Friday, 10 May 2024
พม่า

7 ทศวรรษ ฤาสงครามกะเหรี่ยงอันยาวนาน จะจบในยุคของ 'นายพลเนอดา'

ฤาสงครามกองทัพกะเหรี่ยงกับกองทัพเมียนมาที่รบกันมาอย่างยาวนาน จะจบลง!!

จุดเริ่มต้นความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลพม่าในอดีต (เมียนมา) กับบรรดาชนกลุ่มน้อยหลายกลุ่ม เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2491 เมื่อสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า (เมียนมา) ได้รับเอกราชจากอังกฤษหรือสหราชอาณาจักร แต่โครงสร้างของรัฐบาลในพม่าขณะนั้นเองยังคงอ่อนแอ 

กระทั่งในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 ชาวกะเหรี่ยงจำนวนกว่า 400,000 คน ได้ประท้วงโดยสงบเพื่อแสดงความสามัคคี ในการจัดตั้งรัฐกะเหรี่ยง 

สามเดือนหลังจากได้รับเอกราช พรรคคอมมิวนิสต์พม่า เริ่มก่อการกบฏจับอาวุธขึ้นต่อสู้ และกลุ่มกะเหรี่ยงที่ต้องการแบ่งแยกดินแดนได้เริ่มการต่อสู้เพื่อเรียกร้องเอกราช 

การเกิดขึ้นขององค์กรป้องกัน แห่งชาติกะเหรี่ยง เช่น กองทัพสหภาพกะเหรี่ยง (Karen National Union : KNU) ทำให้ความร่วมมือของชาวกะเหรี่ยงต่อรัฐบาลลดลง และความตึงเครียดเก่าๆ ระหว่างชาวกะเหรี่ยงและรัฐบาลเกิดขึ้นอีก 

การสู้รบระหว่างทหารกะเหรี่ยงและพม่าเกิดขึ้นในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2491 รัฐบาลสันนิบาตเสรีภาพฯ พยายามเจรจากับกลุ่มกบฏ คอมมิวนิสต์ และเปิดทางให้กลุ่มคอมมิวนิสต์ เข้าร่วมในการเมืองระดับชาติ 

เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2491 ได้มีการประชุมเพื่อหาทางแก้ไข ปัญหาที่กองทัพกะเหรี่ยงเติบโตขึ้น และหยุดการก่อกบฏของฝ่าย คอมมิวนิสต์ 

ในช่วงเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม มีเหตุรุนแรงเกิดขึ้น ระหว่างกะเหรี่ยงและพม่า เพราะทั้งสองฝ่ายต่างต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ ซึ่งถือว่าเป็นปีที่มีความรุนแรงเกิดขึ้นมากในพม่า แต่ละกลุ่มต่างมีกำลังทหารเป็นของตนเอง และพยายามเพิ่มพื้นที่ปกครองโดยใช้ความรุนแรง ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ได้ 2 กลุ่ม คือ...

กลุ่มฝ่ายขวาและนิยมตะวันตก ได้แก่ กองทัพกะเหรี่ยง องค์กรป้องกันแห่งชาติกะเหรี่ยง กองโจรสันติภาพ กะเหรี่ยง ตำรวจ และกองกำลังสหภาพส่วนใหญ่ 

อีกกลุ่มหนึ่งเป็นฝ่ายซ้าย และต่อต้านประเทศอังกฤษ ได้แก่ รัฐบาลสันนิบาตเสรีภาพฯ ทหารพม่า บางส่วนในกองทัพ ซึ่งเป็นตำรวจที่ตั้งขึ้นเพื่อต่อต้านกองทัพกะเหรี่ยงและ ตำรวจที่นิยมฝ่ายขวา 

กระทั่งในช่วงเดือนกันยายน พ.ศ. 2491 เกิดความ รุนแรงขึ้นทั่วพม่า เจ้าหน้าที่ชาวอังกฤษบางส่วนที่อยู่ในพม่าตะวันออก สนับสนุนการต่อสู้เพื่อเอกราชของประเทศพม่า ในขณะที่สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงได้ประกาศสงครามกับรัฐบาลทหารพม่า 

เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2492 ความขัดแย้งได้ดำเนินเรื่อยมา 

>> จากวันนั้นจนถึงวันนี้ก็นับ 74 ปีแล้ว 

จนกระทั่งเมื่อมีการรัฐประหารของนายพลมินอ่องหล่าย พม่าหรือเมียนมา ก็ยังใช้วิถีเช่นเดิม คือ การเจรจาหยุดยิง แม้ว่าทาง KNU จะปฏิเสธที่จะเข้าเจรจาสันติภาพตามคำเชิญของกองทัพเมียนมา และมีการสู้รบอย่างต่อเนื่องของกองทัพกะเหรี่ยงกับกองทัพเมียนมา รวมถึงการเป็นฐานพักพิงและฝึกการต่อสู้ให้กับกลุ่ม PDF ที่เลือกจะจับอาวุธสู้กับกองทัพ

'ยูเรเนียม' ไอเทมลับพา 'เมียนมา' มั่งคั่งยั่งยืน ใต้การ 'โอบอุ้ม-ต่อยอด' จากพี่เบิ้มอย่าง 'รัสเซีย'

ต้องบอกว่า การที่เหล่าชาติตะวันตกต่างรุมบอยคอตเมียนมาในวันนี้ เหมือนยิ่งเป็นการผลักไสให้เมียนมาเดินเข้าไปหาจีนกับรัสเซียมากขึ้น และ 2 มหาอำนาจก็พร้อมเป็นพันธมิตรกับเมียนมาอย่างออกหน้าออกตาในที่สุดด้วย

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเลยก็คือความสัมพันธ์อีกระดับของเมียนมากับรัสเซีย ซึ่งเดิมทั้งสองประเทศมีความร่วมมือกันเพียงเล็กน้อยในเรื่องของกองทัพและการลงทุนในธุรกิจพลังงาน แต่หลังจากการยึดอำนาจของกองทัพ นำมาซึ่งการขับไล่ไสส่งเมียนมาด้วยการบอยคอตหรือคว่ำบาตรใด ๆ จากชาติตะวันตกนั้น ได้เป็นแรงผลักให้เกิดความร่วมมือระหว่างเมียนมากับรัสเซียมากขึ้น ไม่ใช่เพียงความร่วมมือในแง่ของกองทัพเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการร่วมมือในด้านอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการสาธารณสุขและการเข้ามาพัฒนาพัฒนาสาธารณูปโภคต่าง ๆ 

และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนในการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ซึ่งเป็นการเปิดหน้าอย่างชัดเจนด้วยว่า ขุมทรัพย์ของเมียนมาที่แท้จริงนอกจาก อัญมณีและน้ำมันแล้ว ยังมีแร่ปฏิกรณ์นิวเคลียร์อยู่ด้วย

ว่ากันว่าคนงานเหมืองทราบดีอยู่แล้วว่ามีแร่ปฏิกรณ์นิวเคลียร์อยู่ในการทำเหมืองหลาย ๆ ที่โดยเฉพาะเหมืองทองหลายแห่ง ซึ่งเคยมีรายงานถึงการค้นพบแร่ยูเรเนียม (Uranium) จากเหมืองทองกันอยู่แล้วเป็นระยะ ๆ เพียงแต่ก็ไม่เคยมีใครพูดถึงการนำแร่ยูเรเนียมมาใช้ในประเทศแต่อย่างใดก็เท่านั้นเอง

ดังนั้นการที่รัสเซียก้าวเข้ามาลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ให้นั้น จึงถือเป็นจุดเปลี่ยนครั้งยิ่งใหญ่ของเมียนมา เพราะหากสร้างเสร็จจริง ประเทศเมียนมาจะมีเสถียรภาพด้านสาธารณูปโภคไฟฟ้าเพราะวัตถุดิบหาซื้อง่าย ส่วนรัสเซียก็อาจจะได้ส่วนแบ่งแร่กัมมันตภาพรังสีเหล่านี้มาใช้ในการพัฒนาอาวุธต่อก็เป็นได้

คงต้องยอมรับว่าเป็นการเดินเกมที่ผิดพลาดของชาติตะวันตก ซึ่งแทนที่จะทำให้เมียนมาอ่อนแรง แต่กลับทำให้เมียนมาแข็งแกร่งขึ้นและในวันหนึ่งอาจจะยืนได้บนขาของตนเองโดยไม่ต้องพึ่งใคร และก็ไม่มีประเทศไหนกล้าแหยมกับประเทศเล็ก ๆ นี้ เพราะแร่กัมมันตภาพรังสีในครอบครองมันพร้อมจะนำไปต่อรองกับใครก็ได้ทั้งหมด

เตือนคนพม่าเข้าไทย หวังย้ายไปประเทศที่ 3 ระวังถูกขายฝัน ปันเงินก้อนสุดท้ายไปให้มิจฉาชีพ

ท่ามกลางกระแสในประเทศไทยที่มีการโหมโรงเรื่องย้ายประเทศกันเถอะ เปิดโอกาสให้คนไทยหลายคนที่เบื่อหน่ายกับรัฐบาลลุงตู่ จนอยากที่จะขอไปตายเอาดาบหน้า แต่จนแล้วจนรอด ส่วนใหญ่คนที่ออกตัวที่จะไปตายเอาดาบหน้า ก็เห็นกลับมาตายเอาที่ประเทศสยามขวานทองเหมือนเดิม เพราะการที่จะย้ายไปใช้ชีวิตในต่างประเทศนั้นไม่ง่ายอย่างที่คิด

วันนี้เอย่าเลยถือโอกาสขอเล่าเรื่องของการย้ายประเทศ โดยเราจะตัดเรื่องความวุ่นวายในการทำเรื่องย้ายประเทศไปก่อน แล้วมาดูตัวแปรอื่น ๆ กัน 

การที่จะไปใช้ชีวิตในต่างแดนนั้น ไม่ง่าย!! เริ่มจากความต่างของภาษา ถ้าคุณมั่นใจว่าคุณมีความเก่งกาจในการสื่อสารภาษาอังกฤษพอ การที่จะย้ายประเทศไปอยู่ในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการสื่อสารคงไม่ใช่เรื่องที่ลำบากมากนัก แต่อย่าลืมว่าประเทศส่วนใหญ่บนโลกนี้ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการสื่อสาร ดังนั้นการย้ายไปในบางประเทศ คุณต้องเรียนรู้ภาษาใหม่ เพื่อให้เอาตัวรอดในการใช้ชีวิตประจำวันได้  

ต่อมาคือเรื่องของอาหารการกิน แม้หลายคนอาจจะถูกปากถูกใจกับอาหารฝรั่ง แต่เราต้องกินอาหารแบบนี้ทุกวัน คือ ต้องอยู่กับมันให้ได้ มันก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนะ!! จำได้ว่าเมื่อเอย่ามาถึงเมียนมาครั้งแรกเมื่อหลายปีก่อน เราทานอะไรไม่ได้เลย เอย่าต้องใช้ชีวิตกับบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป จนน้ำหนักลดไปเป็น 10 กิโลตั้งหลายเดือน กว่าจะหลงเสน่ห์อาหารพม่าจนน้ำหนักกลับพุ่งทะยานจนเกินกว่าวันแรกที่เข้ามาเหยียบแผ่นดินเมียนมานี้ 

แค่ 2 เรื่องนี้ยังต้องใช้การปรับตัวแรมปี ไหนจะเรื่องเงินที่ต้องมีพอในการใช้จ่ายก่อนที่จะหาการหางานทำเพื่อหาเงินได้ ซึ่งมันไม่ได้ง่ายเลย

พูดถึงเรื่องย้ายประเทศไม่ใช่แค่คนไทยเท่านั้นที่มีความคิดแบบนี้ แต่คนเมียนมาที่หนีจากการปกครองของระบบทหารก็คิดจะไปหาที่อยู่ใหม่เช่นกัน สำหรับรายที่รวยพอมีเงินหนาพอที่ไม่ต้องไปเป็น PDF เขาก็เลือกที่จะไปใช้ชีวิตใหม่ต่างแดนอย่างสบายใจ แต่คนเมียนมาที่เป็นชนชั้นกลางที่มีความฝันในการสู้แล้วพอช่องทางลี้ภัยจากการช่วยเหลือผ่านองค์กร NGO ต่าง ๆ ที่เข้ามาสนับสนุนทางการเงินให้แก่กลุ่ม นี่ก็เป็นอีกหนึ่งความฝันที่พวกเขาจะได้มีโอกาสไปใช้ชีวิตใหม่

"มัณฑะเลย์” ตำนานอาถรรพณ์การสร้างเมือง | THE STATES TIMES STORY EP.91

เรื่องราว "มัณฑะเลย์” ตำนานการสร้าง 'กรุงมัณฑะเลย์' เมืองหลวงใหม่ของราชวงศ์คองบอง
.
กับตำนานความโหดเหี้ยมสยดสยองของธรรมเนียมพม่า ที่ต้องเลือกคนมาฝังทั้งเป็น ก่อนจะลงเสาหลักและเริ่มการก่อสร้างเพื่อให้วิญญาณเหล่านั้นเป็นเทพารักษ์ประจำเมือง!!
.
เรื่องราวสุดสยดสยองแห่งตำนานนี้เป็นอย่างไร ไปติดตามกันได้ใน THE STATES TIMES Story ใน EP. นี้ได้เลย

‘รบ.ทหารเมียนมา’ กำราบ ‘อิรวดี’ สื่อร่างทรงปชต. ส่วนไทยปล่อยให้จรรยาบรรณจอมปลอมลอยนวล

กระทรวงสารสนเทศของเผด็จการทหารพม่าประกาศผ่านทางสื่อรัฐบาลเมื่อวันที่ 29 ต.ค.ที่ผ่านมาว่า รัฐบาลเผด็จการได้ทำการเพิกถอนใบอนุญาตสื่อสิ่งพิมพ์ของอิรวดี ตั้งแต่วันที่ 26 ต.ค. 2565 และกล่าวหาว่าสื่ออิรวดี สร้างความเสียหายต่อ ‘ความมั่นคงของรัฐ’ และ ‘ความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง’ 

เมื่อเอย่าเห็นข่าวนี้ เอย่าก็รีบเปิดเว็บไซต์ดูทันที ซึ่ง ณ วันที่เขียนบทความนี้ ก็หลังจากการรายงานข่าวนี้มาร่วมอาทิตย์ แต่เว็บไซต์ของสำนักข่าวอิรวดี (Irrawaddy) ก็ยังปกติดี ไม่ได้ต่างอะไรกับสำนักข่าวอื่น ๆ ที่เคยโดนไปอย่าง Mizzima หรือ Myanmar Now ที่ทางรัฐบาลไม่สามารถควบคุมสื่อได้ และทำให้สื่อหลายสื่อกลายเป็นเครื่องมือในการโค่นล้มผู้มีอำนาจในรัฐบาลโดยการล้างสมองประชาชน

ก่อนอื่นเราควรมารู้จักสื่ออิรวดีให้ดีก่อนว่าเป็นมาอย่างไร...

สื่ออิรวดี ก่อตั้งขึ้นในไทยเมื่อปี 2536 เป็นสื่อที่เป็นปฏิปักษ์กับระบอบเผด็จการทหารในพม่าจากการที่พวกเขารายงานข่าวเชิงส่งเสริมประชาธิปไตย เสรีภาพสื่อ และสิทธิมนุษยชนในพม่า เมื่อมีการเปิดประเทศ อิรวดีจึงย้ายสำนักงานใหญ่เข้าไปในพม่าเมื่อปี 2555 เพื่อรายงานข่าวสถานการณ์ในพม่า จนถึงการทำรัฐประหารปี 2564

เมื่อมีนาคม 2564 รัฐบาลทหารเมียนมาเคยดำเนินคดีอิรวดี ด้วยกฎหมายมาตรา 505 (a) โดยอ้างว่า ‘เพิกเฉยต่อ’ กองทัพพม่าในการรายงานข่าวการประท้วงต่อต้านเผด็จการทหารที่กำลังเกิดขึ้นในตอนนั้น แม้ต่อมาจะมีการจับกุม ‘อูต่องวิน’ ผู้ตีพิมพ์เผยแพร่สื่ออิรวดี แต่ก็ไม่สามารถทำให้สำนักข่าวอิรวดีหยุดเผยแพร่ได้ 

และนี่ก็เป็นอีกครั้งที่มีการดำเนินการกับสื่ออย่างอิรวดี แต่ด้วยความที่สื่อมีสำนักงานที่ไทย ทำให้น่าจะลำบากต่อจัดการของรัฐบาลเมียนมาอยู่พอตัว

ถามว่าทำไมสื่ออย่างอิรวดี มีอิทธิพลนัก... 

หากค้นข้อมูลลึก ๆ จะเห็นว่าสำนักข่าวอิรวดี เคยรับทุนจากองค์กร National Endowment for Democracy (NED) ของอเมริกา ซึ่งใคร ๆ ก็รู้ว่าอเมริกาชักใยหลาย ๆ ประเทศผ่านการจ่ายเงินผ่านกองทุนนี้ โดยสำนักข่าวอิรวดีเคยได้รับทุนจาก NED จำนวน 150,000 ดอลลาร์ในปี 2016 และนั่นคงไม่ต้องถามว่าสื่ออิรวดีจะเป็นสื่อที่มีความเป็นกลางได้จริงหรือไม่? หรือเป็นเพียง ‘สื่อร่างทรง’ ให้แก่ประเทศผู้แจกทุนที่พยายามจะหาทางเข้ามาในภูมิภาคนี้ 

สำรวจความเข้มแข็งทางประวัติศาสตร์ของเมียนมา 'ศิลปะ-วัฒนธรรม' ทรงคุณค่า ไม่ต้องบ้าไปไล่เคลมของใคร

จากข่าวเรื่องที่กัมพูชาพยายามเคลมอะไรต่อมิอะไรของชนชาติอื่นมาเป็นของตน แต่พอหันกลับมามองประเทศที่อยู่อีกฝั่งของแผนที่อย่าง เมียนมา หรือ พม่า ประเทศที่อยู่ฝั่งตะวันตกของไทย ทำไมกลับไม่คิดจะเคลมอะไรของไทยเลย วันนี้เอย่าจะมานำเสนอให้รู้กัน

ด้านศิลปะและสถาปัตยกรรม : เมียนมาหรือพม่านั้นมีศิลปะและสถาปัตยกรรมที่ค่อนข้างชัดเจนเป็นเอกเทศและแตกต่างกันบ้างเล็กน้อยตามพื้นที่และยุคสมัย โดยหากแยกตามยุคแล้ว ศิลปะในเมียนมาอย่างเช่น สถาปัตยกรรมของยะไข่, พยู, มอญ, พม่า และอังวะ จะมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงในแต่ละยุค ซึ่งแสดงออกในรูปของเจดีย์ในแต่ละภูมิภาค

ด้านอาหาร : อาหารพม่าแม้จะมีความเป็นฟิวชันระหว่างอาหารอินเดียกับอาหารจีน แต่ก็มีอาหารหลายเมนูที่เป็นเมนูพม่าแท้ ๆ อย่างเช่น ยำใบชา หรืออาหารที่ประกอบจากใบกระเจี๊ยบ ซึ่งเราไม่พบการปรุงอาหารโดยใช้วัตถุดิบแบบนี้ในภูมิภาคอื่น

ด้านการแต่งกาย : เมียนมาเป็นแหล่งรวมผู้คนหลากชาติพันธุ์ ซึ่งแต่ละชาติพันธุ์ก็มีการแต่งกายประจำเผ่าแตกต่างกันออกไป ซึ่งทางการเมียนมาก็สนับสนุนให้ชุดประจำชาติพันธุ์เป็นชุดสุภาพในการติดต่อทางการอีกด้วย

ด้านการฟ้อนรำ : ในแต่ละชาติพันธุ์ที่ท่าเต้นรำที่แตกต่างออกไปตามชาติพันธุ์เช่นกัน ซึ่งแสดงออกถึงลักษณะประจำชาติพันธุ์ของแต่ละเผ่า

ด้านภาษา : แน่นอนที่ในประเทศที่มีความหลากหลายชาติพันธุ์อย่างเมียนมาย่อมมีผู้คนที่ใช้ภาษาตามชาติพันธุ์ของตนในการสื่อสาร แม้ในปัจจุบันทางการจะพยายามให้การศึกษาด้วยภาษาเมียนมาเพื่อเป็นภาษากลาง แต่บางพื้นที่ก็เลือกจะไม่เรียนเพื่อดำรงอัตลักษณ์ทางภาษาของตนไม่ให้สูญหาย

'รบ.เมียนมา' ดัน 'เทศกาลตะจ่าน' ขึ้นเป็นมรดกโลก เรื่องดีๆ ที่ถูกฝ่ายประชาธิปไตยดิสเครดิตแบบไร้สติ

'ตะจ่าน' หรือ 'ติงจ่าน' ถือเป็นเทศกาลวันขึ้นปีใหม่ของชาวเมียนมา โดยตรงกับช่วงวันสงกรานต์ของไทย 

ดังนั้นสำหรับช่วงเวลานี้รัฐบาลประกาศให้เป็นวันหยุดยาว 10 วัน เพื่อให้ผู้คนได้เดินทางกลับไปยังภูมิลำเนาของตน ซึ่งบางคนต้องใช้เวลาเดินทางถึง 2 วันเต็มๆ ในการเดินทาง
ที่น่าสนใจเกี่ยวกับเทศกาลนี้ คือ ล่าสุดทางกระทรวงกิจการวัฒนธรรมและศาสนาของเมียนมากำลังจัด

ทำเอกสาร เพื่อยื่นขอจดทะเบียน 'เทศกาลตะจ่าน' เป็นมรดกทางวัฒนธรรม โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและสนับสนุนการท่องเที่ยวในเมียนมาในระยะยาว  

แต่สุดท้ายก็ไม่วายที่จะถูกสำนักข่าวฝั่งตรงข้ามใส่สีตีข่าวเพื่อดิสเครดิต!!

หากมองกันตามตรงโดยไม่เอาอคติเรื่องเผด็จการหรือประชาธิปไตยมาตั้ง ถามว่าการกระทำครั้งนี้ของรัฐบาล ต้องถือว่าเป็นสิ่งที่ดีและมองการณ์ไกล ขณะเดียวกันในช่วงเวลานี้ทางรัฐบาลได้ประกาศขอความร่วมมือในการงดดื่มสุราของมึนเมาเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของเทศกาลนี้ ซึ่งในขณะเดียวกันก็จะช่วยลดการบาดเจ็บและสูญเสียจากการดื่มแอลกอฮอล์ด้วยเช่นกัน

ทว่าในข่าวฝั่งประชาธิปไตยพยายามตีแผ่ว่า ในเทศกาลตะจ่านที่ผ่านมา มีคนเล่นน้ำน้อย เพราะไม่มีใครอยากเล่นน้ำในรัฐบาลเผด็จการ ซึ่งความจริงนั้นตรงกันข้าม...

ทางเพจ Look Myanmar เคยนำเสนอเรื่องราวในช่วงเทศกาลตะจ่านปีก่อนไว้ว่า การที่คนไม่เล่นน้ำตามบูธที่รัฐบาลจัด เพราะกังวลเรื่องความปลอดภัยของตนเองมากกว่า เนื่องจากในช่วงเวลานั้นในเมืองใหญ่อย่าง ย่างกุ้งหรือมัณฑะเลย์ ก็ยังมีเรื่องระเบิดให้เห็นอยู่ประปราย 

ดังนั้นคนจึงเลือกเดินทางออกไปยังต่างจังหวัด เช่น ทะเล หรือ น้ำตก เพื่อพักผ่อนในช่วงเวลาดังกล่าว และปีนี้ก็เช่นกัน มีการรายงานว่าที่พักที่ชายหาดชองตาและชายหาดงุยเซาในรัฐอิรวดีได้เต็มหมดแล้ว เช่นเดียวกับที่ชายหาดงาปาลีก็เต็มแล้วเช่นกัน  

‘สมชาย แสวงการ’ โพสต์ข้อความเตือน รัฐบาลใหม่ อย่าชักน้ำเข้าลึก อย่าชักศึกเข้าบ้าน

นายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา ได้โพสต์ข้อความแสดงความเป็นห่วงต่อท่าทีของรัฐบาลใหม่ กับนโยบายทางด้านต่างประเทศ และการเข้าไปมีบทบาทในการเคลื่อนไหว ยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในของประเทศพม่า โดยได้เขียนโดยมีใจความว่า...

อย่าชักน้ำเข้าลึกอย่าชักศึกเข้าบ้าน
ข่าวนี้น่าห่วงมากครับ ถ้าไม่ระมัดระวัง รัฐบาลใหม่ที่กำลังพยายามจะตั้งขึ้นมีทีท่าที่อาจไปเคลื่อนไหวยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในประเทศของพม่า คงเกิดผลกระทบตามมาที่รุนแรงแน่นอน  เริ่มด้วยปิfดพรมแดน เรียกแรงงานกลับ ยุติขายแก๊สทางท่อ ฯลฯ และถ้ามหาอำนาจแทรกแซง เรื่องทั้งหมดอาจจะเลวร้ายบานปลายกว่านั้นไปอีกครับ

‘ก้าวไกล’ กับไฟที่กำลังลุกลาม อาเซียนร้อนระอุ  เมื่อพม่า ยกระดับความพร้อม หากรัฐบาลไทย แทรกแซงกิจการภายใน

เพจเฟซบุ๊ก สานต่อเจตนารมณ์ อาจารย์สมเกียรติ โอสถสภา ได้โพสต์ ข้อความแสดงความเป็นห่วงประเทศไทย เกี่ยวกับ นโยบายความมั่นคงของพรรคก้าวไกล และท่าทีต่อรัฐบาลพม่า โดยมีใจความว่า ...

วันก่อนเตือนไปแล้ว ว่าเมื่อไหร่ที่ก้าวไกลได้เป็นรัฐบาล แล้วดำเนินการแทรกแซงกิจการภายในของพม่า ช่วยชาติตะวันตกกดดันรัฐบาลพม่าในเวทีโลก เรื่องอาจลุกลามไปถึงขั้นถูกพม่าตัดก๊าซธรรมชาติที่ส่งให้ไทยมาเป็นสิบปี ฟังจากสื่อพม่าเองก็ได้ เพราะนายพลอาวุโส โซ วิน ประกาศแล้ว พม่าถือว่าพรรคก้าวไกลเป็นพวกนิยมตะวันตก ที่จ้องจะหนุนฝั่งต่อต้านรัฐบาลพม่า ทหารพม่าได้รับคำสั่งให้ยกระดับความพร้อมแล้ว นี่คือการส่งสัญญานแบบชัดๆว่าดูอยู่ และพร้อมแลกถ้าเตือนแล้วยังไม่ฟัง

ภาพใหญ่ของประเทศรอบบ้าน ที่เรียกกันว่า Mainland ASEAN คือ ประเทศไทยถูกล้อมด้วยประเทศที่อยู่ข้างจีนเต็มพิกัด พม่า ลาว กัมพูชา ล้วนแต่อิงจีน จีนถือว่าพม่าเป็นทางออกทะเลทางเลือกที่สำคัญ สามารถลำเลียงสินค้าและทรัพยากรขึ้นจากมหาสมุทรอินเดียได้เลย หลีกเลี่ยงการถูกสหรัฐโอบล้อมทางออกมหาสมุทรแปซิฟิก และถูกตัดตอนแถวช่องแคบมะละกา กัมพูชามีฐานทัพเรือของจีนประจำไว้แล้ว เพิ่งประกาศกร้าวว่าไม่สน ไม่แคร์เงินของสหรัฐและยุโรปอีกต่อไป จีนลงทุนหนักในลาว ทั้งเขื่อน เกษตรกรรม และรถไฟความเร็วสูง เพื่อให้เชื่อมลงไปที่กัมพูชา

ยังเหลือแต่เวียตนามที่ยึดนโยบายเป็นกลาง ไม่ฝักใฝ่มหาอำนาจฝ่ายใด ไม่เอาฐานทัพของมหาอำนาจมาตั้งในประเทศ เวียตนามประกาศเองหลังจากผู้นำสูงสุดของพรรคคอมมิวนิสต์จีนและเวียตนามคุยกัน ด้วยสถานการณ์นี้ ถ้าเกิดสงคราม กัมพูชาจะเป็นตำบลกระสุนตกทันที ฐานทัพเรือของจีนล่อเป้าขีปนาวุธของสหรัฐและกลุ่ม AUKUS เมื่อจีนลำเลียงอาวุธมาสู้ สภาพของกัมพูชาจะไม่ต่างจากยูเครนปัจจุบัน แต่ประเทศไทยไม่เกี่ยว นี่คือสถานการณ์ปัจจุบัน

แต่ถ้าก้าวไกลได้เป็นรัฐบาล แล้วไปเชิญสหรัฐมาตั้งฐานทัพในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นฐานยิงหรือฐานส่งกำลัง ประเทศไทยที่รายล้อมด้วยมิตรของจีน จะกลายเป็นเป้าขีปนาวุธจีนไปด้วย ไทยร่วมกับกัมพูชา กลายเป็นพื้นที่สู้รบของสงครามตัวแทน คนหนุ่มหัวก้าวหน้าที่ไม่อยากเกณฑ์ทหารเพราะต้องไปเลี้ยงไก่ให้นายพล จะถูกเกณฑ์ทหารเพื่อไปตายในสนามรบ เหมือนที่คนหนุ่มยูเครนถูกเกณฑ์ทหารไปตายที่แนวหน้าแล้วหลักล้านคน
อ่าวไทยถูกปิด เพราะกองทัพเรือไทย เรือดำน้ำซักลำยังไม่มี ส่งออกทางเรือไม่ต้องพูดถึง นี่คือเรื่องที่เกิดขึ้นได้จริง 

อย่าคิดว่าสหรัฐจะอยู่ช่วยไปจนตลอด หมดผลประโยชน์หรือการเมืองในประเทศสหรัฐเปลี่ยนทิศเมื่อไหร่ สหรัฐจะหายตัวไปทันที
คนรุ่นก่อนเจอมาแล้วช่วงสงครามเวียดนาม นายพลโว เหงียน เกี๊ยบ ยกทัพมาประชิดชายแดนไทย เพื่อชำระบัญชี ที่ไทยเป็นฐานทัพให้เครื่องบินสหรัฐทิ้งระเบิดใส่เวียดนาม เรารอดอยู่เป็นประเทศมาได้เพราะจีนมาช่วยเอาไว้

คนรุ่นใหม่ที่ยังไม่รู้เรื่อง อย่าหาเรื่องชักศึกเข้าบ้าน
เพราะถึงเวลา พวกคุณเองนั่นแหละที่จะต้องไปตาย
รบจริง ตายจริง ไม่มีเริ่มเล่นใหม่เหมือน call of duty
และในท้ายที่สุด พวกคุณก็เป็นแค่หมากเบี้ยของมหาอำนาจที่จะถูกลืม


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top