Thursday, 2 May 2024
ฝรั่งเศส

3 ตุลาคม พ.ศ. 2436 ฝรั่งเศสบังคับสยาม ลงนามยกดินแดน ต้องเสียพื้นที่ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ในวิกฤตการณ์ ร.ศ.112

วันนี้ เมื่อ 129 ปีก่อน เป็นอีกหนึ่งวันที่ลูกหลานไทยต้องจดจำ เมื่อสยามต้องกลืนเลือดทำสนธิสัญญา กับฝรั่งเศส ที่เรียกว่า “สนธิสัญญาสันติภาพ” ซึ่งเกิดขึ้นในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2436 ที่ทำให้ไทยเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง 

ในครั้งนั้น ฝรั่งเศส ได้บังคับสยามลงนามยอมรับว่าดินแดนบนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงเป็นของฝรั่งเศส เพื่อแลกกับเมืองจันทรบุรีที่ฝรั่งเศสยึดไว้เป็นหลักประกัน 

โดยหลังจากการลงนามนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว ทรงพยายามแก้ไขปัญหาอย่างเต็มที่ ทั้งโดยวิธีทางการทูต การทหาร และการแสวงหาความช่วยเหลือจากมหาอำนาจอื่น จนทรงพระประชวรและทรงคิดว่าอาจสวรรคต ยิ่งไปกว่านั้นการเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงในวิกฤตการณ์ ร.ศ.112 ส่งผลทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสียพระราชหฤทัยอย่างสุดซึ้ง จนถึงกับน้ำพระเนตรไหล 

แต่ในที่สุดพระองค์ก็ทรงหักพระทัยได้ ทรงรับสั่งเป็นเชิงปรารภว่า "การเสียเขตแดนแต่เพียงเล็กน้อยตามชายพระราชอาณาจักรซึ่งเราเองก็ทำนุบำรุงรักษาให้เจริญเต็มที่ไม่ได้นั้น ก็เปรียบเหมือนกับเสียปลายนิ้วของเราไป ยังไกลอยู่ รักษาหัวใจกับตัวไว้ให้ดีก็แล้วกัน”

15 ตุลาคม พ.ศ.2460 ฝรั่งเศสประหารชีวิต ‘มาตา ฮารี’ นางระบำชาวดัตช์ ข้อหาสายลับสองหน้า

วันนี้เมื่อ 105 ปีก่อน มาตา ฮารี (Mata Hari) นางระบำชาวเนเธอร์แลนด์ ผู้แฝงตัวเป็นจารชนสองหน้าในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ถูกฝรั่งเศสประหารชีวิต 

มาตา ฮารี มีนามจริงว่า มาร์กาเรเท เกอร์ทรูด เซลเล (Margaretha Geertruida Zelle) เกิดเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2419 ที่เมืองลีวาร์เดน (Leeuwarden) จังหวัดฟรีส์แลนด์ (Friesland) ตอนอายุ 15 ปีมารดาเสียชีวิต บิดากลายเป็นบุคคลล้มละลาย เธอแต่งงานกับทหารเรือตอนอายุ 18 ปี 

ภายหลังต้องย้ายตามสามีไปประจำการที่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย และมีลูกด้วยกันสองคน ที่นี่เธอได้ศึกษาการร่ายรำศักดิ์สิทธิ์ของฮินดู จากวัดในเกาะชวา แล้วพัฒนาลีลาเป็นของตนเอง โดยร่ายรำม้วนลำตัวแสดงลักษณะความเป็นหญิง ในลักษณะคล้ายคลึงกับระบำหน้าท้อง เธออธิบายการเต้นรำของตัวเองว่าเป็น 'บทกวีอันศักดิ์สิทธิ์ โดยการเคลื่อนไหวแต่ละลีลาเป็นเสมือนคำที่ขีดเส้นใต้ไว้ด้วยดนตรี'

ปี 2446 เธอกับครอบครัวเดินทางกลับเนเธอร์แลนด์ เธอหย่ากับสามีแล้วย้ายไปยังกรุงปารีส ฝรั่งเศส ทำงานในคณะละครสัตว์ และเป็นนางแบบให้จิตรกรเขียนภาพ 

ปี 2448 เธอเริ่มมีชื่อเสียงจากลีลาการเต้นที่พัฒนาขึ้นมาเอง ซึ่งเรียกว่า 'ระบำแห่งโอเรียนต์' (Oriental-style Dancer) จากนั้นก็เปลี่ยนชื่อเป็น 'มาตา ฮารี' ซึ่งเป็นภาษาอินโดนีเซียแปลว่า 'ดวงตาแห่งวัน' หรือ 'ดวงตาวัน' คืนหนึ่งเธอได้เปิดแสดงที่พิพิธภัณฑ์กุยเมต์ (Guimet Museum) ส่งผลให้เธอโด่งดังในชั่วข้ามคืน ด้วยลีลาการเต้นที่แสนยั่วยวน มีเสน่ห์ ลึกลับ น่าหลงไหล (exotic) 

คนฝรั่งเศสไม่ทน!! เดินขบวนประท้วงกลางกรุงปารีส เหตุไม่พอใจราคาค่าครองชีพพุ่งกระฉูด

ผู้คนหลายพันคนเดินขบวนบนท้องถนนในกรุงปารีสเมื่อวันอาทิตย์ (16 ต.ค. 65) แสดงความไม่พอใจต่อค่าครองชีพที่พุ่งสูง ขณะที่สหภาพแรงงานใหญ่ที่สุดของฝรั่งเศสยังคงผละงานประท้วงตามโรงกลั่นต่าง ๆ ซึ่งทำให้สถานีบริการเชื้อเพลิงหลายแห่งทั่วประเทศต้องปิดบริการชั่วคราว

การชุมนุมครั้งนี้จัดโดย ฌอง-ลุค เมลองชอง อดีตผู้สมัครชิงเก้าอี้ประธานาธิบดี และผู้นำพรรค France Unbowed (LFI) ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายซ้าย การประท้วงมีองค์กรต่าง ๆ และพรรคการเมืองฝ่ายซ้ายอื่น ๆ เข้าร่วมด้วย บางส่วนในนั้นยังเรียกร้องให้ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง ดำเนินการจริงจังมากขึ้นกับภาวะโลกร้อน

อย่างไรก็ตาม ความกังวลทางเศรษฐกิจมาเป็นอันดับหนึ่งและเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่อยู่ในใจผู้ประท้วง 

"นี่ไม่ใช่การเดินขบวนเพื่อเมลองชอง" ผู้นำพรรค LFI ให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์ France 3 ในตอนเช้าวันอาทิตย์ (16 ต.ค.) "นี่คือการเดินขบวนของประชาชนผู้หิวโหย ผู้หนาวเหน็บและต้องการได้ค่าแรงที่ดีกว่าเดิม"

"ราคาข้าวของพุ่งขึ้นจนเกินทน" มานอง ออบรี รองหัวหน้าพรรค LFI กล่าวกับเอเอฟพี "นี่คือการสูญเสียอำนาจการซื้อครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 40 ปี"

อัตราเงินเฟ้อของฝรั่งเศส ปัจจุบันอยู่ที่ 6% เกือบทุกภาคอุตสาหกรรมของประเทศมีกิจกรรมการผลิตที่ลดลงเป็นประวัติการณ์ สืบเนื่องจากราคาพลังงานที่พุ่งสูง ส่วนใหญ่แล้วเป็นผลสืบเนื่องจากมาตรการคว่ำบาตรของอียูที่กำหนดเล่นงานเชื้อเพลิงฟอสซิลของรัสเซีย ลงโทษกรณีรุกรานยูเครน

ด้วยที่บิลค่าไฟภาคครัวเรือนดีดตัวสูงขึ้นเรื่อย ๆ ฟืนไม้กลับมาเป็นที่ต้องการอีกครั้งในฝรั่งเศส ท่ามกลางความคาดหมายว่าประเทศแห่งนี้อาจต้องเผชิญกับปัญหาไฟฟ้าดับเป็นระยะในฤดูหนาวที่กำลังมาเยือน

ระหว่างการประท้วงนั้นมีรายงานการปะทะกันระหว่างพวกหัวรุนแรงซ้ายจัด ซึ่งชุมนุมกันเป็นประจำในฝรั่งเศส กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยพบเห็นตำรวจปราบจลาจลยิงแก๊สน้ำตาเข้าสู่พวกก่อจลาจลในชุดสีดำ

ท่ามกลางการชุมนุม อีกด้านหนึ่งสหภาพแรงงาน CGT ยังคงเดินหน้าประท้วงตามโรงกลั่นต่างๆ เรียกร้องขอขึ้นค่าแรง ทั้งนี้การประท้วงซึ่งยืดเยื้อมานานกว่า 3 สัปดาห์ ก่อปัญหาขาดแคลนและทำให้ต้องปันส่วนพลังงานตามสถานีบริการเชื้อเพลิงทั้งหลาย

ในวันเสาร์ (15 ต.ค.) สหภาพแรงาน CGT ปฏิเสธข้อเสนอของทางโททาลเอเนอร์จีส์ ยักษ์ใหญ่พลังงานของฝรั่งเศส ในการปรับขึ้นค่าแรงสำหรับปี 2023

รู้จัก ‘มาครง’ ประธานาธิบดีฝรั่งเศส 2 สมัย ชีวิต - ความรัก - การงาน - การเมือง

Bonjour … comment allez-vous? สวัสดี...สบายดีมั้ย นี่เป็นคำทักทายในภาษาฝรั่งเศส ที่ใครมีโอกาสได้พบกับผู้นำสุดหล่อแห่งฝรั่งเศสสามารถเตรียมไว้ทักทายกันได้ หลังจากในการประชุม APEC 2022 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพนั้น ประเทศฝรั่งเศสได้ถูกรับเชิญเป็นแขกพิเศษในการประชุมครั้งนี้ และผู้ที่มาร่วมประชุม ก็คือ แอมานุแอล ฌ็อง-มีแชล เฟรเดริก มาครง (Emmanuel Jean-Michel Frédéric Macron) ประธานาธิบดีฝรั่งเศส และนางกาเตอรีน โกลอนนา (Catherine Colonna) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการยุโรปและการต่างประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศส 

ทว่าก่อนที่จะได้ทราบกันว่าสาระสำคัญของไทย-ฝรั่งเศสใน APEC 2022 นี้ จะมีมิติใดอัปเดตบ้างนั้น THE STATES TIMES ก็ขออนุญาตพาทุกท่านไปรู้จักกับประธานาธิบดีท่านนี้ให้มากขึ้นกันค่ะ 

Emmanuel Jean-Michel Frédéric Macron เกิดเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ 2520 ที่เมืองเอเมียงส์ ประเทศฝรั่งเศส โดยครอบครัวทำงานอยู่ใวงการวิทยาศาสตร์และการแพทย์ มาครงได้ศึกษาระดับประถม-มัธยมศึกษาที่โรงเรียนในเมืองเอเตียง ก่อนย้ายไปศึกษามัธยมปลายที่โรงเรียน อองรีที่ 4 (Lyeeé Henri-IV) เป็นโรงเรียนมัธยมชั้นสูงเก่าแก่ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในปารีส เมื่อเขาจบมัธยมปลาย เขาได้ศึกษาต่อด้านปรัชญาที่มหาวิทยาลัยปารีส น็องแตร์ (Université Paris Ouest Nanterre La Dèfense) และศึกษาต่อในด้านการบริหารกิจการสาธารณะ สถาบันซีอองซ์ โป (Science Po - The Institut d études politiques de Paris) มาครงมีความชื่นชอบและสนใจด้านประวัติศาสตร์ ปรัชญา และ ศิลปะ 

มาครง เข้าทำงานในแวดวงการเงิน การธนาคาร โดยทำงานให้กับบริษัท Rothschild บริษัททรงอิทธิพลที่เป็นเจ้าของเครือข่ายธนาคารหลายแห่งในยุโรป ตั้งแต่ปี 2551 และเคยทำหน้าที่ในกระทรวงการคลัง โดยเป็นผู้ช่วยในทีมของ ฌากส์ อัตตาลี นักการเมืองผู้ทรงคุณวุฒิที่เคยเป็นที่ปรึกษาของอดีตประธานาธิบดี มิต เตร็อง และได้ลาออกไปทำงานให้กับบริษัท ร็อธส์ไซลด์ ในปี 2551 และได้เข้ามาทำงานการเมืองอย่างจริงจัง โดยเป็นผู้ช่วยที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจให้กับประธานาธิบดี ฟรองซัวส์ ออลลองด์ ได้เสนอชื่อเขาขึ้นไปเป็นรัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจ ในปี 2557 

ด้านความรัก: ความรักของมาครง เมื่อเขาอายุ 17 ปี เขาเปิดเผยกับคุณครูผู้เป็นที่รักว่า เขาอยากแต่งงานกับเธอ ถึงแม้ว่าเขาจะมีอุปสรรคมากมายก็ตาม แต่มาครงบอกกับเธอว่า "ผมจะกลับมาหาคุณ ไม่ว่าคุณจะทำอะไร ผมก็จะแต่งงานกับคุณให้ได้" หลังจากเวลาผ่านไปนานหลายปี ความรักที่มาครงมีให้คุณครูก็ไม่เคยจืดจางลงไป จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2550 ขณะที่มาครงอายุได้ 29 ปี บริจิตต์ก็หย่าขาดจากสามี และมาครงก็ได้แต่งงานกับเธอดังที่เขาปรารถนามาตลอด โดยไม่สนคำวิพากษ์วิจารณ์ใดๆ จากสังคม 

ด้านการเมือง: เขาได้ก้าวทำงานด้านการเมืองแบบจริงจัง โดยเป็นผู้ช่วยที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจให้กับประธานาธิบดี ฟรองซัวส์ ออลลองด์ ได้เสนอชื่อเขาขึ้นไปเป็นรัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจในปี 2557 โดยเขาได้ร่างกฎหมายที่มุ่งเน้นผลักดันให้รัฐบาลมีความเป็นมิตรกับภาคเศรษฐกิจมากขึ้น แต่ร่างกฎหมายดังกล่าวได้ตกเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ในสภา และถูกตัดลงไป ไม่ผ่านการอนุมัติ

จุดเปลี่ยนในการจัดตั้งพรรคการเมือง … เขาเล็งเห็นว่า แนวคิดของการปฏิรูปเศรษฐกิจ ไม่สามารถไปกันได้กับนโยบายของพรรคสังคมนิยม ภายใต้รัฐบาลประธานาธิบดี ออลลองด์ มาครงจึงลาออกจากการเป็นรัฐมนตรี และออกมาตั้งพรรคการเมืองของตัวเอง ในปี 2559 ในชื่อ ‘ออง มาร์ช (En Marche)’ มีชื่อทางการว่า สมาคมเพื่อการฟื้นฟูชีวิตการเมือง (Association pour le renouvellement de la vie politique) ซึ่งมีความหมายตรงตัวถึงการเคลื่อนไหว เป็นพรรคการเมืองที่มีแนวคิดเสรีนิยมสายกลาง ที่มีเป้าหมายปฏิรูปการเมืองของฝรั่งเศสให้ก้าวไปข้างหน้า และให้ความเคารพกับสิทธิมนุษยชนของประชาชนทุกคนในประเทศ ซึ่งการจัดตั้งพรรคการเมืองของมาครง เป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของฝรั่งเศส และเขาคือ 1 ในผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีฝรั่งเศสในการเลือกตั้ง ในปี 2560 โดยผลการเลือกตั้งฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2560 (อย่างไม่เป็นทางการ) รอบแรก พบว่า แอมานุแอล มาครง มีคะแนนเสียงอันดับ 1 คิดเป็น 24.01% แซงมารีน เลอ แปน จากพรรคแนวร่วมสร้างชาติ 21.30% ต่อมาเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2560 มีการเลือกตั้งรอบที่ 2 ระหว่าง แอมานุแอล มาครง จากพรรคอ็องมาร์ช และ มารีน เลอแปน จากพรรคแนวร่วมสร้างชาติ ผลการเลือกตั้งรอบที่ 2 ปรากฎว่า แอมานุแอล มาครง มีคะแนนคิดเป็น 66.10% ในขณะที่มารีน เลอ แปน มีคะแนนคิดเป็น 33.90% ทำให้มาครงกลายเป็นประธานาธิบดีของประเทศฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการ และเป็นประธานาธิบดีอายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส และเป็นประมุขแห่งรัฐฝรั่งเศสที่อายุน้อยที่สุดนับตั้งแต่สมัยโบเลียน

คาดเดาบทบาท ‘มาครง’ ในเวที APEC 2022 ผูกมิตรกล่อม ‘จีน’ ด้วยท่าทีที่สวนทาง ‘ทรูโด’

แม้เป้าประสงค์หลักของการประชุมเอเปคจะอยู่ที่การส่งเสริมการค้าแบบพหุภาคี หรือการร่วมพูดคุยกันหลายฝ่าย เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ในการขยายตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาคและของโลก 

แต่ด้วยสมาชิกที่หลากหลาย และครอบคลุมมหาอำนาจโลกหลายแห่ง ซึ่งรวมไปถึง สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้นั้น มันก็คงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ หากเหล่าผู้นำชาติมหาอำนาจที่มารวมตัวกัน จะช่วงชิงอิทธิพลในภูมิรัฐศาสตร์โลก ตามสถานการณ์และวิกฤตโลกที่เกิดขึ้น 

ยกตัวอย่างในปีนี้กับความตึงเครียดที่มากขึ้นระหว่างสหรัฐฯ และจีน ทั้งเรื่องการค้า และประเด็นไต้หวัน รวมถึงสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน ที่ลามผลกระทบไปสู่เรื่องเศรษฐกิจและความมั่นคงด้านพลังต่อประเทศคู่ขัดแย้งที่เกี่ยวพันในห่วงโซ่นี้ เป็นต้น 

อย่างไรก็ตามใน ‘ทางแจ้ง’ ใครจะวัดพลังกันบนเวที ก็ทำกันไป แต่ใน ‘ทางลับ’ ก็มีเรื่องให้น่าจับตาไม่แพ้กัน เพราะหากสังเกตให้ดีบนเวทีประชุมใหญ่ ๆ ระดับโลกเช่นนี้ ก็มักจะมีท่าทีให้สอดรู้จากผู้นำชาติมหาอำนาจทั้งในกลุ่มเขตเศรษฐกิจ และแขกรับเชิญพิเศษของเจ้าภาพ ซึ่งในปีนี้ไทยเราเชิญมาทั้งสิ้น 3 ชาติ ได้แก่ ฝรั่งเศส, ซาอุดีอาระเบีย และกัมพูชา ที่พร้อมจะใช้เสี้ยวเวลาในการพูดคุย เจรจา หรือปิดดีลบางเรื่องในช่วงเวลาแค่ชั่วพบปะ แล้วเรื่องแบบนี้ก็ไม่ค่อยจะหลุดรอดไปสู่ตาเหยี่ยวสื่อสักเท่าไรด้วย

กลับกันการพูดคุยลับ ๆ ที่ถูกทำให้ไม่ลับ ก็อาจจะทำให้เกิดความแคลงใจกันในภายภาคหน้า เหมือนกับกรณี สีจิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน แหกหน้า จัสติน ทรูโด นายกรัฐมนตรีแคนาดา ระหว่างการประชุม G20 ที่อินโดนีเซีย โดยประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ได้พูดคุยกับนายทรูโด ด้วยรอยยิ้มผ่านล่าม ตำหนิในกรณีที่นายทรูโดระบุว่า จีนแทรกแซงการเลือกตั้งของแคนาดา โดยสี จิ้นผิง กล่าวว่า “ทุกอย่างที่เราได้พูดคุยกันถูกรั่วไหลไปถึงสื่อ และนั่นไม่เหมาะสม” ซึ่งท่าทีของผู้นำแคนาดารายนี้ก็รู้กันอยู่ว่าแทบจะเป็นเงาพี่เงาน้องของลูกพี่แซมอยู่แล้ว ก็ได้แต่พยักหน้า ขณะที่ ผู้นำจีน กล่าวต่อว่า “นั่นไม่ใช่วิธีการที่ควรจะเป็น หากมีความจริงใจต่อกัน เราจะร่วมหารือด้วยทัศนคติที่เคารพซึ่งกันและกัน มิเช่นนั้น ผลที่ตามมาจะคาดเดาไม่ได้”

นี่คือตัวอย่างไม่ดี ที่เด็ก ๆ ไม่ควรเอาเยี่ยงอย่าง!!

กลับกันกับท่าทีของอีกหนึ่งผู้นำ ที่เชื่อว่าพญามังกรคงรอดูท่าที คือ ประธานาธิบดี เอ็มมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศส ซึ่งมีหลายฝ่ายเชื่อว่า การมาเอเปค 2022 ในครั้งนี้ ไม่ใช่แค่มาสานความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศไทย-ฝรั่งเศส, ด้านความมั่นคง, หรือ BCG ที่สอดคล้องแผนปฏิรูปสีเขียวของ EU หรือแค่หนุนประเด็นที่ไทยผลักดันในเวทีเอเปคเท่านั้น 

หากแต่นี่ก็คือเวทีที่ มาครง จะได้มีโอกาสใช้จังหวะ ‘ที่ไม่เป็นทางการ’ คุย ‘ประเด็นทางการ’ ต่อ สีจิ้นผิง สืบเนื่องต่ออีกคำรบจากเวที G20 ได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งแน่นอนว่าประเด็นที่จะคุย ก็คงไม่พ้นความคาดหวังที่จะให้จีนเป็นตัวกลางเจรจาระหว่างรัสเซีย-ยูเครน เพื่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อการคลี่คลายปัญหาด้านพลังงานในยุโรป และการขาดแคลนชิปของจีน เป็นต้น

ความสัมพันธ์ 'ไทย-ฝรั่งเศส' จากอดีตถึงปัจจุบัน สู่การยกระดับหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ในปี 2024

จากภาพปรากฏตั้งแต่ นายเอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส ก้าวเท้าเข้าสู่ทำเนียบและเข้าทักทายนายกรัฐมนตรีของไทย ด้วยความจริงใจและดูนอบน้อม ในฐานะแขกรับเชิญคนสำคัญจากประเทศไทยเพื่อร่วมการประชุม APEC 2022 หนนี้

ยิ่งทำให้รู้สึกถึงแนวโน้มอันดีงามในการหารือแบบทวิภาคีของ ‘ไทย-ฝรั่งเศส’ โดยเฉพาะในแง่ของความคืบหน้าการยกระดับสถานะความสัมพันธ์สู่การเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ (Strategic Partner) ระหว่างกันภายในปี ค.ศ. 2024 

โดยเชื่อว่า ‘ไทย-ฝรั่งเศส’ จะได้มีการเผยแพร่ถ้อยแถลงข่าวร่วม (Joint Press Statement) ซึ่งมีสาระสำคัญเกี่ยวกับความร่วมมือเร่งด่วนที่ทั้งสองฝ่ายจะดำเนินการก่อนตามแผนการ (Roadmap) สำหรับการดำเนินความสัมพันธ์ไทย-ฝรั่งเศส (2022-2024) ที่ได้ลงนามเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ กรุงปารีส ภายใต้ 5 เสาหลัก ได้แก่... การเมืองและความมั่นคง เศรษฐกิจ ประชาชน และประเด็นระดับโลก 

ภาพความสัมพันธ์ในอนาคตระหว่าง ‘ไทย-ฝรั่งเศส’ จะเป็นเช่นไร อาจจะยังตอบแบบชัดๆ ได้ยาก แต่ถ้าย้อนไปตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ต้องขอบอกว่า ไทยและฝรั่งเศส มีการเจริญสัมพันธไมตรีอันดีต่อกันในหลายด้านแล้วด้วย

>> ด้านการทูต : พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ได้ส่งราชทูตมาเจริญสัมพันธไมตรีในปี 2228 ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและฝรั่งเศสพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทั้ง 2 ประเทศได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต โดยการลงนามในสนธิสัญญาทางไมตรีทางการค้าและการเดินเรือ (Treaty - of Friendship, Commerece and Navigation) เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2399 

>> ด้านการเมือง : ดำเนินไปด้วยความราบรื่น ไม่มีปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างไทยและฝรั่งเศสได้รับการยกระดับเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างกัน โดยมีแผนปฎิบัติการร่วมไทย - ฝรั่งเศส ความร่วมมือทั้ง 2 ฝ่ายมีผลประโยชน์ร่วมกัน และสามารถปฎิบัติได้จริงในช่วง 5 ปี ครอบคลุมทั้งด้าน เศรษฐกิจ การเมือง และความร่วมมือระหว่างประเทศ ฯลฯ

>> ด้านเศรษฐกิจ : มีการส่งออกของไทย และสินค้าที่นำเข้าจากฝรั่งเศสหลายประการ ได้แก่...
- สินค้าส่งออกของไทย ได้แก่ เลนส์แว่นตา เครื่องนุ่งห่ม อัญมณี เครื่องประดับ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ข้าว
- สินค้านำเข้าจากฝรั่งเศส ได้แก่ เครื่องบินแอร์บัส เครื่องร่อน อุปกรณ์การบินและส่วนประกอบ เครื่องสำอาง

>> ด้านการร่วมมือด้านการค้า : ในภาครัฐ มีคณะทำงานร่วมด้านการค้าไทย-ฝรั่งเศส และมีการจัดทำข้อตกลงการหารือของเจ้าหน้าที่ระดับสูงด้านเศรษฐกิจระหว่างไทยกับฝรั่งเศส (The High Level Economic Dialogue between Thailand and France) ปี 2553-2557 ภายใต้แผนปฏิบัติการร่วมไทย-ฝรั่งเศส ฉบับที่ 2 เพื่อเป็นกรอบความร่วมมือและส่งเสริมผลประโยชน์ด้านการค้าและการลงทุน ระหว่างสองประเทศทั้งในกรอบทวิภาคี ภูมิภาค และพหุภาคี รวมทั้งเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความเห็นเพื่อแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุนระหว่างกัน ซึ่งกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้รับผิดชอบ

>> ด้านการทหารและความมั่นคง : ไทยและฝรั่งเศสมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดผ่านกิจกรรมและโครงการที่สำคัญ เช่น ความร่วมมือด้านการฝึกปฎิบัติการร่วมทางเรือ การแลกเปลี่ยนการเยือนของนายทหารในระดับผู้นำเหล่าทัพและผู้บังคับบัญชาระดับสูง และการลงนามข้อตกลงด้านการป้องกันประเทศระหว่างรัฐบาลไทย กับรัฐบาลฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2556 ซึ่งครอบคลุมความร่วมมือด้านการวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ การวิจัยและการพัฒนา การทหาร การส่งกำลังบำรุง และความร่วมมือด้านยุทโธปกรณ์

จากอดีต มาสู่ปัจจุบัน ซึ่งหากลองพิจารณาถึงการยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างไทยและฝรั่งเศส (2022 - 2024) ที่ลงนามไว้เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา ภายใต้ 5 เสาหลัก ได้แก่ ด้านการเมืองและความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจ ด้านประชาชน และประเด็นประดับโลกนั้น จะมีความน่าสนใจใดให้ติดตามต่อบ้าง...

>> ด้านการเมืองและความมั่นคง : ทั้ง 2 ฝ่ายพร้อมจัดตั้งกลไกการเจรจา 2+2 (กระทรวงการต่างประเทศ + กระทรวงกลาโหม) การสนับสนุนความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ รวมถึงการจัดทำความตกลงการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางราชการระหว่างไทยกับฝรั่งเศสโดยเร็ว เพื่อสนับสนุนการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูง สำหรับด้านความมั่นคง นายกรัฐมนตรียินดีกับความร่วมมือทางการทหารที่ใกล้ชิด บนพื้นฐานของความเชื่อมั่นและไว้วางใจ ตลอดจนยินดีที่ฝรั่งเศสให้ความสำคัญกับภูมิภาคอินโด -แปซิฟิกรวมถึงไทย โดยนายกรัฐมนตรีพร้อมเร่งรัดการจัดตั้งกลไกการหารือ 2+2 dialogue ไทย - ฝรั่งเศส เพื่อหารือในประเด็นท้าทายด้านความมั่นคง ด้านประธานาธิบดีฝรั่งเศสเห็นว่า ไทยกับฝรั่งเศสมีศักยภาพที่จะเพิ่มพูนความร่วมมือด้านความมั่นคง โดยเฉพาะการส่งเสริมความเชื่อใจและความใกล้ชิดระหว่างทหารของทั้งสองฝ่าย การสร้างฐานอุตสาหกรรมในประเทศไทยการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการวิจัยทางทะเล เป็นต้น

>> ด้านเศรษฐกิจ : ทั้ง 2 ฝ่ายยินดีกับความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง โดยเห็นพ้องกันว่า ทั้ง 2 ฝ่ายยังมีศักยภาพที่จะขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกันได้อีกมาก ซึ่งรัฐบาลไทยได้ปรับนโยบายที่เน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ผ่านโมเดลเศรษฐกิจ BCG ซึ่งสอดคล้องกับแผนปฏิรูปสีเขียวของ EU จึงเป็นโอกาสดีที่ทั้งสองฝ่ายจะสนับสนุนการส่งออกสินค้าสิ่งแวดล้อมและการลงทุนในธุรกิจสีเขียว ไทยร่วมกับสมาชิกเขตเศรษฐกิจเอเปกลดอัตราภาษีนำเข้าทั่วไปสำหรับรายการสินค้าสิ่งแวดล้อมจำนวน 54 รายการ นายกรัฐมนตรีจึงเชิญชวนให้ฝรั่งเศสใช้ประโยชน์จากนโยบายดังกล่าว ด้านประธานาธิบดีฝรั่งเศสพร้อมมีความร่วมมือกับไทยในด้านการผลิตและพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และเกษตรกรรม ตลอดจนพร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนา EEC

>> ด้านประชาชน : ทั้ง 2 ฝ่ายย้ำความสำคัญของการเดินทางที่ปลอดภัยโดยส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งในภูมิภาค การเพิ่มพูนการฝึกอบรมวิชาชีพและการศึกษาให้บุคลากรไทยเพื่อรองรับการขยายตัวทางธุรกิจของฝรั่งเศส และยินดีที่ปีหน้ากำหนดให้เป็นปีแห่งนวัตกรรมไทย - ฝรั่งเศส ค.ศ. 2023 (พ.ศ. 2566)

>> ด้านการศึกษาและวิชาการ : ไทยกับฝรั่งเศสมีความร่วมมือในด้านการศึกษามาอย่างยาวนาน โดยประธานาธิบดีฝรั่งเศสพร้อมสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนนักศึกษา นักวิชาการ และนักวิจัยระหว่างกันมากขึ้น ซึ่งในปีหน้าคาดว่าทั้งสองฝ่ายจะสามารถลงนามในความตกลงด้านการศึกษาระหว่างกันได้ ซึ่งจะทำให้ความร่วมมือของทั้งสองประเทศมีความใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น

>> สำหรับประเด็นเร่งด่วนระดับโลก : เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การสร้างความหลากหลายทางชีวภาพ การรับมือกับโรคระบาดรวมถึงย้ำความเป็นหุ้นส่วนที่จะร่วมมือกับประชาคมโลกในการแสวงหาทางออกที่สันติผ่านการหารือต่อความขัดแย้งในภูมิภาคต่างๆ รวมถึงสถานการณ์ในยูเครนและในเมียนมา เพื่อลดผลกระทบที่มีต่อความมั่นคงด้านอาหารและพลังงานของโลกรวมถึงการเร่งบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยังยืนของสหประชาชาติภายในปี ค.ศ. 2030 (พ.ศ. 2573)

'อั้ม เนโกะ' ลากไส้ผู้ลี้ภัยฟ้อง 'มาครง' ไทยปราบม็อบเอเปค ชี้!! สุดย้อนแย้งเหตุผู้นำฝรั่งเศส ก็เคยปราบม็อบเสื้อกั๊กเหลือง

'อั้ม' ประกาศไม่ร่วมม็อบที่ฝรั่งเศส ลากไส้คนกันเองบอกเป็นตลกร้าย สุดย้อนแย้ง เพราะ 'มาครง' ก็เคยปราบม็อบเสื้อกั๊กเหลือง ทำไมตอนนั้นเงียบแต่พอตอนนี้มาตีโพยตีพาย

(24 พ.ย. 65) นายศรัณย์ ฉุยฉาย หรืออั้ม เนโกะ ผู้ต้องหาคดีความมั่นคง ซึ่งลี้ภัยอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศส โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า...

อั้มจะไม่ไปร่วมประท้วงวันศุกร์ที่จะถึงกับกลุ่มคนที่จะไปยื่นหนังสือต่อมาครงเพื่อเปิดเผยการปราบปรามการชุมนุมเอเปกในไทย

นี่คือ 1 ในการไปยื่นหนังสือที่ absurde ตลกร้าย และย้อนแย้งสุดๆ ตรงที่ว่าจะไปยื่นหนังสือเกี่ยวกับการปราบปรามผู้ชุมนุมอย่างรุนแรงในไทย กับผู้นำคนที่ปราบปรามผู้ชุมนุมอย่างรุนแรงในฝรั่งเศส

ตอนเสื้อกั้กเหลืองโดน ตร. มาครงปราบจนตาบอด มือขาด โดนจับ พวกนี้อยู่ไหนกันไม่ทราบ? อ้าปากด่ามาครงกันซักแอะมั้ย ? 

'ฝรั่งเศส-ซาอุฯ' ไม่เลือกข้าง หลัง 'ซูแน็ก' กร้าว!! มอง ‘จีน’ เป็นภัยคุกคาม | NEWS GEN TIMES EP.77

'ฝรั่งเศส-ซาอุฯ' ไม่เลือกข้าง หลัง 'ซูแน็ก' กร้าว!! มอง ‘จีน’ เป็นภัยคุกคาม แม้การแก้ปัญหาบนเวทีโลกยังต้องพึ่งจีน

.

NEWS GEN TIMES ชวนคิด กับ กิตติธัช

.

โดย อ.ต้อม - กิตติธัช ชัยประสิทธิ์ นักวิชาการอิสระและอาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง .

ตัดเชือก 4 ทีมสุดท้ายฟุตบอลโลก 2022 ฝรั่งเศสจะย้ำชัย หรือแชมป์หน้าใหม่จะบังเกิด

4 ทีมสุดท้ายในเวิลด์คัพ คุณคิดว่าใครจะเป็นแชมป์?

ในศึกฟุตบอลโลก 2022 ที่กาตาร์ เราก็ได้เห็น 4 ทีมสุดท้ายที่แข็งแกร่งที่สุดในรอบรองชนะเลิศ 

ทีมแรกที่เข้ามาในรอบนี้เป็นทีมแรกคือ เหล่าขุนพลทัพฟ้าขาว อาร์เจนตินา นำทัพโดย ลิโอเนล เมสซี่ ที่ลงสนามร่ายมนต์พาอาร์เจนเข้ารอบรองโดยหักด่านรอบ 16 ทีมด้วยการล้มออสเตรเลีย 3-1 และชนะการดวลจุดโทษ เนเธอร์แลนด์ 4-3 หลังใน 120 นาที เสมอกัน 2-2 

ในเกมรอบ 8 ทีม ที่พบกับอัศวินสีส้ม เนเธอร์แลนด์ ดูเหมือนจะเป็นงานง่ายๆ เพราะออกนำ 2-0 โดยได้ประตูช่วงครึ่งแรกจาก มานูเอล โมลิน่า นาทีที่ 35 และจุดโทษของ เมสซี่ นาทีที่ 73 เกมทำท่าว่าจะจบด้วยชัยชนะของทัพฟ้าขาว แต่เข้าสู่ช่วง 10 นาทีสุดท้ายของเกม เนเธอร์แลนด์ได้ประตูตีไข่แตกไล่มาเป็น 1-2 จาก วูท เว็กซ์ฮอสร์ท ช่วงทดเวลา 10 นาที นาทีที่ 90+10 ใครจะคิดว่า เนเธอร์แลนด์จะตีเสมอ 2-2 นาทีสุดท้ายของสุดท้าย กล้องจับภาพไปที่กองเชียร์ทั้ง 2 ฝั่ง คนละอารมณ์เลย กองเชียร์ทัพฟ้าขาวถึงกับ ‘ช็อตฟีล’ 

ในจังหวะนี้ ถ้าเนเธอร์แลนด์ทำไม่ได้คือจบเกมไปเลย แต่นี้ต้องอยู่ด้วยกันต่อไปลุ้นที่การดวลจุดโทษ ผลปรากฏว่า อาร์เจนตินายิงแม่นกว่าเนเธอร์แลนด์ เบียดเอาชนะไป 4-3 ในการดวลจุโทษ หลังเสมอ 2-2 ใน 120 นาที และส่งให้ขุนพลทัพฟ้าขาวลุ้นแชมป์โลกสมัยที่ 3 เส้นทางที่ เมสชี่ จะพาอาร์เจนตินาไปเป็นแชมป์โลกยังคงเปิดกว้างและในรอบรองต้องชนกับ ทัพตราหมากรุก โครเอเชีย ซึ่งไม่ง่ายเลยและเป็นถึงรองแชมป์เก่าเมื่อ 4 ปีที่แล้ว

ทีมที่ 2 ที่เข้ามาถึงรอบรองชนะเลิศได้ด้วยการล้มเต็ง 1 อย่างบราซิลของรายการนี้ ในรอบ 16 ทีม คือโครเอเชีย แต่ก็เกือบเอาตัวไม่รอด เพราะต้องเล่นญี่ปุ่น จนถึงดวลจุดโทษ แอบเสียดายญี่ปุ่นอยู่นิดๆ มาทัวร์นาเมนต์นี้ดีจริง ๆ ล้มอดีตแชมป์โลกได้ 2 ทีม (เยอรมันและสเปน) เข้ามาเป็นที่ 1 ของสายชนโครแอต ในรอบ 16 ทีม ความเก๋าเกม บวกกับมีลูก้า โมดริช ที่คอยคุมจังหวะเทมโป้ของเกมทำให้ทัพโครเอเชียคว้าชัยเบียดญี่ปุ่นเข้ารอบ 8 ทีม ไปชนกับเต็ง 1 อย่างบราซิลของรายการนี้ ที่นำทัพมาโดยสุดยอดกองหน้าทั้งนั้น นำโดย เนย์มาร์ จูเนียร์ ราฟิณญ่า ริชาร์ลิซอน แอนโตนี่ มาติเนลลี่ และ เฆซุส แล้วก็เป็น ลูก้า โมดริช คนดีคนเดิมของคนโครแอตที่หักด่านบราซิลในการดวลจุดโทษ แต่คนที่พาโครเอเชียเข้ารอบมาจริงๆ เป็นพระเอกของงานนี้ทั้ง 2 รอบ โดมินิค ลิวาโควิช ผู้รักษาประตูทีมชาติโครเอเชีย ต้องบอกว่านี้โกล์หรือกาว เหนียวเกินพ่อเอ้ยยย เชฟจุดโทษทั้งรอบ 16 และ รอบ 8 ทีมแบบโคตรเทพ พาทัพตราหมากรุกเข้ารอบรองชนะเลิศเป็นครั้งที่ 2 ติดต่อกัน โดยจะชนกับ อาร์เจนตินา ในวันที่ 13 ธ.ค. นี้ เป็นการรีแมตซ์เมื่อ 4 ปีก่อนที่โครเอเชียอัดทัพฟ้าขาว 3-1 ในฟุตบอลโลก 2018 ในรอบแบ่งกลุ่มรอบแรก 

Dream Match!!  อาร์เจนตินา VS ฝรั่งเศส ‘เมสซี่ หรือ เอ็มปั้บเป้’ ตัดสินนัดชิงดำ เดิมพันแชมป์โลกหน 3

การเดิมพันครั้งที่ใหญ่ที่สุดของ ลิโอเนล เมสซี่ การเดินทาบตำนานของ คีเลี่ยน เอ็มปั้บเป้ ตำนานบทใหม่ อาร์เจนตินา หรือ ฝรั่งเศส ถ้วยแชมป์โลกจะเป็นของใคร ทั้งหมดมันเกิดขึ้นได้แค่ฝั่งเดียวเท่านั้น นัดสุดท้ายที่คนทั้งโลกกำลังรอคอย นี้คือโมเมนต์ที่จะเป็นตำนานเล่าขานต่อจากนี้ นัดชิงชนะเลิศฟุตบอลโลก 2022 ที่กาตาร์

เส้นทางของ อาร์เจนตินา เริ่มด้วยความไม่น่าประทับใจ เมสซี่ ที่ยังคงความพีค ที่ชื่อนี้ใครได้ยินก็รู้ถึงความอันตรายรอบด้าน เส้นทางการเริ่มต้นแบบช็อคโลก ไม่มีใครคาดคิดกับการแพ้ซาอุดิอาระเบีย แต่กลายเป็นการรวมใจครั้งใหญ่ของฝั่งอาร์เจน หลังจากนั้นพวกเค้าชนะรวดแบบไม่เกรงใจใครสปิริตในทีมมันพุ่งทะยาน 

เกมส์เจอกับเม็กซิโก เมสซี่ แต่งบอลหน้ากรอบเขตโทษ ซัดด้วยซ้ายปลดปล่อยทุกอย่างออกมาลูกนี้โคตรสำคัญและปิดท้ายด้วยลูกจ่ายของเค้าให้ เอ็นโซ่ เฟอร์นานเดส ตอกฝาโลงเม็กซิโก คว้า 3 แต้มนัดแรกในรอบแบ่งกลุ่ม ต่อด้วยดับโปแลนด์พาทีมทะยานเข้ารอบ 16 ทีม สุดท้ายชนออสเตรเลีย  เมสซี่ ที่ยิ่งเล่นราวกับว่าร่ายมนต์จนผู้เล่นฝั่งตรงข้ามเอาไม่อยู่แหวกผู้เล่น 3 คนพาบอลซุกก้นตาข่ายและประตูดับออสซี่จาก ฮูเลี่ยน อัลวาเรซ  สุดท้ายจบ 2-1 เข้าไปชนกับยอดทีมอย่างเนเธอร์แลนด์

ภาพความฝันมันค่อยๆชัดขึ้น รอบ 8 ทีมสุดท้ายแต่มันไม่ใช่งานง่ายๆกับทีมที่ยังไม่แพ้ใครอย่าง เนเธอร์แลนด์ แต่เมสซี่ก็ร่ายมนต์อีกครั้งลูกจ่ายคิลเลอร์พาสผ่านกองกลาง กองหลังบังหน้าเต็มไปหมด และลูกจ่ายลูกนี้กลายเป็นคำว่ามหัศจรรย์แล้วโมลิน่ามาจบงาน การกดจุดโทษพาทีมทะยานหนีเป็น 2-0 แม้สุดท้ายแล้วต้องไปดวลจุดโทษแต่เทพีแห่งโชคยังยืนอยู่ข้างขุนพลฟ้าขาวและเมสซี่พวกเค้าเข้ารอบรองชนะเลิศไปชนกับโครเอเชีย 

รอบรองชนะเลิศมันเป็นเกมส์ที่สุดสะเด่าของทัพฟ้าขาว จังหวะจุดโทษขึ้นนำ 1-0 ของเมสซี่ที่โคตรคม ต่อด้วยจ่ายให้ อัลวาเลซ ลากครึ่งสนามให้อาร์เจนหนีห่าง 2-0 และลูกสุดท้ายจ่ายถวายพานทองหลอกกองหลังอย่าง ยอสโก้ กวาดิโอล ที่เดบิวต์ในทัวร์นาเม้นต์ฟุตบอลโลกหนนี้อย่างหมดรูปและเป็น ฮูเลี่ยน อัลวาเรซ ปิดงานอาร์เจนถล่มโครเอเชีย 3-0 ทั้ง 3 ประตูของฟ้าขาวมันมีที่มาจาก เมสซี่คนเดียว เมสซีโครตร้อนแรงแบกอาร์เจนเป็นทุกอย่างของทัพฟ้าขาวในนาที่นี้พาอาร์เจนตินาเช้าชิง และต้องเจอผู้ท้าชิงคือ ฝรั่งเศส กุญแจสำคัญคือนักเตะอาร์เจนตินาที่พร้อมลงสู้ศึกด้วยหัวใจนักเตะทุกคนที่พร้อมจะทำเพื่อเมสซี่เพราะทุกคนรู้ถึงสถานะนี้คือฟุตบอลโลกครั้งสุดท้ายของ  ตำนาน และที่ต้องยกขึ้นหิ้งไปเลย เมสซี่ โคตรคุณภาพในทัวร์นาเม้นต์นี้เค้าถือครองสถิติทุกอย่างในทัวร์นาเม้นต์ ดาวซัลโว แอสซิสต์ แมนออฟเดอะแมตซ์มากที่สุด ถ้าพูดถึงตอนนี้ เมสซี่ ดีที่สุดในโลกแบบไม่ใครสงสัยเลยนี้คือคนสำคัญหัวใจของฝั่งอาร์เจนตินาในนัดชิง


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top