Thursday, 16 May 2024
กระทรวงแรงงาน

รมว.พิพัฒน์ สั่งขยายผล! ล้างรถด่วนเชียงราย เตรียมร่วมกับปั้มจ้างงานเพิ่มทั่วประเทศ พร้อมห่วงใยแรงงานเอาท์ดอร์ กำชับเครือข่ายแรงงานพบชาวบ้าน รณรงค์หยุดเผาป่าป้องกันมลพิษฝุ่นควัน จ.เชียงราย

เมื่อวานนี้ (17 มี.ค.67) นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ลงพื้นที่เยี่ยมพบปะให้กำลังใจแรงงานที่ได้รับการฝึกอาชีพตามโครงการคืนคนดีสู่สังคม ศูนย์ฝึกอาชีพ สร้างงานสร้างรายได้ และให้บริการล้างทำความสะอาดรถยนต์แก่ประชาชนที่มารับบริการ ณ
ศูนย์ฝึกอาชีพ สร้างงานสร้างรายได้ เมตตา...พระไพศาลประชาทร วิ. วัดห้วยปลากั้ง อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย โดยมี นายสมชาย มรกตศรีวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน นายสมาสภ์ ปัทมะสุคนธ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน เข้าร่วม ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน20 เชียงราย กับวัดห้วยปลากั้ง ที่ได้ฝึกอาชีพให้แก่ผู้ต้องขังที่พ้นโทษ ได้นำความรู้จากการฝึก มาต่อยอดในการประกอบอาชีพ มีงานทำ มีรายได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 

นายพิพัฒน์ กล่าวว่า ในวันนี้ผมพร้อมด้วยผู้บริหารกระทรวงแรงงานลงพื้นที่เชียงรายมาเยี่ยมพบปะกับแรงงานที่ได้รับการฝึกอาชีพตามโครงการคืนคนดีสู่สังคม ที่ศูนย์ฝึกอาชีพ สร้างงานสร้างรายได้ เมตตา...พระไพศาลประชาทร วิ. ซึ่งที่นี่ให้บริการล้างทำความสะอาดรถยนต์แก่ประชาชนที่มารับบริการคันละ 50 บาท ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงแรงงานกับวัดห้วยปลากั้ง ที่จะเปิดโอกาสให้แรงงานชั้นดีที่พ้นโทษได้มีงานทำ มีอาชีพ มีรายได้ สามารถประกอบอาชีพหลังจากออกมาสู่สังคม โดยการล้างรถ ฝุ่น โคลน

ซึ่งในส่วนนี้ผมจะนำโมเดลดังกล่าวไปต่อยอดขยายผล พร้อมหารือสถานีบริการน้ำมันเอกชนทั่วประเทศ เพื่อเพิ่มการจ้างงาน สร้างอาชีพ พร้อมสร้างคุณค่าคืนคนดีสู่สังคมต่อไป

นายพิพัฒน์ กล่าวต่อว่า จากการลงพื้นที่เชียงรายในครั้งนี้ ผมยังพบว่าปัจจุบันเชียงรายยังพบปัญหาฝุ่นควันในปริมาณที่สูง ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชน ที่สำคัญมีความห่วงใยต่อแรงงานที่ทำงานอยู่ในพื้นที่โดยเฉพาะแรงงานที่ต้องทำงานอยู่ในกลางแจ้ง ผมจึงได้กำชับให้แรงงานจังหวัด ร่วมมือกับอาสาสมัครแรงงาน (อสร.) จังหวัดเชียงราย 124 คน พบปะกับชาวบ้านในพื้นที่เพื่อรณรงค์ให้ชาวบ้านช่วยกันหยุดเผาป่า ป้องกันฝุ่นควันลดปัญหามลพิษทางอากาศ อันเป็นสาเหตุของการเกิดโรคระบบทางเดินหายใจ นอกจากนี้ เพื่อร่วมสร้างทัศนียภาพให้กลับมาสวยงามเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวอีกด้วย

'พิพัฒน์' รมว.แรงงาน รุกโรงงานอยุธยา สร้างต้นแบบสวัสดิการ ศูนย์กลางอุตฯ ภาคกลาง พร้อมแนะอาชีพอิสระเพิ่มรายได้ ให้กองทุนกู้รับงานดอก 0%

วันที่ 20 มีนาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ลงพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานด้านการจัดสวัสดิการต่างๆ ให้แก่ลูกจ้างในสถานประกอบกิจการ พบหน่วยงานภาคีภาคเครือข่าย ภาครัฐ ภาคเอกชน รวมทั้งบริษัท ข้าว ซี.พี.จำกัด โรงงานข้าวนครหลวง ประกอบกิจการผลิตข้าว โดยมี นายนิวัฒน์ รุ่งสาคร ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ต้อนรับ นายชัยกฤต พุ่มเข็ม ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานภาพรวมเศรษฐกิจในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นายธรรมวิทย์ ศรีเกริกกริช รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านการผลิตและวิศวกรรม หัวหน้าส่วนราชการหน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ร่วมให้การต้อนรับ นายอารี ไกรนรา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายสันติ นันตสุวรรณ รองอธิบดีกรมการจัดหางาน รักษาการในตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน ว่าที่ร้อยตรี สมศักดิ์ พรหมดำ รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน พร้อมด้วยผู้บริหารกระทรวงแรงงาน ณ บริษัท ข้าว ซี.พี.จำกัด โรงงานข้าวนครหลวง ต.แม่ลา อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา  

นายพิพัฒน์ กล่าวว่า กระทรวงแรงงานมีภารกิจที่ดูแลแรงงานอย่างครบถ้วนในทุกมิติ การเดินทางมาจังหวัดอยุธยา ศูนย์กลางอุตสาหกรรมภาคกลาง เข้าหารือ กับบริษัทภาคเอกชน 35  บริษัท แบ่งเป็นอุตสาหกรรมยานยนต์, เทคโนโลยีดิจิตอล, ขนส่งโลจิสติกส์ และ หน่วยงานเครือข่ายแรงงาน 22 หน่วยงาน และชมสถานประกอบการที่อยุธยาในวันนี้ โรงงานข้าวนครหลวง เปิดให้เข้าเยี่ยมและนำเสนอโครงการด้านสวัสดิการและความปลอดภัยในการทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อพี่น้องแรงงาน และชื่นชมผู้บริหารบริษัทข้าว ซี.พี.จำกัด และทุกภาคส่วนในการดำเนินงานด้านต่าง ๆ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตพนักงานที่ดีขึ้นด้วยการจัดสวัสดิการให้กับลูกจ้าง เช่น บริษัทร่วมโครงการ สถานประกอบการต้นแบบด้านความปลอดภัยฯ 7 ปี Zero accident ระดับต้น  และโครงการสถานประกอบการดีเด่นด้านแรงงาน 10 ปีซ้อน พ.ศ. 2554 - 2564

จากนั้น นายพิพัฒน์ มอบหมายให้ นายอารี ไกรนรา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน   ตรวจเยี่ยมโครงการกระทรวงแรงงานพบปะกลุ่มแรงงานนอกระบบ และภาคีเครือข่ายด้านแรงงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมี นายธนณัฏฐ์ รุ่งแจ้ง ประธานชมรมแรงงานนอกระบบจังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงานการส่งเสริม สนับสนุนสร้างความเข้มแข็งให้กลุ่มแรงงานนอกระบบ โดยหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดย เลขานุการ รมว.แรงงาน ได้พบปะพูดคุยกับกลุ่มแรงงานนอกระบบและภาคีเครือข่ายด้านแรงงาน เยี่ยมบูธของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อาทิ สำนักงานประกันสังคมได้เชิญชวนแรงงานนอกระบบ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ เข้าสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองสิทธิประโยชน์จากประกันสังคม เช่น กรณีประสบอุบัติเหตุ เจ็บป่วย หรือ ทุพพลภาพ ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ กรณีเสียชีวิต ได้รับค่าทำศพ กรณีชราภาพ ได้รับบำเหน็จชราภาพ ทุกเดือน กรณีจ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน รับเงินเพิ่ม 10,000 บาท และรับเงินสงเคราะห์บุตร ทุกเดือน เป็นต้น สำนักงานจัดหางานจังหวัดให้คำแนะนำแก่แรงงานนอกระบบ ผู้ประกอบอาชีพอิสระในการกู้ยืมเงินจากกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้าน ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนถูกกฎหมายดอกเบี้ยต่ำ สอดคล้องกับของขวัญปีใหม่ที่ท่านรัฐมนตรีพิพัฒน์ ได้มอบให้แรงงานนอกระบบที่เป็นผู้รับงานไปทำที่บ้าน สามารถกู้ยืมเงินจากกองทุนในอัตราดอกเบี้ย 0% นาน 24 เดือน เพื่อทุนนำไปซื้อเครื่องมืออุปกรณ์ที่จำเป็นในการผลิตสินค้าได้มากขึ้น

นอกจากนี้ นายอารี ยังมอบป้ายชมรมแรงงานนอกระบบจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและเครือข่ายแรงงานนอกระบบเข้มแข็ง และเยี่ยมชมบูธผลิตภัณฑ์ของกลุ่มแรงงานนอกระบบ โดยมี กลุ่มแรงงานนอกระบบ และภาคีเครือข่ายด้านแรงงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ร่วมให้การต้อนรับ ณ เทศบาลเมืองบ้านกรูด อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา ทั้งนี้ จ.พระนครศรีอยุธยา มีแรงงานนอกระบบทั้งสิ้น 132,346 คน ส่วนใหญ่ อยู่ในภาคการขายส่งขายปลีก รองลงมาภาคเกษตรกรรม ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร การผลิต และการขนส่ง การขายปลีก ตามลำดับ

ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำกระทรวงแรงงาน เนื่องในโอกาสเข้ารับตำแหน่ง

วันที่ 25 มีนาคม 2567 เวลา 08.00 น. นางมารศรี ใจรังษี ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำกระทรวงแรงงาน ประกอบด้วย พระพุทธสุทธิธรรมบพิตร พระพุทธชินราช ศาลพ่อปู่ชัยมงคล ศาลท้าวมหาพรหมเทวฤทธิ์ ศาลพ่อปู่ชินพรหมมา และสักการะพระพุทธรูปในห้องทำงานผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน ชั้น 8 อาคารกระทรวงแรงงาน เนื่องในโอกาสเข้ารับตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน โดยมี ผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงาน ร่วมพิธี ณ บริเวณกระทรวงแรงงาน

สำหรับ นางมารศรี ใจรังษี ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี เศรษฐศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปริญญาโท รัฐประศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)

ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรที่สำคัญ ได้แก่ นักบริหารประกันสังคม รุ่นที่ 14 นักบริหารระดับสูงกระทรวงสาธารณสุข รุ่นที่ 1 นักบริหารระดับสูง (ส.นบส.) รุ่นที่ 13 การพัฒนาผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ ระดับสูงภาครัฐ รุ่นที่ 30 ผู้ตรวจราชการระดับกรม ประจำปี 2565

เคยดำรงตำแหน่งที่สำคัญ ได้แก่ หัวหน้าสำนักงานประกันสังคมจังหวัดชลบุรี สาขาศรีราชา ประกันสังคมจังหวัดพังงา ประกันสังคมจังหวัดภูเก็ต ประกันสังคมจังหวัดสุราษฎรธานี ผู้อำนวยการสำนักบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ ผู้อำนวยการสำนักสิทธิประโยชน์ ผู้ตรวจราชการกรม สำนักงานประกันสังคม รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม และผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงานในปัจจุบัน

ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุด ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
 

‘พิพัฒน์’ รุกเจรจา ‘รร.ดุสิตธานี เกียวโต’  เพื่อส่งแรงงานไทย ไปทำงานที่ญี่ปุ่นเพิ่ม

(8 เม.ย.67) นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม นางสาวสดุดี กิตติสุวรรณ อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายแรงงาน) สำนักงานแรงงานในประเทศญี่ปุ่น และคณะ เข้าพบ ผู้บริหารโรงแรมดุสิตธานี จังหวัดเกียวโต เพื่อหารือความร่วมมือในการรับแรงงานไทยเข้ามาทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนบุคลากรของโรงแรมดุสิตธานี จังหวัดเกียวโต โดยมี นายมาโคโตะ ยามาชิตะ (Mr.Makoto Yamashita) ผู้จัดการทั่วไปโรงแรมดุสิตธานี จังหวัดเกียวโต นายอัครพงศ์ เฉลิมนนท์ กงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา และคณะ ร่วมให้การต้อนรับและเลี้ยงรับรอง ณ โรงแรมดุสิตธานี จังหวัดเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น

นายพิพัฒน์ กล่าวว่า ในวันนี้ผมพร้อมด้วยผู้บริหารกระทรวงแรงงานได้มาพบกับท่านมาโคโตะ ยามาชิตะ ผู้บริหารของโรงแรมดุสิตธานี จังหวัดเกียวโต และขอขอบคุณที่ท่านให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น และทราบว่าทางผู้บริหารมีความสนใจและตั้งใจที่จะรับแรงงานไทยเข้ามาทำงานที่โรงแรมดุสิตธานี จังหวัดเกียวโตแห่งนี้ เพื่อให้ลูกค้าได้รับบริการและการต้อนรับแบบไทย ซึ่งก่อนหน้านี้บริษัทดุสิตธานีฯ ที่ประเทศไทยได้ยื่นขอวีซ่าให้กับพนักงานหลายคนเพื่อให้มาทำงานที่โรงแรมดุสิตธานี จังหวัดเกียวโต แต่สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยปฏิเสธการอนุมัติวีซ่าทำให้ประสบปัญหาบุคลากรไม่เพียงพอ ในส่วนของกระทรวงแรงงานของไทยเอง เรามีสำนักงานแรงงานในประเทศญี่ปุ่นที่คอยให้ความร่วมมือในการสนับสนุนประสานงาน ให้คำปรึกษา และแนะนำการดำเนินการอย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด เพื่ออำนวยความสะดวกให้แรงงานไทยสามารถเดินทางมาทำงานในญี่ปุ่นได้อย่างราบรื่น

นายพิพัฒน์ กล่าวต่อว่า ซึ่งจากการหารือทราบว่า ผู้บริหารกลุ่มบริษัทดุสิตธานีได้ให้ความสนใจจะจัดส่งผู้ฝึกปฏิบัติงานด้านเทคนิค แรงงานไทยมาทำงานที่โรงแรมดุสิตธานี จังหวัดเกียวโต ซึ่งผู้บริหารกลุ่มบริษัทดุสิตธานีได้เดินทางไปศึกษาดูงานการฝึกอบรมก่อนเดินทางมาประเทศญี่ปุ่นในสถานภาพการพำนักผู้ฝึกปฏิบัติงานด้านเทคนิค ที่สถาบันพัฒนาฝีมือแรงาน 14 ปทุมธานี และเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา ทราบว่า โรงแรมดุสิตธานี จังหวัดเกียวโต ได้ลงนามในสัญญากับองค์กร IM Japan แล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการเตรียมการรับผู้ฝึกปฏิบัติงานเทคนิคไทย โดยกรมการจัดหางานจัดส่งผ่านองค์กร IM Japan ซึ่งเริ่มทยอยจัดส่งชุดแรก จำนวน 3 รายก่อน จากนั้นจะขยายโควตาการจัดส่งเพิ่มขึ้นต่อไป

“ผมขอขอบคุณผู้บริหารของโรงแรมดุสิตธานี จังหวัดเกียวโต ที่เปิดโอกาสให้ได้มาพบปะพูดคุยและที่สำคัญให้ความสนใจในการรับผู้ฝึกปฏิบัติงานด้านเทคนิคชาวไทย รวมทั้งขอให้พิจารณาเพิ่มการรับผู้ฝึกปฏิบัติงานด้านเทคนิค/แรงงานทักษะเฉพาะชาวไทยเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในภาคท่องเที่ยวและบริการ อาทิ ตำแหน่งพนักงานแปรรูปอาหาร ทำขนมปัง ปรุงอาหาร พนักงานโรงแรม ล่าม เป็นต้น ซึ่งจากการพูดคุยกับนายจ้างส่วนใหญ่ก็มีความพึงพอใจและชื่นชมผู้ฝึกปฏิบัติงานด้านเทคนิคชาวไทยที่มีความขยันหมั่นเพียร เชื่อฟังคำสั่ง มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย มีน้ำใจ เรียนรู้งานได้รวดเร็ว มีทักษะ ความเชี่ยวชาญ และความสามารถหลากหลาย ผลจากการหารือในครั้งนี้จะนำไปสู่ความร่วมมือในการเปิดตลาดแรงงาน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศต่อไป” นายพิพัฒน์ กล่าว

โดยผู้ที่ผ่านการคัดเลือกฯ จะไปฝึกงานในประเภทอุตสาหกรรมภาคการผลิต ภาคท่องเที่ยวและบริการ จะได้รับเบี้ยเลี้ยงระหว่างการฝึก เมื่อฝึกจบจะได้รับประกาศนียบัตรรับรองการฝึกงาน และเงินสนับสนุนเป็นค่าใช้จ่ายในการประกอบอาชีพเมื่อเดินทางกลับประเทศไทยอีกด้วย 

ทั้งนี้ ผู้สนใจสมัครเข้ารับการคัดเลือกผู้ฝึกงานเทคนิคคนไทยไปฝึกงานในประเทศญี่ปุ่น โดยกรมการจัดหางานจัดส่งผ่านองค์กร IM Japan 

สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อที่กองบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ กรมการจัดหางาน โทร. 0 2245 9428 หรือสายด่วนกระทรวงแรงงาน โทร.1506 กด 2 กรมการจัดหางาน

'กระทรวงแรงงาน' ดีลสำเร็จ!! งานโรงพยาบาลญี่ปุ่น ปี 67 - 68   พร้อมรับแรงงานทักษะเฉพาะเพิ่ม 200% เงินเดือนเริ่มต้น 6 หมื่นบา

(10 เม.ย.67) นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายนายสมชาย มรกตศรีวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน หารือด้านขยายตลาดแรงงาน ร่วมกับ Mr.Daiki KAMO ผู้บริหารบริษัท Medical Corporation MIDORI-KAI และผู้แทนองค์กรผู้รับ พร้อมตรวจเยี่ยมผู้ฝึกปฏิบัติงานด้านเทคนิคในความดูแล ณ โรงพยาบาล Midorikai Medical Corporation Takesato Hospital เมืองคาสุคาเบะ จังหวัดไซตามะ 

นายสมชาย เปิดเผยว่า งานบริบาลผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุ เป็นอีกหนึ่งสาขาอาชีพที่กรมการจัดหางานให้ความสำคัญต้องการผลักดันและส่งเสริมให้นายจ้างญี่ปุ่นนำเข้าแรงงานไทยเป็นจำนวนมาก โอกาสนี้ได้หารือถึงความเป็นไปได้ในการจ้างแรงงานไทยในอนาคตตามนโยบายของโรงพยาบาล และสิ่งที่ต้องการให้กรมการจัดหางานสนับสนุน เพื่อส่งเสริมการจ้างแรงงานไทยในภาคบริบาล เนื่องจากเป็นตำแหน่งงานที่ประเทศญี่ปุ่นขาดแคลนแรงงาน และให้ค่าตอบแทนสูง เดือนละประมาณ 250,000 เยน หรือราว 6 หมื่นบาท 

สำหรับโรงพยาบาล Midorikai Medical ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2545 เป็นศูนย์ดูแลและรักษาผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ขนาด 274 เตียง อาคาร 5 ตึก แบ่งการดูแลตามสภาพของผู้ป่วย มีการรับผู้ฝึกปฏิบัติงานด้านเทคนิค และแรงงานทักษะเฉพาะชาวไทย 17 ราย ประกอบด้วย ผู้ฝึกปฏิบัติงานด้านเทคนิค 8 ราย แรงงานทักษะเฉพาะ 8 ราย และอยู่ระหว่างยื่นขอวีซ่าทำงานประเภทบริบาล 1 ราย ซึ่งทางโรงพยาบาลยินดีรับแรงงานทักษะเฉพาะจากประเทศไทยในปีนี้และปี 2568 เพิ่มจำนวน 10 คน 

ขณะที่ในส่วนองค์กรผู้รับ มีแผนรับแรงงานทักษะเฉพาะ สาขางานบริบาล ซึ่งจัดส่งผ่านบริษัทจัดหางานที่ถูกต้องตามกฎหมายในประเทศไทย ในปี 2567 สาขางานบริบาล ประมาณ 30 คน และปี 2568 รวม 50 คน แบ่งเป็นสาขางานบริบาล ประมาณ 30 คน และสาขางานสายโรงงาน ประมาณ 20 คน ทั้งนี้ ถือว่าเพิ่มโอกาสในงานบริบาลให้แรงงานไทยถึง 252%

ในการนี้ อธิบดีกรมการจัดหางานได้เข้าเยี่ยมให้กำลังใจแรงงานไทยที่ทำงานอยู่ที่โรงพยาบาล Midorikai Medical พร้อมมอบโอวาทแก่แรงงานไทยที่เสียสละความสุขส่วนตัวห่างครอบครัวมาทำงานไกลบ้านแม้ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยอวยพรให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่พี่น้องแรงงานไทยเคารพนับถือ คุ้มครองและดลบันดาลให้มีแต่ความสุขสมหวังตามที่ตั้งใจทุกประการ

ผู้สนใจสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่กองบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ กรมการจัดหางาน โทรศัพท์ 0 2245 1021 หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกระทรวงแรงงาน โทร. 1506 กด 2 กรมการจัดหางาน หรือสายด่วนกรมการจัดหางาน โทร.1694

‘ญี่ปุ่น’ ปลื้มแรงงานไทย เตรียมเพิ่มโควตานำเข้า พร้อมเปิดช่อง ให้เปลี่ยนนายจ้างได้ เมื่อทำงานครบ 1 ปี

(20 เม.ย.67) กระทรวงแรงงาน เดินหน้าขยายตลาดแรงงานไทย ไปทำงานในต่างประเทศ โดยได้ขอให้ทางการญี่ปุ่นส่งเสริมการจ้างแรงงานไทยในประเทศญี่ปุ่นมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานทักษะสูง แรงงานฝีมือ แรงงานทักษะเฉพาะ พร้อมยืนยันว่าไทยจะเข้มงวดให้แรงงานไทยเดินทางไปทำงานประเทศญี่ปุ่นอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และจะเตรียมความพร้อมให้มีทักษะด้านภาษาญี่ปุ่นสอดคล้องกับความต้องการของนายจ้างด้วย

ฝ่ายญี่ปุ่น ชื่นชมแรงงานไทย โดยรับปากจะพิจารณาเพิ่มโควตาการนำเข้าแรงงานในภาคท่องเที่ยว อุตสาหกรรมก่อสร้าง งานบริบาล และ Osaka expo 2025 นอกจากนี้ ทั้ง 2 ฝ่ายเห็นพ้องจะนำระบบพัฒนาทักษะแรงงาน SDW มาแทนระบบผู้ฝึกปฏิบัติงานด้านเทคนิค TITP เพื่อยกระดับแรงงานไทยให้เป็นแรงงานทักษะเฉพาะ สร้างรายได้เพิ่มขึ้น พำนักและทำงานในญี่ปุ่นได้นานสูงสุด 5 ปี สามารถเปลี่ยนนายจ้างได้เมื่อครบ 1 ปี ช่วยให้แรงงานไทยสามารถเลือกทำงานกับนายจ้างที่มีสวัสดิการหรือรายได้มากกว่าได้

ปัจจุบัน ญี่ปุ่น เป็นประเทศที่แรงงานไทยสนใจเดินทางไปทำงานมากที่สุด มีคนไทยฝึกปฏิบัติงานด้านเทคนิคอยู่ 12,087 คน เป็นแรงงานทักษะเฉพาะ 2,875 คน

‘ก.แรงงาน’ แย้ม!! จ่อขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 ทุกประเภทธุรกิจ คาด!! 1 ต.ค.67 สามารถประกาศภาพรวมทั้งประเทศได้

(25 เม.ย. 67) นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ยืนยันถึงการประกาศบิ๊กเซอร์ไพรส์ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท ว่า…

จากการประชุมของคณะกรรมการไตรภาคี เมื่อวันที่ 17 เมษายนที่ผ่านมา นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการไตรภาคี ได้หารือกับคณะกรรมการว่า ในปีนี้จะมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งจากการหารือมีนโยบายทําตามนโยบายของรัฐบาล คือจะมีการขึ้นค่าแรงที่ 400 บาท โดยในวันที่ 14 พฤษภาคมนี้ จะมีการประชุมคณะกรรมการอีกครั้งหนึ่ง และคาดว่าจะประกาศในวันที่ 1 ตุลาคม ซึ่งตนเองไม่สามารถเข้าไปแทรกแซงคณะกรรมการไตรภาคี เพราะเป็นคณะกรรมการที่เป็นอิสระในการพิจารณา

“ถามว่าเราประกาศเลยได้ไหมในวันที่ 1 พฤษภาคม เราสามารถประกาศให้รับรู้ได้ว่า เราจะดำเนินการในขั้นตอนต่อไป หลังจากนำร่องไปแล้ว ตรงนี้ถือเป็นนโยบายรัฐบาลที่ต้องทําตาม จากการหารือไม่น่าจะมีอะไรที่ขัดข้อง เพราะว่าส่วนหนึ่งในเรื่องค่าใช้จ่าย หรือสิ่งของที่เป็นอุปโภค บริโภค ก็มีการขึ้นไปล่วงหน้าแล้ว หลังจากที่มีการจัดตั้งรัฐบาลเรียบร้อย ผมคิดว่าถึงเวลาแล้วที่จะมีการประกาศค่าแรงอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่เรามีการนําร่องในวันที่ 13 เมษายนที่ผ่านมา วันที่ 1 ตุลาคม เราสามารถประกาศได้ในภาพรวมทั้งประเทศ 400 บาทในทุกประเภทธุรกิจ” นายพิพัฒน์ กล่าว


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top