Thursday, 2 May 2024
ฝรั่งเศส

‘ชาวฝรั่งเศส’ เรียกร้องรัฐบาลถอนตัวจาก ‘นาโต้-อียู’ และเลิกคว่ำบาตรรัสเซีย หลังราคาพลังงานพุ่งไม่หยุด

พวกผู้ชุมนุมรวมตัวกันบนท้องถนนของกรุงปารีสเมื่อวันเสาร์ (17 ธ.ค.) ประท้วงคัดค้านนโยบายต่างๆ ของฝรังเศสที่มีต่อรัสเซีย และเรียกร้องให้ประเทศถอนตัวจากการเป็นสมาชิกของนาโต้ ท่ามกลางความทุกข์ยากทางเศรษฐกิจ อันเนื่องจากราคาพลังงานที่พุ่งสูง ผลกระทบจากมาตรการคว่ำบาตรที่กำหนดเล่นงานรัสเซีย

การชุมนุมที่มีผู้เข้าร่วมหลายพันคนในครั้งนี้ จัดโดยพรรค Les Patriotes (พรรครักชาติ) พรรคการเมืองฝ่ายขวาที่นำโดย ฟลอริย็อง ฟิลิปโปต์ อดีตรองหัวหน้าพรรค National Rally ของนางมารีน เลอแปง

ฟิลิปโปต์ จัดการชุมนุมที่ใช้ชื่อว่า ‘การขัดขืน’ มาตั้งแต่ฤดูใบไม้ร่วง เรียกร้องให้ฝรั่งเศสถอนตัวจากนาโต้และอียู เช่นเดียวกับวิพากษ์วิจารณ์นโยบายเศรษฐกิจและการต่างประเทศของประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง

ในการประท้วงในวันเสาร์ (17 ธ.ค.) พวกผู้ชุมนุมถือป้ายข้อความต่างๆ ในนั้นรวมถึง ‘ฝรั่งเศสต้องออกจากนาโต้’ และ ‘ถอดถอนมาครง’ รวมไปถึง ‘ขัดขืน!’ นอกจากนี้ พวกเขายังโบกธงชาติฝรั่งเศสและตะโกนว่า ‘อัวร์ซูลา หุบปากซะ!’ อ้างถึง อัวร์ซูลา ฟอน แดร์ ไลเอิน ประธานของคณะกรรมาธิการยุโรป

ความเคลื่อนไหวประท้วงล่าสุดนี้ ซึ่งตัวของ ‘ฟิลิปโปต์’ เข้าร่วมด้วย มีชนวนเหตุเฉพาะเจาะจงจากราคาพลังงานที่พุ่งสูง ซึ่งบีบให้ธุรกิจขนาดเล็กจำนวนมากทั่วประเทศต้องปิดตัวลง โดยเขาให้สัมภาษณ์กับสื่อท้องถิ่นว่า “เราต้องหยุดมาตรการคว่ำบาตรต่อต้านรัสเซีย เพราะมันไม่ได้รับใช้สันติภาพ แต่มันนำความทุกข์ยากมาที่นี่”

César Awards มาตรฐานใหม่วงการบันเทิง! | NEWS GEN TIMES EP.83

César Awards มาตรฐานใหม่วงการบันเทิง!

ผู้มีความผิดหรือถูกตั้งข้อหาใช้ความรุนแรงด้านต่างๆ

ห้ามเข้าร่วมงานประกาศรางวัล 

 

NEWS GEN TIMES ชวนคิด กับ กิตติธัช

 

 โดย อ.ต้อม - กิตติธัช ชัยประสิทธิ์ นักวิชาการอิสระและอาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรม

ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 

 

ติดตามได้ใน NEWS GEN TIMES

และสามารถรับชมคลิปอื่น ๆ ได้ที่ : https://youtube.com/playlist...

'บิ๊กตู่' จัดงานเฉลิมฉลอง 'ปีแห่งนวัตกรรมไทย-ฝรั่งเศสปี 2566' ตอกย้ำ!! ความร่วมมือ 'นวัตกรรมไทย-ฝรั่งเศส' เป็นรูปธรรม

(26 ม.ค. 66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ยินดีที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยและฝรั่งเศสขับเคลื่อนความร่วมมือด้านนวัตกรรมระหว่างกันอย่างต่อเนื่องจนเป็นรูปธรรม ผ่านการจัดงานเฉลิมฉลอง ‘ปีแห่งนวัตกรรมไทย - ฝรั่งเศสปี 2566 (2023 Thailand - France Year of Innovation)’ ในวันที่ 26 มกราคม 2566 ณ สวนเบญจกิติ กรุงเทพมหานคร

นายอนุชา กล่าวว่า ไทยและฝรั่งเศสมีความสัมพันธ์ที่ราบรื่นมายาวนาน และมีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดในหลายมิติ ซึ่งความร่วมมือด้านนวัตกรรมก็เป็นอีกมิติที่รัฐบาลให้ความสำคัญ โดยทั้งสองฝ่ายได้กำหนดให้ปี 2566 เป็นปีแห่งนวัตกรรมไทย - ฝรั่งเศส เป็นการขับเคลื่อนที่ต่อเนื่องมาจากการเดินทางเยือนไทยของประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง เมื่อเดือนพ.ย.2565 ที่ผ่านมา โดยสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐฝรั่งเศสประจำประเทศไทย รวมถึงหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องของไทยและฝรั่งเศส ได้ประสานความร่วมมือกัน และมุ่งหวังที่จะสร้างความร่วมมือระหว่างกันในมุมมองที่ทันสมัย สอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และนวัตกรรม ที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบันของทั้งสองประเทศ

วัคซีนมาแล้ว!! ‘อนุทิน’ รับวัคซีน ‘โมเดอร์นา’ ล็อตใหม่ จากฝรั่งเศล เร่งเคาะฉีด ‘ครึ่งโดส-เต็มโดส’ คาด!! ส่งต่อ รพ.ทั่วประเทศวีกหน้า

(12 มี.ค. 66) ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังการรับมอบวัคซีนโควิด-19 จากสาธารณรัฐฝรั่งเศส โดยมี นายตีแยรี มาตู เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐฝรั่งเศสประจำประเทศไทย เป็นผู้แทนส่งมอบ ว่า วันนี้ สธ. ได้รับมอบวัคซีนโควิด-19 โดยบริษัทโมเดอร์น่า ชนิดไบวาเรนท์ ซึ่งเป็นวัคซีนสองสายพันธุ์ จำนวน 1,000,200 โดส จากรัฐบาลฝรั่งเศสเป็นครั้งที่ 3 รวมทั้งสิ้น 4.2 ล้านโดส โดยวัคซีนที่ได้รับสนับสนุนมานี้อยู่ระหว่างการตรวจรับรองรุ่นการผลิต (Lot release) คาดว่าจะสามารถกระจายไปยังพื้นที่ต่างๆ ภายในวันที่ 20 มี.ค. นี้ และพร้อมฉีดให้กับประชาชนได้ทันที

นายอนุทิน กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยวัคซีนเข็มแรกมากกว่าร้อยละ 83 ของประชากรทั้งหมด และได้รับวัคซีนเข็มที่สองร้อยละ 78 ทำให้การระบาดของโรคลดความรุนแรงลง ประกอบกับการมีเวชภัณฑ์ ยา มีความพร้อมของระบบสาธารณสุข ทำให้ประเทศไทยควบคุมสถานการณ์ได้เปิดประเทศตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2565 มีนักท่องเที่ยว นักลงทุน ทำให้เกิดการสัญจรได้สะดวกตามปกติ ทั้งยัง สร้างความเชื่อมั่นให้ชาวต่างชาติ โดยมีการคาดการณ์ว่าจะมีนักท่องเที่ยวเข้าไทยในปี 2566 สูงถึง 15 ล้านคน แต่ทาง นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา มั่นใจว่าปีนี้จะมีนักท่องเที่ยวเข้าไทยเกินหลัก 20 ล้านคน ดังนั้น สธ.ยังขอเชิญชวนให้คนไทยมารับวัคซีนเข็มกระตุ้น เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

‘พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3’ ยกเลิกแผนการเยือนฝรั่งเศส แผนสุดแสบจากผู้ประท้วง ที่ทำ ‘ผู้นำ-รัฐบาล’ หน้าแหก

(25 มี.ค.66) ในที่สุด ‘เอ็มมานูเอล มาครง’ ผู้นำฝรั่งเศส ก็ต้องยอมถอย เมื่อประเมินสถานการณ์ความรุนแรงจากการประท้วงของกลุ่มสหภาพแรงงาน ที่ออกมาต่อต้านกฎหมายระบบบำนาญใหม่ของเขาอย่างไม่ยอมถอย และสร้างความปั่นป่วนไปทั่วกรุงปารีส และเมืองใหญ่ทั่วประเทศอยู่ในขณะนี้ 
.
แต่ที่ว่าถอย ไม่ได้หมายถึงยอมถอดกฎหมายบำนาญฉบับใหม่ แต่เป็นการพูดคุยกับฝ่ายสำนักพระราชวังบักกิงแฮมแห่งอังกฤษ เพื่อขอยกเลิกหมายกำหนดการเยือนฝรั่งเศสของ ‘สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3’ พร้อมด้วย ‘สมเด็จพระราชินีคามิลลา’ ที่จะเป็นการเสด็จเยือนฝรั่งเศสครั้งแรกในสมัยของพระองค์
.
และก็เป็นไปตามที่คาด การเสด็จเยือนฝรั่งเศสของพระองค์จำเป็นต้องเลื่อนไปก่อน หากแต่หมายกำหนดการเดินทางเยือนเยอรมนียังคงไว้ตามเดิม ซึ่งเรื่องนี้ส่งผลให้ทั้ง เอ็มมานูเอล มาครง และรัฐบาลฝรั่งเศสเสียหน้าไม่น้อยเลย โดยทำได้แต่กล่าวปลอบใจตัวเองออกสื่อว่า เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ และยังเป็นมิตรภาพกันเสมอ
.
ก็อย่างว่า รัฐบาลฝรั่งเศส จะต้อนรับบุคคลระดับประมุขแห่งรัฐที่มาเยือนได้ยังไงในนาทีนี้ หากยังมีการประท้วงกันอย่างดุเดือดทั่วประเทศ แถมท้องถนนในกรุงปารีสตอนนี้ยิ่งกว่าเละเทะ ขยะเต็มเมือง ซากรถยนต์ถูกทุบ ถูกเผาไม่เว้นแต่ละวัน ไม่นับการเดินขบวนประท้วง ปะทะกับเจ้าหน้าที่แบบไม่ลดราวาศอก

อันที่จริง ไอเดียแสบทรวงเรื่องการประท้วงนี่ ไม่ได้เกิดขึ้นแบบบังเอิญต่อข้อเรียกร้องเรื่องกฎหมายระบบบำนาญใหม่แบบไร้เชิง แต่ต้องยกให้หัวคิดคนฝรั่งเศสที่มีเป้าหมายใช้การประท้วงมามีส่วนล้มหมายกำหนดการเยือนฝรั่งเศสของกษัตริย์อังกฤษมาตั้งแต่แรก เพื่อฉีกหน้ามาครง 

โดยเริ่มจากการข่มขู่ ให้พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 อย่าเข้าใกล้พระราชวังแวร์ซายส์ ถ้าไม่อยากเจอดี ซึ่งมีการเขียนกำแพงด้วยข้อความว่า “พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 ท่านรู้จัก ‘กิโยติน’ หรือไม่?” และยังลากเครื่องประหารกิโยตินจำลองมาวางไว้หน้าวังแวร์ซายส์ ที่ตั้งใจจะสื่อว่าเอาไว้สำเร็จโทษพระเจ้ามาครง (ซึ่งมาครงถูกเปรียบเทียบกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ที่โดนสำเร็จโทษด้วยกิโยตินในสมัยปฏิวัติฝรั่งเศส)

และด้วยมุกกิโนติน ทีเล่น ทีจริง ที่บริเวณหน้าวังแวร์ซายส์นี่เอง ที่ทำให้ทางการฝรั่งเศสต้องยกเลิกงานเลี้ยงกาล่าดินเนอร์รับเสด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 และราชินีคามิลล่า เพราะไม่อาจคาดเดาได้เลยว่าวันงานจริง ผู้ประท้วงจะยกทัพใหญ่มา ละลาบ ละล้วง จาบจ้วงอะไรบ้าง

นอกจากนี้ หากมองข้ามไปถึงแผนการเสด็จเยือนเมือง Bordeaux ที่เป็นแหล่งผลิตไวน์ชื่อดังในฝรั่งเศส และจะประทับรถรางของเมืองด้วยนั้น ก็ปรากฏว่า พนักงานรถรางประท้วงหยุดงาน ไม่ยอมวิ่งรถรางให้ด้วย และล่าสุดอาคารศาลาว่าการเมือง Bordeaux ก็ถูกผู้ประท้วงจุดไฟเผาไปเรียบร้อยแล้ว

เหล่านี้ จึงแลดูสมควรแก่เหตุให้ยกเลิกแผนการเสด็จเยือนฝรั่งเศส

แน่นอนว่า แม้ที่ฝรั่งเศสจะมีเหตุประท้วงกันบ่อย แต่การประท้วงของกลุ่มสหภาพแรงงานในตอนนี้ อยู่ในระดับที่ไม่ธรรมดา หนักหน่วงรุนแรงยิ่งกว่ากลุ่มเสื้อกั๊กเหลืองที่มาครงเคยเจอเมื่อ 3 ปีที่แล้วอย่างมาก และเป็นการประท้วงครั้งใหญ่ที่สุดในรอบหลาย 10 ปีของฝรั่งเศส ที่ตอนนี้มีผู้บาดเจ็บ ทั้งผู้ประท้วงและเจ้าหน้าที่เกือบ 200 คน รวมถึงมีผู้ประท้วงถูกจับกุมไปแล้วกว่า 400 คน

ตอนนี้ มาครง ยังคงใจดีสู้เสือ กล่าวว่าการประท้วงยังอยู่ในระดับ ‘ควบคุมได้’ และพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 จะเสด็จมาเยือนอีกครั้งในช่วงฤดูร้อนหน้าแน่นอน 


ที่มา : หรรสาระ By Jeans Aroonrat

https://www.facebook.com/100027974785452/posts/pfbid0VGUXqnW8Evp8DTdJNWnPtCs6kcQXGW2s2BLSzZUpejiLx8BfaeGY3hWr7TyXKfsjl/?mibextid=Nif5oz

อ้างอิง : https://www.france24.com/en/live-news/20230324-%F0%9F%94%B4-britain-s-king-charles-iii-s-state-visit-to-france-postponed

https://www.france24.com/en/europe/20230322-king-charles-set-to-face-strikes-and-disruption-in-france-on-first-foreign-visit

https://guernseypress.com/news/world-news/2023/03/24/macron-says-common-sense-meant-delaying-king-charless-visit/

https://www.telegraph.co.uk/world-news/2023/03/24/king-charles-state-banquet-move-versaille-louvre-elysee-aids/

https://www.bbc.com/news/world-europe-65057249

https://www.dailymail.co.uk/news/article-11880903/French-politicians-receive-GUILLOTINE-death-threats-Macron-faces-vote-no-confidence-TODAY.html
 

‘ฝรั่งเศส’ ประท้วงเดือด ต้านการปฏิรูประบบรับเงินบำนาญ สู่ความรุนแรงถึงขั้น จุดไฟเผา-ขยะเกลื่อนเมือง

(25 มี.ค.66) การเสด็จเยือนฝรั่งเศสของกษัตริย์ชาร์ลส์ที่ 3 ถูกเลื่อนออกไป เนื่องจากประเทศเผชิญกับการประท้วงอย่างรุนแรงเป็นวงกว้างเกี่ยวกับการปฏิรูปเงินบำนาญ

ประชาชนชาวฝรั่งเศสจำนวนมากร่วมประท้วงรัฐบาลทั่วประเทศ เพราะไม่เห็นด้วยกับการปรับเกณฑ์อายุรับเงินบำนาญจากเดิม 62 ปี ขึ้นเป็น 64 ปี

พนักงานเก็บขยะที่ร่วมการประท้วงมาแล้วกว่าสองสัปดาห์ในหลายเมือง ทำให้ในหลายเมืองต้องเผชิญกับปัญหาขยะคงค้างกองโต อย่างในกรุงปารีส จะพบเห็นกองขยะจำนวนหลายพันตันที่ถูกทิ้งไว้กลางถนน

‘Valerie’ หญิงเมืองน้ำหอม ผู้ประท้วงเสื้อกั๊กเหลือง ถูกดำเนินคดีข้อหา ‘หมิ่นประมาทประธานาธิบดีฝรั่งเศส’

ประเทศประชาธิปไตยอย่างเช่น ‘ฝรั่งเศส’ ก็มีการดำเนินคดีกับผู้ที่หมิ่นประมาทประธานาธิบดี ดังเช่นกรณีของ Valerie หญิงผู้ประท้วงกลุ่มเสื้อกั๊กเหลืองที่ได้ปฏิเสธว่า เธอไม่ได้จงใจเรียกประธานาธิบดี Emmanuel Macron ว่า ‘ขยะ’ บนโซเชียลมีเดีย

มีรายงานว่า หญิงชาวฝรั่งเศสรายนี้อาจต้องเผชิญกับโทษจำคุก 6 เดือน และค่าปรับอีก 22,500 euros เนื่องจากการโพสต์กล่าวหาว่า ประธานาธิบดี Emmanuel Macron ว่าเป็น ‘ขยะ’ ในเพจของเธอบนโซเชียลมีเดีย นั่นเป็นไปตามรายงานข่าวของ ‘La Voix du Nord’ สื่อท้องถิ่น เมื่อวันอังคารที่ 28 ที่ผ่านมา ซึ่งระบุว่าหญิงคนนี้ชื่อ ‘Valerie’ จาก St. Martin

ด้วยข้อหาดูหมิ่นเจ้าหน้าที่ของรัฐ เธอยืนยันว่า เธอไม่ได้ตั้งใจที่จะอธิบายถึงประธานาธิบดี Macron แบบนั้นด้วยซ้ำ โดยกล่าวโทษระบบการแก้ไขภาษาอัตโนมัติบนโทรศัพท์ของเธอ และอ้างว่า รัฐบาลกำลัง ‘เอาเธอเป็นตัวอย่าง’

ผู้ประท้วงเสื้อกั๊กเหลืองผู้นี้ถูกจับกุมเมื่อวันศุกร์ (24 มี.ค.) หลังจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ 3 นายปรากฏตัวที่ประตูอพาร์ตเมนต์ของเธอ เธอบอกกับสำนักข่าว

โดย ‘Valerie’ ถูกนำตัวไปที่สถานีตำรวจท้องที่ โดยไม่ทราบว่าเป็นการล้อเล่นหรือไม่

เธอบอกว่า พวกเขาสงสัยว่าเธอเขียนคำว่า ‘Macron ordure’ (มาครง ขยะ) บนกำแพงในชุมชน Arques ของเขต Pas-de-Calais ทางตอนเหนือของฝรั่งเศส

แต่เธอก็อธิบายโดยปฏิเสธข้อกล่าวหา พร้อมระบุว่า “ฉันแค่ถ่ายรูปและยิ้มกับมัน”

นอกจากนี้ เธอยังพบกับโพสต์บน Facebook เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งมีข้อความว่า “ขยะจะปราศรัยในวันพรุ่งนี้เวลา 13.00 น. สำหรับคนที่ไม่มีอะไรเลย เราเจอขยะในทีวีเสมอ” เป็นวันที่ก่อนที่ประธานาธิบดี Macron จะมีกำหนดให้สัมภาษณ์ทางโทรทัศน์กับสำนักข่าวใหญ่สองแห่งของฝรั่งเศส

'ทหารตัวการปฏิวัติ-ล้มราชบัลลังก์' วาทกรรมหลอกเด็ก ที่พวกมักใหญ่ใฝ่สูง อยากทำตัวเทียมเจ้าประดิษฐ์ขึ้นมา

ในห้วงเวลาแห่งการหาเสียงเลือกตั้ง ได้เกิดวาทกรรมเรียกแขกขึ้นอย่างมากมาย โดยเฉพาะบางพรรคที่มุ่งเน้นมาที่สถาบันพระมหากษัตริย์ โดยกล่าวอ้างว่าต้องเกิดการปฏิรูป รวมไปถึงกองทัพก็ต้องปฏิรูปและย้ำว่าพวกตนเป็นแค่ปัญญาชน เป็นนักการเมืองตัวเล็กๆ ไม่ได้มีอาวุธไปบังคับหรือปฏิวัติใครได้ ไม่เหมือนกองทัพ ไม่เหมือนทหารที่มีอาวุธสามารถล้มล้างการปกครองได้

ฉะนั้นการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์และปฏิรูปกองทัพคือ สิ่งสำคัญเพื่อจะได้ให้สถาบันได้อยู่คู่คนไทย และกองทัพจะได้ไม่มีโอกาสยึดอำนาจ...ฟังแล้วโคตรทัชใจเลย...ก่อนที่ผมจะสำรอกออกมาว่า...มึงจะบ้าเหรอ !!! คนละเรื่องกัน แต่มึงดันทะลึ่งเอามารวมกันได้ เอาอย่างงี้ผมจะขอนำเอาเรื่องของการปฏิวัติยึดอำนาจราชบัลลังก์ของประเทศต่างๆ มาสำแดงว่า จริงๆ แล้วคนที่ยึดอำนาจจากกษัตริย์ไม่ใช่ทหาร แต่เป็น 'นักการเมือง' ให้ทราบโดยทั่วกัน

เริ่มที่ 'ฝรั่งเศส' ประเทศที่มีคนชอบยกตัวอย่างการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ ค.ศ. 1792 เป็นโมเดลที่นักการเมืองปากกล้าหางจุกตูดบางจำพวกชอบนักชอบหนา แต่เอาเข้าจริงนี่คือโศกนาฏกรรมการล้มล้างกษัตริย์ที่เกิดขึ้นโดยนักการเมืองที่อยากเข้าไปปกครอง 

จริงอยู่ที่ 'พระเจ้าหลุยส์ที่ 16' ดำเนินนโยบายของประเทศผิดพลาดในหลายข้อ ทั้งด้านการทหารที่เอาตัวเข้ายุ่มย่ามวุ่นวายเรื่องอาณานิคมในประเทศที่ 3 จนนำไปสู่ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ แต่ก็ได้ผ่านการแก้ไขมาทั้งร่างนโยบายเพื่อปฏิรูประบบเศรษฐกิจการคลังของประเทศ คือ พระ ขุนนาง และสามัญชน ต้องเสียภาษีตามฐานะของตนเอง โดยนาย 'ตูร์โกต์' ก่อนจะถูกปัดให้ตกไป มาถึง 'เนคเกร์' ซึ่งได้สร้างนโยบายใหม่ขึ้นมา นั่นคือ 'การไม่ขึ้นภาษี' แต่ใช้การกู้เงินโดยให้ดอกเบี้ยสูงแทนก็ก่อหนี้จนไม่มีปัญญาใช้คืน 

มาถึง 'กาลอน' ได้ทำแผนปฏิรูปการคลังถวายแด่พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ซึ่งมีสาระสำคัญ 5 ประการ คือ 1. ตัดรายจ่ายรัฐบาล 2. ส่งเสริมมาตรการที่ก่อให้เกิดการค้าเสรี 3. จัดให้มีการขายที่ดินของวัดได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย 4. ยกเลิกระบบเกณฑ์แรงงาน และ 5. เก็บภาษีที่ดินจากผู้มีกรรมสิทธิ์ไม่มีการยกเว้นบุคคล แต่สภาสูงก็ผ่านร่างนี้ ย้ำว่า 'สภา' นะครับ ก่อนที่ นาย 'กาลอน'จะปลิวไป และมีท่านอื่นๆ มาปฏิรูปเรื่องนี้ แต่ปรากฏว่าไม่รอด 

เพราะหลักๆ มันคือ ปัญหาด้านเศรษฐกิจผสมกับในช่วงปีนั้นเกิดการคลาดแคลนอาหาร ทำให้เกิดความเดือดร้อนกันถ้วนหน้า พร้อมกันนั้นเองการประชุม 'สภาฐานันดร' ที่บรรดาฐานันดรพระและขุนนาง ไม่ยอมอะไรสักอย่างเพื่อบ้านเมือง แถมยังกล่าวโทษไปที่กษัตริย์ ซึ่งช่วงนี้ล่ะที่มีการปรับเปลี่ยนสภาพของสภาจากเดิมให้กลายเป็น 'สมัชชาแห่งชาติ' ที่มีจุดหมายมุ่งตรงไปสู่การล้มล้างสถาบันกษัตริย์ ส่วนนอกสภาก็มีการปลุกปั่นโดยสิ่งพิมพ์ การกล่าวโจมตีสถาบันกษัตริย์อย่างบิดเบือน บ้าคลั่ง จนในที่สุด 'พระเจ้าหลุยส์ที่ 16' ก็ถูกจับประหารด้วยกิโยตินแม้ว่าพระองค์จะยินยอมรับการปฏิรูปและรัฐธรรมนูญ 

ถึงตรงนี้อาจจะเหมือนจุดสุดยอดในใจของใครบางคน แต่เอาจริงหลังจากที่ประหาร 'พระเจ้าหลุยส์ที่ 16' แล้ว ฝรั่งเศสก็เข้าสู่ยุคแห่งความโกลาหล การนองเลือด และสงครามที่มาจากทั้งภายนอกและภายในประเทศ จนถูกขนานนามว่าเป็น 'ยุคแห่งความหวาดกลัว' โดยการกวาดล้าง 'ฌีรงแด็ง' ของกลุ่ม 'ลามงตาญ' ที่มีผู้นำอย่าง 'มักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์' ซึ่งต่อมาขึ้นครองอำนาจเบ็ดเสร็จราวกับตนเองเป็นกษัตริย์ 

อย่างไรเสีย ภายหลังเขาก็ถูกขั้วการเมืองของเขาเล่นงานโดยจัดการด้วย 'กิโยติน' เช่นเดียวกัน สุดท้ายความวุ่นวายทางการเมืองทั้งหลายก็สิ้นสุดลงโดย 'นโปเลียน โบนาปาร์ต' ได้ก่อรัฐประหารและตั้งตนเองเป็นกงสุลเอกเมื่อพฤศจิกายน ค.ศ. 1799 ก่อนที่เขาอยากจะเป็นจักรพรรดิแล้วก็ถูกล้ม ตามมาด้วยการล้มจักรพรรดิอีกหลายรอบ 

จะว่าไปแล้ว ประวัติศาสตร์ของฝรั่งเศสที่ล้มแล้วก็ล้างกันไปหลายครั้งหลายครา ก็ล้วนมาจากการกระทำของ 'นักการเมือง' ผมย้ำตรงนี้นะครับว่า 'นักการเมือง' เป็นคนล้มกษัตริย์ใน 'ฝรั่งเศส' ส่วนทหารจะเข้าไปล้มความวุ่นวายของ 'นักการเมือง'

อีกกรณีอย่างประเทศอังกฤษ ประเทศที่มีระบอบกษัตริย์ที่ยาวนานมากๆ แต่คุณรู้ไหมว่าช่วง ค.ศ. 1642-1649 ได้เกิดความขัดแย้งรุนแรงระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์ นำโดย พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 กับฝ่ายรัฐสภา นำโดย 'โอลิเวอร์ ครอมเวลล์' ซึ่งฝ่ายรัฐสภาได้ยื่นข้อเสนอ 19 ข้อ ให้ปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่พระเจ้าชาร์ลส์เห็นว่า ข้อเสนอดังกล่าวเป็นการลดทอนพระราชอำนาจอย่างชัดเจน และมุ่งไปสู่การล้มล้างการปกครองของอังกฤษ 

ชนวนเหตุนี้ ก่อให้เกิดสงครามระหว่างพระองค์และรัฐสภาที่กินเวลานารถึง 7 ปี ก่อนที่พระองค์จะพ่ายแพ้และถูกตัดสินประหารชีวิต จากนั้นอังกฤษก็เริ่มเข้าสู่ยุคสาธารณรัฐ โดยมี โอลิเวอร์ ครอมเวลล์ เป็นประมุขแห่งรัฐ 

แต่สุดท้ายภายใต้ระบอบใหม่อังกฤษ ก็เข้าสูยุคแห่งความยุ่งเหยิง เพราะ ครอมเวลล์ ทำตนไม่ต่างจากกษัตริย์ แถมเพิ่มเติมด้วยความเป็นเผด็จการแบบสุดลิ่มทิ่มประตู ทำให้เขามีความขัดแย้งกับรัฐสภาแห่งอังกฤษเป็นประจำ ก่อนที่เขาจะนำเอาตัวเองสร้างความเบ็ดเสร็จด้วยการเป็นเผด็จการด้านการทหารซ้ำเข้าไปอีก ทำให้ชาวอังกฤษเริ่มเสื่อมศรัทธาลงทีละน้อย กลุ่มสภา กลุ่มทหารเริ่มเอาใจออกห่างเขาเรื่อยๆ จนกระทั่งเขาตายลงในปี ค.ศ.1658 

จากนั้น 'ริชาร์ด ครอมเวล' ลูกชายของเขาก็ขึ้นครองตำแหน่งแทน ซึ่งนี่แทบไม่ต่างจากระบบกษัตริย์เลยแม้แต่น้อย แต่ด้วยความที่เจ้าตัวขาดบารมี จึงเกิดพันธมิตรระหว่างขั้วอำนาจหลายกลุ่มในรัฐสภา ทั้งฝ่ายที่เคยเป็นปฏิปักษ์ ฝ่ายสนับสนุนสถาบันกษัตริย์ ฝ่ายแกนนำทางการเมือง และกองทัพ ได้จับมือกันเพื่อสถาปนาสถาบันกษัตริย์ของอังกฤษให้กลับคืนมา ซึ่งช่วงเวลานี้เรียกว่า English Restoration 

จากนั้นกองทัพภายใต้การนำของ 'จอร์จ มองค์' (George Monck) ได้ขับ 'ริชาร์ด ครอมเวล' ให้พ้นจากตำแหน่ง และกราบบังคมทูลเชิญพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 พระโอรสของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ที่เสด็จไปลี้ภัยอยู่ที่ฝรั่งเศส ให้กลับมาเป็นพระมหากษัตริย์ของอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1660 โดยขอให้พระองค์ทรงยอมรับเงื่อนไขที่จะให้มีการออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้แก่ทุกคนที่กระทำผิดในช่วงสงครามกลางเมือง โดยไม่ครอบคลุมการกระทำผิดอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับสงคราม หรือก็คือไม่ได้นิรโทษกรรมแบบสุดซอย

สรุปในกรณีนี้ คือ คนโค่นล้มกษัตริย์ในอังกฤษก็คือ 'นักการเมือง' และคนที่ก่อความวุ่นวายโดยไม่มีเหตุอันควรก็คือ 'นักการเมือง'

‘ทวีสุข ธรรมศักดิ์’ นักวิชาการเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ โพสต์ถึงความเสมอภาคที่ไม่เคยมีอยู่จริงในประวัติศาสตร์โลก

เมื่อวันที่ 29 พ.ค. 66 นายทวีสุข ธรรมศักดิ์ นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ ได้โพสต์ถึงกรณี การประท้วงในฝรั่งเศสที่กำลังคุกรุ่นอยู่ในขณะนี้ โดยระบุว่า…

“ขณะนี้มีการประท้วงในฝรั่งเศส จากแผนสวัสดิการ ความไม่เท่าเทียมกัน เพื่อความเสมอภาค เสรีภาพ และ ทุพลภาพ ที่ไม่เคยมีอยู่จริง สู้มาแล้ว 200 ปี สู้อยู่ และ สู้ต่อไปอีก 200 ปี ถามจริงๆ 3,000 ปีที่ผ่านมา มีช่วงไหนของประวัติศาสตร์โลก ที่มีความเท่าเทียมกันบ้าง มีแต่สร้างฝันให้คนพูดเอาไปหาผลประโยชน์กับตัวเองทั้งนั้น”

‘ฝรั่งเศส’ ปราบปรามกลุ่มผู้ประท้วง ก่อจลาจลเผาเมืองปารีส จากกรณีตำรวจยิงเด็กวัยรุ่น 17 ปี เสียชีวิตคาด่านตรวจ

เมื่อวันที่ 28 มิ.ย. 66 ตำรวจปราบจลาจลในฝรั่งเศสกว่า 2000 นาย ออกปฏิบัติการปราบปรามกลุ่มผู้ประท้วงในกรุงปารีสจำนวนมาก ที่ออกมาประท้วงหนักในกรณีที่ตำรวจฝรั่งเศสยิงวัยรุ่นชายวัย 17 ปีเสียชีวิตในบริเวณด่านตรวจ

การประท้วงได้ยกระดับไปสู่ความรุนแรง มีการจุดไฟเผากองขยะ รถยนต์ข้างทาง อาคารสาธารณะ สถานีตำรวจ และยังทำลายทรัพย์สินราชการเป็นจำนวนมาก ติดต่อกันเป็นคืนที่ 2 แล้ว อีกทั้งมีการปะทะกันระหว่างตำรวจปราบปรามที่ใช้แก๊สน้ำตา และกลุ่มผู้ประท้วงที่ยิงพลุไฟ และขว้างปาสิ่งของใส่เจ้าหน้าที่ ล่าสุดมีผู้ประท้วงถูกจับกุมตัวแล้วไม่ต่ำกว่า 150 ราย

‘เจอราลด์ ดาร์มานิน’ รัฐมนตรีมหาดไทยของฝรั่งเศส กล่าวถึงเหตุความไม่สงบในกรุงปารีสเมื่อช่วงค่ำคืนที่ผ่านมาว่า “เป็นความรุนแรงที่แสดงออกถึงการต่อต้านสัญลักษณ์ของระบอบสาธารณรัฐ ที่ไม่สามารถรับได้อีกต่อไป ศาลาว่าการเมืองต่างๆ โรงเรียน และสถานีตำรวจหลายแห่งถูกเผา และทำลาย ซึ่งเราได้จับกุมคนก่อเหตุได้ราว 150 คน”

รัฐมนตรีมหาดไทยยังกล่าวให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ตำรวจ, ทหาร และหน่วยดับเพลิง ที่เผชิญหน้ากับสถานการณ์รุนแรงด้วยความกล้าหาญ อีกทั้ง ยังประนามกลุ่มผู้ประท้วงที่ใช้ความรุนแรงว่า ‘ไร้ยางอาย และปราศจากความยั้งคิด’

สาเหตุที่จุดกระแสการประท้วงในหลายเมืองของฝรั่งเศส เกิดขึ้นเมื่อช่วงเช้าวันอังคาร (27 มิ.ย. 66) ที่เขตนองแตร์ ชานกรุงปารีส เมื่อตำรวจฝรั่งเศสได้เรียกหยุดรถคันหนึ่งเพื่อตรวจค้น โดยตำรวจอ้างว่า มีการขัดขืนและพยายามจะขับรถชนเจ้าหน้าที่ จึงจำเป็นต้องยิงเพื่อป้องกันตัว ทำให้ ‘Nahel M’ วัยรุ่นชายวัย 17 ปี ถูกยิงเข้าบริเวณทรวงอกในระยะเผาขนเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ ซึ่งข้อเท็จจริงขัดกับภาพจากกล้องวงจรปิด ที่คนขับได้หยุดรถแล้ว และตำรวจยืนในตำแหน่งด้านข้างรถ และใช้ปืนจ่อเข้าไปในรถ

เหตุการณ์นี้สร้างความไม่พอใจอย่างกว้างขวางในหมู่ชุมชนกลุ่มน้อยในฝรั่งเศส ที่เชื่อว่าพวกเขาถูกเลือกปฏิบัติจากเจ้าหน้าที่รัฐ และการตัดสินใจใช้ความรุนแรงของตำรวจฝรั่งเศส ซึ่งในปี 2022 ที่ผ่านมา มีผู้เสียชีวิตในกรณีคล้ายกับ Nahel M มาแล้วถึง 13 ราย

‘เอมานูเอล มาครง’ ประธานาธิบดีฝรั่งเศส ได้ออกมาแสดงความเสียใจต่อการเสียชีวิตของ Nahel M และยังกล่าวว่า “ประเทศเรามีเยาวชนคนหนึ่งถูกสังหาร ด้วยสาเหตุที่ไม่สามารถอธิบายได้ และให้อภัยไม่ได้เช่นกัน และสั่งให้มีการสอบสวนตามกระบวนการยุติธรรมอย่างถึงที่สุด”

ด้านครอบครัวของวัยรุ่นชายผู้เสียชีวิต เรียกร้องให้ชาวฝรั่งเศสออกมาเดินขบวนประท้วง เพื่อเรียกร้องความยุติธรรมให้กับบุตรชาย แต่สุดท้ายกลายเป็นเหตุบานปลายที่มีการเผาทำลายอาคาร ทรัพย์สินราชการในหลายเมือง ทั้งกรุงปารีส เมืองตูลูซ ดีฌง และลียง จนทางการฝรั่งเศสต้องส่งกองกำลังเข้าไปควบคุมสถานการณ์ และจับกุมผู้ก่อความไม่สงบได้เป็นจำนวนมาก

เรื่องคดีความของวัยรุ่น 17 ปี ก็เรื่องหนึ่ง แต่การใช้ความรุนแรงจนเกือบจะเผาบ้าน เผาเมืองก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ที่ไม่สามารถเอามาเฉลี่ยกันได้ เพราะสังคมไม่อาจสงบได้หากเลือกใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา

เรื่อง : ยีนส์ อรุณรัตน์
 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top