Wednesday, 1 May 2024
WeeklyColumnist

อย่ามองข้าม “ตลาดชนบทอินเดีย”

คนทั่วไปมักจะมองว่าอินเดียมีแต่ผู้คนที่ยากจนไม่มีกำลังซื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตชนบท ซึ่งแน่นอนว่าผู้บริโภคอินเดียในเขตชนบทย่อมมีกำลังซื้อต่ำกว่าคนในเขตเมือง แต่ถ้าคิดให้ดีจะพบว่าไม่ว่าคนรวยหรือคนจน ยังไงๆก็ต้องกินต้องใช้สินค้าที่จำเป็นขั้นพื้นฐานอยู่แล้ว ซึ่งก็คือสินค้าอุปโภคบริโภคที่นิยมเรียกกันว่า FMCG หรือ Fast-Moving Consumer Goods นั่นเอง โดย FMCG จะเป็นสินค้าอุปโภคบริโภคที่ขายได้เร็วเพราะคนทั่วไปต้องใช้ในชีวิตประจำวันและเป็นสินค้าที่ใช้แล้วหมดไป

ที่สำคัญก็คือ แนวโน้มการบริโภคสินค้า FMCG ในเขตชนบทของอินเดียกลับมีแนวโน้มการขยายตัวในอัตราสูงอย่างต่อเนื่อง โดยตลาดชนบทอินเดียประกอบไปด้วยหมู่บ้านประมาณ 650,000 หมู่บ้าน มีประชากรประมาณ 850 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 70% ของประชากรทั้งหมดของอินเดียและมีสัดส่วนของ GDP อยู่ที่ประมาณ 50% ของ GDP รวมทั้งประเทศ

และด้วยแนวโน้มการขยายตัวในอัตราสูงอย่างต่อเนื่องรวมทั้งมีผู้บริโภคจำนวนมหาศาล ก็เลยส่งผลให้ปัจจุบันบริษัทจําหน่ายสินค้า FMCG  หลายบริษัทในอินเดียกลับมาบุกตลาดชนบทอินเดียอีกครั้ง โดยคาดการณ์ว่าผู้บริโภคในชนบทจะเลือกซื้อสินค้าที่มีแบรนด์แทนสินค้าขายปลีกที่ไม่มีแบรนด์ ซึ่งถือเป็นโอกาสของบริษัทเหล่านี้ในการผลักดันผลิตภัณฑ์อาทิ สบู่ แชมพู บิสกิต เครื่องดื่ม และอาหารแปรรูปในบรรจุภัณฑ์ แม้ว่าอาจจะต้องตั้งราคาต่ำกว่าก็ตาม โดยอุปสงค์ในสินค้า FMCG จากตลาดชนบทเติบโตเร็วกว่าจากตลาดในเมืองมาหลายไตรมาสแล้ว และคาดว่าอุปสงค์ในเมืองเล็กและเขตชนบทจะเติบโตอย่างต่อเนื่องในอนาคต

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา Nestle India วางแผนที่จะขยายการเข้าถึงผู้บริโภคในเขตชนบทเพิ่มขึ้น 120,000 หมู่บ้านภายในปี 2567 โดย Nestle India พยายามที่จะขยายตลาดไปยังเขตชนบทมาหลายปีแล้ว โดยในปี 2560 สินค้าของบริษัทฯ วางจําหน่ายอยู่ในหมู่บ้านราว 1,000 หมู่บ้านทั่วประเทศ แต่ในปี 2561 ตัวเลขเพิ่มขึ้นเป็น 89,000 หมู่บ้าน ทั้งนี้ ยอดขายราว 75% ของ Nestle India มาจากเขตเมือง และที่เหลือมาจากเขตชนบท เพราะฉะนั้นการขยายตลาดไปยังเขตชนบทเพิ่มขึ้นย่อมหมายถึงการปรับสัดส่วนสินค้าหรือการออกสินค้าใหม่ที่ตรงตามความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายมากขึ้น

ทั้งนี้ บริษัท Nielsen ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยตลาดระบุว่ายอดขายสินค้า FMCG ในเขตชนบทคิดเป็น 39% ของยอดขายสินค้า FMCG ในอินเดียทั้งหมด แสดงให้เห็นว่าตลาดชนบทอินเดียยังเติบโตได้อีกมาก นอกจากนี้ Nielsen ยังระบุอีกว่าตลาด FMCG ในเขตชนบทยังขยายตัวอยู่ในอัตราสูงราว 14.2% ในเดือนธันวาคม 2563 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า ส่วนในเขตเมืองเติบโตเพียง 0.8% เท่านั้น ซึ่งตลาดชนบทในช่วงก่อน COVID-19 เติบโตอย่างเชื่องช้าเนื่องจากข้อจํากัดด้านรายได้ แต่หลังจากเกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทําให้มีการอพยพออกจากเมืองใหญ่มากขึ้น และการบริโภคในเขตเมืองเล็กและชนบทก็เติบโตอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ในอนาคตการขยายตัวของรายได้ต่อหัวในตลาดเหล่านี้อาจมีความท้าทายอยู่ บริษัท FMCG จึงอาจจะใช้กลยุทธ์ในการออกสินค้าแบบเน้นความคุ้มค่า (Value Pack) เพื่อที่จะแข่งขันกับคู่แข่งในท้องถิ่นได้

Marico เป็นอีกหนึ่งบริษัท FMCG ของอินเดียที่ได้เพิ่มจํานวนผู้ค้าส่งในเขตชนบท ซึ่งทําให้บริษัทฯอาจจะสามารถขยายการกระจายสินค้าได้ถึง 20% ในอีกไม่กีปีข้างหน้า เช่นเดียวกับบริษัทผลิตบิสกิต Britannia Industries ที่ได้เพิ่มจํานวนผู้จัดจําหน่ายในตลาดชนบทจาก 19,000 รายในเดือนมีนาคม 2563 เป็น 23,000 รายในเดือนธันวาคม 2563

ทั้งนี้ การบริโภคในเขตชนบทอินเดียเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องซึ่งเป็นผลมาจากระดับรายได้และความต้องการสินค้าใหม่ๆที่เพิ่มขึ้น โดยตลาดสินค้า FMCG ในเขตชนบทคาดว่าจะเติบโตจาก 2.36 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ  ในปี 2561 เพิ่มเป็น 2.2 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2568 อย่างไรก็ตาม การซื้อขายในตลาดชนบทส่วนใหญ่ยังเป็นการค้าขายแบบค้าปลีกตามร้านค้าขนาดเล็กและไม่เป็นระบบ (Kirana Store) หรือเรียกง่ายๆแบบบ้านเราก็คือร้านโชห่วยนั่นเอง ผู้ค้าสินค้า FMCG ขนาดใหญ่ที่เป็นระบบจึงอาจจะวางแผนเจาะตลาดโดยการสร้างการรับรู้แบรนด์ผ่านร้านค้าปลีกที่ทันสมัย และมีการกระจายสินค้าผ่านอีคอมเมิร์ซไปพร้อมกัน เนื่องจากคาดว่าการจับจ่ายเพื่อซื้อสินค้า FMCG ในอินเดียในปี 2563 กว่า 40% จะเป็นการซื้อขายออนไลน์ ทั้งยังคาดว่าตลาด FMCG ออนไลน์ในอินเดียในปี 2563 มีมูลค่ากว่า 4.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเติบโตอย่างรวดเร็วจาก 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2560

อย่างไรก็ตาม แม้การบริโภคสินค้า FMCG ส่วนใหญ่จะมาจากเขตเมือง แต่การบริโภคสินค้า FMCG บางประเภท ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกาย ผลิตภัณฑ์ดูแลเสื้อผ้า และเครื่องดื่มร้อนราว 40% มาจากเขตชนบท ส่วนสินค้าประเภทอาหาร เบเกอรี่ และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม คาดว่าจะเติบโตทั้งในเขตเมืองและเขตชนบท โดยผู้เล่นสําคัญในตลาด FMCG อินเดียในปัจจุบัน ได้แก่ HUL (Hindustan Unilever Ltd.), ITC (Indian Tobacco Company), Nestle India, GCMMF (AMUL), Dabur India, Asian Paints (India), Cadbury India, Britannia Industries, Procter & Gamble (P&G) Hygiene and Health Care, Marico Industries, Nirma, Coca-Cola และ Pepsi เป็นต้น โดย HUL และ Dabur India มียอดขายกว่าครึ่งมาจากเขตชนบทของอินเดียซึ่งมีประชากรราว 850 ล้านคน และเป็นคนที่อยู่ในวัยทํางานราว 400 ล้านคน

โดยเฉลี่ยแล้วชาวอินเดียในเขตชนบทมีกําลังซื้อน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของชาวอินเดียในเขตเมือง แต่ก็ถือเป็นตลาดใหม่ (Untapped Market) ที่ผู้เล่น FMCG หลายรายกําลังพยายามเข้าไปตีตลาดให้ได้ และด้วยสาเหตุที่หลายบริษัทยังคงมีมาตรการให้พนักงานทํางานที่บ้าน ประกอบกับการอพยพย้ายกลับเมืองเล็กหลังมาตรการล็อคดาวน์ในเดือนมีนาคม 2563 ทําให้การบริโภคในเมืองรองและชนบทเติบโตขึ้น นอกจากนี้ การเข้าถึงสมาร์ทโฟนและอินเทอร์เน็ตรวมถึงความนิยมในอีคอมเมิร์ซก็เพิ่มขึ้นอีกด้วย ทําให้ตลาดชนบทเป็นที่น่าสนใจไม่แพ้ตลาดในเมืองใหญ่เช่นกัน

ก็ขอฝากส่งท้ายไว้ว่าอินเดียยังมีอะไรให้เราแสวงหาอีกมากมายโดยเฉพาะ “โอกาส” ที่รอให้เราเปิดใจที่จะพบและคว้าไว้...แม้แต่ “ตลาดชนบท” ที่เรารู้สึกว่ายากจน แต่สุดท้ายก็ยังมี “โอกาส” ให้ทุกคนวิ่งเข้าไปแย่งชิงกันในที่สุด

Philippa of Hainaut และ Charlotte of Mecklenburg-Strelitz สองราชินีผิวสีแห่งราชสำนักอังกฤษ

สัปดาห์ที่แล้วข่าวสงครามสื่อระหว่างสะใภ้หลวงคนดังกับราชสำนักอังกฤษถูกปั่นจนกลายเป็นข่าวใหญ่ดังสนั่น ด้วยบรรดาสื่อต่าง ๆ พากันได้ประโยชน์มากมายมหาศาลจากเรื่องในครอบครัวที่ถือได้ว่าเป็นครอบครัวหมายเลขหนึ่งแห่งสหราชอาณาจักร นั่นคือข่าวการให้สัมภาษณ์ของเจ้าชายแฮร์รี และเมแกน ดยุคและดัชเชสแห่งซัสเซกส์ กับพิธีกรหญิงชื่อดังชาวอเมริกัน โอปราห์ วินฟรีย์ และได้เผยแพร่สู่สายตาผู้คนทั่วโลกเมื่อต้นสัปดาห์ จนกลายเป็นดราม่าในประเด็นเหยียดเชื้อชาติและสีผิว อันอาจนำมาซึ่งความสั่นสะเทือนครั้งสำคัญสู่ราชสำนักอังกฤษ

แต่ราชสำนักอังกฤษไม่ได้ไร้ซึ่งประสบการณ์ ด้วยผ่านเรื่องราวต่าง ๆ มาแล้วมากมายแล้ว และตกผลึกจนแกร่งกล้าสามารถ จึงได้ส่งจดหมายสั้น ๆ ขนาด สี่ประโยค สามย่อหน้า กับหนึ่งคำขาด เพื่อสยบดราม่าจากการสัมภาษณ์สองชั่วโมงดังนี้ : 

- ย่อหน้าแรก หนึ่งประโยค : เพิ่งจะรู้จากการสัมภาษณ์ในทีวีหรือที่นสพ.ถูกเอามาประโคมข่าวเองว่า พระชายาของเจ้าชายแฮร์รี่ต้องทุกข์ระทมขนาดไหนตลอดเวลาที่ผ่านมา น่าสงสารจังเลย (แต่ก็ทำให้คนที่พอจะมีปัญญาเข้าใจว่า นี่เป็นคำถามซึ่งถามว่า แล้วทำไมตอนนั้นไม่เห็นบอกหรือพูดอย่างนี้เลย ทั้ง ๆ ที่อยู่ในราชสำนักตั้งสองสามปี)

- ย่อหน้าที่สอง สองประโยค : เรื่องที่พระองค์พูดนี่ร้ายแรงนะ แต่ทำไมพวกเราไม่รู้เรื่องเลย และจำไม่ได้ด้วยซํ้าว่า มีเรื่องที่พระองค์พูดเกิดขึ้นด้วย แต่เดี๋ยวพวกเราจะคุยกันเองในครอบครัว (อันเป็นการปฏิเสธอย่างกึ่งสุภาพกึ่งเลือดเย็นว่า เป็นเรื่องไม่จริง และคนอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับราชสำนักไม่สมควรที่จะเข้ามายุ่งเกี่ยวด้วย)

- ย่อหน้าสุดท้าย หนึ่งประโยค : พวกเราจะรักพระองค์ทั้งสามคนเสมอ (ซึ่งเป็นการตัดบัวแบบไม่เหลือใย กลายเป็นคำไว้อาลัยราวกับทั้งสามคนได้ตายจากไปแล้ว ซํ้ายังจงใจละเลยไม่กล่าวถึงลูกคนที่กำลังจะเกิดเลย)

- และที่สำคัญที่สุดคือ คำขาดที่ระบุว่า ENDS” ตัวพิมพ์ใหญ่ให้เห็นกันชัดๆ (ซึ่งหมายความว่า สำหรับพวกเราแล้วเรื่องนี้ถือว่าจบ และจะไม่มีการพูดถึงเรื่องนี้อีกต่อไป)

อันที่จริงแล้วตามลำดับการสืบราชสันตติวงศ์แห่งสหราชอาณาจักร (Succession to the British throne) มีพระบิดาของเจ้าชายแฮร์รี เจ้าชายชาร์ลส์ (เจ้าชายแห่งเวลส์) ทรงเป็นรัชทายาทอันดับหนึ่ง และพระเชษฐาของเจ้าชายแฮร์รี เจ้าชายวิลเลียม (ดยุกแห่งเคมบริดจ์) ทรงเป็นรัชทายาทอันดับที่สอง ส่วนเจ้าชายแฮร์รีทรงเป็นรัชทายาทอันดับที่หก ถัดจาก พระโอรส พระธิดา ของเจ้าชายวิลเลียมอีกสามพระองค์ โดย 20 ลำดับแรกในการสืบราชสันตติวงศ์แห่งสหราชอาณาจักรล้วนแล้วแต่เป็นพระราชโอรส พระราชธิดา พระราชนัดดา และพระราชปนัดดา สายตรงในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ทั้งสิ้น และหากได้ทำการศึกษาไล่เรียงประวัติศาสตร์ราชสำนักอังกฤษแล้ว จะพบว่าราชสำนักอังกฤษมีสะใภ้หลวงซึ่งมีเชื้อสายผิวสีมาแล้วถึงสองพระองค์ และทั้งสองพระองค์ต่างทรงได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ อันได้แก่ Philippa of Hainaut และ Charlotte of Mecklenburg-Strelitz

Philippa of Hainaut (24 มิถุนายน ค.ศ. 1310 (หรือ ค.ศ. 1315) - 15 สิงหาคม ค.ศ. 1369) ทรงเป็นธิดาของ William I (Count of Hainaut) และ เจ้าหญิง Joan of Valois ผู้ทรงเป็นพระปนัดดาใน พระเจ้า Philip III แห่งฝรั่งเศส สืบเนื่องด้วยพระเจ้า Edward II แห่งอังกฤษทรงตัดสินพระทัยว่า การเป็นพันธมิตรกับ Flanders (ปัจจุบันหมายถึงพื้นที่ทางตอนเหนือของเบลเยียม ซึ่งใช้ภาษาดัตช์ ในทางประวัติศาสตร์ ครอบคลุมบางส่วนของ เบลเยียม ฝรั่งเศส และเนเธอร์แลนด์) จะเป็นประโยชน์ต่ออังกฤษ และได้ทรงส่ง Bishop Stapledon of Exeter เป็นราชทูตให้เดินทางข้ามเข้าไปในเขต Hainaut ซึ่งครั้งหนึ่งเคยถูกปกครองโดยชนเผ่ามัวร์ เพื่อพิจารณาว่า ธิดาของ Count of Hainaut ผู้ใดจะเหมาะสมที่สุดในการเป็นเจ้าสาวของเจ้าชาย Edward พระราชโอรส 

รายงานของ Bishop Stapledon ซึ่งถวายต่อพระเจ้า Edward II ได้อธิบายรายละเอียดธิดาคนหนึ่งของ Count of Hainaut ถึง Philippa ในวัยเด็กว่า หญิงที่ข้าพระองค์พบเห็น ไม่ใช่หญิงที่มีผมเรียบๆ ธรรมดาทั่วไป แต่เป็นสีน้ำเงิน - ดำและน้ำตาล ... ใบหน้าของพระองค์ได้สัดส่วนดี ระหว่างดวงตาและส่วนล่างแคบกว่าส่วนหน้าผากของพระองค์ ดวงตาของพระองค์มีสีน้ำตาลอมดำและลึก จมูกของพระองค์ค่อนข้างเรียบและสม่ำเสมอ ปลายจมูกค่อนข้างกว้างและแบน... รูจมูกและปากค่อนข้างกว้าง ริมฝีปากของพระองค์อวบอิ่มโดยเฉพาะริมฝีปากล่าง ... ฟันล่างของพระองค์ยื่นออกมาเล็กน้อย ฟันบนเห็นได้น้อยมาก ... รูปร่างของพระองค์ทั้งหมดดูดีมาก ๆ จนไม่มีใครสามารถเทียบได้ และไม่มีสิ่งใด ๆ ผิดปกติเท่าที่ชายคนหนึ่งจะสังเกตเห็น

“นอกจากนี้พระองค์ยังมีผิวสีน้ำตาลทั้งตัวเหมือนกับบิดาของพระองค์ โดยพระองค์จะมีอายุเก้าปีในวัน St. John ที่กำลังจะมาถึงตามที่มารดาของพระองค์กล่าว พระองค์ไม่สูงเกินไปหรือเตี้ยเกินไปสำหรับวัยเช่นนี้ พระองค์ดูวางตัวได้อย่างเหมาะสม หญิงคนนี้ได้รับการอบรมสั่งสอนเป็นอย่างดีในทุก ๆ เรื่องที่สมควร ด้วยเพราะตำแหน่งของพระองค์ และบิดา มารดา และครอบครัวได้รับการยกย่องและเป็นที่รัก ทั้งหมดเท่าที่เราสามารถสอบถามและเรียนรู้จากความจริงในทุกสิ่ง สำหรับข้าพระองค์แล้วพระองค์เป็นหญิงที่น่าพอใจมาก” ซึ่ง Philippa น่าจะมีเชื้อสายทางพันธุกรรมของผู้ปกครองในอดีต (ชนเผ่ามัวร์ : ชนมุสลิมที่อาศัยอยู่ที่คาบสมุทรไอบีเรียและแอฟริกาเหนือซึ่งเดิมเป็นชนอาหรับ หรือ เบอร์เบอร์) ซึ่งมีสีผิวที่เข้มกว่าชาวยุโรป

Philippa of Hainault ได้หมั้นกับเจ้าชาย Edward of Windsor รัชทายาทของ พระเจ้า Edward II แห่งอังกฤษ เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ. 1326 ซึ่งต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้า Edward III แห่งอังกฤษ ในเดือนมกราคม ปี ค.ศ. 1327 และหนึ่งปีหลังจากการขึ้นครองราชย์ พระเจ้า Edward III กษัตริย์หนุ่มแห่งอังกฤษก็ได้ทรงอภิเษกกับ Philippa of Hainault ในมหาวิหารยอร์ก ขณะพระชนมายุสิบห้าชันษา และเจ้าสาวอายุสิบสี่ปี สองสามปีแรกหลังการอภิเษกเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก ด้วยในช่วงที่ยังทรงเยาว์วัยของพระเจ้า Edward III สมเด็จพระราชินี Isabella พระราชมารดาได้ทรงปกครองอาณาจักร และทรงปฏิเสธที่จะพระราชทานดินแดนหรือพื้นที่ใด ๆ ให้กับพระสุณิสาซึ่งทำให้ Philippa ไม่มีรายได้จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1330 สองปีหลังจากการอภิเษก Philippa ก็ได้รับการสวมมงกุฎให้เป็นสมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษในมหาวิหาร Westminster ในที่สุดเมื่อ Philippa ตั้งครรภ์เจ้าชาย Edward (The Black Prince : เจ้าชายดำ) ได้ 5 เดือน จากนั้นสมเด็จพระราชินี Philippa ทรงให้ประสูติพระราชโอรส 5 พระองค์และพระราชธิดา 7 พระองค์ รวม 12 พระองค์

นอกจากทรงเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ ยังทรงงานเป็นที่ปรึกษาทางการเมืองแก่พระสวามี และเคยทรงเป็นผู้สำเร็จราชการในคราวที่พระเจ้า Edward III พระสวามีเสด็จไปทรงทำการรบในสงครามร้อยปีอีกด้วย ในช่วงปี ค.ศ. 1346 และ 1347 ในขณะที่ พระเจ้า Edward III ทรงปิดล้อมท่าเรือและเมือง Calais พระองค์ทรงตั้งใจที่จะแขวนคอนายกเทศมนตรีและกลุ่มหัวขโมยเพื่อเป็นการลงโทษที่ชาวเมืองต่อต้านกองทัพของพระองค์เป็นเวลาหลายเดือน สมเด็จพระราชินี Philippa ทรงคุกเข่าต่อหน้าพระสวามี และทรงขอร้องให้พระเจ้า Edward III ทรงไว้ชีวิตชายเหล่านั้น ด้วยคำวิงวอนของพระองค์ พระเจ้า Edward III จึงทรงยอมจำตามที่จะไม่ประหารชีวิต ทำให้มีผู้เรียก สมเด็จพระราชินี Philippa ว่า ราชินีผู้เปี่ยมด้วยความเมตตา” พระองค์ทรงตกจากหลังม้าขณะเสด็จออกล่าสัตว์กับพระสวามีในปี ค.ศ. 1358 และทำให้สะบักไหล่หัก และทรงใช้ชีวิตช่วงสองสามปีสุดท้ายด้วยความเจ็บปวด

สมเด็จพระราชินี Philippa สิ้นพระชนม์ที่พระราชวังวินด์เซอร์ซึ่งเป็นที่ประสูติของพระสวามี เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1369 และพระศพถูกฝังเมื่อวันที่ 9 มกราคม ค.ศ. 1370 ในมหาวิหาร Westminster ซึ่งปัจจุบันยังคงมีหลุมฝังพระศพและพระรูปจำลองของพระองค์อยู่ และ Queen's College แห่งมหาวิทยาลัย Oxford ซึ่งก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 1341 โดย Robert de Eglesfield หนึ่งในอนุศาสนาจารย์ของพระองค์ได้ตั้งชื่อเพื่อถวายพระเกียรติแด่ สมเด็จพระราชินี Philippa และอยู่ภายใต้พระอุปถัมภ์ของพระองค์อีกด้วย

Charlotte of Mecklenburg-Strelitz (19 พฤษภาคม ค.ศ. 1744 - 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1818) ทรงเป็นสมเด็จพระราชินีซึ่งทรงมีเชื้อผิวสีอีกพระองค์หนึ่งแห่งราชสำนักอังกฤษ ทรงเป็นธิดาสุดท้องของดยุก Charles Louis Frederick of Mecklenburg ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากตระกูล Martim Afonso Chichorro และ เจ้าหญิง Elisabeth Albertine of Saxe-Hildburghausen พระนามเดิมคือ Sophia Charlotte แม้จะทรงเป็นเจ้าหญิงเยอรมัน แต่พระองค์ก็มีเชื้อชาติส่วนเสี้ยวหนึ่งเป็นแอฟริกัน ด้วยทรงมีเสด็จย่าเป็นเจ้าหญิงจากโปรตุเกส จึงทรงเป็นพระญาติห่างๆ ของพระเจ้า Alfonso III แห่งโปรตุเกส ซึ่งมีพระราชโอรสองค์หนึ่งกับ Madragana Ben Aloandro (Maior or Mór Afonso(ในภายหลัง) โดยสืบเชื้อสายจากชนเผ่ามัวร์) คือ Martim Afonso Chichorro อภิเษกสมรสกับพระชายาผิวสี และให้กำเนิดลูกหลานมากมาย

เมื่อพระเจ้า George III ขึ้นครองบัลลังก์แห่งจักรวรรดิอังกฤษ ด้วยการสวรรคตของเสด็จปู่ พระเจ้า George II ขณะทรงมีพระชนมายุ 22 ชันษา และทรงยังไม่ได้อภิเษกสมรส พระราชมารดาแม่และที่ปรึกษาต่างกระตือรือร้นที่จะให้พระองค์ทำการอภิเษกสมรส โดยเลือกเอาเจ้าหญิง Charlotte of Mecklenburg-Strelitz วัย 17 ชันษา ด้วยส่วนหนึ่งเป็นเพราะเจ้าหญิง Charlotte ทรงถูกเลี้ยงดูมาในดินแดนเยอรมันเหนือซึ่งไม่ค่อยมีนัยสำคัญทางการเมืองกับอังกฤษ ดังนั้นจึงอาจไม่มีประสบการณ์หรือความสนใจในการเมือง เพื่อให้แน่ใจว่า พระเจ้า George III จะกำกับเจ้าหญิง Charlotte ได้ จึงมีกฎ "ไม่เข้าไปยุ่ง" ซึ่งเป็นกฎที่เจ้าหญิง Charlotte ยินดีที่จะทรงปฏิบัติตาม

พระเจ้า George III ทรงประกาศต่อรัฐสภาในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1761 ว่า ทรงตั้งใจที่จะอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิง Charlotte of Mecklenburg-Strelitz หลังจากนั้นคณะผู้ดูแลคุ้มกันซึ่งนำโดยเอิร์ล Simon Harcourt เดินทางไปเยอรมนีเพื่อนำเสด็จเจ้าหญิง Charlotte มายังอังกฤษ พวกเขาไปถึง Strelitz ในวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 1761 และได้รับการต้อนรับในวันรุ่งขึ้นโดยดยุก Adolphus Frederick IV ผู้ครองราชย์ผู้เป็นพระเชษฐาของเจ้าหญิง Charlotte ซึ่งดยุก Adolphus Frederick IV ได้ลงนามในสัญญาการอภิเษกสมรสกับเอิร์ล Harcourt หลังจากครบสามวันของการเฉลิมฉลอง

ในวันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 1761 เจ้าหญิง Charlotte เสด็จออกเดินทางไปอังกฤษพร้อมกับพระเชษฐาคือ ดยุก Adolphus Frederick IV และคณะผู้ดูแลคุ้มกันของอังกฤษ ในวันที่ 22 สิงหาคมพวกเขาไปถึงเมืองท่า Cuxhaven ซึ่งมีกองเรือขนาดเล็กรอที่จะส่งคณะไปยังอังกฤษ การเดินทางนั้นค่อนข้างยากลำบากมาก กองเรือเจอกับพายุกลางทะเลถึงสามครั้ง และเข้าเทียบท่าที่เมืองท่า Harwich ในวันที่ 7 กันยายน คณะเดินออกเดินทางต่อไปกรุงลอนดอน แวะพักที่เมือง Witham หนึ่งคืนที่บ้านพักของ Lord Abercorn และมาถึงพระราชวังเซนต์เจมส์ กรุงลอนดอน เวลา 15.30 น. ในวันรุ่งขึ้น โดย พระเจ้า George III และพระบรมวงศานุวงศ์รอต้อนรับที่ประตูสวน ซึ่งถือเป็นการพบกันครั้งแรกของเจ้าสาวและเจ้าบ่าว เวลา 21.00 น. ในเย็นวันเดียวกันนั้น (8 กันยายน พ.ศ. 2304) ภายในเวลาไม่ถึงหกชั่วโมงหลังจากเจ้าหญิง Charlotte เสด็จมาถึงก็ได้อภิเษกสมรสกับพระเจ้า George III พระราชพิธีจัดขึ้นที่ Chapel Royal พระราชวังเซนต์เจมส์ โดยอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี Thomas Secker มีเพียงฝ่ายราชวงศ์ของเจ้าหญิง Charlotte ที่เดินทางมาจากเยอรมนีและแขกอีกไม่กี่คนเท่านั้นที่ร่วมเป็นสักขีพยาน และเจ้าหญิง Charlotte ทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระราชินี Charlotte แห่งอังกฤษ

ในพระราชพิธีอภิเษกสมรสนั้นเจ้าหญิง Charlotte ยังตรัสภาษาอังกฤษไม่ได้เลย จึงทรงต้องเรียนภาษาอังกฤษอย่างเร่งด่วน ตามเงื่อนไขในสัญญาการอภิเษกสมรสคือ "เจ้าหญิงต้องทรงเข้าร่วมเป็นสมาชิกคริสตจักรแองลิกัน และอภิเษกสมรสกันตามพิธีกรรมของชาวอังกฤษ และต้องไม่ข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมืองเลย" แม้ว่าสมเด็จพระราชินี Charlotte จะสนใจในสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งสงครามอิสรภาพระหว่างจักรวรรดิอังกฤษและชาวอาณานิคมในอเมริกา แต่พระองค์ก็ทรงทำตามข้อตกลงในสัญญาการอภิเษกสมรส ทั้งสองพระองค์ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดาสิบห้าพระองค์ โดยสิบสามพระองค์ทรงอยู่รอดจนวัยผู้ใหญ่ พระราชโอรสพระองค์โตคือ พระเจ้า George IV และพระราชโอรสพระองค์ที่สี่คือ เจ้าชาย Edward ดยุกแห่ง Kent และ Strathearn ซึ่งเป็นพระราชบิดาของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย

สมเด็จพระราชินี Charlotte ทรงสร้างคุณูปการให้กับอังกฤษไว้อย่างมากมาย ทรงรักการอ่าน และทรงสนพระทัยในศิลปกรรม เป็นที่รู้กันว่า สมเด็จพระราชินี Charlotte ได้ทรงสนับสนุน Johann Christian Bach ทั้งยังทรงมีพระมหากรุณาธิคุณแก่ภรรยาของ Bach หลังจากการเสียชีวิตของ Bach อีกด้วย พระองค์ยังทรงได้อุปถัมภ์ Wolfgang Amadeus Mozart ซึ่งตอนอายุแปดขวบได้ถวายบทประพันธ์เพลง 3 ชิ้นให้กับสมเด็จพระราชินี Charlotte ตามพระสงค์ สมเด็จพระราชินี Charlotte ยังทรงเป็นนักพฤกษศาสตร์สมัครเล่นอีกด้วย ทั้งยังทรงช่วยก่อตั้ง Kew Gardens โดยทรงนำต้น Strelitzia reginae (Bird of Paradise) ซึ่งเป็นไม้ดอกจากแอฟริกาใต้ ซึ่งสมเด็จพระราชินี Charlotte ทรงเป็นพระองค์แรกที่ทรงมีดอกไม้พันธุ์นี้ในพระตำหนักที่ประทับ ในปี พ.ศ. 2343 ได้ทรงแนะนำต้นคริสต์มาสให้กับอังกฤษ และกล่าวกันว่า ทรงเป็นผู้นำในการตกแต่งเทศกาลคริสมาสด้วย 'ขนมหวาน อัลมอนด์ ลูกเกด ผลไม้และของเล่น นอกจากนี้ยังมีการก่อตั้งโรงพยาบาล Queen Charlotte Maternity ในกรุงลอนดอน อันเป็นโรงพยาบาลแม่และเด็กที่เก่าแก่ที่สุดในอังกฤษ

สมเด็จพระราชินี Charlotte สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2361 ที่พระตำหนักดัตช์ในเซอร์เรย์ ปัจจุบันคือ พระราชวังคิว เบื้องพระพักตร์พระราชโอรสพระองค์โต เจ้าชาย Regent ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระบรมศพถูกฝังอยู่ที่โบสถ์เซนต์จอร์จ พระราชวังวินด์เซอร์ งานเขียนส่วนพระองค์เพียงชิ้นเดียวที่คงอยู่รอดมาได้คือพระราชหัตถเลขา 444 ฉบับของสมเด็จพระราชินี Charlotte Queen Charlotte ถึงพระเชษฐาที่สนิทสนิทที่สุด Charles II (Grand Duke of Mecklenburg-Strelitz) ภาพยนตร์ที่เกี่ยวข้อง สมเด็จพระราชินี Charlotte รับบทโดย Helen Mirren ในภาพยนตร์เรื่อง The Madness of King George ปี พ.ศ. 2557 และโดย Golda Rosheuvel ใน Bridgerton ภาพยนตร์ซีรีส์ของ Netflix ในปี พ.ศ. 2563 ที่บอกเล่าชีวิตสังคมชั้นสูงของอังกฤษในยุคปี พ.ศ. 2356 โดยย้อนยุคโรแมนติกทั้งหมด 8 ตอน

มีสถานที่มากมายซึ่งตั้งชื่อเพื่อเป็นการถวายพระเกียรติแด่ สมเด็จพระราชินี Charlotte ได้แก่ สถานที่ที่ตั้งชื่อตามพระองค์ ได้แก่ หมู่เกาะ Queen Charlotte (ปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ Haida Gwaii) ในมณฑลบริติชโคลัมเบีย แคนาดา และ Queen Charlotte City บน Haida Gwai i; Queen Charlotte Sound (ไม่ไกลจากหมู่เกาะ Haida Gwaii); Queen Charlotte Channel (ใกล้นครแวนคูเวอร์ มณฑลบริติชโคลัมเบีย แคนาดา); Queen Charlotte Bay ใน West Falkland; Queen Charlotte Sound เกาะใต้ นิวซีแลนด์; ป้อมปราการหลายแห่งรวมทั้งป้อมชาร์ลอตต์เซนต์วินเซนต์; ชาร์ลอตส์วิลล์เวอร์จิเนีย; ชาร์ลอตต์ทาวน์, เกาะปรินซ์เอ็ดเวิร์ด; ชาร์ล็อต นอร์ทแคโรไลนา เมคเลนบูร์กเคาน์ตี้ นอร์ทแคโรไลนา; เมคเลนบูร์กเคาน์ตี้ เวอร์จิเนีย; Charlotte County, Virginia, Charlotte County, Florida, Port Charlotte, Florida, Charlotte Harbor, Florida และ Charlotte รัฐเวอร์มอนต์ Queen Street หรือ Lebuh Queen ตามที่รู้จักกันในภาษามาเลย์เป็นถนนสายหลักในปีนัง มาเลเซีย ซึ่งก็ตั้งชื่อตามพระองค์ ในตองกาพระราชวงศ์รับพระนามว่า Sālote (Charlotte ในภาษาตองกา) เพื่อถวายพระเกียรติแด่พระองค์ได้แก่ Sālote Lupepauʻu และSālote Tupou III

จุดยืนที่ “ยืนเอง” หรือมีใคร “ชี้จุดยืน” ?

แม้จะผ่านมาแล้วหลายยุค หลายสมัย แต่คำถามตัวใหญ่ๆ ที่มักเกิดขึ้นกับ 'มหาวิทยาลัย' และ 'นักศึกษาธรรมศาสตร์'  คือ การถูก 'ตีตรา' ว่าเป็นกลุ่มเด็กหัวรุนแรงบ้าง หัวก้าวหน้าบ้าง ไม่รักชาติบ้านเมืองบ้าง หรือคิดย้อนแย้งกับบริบทของสังคมและวัฒนธรรมไทยในช่วงหนึ่งๆ บ้าง 

ในความเป็นจริงแล้ว ถ้าจะพูดให้ถูกนี่ไม่ควรเป็นการตีตราใส่  'ผ้าขาวบาง' ที่มี 'ความเป็นอิสระ'  ซึ่งพร้อมคิดต่าง เพราะหากมองในแง่บวก นี่คือหัวคิด ที่กล้าคิดกระตุกสังคมไทยแบบที่คัมภีร์ประชาธิปไตยได้กางไว้ให้เดินตาม

และส่วนตัวมองว่านี่ก็คือจุดเด่นของ 'เด็กธรรมศาสตร์' ที่มีเลือดประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัย 14 ตุลาคม 2516 / 6 ตุลาคม 2519 ไหลเวียนอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการออกมาพูดเรื่องการปฏิรูประบบการเมือง สถาบันพระมหากษัตริย์ การศึกษา และอีกมากมาย ถือเป็นเรื่องอันดี ในยุคที่สังคมไทยมัวแต่ 'ถนอมน้ำใจ' กันแบบไม่รู้จบ

และหากพวกเขาเหล่านี้ ลุกออกมาแสดง 'จุดยืน' ทางความคิด แต่คนเห็นต่างกลับไปจำกัดความคิด อันนี้น่าจะเรียกว่า 'สังคมใจแคบ' เสียมากกว่าด้วย

อย่างไรก็ตาม มีประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจ คือ ในหลากหลายเหตุการณ์ที่ธรรมศาสตร์ 'มีซีน' ในสังคม มาพร้อมกับทิศของประชาธิปไตยบนจุดยืนแบบ 'ปัญญาชน' แท้จริงมากเพียงใด...

หากใครเห็นต่าง คือ ศัตรู ใครเชียร์ตรู คือ พวกพ้อง...ทำไมจึงเกิดมิติเหล่านี้เกิดขึ้นกับเมล็ดพันธุ์แห่งอนาคต ที่ช่วงแรกหลากหลายชนชั้นในสังคมชื่นชมและแอบเชียร์ห่าง ๆ อันนี้คือคำถามตัวโตๆ

ว่ากันตามตรงภายใต้รั้วแม่โดม คงมิได้มีแค่กลุ่มเด็กนักศึกษา แต่มีเหล่าคณาจารย์ / กลุ่มคนที่เก็บเกี่ยวประสบการณ์จากความพ่ายแพ้ในการเคลื่อนไหวทางการเมือง และขณะเดียวกันก็มีก้อนเนื้อทางการเมืองที่แสดงจุดยืนบางประการ คอยตีลู่ให้อนาคตของชาติเดินทางหรือไม่ ?

การแสดงออกเชิงก้าวร้าว ตาต่อตา ฟันต่อฟันสไตล์วัยกระเต๊าะ ที่ไม่ควรเกิด มันมาจาก 'จุดยืน' ของเด็กเอง หรือ 'จุดยืน' ของใคร ?

ครั้งหนึ่งเคยมีโอกาสได้คุย สุริยะใส กตะศิลา อดีตแกนนำพันธมิตร ที่วันนี้ผันตัวไปเป็นอาจารย์ในรั้วมหาวิทยาลัยรังสิต

หากลองคิดตามแบบไม่อคติ สิ่งที่ สุริยะ พูดถึงภาพสถาบันการศึกษาแบบไม่เอ่ยสถาบันนั้น น่าสนใจมาก !!

เขาเล่าว่า บทเรียน และประวัติศาสตร์ ทางการเมือง ถูกย้อมด้วยอุดมการณ์กลุ่มบุคคลที่เรียกได้ว่าครูและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์การต่อสู้ที่ล้มเหลวทางการเมืองในยุคตัวเองอย่างเข้มข้น หล่อหลอมจนเป็น 'มายาคติ' ให้เด็กในคลาสผูกพัน

โอ้ !! ถ้าเป็นเช่นนั้น น่ากลัวนะ

เพราะหากเป็นเช่นนั้น หมายความว่า 'ซีน' ที่เกิดขึ้นบนเวทีการต่อสู้ทางการเมืองของเด็กรุ่นใหม่ยุคนี้ มันอาจจะไม่ได้มาจาก 'จุดยืน' ของเด็กทั้งหมด แต่ทั้งหมดมาจาก 'จุดยืน' ของใครที่โหดเหี้ยมในการลากเด็กเข้าไปเป็นแขนขาให้ตนแข็งแรงขึ้น

ดร.กิตติธัช ชัยประสิทธิ์ อาจารย์ด้านสถาปัตยกรรม สอนพิเศษด้านปรัชญาการเมือง เคยเล่าว่า เรื่องนี้มันเป็นภาพแบบ 'เดจาวู' โมเดลการเมืองที่เคลื่อนไหวในยุคนี้มันมีมาแล้ว แค่เปลี่ยนตัวละครจากประเทศจีน เป็นประเทศไทย

โดยมีกลุ่มบุคคล ที่เข้ามาปั่นให้คนเกลียดชัง ดูถูก เหยียดหยามกัน ปลุกปั่นให้มวลชนคิดว่าตนเองเป็นคน ‘ หัวก้าวหน้า ’ กว่าคนอื่นในประเทศ แล้วคิดว่าประเทศไม่ก้าวหน้าเพราะมีพวกคนแก่ฉุดรั้ง ต้องจัดการทิ้งไปให้หมด (ทั้ง ๆ ที่คนปลุกปั่นก็ ‘ หงอก ’ พอ ๆ กัน)

โมเดลการเมืองที่ปั่นให้เด็กวัยรุ่นเกลียดชังผู้ใหญ่ เกลียดครูบาอาจารย์ที่คิดต่าง เกลียดพ่อแม่ ถึงขั้นหากทำร้ายหรือทำให้อับอายได้ (เมื่อตนมีอำนาจ) ก็พร้อมจะทำ เพราะมันรู้สึก 'เท่ห์' และมองว่าคนจาก 'โลกเก่า' หรือ 'ล้าหลัง' คือพวกฉุดรั้งสังคม

โมเดลแบบนี้ เกิดขึ้นกับจีนในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม (Cultural Revolution) ระหว่างปี 1967 - 1977 ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่อะไร

เพราะสุดท้ายพอหมดช่วงนั้น ทุกคนก็ตาสว่าง แกนนำก็โดนจับ โดนประหาร เด็กวัยรุ่นจีนในวันนั้น วันนี้อายุ 60 - 70 ปี ก็พยายามลืม ๆ ไม่พูดถึงความผิดพลาดที่ตัวเองเคยตกหลุมพราง 'จุดยืน' ที่อาจจะไม่ใช่ของตนในช่วงนั้นอย่างถ่องแท้

เยาวชนในรั้วการศึกษา ณ วันนี้ เหมือนเครื่องมือชั้นดีของกลุ่มที่มี 'จุดยืน' ที่เคยล้มเหลว แล้วเฝ้ารอวันรื้อหรือเปลี่ยนประวัติศาสตร์การเมืองไทยและการเมืองโลก ให้รู้ในมุมที่จำกัดกับผลประโยชน์ในมุมตนเอง แล้วเด็ก ๆ ก็พร้อมคล้อยตามอย่างเพลิดเพลินเป็นตุเป็นตะ

ยกตัวอย่างให้พอขำจากเด็ก ๆ ที่พอได้เคยคุยกันมาบ้าง หลายคนยัง 'ตาใส' ใส่เหตุการณ์กีฬาสี (เหลือง - แดง) และมองว่าการถูกน้ำแรงดันฉีดจนขาถ่างของม็อบคณะราษฎร เป็นการกระทำที่เลวร้ายของประวัติศาสตร์ไทย ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้าช่วงกีฬาสี เขาฉีดกระสุนจริง ปาบึ้มใส่กันจนไส้แตก เด็ก ๆ ก็แค่ทำ 'ตาใส' ใส่ซ้ำอีกรอบ

หรือแม้แต่การตั้งคำถามว่า สถาบันกษัตริย์ มีไว้เพื่ออะไร ทั้ง ๆ ที่ในช่วงอายุ ก็มิได้ทราบและไม่สืบแสวงหาความเป็นมา แล้วปล่อยความคิดที่ยึดไปตาม 'ความคิด' ให้ผู้อื่นชักจูง ทำร้ายจิตใจคนไทยที่รับรู้ดีว่าตลอดช่วงพระชนม์ชีพของสถาบันทรงทำสิ่งใดไว้เพื่อคนไทย

นี่คือ 'จุดยืน' ที่มาพร้อมความเบือนบิดหรือไม่ ? (ไม่มีคำตอบให้ หากสุดท้ายคนรุ่นใหม่มักบอกว่าตนมีความคิดอยู่แล้ว)

อย่างไรเสีย ความคิดของเด็ก ก็เป็นเหมือนผ้าขาว อยู่ที่ใครจะป้ายอะไรเข้าไปใส่ เขาคงไม่ได้จ้องจะอาฆาตแค้น หรือไม่ได้ต้องการจะรื้อถอนโครงสร้างใด ๆ ของสังคมไทย อันนี้เป็นเรื่องที่การันตีได้ 100%

พวกเขาแค่อยากตั้งคำถาม แล้วก็อยากเห็นสังคมไทยที่เขารักดีกว่าเดิม

เพียงแต่มันก็อยู่ที่ว่า 'จุดยืน' ของพวกเขา อยู่บน 'ความคิด' ของเขาแค่ไหน แล้วจุดยืนนั้น ๆ มาจากการคิดพิจารณาข้อมูล เหตุการณ์ ประวัติศาสตร์แบบรอบด้านจริงแท้เพียงใด ?

อันนี้ก็ยากจะให้คำตอบอีกเช่นกัน...


อ้างอิง:

https://www.thaipost.net/main/detail/74529

เสียง (เพรียก) แห่งสายน้ำปัตตานี... ตอนที่ 1

วิธีเดินทางไปปักษ์ใต้บ้านเราอันสุดแสนคลาสสิก คือการโดยสารไปกับขบวนรถไฟอ้อยอิ่งแห่งรฟท. ขนาดระบุว่าเป็น “ด่วนพิเศษ” แต่ก็ไม่น่าจะต่างจากวิถีสโลว์ไลฟ์สักเท่าไหร่ นี่ไม่ใช่การค่อนแคะเหน็บแนม ต้องบอกว่าเป็นคำชมมากกว่า คำที่ทุกวันนี้โลกหมุนติ้วเหวี่ยงด้วยอัตราเร่งสูง การนำพาร่างเข้าสู่โหมด “ถึงก็ช่าง ไม่ถึงก็ช่าง” จึงนับเป็นวิธีปรับสมดุลที่ดีมากทีเดียว 

จุดหมายการเดินทางรอบนี้ คือพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ต้องการไปสัมผัสยะลาและปัตตานี ด้วยรูปแบบการเดินทางที่แตกต่าง วางแผนไว้ว่าจะพายเรือล่องจากต้นน้ำถึงปลายแม่น้ำปัตตานีนั่นเอง แน่นอน มีเสียงทัดทานในหัวตัวเองดังก้องไม่ให้ไป เพราะมักมีข่าวออกมาเนือง ๆ ว่ามีการดักยิง มีระเบิด มีการก่อการร้ายต่าง ๆ แต่ผมตัดสินใจว่าจะยังคงไปไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม ส่วนหนึ่งเพราะโหยหาพื้นที่แปลกแยก กระหายการออกนอกพื้นที่สบาย ไอ้เจ้าคอมฟอร์ทโซนมันสามารถฆ่าคนบางประเภทได้ มนุษย์บางกลุ่มอาจจะเรียกโลกกว้างและการเร่ร่อนว่าเป็น “บ้าน” มากกว่าการจับเจ่าอยู่กับที่เดิม ๆ พบปะผู้คนเดิม ๆ ทำกิจกรรมชีวิตเดิม ๆ

และไม่แน่ ว่าสื่อต่าง ๆ อาจประโคมข่าวเพียงเพื่อเรียกเรตติ้งก็เป็นได้ การเขียนเสือให้วัวกลัวสื่อมวลชนถนัดนักล่ะ !

ปลายทางสถานียะลา ลงจากรถไฟพร้อมสัมภาระพะรุงพะรัง ไม่เฉพาะเสื้อผ้า เต็นท์ เครื่องนอน และข้าวของเครื่องใช้สำหรับรอนแรมเท่านั้น อุปกรณ์น้ำหนักมากสุด คือเรือคายักสูบลมร่วม 15 กิโลกรัมนั่นเอง มีเพื่อนคนยะลามารับ รู้จักกันผ่านโลกโซเชียลในฐานะพวกบ้าเดินทางด้วยกัน เขาเป็นชายร่างใหญ่เคราครึ้ม ชื่อเสียงเรียงนามคือ ‘ฮาบิ๊บ’ เรียกอย่างเป็นกันเองว่า ‘บังบิ๊บ’ รอบนี้เขาจะร่วมเดินทางไปด้วย มีเรือกันคนละลำ และจะไปเริ่มกันที่ต้นน้ำปัตตานี ซึ่งอยู่แถวเมืองเบตงใกล้ชายแดนประเทศมาเลเซีย พวกเรามีเวลาซักซ้อมเตรียมความพร้อมการเดินทางกันจริง ๆ เพียงวันเดียวเพราะวันรุ่งขึ้นก็จะไปยังจุดเริ่มต้นแล้ว

นอกจากจะเป็นการพายเรือผจญภัยแล้ว ยังมีสิ่งที่เพื่อนกลุ่มหนึ่งซึ่งประกอบด้วยนักวิชาการและคนท้องถิ่น พวกเขาวานให้ช่วยเก็บข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับแม่น้ำสายนี้ เช่น ความลึกของน้ำ สภาพตลิ่งและการกัดเซาะ เป็นต้น ทั้งนี้ เพราะไม่กี่เดือนที่ผ่านมาเกิดน้ำท่วมใหญ่ สาเหตุหลักมาจากการปล่อยน้ำจากเขื่อนบางลางซึ่งกั้นแม่น้ำปัตตานี สร้างผลกระทบและความเสียหายในวงกว้าง ต่อทั้งชุมชนและพื้นที่เพาะปลูก

สาย ๆ วันรุ่งขึ้นแท็กซี่ยี่ห้อเบนซ์รุ่นโบราณ ที่โทรเรียกให้มารับจอดเทียบหน้าบ้านบังบิ๊บ สัมภาระต่าง ๆ ขนขึ้นท้ายรถ เรียบร้อยแล้วก็ออกเดินทางกัน อากาศค่อนข้างอบอ้าว ลมอุ่นโกรกผ่านเข้ามาพอจะช่วยได้บ้าง มีด่านตรวจเป็นระยะ ๆ ตลอดเส้นทาง บางด่านมีแผ่นป้ายใหญ่พิมพ์ภาพใบหน้าและชื่อของผู้ชายหลายคน ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นคนที่หน่วยงานภาครัฐ โดยเฉพาะตำรวจและทหารกำลังติดตามหาตัวอยู่ สองข้างทางผ่านหมู่บ้านร้านรวง และเรือกสวนชาวบ้าน รถราแล่นบนท้องถนนขวักไขว่กันเป็นปกติ เมื่อผ่านเข้าสู่พื้นที่ภูเขาถนนก็เลียบไปตามเขื่อนบางลาง อากาศเย็นกว่าอย่างเห็นได้ชัด โซนนี้มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อหลายแห่ง ที่โด่งดังระดับประเทศ เป็นจุดเช็คอินห้ามพลาดเลยก็คือ สกายวอล์ค และทะเลหมอกอัยเยอร์เวงนั่นเอง ความสูงของยอดเขาต่าง ๆ ในละแวกนี้ไม่น่าจะเกินพันเมตร แต่จุดเด่นคือมีทะเลหมอกให้ชมทั้งปี แตกต่างจากทิวเทือกเขาในภาคอื่น ๆ ของไทย

บ่ายต้น ๆ ถึงเบตง เมืองชายแดนเล็ก ๆ ซึ่งไม่คึกคักขวักไขว่าเอาเสียเลย อาจจะเพราะด่านยังไม่เปิด การข้ามไปมาระหว่างประเทศยังทำไม่ได้ การท่องเที่ยวค้าขายจึงชะงัก คงต้องรอจนกว่าสถานการณ์โควิดจะผ่านพ้นไปเสียก่อน อะไรต่อมิอะไรจึงจะฟื้นกลับคืนมาอีกครั้ง โรคนี้ “หยุดโลก” ได้ชะงัดจริง ๆ

ความตั้งใจแรกคือจะเริ่มพายเรือกันที่เบตง แต่ต้องเปลี่ยนใจเมื่อเห็นสภาพคลองสาขาของแม่น้ำปัตตานี ณ จุดนั้น เพราะนอกจากตื้นเขินเกินกว่าจะล่องเรือได้แล้ว สีและกลิ่นของน้ำก็ช่างไม่พึงประสงค์เอาเสียเลย น้ำทิ้งจากอาคารบ้านเรือนปล่อยลงมาตามท่อ จึงตัดสินใจไปเริ่มกันที่อีกคลองหนึ่งซึ่งน้ำใสกว่า ริมคลองนั้นพวกเราจัดการสูบลมเรือ นำสัมภาระยังชีพคายัก เหมือนเป็นเรื่องบังเอิญที่เจอคุณตาคนหนึ่งกำลังอาบน้ำซักผ้าอยู่ พูดคุยกันจึงรู้ว่าแกชื่ออิสเฮาะ บอกว่าตั้งแต่อยู่ที่นั่นมายังไม่เคยเจอใครมาพายเรือล่องแม่น้ำสักครั้ง สร้างความฉงนประหลาดใจ เมื่อพวกเราบอกว่าจะพายเรือไปถึงเมืองปัตตานี ซึ่งอยู่ห่างออกไปราวร้อยกิโลเมตรเศษ แกจึงสวดขอพรจากพระเป็นเจ้า อวยชัยให้การเดินทางราบรื่นปลอดภัย... ขอบคุณครับคุณตาอิสเฮาะ


สนับสนุนโดย : รับข้อเสนอพิเศษมอเตอร์โชว์ ในงาน Mazda Motor Show สัมผัสปิกอัพใหม่ All-New Mazda BT-50 และยนตรกรรมสกายแอคทีฟจากมาสด้า ดอกเบี้ยต่ำสุด 0%* รับประกันคุณภาพรถสูงสุด 5 ปี* และบัตรเติมน้ำมัน 10,000 บ.* 24 มี.ค. 64 - 4 เม.ย. 64 ที่บูธและโชว์รูมทั่วประเทศ

อุตุนิยมวิทยา ‘ศาสตร์ ’ สำคัญ...ต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

เวลาที่ผู้เขียนสอนหนังสือในรายวิชาโลกและการเปลี่ยนแปลง มักจะถามผู้เรียนเสมอว่า พรุ่งนี้ฝนจะตกไหม หรือสัปดาห์หน้าอากาศจะร้อนหรือเย็น ซึ่งผู้เรียนต้องค้นหาคำตอบโดยใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ ทำให้ตอบคำถามได้ถูกต้องและแม่นยำ และเชื่อแน่ว่าหลาย ๆ ท่าน ก่อนออกจากบ้านเพื่อจะทำกิจกรรมต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งการจัดงานมงคลก็ตาม นอกจากจะดูฤกษ์ ดูชัยแล้ว สิ่งหนึ่งที่จะต้องคำนึงถึงด้วย นั่นก็คือสภาพดินฟ้า อากาศ ในช่วงนั้น ซึ่งลักษณะสภาพอากาศที่ดีนั้น ก็กลายมาเป็นองค์ประกอบหนึ่งของฤกษ์ ที่ดีในช่วงนั้นไปด้วย และกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตประจำวันของคนเราไปแล้วนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การจัดงานต่าง หรือแม้กระทั่งการเดินทางไปท่องเที่ยว ๆ ทั้งในประเทศ หรือต่างประเทศ 


โดยในปัจจุบันศาสตร์ที่มีความสำคัญ และเป็นสิ่งที่ใช้เป็นเครื่องมือในการวางแผนการทำกิจกรรมต่าง ๆ คือ อุตุนิยมวิทยา 

อุตุนิยมวิทยา คือ วิชาที่ว่าด้วยการศึกษาลักษณะบรรยากาศของโลก เช่น การเกิดฤดูการต่าง ๆ การเกิดลม เกิดฝน เกิดพายุ เป็นต้น 

และหนึ่งในความสำคัญของอุตุนิยมวิทยา คือ การพยากรณ์อากาศ โดยมีหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการพยากรณ์อากาศของประเทศไทยที่เรามักได้ยินบ่อย ๆ คือ กรมอุตุนิยมวิทยา ทั้งนี้ในแต่ละวันเรามักจะได้ยินข่าวจากกรมอุตุนิยมวิทยา เกี่ยวกับลักษณะสภาพของอากาศที่จะเกิดขึ้นในอีกวันสองวันข้างหน้า หรือในอีกอาทิตย์หนึ่ง เพื่อให้เราได้มีการเตรียมรับมือกับสภาพอากาศที่กำลังจะมาถึง เช่น อาจเกิดฝนตกหนัก หรือพายุฝนฟ้าคะนอง เป็นต้น 

ในอดีตการพยากรณ์อากาศนั้นมักจะไม่ค่อยมีความแม่นยำมากเท่าไรนัก เนื่องจากเทคโนโลยียังไม่ดีเท่าที่ควร แต่ในปัจจุบันเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ใช้เป็นเครื่องมือในการพยากรณ์อากาศ มีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก ทำให้การพยากรณ์อากาศมีความแม่นยำสูง และสามารถทำนายล่วงหน้าได้เป็นเวลานานขึ้น 

สำหรับวันนี้จะพูดถึงวิธีการและเครื่องมือที่ใช้ในการพยากรณ์อากาศกันครับ ก่อนอื่นเราต้องรู้จักคำว่าพยากรณ์อากาศกันก่อน 

พยากรณ์ แปลว่า การทำนายอนาคตที่กำลังจะมาถึง คล้ายกับการที่เราไปดูหมอดู เพื่อให้ทำนายสิ่งที่จะมาถึงในวันข้างหน้ากัน แต่แตกต่างกันที่การพยากรณ์อากาศ ใช้หลักการและเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ในการวิเคราะห์ โดยเครื่องมือหลัก ๆ ที่ใช้สำหรับการพยากรณ์อากาศ ที่ทำให้เกิดความแม่นยำสูงได้แก่ การใช้ดาวเทียมในการศึกษาลักษณะการเคลื่อนที่ของอากาศช่วงนั้น เช่นการเกิดลม เกิดฝน หรืออากาศร้อน หนาว เย็น ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับการเคลื่อนที่ของกลุ่มเมฆ ที่จะทำให้เกิดฝน หรือทิศทางการเคลื่อนที่ของลม ซึ่งจะทำให้ร้อน หนาว เย็น ไม่ว่าจะเป็นทิศทางการเคลื่อนที่ ความเร็ว 

นอกจากนั้นการวิเคราะห์ภาพถ่ายทางดาวเทียมยังสามารถบอกได้ถึงลักษณะการเคลื่อนที่ของกลุ่มเมฆในช่วงนั้น เป็นการเคลื่อนที่ของกลุ่มเมฆฝนธรรมดา หรือเป็นลักษณะของการเคลื่อนที่ของพายุได้อีกด้วย เมื่อนำมาประมวลผลโดยการใช้คอมพิวเตอร์แม่นยำสูง (Supper computer)  ทำให้รู้ระยะเวลาของการเคลื่อนที่มาถึงยังตำแหน่ง หรือภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศ 

โดยข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ ถูกนำมาจัดทำในรูปแบบของแผนที่อากาศ ในแผนที่อากาศ ประกอบไปด้วยลักษณะของหย่อมความดกอากาศต่ำ หรืออากาศร้อน (Low presser ) แทนด้วยสัญลักษณ์ตัว L และหย่อมความกดอากาศสูงหรืออากาศเย็น (High presser) แทนด้วยสัญลักษณ์ตัว H และเมื่อเกิดพายุ ในแผนที่อากาศก็จะแสดงเป็นสัญลักษณ์ให้เห็นระดับความรุนแรง และทิศทางการเคลื่อนที่ของพายุ

นอกจากการใช้ดาวเทียมแล้ว ยังมีการใช้เรดาร์ตรวจอากาศ ที่สามารถตรวจจับกลุ่มของฝน และทิศทางการเคลื่อนที่และความเร็วของกลุ่มฝน ทำให้สามารถทำนายระยะเวลาที่จะเกิดลมและฝนในพื้นที่อื่น ๆ ได้ และมีการรวบรวมปริมาณน้ำฝนในแต่ละพื้นที่ เมื่อวางแผนการใช้น้ำหรือการทำเกษตรกรรมอีกด้วย โดยสถานีวัดปริมาณน้ำฝนจะถูกกระจายไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ในระดับตำบล และมีการายงานผลเขาสู่ส่วนกลาง เพื่อรวบรวมเป็นปริมาณน้ำฝนที่ตกในแต่ละวัน 


นอกจากเป็นเครื่องมือสำหรับวางแผนการใช้ชีวิตประจำวันแล้ว อุตุนิยมวิทยา ยังเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญในการเตือนภัยที่จะเกิดจากลักษณะดินฟ้าอากาศ อีกด้วย เช่นการเกิดพายุ การเกิดฝนตกหนัก แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด หรือแม้กระทั่งการเกิดสภาวะแห้งแล้ง และต้องยอมรับว่าการมีเครื่องมือในการเตือนภัยของอุตุนิยมวิทยา มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะสามารถลดความสูญเสีย หรือความเสียหายอันเนื่องมากจากภัยทางธรรมชาติ ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้วมูลค่าของความเสียหายมักจะสูง อย่างเช่นการเกิดพายุฤดูร้อนในเขตภาคอีสาน และภาคเหนือของประเทศไทย เมื่อสามสี่วันที่ผ่านมา กรมอุตุนิยมวิทยาได้มีการเตือนให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่ดังกล่าว เตรียมมือในการรับพายุที่จะมาถึง ซึ่งก็เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ ทำให้ความเสียหายที่เกิดจากพายุลดลงพอสมควรเนื่องจากมีการเตรียมรับมือไว้ 


จากที่กล่าวมาข้างต้น อุตุนิยมวิทยา โดยเฉพาะการพยากรณ์ลักษณะสภาพดินฟ้าอากาศที่จะเกิดขึ้น จึงมีความสำคัญและถูกซึมซับเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตในยุคปัจจุบันของมนุษย์ทุกสาขาอาชีพไปแล้ว นั่นเอง


สนับสนุนโดย : รับข้อเสนอพิเศษมอเตอร์โชว์ ในงาน Mazda Motor Show สัมผัสปิกอัพใหม่ All-New Mazda BT-50 และยนตรกรรมสกายแอคทีฟจากมาสด้า ดอกเบี้ยต่ำสุด 0%* รับประกันคุณภาพรถสูงสุด 5 ปี* และบัตรเติมน้ำมัน 10,000 บ.* 24 มี.ค. 64 - 4 เม.ย. 64 ที่บูธและโชว์รูมทั่วประเทศ

Land Bridge กับการขนส่งสินค้าในปัจจุบัน

ครั้งที่แล้วได้เล่าเกี่ยวกับที่มาและเส้นทางแลนด์บริดจ์ในอดีตกันไปแล้ว ในสัปดาห์นี้ก็ขอมาเล่าเกี่ยวกับเส้นทางที่ได้รับความนิยมในการขนส่งสินค้ากันบ้าง

เริ่มต้นจากเส้นทางยอดนิยม คือ แลนด์บริดจ์ในทวีปอเมริกาเหนือ ที่เชื่อมระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิคกับแอตแลนติก โดยขนสินค้าขึ้นฝั่งที่ท่าเรือทางตะวันตก เช่น ท่าเรือลองบีช หรือท่าเรือลอสแองเจอริสในประเทศสหรัฐอเมริกา แล้วขนสินค้าผ่านเส้นทางรถไฟมายังฝั่งตะวันออกของประเทศ ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในสามเส้นทางหลักในการส่งสินค้าจากเอเชียมายังทางตะวันออกของอเมริกาที่มีประชากรอยู่หนาแน่นและเป็นตลาดนำเข้าสินค้าที่สำคัญ ส่วนคู่แข่งอีกสองเส้นทางคือ การแล่นเรือผ่านทางคลองสุเอซและคลองปานามา ในปัจจุบันมีส่วนแบ่งการตลาดการขนส่งสินค้าใกล้เคียงกันทั้งสามเส้นทาง แต่โครงการการขยายคลองปานามาที่แล้วเสร็จในปี 2016 ก็คาดว่าจะส่งผลต่อปริมาณสินค้าที่ลดลงในเส้นทางนี้

นอกจากนั้น มีการคาดการณ์ว่าหากส่งสินค้าจากโตเกียว ไปยังท่าเรือรอตเทอร์ดาม ในประเทศเนเธอร์แลนด์ด้วยเส้นทางนี้ จะใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์ ถึงแม้ใช้ระยะเวลาน้อยกว่าเส้นทางที่ผ่านคลองสุเอซที่ใช้เวลาถึง 5 - 6 สัปดาห์ แต่ก็ไม่ได้รับความนิยมเนื่องจากต้นทุนการขนส่งสินค้าสูงกว่าการขนส่งทางเรือผ่านทางคลองสุเอซ

เส้นทางต่อมา คือ  Trans-Asian Railway หรือ Eurasian Landbridge ที่เป็นหนึ่งในโครงการ OBOR (On belt one road) หรือในปัจจุบันเรียกกันว่า BRI (Belt and Road Initiative) เป็นเส้นทางรถไฟเชื่อมระหว่างเอเชียตะวันออกกับยุโรป โดยใช้เส้นทางรถไฟสายทรานไซบีเรียเป็นเส้นทางหลักในการเชื่อมกับยุโรป แล้วแยกได้ 3 เส้นทาง คือ ผ่านทางประเทศมองโกเลียในเส้นทางทรานส์มองโกเลียก่อนเข้าประเทศจีน หรือมาทางเมืองวลาดิวาสต็อกของรัสเซีย แล้วเข้าทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน และเส้นทางสุดท้ายคือมาทางประเทศคาซัคสถานก่อนเข้าทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ซึ่งเป็นเส้นทางที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน


ถึงแม้จะมีอุปสรรคหลายอย่างในเส้นทางนี้ เช่น เส้นทางนี้ผ่านถึง 7 ประเทศจึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกประเทศ รวมถึงกฎระเบียบศุลากากรของแต่ละประเทศที่ต้องอำนวยความสะดวกให้แก่สินค้าผ่านแดน และยังมีประเด็นเรื่องขนาดรางที่มีความแตกต่างกันในประเทศอดีตสหภาพโซเวียตที่ใช้รางกว้าง 1.52 เมตร แต่ในจีนและยุโรปใช้รางกว้าง 1.435 เมตร  ปัญหาเหล่านั้น ทางรัฐบาลจีนก็สามารถแก้ไขปัญหาได้ และมีรถไฟขบวนแรกที่เปิดให้บริการจากปักกิ่งไปยังฮัมบูร์ก ประเทศเยอรมันในปี 2018

เส้นทางนี้ ช่วยย่นระยะเวลาการเดินทางจากปกติที่ส่งสินค้าทางเรือ จากท่าเรือเซี่ยงไฮ้ไปท่าเรือรอตเทอร์ดาม ใช้เวลา 27-37 วัน เป็น 18 วัน แต่ก็ต้องแลกมาด้วยค่าขนส่งที่สูงขึ้นเป็นเท่าตัว และคาดการณ์ว่ารัฐบาลจีนให้เงินอุดหนุนโครงการนี้ไม่น้อยกว่า 50% เพื่อดึงดูดใจให้ผู้ส่งสินค้าเลือกใช้เส้นทางนี้ และใช้โครงการนี้เพื่อดำเนินนโยบายทางการต่างประเทศ เพราะมีการให้กู้ยืมเงินแก่รัฐบาลประเทศต่าง ๆ เพื่อใช้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับโครงการนี้

จากที่เล่ามาจะเห็นได้ว่าถึงแม้เส้นทางบางเส้น จะใช้ระยะเวลาการขนส่งที่น้อยกว่า แต่ผู้ส่งสินค้ากลับไม่เลือกใช้เพราะมองเรื่องต้นทุนเป็นสิ่งสำคัญ และบางโครงการรัฐบาลจำเป็นต้องใช้เงินมาอุดหนุนเพื่อส่งเสริมให้เกิดการขนส่งในเส้นทางนั้น ดังนั้นโครงการลงทุนต่าง ๆ ทางด้านโครงสร้างพื้นฐานการขนส่ง จึงจำเป็นต้องพิจารณาให้รอบคอบเพราะผลลัพธ์ที่ได้จากโครงการอาจไม่เป็นไปตามผลการศึกษาที่ทำไว้

.

ข้อมูลอ้างอิง 

https://transportgeography.org/contents/applications/transcontinental-bridges

https://iit.adelaide.edu.au/ua/media/609/Discussion%20Paper%202020-04%20AESCON.pdf

https://www.forbes.com/sites/salvatorebabones/2017/12/28/the-new-eurasian-land-bridge-linking-china-and-europe-makes-no-economic-sense-so-why-build-it/?sh=39be641c5c9c


สนับสนุนโดย : รับข้อเสนอพิเศษมอเตอร์โชว์ ในงาน Mazda Motor Show สัมผัสปิกอัพใหม่ All-New Mazda BT-50 และยนตรกรรมสกายแอคทีฟจากมาสด้า ดอกเบี้ยต่ำสุด 0%* รับประกันคุณภาพรถสูงสุด 5 ปี* และบัตรเติมน้ำมัน 10,000 บ.* 24 มี.ค. 64 - 4 เม.ย. 64 ที่บูธและโชว์รูมทั่วประเทศ

การประชุมจีน-สหรัฐฯ ความล้มเหลวในการเจรจา แต่สำเร็จในการแสดงจุดยืน

ผมเคยเขียนบทความเกี่ยวกับความรักชาติของคนจีนลงเพจ The States Times เมื่อไม่กี่สัปดาห์ก่อน ผ่านไปไม่ทันไรก็ได้เห็นพฤติกรรมรักชาติของชาวจีนชัด ๆ ผ่านการประชุมของคณะเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐฯ และจีน ที่อาแลสกาในงานประชุม Alaska Summit เมื่อวันที่ 19 มี.ค.2564 

หากใครสนใจและติดตามการเมืองระหว่างสหรัฐฯ และจีน ก็คงพอจะทราบว่าการประชุมดังกล่าวมิได้เป็นไปอย่างราบรื่นนัก เช่นเดียวกับสำนักข่าวทั่วโลก ที่ต่างพาดหัวด้วยถ้อยคำประมาณว่า “เวทีเดือด” หรือ “ที่ประชุมระอุ” เป็นต้น

การประชุมครั้งนี้ นับว่าเป็นการพบหน้าเจรจากันครั้งแรก ของเจ้าหน้าที่ระดับสูงจากทั้งสองชาติมหาอำนาจ นับตั้งแต่ที่ ‘โจ ไบเดน’ ชนะเลือกตั้ง และขึ้นมารับตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา โดยฝั่งจีนนำโดย ‘นายหยาง เจียฉือ’ เจ้าหน้าที่ทูตระดับสูงของจีน และ ‘นายหวัง อี้’ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของจีน ส่วนฝ่ายสหรัฐฯ นั้นนำโดย ‘นายแอนโทนี บลิงแคน’ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ และ ‘นายเจค ซัลลิแวน’ ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติ

ว่ากันว่าที่ประชุมแห่งนี้แทบมิได้พูดถึงเรื่องปัญหาทางการค้า หากแต่เป็นการใช้วาจาเชือดเฉือน เสียดสี โจมตีนโยบายของอีกฝ่ายอย่างตรงไปตรงมา เริ่มต้นด้วยการกล่าวเปิดประชุมโดย นายแอนโทนี บลิงเคน ที่พูดถึงความกังวลของสหรัฐฯ และประเทศพันธมิตรที่มีต่อการกระทำของประเทศจีน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการกักขังชาวมุสลิมอุยกูร์ในมณฑลซินเจียง การใช้กำลังปราบปรามผู้ชุมนุมในฮ่องกง รวมถึงการข่มขู่ไต้หวัน โดยทางสหรัฐฯ ยังอ้างอีกว่าการกระทำของจีนนั้นถือว่า “ผิดกฎเกณฑ์พื้นฐานของโลก” (rules-based order) อันว่าด้วยหลักสิทธิมนุษยชน

ชัดเจนมากครับ ว่าสหรัฐฯ มิได้มาเพื่อเจรจาการค้า...

หลังจากการกล่าวเปิดประชุมในระยะเวลาไม่กี่นาทีของนายบลิงเคนจบลง ด้านนายหยาง เจียฉี ไม่แสดงความอ่อนข้อแม้แต่น้อย เขาตอบโต้ด้วยสุนทรพจน์ความยาวกว่า 15 นาที โดยมีเนื้อหาโจมตีสหรัฐฯ ในหลายด้าน “เราหวังว่าสหรัฐฯ จะดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชนได้ดีกว่านี้เช่นกัน ซึ่งความจริงแล้ว สหรัฐฯ เองก็มีปัญหามากมายเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่ฝังลึกมานาน ไม่ใช่แค่ในระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา ยกตัวอย่างเช่นเรื่อง Black lives matter”

นอกจากนี้ยังกล่าวหาสหรัฐฯ ว่าใช้แสนยานุภาพทางทหาร และอำนาจทางการเงินครอบงำ และกดขี่ประเทศอื่น ๆ โดยใช้ข้ออ้างเรื่องความมั่นคงแห่งมาตุภูมิมาขัดขวางและแทรกแซงการค้า รวมถึงตั้งใจยุยงให้ประเทศอื่น ๆ โจมตีจีน นอกจากนี้นายหยางยังเรียกร้องให้สหรัฐฯ เลิกยัดเยียดความเป็น “ประชาธิปไตยในแบบของสหรัฐฯ” เข้าไปยังประเทศอื่น ๆ เพราะไม่จำเป็นว่าแต่ละประเทศจะยอมรับค่านิยมของสหรัฐฯ เสมอไป 

“คุณพูดแทนสหรัฐอเมริกาได้ แต่อย่ามาอ้างว่าคุณพูดแทนคนทั้งโลก” นายหยางกล่าว และยังเตือนอีกว่า จีนจะคัดค้าน และขัดขืนอย่างหนักแน่นต่อการแทรกแซงกิจการภายในจีนโดยสหรัฐฯ

นับว่าดุเดือดมากครับ หลังจากช่วงของการกล่าวเปิดประชุมของทั้งสองฝ่ายได้จบลงแล้ว นักข่าวประจำสื่อต่าง ๆ เริ่มทยอยเดินออกจากห้องประชุม แต่ด้วยเหตุผลบางอย่างทำให้ นายบลิงเคน เรียกนักข่าวให้กลับเข้ามาในห้องประชุมเพื่ออยู่ถ่าย และอยู่ฟัง “การประชุม” ต่อ ซึ่งหลังจากนั้นก็กลายเป็นการอวดฝีมือวิชาการฑูตของทั้งสองฝ่าย ในการตอบโต้ โจมตีนโยบายของอีกฝ่าย ยาวไปจนกินเวลาถึงสองชั่วโมง

โดยประเด็นที่ฝ่ายสหรัฐฯ ใช้โจมตีจีน คือเรื่องการกระทำของจีนที่ขัดกับ Rules based order หรือกฎพื้นฐานของโลก (ที่คิดขึ้นมาโดยสหรัฐฯ ใช้ในโลกฝั่งเสรีนิยม และอิงตามหลักเสรีนิยมแบบสหรัฐฯ) การที่จีนจู่โจมสหรัฐฯ ทางไซเบอร์ (cyber-attack) และการบีบบังคับทางเศรษฐกิจที่จีนกระทำต่อประเทศพันธมิตรของสหรัฐฯ (เข้าใจว่าหมายถึงออสเตรเลีย) 

ในขณะที่จีน ก็โต้กลับว่า สิ่งที่จีนกระทำต่อชาวอุยกูร์ ฮ่องกง และไต้หวันถือว่าเป็นกิจการภายในประเทศ มิใช่กงการของสหรัฐฯ และกล่าวประโยคเด็ดประจำวันออกมาว่า 

“Let me say here that in front of the Chinese side, the United States does not have the qualification to say that it wants to speak to China from a position of strength.”

เป็นการประกาศจุดยืนของจีนอย่างชัดเจนว่าในตอนนี้ สหรัฐฯ ต้องแสดงความเคารพจีน และแสดงความจริงใจในการเจรจามากกว่านี้ และจะต้องเจรจากับจีนในฐานะที่เท่าเทียม เพราะจีนเองก็ไม่คิดว่าสหรัฐฯ เป็นประเทศที่แข็งแกร่งและมีอำนาจเหมือนก่อนแล้ว ซึ่งอาจเกิดจากหลายสาเหตุที่ทำให้สหรัฐฯ อ่อนลงไปบ้างจากวิกฤติการระบาดของ COVID19 และการสูญเสียพันธมิตรในช่วง 4 ปี ที่อดีตประธานาธิบดี ‘โดนัลด์ ทรัมป์’ ยังดำรงตำแหน่งอยู่

การประชุมจบลงจริง ๆ ในวันต่อมา (20 มี.ค. 2564) ซึ่งโดยปกติแล้ว ธรรมเนียมการประชุมร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูงของประเทศ หลังจบการประชุมจะต้องมีภาพถ่ายการจับมือกันระหว่างทั้งสองฝ่าย มีการแถลงการณ์ร่วม และประกาศวันเวลาที่ทั้งสองฝ่ายตกลงจะประชุมร่วมกันในครั้งต่อไป แต่สำหรับการประชุม Alaska Summit ครั้งที่ผ่านมานั้น ไม่มีการปฏิบัติตามธรรมเนียมที่ผมได้กล่าวไปข้างต้นเลยครับ เจ้าหน้าที่ฝ่ายจีนเดินสะบัดก้นออกจากที่ประชุมทันทีหลังจากการประชุมได้จบลง ซึ่งทำให้บรรยากาศของการประชุมครั้งนี้ก็ดี หรือความสัมพันธ์ในภาพรวมระหว่างจีนและสหรัฐฯ ก็ดี ดูจะดุเดือดเสียยิ่งกว่าในสมัยของนายทรัมป์ หรือในสมัยใดก็ตามในประวัติศาสตร์

เมื่อการประชุมจบลงด้วยภาพความขัดแย้งแบบนี้ ย่อมเป็นที่ถูกใจสำหรับหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่กำลังถูกจีนเดินเกมรุกทางเศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง รวมถึงสร้างรอยยิ้มให้กับประเทศที่มีความขัดแย้งกับจีนเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นออสเตรเลีย อินเดีย หรือแม้กระทั่งกลุ่มประเทศใน EU ข้อนี้คงไม่สงสัยเลยครับ ว่าหากย้อนเวลากลับไปในช่วงเลือกตั้งสหรัฐฯ เมื่อปลายปีที่ผ่านมา จีนคงอยากให้ทรัมป์ชนะการเลือกตั้งมากกว่า

แต่ถึงสถานการณ์จะเป็นอย่างไร จีนยังคงแสดงท่าทีตั้งมั่นในความทะเยอทยาน ที่จะเป็นมหาอำนาจเบอร์หนึ่งของโลก และไม่ยอมอ่อนข้อ หรือประณีประนอมต่อใครก็ตาม ที่เข้ามาคุกคาม และขัดขวางสิ่งที่เป็นความฝันร่วมกันของคนในชาติ

ในขณะที่นักวิเคราะห์ฝ่ายสหรัฐฯ มองว่าการหารือกันครั้งแรกระหว่างจีน และทีมบริหารของไบเดนก็ประสบความสำเร็จด้วยดี เพราะทีมของไบเดนนั้นไม่ได้ส่งสัญญาณว่าสนใจที่จะพูดถึงการค้าระหว่างกันตั้งแต่แรกแล้ว

การตัดสินแพ้ชนะในเกมนี้ ก็คงอยู่ที่ความสำเร็จในการรวมพันธมิตรของฝ่ายสหรัฐฯ ในการกดดันจีน ซึ่งกระบวนการดังกล่าว ได้เริ่มต้นขึ้นแล้วหลังจากที่สหรัฐฯ แคนนาดา อังกฤษ เยอรมัน ออสเตรเลีย และประเทศอื่น ๆ ใน EU เห็นพ้องให้ประกาศมาตรการคว่ำบาตร ต่อเจ้าหน้าที่ระดับสูง 4 คนของรัฐบาลจีน เพื่อเป็นการลงโทษต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน ในเขตปกครองตนเองซินเจียง ซึ่งจะส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมของจีนมากน้อยแค่ไหน ทางการจีนจะมีนโยบายตอบโต้อย่างไรก็คงต้องรอดูกันไปครับ

แต่ที่แน่ ๆ ผมว่าการทะเลาะกันระหว่างสองชาติมหาอำนาจในครั้งนี้ ไม่ใช่สัญญาณที่ดีสำหรับตลาดและนักลงทุนทั่วโลก เรียกได้ว่าถ้าตีกันแรงก็จะต้องเจ็บหนักกันทั้งสองฝ่าย โดยในไม่ช้า ประเทศอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องรวมถึงไทยเราเอง ก็จะต้องถูกกดดันให้เลือกฝ่าย

ถึงวันนั้นแล้วเราควรเลือกอยู่ข้างใครกัน ? หรือไม่เลือกเลยสักฝ่าย ? หรือเลือกอยู่กับทั้งสองฝ่ายไปเสียนั่นแหละ ? เดี๋ยวคงได้รู้กันครับ


สนับสนุนโดย : รับข้อเสนอพิเศษมอเตอร์โชว์ ในงาน Mazda Motor Show สัมผัสปิกอัพใหม่ All-New Mazda BT-50 และยนตรกรรมสกายแอคทีฟจากมาสด้า ดอกเบี้ยต่ำสุด 0%* รับประกันคุณภาพรถสูงสุด 5 ปี* และบัตรเติมน้ำมัน 10,000 บ.* 24 มี.ค. 64 - 4 เม.ย. 64 ที่บูธและโชว์รูมทั่วประเทศ

การพัฒนาระหว่างประเทศที่สำคัญ กับปัจจัย ESG

การพัฒนาระหว่างประเทศที่สำคัญ ช่วงในระยะสัปดาห์ที่ผ่านมา เราจะได้ยินถึงเรื่อง PM 2.5 กองทุนเพื่อสิ่งแวดล้อมของบางสถาบันการเงิน หรือแม้กระทั่งในเรื่อง SDGs ในระดับกลไกลภาคธุรกิจ ภาครัฐ และการขับเคลื่อนทางการทูต

ซึ่งปัจจุบัน บริษัทหรือเอกชนในหลาย ๆ ประเทศ รวมถึงในเอเชียและไทย สิ่งนั้นก็คือปัจจัยแห่งความยั่งยืน 3 ปัจจัย ที่จะก่อให้เกิดการสร้างสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมมาภิบาลอย่างสมดุล เราเรียกสิ่งนี้ว่า ESG

ESG นั้น ได้มีส่วนสำคัญที่ทำให้ธุรกิจได้ตระหนักถึงความสำคัญต่ออุปสรรคปัญหาที่ท้าทายต่อโลกของเรา เช่น ภัยสภาวะการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของโลกอย่างรวดเร็ว มลภาวะ หรือปัญหาทางสิ่งแวดล้อมและสังคมต่าง ๆ รวมถึงโรคโควิด-19 ดร.สุวัฒน์ ทองธนากุล ท่านได้กล่าวในเว็ปไซด์ ผู้จัดการในหัวข้อ กระแสโลกมุ่ง “ยั่งยืน” ระวังความเสี่ยง ESG ว่า "ปัจจัย ESG นั้น ตัว (G) คือ การกำกับกิจการที่ดี (Corporate Governance) หรือการมีธรรมาภิบาล ในการบริหารของบจ.จึงสำคัญที่สุด เพราะเมื่อการบริหารมีความซื่อสัตย์สุจริต ทำสิ่งที่ถูกต้องและเป็นธรรมย่อมจะทำดีต่อ (E) สิ่งแวดล้อม และ (S) สังคม หรือผู้มีส่วนได้เสีย" 

ในเรื่อง ESG ที่ภาคธุรกิจส่วนใหญ่ดำเนินการก็มีความสอดคล้องอยู่ในเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงค่อนข้างมาก และเป็นส่วนสำคัญที่องค์การสหประชาชาติ ได้ตั้งเป้าหมายการพัฒนาความยั่งยืน (SDGs) ไว้ เพื่อการพัฒนาโลกในระยะยาวให้มีความสมดุลขึ้น ซึ่งเศรษฐกิจพอเพียงก็ได้ตอบโจทย์ต่อการส่งเสริมความยั่งยืน และลดอุปสรรคต่อปัญหาความไม่สมดุลของโลกที่ต้องเผชิญในปัจจุบัน มิติเศรษฐกิจพอเพียง หัวใจสำคัญต่อกลไกลทางด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ ในทางการฑูตและธุรกิจคือความสมดุลทางธรรมชาติ ชีวิตสังคม วัฒนธรรม และธรรมในการบริหาร

.

คุณชล บุนนาค และ ภูษณิศา กมลนรเทพ ได้อธิบายว่า มิติที่หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้ความสำคัญ คือ มิติสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม ในเรื่องนี้มีส่วนที่เป็นจิ๊กซอล ว่าทำไม ESG เศรษฐกิจพอเพียง และ SDGs จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมต่อเราในปัจจุบัน

.

ข้อมูลอ้างอิง

https://mgronline.com/greeninnovation/detail/9630000129407

ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy Philosophy: SEP) 

และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs)

https://www.sdgmove.com/2019/09/27/sep-and-sdgs/


สนับสนุนโดย : รับข้อเสนอพิเศษมอเตอร์โชว์ ในงาน Mazda Motor Show สัมผัสปิกอัพใหม่ All-New Mazda BT-50 และยนตรกรรมสกายแอคทีฟจากมาสด้า ดอกเบี้ยต่ำสุด 0%* รับประกันคุณภาพรถสูงสุด 5 ปี* และบัตรเติมน้ำมัน 10,000 บ.* 24 มี.ค. 64 - 4 เม.ย. 64 ที่บูธและโชว์รูมทั่วประเทศ

สำหรับกัปตัน “Henry Dempsey” ปาฏิหาริย์มีจริง...นักบินผู้รอดชีวิต จากการถูกดูดออกนอกเครื่องบินได้อย่างเหลือเชื่อ

เรื่องที่ราวกับปาฏิหาริย์ของกัปตัน Henry Dempsey นักบินวัย 46 ปี (ในขณะนั้น) ผู้รอดชีวิตจากการถูกดูดออกนอกเครื่องบิน จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์การบิน เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2530 เวลาราวสองทุ่ม ขณะที่ Henry Dempsey กัปตัน และ Paul Boucher นักบินที่สอง กำลังบังคับเครื่องบินโดยสารขนาด 15 ที่นั่งแบบ Beechcraft 99 Turboprop ของสายการบินประจำภูมิภาคตะวันออกฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา Eastern Express (จากการควบรวมกิจการของสายการบิน Continental Express และ Bar Harbor เป็น Eastern Express บริษัทลูกของ Eastern Air Lines ซึ่งเลิกกิจการไปแล้ว) บินลำเปล่า โดยไม่มีผู้โดยสารจากเมือง Lewiston มลรัฐเมน ไปยัง นคร Boston มลรัฐแมสซาชูเซตส์ เพื่อรับผู้โดยสารที่นั่น


เครื่องบินโดยสารขนาด 15 ที่นั่ง แบบ Beechcraft 99 Turboprop ของสายการบินประจำภูมิภาคตะวันออกฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา Eastern Express

.

ขณะที่บินอยู่เหนือมหาสมุทรแอตแลนติกอยู่นั้น ทั้งคู่ก็ได้ยินเสียงดังแปลก ๆ เหมือนเกิดจากอาการสั่นบริเวณด้านท้ายของเครื่องบิน กัปตัน Dempsey จึงให้ Boucher นักบินที่สองไปยังส่วนหลังเพื่อตรวจสอบช่องระบายอากาศของเครื่องบิน ซึ่งนักบินที่สองสังเกตเห็นว่า มีอากาศรั่วออกมาจาก Seal อุดรอบ ๆ ประตูซึ่งมีบานพับอยู่ด้านล่างและเป็นบันไดขึ้นลงของเครื่องบินด้วย นักบินที่สอง Boucher จึงกลับมารายงานการรั่วไหลให้กัปตัน Dempsey และแนะนำให้บันทึกในรายงานการบำรุงรักษา กัปตัน Dempsey ตัดสินใจลุกจากที่นั่งนักบินไปยังส่วนหลังของเครื่องบินเพื่อตรวจดูเอง แล้วจะได้แจ้งให้ฝ่ายซ่อมบำรุงทำการตรวจสอบในภายหลัง เมื่อกัปตัน Dempsey ไปถึงท้ายเครื่องเครื่องบินก็ตกหลุมอากาศ ตัวกัปตัน Dempsey กระแทกกับประตู และทันใดนั้นเองประตูเครื่องบินก็เปิดออก แล้วร่างของกัปตัน Dempsey ถูกอากาศภายนอกดูดออกจากตัวเครื่องบินทันที

Paul Boucher นักบินที่สอง รู้สึกถึงแรงลมที่พัดเข้ามาในเครื่องบิน และเห็นไฟสัญญาณแสดงสถานะว่า “ประตูถูกเปิด” และที่ถือว่าแย่ที่สุดคือ ไม่รู้ว่าสถานการณ์เป็นอย่างไร นอกจากกัปตันจะไม่กลับมา ซ้ำประตูเปิดออก นักบินที่สอง Boucher จึงเข้าใจว่า กัปตัน Dempsey หลุดออกไปจากเครื่องบิน และร่วงลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติกแล้ว จึงได้วิทยุแจ้งไปยังหอควบคุม Portland International Jetport มลรัฐเมน เพื่อขอความช่วยเหลือ และให้ติดต่อหน่วยยามฝั่ง (US Coast Guard) เพื่อทำการค้นหากัปตัน Dempsey ทันที โดยระบุพิกัดว่า น่าจะเป็นบริเวณอ่าว Casco จากนั้นก็เปลี่ยนเส้นทางบินไปสนามบินดังกล่าวซึ่งอยู่ใกล้ที่สุด เพราะห่างไปเพียงประมาณ 10 นาทีบิน เพื่อลงจอดฉุกเฉิน 

ประตูซึ่งมีบานพับอยู่ด้านล่างและเป็นบันไดขึ้นลงของเครื่องบินด้วย ขณะเปิดออกของเครื่องบิน

แบบ Beechcraft 99 Turboprop ซึ่งกัปตัน Henry Dempsey ต้องโหนกกับราวโซ่อยู่ราว 10-15 นาที

.

ทันทีที่ประตูเครื่องบินเปิดออก ก่อนที่กัปตัน Dempsey จะหลุดออกจากเครื่องบินนั้น เขาพยายามจับคว้าทุกสิ่งทุกอย่างเท่าที่สามารถทำได้ เท้าซ้ายของเขายังติดอยู่ในเครื่องบิน แต่ศีรษะของเขาห้อยลงด้านล่างของประตูบันไดที่เปิดออก มือข้างหนึ่งของเขาจับด้านข้างของประตูซึ่งมีความหนาประมาณสี่นิ้ว อีกข้างจับกับโซ่ซึ่งเป็นราวสำหรับจับบันได โดยที่ Boucher นักบินที่สองไม่ทราบว่า กัปตัน Dempsey ยังโหนตัวกับประตูของเครื่องที่เปิดออกอยู่ ขณะที่เครื่องบินเดินทางด้วยความเร็ว 190 - 200 ไมล์ต่อชั่วโมง อยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 4-5,000 ฟุต และหลังจากเครื่องบินลงจอด ทีมงานภาคพื้นดินได้พบกับความประหลาดใจอย่างที่สุด สิ่งที่พวกเขาพบไม่เพียงแต่น่าทึ่ง แต่ยังเหลือเชื่อราวกับปาฏิหาริย์อีกด้วย เมื่อพบว่า กัปตัน Dempsey จับประตูซึ่งเป็นบันไดองเครื่องบินด้วย โดยศีรษะของกัปตัน Dempsey อยู่ห่างพื้นทางวิ่งเพียง 12 นิ้วเท่านั้น กัปตัน Dempsey คว่ำหน้าลงกับประตูขณะที่เปิดออก ร่างของเขาครึ่งหนึ่งอยู่ด้านใน และอีกครึ่งหนึ่งอยู่ด้านนอกของเครื่องบิน เท้าซ้ายของเขาติดอยู่ในขอบประตู และเขาก็จับยึดแน่นกับราวโซ่ด้วยมือทั้งสองข้าง Mark Thomsen นักดับเพลิงของ Portland International Jetport หนึ่งในทีมกู้ภัยของสนามบินกล่าวว่า Paul Boucher นักบินที่สองถึงกับตะลึงเมื่อรู้ว่า กัปตัน Dempsey โหนอยู่กับประตูเครื่องบิน และยังคงมีชีวิตอยู่ นักบินทั้งนักบินกอดกันกลม กัปตัน Dempsey กล่าวว่า ดีใจที่ Boucher เป็นผู้ที่นำเครื่องบินลงจอด นักบินทั้งสองมีแผนที่จะหยุดพักยาว ๆ หลาย ๆ วัน

กัปตัน Henry Dempsey ได้เล่าในภายหลังว่า “ผมรู้ทันทีที่ผมถูกดูดออกจากเครื่องบินว่า ผมต้องเจอกับปัญหาที่ใหญ่มาก ๆ” กัปตันของสายการบิน Eastern Express วัย 46 ปีจากเมือง Cape Elizabeth มลรัฐเมน กล่าวถึงเหตุการณ์ที่เป็นฝันร้ายสุด ๆ ในชีวิต “ผมรู้สึกราวกับว่า เป็นเหมือนกับเหยื่อตกปลา” กัปตัน Dempsey กล่าวต่อว่า “'ผมคิดว่า ผมกำลังจะตาย เพราะไม่มีอะไรที่ผมสามารถทำได้แล้วในขณะนั้น กัปตัน Dempsey ผู้สูง 6 ฟุต 4 นิ้ว (2 เมตร) น้ำหนัก 200 ปอนด์ (91 กิโลกรัม) กัปตัน Dempsey กล่าวว่า “ผมร้องขอความช่วยเหลือ แต่ไม่มีใครได้ยินผม แม้แต่ตัวผมเองก็ไม่ได้ยินเสียงเองซึ่งกำลังตะโกนเลย” “ทันใดก็มีความรู้สึกผ่อนคลายที่แปลก ๆ เกิดขึ้นกับผม” กัปตัน Dempsey กล่าวอีก “ผมรู้ว่า ตัวเองตอนนี้อยู่นะดับความสูงขนาดไหน ตอนแรกผมเองก็ไม่รู้สึกเจ็บปวดเลยจริงๆ ผมมีประสบการณ์ในการบินมานานพอที่จะไม่เกิดอาการตื่นตระหนก” 

กัปตัน Henry Dempsey ซึ่งมือถูกพันด้วยผ้าพันแผล ภายหลังเหตุ

.

กัปตัน Dempsey ผู้ซึ่งเป็นนักบินมา 10 ปีแล้ว คว้าประตูที่เปิดออก และรอให้นักบินที่สอง Paul Boucher บังคับเครื่องบินลงจอด ขณะนั้นเครื่องบินกำลังเดินทางด้วยความเร็ว 180-200 ไมล์ต่อชั่วโมง ที่ระดับความสูง 2,500-5,000 ฟุต เขากล่าวว่า “ดูเหมือนว่าจะเป็น 15 นาทีที่ยาวนานที่สุดในชีวิตของผม” และ “เหมือนกับว่า Boucher นักบินที่สองจะไม่ต้องบินเครื่องบินลำนั้นวนไปก่อนลงจอดเลย” เมื่อประตูซึ่งเป็นบันไดด้วย เปิดออกในขณะที่เขาล้มลง กัปตัน Dempsey ก็คว้าสายโซ่ซึ่งเป็นราวบันไดเมื่อเปิดประตู เขาจับเอาไว้แน่น ในขณะที่นักบินที่สองของเขาเปลี่ยนที่หมายของเครื่องบินไปยัง Portland International Jetport เพื่อลงจอดฉุกเฉิน ร่างกายของกัปตัน Dempsey มีเพียงรอยขีดข่วนและรอยฟกช้ำจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพียงเล็กน้อย แต่เจ้าหน้าที่ภาคพื้นของ Portland International Jetport ต้องใช้เวลาหลายนาทีเพื่อมือของกัปตัน Dempsey ออกจากสายเคเบิลที่ใช่เป็นราวบันไดซึ่งเขาจับเอาไว้แน่นนานกว่าสิบนาที กัปตัน Dempsey สรุปว่า “ผมเห็นความตายผ่านไปต่อหน้าต่อตาเลย” แม้จะพบประสบการณ์ที่เลวร้าย แต่กัปตัน Dempsey กล่าวว่า เขาจะกลับไปบินภายในหนึ่งสัปดาห์ “ผมรักที่จะบิน ผมรักการบินจริงๆ”

สำนักงานบริหารการบินแห่งชาติ (Federal Aviation Administration) และ สายการบิน Eastern Express ทำการสอบสวนเบื้องต้นพบว่า ไม่มีความผิดพลาดเกี่ยวกับระบบกลไกของประตู และเครื่องบินก็กลับมาให้บริการได้ทันที ความเป็นไปได้คือ ประตูของเครื่องบินไม่ปิดสนิทเรียบร้อย เจ้าหน้าที่ประจำหอบังคับการบินของ Portland International Jetport นายหนึ่ง (ไม่ขอให้ระบุชื่อ) กล่าวว่า กัปตัน Dempsey โหนตัวอยู่นอกเครื่องบินราวสิบนาที และเจ้าหน้าที่รัฐบาลกลางอีกนายหนึ่ง (ซึ่งไม่ขอให้ระบุชื่อเช่นกัน) กล่าวว่า กัปตัน Dempsey อาจไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจในขณะที่ตัวอยู่ภายนอกเครื่องบิน เนื่องจากขณะนั้นเครื่องบินบินในระดับความสูงที่ค่อนข้างต่ำ แต่ก็ประหลาดใจที่กัปตัน Dempsey รอดชีวิตมาได้ “ผมคิดว่า คงเป็นไปไม่ได้ที่ต้องห้อยตัวในความเร็วขนาดนั้น เขาจะต้องมีประสาทที่เข้มแข็งราวกับเหล็กและกล้ามเนื้อที่แข็งแกร่งมาก ๆ” เจ้าหน้าที่นายนั้นกล่าว

กัปตัน Henry Dempsey พักรักษาอาการบาดเจ็บ และไม่ได้ทำการบินพักใหญ่ ๆ เขาเคยปรากฏตัวในรายการโทรทัศน์ Talk Show ตอนดึกรายการหนึ่ง ปัจจุบันจากข้อมูลบนเฟซบุ๊กของเขา กัปตัน Henry Dempsey ยังมีชีวิตอยู่ด้วยวัย 80 ปี และพักอาศัยอยู่ในมลรัฐ Virginia


สนับสนุนโดย : รับข้อเสนอพิเศษมอเตอร์โชว์ ในงาน Mazda Motor Show สัมผัสปิกอัพใหม่ All-New Mazda BT-50 และยนตรกรรมสกายแอคทีฟจากมาสด้า ดอกเบี้ยต่ำสุด 0%* รับประกันคุณภาพรถสูงสุด 5 ปี* และบัตรเติมน้ำมัน 10,000 บ.* 24 มี.ค. 64 - 4 เม.ย. 64 ที่บูธและโชว์รูมทั่วประเทศ

Burmese Milk Tea เครื่องดื่มนี้มีที่ (เมียน) มา

ในวันที่โลกเปลี่ยนไป สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นในเมียนมาร์ด้วยเช่นกัน คือ สิ่งที่เรียกว่าการปฏิวัติชานม แต่ต้นกำเนิดชานมในพม่านั้นมาจากไหน ผมเชื่อได้ว่าแม้กระทั่งคนพม่าเองก็ยังไม่รู้ ส่วนตัวผมเองก็พยายามหาจุดเชื่อมโยงว่าชานมในพม่ามาจากแห่งใด มาจากไต้หวันหรือเปล่า ผมก็พยายามหาข้อมูลก่อนว่าแล้วชานมนั้นกำเนิดมาจากไหนมีความเกี่ยวข้องกันหรือไม่

หลังจากที่หาข้อมูลเรื่องชานมมาร่วมอาทิตย์พบว่าชานมนั้นมีการบริโภคในหลายตำแหน่งของโลก เช่น ชานมฮ่องกงที่เรียกว่า ไหนฉ่า เป็นชาดำที่ผสมนมข้นจืด โดยมีต้นกำเนิดในช่วงการปกครองของอังกฤษ ซึงก็แปลว่าชมนมในฮ่องกงนั้นถูกนำมาจากแห่งไหนสักแห่งที่เคยเป็นอาณานิคมอังกฤษนั่นเอง เมื่อผมพยายามพินิจพิเคราะห์ว่าชานมที่ไหนที่เคยเป็นอาณานิคมของอังกฤษมาก่อนและเป็นชาดำ ทำให้คิดถึง “ชาชัก” ที่แพร่หลายในมาเลย์เซีย สิงคโปร์และทางภาคใต้ของไทยนั่นเอง มาถึงจุดนี้เป็นไปได้ว่าชานมในฮ่องกงน่าจะมาจากมาเลย์เซียที่เคยเป็นอาณานิคมของอังกฤษมาก่อนนั่นเอง

แต่หากวิเคราะห์ให้ดีก็ชวนให้สงสัยว่าทำไมประเทศมาเลย์เซียและสิงคโปร์ไม่ใช่ประเทศที่เหมาะกับการปลูกชาแต่เป็นสถานที่ที่แพร่หลายในการดื่มชานม นั่นแสดงว่ามีความเป็นไปได้ ที่ชานมมาจากมาเลย์เซียนั้นถูกนำมาจากแหล่งอื่น ผมจึงหาข้อมูลต่อว่าในโลกนี้มีประเทศไหนดื่มชานมบ้าง และแล้วผมก็ได้ข้อมูลมากขึ้นว่าในโลกนี้มีอีกหลายที่ในโลกดื่มชานม

ในอินเดียมีการนำชาใส่นม และใส่เครื่องเทศต่าง ๆ เช่น มาซาล่า ทำให้ชามีกลิ่นเครื่องเทศและถั่วอัลมอนด์ ที่เรียกว่า Chai แต่นอกจากการใส่นมแล้วหากสูงขึ้นยังทิเบตและภูฏาน ชาวทิเบตและภูฏานนิยมการดื่มชาที่ผสมกับเนย ซึ่งมีกลิ่นและรสชาติเข้มข้นกว่านม ซึ่งในภาษาภูฏานเรียกว่า Suja และอีกชาหนึ่งที่ไม่พูดไม่ได้คือ ชานมพม่า นั่นเอง

มาถึงจุดนี้ หากเราพยายามมองว่าวัฒนธรรมการดื่มชานั้น อาจจะเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของคนจีน พม่าและอินเดีย เป็นไปได้ว่าพม่าที่เป็นจุดเชื่อมต่อของวัฒนธรรมอินเดียและจีน จะนำวัฒนธรรมการดื่มชามาจากจีนและการนำนมมาผสมในชาอีก เพื่อเพิ่มรสชาติให้ชามีรสและกลิ่นที่ดีขึ้น ยิ่งหากพิจารณาถึงรากเหง้าทางภาษาพม่า ที่เป็นภาษาในกลุ่ม Sino-Tibetan หรือตระกูลภาษาจีน-ทิเบต แยกย่อยไปในกลุ่มภาษา โลโล-พม่า ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะเป็นรากภาษา Pyu ซึ่งพัฒนามาเป็นภาษาพม่าในปัจจุบันนั่นเอง

ผมมองว่าวัฒนธรรมกับภาษาย่อมมีการไหลไปคู่กัน ดังนั้นเป็นไปได้ว่า ชานมในพม่าหรือในประเทศเมียนมาร์ในปัจจุบันนั้น นอกจากจะเป็นเครื่องดื่มแล้ว มันยังเป็นมรดกทางวัฒนธรรมความเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของชาวพม่า จีน และอินเดียว่ามีความใกล้ชิดกันมาแต่ครั้งบรรพกาล


สนับสนุนโดย : รับข้อเสนอพิเศษมอเตอร์โชว์ ในงาน Mazda Motor Show สัมผัสปิกอัพใหม่ All-New Mazda BT-50 และยนตรกรรมสกายแอคทีฟจากมาสด้า ดอกเบี้ยต่ำสุด 0%* รับประกันคุณภาพรถสูงสุด 5 ปี* และบัตรเติมน้ำมัน 10,000 บ.* 24 มี.ค. 64 - 4 เม.ย. 64 ที่บูธและโชว์รูมทั่วประเทศ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top