สำรวจความเข้มแข็งทางประวัติศาสตร์ของเมียนมา 'ศิลปะ-วัฒนธรรม' ทรงคุณค่า ไม่ต้องบ้าไปไล่เคลมของใคร

จากข่าวเรื่องที่กัมพูชาพยายามเคลมอะไรต่อมิอะไรของชนชาติอื่นมาเป็นของตน แต่พอหันกลับมามองประเทศที่อยู่อีกฝั่งของแผนที่อย่าง เมียนมา หรือ พม่า ประเทศที่อยู่ฝั่งตะวันตกของไทย ทำไมกลับไม่คิดจะเคลมอะไรของไทยเลย วันนี้เอย่าจะมานำเสนอให้รู้กัน

ด้านศิลปะและสถาปัตยกรรม : เมียนมาหรือพม่านั้นมีศิลปะและสถาปัตยกรรมที่ค่อนข้างชัดเจนเป็นเอกเทศและแตกต่างกันบ้างเล็กน้อยตามพื้นที่และยุคสมัย โดยหากแยกตามยุคแล้ว ศิลปะในเมียนมาอย่างเช่น สถาปัตยกรรมของยะไข่, พยู, มอญ, พม่า และอังวะ จะมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงในแต่ละยุค ซึ่งแสดงออกในรูปของเจดีย์ในแต่ละภูมิภาค

ด้านอาหาร : อาหารพม่าแม้จะมีความเป็นฟิวชันระหว่างอาหารอินเดียกับอาหารจีน แต่ก็มีอาหารหลายเมนูที่เป็นเมนูพม่าแท้ ๆ อย่างเช่น ยำใบชา หรืออาหารที่ประกอบจากใบกระเจี๊ยบ ซึ่งเราไม่พบการปรุงอาหารโดยใช้วัตถุดิบแบบนี้ในภูมิภาคอื่น

ด้านการแต่งกาย : เมียนมาเป็นแหล่งรวมผู้คนหลากชาติพันธุ์ ซึ่งแต่ละชาติพันธุ์ก็มีการแต่งกายประจำเผ่าแตกต่างกันออกไป ซึ่งทางการเมียนมาก็สนับสนุนให้ชุดประจำชาติพันธุ์เป็นชุดสุภาพในการติดต่อทางการอีกด้วย

ด้านการฟ้อนรำ : ในแต่ละชาติพันธุ์ที่ท่าเต้นรำที่แตกต่างออกไปตามชาติพันธุ์เช่นกัน ซึ่งแสดงออกถึงลักษณะประจำชาติพันธุ์ของแต่ละเผ่า

ด้านภาษา : แน่นอนที่ในประเทศที่มีความหลากหลายชาติพันธุ์อย่างเมียนมาย่อมมีผู้คนที่ใช้ภาษาตามชาติพันธุ์ของตนในการสื่อสาร แม้ในปัจจุบันทางการจะพยายามให้การศึกษาด้วยภาษาเมียนมาเพื่อเป็นภาษากลาง แต่บางพื้นที่ก็เลือกจะไม่เรียนเพื่อดำรงอัตลักษณ์ทางภาษาของตนไม่ให้สูญหาย

จากเรื่องราวทั้งหมดทั้งมวลนี้ ชี้ให้เห็นว่าหากเรามีความเข้มแข็งทางประวัติศาสตร์ สังคม และศิลปะอยู่แล้ว ไม่มีความจำเป็นต้องไปเคลมอะไรของใครมาเป็นของเราดังเช่นเมียนมาที่ไม่เคยเคลมว่าอยุธยาเป็นของพม่ามาก่อนแต่ชาวเมียนมายุคใหม่มองแค่ว่า โยเดียที่ไม่ใช่ประเทศไทย เคยเป็นประเทศราชของหงสาวดีและอังวะช่วงหนึ่งก่อนที่จะประกาศเอกราชได้ในภายหลัง ซึ่งหงสาวดีหรืออังวะ ก็ไม่ใช่เมียนมาปัจจุบัน แต่นั่นคืออดีตที่ผ่านไปแล้ว


เรื่อง: AYA IRRAWADEE