Sunday, 5 May 2024
ภาคใต้

'นิพนธ์' ดันจว.ชายแดนใต้ สู่พื้นที่ความมั่นคงทาง 'อาหาร-รายได้' ยกระดับ 'คุณภาพชีวิต-สุขภาวะ' ปชช.-เด็กเล็กในพื้นที่

นิพนธ์ เร่งหารือ ศอ.บต. เตรียมผลักดันจังหวัดชายแดนใต้ เป็นพื้นที่ความมั่นคงทางอาหาร สร้างรายได้ ยกระดับคุณภาพชีวิต ให้ปชช.ในพื้นที่ฯ เดินหน้า เชื่อมโยงแก้ไขปัญหาสุขภาวะและภาวะโภชนาการต่ำของเด็กเล็กใน จชต.

เมื่อเวลา 09.30 น. ที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) วันที่ 10 สิงหาคม 2565 นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วย พล.ร.ต.สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการศอ.บต. นายชนธัญ แสงพุ่ม รองเลขาธิการศอ.บต. พล.ต.ต.เสกสันต์ ชูรังสฤษฎิ์. ผบก.สส.จชต. ร่วมประชุมปรึกษาหารือการจัดทำข้อมูลเตรียมผลักดันจังหวัดหวัดชายแดนภาคใต้เป็นพื้นที่ความมั่นคงทางอาหาร ภายใต้ยุทธศาสตร์ เกษตรผลิต-พาณิชย์ตลาด เพื่อสร้างรายได้และยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนในพื้นที่ ในการนำไปสู่การแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ได้อย่างยั่งยืน

นายนิพนธ์ กล่าวว่า จากการศึกษาและการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับประชาชนในหลายพื้นที่พบว่าความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้เป็นพื้นที่สามารถสร้างผลผลิตทางการเกษตรได้ จึงต้องส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนา ผลผลิตที่สอดคล้องความต้องการของตลาด พร้อมทั้งสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งทุนเพื่อประกอบอาชีพที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำ โดยให้หน่วยงานที่รับผิดชอบได้เข้าไปดูแลและพัฒนาในด้านต่าง ๆ ที่สามารถแปรเปลี่ยนเป็นผลผลิตเพื่อการยังชีพ และแปรรูปเพื่อสนับสนุนการบริโภคทั้งในพื้นที่และในประเทศ รวมถึงการส่งออก ซึ่งศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นหน่วยงานที่สำคัญในการดูแลพื้นที่เพื่อการพัฒนาและสร้างความมั่นคงในจังหวัดายแดนภาคใต้ โดยวันนี้จะเป็นการหารือ เพื่อจัดทำข้อมูล และเตรียมการในเรื่องยุทธศาสตร์ และผลักดันพื้นที่ฯ ให้เป็นพื้นที่ความมั่นคงทางด้านอาหารต่อไป

'ภูมิใจไทย' กร้าว!! ประกาศกวาด ส.ส.ใต้ 16 ที่นั่ง เชื่อ 3 ปีกว่าร่วมรัฐบาล ‘พูดแล้วทำ’ ผลงานเพียบ

‘พิพัฒน์’ อ้อนคนใต้เลือก ‘ภูมิใจไทย’ สานงานต่อ ประกาศกวาดไม่น้อยกว่า 16 ที่นั่ง หลังเพิ่มเขตเลือกตั้งใหม่ 8 เก้าอี้ ตีปี๊บ 3 ปีกว่าร่วมรัฐบาล สร้างผลงานเพียบตรงสโลแกนพูดแล้วทำ

(29 ส.ค. 65) ที่จังหวัดสงขลา นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในฐานะรองหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย รับผิดชอบพื้นที่ภาคใต้ นายทรงศักดิ์ ทองศรี รมช.มหาดไทย ในฐานะรองหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย และ นางนาที รัชกิจประการ เหรัญญิกพรรคภูมิใจไทย แถลงแสดงความพร้อมในการเลือกตั้งของพรรคภูมิใจไทยในพื้นที่ภาคใต้

โดยนายพิพัฒน์ กล่าวว่า จากการเป็นรัฐบาลมา 3 ปีเศษ ที่ประกอบไปด้วย 3 รัฐมนตรีว่าการกระทรวง คือ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงคมนาคม และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา รวมถึง 4 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง คือ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สามารถผลักดันนโยบายต่าง ๆ เป็นผลรูปธรรมและตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนชาวใต้

เปิด 18 ผลงาน 'ภาคใต้' ช่วง 8 ปี 'รัฐบาลลุงตู่'

นับตั้งแต่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้ามาบริหารประเทศ เกิดการพัฒนาทั่วทุกภาคของประเทศทั้งการปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐาน การปฏิรูปคุณภาพชีวิตในชุมชน นอกจากนี้ยังแก้ไขปัญหาสะสมเรื่องความไม่สงบในประเทศ ออกมาตราการทางเศรษฐกิจ มีการจัดทำบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โครงการคนละครึ่ง โครงการเราเที่ยวด้วยกัน โครงการชิมช้อปใช้ มีการส่งเสริมศักยภาพตามพื้นที่ 5 ภาค รวมถึงส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โครงการต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนจับต้องได้ทั้งสิ้น และคนที่ได้รับประโยชน์คือประชาชนไทยทุกคนทุกภูมิภาคอย่างเท่าเทียมกัน

ในส่วนการพัฒนาภาคใต้ มีโครงข่ายคมนาคมขนส่งที่สามารถเชื่อมโยงทั้งในและต่างประเทศ ผุดเมืองศูนย์กลางที่มีศักยภาพ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจที่ขยายผลจากโครงการเมืองต้นแบบ รองรับการขยายตัวทางการค้าและการท่องเที่ยวชายแดน ทั้งหมดนี้ภายใต้วิสัยทัศน์กลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน “เกษตรก้าวหน้า การค้าชายแดน การท่องเที่ยวเชื่อมโยง สู่อาเซียน” สามารถแยกให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมดังนี้

1. วางรากฐานแนวพัฒนาเกษตรกรรมและเศรษฐกิจรากฐาน ตั้งแต่การเพิ่มศักยภาพผลผลิต ข้าว ยางพารา อ้อย  มีการประกันรายได้เกษตรกร  

2. คลอง ร.1 จ.สงขลา แก้ปัญหาน้ำท่วมและการชลประทาน

3. จ้างงานเด็กจบใหม่ โดยรัฐบาลช่วยอุดหนุนเงินเดือนค่าจ้างให้เด็กจบใหม่ร้อยละ 50% รวมถึงเด็กจบใหม่ในภาคใต้ด้วย

4. รัฐบาลมอบโฉนดที่ดินทั่วไทย ซึ่งโครงการนี้แพร่กระจายไปทุกภาค รวมถึงภาคใต้

5. พัฒนาสนามบินทั่วประเทศ รวมทั้งสนามบินตรังและสนามบินเบตง 

6. สร้างทางแยกต่างระดับทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช เป็นทางแยกต่างระดับที่ใหญ่ที่สุดในภาคใต้

7. โครงการก่อสร้างถนนเชื่อมต่อด่านศุลกากรสะเดาแห่งใหม่-ด่านบูกิตกายูฮิตัม

8. โครงการเชื่อมต่อรถไฟความเร็วสูงสายใต้กับทางมาเลเซีย ซึ่งไม่ได้เชื่อมต่อเฉพาะสองประเทศเท่านั้น แต่สามารถเชื่อมต่อถึง 5 ประเทศ คือ จีน ลาว ไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์

'บิ๊กป้อม' ติดตามสถานการณ์น้ำ-ศก.ภาคใต้ ยิ้มเขินถูกเรียกนายกฯ รีบออกตัว เป็นแค่รองนายกฯ

วันที่ (19 กันยายน 2565) เมื่อเวลา 8.45 น. พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) พร้อมพล.อ ชัยชาญ ช้างมลคล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม พล.อ.สุพจน์ มาลานิยม เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) และคณะ เดินทางออกจากท่าอากาศยานทหาร 2 บน.6 ด้วยเครื่องบินกองทัพอากาศ หมายเลข 60206 ไปยังท่าอากาศยาน จ.นราธิวาส ในเวลา 10.10 น 

โดยทันทีที่ถึงสนามบิน ได้มีนายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน และนายวิรัช รัตนเศรษฐ แกนนำพรรคพลังประชารัฐ นำส.ส.พรรคพลังประชารัฐ และว่าที่ผู้สมัคร ให้ต้อนรับประกอบด้วย อาทิ นายสัมพันธ์ มะยูโซะ ส.ส.นราธิวาส, นายอาดิลัน อาลีอิสเฮาะ ส.ส.ยะลา, ร.ต.อ.อรุณ สวัสดี ส.ส.สงขลา, นายวันชัย ปริญญาศิริ ส.ส.สงขลา, นายพยม พรหมเพชร ส.ส.สงขลา และเข้าห้องรับรองพูดคุยร่วมกัน ใช้เวลาประมาณ 20 นาที ก่อนจะออกเดินทางจากสนามบินด้วยรถโตโยต้า อัลพาร์ด ป้ายแดง หมายเลขทะเบียน บ 7240 กรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่ภาคใต้ และประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) พร้อมตรวจติดตามการขับเคลื่อนมติ กพต. ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จ.นราธิวาส

เมื่อเวลา 11.00 น. พล.อ.ประวิตรพร้อมคณะ เดินทางถึงมหาวิทยาลัยนราธิวาส โดยมีพล.ร.ต.สมเกีบรติ ผลประยูร เลขาธิการศอ.บต.ให้การต้อนรับ พร้อมรายงานสรุปการขับเคลื่อนพัฒนาศักยภาพด่านศุลกากรไทย - มาเลเซียเสริมอัตลักษณ์ทางภาษา ประเพณีและวัฒนธรรม ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และเยี่ยมชมนิทรรศกรเสริมสร้างศักยภาพมหาวิทยาลัยเพื่อรองรับการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และกิจกรรมโคบาลชายแดนใต้ภายใต้โครงการเมืองปศุสัตว์ตามกรอบระเบียงเศรษฐกิจฮาลาล จังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมฟังบรรยายภาพรวมในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จากนายสุรสีห์ กิตติมลฑล เลขาธิการสำนักทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.)

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าระหว่างการรับฟังบรรยายสรุป โครงการสร้างเสริมศักยภาพมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์เพื่อการพัฒนาจังหวัด นราธิวาส พล.อ.ประวิตรได้กล่าว ฝากมหาวิทยาลัยดังกล่าวให้ดูแลเรื่องภาษาไทย ทำอย่างไรให้เด็กในพื้นที่ใช้ภาษาไทยได้ดี เพราะเวลากลับบ้านใช้ภาษามาลายูกัน

จากนั้นพล.อ.ประวิตร ได้พูดคุยกับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคผ่านระบบ Video Conference กับเกษตรกรชาวอำเภอรามันและสุไหงปาดี ซึ่งเกษตรกรได้รายงานถึงความก้าวหน้าของการดำเนินการ พร้อมยังขอเสาไฟฟ้า เพื่อใช้ในการเกษตร 

'เพื่อไทย' ผุดกลุ่ม 'มหาสมุทรมหานคร' มุ่งแก้เศรษฐกิจ 'อ่าวไทย-อันดามัน'

(3 ต.ค. 65) วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล อดีตรัฐมนตรีว่ากระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะกรรมการยุทธศาสตร์และทิศทางการเมืองพรรคเพื่อไทย พร้อมด้วย กฤษ ศรีฟ้า อดีต ส.ส.ภาคใต้ พรรคไทยรักไทย เสรีย์ นวลเพ็ง อดีตนายกสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย และไพศาล หลีเส็น สมาชิกพรรคเพื่อไทย พบปะกลุ่มนักธุรกิจแถบจังหวัดอันดามัน และกลุ่มอ่าวไทยที่จังหวัดกระบี่

การพูดคุยวันนี้ ประกอบด้วยนักธุรกิจด้านการท่องเที่ยว กลุ่มเกษตรกร กลุ่มประมง แลกเปลี่ยนกันถึงศักยภาพของฝั่งอันดามันและอ่าวไทย ที่ประสบปัญหาเศรษฐกิจอย่างหนัก ไม่ได้รับการดูแลจากภาครัฐเพียงพอ โดยกลุ่มที่มาประชุมทั้งหมดนี้จะตั้งเป็น 'กลุ่มมหาสมุทรมหานคร' ยกระดับจังหวัดที่อยู่ริมทะเลทั้งหมด ดึงศักยภาพด้านประมง ส่งออก ท่องเที่ยว กีฬา สถาปัตยกรรมและศิลปวัฒนธรรม ซึ่งหากพรรคเพื่อไทยเข้ามาดูแลและหาแนวทางผลักดันเป็นนโยบายเศรษฐกิจ เชื่อว่าจะสามารถสร้างนโยบายขับเคลื่อนภาคใต้และทำให้เกิดขึ้นได้จริง โดยมอบหมายให้ กฤษ ศรีฟ้า ซึ่งเคยเป็นอดีตส.ส.พรรคไทยรักไทยในพื้นที่ภาคใต้ และอดีตประธานหอการค้า เป็นผู้นำกลางของกลุ่มผนึกกำลังตัวแทนภาคเศรษฐกิจและการเมืองจากทุกจังหวัดเข้ามาเป็นคณะทำงานเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและชีวิตของประชาชนในภาคใต้ได้อย่างจริงจัง

'บิ๊กป้อม' พร้อมคณะ ลงพื้นที่ จ.สุราษฎร์ธานี ติดตามสถานการณ์น้ำ - แผนรับมือน้ำท่วม

เมื่อเวลา 08.40 น.วันที่ (17 ต.ค. 65) ที่ท่าอากาศยานทหาร 2 กองบิน 6 (บน.6) ดอนเมือง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี พร้อมนายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมช.คลัง พล.อ.ชัยชาญช้างมงคล รมช.กลาโหม เดินทางลงพื้นที่ตรวจราชการ จ.สุราษฎร์ธานี ติดตามสถานการณ์น้ำและแผนงานด้านทรัพยากรน้ำ จากสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และแผนการดำเนินงานโครงการแก้มลิงสระบัว (อ่างเก็บน้ำทุ่งกระจูด) ของกรมชลประทาน รวมถึงกรมโยธาธิการและผังเมือง จะนำเสนอแผนการดำเนินงานโครงการก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนเมืองสุราษฎร์ธานี และเตรียมรับมือสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 

ขณะเดียวกันรับฟังรายงานสถานการณ์ปาล์มน้ำมันในประเทศ โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร พบปะประชาชน และเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน จากนั้นช่วงบ่าย พล.อ.ประวิตร จะลงพื้นที่ติดตามโครงการก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนเมืองสุราษฎร์ธานี และติดตามโครงการแก้มลิงสระบัว (อ่างเก็บน้ำทุ่งกระจุด) ต.ท่าสะท้อน อ.พุนพิน และพบปะประชาชน ก่อนเดินทางกลับ กทม.

'บิ๊กป้อม’ ลงจี้ 13 มาตรการรับฤดูฝนป้องอุทกภัยใต้ พร้อมติดตามการแก้ปัญหาราคาปาล์มน้ำมัน

พล.อ.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รอง นายกฯ พร้อม รมว.ดีอีเอส, รมช.คลัง, รมช.กห. พร้อมคณะ ได้เดินทางลงใต้ ติดตามสถานการณ์น้ำและเตรียมการรับมือฤดูฝน รวมทั้งความคืบหน้าการแก้ปัญหาปาล์มน้ำมันในพื้นที่ภาคใต้ โดยรับฟังการบรรยายสรุป ณ ศาลากลาง จ.สุราษฎร์ธานี โดยมี ผวจ. และ หน.ส่วนราชการให้การต้อนรับ

สำหรับภาพรวมภาคใต้ กำลังเข้าสู่ฤดูฝน คาดการณ์สถานการณ์น้ำในพื้นที่ภาคใต้ จากร่องมรสุมพาดผ่านและพายุโซนร้อนจากทะเลจีนใต้ ส่งผลฝนตกหนัก ปริมาณน้ำสะสมในพื้นที่มากขึ้น เสี่ยงต่อน้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมฉับพลันใน จ.ชุมพร, ระนอง, พังงา, กระบี่, ภูเก็ต, สุราษฎร์ธานี, นครศรีธรรมราช และสตูล การบริหารจัดการลุ่มน้ำและโครงการแหล่งเก็บกักน้ำ มุ่งแก้ปัญหาอุทกภัยเป็นหลักและภัยแล้งไปพร้อมกัน 

สำหรับการแก้ปัญหาปาล์มน้ำมัน ได้รับการแก้ไขจากรัฐบาลปัจจุบันมาตลอด จากมาตรการต่าง ๆ ทั้ง ส่งผลราคาปาล์มน้ำมันดีขึ้นต่อเนื่องกว่า ร้อยละ 150 และสามารถทำสถิติส่งออกสูงสุด 6.2 แสนตันในปี 64 และคาดว่าราคาปาล์มน้ำมันในปี 65 เฉลี่ยอยู่ที่ 7.5 บาท/กก.

'นิด้าโพล' เผยผลสำรวจ 'คนที่ใช่พรรคที่ชอบของคนใต้' พบ 'คนใต้' ยังหนุน 'บิ๊กตู่' นั่งนายกฯ เป็นอันดับ 1

(23 ต.ค.65) ศูนย์สำรวจความคิดเห็น 'นิด้าโพล' สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง 'คนที่ใช่ พรรคที่ชอบ ของคนใต้' ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 17-20 ตุลาคม 2565 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีสิทธิเลือกตั้งในภาคใต้ กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมทั้งสิ้น จำนวน 2,001 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับคนที่ใช่ พรรคที่ชอบ ของคนใต้ การสำรวจอาศัย การสุ่มตัวอย่าง โดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ 'นิด้าโพล' สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงบุคคลที่คนใต้จะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีในวันนี้ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 23.94 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เพราะ ซื่อสัตย์สุจริต มีความเด็ดขาด กล้าตัดสินใจ ทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบ และต้องการให้บริหารประเทศอย่างต่อเนื่อง อันดับ 2 ร้อยละ 13.24 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) เพราะ เป็นคนรุ่นใหม่ ชื่นชอบพรรคเพื่อไทย นโยบายพรรคเพื่อไทยสามารถแก้ไขปัญหาราคาสินค้าทางการเกษตรได้ ขณะที่บางส่วนระบุว่า ชื่นชอบผลงานของตระกูลชินวัตร อันดับ 3 ร้อยละ 12.79 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ อันดับ 4 ร้อยละ 11.24 ระบุว่าเป็นนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) เพราะ ต้องการเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่เข้ามาบริหารประเทศ เป็นคนมีวิสัยทัศน์ ชื่นชอบนโยบายและอุดมการณ์ทางการเมืองของพรรคก้าวไกล อันดับ 5 ร้อยละ 6.14 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย) เพราะ เป็นคนตรงไปตรงมา มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการทำงาน มีความซื่อสัตย์สุจริต และชื่นชอบวิธีการทำงาน

อันดับ 6 ร้อยละ 5.95 ระบุว่าเป็น นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (พรรคประชาธิปัตย์) เพราะ ชื่นชอบผลงานที่ผ่านมา และชื่นชอบพรรคประชาธิปัตย์ อันดับ 7 ร้อยละ 5.30 ระบุว่าเป็น นายกรณ์ จาติกวณิช (พรรคชาติพัฒนากล้า) เพราะ มีความรู้ มีความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ และเป็นคนสุขุมรอบคอบ อันดับ 8 ร้อยละ 5.10 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย) เพราะ มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการทำงาน มีประสบการณ์ด้านการบริหาร ชื่นชอบนโยบายของพรรค ขณะที่บางส่วนระบุว่า ต้องการเปิดโอกาสให้ผู้หญิงเข้ามาบริหารประเทศ อันดับ 9 ร้อยละ 4.00 ระบุว่าเป็น นายอนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย) เพราะ ชื่นชอบนโยบายของพรรคภูมิใจไทย เป็นคนพูดจริงทำจริง และลงพื้นที่ดูแลประชาชนอย่างต่อเนื่อง

อันดับ 10 ร้อยละ 2.90 ระบุว่าเป็น นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา (พรรคประชาชาติ) เพราะ เป็นคนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และช่วยเหลือประชาชนอย่างต่อเนื่อง อันดับ 11 ร้อยละ 2.40 ระบุว่าเป็น ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ (พรรคสร้างอนาคตไทย) เพราะ มีความรู้ มีความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ และมีประสบการณ์ด้านการบริหาร

อันดับ 12 ร้อยละ 1.50 ระบุว่าเป็น นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว (พรรคเพื่อไทย) เพราะ ชื่นชอบพรรคเพื่อไทย เป็นคนสุขุมรอบคอบ และชื่นชอบผลงานที่ผ่านมา อันดับ 13 ร้อยละ 1.10 ระบุว่าเป็น ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เพราะ เป็นคนมีความรู้ความสามารถ มีความมุ่งมั่นตั้งใจ ในการทำงาน ขณะที่บางส่วนระบุว่า ชื่นชอบแนวคิดและวิธีการทำงาน และร้อยละ 4.40 ระบุอื่นๆ ได้แก่ น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา (พรรคชาติไทยพัฒนา) นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ (พรรคไทยศรีวิไลย์) นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม (พรรคไทยภักดี) นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์, นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (พรรคประชาธิปัตย์) นายชวน หลีกภัย (พรรคประชาธิปัตย์) พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ (พรรคพลังประชารัฐ) นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค (พรรครวมไทยสร้างชาติ) นายเศรษฐา ทวีสิน และไม่ตอบ/ไม่สนใจ

สำหรับพรรคการเมืองที่คนใต้มีแนวโน้มจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบแบ่งเขต ในวันนี้ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 27.49 ระบุว่าเป็นพรรคประชาธิปัตย์ อันดับ 2 ร้อยละ 14.94 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 3 ร้อยละ 12.09 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ และยังไม่ตัดสินใจ ในสัดส่วนที่เท่ากัน อันดับ 4 ร้อยละ 11.84 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 5 ร้อยละ 7.45 ระบุว่าเป็น พรรคภูมิใจไทย อันดับ 6 ร้อยละ 3.60 ระบุว่าเป็น พรรคประชาชาติ อันดับ 7 ร้อยละ 3.10 ระบุว่าเป็น พรรคเสรีรวมไทย อันดับ 8 ร้อยละ 1.50 ระบุว่าเป็น พรรคชาติพัฒนากล้า และพรรคไทยสร้างไทย ในสัดส่วนที่เท่ากัน อันดับ 9 ร้อยละ 1.05 ระบุว่าเป็น พรรคกล้า อันดับ 10 ร้อยละ 1.00 ระบุว่าเป็น พรรคสร้างอนาคตไทย และร้อยละ 2.35 ระบุอื่นๆ ได้แก่ พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคไทยภักดี พรรครวมไทยสร้างชาติ พรรคไทยศรีวิไลย์ พรรครวมพลัง (พรรครวมพลังประชาชาติไทย) พรรคเศรษฐกิจใหม่ และไม่ตอบ/ไม่สนใจ

‘ตรีชฎา’ เตือนคนปชป. ห่วงพรรคตัวเองก่อน ระวังซ้ำรอยปี 62 ไม่ได้ส.ส.กทม. สักที่เดียว

เมื่อวันที่ 28 ต.ค. 65 น.ส.ตรีชฎา ศรีธาดา รองโฆษกพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่า หลังจากที่ได้ชี้แจงกรณีที่นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล อดีต ส.ส.ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) เลขานุการประธานสภาฯ ที่วิพากษ์วิจารณ์ว่าในช่วงที่พรรคไทยรักไทยจนถึงเพื่อไทยเป็นรัฐบาล มีการใช้นโยบายเลือกปฏิบัติ รวมถึงพาดพิงเหตุการณ์ที่ตากใบ กรือเซะนั้น ขอย้ำว่าที่ผ่านมานายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ได้ออกมากล่าวแสดงความเสียใจและขอโทษพี่น้องชาวมุสลิมแล้ว แม้ไม่ได้สั่งการแต่ในตอนนั้นเป็นนายกฯ ก็ได้ขอโทษพี่น้องชาวมุสลิมอย่างจริงใจ ถือว่าเป็นการผิดพลาดในเรื่องของการลำเลียงผู้ต้องหา ซึ่งต้องแยกกันระหว่างการกำกับนโยบายและการปฏิบัติ ส่วนเรื่องการชดเชยญาติผู้สูญเสียนั้น นายทักษิณเห็นว่าควรได้รับการเยียวยา ซึ่งขณะนั้น พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็น ผบ.ทบ.เป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง ซึ่งต้องเยียวยาครอบครัวของผู้เสียชีวิต

‘รุสลัน เจ๊ะมะ’ จากมหาบัณฑิต สู่ ‘เกษตรกร’ สายผสมผสาน แสวงสุขที่แท้จริง ตามรอยหลัก ‘เศรษฐกิจพอเพียง’ 

อย่างที่เราทราบกันดี ‘เศรษฐกิจพอเพียง’ เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทย 

ซึ่งแนวคิดนี้ตั้งอยู่บนรากฐานของวัฒนธรรมไทย เป็นทางสายกลางที่เหมาะสมกับการยึดถือในการดำเนินชีวิต โดยมีหลักความไม่ประมาท คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเอง ตลอดจนใช้ความรู้และคุณธรรม เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต ที่สำคัญจะต้องมี ‘สติ ปัญญา และความเพียร’ ซึ่งจะนำไปสู่ ‘ความสุข’ ในการดำเนินชีวิตอย่างแท้จริง

แน่นอนว่า พระองค์ไม่ได้พระราชทานปรัชญานี้สำหรับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ฉะนั้น ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคนชนชั้นใด ก็สามารถประยุกต์เอาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตได้

เช่นเดียวกันกับ ‘รุสลัน เจ๊ะมะ’ อดีตเยาวชนสานใจไทยสู่ใจใต้ รุ่นที่ 1 ชาว อ.บันนังสตา จ.ยะลา ผู้มีความเชื่อมั่นต่อปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 แม้ว่าเขาจะจบการศึกษา มหาบัณฑิตด้านนิติศาสตร์อิสลาม จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติมาเลเซีย แต่เขาก็กลับมาที่ประเทศไทย ซึ่งเป็น ‘บ้านเกิด’ เพื่อทำเกษตรผสมผสานตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

“เคยมีคนถามเยอะเลยครับว่าเรียนจบสูง ทำไมไม่ทำในด้านที่จบมา ผมก็เลยบอกว่า บางคนถนัดไปเรียนด้านนี้ แต่กลับมาทำด้านอื่นได้ เพราะว่า ความรู้ที่ได้มา ก็เอามาทำในส่วนนี้ก็ได้เหมือนกัน”

หาก ‘รุสลัน’ เลือกที่จะทำงานตามสายที่จบมา เขาอาจจะได้มีโต๊ะนั่งทำงานที่สบายกว่านี้ แต่เขากลับเลือกที่จะเดินตามพระประสงค์ของพระเจ้าที่เขาศรัทธาและเดินเข้าสวนเกษตรที่เป็นมรดกตกทอดจากพ่อของเขา 

“ผมจบนิติศาสตร์อิสลามที่ประเทศมาเลเซียครับ เมื่อประมาณ 4-5 ปีที่แล้ว ส่วนตอนนี้ก็ทำสวน เป็นเกษตรกร ใช้เศรษฐกิจพอเพียง มีปลูกข้าวโพด ข่า ขมิ้น สัปปะรด และอีกหลายๆ อย่าง เป็นเกษตรผสมผสาน ทำมาประมาณ 2 ปีแล้วครับ”


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top