็ยังไม่ชัดเจนว่าจะเป็นอย่างไร

ปัญหาของการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร มีทั้งการกำหนดวันหย่อนบัตรเลือกตั้งเป็นวันทำงาน เช่น เบลเยียม มาเลเซีย การไม่มีการเลือกตั้งทางไปรษณีย์ ประชาชนต้องไปใช้สิทธิด้วยตัวเองที่สถานทูตหรือหน่วยเลือกตั้ง เช่น เนเธอร์แลนด์ ฟิลิปปินส์ หรือต่อให้มีการเลือกตั้งแบบไปรษณีย์ ก็กำหนดวันส่งบัตรเลือกตั้งกลับไปที่สถานทูต เร็วอย่างไม่สมเหตุสมผล ไม่อำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้สิทธิ เช่น ญี่ปุ่นและนอร์เวย์ กำหนดส่งบัตรกลับถึงสถานทูตวันที่ 28 เมษายน ซึ่งเป็นเวลาที่เหลือมากเกินความจำเป็นในการส่งบัตรกลับประเทศไทย ที่จะต้องส่งถึงเขตเลือกตั้งก่อน 17.00 น. ของวันที่ 14 พฤษภาคม

“การใช้ความสะดวกความสบายของผู้จัดการเลือกตั้งมากำหนดการเลือกตั้ง แทนที่จะมุ่งรักษาสิทธิคนไทยในต่างประเทศ ตั้งคำถามได้ว่าเป็นการเอื้อประโยชน์ให้ผู้มีอำนาจคนใดคนหนึ่งหรือไม่ เพราะผลการเลือกตั้งเมื่อปี 2562 ชัดเจนมากว่าคนไทยนอกราชอาณาจักรส่วนใหญ่ ไม่ได้เลือกผู้มีอำนาจในปัจจุบัน จึงเป็นไปได้หรือไม่ ที่มีความพยายามจะลดสัดส่วนคะแนนจากคนกลุ่มนี้ แทนที่จะส่งเสริม” นายชัยธวัช กล่าว

ดังนั้น จึงขอเสนอให้ กกต. ประสานกระทรวงการต่างประเทศ นำวิธีเลือกตั้งทางไปรษณีย์กลับมาเป็นวิธีหลัก ส่วนกรณีเลือกตั้งที่สถานทูต ไม่สมควรจัดการเลือกตั้งในวันธรรมดา และขอให้มีการกำหนดวันส่งบัตรเลือกตั้งกลับมายังสถานทูตไทย โดยมีระยะเวลาที่ไม่เร่งรัดประชาชนมากเกินไป เช่น ให้ส่งกลับมาสถานทูต วันที่ 4 พฤษภาคม ซึ่งเป็นเวลาที่เพียงพอในการส่งบัตรกลับประเทศไทย อีกทั้งขอให้สถานทูตที่มีความพร้อม สามารถนับคะแนนที่สถานทูตและส่งผลการนับคะแนนที่รับรองกลับประเทศไทย โดยไม่ต้องส่งบัตรกลับมานับในประเทศ ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 17 ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566 เพื่อแก้ไขปัญหาที่ไม่สามารถส่งบัตรเลือกตั้งกลับประเทศทันเวลา

เลขาธิการพรรคก้าวไกล กล่าวต่อว่า ส่วนเรื่องบัตรเลือกตั้งในประเทศ โดยเฉพาะบัตรเลือกตั้ง ส.ส.เขต ที่ระบุแค่หมายเลข ในชั้นกรรมาธิการร่างกฎหมายเลือกตั้ง พรรคร่วมฝ่ายค้านได้พยายามผลักดันให้หมายเลขผู้สมัคร ส.ส.เขต และหมายเลขพรรคการเมือง เป็นเบอร์เดียวกัน เพื่อสะดวกต่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และแสดงความยึดโยงระหว่างพรรคกับผู้สมัคร แต่ก็ไม่สำเร็จ

กกต. ไฟเขียว 49 พรรค หาเสียงตามเบอร์ที่จับได้ หลังตรวจสอบเอกสารครบถ้วนแล้ว ไร้ปัญหา

กกต.ไฟเขียว 49 พรรค หาเสียงตามเบอร์ที่จับได้ หลังตรวจสอบเอกสารครบถ้วน แจงไม่มีอำนาจตรวจสอบคุณสมบัติแคนดิเดตนายกฯ เหตุกม.กำหนดให้ทำหน้าที่แค่รับแจ้ง พร้อมยันกกต.พิมพ์บัตรโหลเป็นตามกม.กำหนด 

(4 เม.ย. 66) เวลา 14.45 น. ที่อาคารไอราวัฒพัฒนา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แถลงข่าวภายหลังการรับสมัครส.ส.แบบบัญชีรายชื่อในวันแรก ว่า การรับสมัครส.ส.บัญชีรายชื่อในวันนี้ หลังกกต.ได้ตรวจสอบเอกสารที่ 49 พรรคการเมืองที่มาก่อนเวลา 08.30 น. เอกสารครบและสามารถออกใบรับสมัครทั้ง 49 พรรคการเมือง มีคุณสมบัติครบแล้วได้หมายเลขตามลำดับที่จับสลากได้ โดยภาพรวมการรับสมัครงานนี้ค่อนข้างเรียบร้อย มีปัญหาอยู่บ้างคือสถานที่คับแคบ จุดรับสมัครน้อยโดยการรับสมัครในขณะนี้มีพรรคการเมืองแบบบัญชีรายชื่อจำนวน 53 พรรคการเมือง และรับแจ้งรายชื่อบุคคลซึ่งพรรคการเมืองจะเสนอเป็นนายกรัฐมนตรี หรือแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีจำนวน 16 พรรค 20 คน

นายแสวง ยังกล่าวด้วยว่า รายชื่อผู้สมัครส.ส.แบบบัญชีรายชื่อทั้งหมดกกต. จะดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติเช่นเดียวกับส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง หากพบว่าผู้สมัครรายใดไม่มีคุณสมบัติจะไม่ประกาศรายชื่อ ซึ่งผู้ที่ไม่ได้รับการประกาศรายชื่อสามารถยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาได้ หากศาลไม่คืนสิทธิให้พรรคการเมืองก็จะเหลือจำนวนผู้สมัครเท่าที่มีอยู่ ส่วนแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีกฎหมายกำหนดให้กกต.เป็นเพียงผู้รับแจ้งชื่อเท่านั้น ไม่ได้มีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติ

‘อรรถวิชช์’ ย้ำ!! แบ่งเขตแบบนี้ ประชาชนสับสน ส.ส.ทำงานยากขึ้น ลดความผูกพันผู้คนในพื้นที่

(7 เม.ย. 66) ดร.อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี รองหัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า กล่าวหลังศาลปกครองพิพากษายกฟ้องคดี กกต. ประกาศแบ่งเขตเลือกตั้ง กทม. ไม่ขัดต่อกฎหมายว่า ถือเป็นสร้างบรรทัดฐานใหม่ เห็นได้ชัดว่า การเลือกตั้งรอบนี้ กกต. ยึดหลักเกณฑ์ค่าเฉลี่ย 10% คำนวณหา ส.ส. 1 คนต่อจำนวนราษฎร เป็นครั้งแรก ซึ่งตนได้เน้นย้ำว่า หลักเกณฑ์ดังกล่าว ส่งผลให้ละลายเขตเลือกตั้ง และ ศาลมีดุลยพินิจว่า การจะใช้หลักเกณฑ์คำนวณหา ส.ส.นั้น ล้วนเป็นอำนาจของ กกต. ในการกำหนดเกณฑ์ 10% โดยถือหลักจำนวนราษฎรสำคัญกว่า การนำอำเภอมาใช้แบ่งเขตเลือกตั้ง ก็แปลว่าในอนาคตการเดินลงพื้นที่ของ ส.ส. จะลำบากมากขึ้น เพราะเขตเลือกตั้งต่อจากนี้จะถูกแบ่งเขตได้ตลอดเวลา

กกต. แจ้ง 10 ข้อห้ามทำในช่วงเลือกตั้ง ฝ่าฝืนเจอโทษหนัก ‘เพิกถอนสิทธิ-ยุบพรรค’

(7 เม.ย.66) สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เน้นย้ำเกี่ยวกับ ‘ข้อห้าม’ ไม่ให้ผู้สมัครหรือผู้ใดกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนให้แก่ตนเองหรือผู้สมัครอื่น หรือบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองใด ด้วยวิธีการ

1.จัดทำให้ เสนอให้ สัญญาว่าจะให้ หรือจัดเตรียมเพื่อจะให้ ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใด อันอาจคำนวณเป็นเงินได้แก่ผู้ใด

2.ให้ เสนอให้ หรือสัญญาว่าจะให้เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อมแก่ชุมชน สมาคม มูลนิธิ วัด สถานศึกษา สถานสงเคราะห์หรือสถาบันอื่นใด

3.ทำการโฆษณาหาเสียงด้วยการจัดให้มีมหรสพหรือการรื่นเริงต่าง ๆ

4.เลี้ยงหรือรับจะจัดเลี้ยงผู้ใด

5.หลอกลวง บังคับ ขู่เข็ญ ใช้อิทธิพลคุกคาม ใส่ร้ายด้วยความเท็จ หรือจูงใจให้เข้าใจผิด ในคะแนนนิยมของผู้สมัครหรือพรรคการเมือง

กกต.จัดเวทีเลือกตั้งเชิงสมานฉันท์เลือกตั้งสร้างสรรค์ กกต.กาฬสินธุ์ เปิดเวที รับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน ในการเลือกตั้ง ส.ส. 14 พ.ค.นี้ เป็นไปด้วยโปร่งใส ไม่หาเสียงใส่ร้ายป้ายสี นำเสนอนโยบายที่แก้ไขปัญหาให้กับปปช.อย่างแท้จริง

วันที่ 9 เมษายน 2566 ที่ห้องประชุมทศพร โรงแรมริมปาว อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ นายศุภศิษย์ กอเจริญยศ ผวจ.กาฬสินธุ์ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการปฏิรูปการเมืองสุจริตบนฐานของการเลือกตั้ง (เลือกตั้งเชิงสมานฉันท์) กิจกรรมเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ซึ่งสำนักงาน กกต.ประจำ จ.กาฬสินธุ์จัดขึ้น เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเลือกตั้งเชิงสมานฉันท์ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง เกี่ยวกับกฎหมาย ระเบียบ วิธีปฏิบัติ ในการเลือกตั้งแก่ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ผู้สนับสนุน สื่อมวลชน และประชาชน

นอกจากนี้มีการเปิดเวทีเสวนา หัวข้อ 'การเมืองสุจริต' โดยมีนายสุรพงษ์ ทิพย์โอสถ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (ผอ.กกต.) ประจำ จ.กาฬสินธุ์ นายภูมิสิทธิ์  ขัตติยานุกูลกิจ นายฤทธิรงค์ พิลาไชย นายสุรเดช เคราะห์ดี ผู้ตรวจการเลือกตั้งประจำ จ.กาฬสินธุ์ พร้อมคณะ พล.ต.ต.มนตรี จรัลพงศ์ ที่ปรึกษาผวจ.กาฬสินธุ์ นายสมบูรณ์ นาสาทร อุปนายกสมาคมนักข่าวกาฬสินธุ์ ผู้สมัครและตัวแทนผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.กาฬสินธุ์ ทั้ง 6 คน เครือข่ายภาคประชาชน กลุ่มสตรี ผู้แทนจาก อสม. ประชาชน ผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม

นายสุรพงษ์ ทิพย์โอสถ ผอ.กกต.ประจำ จ.กาฬสินธุ์ กล่าวว่า การรับสมัครการเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขต ทั้ง 6 เขตเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 3-7 เมษายน 2566 ที่ผ่านมาจังหวัดกาฬสินธุ์มีผู้สมัคร รวม 75 คน จาก 17 พรรคการเมือง ซึ่งกิจกรรมครั้งนี้ที่ กกต.จ.กาฬสินธุ์จัดขึ้น 

ลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้า วันนี้วันสุดท้ายแล้ว!! เช็กขั้นตอน ยื่นด้วยตัวเอง-ผ่านแอปฯ ‘Smart Vote’

‘กกต.’ เปิดลงทะเบียนใช้สิทธิ เลือกตั้งล่วงหน้า ในเขต-นอกเขต-นอกราชอาณาจักร วันที่ 9 เม.ย. วันสุดท้าย เช็กขั้นตอนลงทะเบียน

(9 เม.ย. 66) ตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้กำหนดวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เป็นการทั่วไป ในวันอาทิตย์ที่ 14 พ.ค. 2566 ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. โดยในระหว่างวันที่ 25 มี.ค. – 9 เม.ย. กำหนดให้เป็นวันลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าในเขตเลือกตั้ง นอกเขตเลือกตั้ง และนอกราชอาณาจักร

ทั้งนี้ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มีความประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าในวันอาทิตย์ที่ 7 พ.ค. 2566 ยังสามารถลงทะเบียนได้วันนี้ (9 เม.ย.) เป็นวันสุดท้าย กกต.จึงขอประชาสัมพันธ์ให้ดำเนินการลงทะเบียนให้แล้วเสร็จ ภายในวันที่ 9 เม.ย. 66

กกต.เพชรบูรณ์จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้งแก่ คณะกรรมการประจำเขตเลือกตั้ง และ ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.

ที่หอประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์ นายกฤษณ์ คงเมือง ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นประธานเปิดโครงการปฏิรูปการเมืองสุจริตบนพื้นฐานของการเลือกตั้ง กิจกรรมอบรมเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเลือกตั้งเชิงสมานฉันท์ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง  โดยมี นายสุวิทย์ ศรีวงษา ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ กล่าวรายงาน พร้อมด้วยคณะกรรมการประจำเขตเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งทั้ง 6 เขต และผู้สนับสนุนผู้สมัคร เข้าร่วมรับฟัง

นายสุวิทย์ ศรีวงษา ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ กล่าวว่า การให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมรับฟังประกอบ ด้วยคณะกรรมการประจำเขตเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งทั้ง 6 เขตเลือกตั้ง และผู้สนับสนุนผู้สมัครจำนวน 181 คน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้ และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับกฎหมาย ระเบียบ วิธีปฏิบัติ ข้อห้ามและความผิด หรือการกระทำที่อาจสุ่มเสี่ยงต่อการฝ่าฝืนกฎหมายของผู้สมัคร หรือผู้เกี่ยวข้อง ทำให้การหาเสียงเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายปราศจากการใส่ร้ายป้ายสีซึ่งกันและกัน และเพื่อสร้างการยอมรับเรื่องการ รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย รู้รักสามัคคี การรักษาความเป็นมิตร ก่อนและหลังการเลือกตั้ง แก่ผู้สมัครรับเลือกตั้ง อันจะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม และส่งผลให้การเลือกตั้งเป็นที่ยอมรับของประชาชน

‘โรม’ จวก!! กกต. ปมเว็บลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้าล่ม ซัด!! ควรขยายเวลาเพิ่ม ไม่ใช่ขอโทษแล้วเงียบหาย

(11 เม.ย.66) รังสิมันต์ โรม โฆษกพรรคก้าวไกล ทวงถามคำตอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กรณีการขยายวันลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้า นอกเขต และนอกราชอาณาจักร ที่พรรคก้าวไกลเสนอให้เพิ่มไปจนถึงช่วงวันสงกรานต์ ว่า กกต.ต้องมีคำตอบเรื่องนี้ ไม่ใช่แค่ออกมาพูดขอโทษแบบส่ง ๆ แต่ไม่สามารถให้ความชัดเจนได้ว่าสุดท้ายจะดำเนินการอย่างไร เพราะเรื่องนี้ไม่ใช่ความผิดของประชาชน กกต. มีหน้าที่ทำให้เว็บไซต์ลงทะเบียนใช้งานได้ตามเวลาที่ขีดเส้นไว้ การอ้างว่าเว็บไซต์ล่มเพราะมีประชาชนเข้าใช้งานจำนวนมากพร้อมกัน เป็นเหตุผลที่รับฟังไม่ได้ ในเมื่อ กกต. ควรคาดการณ์เหตุการณ์นี้ได้อยู่แล้ว มีทั้งงบประมาณเป็นพันล้านจากภาษี มีทั้งเวลาเตรียมการทำงาน ทำไมยังปล่อยให้เรื่องแบบนี้เกิดขึ้น

ถึงที่สุด หาก กกต. ยังไม่มีคำตอบ คงต้องเตือนว่าระวังจะโดนประชาชนฟ้องร้อง เนื่องจากรัฐธรรมนูญ มาตรา 50 กำหนดให้การเลือกตั้งเป็นหน้าที่ของคนไทย การที่ประชาชนคนหนึ่งไม่สามารถไปใช้สิทธิได้ ทั้งที่เขาไม่ได้ต้องการอย่างนั้น จะทำให้เขาถูกตัดสิทธิหลายข้อเป็นเวลาถึง 2 ปี ตามที่ระบุใน พ.ร.ป.เลือกตั้ง ส.ส. มาตรา 35 เช่น ไม่มีสิทธิร่วมลงชื่อยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้ง ส.ส., ไม่มีสิทธิรับสมัครเป็น ส.ส. หรือสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือ ส.ว., ขาดคุณสมบัติที่จะดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง นายก อบจ. ที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น และทุกตำแหน่งที่ผ่านการเลือกตั้ง

“มันใช่เรื่องหรือไม่ ที่ประชาชนต้องถูกจำกัดสิทธิทั้งที่เขาไม่ได้ทำผิดอะไร เขาต้องการไปเลือกตั้ง แต่หน่วยงานจัดการเลือกตั้งกลับไม่สามารถอำนวยความสะดวกให้เขาได้ ทั้งที่เป็นภารกิจหลักขององค์กร หาก กกต. ยังทำหน้าที่ไม่คุ้มค่าเงินภาษีแบบนี้ อาจถูกประชาชนฟ้องร้อง ดังนั้นรีบออกมาให้คำตอบดีกว่า ว่าจะขยายวันลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้า หรือมีมาตรการอย่างไรเพื่อรักษาสิทธิของประชาชน ไม่ให้ต้องรับผลกระทบจากเหตุที่มาจากความผิดพลาดของ กกต. เอง” รังสิมันต์กล่าว

‘โซเชียล’ ท้วง!! หลัง กกต. ชี้!! แจกเงินดิจิทัลไม่ผิด หวั่น!! สร้างบรรทัดฐานใหม่ ใช้เงินแผ่นดินหาเสียง

(12 เม.ย.66) จากเฟซบุ๊ก ‘Sompob Pordi' ของ นายสมภพ พอดี นิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความถึงนายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง ความว่า…

ตามที่มีรายงานข่าวว่า ท่านได้กล่าวถึงนโยบายพรรคการเมืองหนึ่งที่สัญญาว่า หากได้เป็นรัฐบาลแล้ว จะแจกเงินดิจิทัลจำนวน ๑๐,๐๐๐ บาทให้ประชาชนทุกคนที่อายุ ๑๖ ปีขึ้นไปนั้นว่า…

…เป็นนโยบายที่ใช้งบประมาณแผ่นดินอยู่แล้ว หากได้ไปเป็นรัฐบาล นโยบายลักษณะนี้จะไม่ผิดกฎหมายสัญญาว่าจะให้ ซึ่งนโยบายที่จะเข้าข่ายสัญญาว่าจะให้ คือการใช้เงินที่ไม่ใช่เงินของแผ่นดิน...
ผมใคร่ขอให้ท่านพิจารณาข้อความตามพรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการ เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มาตรา ๗๓ วรรค ๑ ซึ่งมีข้อความว่า…

ผู้สมัครหรือผู้ใด จัดทำให้ เสนอให้ สัญญาว่าจะให้ หรือจัดเตรียมว่าจะให้ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใด…มีความผิดตามกฎหมาย โดยมีบทลงโทษจำคุกตั้งแต่ ๑ ถึง ๑๐ หรือปรับตั้งแต่ ๒๐,๐๐๐ ถึง ๒๐๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับนั้น

ว่า มีถ้อยคำใดในกฏหมายดังกล่าวที่ระบุว่าการสัญญาว่าจะให้ จะต้องเป็นเงินของผู้สัญญาเอง หากเป็นเงินของแผ่นดิน ให้ถือว่าไม่เป็นความผิด หรือไม่? 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top