Wednesday, 15 May 2024
กระทรวงแรงงาน

‘กระทรวงแรงงาน’ ร่วมรับมอบโล่ รางวัลคุณธรรมต้นแบบโดดเด่น ส่งเสริมการขับเคลื่อนสังคมไทยเป็นสังคมคุณธรรม!!

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 10.00 น. นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้ นางสาวบุปผา เรืองสุด รองปลัดกระทรวงแรงงาน ร่วมพิธีรับมอบโล่รางวัลคุณธรรมต้นแบบโดดเด่น และรางวัลผู้ชนะการประกวด Infographic “Moral Awards” หัวข้อ “คนไทยวินัยไม่มีหมด” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 

เพื่อจะเป็นการสร้างขวัญกำลังใจ และเสริมแรงจูงใจ ในการส่งเสริมการขับเคลื่อนงานด้านคุณธรรม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายในการสร้าง “สังคมไทยเป็นสังคมคุณธรรม ที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” โดยมีนายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธี ณ ห้อง G 5 ชั้น 1 อาคารหอศิลป์แห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า คณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ได้เห็นความสำคัญในการส่งเสริมคุณธรรมในทุกภาคส่วน จึงมีนโยบายส่งเสริมการขับเคลื่อนคุณธรรมในระดับชุมชน องค์กร อำเภอ และจังหวัดโดยกำหนดตัวชี้วัดและเกณฑ์การประเมินที่มีมาตรฐานกลางในการประเมินความสำเร็จ 3 ระดับ คือ ระดับส่งเสริมคุณธรรม ระดับคุณธรรม และระดับคุณธรรมต้นแบบ เพื่อบ่งบอกถึงกระบวนการในการพัฒนาคุณธรรมที่ได้มาตรฐานและในปีงบประมาณพุทธศักราช 2564 

โดยได้มีการคัดเลือกในระดับคุณธรรมต้นแบบที่มีผลสัมฤทธิ์การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในเชิงประจักษ์ จำนวน 235 แห่ง ประกอบด้วย…

1. ชุมชนคุณธรรมต้นแบบโดดเด่น จำนวน 76 ชุมชน 

2. องค์กรคุณธรรมต้นแบบโดดเด่น จำนวน 84 องค์กร 

3. อำเภอคุณธรรมต้นแบบโดดเด่น จำนวน 70 อำเภอ และ 

4. จังหวัดคุณธรรมต้นแบบโดดเด่น จำนวน 5 จังหวัด

'รองปลัดกระทรวงแรงงาน' สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำกระทรวงแรงงาน ในโอกาสเข้ารับตำแหน่ง

นายวรรณรัตน์ ศรีสุขใส รองปลัดกระทรวงแรงงาน สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำกระทรวงแรงงาน ประกอบด้วย พระพุทธสุทธิธรรมบพิตร พระพุทธชินราช ศาลพ่อปู่ชัยมงคล ศาลท้าวมหาพรหมเทวฤทธิ์ และศาลพ่อปู่สุชินพรหมมา เนื่องในโอกาสเข้ารับตำแหน่งรองปลัดกระทรวงแรงงาน โดยมีผู้บริหารระดับสูง ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงานร่วมให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น 

'รองปลัดฯแรงงาน' สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำกระทรวงแรงงานในโอกาสเข้ารับตำแหน่ง

วันที่ 4 มีนาคม 2565 เวลา 07.49 น. นางบุปผา พันธุ์เพ็ง รองปลัดกระทรวงแรงงาน สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำกระทรวงแรงงาน ประกอบด้วย พระพุทธสุทธิธรรมบพิตร พระพุทธชินราช ศาลพ่อปู่ชัยมงคล ศาลท้าวมหาพรหมเทวฤทธิ์ และศาลพ่อปู่สุชินพรหมมา เนื่องในโอกาสเข้ารับตำแหน่งรองปลัดกระทรวงแรงงาน โดยมีผู้บริหารระดับสูง ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงานร่วมให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น

'รมว. แรงงาน' แนะนายจ้างที่จ้างแรงงานต่างด้าว ตามมติ 28 ก.ย. 64 ชำระค่าธรรมเนียมภายในวันที่ 15 มี.ค. 65

วันที่ 10 มีนาคม 2564 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า มีความห่วงใยนายจ้าง/สถานประกอบการที่ใช้แรงงานต่างด้าว ตามมติ 28 ก.ย. 64 หลังตรวจสอบพบนายจ้างยังไม่มาดำเนินการชำระค่าธรรมเนียมค่ายื่นคำขอ และค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงาน จำนวน 19,489 ราย ครม.จึงมีมติเมื่อวันที่ 15 ก.พ. 65 เห็นชอบตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ เพื่อแก้ไขข้อขัดข้องให้นายจ้างสามารถดำเนินการได้ทันตามกำหนด ซึ่งหากยังไม่ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 15 มี.ค. 65 จะส่งผลให้แรงงานต่างด้าวกลุ่มดังกล่าว ไม่สามารถดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปได้ และกลายเป็นแรงงานผิดกฎหมาย โดยนายจ้าง/สถานประกอบการ ต้องชำระค่าธรรมเนียมค่ายื่นคำขอฉบับละ 100 บาท และค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงานฉบับละ 1,350 บาท ไม่เกินวันที่ 15 มีนาคม 2565 ณ สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 -10 หรือสำนักงานจัดหางานจังหวัด อันเป็นที่ตั้งของสถานที่ทำงานของคนต่างด้าว

“การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวโดยคำนึงถึงการรักษากำลังแรงงาน ซึ่งเป็นภาคส่วนสำคัญของนายจ้าง สถานประกอบการ และเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบเศรษฐกิจเพื่อประโยชน์ในการฟื้นฟูประเทศ ช่วยให้ระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศขับเคลื่อนได้ต่อไป ทั้งในสถานการณ์ที่เป็นอยู่และภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 คลี่คลาย เป็นสิ่งที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงาน เน้นย้ำมาโดยตลอด ซึ่งผมในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ขอฝากถึงนายจ้างให้ดำเนินการตามขั้นตอนภายในระยะเวลาที่กำหนด เห็นความสำคัญของการจ้างแรงงานถูกกฎหมาย คนต่างด้าวได้รับความคุ้มครองและมีสิทธิประโยชน์ สวัสดิการ การคุ้มครองตามสิทธิที่พึงได้รับ”รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าว

'ผู้ช่วยฯ รมว.แรงงาน' เปิดอบรมเสริมสร้างการรับรู้ให้กับนายจ้าง สถานประกอบการ แรงงานต่างด้าวและองค์กรภาคีเครือข่าย จังหวัดชลบุรี

วันที่ 11 มีนาคม 2565 เวลา 09.00 น.นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน เปิดการอบรม “เสริมสร้างการรับรู้ให้กับนายจ้าง สถานประกอบการ แรงงานต่างด้าวและองค์กรภาคีเครือข่าย จังหวัดชลบุรี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565” เพื่อให้นายจ้าง สถานประกอบการแรงงานต่างด้าว และองค์กรภาคีเครือข่าย ประชาชนทั่วไป ตลอดจนผู้ที่สนใจ ได้รับทราบข้อมูลขั้นตอน และแนวทางการดำเนินงาน ตามนโยบายของรัฐบาล

โดยเน้นแนวทางการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว การนำคนต่างด้าวเข้าทำงานภายใต้บันทึกความเข้าใจ ว่าด้วยความร่วมมือด้านการจ้างงานระหว่างประเทศ (MOU) ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตลอดจนโทษที่จะได้รับจากการฝ่าฝืนกฎหมาย รวมทั้งการปฏิบัติต่อแรงงานต่างด้าว ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้องโดยได้รับเกียรติจากในภาคส่วนต่างๆ ณ โรงแรมโนโวเทล มารีนา ศรีราชา แอนด์ เกาะสีชัง

ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ตามนโยบายของรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ที่ดูแลในเรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์โดยตรง เพื่อยกระดับเทียร์ให้สูงขึ้น ทำให้ประเทศได้รับความไว้วางใจจากทั่วโลก จากการที่เศรษฐกิจในภาคอุตสาหกรรม และภาคการเกษตรของประเทศ ได้มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว และส่งผลกระทบต่อปัญหาด้านแรงงานภายในประเทศที่มีอยู่อย่างจำกัด ดังนั้นภาครัฐ ภาคเอกชนหรือภาคธุรกิจ จะต้องให้ความสำคัญกับการบริหารแรงงานต่างด้าวเป็นอย่างยิ่ง 

ชื่นมื่น! 'เอกชนไทย - ซาอุฯ' เจรจากรอบความร่วมมือระบบอิเล็กทรอนิกส์ จัดหาแรงงานอย่างมีประสิทธิภาพ 

เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2565 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้ นายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน เป็นประธานการประชุมรับฟังการนำเสนอระบบอิเล็กทรอนิกส์ในการจ้างงานและการออกวีซ่าของซาอุดีอาระเบีย และประชุมหารือระหว่างสำนักงาน/บริษัทจัดหางานไทยและซาอุดีอาระเบีย ณ ห้องประชุมเทียนอัชกุล ชั้น 10 กรมการจัดหางาน โดยมี นายสมาสภ์ ปัทมะสุคนธ์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงแรงงาน เข้าร่วมด้วย

นายไพโรจน์ กล่าวว่า ตนได้รับมอบหมายจากท่านสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน ให้เป็นประธานการประชุมรับฟังการนำเสนอระบบอิเล็กทรอนิกส์ของซาอุดีอาระเบีย และประชุมหารือระหว่างสำนักงาน/บริษัทจัดหางานไทยและซาอุดีอาระเบีย เพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น และร่วมหารือเกี่ยวกับกระบวนการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานในชาอุดีอาระเบียให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ กระทรวงแรงงาน โดยกรมการจัดหางาน ตระหนักถึงความสำคัญในการขับเคลื่อนและผลักดันให้แรงงานไทยไปทำงานยังต่างประเทศอย่างมีศักดิ์ศรี ได้รับการคุ้มครองตามหลักสากลและมีคุณภาพชีวิตที่ดี 

โดยได้ดำเนินการเตรียมความพร้อมคนหางานก่อนเดินทางไปทำงานต่างประเทศโดยการให้ความรู้ การประชาสัมพันธ์ รวมทั้งการพัฒนาทักษะฝีมือให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานในต่างประเทศ โดยมีเป้าหมายให้คนงานไทยที่เดินทางไปทำงานยังต่างประเทศได้ยกระดับเป็น Smart Labour ตลอดจนส่งเสริมให้คนงานได้รับการคุ้มครองการทำงานระหว่างที่ทำงานในต่างประเทศตามหลักสากลได้รับค่าตอบแทนในการทำงานที่ดีและมีคุณภาพชีวิตที่ดี เพื่อให้มีรายได้กลับเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศให้เติบโตอย่างมีเสถียรภาพ 

นายไพโรจน์ กล่าวต่อว่า แรงงานไทยเป็นที่ต้องการของนายจ้างเนื่องจากเป็นแรงงานที่มีทักษะฝีมือ มีศักยภาพและมีความพร้อมที่จะไปทำงานไปทำงานต่างประเทศในสาขาอาชีพต่าง ๆ ได้แก่ สาขาช่างฝีมือในภาคก่อสร้างขนาดใหญ่ งานช่าง งานบริการ และการท่องเที่ยว เพื่อรองรับการขยายตลาดแรงงานในต่างประเทศ ซึ่งถือเป็นโอกาสของแรงงานไทยที่ต้องการเดินทางไปทำงานซาอุดีอาระเบีย

'รมว.เฮ้ง'​ มอบ 'ผู้ช่วยฯ'​ ต้อนรับ 'ทูตแคนนาดา'​ หารือมาตรการรองรับการจ้างงานจากผลกระทบโควิด-19

(22 มี.ค.65)​ นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้ นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน ให้การต้อนรับ H.E. Dr. Sarah Taylor เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งแคนาดาประจำประเทศไทยและคณะ ในโอกาสที่เยี่ยมคาราวะรวมถึงหารือผลกระทบของโควิด–19 ต่อการจ้างงาน รวมถึงแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย โดยเฉพาะแรงงานเมียนมา แผนพัฒนาทักษะให้แก่แรงงานไทยรวมถึงแรงงานตรีภายใต้ยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 และข้อมูลแรงงานไทยในแคนาดา และแรงงานแคนาดาที่ทำงานอยู่ในประเทศไทย โดยมีพลอากาศตรี เฟื่องศักดิ์ เรืองกล ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน ดร.ทองอยู่ คงขันธ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน นางบุปผา พันธุ์เพ็ง รองปลัดกระทรวงแรงงาน และผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงแรงงาน ร่วมให้การต้อนรับ ณ ห้องจัตุมงคล ขั้น 6 อาคารกระทรวงแรงงาน

นายสุรชัย กล่าวว่า กระทรวงแรงงานยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศไทยและแคนาดา มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมาอย่างยาวนาน 60 ปี 

ทั้งนี้ รัฐบาลไทยและกระทรวงแรงงานพร้อมร่วมมือและสนับสนุนการทำงานของท่านเอกอัครราชทูตอย่างเต็มที่ เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ในด้านแรงงานระหว่างประเทศไทยและแคนาดาให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของทั้งสองประเทศ และร่วมมือกันในการฝ่าฟันกับภาวะวิกฤต โควิด–19 ไปด้วยกัน 

ที่ผ่านมา โควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อการจ้างงานในประเทศไทย จึงเป็นอีกความท้าทายที่ทางกระทรวงแรงงานต้องดูแล เนื่องจากมีการแพร่ระบาดในกลุ่มแรงงานต่างด้าวจำนวนมาก รัฐบาลจึงมีมาตรการตรวจสอบคัดกรองหาเชื้อโควิด–19 ในกลุ่มแรงงานดังกล่าวที่ทำงานอยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค รวมถึงดำเนินการปรับเปลี่ยนระเบียบ นโยบาย มาตรการต่างๆ ให้สอดรับกับสถานการณ์อย่างต่อเนื่องตามมติคณะรัฐมนตรี เพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนแรงงานต่างด้าว และช่วยเหลือให้แรงงานข้ามชาติโดยเฉพาะกลุ่มแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว เมียนมา) ที่ทำงานในประเทศ แต่ไม่สามารถดำเนินการได้ให้อยู่ในราชอาณาจักรเพื่อทำงานได้ต่อไป หรือการผ่อนผันให้ แรงงานข้ามชาติที่มีสถานะไม่ถูกต้องตามกฎหมายให้สามารถอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว เพื่อการทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายต่อไป พร้อมกับควบคุมป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาด

โครงการขับเคลื่อนการพัฒนาบุคลากรด้านงานบริการ และพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการบริการจัดหางาน และพัฒนาทักษะการให้บริการด้านขนส่งสาธารณะ

กระทรวงแรงงานร่วมกับ บริษัท ไทย สมายล์บัส จำกัด บริษัท อี สมาร์ท ทรานสปอร์ต จำกัด มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์  KICK OFF โครงการขับเคลื่อนการพัฒนาบุคลากรด้านงานบริการ และพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการบริการจัดหางาน และพัฒนาทักษะการให้บริการด้านขนส่งสาธารณะ

วันที่ 23 มีนาคม 2565  ณ กระทรวงแรงงาน ดินแดง นางสาวกุลพรภัสร์ วงศ์มาจารภิญญา ประธานกรรมการบริษัท ไทย สมายล์ บัส จำกัด นาวาโท ปริญญา รักวาทิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อี สมาร์ท ทรานสปอร์ต จำกัด  และนายชัยรัตน์ แสงจันทร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทย สมายล์ บัส จำกัด  เข้าร่วมพิธี KICK OFF เปิดโครงการขับเคลื่อนการพัฒนาบุคลากรด้านงานบริการ  และพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการบริการจัดหางาน และพัฒนาทักษะการให้บริการด้านขนส่งสาธารณะ โดยมี นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน คณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ของกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย ดร.ดาริกา ลัทธพิพัฒน์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เข้าร่วมงาน 

'รมว. สุชาติ' นำทีมไทยแลนด์ลุยไซต์งานซาอุฯ เตรียมส่งออกแรงงาน

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วยนายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นางเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ โฆษกกระทรวงแรงงาน (ฝ่ายการเมือง) จ่าเอกยศสิงห์ เหลี่ยมเลิศ คณะที่ปรึกษารัฐมนตรี นายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน ได้เดินทางถึงประเทศซาอุอิอาราเบีย โดยมีนายอับดุลมายิด อัลราชูดีย์ รัฐมนตรีช่วยดูแลกิจการแรงงาน กระทรวงพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนาสังคม  พร้อมด้วยนายสธน เกษมสันต์ ณ อยุธยา อุปทูต ณ กรุงริยาด ให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น ณ กรุงริยาด ประเทศ โดยนายสุชาติกล่าวว่า ในวันนี้ผมได้นำคณะผู้บริหารของกระทรวงแรงงานมายังกรุงริยาด ประเทศซาอุดิอาราเบีย เพื่อเตรียมเข้าร่วมพิธีลงนามความตกลงด้านแรงงานในวันที่ 28 มีนาคน 2565 เวลา 12.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น

จากนั้น นายสุชาติ และคณะ ยังได้ตรวจเยี่ยมและพบปะให้กำลังใจเจ้าหน้าที่สำนักงานแรงงานไทย ณ กรุงริยาด รวมทั้งหารือข้อราชการกับนายสธน เกษมสันต์ ณ อยุธยา อุปทูต ณ กรุงริยาด โดยกล่าวว่า ขอขอบคุณท่านอุปทูต ที่ให้การดูแลอัครราชทูตที่ปรึกษาและเจ้าหน้าที่ของฝ่ายแรงงาน และให้คำแนะนำ สนับสนุน การปฏิบัติงาน ของฝ่ายแรงงานฯ ซึ่งเป็นหน่วยงานของกระทรวงแรงงาน ที่ประจำการที่กรุงริยาดรวมถึงช่วยเหลือดูแลแรงงานไทยในซาอุดีอาระเบีย ให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่เหมาะสม ได้รับการคุ้มครองสิทธิตามกฎหมาย นอกจากนี้ ขอขอบคุณกระทรวงการต่างประเทศที่ช่วยผลักดันสนับสนุนให้การลงนามความตกลงด้านแรงงานในครั้งนี้ประสบความสำเร็จโดยเร็ว มุ่งหวังให้การจ้างแรงงานไทยเป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศด้านแรงงานของทั้งสองประเทศ ทั้งนี้ ขอความร่วมมือทางการซาอุดีอาระเบียช่วยตรวจตราในการต่อต้านการค้ามนุษย์ ปกป้องคุ้มครองสิทธิของนายจ้างและแรงงาน รวมถึงการบังคับใช้กฎระเบียบ สัญญาจ้างงานระหว่างกันที่เป็นธรรม แรงงานได้รับค่าจ้าง สวัสดิการ และสิทธิประโยชน์ตามกฎหมาย

สำหรับสถานการณ์ด้านแรงงาน ปัจจุบันมีแรงงานไทยที่ไปทำงานอยู่ในซาอุดีอาระเบีย จำนวน 1,334 คน แรงงานไทยที่เดินทางไปทำงานส่วนใหญ่เป็นการแจ้งการเดินทางด้วยตนเอง นายจ้างพาไปทำงาน และ Re - entry ซึ่งตำแหน่งงานที่แรงงานไทยเดินทางไปทำงาน เช่น ช่างเชื่อม ช่างเทคนิค ช่างเครื่องยนต์ ผู้ปฏิบัติงานในโรงงาน ผู้ควบคุมเครื่องจักร คนงานผลิตผลิตภัณฑ์ทั่วไป คนงานควบคุมเครื่องจักร ผู้ช่วยกุ๊ก แม่บ้าน เป็นต้น

นายสุชาติ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในวันเดียวกันนี้ผมยังได้พบปะหารือกับตัวแทนบริษัทรับเหมาก่อสร้าง เพื่อตรวจเยี่ยมสภาพการจ้างงานในสถานประกอบการไซด์งานก่อสร้างของซาอุดีอาระเบีย ณ ไซด์งานก่อสร้างบริษัท AL BAWANI -CP02 โดยได้พบปะพูดคุยกับผู้ประกอบการธุรกิจก่อสร้างในประเด็นความต้องการแรงงานในกิจการก่อสร้างของซาอุดีอาระเบีย สภาพเศรษฐกิจโดยรวม แนวโน้มการเติบโตของธุรกิจก่อสร้างในอนาคต ตลอดจนแผนการลงทุนในโครงการก่อสร้างอื่น ๆ ที่วางแผนไว้ ตลอดจนมาตรการดูแลคุณภาพชีวิตและสวัสดิการของแรงงานต่างชาติที่เข้ามาทำงานในซาอุดีอาระเบียนั้น จะมี E-Contract Program ซึ่งเป็นการทำสัญญาจ้างอิเล็กทรอนิกส์ มุ่งรักษาสิทธิของลูกจ้าง และลดความขัดแย้งระหว่างลูกจ้างและนายจ้าง

ก.แรงงาน จัดทำแผนปฏิบัติราชการด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) เน้นการพัฒนา ปรับปรุงระบบการบริหาร พัฒนาทรัพยากรบุคคล พร้อมก้าวไปสู่การเป็นกระทรวงด้านเศรษฐกิจ

นางบุปผา พันธุ์เพ็ง รองปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานเปิดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติราชการด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) ของกระทรวงแรงงาน ณ ห้องประชุมจอมพล ป. พิบูลสงคราม ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน โดยกล่าวว่า ในฐานะรองปลัดกระทรวงแรงงาน ที่รับผิดชอบงานในหน้าที่ของกองบริหารทรัพยากรบุคคล ต้องการเห็นแผนปฏิบัติราชการด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) ของกระทรวงแรงงาน ที่มุ่งเน้นการพัฒนา การปรับปรุงระบบการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้สอดคล้องกับภารกิจของกระทรวงแรงงาน ในปัจจุบันที่อยู่ในยุคกำลังจะก้าวข้ามผ่านการเป็นกระทรวงด้านสังคม เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาให้คนของเราเป็นทั้งคนดีและคนเก่ง ตลอดจนมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศชาติ และช่วยเหลือประชาชน เป็นกลไกหลักในการพัฒนากระทรวงแรงงานให้ก้าวไปสู่การเป็นกระทรวงด้านเศรษฐกิจต่อไป

ปัจจุบันสังคมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ตลอดจนสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ทำให้รูปแบบการทำงาน และดำรงชีวิตประจำวันเปลี่ยนแปลงไป ก่อให้เกิดวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) เกิดการเว้นระยะห่างทางสังคม การทำกิจกรรม การซื้อขายและใช้บริการทางออนไลน์ เพิ่มขึ้น เป็นสังคมยุคดิจิทัลที่ไร้พรมแดน ดังนั้น การพัฒนาทรัพยากรบุคคลของกระทรวงแรงงานจึงจำเป็นต้องมีการปรับตัวให้ทันกับกระแสการเปลี่ยนแปลง และมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ในระดับต่างๆ โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน ว่ากระทรวงแรงงานเป็นที่พึ่งผู้ใช้แรงงานได้อย่างแท้จริง โดยการทำงานต้องมีการบูรณาการและการสร้างเครือข่าย รวมทั้งยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาล ตลอดจนปฏิบัติงานได้อย่างมืออาชีพที่มุ่งผลสัมฤทธิ์


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top