Thursday, 16 May 2024
กระทรวงแรงงาน

‘กระทรวงแรงงาน’ ประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนปฏิบัติการ ด้านการบริหารจัดการแรงงานนอกระบบ พ.ศ. 2566 – 2570

วันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 เวลา 08.45 น. นางสาวบุปผา เรืองสุด รองปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านการบริหารจัดการแรงงานนอกระบบ พ.ศ. 2566 – 2570 ณ ห้องประชุมจอมพล ป. พิบูลสงคราม ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน โดยการประชุมดังกล่าวจัดขึ้น เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางขับเคลื่อนการดําเนินงานส่งเสริม คุ้มครอง และพัฒนาแรงงานนอกระบบ ซึ่งมีสาระสำคัญกำหนดทิศทาง การดำเนินงานไว้ 3 ยุทธศาสตร์ ได้แก่

ยุทธศาสตร์ที่ 1 : เสริมสร้างหลักประกันทางสังคมและขยายความคุ้มครองให้ทั่วถึง

ยุทธศาสตร์ที่ 2 : เสริมสร้างสมรรถนะแรงงานนอกระบบเพื่อการทำงาน

ยุทธศาสตร์ที่ 3 : เพิ่มสมรรถนะการบริหารจัดการแรงงานนอกระบบ

 

ญาติแรงงาน ไต้หวัน ขอบคุณนายก ที่สั่งการ ก.แรงงาน ดูแลสิทธิประโยชน์เป็นอย่างดี

วันที่ 21 พฤศจิกายน 2564 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงความคืบหน้าการให้ความช่วยเหลือแรงงานไทยที่เสียชีวิตและบาดเจ็บบริเวณไซต์งานก่อสร้างในนครนิวไทเป ที่ไต้หวันว่า ท่านนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้แสดงความเสียใจและห่วงใยแรงงานไทยกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เนื่องจากแรงงานไทยที่ไปทำงานในต่างประเทศถือเป็นวีรบุรุษและตัวแทนของประเทศไทยที่มีความเสียสละออกไปทำงานในต่างแดนเพื่อนำเงินมาเลี้ยงครอบครัวและนำรายได้เข้าประเทศ จึงได้สั่งการให้กระทรวงแรงงานดูแลช่วยเหลือในเรื่องสิทธิประโยชน์ทุกอย่างแก่ทายาทแรงงานไทยที่เสียชีวิตและผู้ที่ได้รับบาดเจ็บให้เร็วที่สุด โดยสิทธิประโยชน์เบื้องต้นของนายจักริน พวงเกต แรงงานไทยที่เสียชีวิต มีดังนี้




1) เงินค่าทำศพ 5 เดือนของค่าจ้างที่แจ้งเอาประกัน ประมาณ 120,000 เหรียญไต้หวัน หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 141,393 บาท

2) เงินทดแทนกรณีเสียชีวิต ซึ่งจากการตรวจสอบเบื้องต้นนายจักรินเดินทางมาทำงานที่ไต้หวันเมื่อปี 2549 จึงมีสิทธิ์รับเงินจำนวน 40 เท่าของค่าจ้างที่เอาประกัน เป็นเงินประมาณ 960,000 เหรียญไต้หวัน (ประมาณ 1,132,800 บาท)

3) เงินเยียวยาจากกองแรงงาน นครนิวไทเป 100,000 เหรียญไต้หวัน คิดเป็นเงินไทยประมาณ 117,830 บาท

4) เงินค่าจ้างเดือนสุดท้ายของการทำงาน เป็นเงิน 30,000 เหรียญไต้หวัน ประมาณ 35,400 บาท

5) เงินชดเชยเยียวยาจากนายจ้าง ซึ่ง สนร. ไทเป จะเจรจาเรียกร้องเงินเยียวยาจากนายจ้างเพื่อชดเชยให้ทายาทได้รับความเป็นธรรมอย่างเต็มที่

6) เงินสงเคราะห์จากกองทุนช่วยเหลือคนหางานไปทำงานในต่างประเทศ กรณีเสียชีวิต จำนวน 40,000 บาท ขณะนี้รวมยอดเงินที่ได้รับสำหรับแรงงานไทยที่เสียชีวิต 1,467,423 บาท

‘รมว.สุชาติ’ รับมอบสุขาเคลื่อนที่จากบริษัทพลังงานบริสุทธิ์ และมูลนิธิหัวใจบริสุทธิ์ นำไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน รับมอบสุขาเคลื่อนที่จำนวน 100 ชุด จาก นายสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) และ นางสุรีย์ วศินพิตรพิบูล ที่ปรึกษามูลนิธิหัวใจบริสุทธิ์ ณ บริเวณโถงชั้น 1 อาคารกระทรวงแรงงาน โดยมี นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน / นางธิวัลรัตน์ อังกินันทน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน / นางเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ โฆษกกระทรวงแรงงาน (ฝ่ายการเมือง) / นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน เข้าร่วมในครั้งนี้ด้วย

โดยนายสุชาติ กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งกระทรวงแรงงานภายใต้การกำกับดูแลของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้มีความห่วงใยผู้ประสบอุทกภัย จึงสั่งการให้ทุกหน่วยงานลงพื้นที่ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยตามภารกิจ ซึ่งในส่วนของกระทรวงแรงงานได้ลงพื้นที่มอบถุงยังชีพ สุขาลอยน้ำ และภายหลังจากน้ำลด สำนักงานจัดหางานจังหวัดให้บริการจัดหางานและส่งเสริมการประกอบอาชีพ สำนักงานแรงงานจังหวัดจะจัดโครงการจ้างงานเร่งด่วนและพัฒนาทักษะฝีมือ

โดยสนับสนุนค่าตอบแทน รวมถึงวัสดุอุปกรณ์ฝึกอาชีพ เพื่อให้ประชาชนมีรายได้อย่างต่อเนื่อง สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดจะให้คำปรึกษาด้านสิทธิตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน นอกจากนี้ สำนักงานประกันสังคมจังหวัดดูแลสิทธิประโยชน์ให้แก่ผู้ประสบภัย เรื่องสิทธิประกันสังคม จัดทีมแพทย์และพยาบาลร่วมกับโรงพยาบาลในเครือข่ายให้บริการตรวจรักษาเบื้องต้นในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ เป็นต้น

 

 ก.แรงงงาน มอบ 176 รางวัล การันตีสถานประกอบกิจการ จ.ปทุมธานี ที่มีระบบบริหารจัดการด้านแรงงานที่ดี

นางสาวบุปผา เรืองสุด รองปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในพิธีมอบรางวัล “Pathum Thani Labour Excellence Award 2021” ให้แก่สถานประกอบกิจการที่มีระบบบริหารจัดการด้านแรงงานที่มีระบบการบริหารจัดการด้านแรงงานที่ดี ประจำปี พ.ศ. 2564 โดยมีนายนิยม สองแก้ว อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และนายเอกวิทย์ มีเพียร รองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี เข้าร่วมพิธี ณ ห้องแกรนด์บอลรูม ทินิดี โฮเท็ล บางกอก กอล์ฟ คลับ จังหวัดปทุมธานี

นางสาวบุปผา กล่าวว่า กระทรวงแรงงาน มีนโยบายสำคัญในการผลักดันและสร้างความเข็มแข็งให้เกิดขึ้นในวงการแรงงานอย่างเป็นรูปธรรม ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและหลักธรรมาภิบาล โดยได้ดำเนินการพัฒนาสถานประกอบกิจการและศักยภาพของผู้ใช้แรงงาน ให้มีความสามารถในการวิเคราะห์ สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ สามารถบูรณาการการทำงานร่วมกับผู้อื่น มีความสมานฉันท์ปรองดอง ตลอดจนมุ่งพัฒนาสถานประกอบกิจการให้มีความแข็งแกร่ง และรองรับการเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจในภูมิภาค แม้จะเกิดการระบาดของโควิด-19 กระทรวงแรงงานก็พร้อมที่จะขับเคลื่อนดูแลสถานประกอบกิจการและผู้ใช้แรงงานให้ผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปด้วยกัน

รองปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวเพิ่มเติมว่า ขอชื่นชมและแสดงความยินดีกับสถานประกอบกิจการทุกแห่งที่ได้รับรางวัลในวันนี้ เพราะสถานประกอบกิจการแต่ละแห่งเป็นกลไกสำคัญของภาคการผลิตที่ส่งเสริมให้มีการจ้างงาน สร้างรายได้ให้แก่ประชาชน หากสถานประกอบกิจการมีระบบการบริหารจัดการที่ดีและได้มาตรฐานตามหลักสากล ย่อมส่งผลให้ผู้ใช้แรงงานมีศักยภาพสูงและมีคุณภาพชีวิตที่ดี สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่จะนำประเทศไทยไปสู่ความมั่นคง มั่งคัง ยั่งยืนต่อไป

‘ผช.รมว.แรงงาน’ มอบนโยบายอาสาสมัครแรงงานจังหวัดชลบุรี 280 คน ร่วมกันพัฒนาประเทศก้าวข้ามวิกฤตไปด้วยกัน!!

วันที่ 9 ธันวาคม 2564 เวลา 09.30 น. นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้ นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน เป็นประธานมอบนโยบายแก่อาสาสมัครแรงงานจังหวัดชลบุรี ณ ห้องประชุมชลบุรี ศาลากลางจังหวัดชลบุรี โดยกล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19) ประเทศไทยได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงเมื่อต้นปี 2564 ที่เกิดการแพร่ระบาดกระจายเป็นวงกว้าง ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดำเนินธุรกิจของสถานประกอบกิจการหลายแห่งในพื้นที่จังหวัดชลบุรี ที่ต้องถูกรัฐสั่งปิดการให้บริการ รวมไปถึงสถานประกอบกิจการรายเล็กที่แบกรับภาระค่าใช้จ่ายไม่ไหวทำให้ต้องปิดกิจการลงในที่สุด ก่อให้เกิดปัญหาการว่างงานเป็นจำนวนมาก

ซึ่งจากฐานข้อมูลของจังหวัดชลบุรี พบว่า มีสถานประกอบกิจการปิดกิจการชั่วคราว จำนวน 562 แห่ง ลูกจ้างได้รับผลกระทบ จำนวน 159,644 คน สูงสุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ กิจการประเภทการผลิต 140 แห่ง การขายส่งขายปลีก 165 แห่ง ที่พักและบริการด้านอาหาร 62 แห่ง ในส่วนของการให้ความช่วยเหลือและเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ กระทรวงแรงงานโดยสำนักงานประกันสังคมจังหวัดชลบุรี ได้ดำเนินการจ่ายสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย จำนวน 1.33 แสนราย คิดเป็นเงิน 1,527 ล้านบาท และได้มีการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันเชื้อโรคโควิด 19 ให้กับผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม มาตรา 33 จำนวน 171,153 ราย

สำหรับในปีงบประมาณ 2565 กระทรวงแรงงาน โดยท่านรัฐมนตรีสุชาติ ชมกลิ่น ได้แถลงนโยบายเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2564 ประกอบด้วย นโยบายเร่งด่วนที่ต้องเร่งดำเนินการ ได้แก่ 1.ยกระดับกระทรวงแรงงานเป็นกระทรวงเศรษฐกิจ 2.กระตุ้นการจ้างงานตามความต้องการในระบบเศรษฐกิจใหม่ทั้งในประเทศและต่างประเทศ 3.บริหารจัดการแรงงานต่างด้าวอย่างเป็นระบบ 4.เร่งรัด ปรับปรุง แก้ไขพระราชบัญญัติประกันสังคมให้สอดคล้องกับบริบทสถานการณ์ปัจจุบันและรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต และ 5.ดูแลให้แรงงานและนายจ้างสามารถทำงาน ในสถานการณ์ที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 ได้อย่างปลอดภัยและเป็นปกติสุข และนโยบายสำคัญที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ได้แก่

1.พัฒนาทักษะแรงงานให้เป็นแรงงานคุณภาพ เตรียมความพร้อมสำหรับการเปิดประเทศและรองรับเศรษฐกิจใหม่

2.บริหารจัดการแรงงานในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ และในอุตสาหกรรมเป้าหมาย

3.ต่อยอดการประกอบอาชีพ ยกระดับรายได้ และเศรษฐกิจชุมชน รวมทั้งในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

4.ยกระดับการป้องกันแก้ไขปัญหาหารค้ามนุษย์ด้านแรงงานเพื่อปลดล็อก Tier 2 Watch List

5.พัฒนา ปรับปรุง และส่งเสริมการคุ้มครองแรงงาน ระบบสวัสดิการ และหลักประกันทางสังคม และยกระดับมาตรฐานความปลอดภัย อาชีวอนามัย ในการทำงานให้สอดคล้องกับสภาวะสังคม เศรษฐกิจ และรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไป

6.บริหารจัดการแรงงานนอกระบบ แรงงานกลุ่มเปราะบาง แรงงานสูงอายุและคนพิการให้ได้รับสิทธิและคุ้มครองด้านแรงงาน สวัสดิการและหลักประกันทางสังคมอย่างเท่าเทียม มีรายได้ที่เหมาะสมและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ลดความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ของประเทศ นำไปสู่การฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน และ

7.พัฒนาระบบฐานข้อมูลด้านแรงงานกระทรวงแรงงาน (Big Data) และบูรณาการข้อมูลภาครัฐเพื่อการบริหาร วางยุทธศาสตร์ด้านแรงงานและหลักประกันทางสังคมอย่างเป็นระบบ

อาสาสมัครแรงงาน คือ ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบาย และมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของกระทรวงแรงงาน ได้แก่

1.กระตุ้น ส่งเสริม รักษาการจ้างงาน และการขยายตลาดแรงงานในต่างประเทศ ได้แก่ การประกอบอาชีพอิสระ การรับงานไปทำที่บ้านให้แก่ผู้ว่างงานและผู้จบการศึกษาใหม่

2.ส่งเสริมการจ้างงานแรงงานคนไทยและบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวอย่างเป็นระบบ

3.ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เชิงรุกในกลุ่มแรงงาน และสถานประกอบการโดยใช้มาตรการด้านสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด เช่น การดำเนินโครงการ Factory Sandbox

4.ยกระดับการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน Up-skill Re-skill New skill โดยการอบรมให้กับแรงงานกลุ่มว่างงานให้มีความรู้เพียงพอต่อการทำงานเป็นการเพิ่มผลิตภาพแรงงานเพื่อกลับเข้าสู่ตลาดแรงงาน โดยการส่งเสริมการเรียนรู้วิธีการทำงานใหม่ ๆ ผ่านช่องทางออฟไลน์และออนไลน์

5.พัฒนาทักษะอาชีพให้กับเยาวชน คนรุ่นใหม่ที่นิยมทำงานรูปแบบแรงงานอิสระไม่ขึ้นกับองค์กรใดองค์กรหนึ่ง

6.ส่งเสริมอาชีพอิสระที่ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นหลักในการประกอบอาชีพ ตอบรับภาคการผลิตสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรมและชุมชนที่ยั่งยืน

7.บูรณาการทำงาน สร้างความรู้ความเข้าใจแก่แรงงาน ผู้ประกอบการและภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนในการร่วมกันป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ทุกมิติ และ

8.ยกระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานให้ดีขึ้น และส่งเสริมให้มีการพัฒนาแรงงานที่ยั่งยืนโดยคนหางานทุกคนมีโอกาสในการทำงานตามความสามารถของตน มีรายได้ที่เหมาะสม ได้รับการพัฒนาฝีมือที่ได้มาตรฐาน ได้รับความคุ้มครองตามสิทธิพื้นฐาน มีสวัสดิการเพิ่มขึ้น มีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดีและมีหลักประกันทางสังคมที่สอดคล้องกับความจำเป็นพื้นฐานในการดำรงชีพ

 

'สุชาติ' เผย เตรียมชงของขวัญปีใหม่เข้าครม. สัปดาห์หน้า พร้อมเตือน! คนไทย ตรวจสอบข้อมูลกับกรมการจัดหางาน ก่อนตัดสินใจเดินทางทำงานต่างประเทศ 

ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงของขวัญปีใหม่ว่า ขณะนี้กำลังให้กรมต่างๆ ไปพิจารณาและหาข้อสรุปว่าจะได้อะไรบ้าง ยกตัวอย่างเช่น สำนักงานประกันสังคม อาจจะออกมาตราการลดเงินสมทบของผู้ประกันตนตามมาตรา 44  กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อาจจะให้เปิดฝึกอาชีพทุกอย่างฟรีหมด กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานอาจจะออกมาตรการให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ คาดว่าจะนำเข้าสู่การพิจารณาในครม.ในสัปดาห์หน้า วันที่ 21 ธันวาคม สำหรับมาตรการการเยียวยาคนกลางคืนขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณากลั่นกรองในกระทรวงการคลัง 

นอกจากนี้ นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เผย มีความห่วงใย แรงงานชาวไทยที่ต้องการเดินทางไปทำงานต่างประเทศ และเลือกเดินทางด้วยวิธีผิดกฎหมาย มีโอกาสถูกหลอกให้เสียทรัพย์ ถูกลอยแพในต่างประเทศ หรือถูกหลอกลวงจากโฆษณาจัดหางานเกินจริง จากกรณีล่าสุด จึงได้สั่งการให้ด่านตรวจคนหางานของกรมการจัดหางานเฝ้าระวังและตรวจสอบอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่อง โดยกรมการจัดหางานได้ตรวจสอบข้อมูลสถิติคนงานไทยเดินทางไปทำงานต่างประเทศผ่านด่านตรวจคนหางานสุวรรณภูมิ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (ระหว่างเดือนตุลาคม 63 – เดือนกันยายน 64) พบเจ้าหน้าที่ได้ระงับการเดินทางของผู้ที่มีพฤติการณ์จะลักลอบไปทำงานในต่างประเทศและให้การยอมรับว่าจะไปทำงานต่างประเทศได้ รวม 707 คน และปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (ระหว่างเดือนตุลาคม 64 – เดือนพฤศจิกายน 64) จำนวน 130 คน โดยระงับการเดินทางไปประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มากที่สุด รองลงมาเป็นบาห์เรน โอมาน แอฟริกาใต้ และมัลดีฟส์ตามลำดับ 

“พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงาน ห่วงใยพี่น้องแรงงานไทยที่ถูกหลอกโดยสาย นายหน้าเถื่อน กำชับให้กระทรวงแรงงานตรวจสอบ ติดตามผู้มีพฤติการณ์หลอกลวงคนหางาน เพื่อป้องกันมิให้มีเหยื่อจากกรณีดังกล่าวเพิ่มขึ้น ซึ่งคนหางานที่ต้องการเดินทางไปทำงานต่างประเทศสามารถตรวจสอบข้อมูลกับกรมการจัดหางานก่อนว่ามีงานจริงหรือไม่ โดยขอรับคำปรึกษาจากเจ้าหน้าที่ได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 และตรวจสอบรายชื่อบริษัทจัดหางานที่ได้รับอนุญาตที่เว็บไซต์ www.doe.go.th/ipd  ซึ่งปัจจุบันมีบริษัทฯ ที่ได้รับอนุญาต จำนวน 124 บริษัท ตั้งอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 85 บริษัท และอยู่ในจังหวัดอื่นๆ ทั่วประเทศ 39 บริษัท ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าว 

นอกจากนี้ นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เผย มีความห่วงใย แรงงานชาวไทยที่ต้องการเดินทางไปทำงานต่างประเทศ และเลือกเดินทางด้วยวิธีผิดกฎหมาย มีโอกาสถูกหลอกให้เสียทรัพย์ ถูกลอยแพในต่างประเทศ หรือถูกหลอกลวงจากโฆษณาจัดหางานเกินจริง จากกรณีล่าสุด จึงได้สั่งการให้ด่านตรวจคนหางานของกรมการจัดหางานเฝ้าระวังและตรวจสอบอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่อง โดยกรมการจัดหางานได้ตรวจสอบข้อมูลสถิติคนงานไทยเดินทางไปทำงานต่างประเทศผ่านด่านตรวจคนหางานสุวรรณภูมิ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (ระหว่างเดือนตุลาคม 63 – เดือนกันยายน 64) พบเจ้าหน้าที่ได้ระงับการเดินทางของผู้ที่มีพฤติการณ์จะลักลอบไปทำงานในต่างประเทศและให้การยอมรับว่าจะไปทำงานต่างประเทศได้ รวม 707 คน และปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (ระหว่างเดือนตุลาคม 64 – เดือนพฤศจิกายน 64) จำนวน 130 คน โดยระงับการเดินทางไปประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มากที่สุด รองลงมาเป็นบาห์เรน โอมาน แอฟริกาใต้ และมัลดีฟส์ตามลำดับ 

“พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงาน ห่วงใยพี่น้องแรงงานไทยที่ถูกหลอกโดยสาย นายหน้าเถื่อน กำชับให้กระทรวงแรงงานตรวจสอบ ติดตามผู้มีพฤติการณ์หลอกลวงคนหางาน เพื่อป้องกันมิให้มีเหยื่อจากกรณีดังกล่าวเพิ่มขึ้น ซึ่งคนหางานที่ต้องการเดินทางไปทำงานต่างประเทศสามารถตรวจสอบข้อมูลกับกรมการจัดหางานก่อนว่ามีงานจริงหรือไม่ โดยขอรับคำปรึกษาจากเจ้าหน้าที่ได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 และตรวจสอบรายชื่อบริษัทจัดหางานที่ได้รับอนุญาตที่เว็บไซต์ www.doe.go.th/ipd  ซึ่งปัจจุบันมีบริษัทฯ ที่ได้รับอนุญาต จำนวน 124 บริษัท ตั้งอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 85 บริษัท และอยู่ในจังหวัดอื่นๆ ทั่วประเทศ 39 บริษัท ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าว 

‘รมว.สุขาติ’ กำชับ! ‘สปส.’ เร่งประชุมหารือผู้แทนสมาคมดนตรีและสมาพันธ์เครือข่ายคนบันเทิง เตรียมเยียวยากลุ่มผู้ประกันตน - ผู้ประกอบอาชีพอิสระ และคนทำงานกลางคืน

​​ตามที่รัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้มีความห่วงใยความปลอดภัยด้านสุขภาพของพี่น้องแรงงาน พร้อมให้การดูแลผู้ประกันตน ที่ได้รับผลกระทบจากการสั่งปิดสถานที่และสถานประกอบการกิจการเป็นการชั่วคราว เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ให้ได้รับการเยียวยาทุกกลุ่มอาชีพ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระ และคนทำงาน ในกิจการสถานบันเทิง ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ

ด้าน นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้กำชับให้ สำนักงานประกันสังคม ดูแลและเร่งดำเนินการให้ความช่วยเหลือเยียวยา และบรรเทาความเดือดร้อนอย่างเร่งด่วน โดยในวันนี้ (16 ธันวาคม 2564) นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ได้ประชุมหารือกับผู้แทนสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์หรือสมาพันธ์เครือข่ายคนบันเทิง นำโดย คุณสุดา ชื่นบาน อุปนายกสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย / คุณฝอยทอง เชิญยิ้ม สมาคมศิลปินตลกแห่งประเทศไทย / คุณนัฐชา นาโค เลขาชมรมศิลปินตลกและบันเทิง ผู้บริหารสำนักงานประกันสังคม เข้าร่วม ณ ห้องประชุมสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ชั้น 4 อาคารอเนกประสงค์ สำนักงานประกันสังคม

​​นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน กล่าวถึงการหารือร่วมกับผู้แทนสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์หรือสมาพันธ์เครือข่ายคนบันเทิงว่า “การประชุมหารือในวันนี้เกิดขึ้นจากความตั้งใจของรัฐบาล โดยกระทรวงแรงงาน นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ที่เล็งเห็นความถึงความเดือดร้อนของพี่น้องผู้ที่ทำงานในกิจการสถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ และผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ทำงานเกี่ยวกับสถานบันเทิง ซึ่งต้องปฏิบัติตามข้อบังคับจากมาตรการของรัฐในช่วงของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานประกันสังคม ได้จัดทำโครงการเยียวยาผู้ประกันตน ในกิจการสถานบันเทิง และผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสถานบันเทิงที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ โดยกำหนดให้ผู้ประกันตนในกิจการดังกล่าว ได้รับเงินเยียวยาในอัตรา 5,000 บาทต่อคน”

ด้าน นางสาวลัดดา แซ่ลี้ โฆษกสำนักงานประกันสังคม เปิดเผยถึงผู้ที่ได้รับสิทธิเยียวยาว่า จะต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ทำงานในกิจการสถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ ส่วนผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และมาตรา 40 ต้องได้รับการรับรองจากสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือสมาพันธ์เครือข่ายคนบันเทิงที่จดทะเบียนกับกระทรวงมหาดไทยหรือกรมพัฒนาธุรกิจการค้าให้การรับรองภายในวันที่ 14 มกราคม 2565 สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้สมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ให้รีบสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 พร้อมรีบชำระเงินสมทบให้ทันภายในวันที่ 14 มกราคม 2565 และให้ทางสมาคมฯ ดังกล่าวข้างต้น รับรองภายในวันที่ 28 มกราคม 2565 หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่เพจกลุ่มสมาคมศิลปินกลางแจ้ง อย่างไรก็ตามสำนักงานประกันสังคม ขอย้ำคนที่จะได้รับเงินเยียวยาจะต้องได้รับการรับรองจากสมาคมฯ เท่านั้น ทั้งนี้ สำนักงานประกันสังคมจะดำเนินการโอนเงินผ่านบัญชีพร้อมเพย์ (PromptPay) ที่ผูกบัญชีกับเลขบัตรประชาชน เริ่มจ่ายเงินเยียวยางวดแรกในวันที่ 29 ธันวาคม 2564

‘ก.แรงงาน’ เปิดประชุมเชิงปฏิบัติการว่าด้วย “การบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติ” ภายหลังโควิด-19 ฟื้นเศรษฐกิจไทย!!

ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน เปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการว่าด้วยการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติ ภายหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 เตรียมพร้อมกำลังแรงงานข้ามชาติต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย

วันที่ 21 ธันวาคม 2564 เวลา 09.30 น นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน กล่าวเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการว่าด้วยการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติภายหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 เพื่อเตรียมความพร้อมของกำลังแรงงานข้ามชาติต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ภายหลังสถานการณ์แพร่ระบาดคลี่คลายลงหรือกลับสู่สภาวะปกติ ณ โรงแรมโนโวเทล มารีน่า ศรีราชา จังหวัดชลบุรี

นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง กล่าวว่ารัฐบาลโดยการนำของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงาน ที่ต้องการชะลอ และหยุดยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายสุชาติ ชมกลิ่น จึงได้เน้นย้ำและให้ความสำคัญในการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติอย่างเป็นระบบ ครอบคลุมทุกมิติของการโยกย้ายถิ่นฐานของแรงงาน ตามหลักสิทธิมนุษยชน โดยให้มีสิทธิ เสรีภาพ เสมอภาค และเป็นธรรม ตามหลักการเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เพื่อให้แรงงานข้ามชาติที่ทำงานในประเทศไทยได้รับการดูแลคุ้มครองเท่าเทียมกับแรงงานชาวไทย และสอดคล้องกับแนวปฏิบัติของสากล

ก.แรงงาน เดินหน้าพัฒนาอาชีพภาคการท่องเที่ยว เปิดประตูสู่การสร้างรายได้ที่ยั่งยืน

ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน เปิดโครงการ Re-skill และ Up Skill เร่งสร้างทักษะแรงงานในการประกอบอาชีพกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน มุ่งเป้าให้แรงงานมีอาชีพเสริม เพิ่มรายได้อย่างยั่งยืน

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานมอบหมายให้นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน เป็นประธานเปิดฝีกอบรมโครงการ Re-skill และ Up Skill เพื่อสร้างทักษะแรงงานในการประกอบอาชีพ การพัฒนาศักยภาพด้านทักษะฝีมือแรงงานสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ซาติ 20 ปี ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ก้าวสู่การพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันพร้อมเข้าสู่ตลาดแรงงานได้อย่างมีคุณภาพ โดยมี ดร.จำลอง ช่วยรอด ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และคณะผู้บริหารระดับสูงสังกัดกระทรวงแรงงาน เข้าร่วมฯ ณ บริเวณห้องโถง ชั้น 10 อาคารกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน

นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง กล่าวว่า รัฐบาลภายใต้การบริหารประเทศของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ที่กำกับดูแลกระทรวงแรงงานได้ให้ความสำคัญให้กำลังแรงงานได้รับการพัฒนาศักยภาพด้านทักษะฝีมือแรงงานสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ซาติ 20 ปี ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ก้าวสู่การพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันพร้อมเข้าสู่ตลาดแรงงานได้อย่างมีคุณภาพประกอบกับประเทศไทยและทั่วโลกต้องเผชิญกับสถนการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้แรงงานได้รับผลกระทบอย่างหนัก รัฐบาลจึงมีนโยบายเร่งเยียวยาช่วยเหลือโดยให้ความสำคัญกับการปรับระดับฝีมือ (Re-Skill) รองรับการทำงานที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น และยกระดับต่อยอดความรู้ ความชำนาญ (Up-Skil) ให้แก่กลุ่มแรงงานฝีมือที่ได้รับผลจากเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยเฉพาะภาคบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ มีอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานจึงมอบหมายให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงานดำเนินโครงการดังกล่าว

รมว.แรงงาน จัดใหญ่ UpSkill แรงงานแข่งขันทักษะหุ่นยนต์หนุนศักยภาพ EEC

ก.แรงงาน เปิดห้องฝึกอบรมโชว์เทคโนโลยี พร้อมจัดประชันทักษะฝีมือด้านหุ่นยนต์-สมองกล เพิ่มขีดความสามารถแข่งขันของประเทศและ EEC

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานพิธีรับมอบห้องฝึกอบรม CiRA CORE และพิธีเปิดการแข่งขันทักษะฝีมือแรงงานสาขาระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ ครั้งที่ 2 “MARA Skill Competition 2021” ณ สถาบันพัฒนาบุคลากรสาขาเทคโนโลยีการผลิตอัตโนมัติและหุ่นยนต์ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 3 ชลบุรี โดยเปิดเผยหลังจากเป็นประธานเปิดงานดังกล่าวว่า รัฐบาลภายใต้การนำของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และกระทรวงแรงงานภายใต้การกำกับดูแลของพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี  มีนโยบายดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการผลิต และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ตอบโจทย์การเติบโตของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรือ EEC ทั้งนี้สถานประกอบกิจการในเขต EEC หลายแห่งเริ่มใช้ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ในการผลิตมากขึ้น กระทรวงแรงงานโดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงานจึงใช้แนวทางประชารัฐร่วมกับภาคเอกชนและสถาบันการศึกษา พัฒนาทักษะแรงงานทั้ง Upskill และ Reskill โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานใหม่และนักศึกอาชีวะให้เป็นแรงงานคุณภาพรองรับเทคโนโลยีอุตสาหกรรมแห่งอนาคต

นายประทีป  ทรงลำยอง  อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กล่าวว่า การแข่งขันดังกล่าวจัดขึ้นภายใต้นโยบายดังกล่าว จัดโดยหน่วยงานสังกัดกพร. สถาบันพัฒนาบุคลากรสาขาเทคโนโลยีการผลิตอัตโนมัติและหุ่นยนต์ (MARA) ระหว่างวันที่ 23-24 ธันวาคม 2564 แข่งขัน 6 สาขา แบ่งเป็น 3 สาขาแข่งขันแบบทีมๆ ละ 2 คน ได้แก่ สาขาเมคคาทรอนิกส์ สาขาพีแอลซี สาขาซ่อมบำรุงหุ่นยนต์ และแบบบุคคล 3 สาขา ได้แก่ สาขาหุ่นยนต์ สาขาเขียนแบบเครื่องกลด้วยคอมพิวเตอร์ (CAD) สาขาปัญญาประดิษฐ์ ซีลาร์ คอร์ (CiRA CORE) ผู้เข้าแข่งขันเป็นนักศึกษาอยู่ในวิทยาลัยอาชีวศึกษาเขต EEC อาทิ วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก อี.เทค วิทยาลัยเทคนิคชลบุรี วิทยาลัยเทคนิคระยอง วิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา วิทยาลัยเทคโนโลยีไออาร์พีซี เป็นต้น  ซึ่งผู้เข้าแข่งขันที่ชนะเลิศของแต่ละสาขาจะได้รับรางวัล ดังนี้  อันดับที่ 1 จะได้รับเงินรางวัล 5,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน อันดับที่ 2 รับเงินรางวัล 3,000 บาท อันดับ 3 รับเงินรางวัล 2,000 บาท

การแข่งขันทักษะฝีมือแรงงานในครั้งนี้เป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเตรียมความพร้อมของแรงงานใหม่และส่งเสริมให้นักศึกษาอาชีวะสามารถนำความรู้ความสามารถมาประยุกต์เข้ากับเทคโนโลยีที่ทันสมัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และตอบสนองความต้องการกำลังแรงงานในพื้นที่ได้อย่างแท้จริง และไฮไลต์อีกงาน คือการรับมอบห้องฝึกอบรม CiRA CORE ซึ่งเป็นตามนโยบายของรัฐบาลตามแนวทางประชารัฐที่เสริมความเข้มแข็งให้กับศักยภาพของ EEC ได้อย่างชัดเจน โดยห้องนี้ได้รับการสนับนุนจากบริษัท TKK Corporation CO.,LTD. และ CiRA Automation and Technology CO.,LTD. มอบอุปกรณ์การฝึกอบรม เช่น หุ่นยนต์ Nachi และมือจับ ชุดลำเลียงอัตโนมัติ ตู้ไฟฟ้าชุดคอนโทรล สามารถจัดฝึกอบรมหลักสูตรปัญญาประดิษฐ์เพื่องานหุ่นยนต์อุตสาหกรรม การประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อการผลิต (AI) การโค้ดดิ้งร่วมกับไมโครคอนโทรลเลอร์สำหรับการพัฒนาหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ เป็นต้น ทั้งสองกิจกรรมในครั้งนี้เกิดขึ้นโดยความร่วมมือทั้งจากสถาบันการศึกษาและภาคเอกชน ทำให้เกิดการพัฒนาทักษะของกำลังแรงงานได้ทันเวลา เติมเต็มในส่วนที่เป็นข้อจำกัดของภาครัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมให้มีการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศและ EEC ด้วยแรงงานคุณภาพสอดคล้องกับเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top