Wednesday, 15 May 2024
กระทรวงแรงงาน

รองปลัดแรงงาน ประธานออกรางวัล “บัตรแรงงานเชิญรับโชค” สลากบำรุงสภากาชาดไทย กระทรวงแรงงาน ปี 2564

วันที่ 27 ธันวาคม 2564 เวลา 10.30 น. นางสาวบุปผา เรืองสุด รองปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในการหมุนวงล้อ พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานร่วมเป็นสักขีพยานการออกรางวัล “บัตรแรงงานเชิญรับโชค” ประจำปี 2564 สลากบำรุงสภากาชาดไทย กระทรวงแรงงาน รายได้ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายองค์อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย อาคารแพทยพัฒน์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ดังนี้

>> รางวัลที่ 1 จำนวน 1 รางวัล รถยนต์นั่งส่วนบุคคล ยี่ห้อ All New MG5 เลขที่ออก 40373

>> รางวัลที่ 2 จำนวน 1 รางวัล สร้อยคอทองคำหนัก 5 บาท เลขที่ออก 12012

>> รางวัลที่ 3 จำนวน 6 รางวัล สร้อยคอทองคำหนัก 1 บาท เลขที่ออก 11950, 16427, 16609, 24344, 32951, 46050

>> รางวัลที่ 4 จำนวน 40 รางวัล สร้อยคอทองคำหนัก 1 สลึง (รางวัลเลขท้าย 3 ตัว หมุน 1 ครั้ง) เลขที่ออก 019

ทั้งนี้ ผู้ที่ถูกรางวัลสามารถนำใบสลากพร้อมด้วยบัตรประจำตัวประชาชนไปรับรางวัลได้ตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2564 - 26 มีนาคม 2565 ระหว่างเวลา 09.00 - 16.00 น. โดยติดต่อขอรับรางวัลที่ กองกลาง สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน ชั้น 4 กระทรวงแรงงาน ถนนมิตรไมตรี ดินแดงกรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ : 02232 1144, 02232 1157 (ทั้งนี้หากพ้นกำหนดแล้วถือว่าสละสิทธิ์ในการรับรางวัล และมอบรางวัลให้กับสภากาชาดไทย)

 

รมว.เฮ้ง เดินหน้าเสนอคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ปรับเงื่อนไขโครงการช่วย SMEs หลังสถานประกอบการบางส่วนเสียสิทธิ์รับเงินอุดหนุนเพราะเงื่อนไขโครงการฯ

คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ อนุมัติเงื่อนไข ส่งเงินสมทบผ่าน e - Service 2 ข้อ หากปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง มีสิทธิ์รับเงินอุดหนุน งวดธันวา 64 และมกรา 65
 
นายสุชาติ ชมกลิ่น  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงแรงงานได้เชิญชวนนายจ้างภาคเอกชนที่มีกิจการขนาดเล็ก – กลางเข้าร่วมโครงการส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงานในธุรกิจ SMEs เพื่อรับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล ในอัตรา 3,000 บาท ต่อลูกจ้างสัญชาติไทย 1 คนต่อเดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือน ในเดือนพฤศจิกายน 2564 - มกราคม 2565 ด้วยมีเป้าหมายช่วยเหลือนายจ้าง สถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ให้กลับมาแข็งแรงประสบผลสำเร็จดั่งในอดีตก่อนมีโรคโควิด-19 ตามความตั้งใจของรัฐบาล

ภายใต้การนำของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงาน ที่ห่วงใยธุรกิจในกลุ่ม SMEs ซึ่งผลการลงทะเบียนในทุกรอบมีสถานประกอบการลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการถึง 246,099 ราย ช่วยรักษาระดับการจ้างงานลูกจ้างสัญชาติไทย 3,274,018 คน แต่ช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมามีการร้องทุกข์จากนายจ้าง/สถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ ผ่านสำนักงานจัดหางานทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เนื่องจากไม่ได้รับเงินอุดหนุนในเดือนธันวาคม 2564 เพราะไม่ได้ส่งข้อมูลเงินสมทบฯ ผ่านระบบ e - Service ของสำนักงานประกันสังคมภายในกำหนด เพื่อขอให้ทบทวนเงื่อนไขดังกล่าว ทำให้ได้รับเงินอุดหนุนบรรเทาความเดือดร้อนในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และเป็นทุนหมุนเวียน เสริมสภาพคล่อง หากเกิดการระบาดในระลอกใหม่ของสายพันธ์โอมิครอน

“ผมในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เข้าใจความเดือดร้อนของผู้ประกอบการเป็นอย่างดี กิจการเล็กๆ หลายแห่ง ยังมีความไม่เข้าใจเงื่อนไขและขั้นตอนการใช้บริการภาครัฐผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่ได้มีเจตนาที่จะไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขแต่อย่างใด กระทรวงแรงงานจึงได้ปรับเงื่อนไขโครงการเสนอต่อคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้พิจารณา ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 5 มกราคม 65 และจะดำเนินการเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติในวันที่ 11 มกราคม 65 เพื่อให้นายจ้าง/สถานประกอบการที่เสียสิทธิ์ไป มีโอกาสได้รับเงินอุดหนุนในเดือนธันวาคม 64 และมกราคม 65 ดังนี้ 1. นายจ้างที่เข้าร่วมโครงการหากเคยนำส่งข้อมูลเงินสมทบผ่านระบบ e-Service ของสำนักงานประกันสังคม

ภายในปีนี้ ก่อนวันที่ 16 ธันวาคม 64 จะได้รับเงินอุดหนุน จำนวน 2 เดือน (ธ.ค. 64 – ม.ค. 65)  2. นายจ้างที่เข้าร่วมโครงการแต่มีการนำส่งข้อมูลเงินสมทบผ่านระบบ e-Service ของสำนักงานประกันสังคม หลังวันที่ 15 ธันวาคม 64 ที่ได้นำส่งข้อมูลฯ ภายในวันที่ 17 มกราคม 65 จึงจะได้รับเงินอุดหนุน จำนวน 2 เดือน (ธ.ค. 64 – ม.ค. 65)” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าว  
 
ด้านนายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า การสมัครใช้งาน e - Service และนำส่งข้อมูลเงินสมทบ ผ่านระบบ e - Service ของสำนักงานประกันสังคม เป็นเงื่อนไขสำคัญข้อหนึ่งของโครงการฯ โดยมีวัตถุประสงค์ให้ประชาชนหันมาใช้บริการภาครัฐผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ตามเจตนารมณ์ของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ซึ่งจากการตรวจสอบข้อมูลนายจ้างที่ไม่ได้นำส่งข้อมูลเงินสมทบผ่านระบบ e-Service ในงวดเงินสมทบเดือนพฤศจิกายน 2564 พบว่ามีนายจ้างปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าว

ผช.รมว.แรงงาน เปิดประชุมทวิภาคี ระหว่างประเทศไทยและประเทศกัมพูชา เพื่อส่งเสริมการสรรหาแรงงานอย่างมีจริยธรรมและยุติธรรม ช่วงระหว่างและหลังการระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19

วันที่ 14 มกราคม 2565 เวลา 09.00 น. นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน เป็นประธานกล่าวต้อนรับพิธีเปิดการประชุมทวิภาคีเพื่อส่งเสริมการสรรหาแรงงานอย่างมีจริยธรรมและยุติธรรมระหว่างประเทศกัมพูชาและประเทศไทยในช่วงระหว่างและหลังการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ผ่านระบบการประชุมทางไกล Zoom โดยกล่าวว่า แรงงานข้ามชาติจากประเทศเพื่อนบ้านมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในปัจจุบันแรงงานข้ามชาติจากประเทศกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ที่ขึ้นทะเบียนมีจำนวนกว่า 2.1 ล้านคน โดยแรงงานกัมพูชามีจำนวน 448,492 คน ซึ่งส่วนใหญ่ทำงานในภาคการก่อสร้าง การเกษตร งานบริการต่าง ๆ การผลิตหรือจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม การค้าส่ง ค้าปลีก และแผงลอยในตลาด

ประเทศไทยและกัมพูชามีการลงนามใน MOU ฉบับแรก ว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงานระหว่างกัน เมื่อปี พ.ศ. 2546 ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นในการส่งเสริมให้การโยกย้ายถิ่นฐานของแรงงานชาวกัมพูชามาทำงานในประเทศไทยเป็นปกติและปลอดภัย ส่งเสริมให้มีการจ้างงานอย่างมีจริยธรรมได้อย่างครอบคลุม สามารถป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์ และขจัดการแสวงหาผลประโยชน์จากแรงงานข้ามชาติได้จนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ กระทรวงแรงงานได้พัฒนากฎหมายและข้อบังคับอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมการสรรหาแรงงานอย่างมีจริยธรรมและยุติธรรม โดยมีนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ซึ่งเป็นการดำเนินการภายใต้ พระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2561 กำหนดห้ามการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจัดหางานจากแรงงานข้ามชาติ และควบคุมให้กระบวนการจ้างแรงงานข้ามชาติเป็นไปอย่างโปร่งใสและยุติธรรม ตลอดจนเคารพสิทธิของแรงงาน และการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน และจากการระบาดของโรคโควิด-19

ประเทศไทยจำเป็นต้องชะลอการนำแรงงานเข้ามาทำงานตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม 2563 กระทรวงแรงงานจึงได้กำหนดมาตรการและแนวทางการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวภายในประเทศตามมติคณะรัฐมนตรี เพื่อบรรเทาภาวะการขาดแคลนแรงงานของนายจ้างและสถานประกอบการ รวมถึงมีการช่วยเหลือแรงงานต่างด้าวให้อยู่ต่อและทำงานในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวได้ต่อไป ตลอดจนผ่อนผันให้คนต่างด้าวที่มีสถานะไม่ถูกต้องตามกฎหมายให้สามารถทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย นอกจากนี้ยังมีมาตรการช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งเป็นมาตรการเดียวกันกับที่ใช้ช่วยเหลือแรงงานไทย โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ เช่น การให้บริการฉีดวัคซีน การให้คำแนะนำในการป้องกันและดูแลตนเอง การบริจาคอาหารกรณีแรงงานภาคก่อสร้างที่ได้รับผลกระทบจากการปิดสถานประกอบการ

ปัจจุบันกระทรวงแรงงานได้บูรณาการทำงานร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กรมการปกครอง รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการพิจารณากำหนดแนวทางการนำแรงงานต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศไทยตามระบบ MOU ภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 เพื่อให้นายจ้างและสถานประกอบการมีแรงงานที่เพียงพอต่อการขับเคลื่อนกิจการตลอดจนเศรษฐกิจของประเทศ แก้ไขปัญหาการลักลอบเข้าเมือง สามารถควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้อย่างเป็นระบบ และเพื่อให้แรงงานข้ามชาติเข้าสู่ระบบการจ้างงานที่ถูกกฎหมายอันจะเกิดประโยชน์แก่ประเทศไทย ทั้งด้านเศรษฐกิจ สาธารณสุข ความมั่นคง และระบบการจ้างงานของประเทศ ทั้งนี้ นายจ้างจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายการดำเนินการ เช่น ค่ากักตัว ค่าตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นต้น

 

'รมว.เฮ้ง' ลุยสงขลา เช็คความพร้อมจุดฉีดวัคซีนผู้ประกันตนบูสต์เข็ม 3 ที่ศูนย์อาเซียนพลาซ่าหาดใหญ่ 

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ลงพื้นที่ตรวจความพร้อมจุดฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 เข็ม 3 (Booster Dose) แก่ผู้ประกันตนมาตรา 33 ของ บริษัท เซฟสกิน เมดดิคอล แอนด์ ไซเอนทิฟิก (ประเทศไทย) จำกัด ณ ศูนย์การค้าอาเซียนพลาซ่า หาดใหญ่ ถ.กาญจนวนิช ต.หาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา โดยมี นายสุเทพ ชิตยวงษ์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม นายเจษฎา จิตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา พร้อมด้วยผู้บริหารโรงพยาบาลศิครินทร์ สาขาหาดใหญ่ และบริษัท หาดใหญ่นครินทร์ จำกัด เข้าร่วม นายสุชาติ กล่าวว่า

รัฐบาลภายใต้การนำของท่าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และท่านพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงาน มีความห่วงใยพี่น้องประชาชนและผู้ได้รับผลกระทบกระทบจากโควิด-19 และได้สั่งการให้กระทรวงแรงงานดำเนินมาตรการเพื่อช่วยเหลือแรงงานและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบดังกล่าว ที่ผ่านมา กระทรวงแรงงานดำเนินมาตรการที่สำคัญต่าง ๆ ได้แก่ ตรวจคัดกรองเชิงรุก RT-PCT 100% ภายใต้โครงการ “แรงงานเราสู้ด้วยกัน ” ตั้งศูนย์ฉีดวัคซีนเพื่อผู้ประกันตน มาตรา 33 ดำเนินโครงการ Factory Sandbox เพื่อรักษาการจ้างเยียวยาผู้ประกันตนมาตรา 33 39 และ 40 ในพื้นที่ 29 จังหวัด ลดเงินสมทบและเพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน และโครงการส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงานในธุรกิจ SMEs 

นายสุชาติ กล่าวต่อว่า จังหวัดสงขลาถือเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีความสำคัญต่อภาคเศรษฐกิจของประเทศ โดยที่ผ่านมาสำนักงานประกันสังคมสงขลาร่วมกับโรงพยาบาลศิครินทร์ หาดใหญ่ ดำเนินการฉีดวัคซีนโควิด-19 จำนวน 11,960 โดส แบ่งเป็น เข็ม 1 จำนวน 6,375 โดส และเข็ม 2 จำนวน 5,585 โดส จากการระบาดของโรคโควิด -19 ซึ่งมีการกลายพันธุ์ตลอดเวลา การฉีดวัคซีนจึงถือเป็นมาตรการที่สำคัญในการสร้างภูมิคุมกันและลดความรุนแรงของโรค กระผมจึงมอบหมายสำนักงานประกันสังคม ประสานนายจ้างสำรวจความต้องการฉีดวัคซีนโควิด – 19 เข็ม 3 ผ่านระบบ web – service และจัดตั้งจุดฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในกลุ่มผู้ประตนมาตรา 33 เข็ม 3 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญ 10 จังหวัด (สงขลา ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม สมุทรสาคร และพระนครศรีอยุธยา) รวมทั้งสิ้น 13 จุดฉีด โดยจะเริ่มดำเนินการพร้อมกันในวันที่ 17 มกราคมนี้เป็นต้นไป

สำหรับจังหวัดสงขลา ปัจจุบันมีสถานประกอบการทั้งหมด จำนวน 9,400 แห่ง มีผู้ประกันตนประมาณ 188,000 ราย ซึ่งการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 เข็ม 3 (Booster Dose) แก่ผู้ประกันตนมาตรา 33 ในครั้งนี้เป็นลูกจ้าง/ผู้ประกันตน ของบริษัท เซฟสกิน เมดดิคอล แอนด์ ไซเอนทิฟิก (ประเทศไทย) มีผู้ข้ารับการฉีดวัคซีนจำนวน ประมาณ 200 คน 

‘สปส.’ ขานรับนโยบายรัฐ ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง! ยกระดับศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงานครบวงจร

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน ได้กล่าวถึง การดำเนินการยกระดับศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงาน ซึ่งเป็นหน่วยงานในกำกับดูแลของสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ว่า ตามที่รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้มีนโยบายการพัฒนาระบบสาธารณสุขและหลักประกันทางสังคมที่ครอบคลุมด้านการศึกษา สุขภาพ การมีงานทำที่เหมาะสมกับประชากรทุกกลุ่ม ทั้งในระบบและนอกระบบให้ได้รับความปลอดภัยและมีสุขอนามัยที่ดีในการทำงานได้รับรายได้ สวัสดิการ และสิทธิประโยชน์ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพ และกระทรวงแรงงานภายใต้การกำกับดูแลของพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้กำหนดนโยบายที่สำคัญของกระทรวงแรงงานในปี 2565 ในด้านการบริหารจัดการแรงงานกลุ่มเปราะบาง และคนพิการให้ได้รับสิทธิและความคุ้มครองด้านแรงงาน มีรายได้ที่เหมาะสมและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยตนได้มอบหมายให้สำนักงานประกันสังคมพิจารณายกระดับศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงานทั้ง 5 แห่ง ให้มีความพร้อมในการให้บริการลูกจ้างและผู้ประกันตนแบบครบวงจร เพื่อให้พี่น้องแรงงาน ลูกจ้าง ผู้ประกันตนสามารถกลับมาใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี ไม่เป็นภาระต่อสังคม สร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว และกลับมาเป็นกำลังในการช่วยกันพัฒนาประเทศต่อไปได้

ด้านนายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงานทั้ง 5 แห่ง ได้แก่ ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงานภาค 1 จังหวัดปทุมธานี ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงานภาค 2 จังหวัดระยอง ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงานภาค 3 จังหวัดเชียงใหม่ ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงานภาค 4 จังหวัดขอนแก่น และศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงานภาค 5 จังหวัดสงขลา ซึ่งดูแลครอบคลุมครบทุกภาคทั่วประเทศ โดยในปี 2564 มีลูกจ้าง/ผู้ประกันตนที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจากการทำงานจนสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพ มาเข้ารับบริการ จำนวน 1,251 คน ที่ผ่านมาทั้ง 5 ศูนย์นี้ ได้ทำหน้าที่ฟื้นฟูสมรรถภาพให้แก่ลูกจ้าง ผู้ประกันตนแบบองค์รวม ทั้งฟื้นฟูสภาพร่างกาย ปรับสภาพจิตใจ และฝึกอาชีพให้กับลูกจ้าง สำนักงานประกันสังคม ได้ขานรับนโยบายดังกล่าว โดยพัฒนาศักยภาพของศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงาน ให้มีความพร้อมในการให้บริการลูกจ้างและผู้ประกันตนแบบครบวงจร ทั้งในด้านบุคลากรมีนักสังคมสงเคราะห์คอยให้คำปรึกษา และนักกายภาพบำบัด

 

กระทรวงแรงงานนำเข้าแรงงานตาม MoU กลุ่มแรกเข้าไทย 1 ก.พ. นี้

รมว.แรงงาน เผย แรงงานกัมพูชา กว่า 2 ร้อยคน ที่เข้ามาทำงานตาม MoU เตรียมเข้าประเทศไทย เพื่อกักตัว ณ สถานที่กักกัน จ.สระแก้ว ก่อนนายจ้างในประเทศรับตัวไปทำงาน

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กระทรวงแรงงานรับข้อสั่งการ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงาน บริหารจัดการการทำงานของแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ ที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรควิด -19 และความต้องการแรงงานของนายจ้าง/สถานประกอบการภายในประเทศ  ซึ่งกระทรวงแรงงานได้เปิดให้นายจ้างยื่นคำร้องขอนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศ (Demand) ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 64 โดยมีนายจ้างที่มีความต้องการจ้างงานแรงงานต่างด้าว และมีความพร้อมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจัดหาสถานที่กักตัวมาดำเนินการแล้ว

“ล่าสุดมีการยื่นขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าว จากบัญชีรายชื่อคนต่างด้าว (Name List)  โดยนายจ้างที่มีความต้องการจ้างแรงงานสัญชาติกัมพูชา เพื่อทำงานในสถานประกอบการภายในจังหวัด ชลบุรี จำนวน 220 คน และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 6 คน รวม 226 คน โดยทั้งหมดจะทยอยเดินทางผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดสระแก้ว ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 และกักตัวในสถานที่กักกันรูปแบบเฉพาะองค์กร (Organization Quarantine) ในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว ณ อาคาร อินโดจีน Grand Residence ศูนย์ OQ บริษัท สุวรรณภูมิอินเตอร์เฮลท์เมด จำกัด โดยจะต้องกักตัวอย่างน้อย 7 วัน ตามมาตรการป้องกันและควบคุมโรคของกระทรวงสาธารณสุข  เนื่องจากแรงงานกลุ่มนี้ได้รับวัคซีน ครบ 2 เข็มจากประเทศต้นทาง และมีการซื้อกรมธรรม์ที่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพและรักษาพยาบาล ซึ่งคุ้มครองการรักษาโรคโควิด-19 เมื่อครบกำหนดจะให้นายจ้างรับคนต่างด้าวไปยังสถานประกอบการ  ในส่วนแรงงานข้ามชาติ สัญชาติเมียนมาและลาวยังอยู่ระหว่างการดำเนินการของประเทศต้นทาง ซึ่งเมื่อทุกอย่างเรียบร้อยตามขั้นตอนแล้ว  ทางการไทยจะอนุญาตให้นำเข้าแรงงานตามจำนวนสถานที่รองรับในการกักตัวเช่นเดียวกับกรณีแรงงานกัมพูชา” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าว

นายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า  สำหรับสถานที่กักตัวในรูปแบบเฉพาะองค์กร (Organization Quarantine) ศูนย์ OQ บริษัท สุวรรณภูมิอินเตอร์เฮลท์เมด จำกัด ตั้งอยู่ที่ 555/554 หมู่ที่ 7 ตำบล ป่าไร่ อำเภอ อรัญประเทศ จังหวัด สระแก้ว มีจำนวนห้องพัก 200 ห้อง สามารถรองรับผู้กักตัวสูงสุด 500 เตียง มีค่าใช้จ่ายในการกักตัว 7 วัน จำนวน 8,500 บาทต่อคน  มีรถของสถานกักตัวรับจากด่านมาที่พัก พร้อมบริการอาหาร 3 มื้อ ในส่วนคนต่างด้าวหากยังฉีดวัคซีนไม่ครบ กระทรวงแรงงานจะเป็นผู้จัดหาวัคซีน และฉีดให้ระหว่างการกักตัว 

“ขอฝากถึงนายจ้าง สถานประกอบการที่ต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวอย่างถูกกฎหมาย  กรมการจัดหางานมีกระบวนการนำแรงงานต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศตาม MoU อย่างเป็นระบบ รวมทั้งมาตรการใช้กำลังแรงงานที่มีอยู่ในประเทศเป็นลำดับแรก โดยมีการวางแผนให้ประเทศไทยมีแรงงานต่างด้าวในระบบการทำงานได้ถึงวันที่ 13 ก.พ. 66 ซึ่งคนต่างด้าวที่ได้รับผ่อนผันตามมติคณะรัฐมนตรีในวาระต่าง ๆ หากดำเนินการตามขั้นตอนภายในระยะเวลาที่กำหนด ก็จะสามารถอยู่ในราชอาณาจักรและทำงานในประเทศไทยได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ต้องหลบซ่อน มีสวัสดิการและสิทธิตามกฎหมายแรงงานไม่ต่างจากคนไทย” อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าว 
สำหรับขั้นตอนนำแรงงานต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศตาม MoU มีขั้นตอน ดังนี้
1.นายจ้างยื่นแบบคำร้องกับสำนักงานจัดหางานในพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ พร้อมด้วยเอกสารและหลักฐาน ได้แก่ แบบ นจ.2 หนังสือแต่งตั้ง สัญญาจ้างงาน และเอกสารนายจ้าง

2.การจัดส่งคำร้องความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว โดยกรมการจัดหางาน/สจจ. สจก. 1-10 มีหนังสือแจ้งความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวผ่านสถานเอกอัครราชทูตประเทศต้นทางประจำประเทศไทยไปยังประเทศต้นทาง

3. ประเทศต้นทางดำเนินการรับสมัคร คัดเลือก ทำสัญญา และจัดทำบัญชีรายชื่อคนงานต่างด้าว (Name List) ส่งให้กรมการจัดหางานผ่านสถานเอกอัครราชทูตประเทศต้นทางประจำประเทศไทย และกรมการจัดหางานส่งให้นายจ้าง

4. นายจ้างที่ได้รับบัญชีรายชื่อคนต่างด้าว (Name List) แล้วยื่นคำขอรับใบอนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าว พร้อมด้วยเอกสารที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

    4.1 บัญชีรายชื่อคนต่างด้าวที่ประเทศต้นทางรับรอง

    4.2 แบบ บต.31 หรือ บต.33 พร้อมเอกสารและหลักฐาน

    4.3 หลักฐานการได้รับวัคซีนโควิด-19 หรือใบรับรองแสดงประวัติการเคยติดเชื้อมาก่อนในช่วงไม่เกิน 3 เดือน

    4.4 หนังสือยืนยันการรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องในการกักตัว ได้แก่ ค่าสถานที่กักกัน ค่าตรวจโรคโควิด-19 ค่าบริการทางการแพทย์ ค่ารักษากรณีติดเชื้อโควิด-19 รวมถึงกรณีป่วยฉุกเฉินหรือโรคอื่นระหว่างกักตัว/กรมธรรม์ที่คุ้มครองการรักษาโรคโควิด -19

    4.5 หลักฐานยืนยันว่ามีสถานที่กักตัวตามที่ราชการกำหนด

    4.6 หลักฐานที่ยืนยันว่ามียานพาหนะเพื่อรับคนต่างด้าวไปยังสถานที่กักตัว

    4.7 กรณีเข้าประกันสังคมซื้อประกันสุขภาพกับบริษัทประกันภัย 4 เดือน

    4.8 กรณีเข้าประกันสังคม นายจ้างแจ้งขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตน

     - ชำระค่าคำขอและค่าใบอนุญาตทำงาน (2 ปี) 1,900 บาท

    - วางเงินประกัน (กรณีนายจ้างดำเนินการด้วยตนเอง) หลักประกัน 1,000 บาท/คนต่างด้าว 1 คน

5. กรมการจัดหางานมีหนังสือถึงสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ ประเทศต้นทางของคนต่างด้าวเพื่อพิจารณาออกวีซ่า (Non - Immigrant L-A) ให้แก่คนต่างด้าวตามบัญชีรายชื่อ และหนังสือแจ้งสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเพื่ออนุญาตให้คนต่างด้าวเดินทางเข้าประเทศผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองตามที่นายจ้างได้แจ้งไว้ โดยจะอนุญาตให้นำเข้าตามจำนวนสถานที่รองรับในการกักตัว

6. เมื่อคนต่างด้าวเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรต้องแสดงหนังสือยืนยันการอนุญาตให้เข้ามาทำงาน ใบรับรองแพทย์ที่แสดงว่าไม่เป็นโรคโควิด-19 โดยวิธี RT-PCR และ ATK (ไม่เกิน 72 ชั่วโมงก่อนเดินทาง) หลักฐานการได้รับวัคซีนโควิด-19 หรือใบรับรองแสดงประวัติการเคยติดเชื้อในช่วงไม่เกิน 3 เดือน สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจะตรวจลงตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร เป็นระยะเวลา 2 ปี จากนั้นจึงเดินทางไปยังสถานที่กักตัว โดยยานพาหนะที่นายจ้างแจ้งไว้ (ไม่เดินทางร่วมกับบุคคลอื่น และหยุดพัก ณ สถานที่ใดๆ ก่อนถึงสถานที่กักกัน

'กระทรวงแรงงาน' เตือน 'แรงงานไทย' อย่างหลงเชื่อนายหน้าเถื่อนแอบอ้างพาทำงานซาอุฯ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน สั่งการ กรมการจัดหางาน แนะวิธีเดินทางทำงานต่างประเทศถูกกฎหมาย หลังนายหน้าเถื่อน ระบาดเหนือ – อีสาน หลอกคนหางาน

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า จากการร่วมคณะกับท่านนายกรัฐมนตรี เดินทางเยือนซาอุดีอาระเบีย และได้มีการเจรจาหารือ เพื่อเปิดโอกาสให้แรงงานไทยได้เดินทางไปทำงาน ซึ่งทางการของซาอุดีอาระเบียให้การตอบรับเป็นอย่างดี โดยที่ซาอุดีอาระเบียมีความต้องการแรงงานจากต่างชาติเข้าไปทำงานถึง 8 ล้านคน

ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาข้อตกลงความร่วมมือด้านการจัดส่งแรงงาน ในส่วนของประเทศไทย กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน มีการพิจารณาร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ กองคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย สำนักประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ หากได้ข้อสรุปก็จะมีการลงนามระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนาสังคม แห่งซาอุดีอาระเบีย โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์

“การดำเนินการเพื่อให้เกิดการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานซาอุดีอาระเบีย เป็นเรื่องที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงานให้ความสำคัญมาก เพราะถือเป็นข่าวดีสำหรับประเทศไทย และแรงงานไทยจำนวนมากที่ต่างรอคอยการเดินทางไปทำงานที่ซาอุดีอาระเบีย ซึ่งทำให้มีกลุ่มมิจฉาชีพ ฉวยโอกาสหลอกลวงคนหางานว่าสามารถพาไปทำงานต่างประเทศได้ โดยกลุ่มมิจฉาชีพเหล่านี้กำลังระบาดมากแถบภาคเหนือและอีสาน ซึ่งล่าสุดได้สั่งการกรมการจัดหางานประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการหลอกลวงดังกล่าวในทุกช่องทาง”

นายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2565 ได้มอบหมาย  นายสันติ นันตสุวรรณ รองอธิบดีกรมการจัดหางาน ประชุมการเตรียมความพร้อมในการจัดส่งคนหางานไปทำงานที่ประเทศซาอุดีอาระเบีย และแนวทางป้องกันการหลอกลวง รวมถึงแลกเปลี่ยนข้อมูลเรื่องกลวิธีที่กลุ่มมิจฉาชีพใช้หลอกลวงประชาชนคนหางาน ร่วมกับกองทะเบียนจัดหางานกลางและคุ้มครองคนหางาน กองบริหารแรงานไทยไปต่างประเทศ สำนักงานจัดหางานจังหวัดภาคเหนือและสำนักงานจัดหางานจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือทุกจังหวัด

โดยเจ้าหน้าที่กรมการจัดหางาน จะลงพื้นที่ที่มีความเสี่ยงในการถูกหลอกลวงสูง เพื่อให้คำแนะนำ และชี้แจง ให้ความรู้กับประชาชนที่สนใจการไปทำงานต่างประเทศ และผู้นำท้องถิ่นให้มีความเข้าใจขั้นตอนการเดินทางไปทำงานต่างประเทศอย่างถูกต้อง ทราบถึงกลวิธีการหลอกลวงของกลุ่มผู้หลอกลวงคนหางาน โดยเป็นการสร้างแนวร่วมระหว่างชุมชนกับหน่วยราชการเพื่อทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ข้อมูลให้ แก่ประชาชนในพื้นที่ ตลอดจนสอดส่องดูแล แจ้งข้อมูล เบาะแส พฤติการณ์ของสาย / นายหน้าเถื่อน 

'รมว.สุชาติ' ลุยฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้ผู้ประกันตนมาตรา 33 ไปแล้วกว่า 3.7 ล้านโดส

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานประกันสังคม ได้เร่งฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับผู้ประกันตนมาตรา 33 ไปแล้วกว่า 3.7 ล้านโดส เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ลดการแพร่ระบาด และลดความรุนแรงของโรคให้กับพี่น้องผู้ประกันตน

นายสุชาติ กล่าวต่อไปว่า รัฐบาลโดยการนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงาน มีความห่วงใยพี่น้องผู้ประกันตน สั่งการให้กระทรวงแรงงานดูแลช่วยเหลือพี่น้องผู้ประกันตน ให้ปลอดภัยจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เสมือนคนในครอบครัว ซึ่งที่ผ่านมาตนได้มอบหมายให้สำนักงานประกันสังคมเร่งดำเนินการฉีดวัคซีนให้กับพี่น้องผู้ประกันตนอย่างทั่วถึง เพื่อลดการแพร่ระบาด ลดความรุนแรงของโรค และสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้กับพี่น้องผู้ประกันตน ซึ่งเป็นกำลังหลักสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอย่างต่อเนื่อง

โดยสำนักงานประกันสังคมได้เร่งฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับผู้ประกันตนมาตรา 33 ไปแล้ว 3,781,511 โดส แบ่งเป็น เข็ม 1 จำนวน 1,695,913 โดส เข็ม 2 จำนวน 1,597,846 โดส และเข็ม 3 จำนวน 487,752 โดส โดยรวมกระทรวงแรงงานได้ดำเนินการฉีดวัคซีนให้ผู้ประกันตนไปแล้วทั้งสิ้น ณ 10 กุมภาพันธ์ 2565 ไปแล้วทั้งสิ้น 3,781,511 ล้านโดส

ด้านตัวแทนผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่เข้ารับการฉีดวัคซีนกับสำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า ตนรู้สึกดีใจที่ภาครัฐให้ความสำคัญกับภาคแรงงาน จัดสรรวัคซีนเพื่อป้องกันโควิด-19 ให้กับลูกจ้างพนักงาน ทำให้พนักงานมีความมั่นใจในการประกอบอาชีพ มาทำงานอย่างมีความสุข ปลอดภัยจากโรคโควิด – 19 พร้อมทั้งขอขอบคุณรัฐบาล กระทรวงแรงงาน สำนักงานประกันสังคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ใส่ใจดูแลให้ได้รับวัคซีนอย่างทั่วถึง

'รมว.เฮ้ง' ชวนแรงงานนอกระบบฝึกอาชีพเสริม พร้อมรับเครื่องมือทำกิน แก้ปัญหาความยากจน ตามนโยบายลุงตู่

กระทรวงแรงงาน จัดกิจกรรม เพิ่มอาชีพ เพิ่มรายได้ แก่ผู้ต้องการประกอบอาชีพอิสระและประชาชนทั่วไป จำนวน 2 พันคน แนะผู้สนใจติดต่อสำนักงานจัดหางานจังหวัดใกล้บ้าน 

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กระทรวงแรงงาน โดยกรมการจัดหางาน มีกิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการประกอบอาชีพอิสระ แก่ผู้ที่มีเวลาว่าง ผู้ว่างงาน หรือผู้ที่ต้องการหารายได้เสริม ผ่านกิจกรรมเพิ่มอาชีพ เพิ่มรายได้ ที่มีการจัดขึ้นทุกจังหวัดทั่วประเทศ โดยในปีงบประมาณ 2565 มีเป้าหมายทั้งปี 100 รุ่น รวมทั้งสิ้น 2,000 คน เพื่อเพิ่มโอกาสมีอาชีพ มีรายได้ มีงานทำในช่วงสถานการณ์โควิด -19  ซึ่งเมื่อจบหลักสูตรจะได้รับวัสดุอุปกรณ์ เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพหลักหรืออาชีพเสริมหรือต่อยอดพัฒนารูปแบบของสินค้าและผลิตภัณฑ์ต่อไป

โดยอาชีพที่ได้รับความสนใจจากผู้อบรมได้แก่ การทำขนมไทย การทำน้ำยาล้างจาน น้ำยาซักผ้า น้ำยาปรับผ้านุ่ม การทำหมูสวรรค์ การทำจักสานตะกร้าพลาสติก การทำเบเกอรี่ การทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ การทำปาท่องโก๋ เค้กหน้านิ่ม และชิฟฟ่อน ซึ่งผลการดำเนินการปีงบประมาณ 2564 ที่ผ่านมามีผู้ฝึกอบรม จำนวน 2,408 คน สร้างรายได้ 10,113,640 บาท

“พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายก รัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงาน ห่วงใยแรงงานไทยที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 แรงงานนอกระบบ ผู้ว่างงาน  และผู้ที่ต้องการหารายได้เสริมเพื่อนำไปใช้จ่ายในครัวเรือน ได้กำชับกระทรวงแรงงานดูแลแรงงานทั้งในระบบ และนอกระบบเท่าเทียม ทั่วถึง ให้มีทางเลือก มีโอกาสและช่องทางทำกิน  โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าว

ด้านนายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า กรมการจัดหางานมีภารกิจในการส่งเสริมและให้บริการแนะนำการประกอบอาชีพอิสระ รวมถึงการจัดสาธิตและฝึกปฏิบัติอาชีพอิสระ โดยมีการจัดวิทยากรให้ความรู้ด้านการประกอบการ อาทิ การบริหารจัดการ การทำบัญชีเบื้องต้น การตลาด การคิดต้นทุนการผลิต กำไรขาดทุน เป็นต้น

'ก.แรงงาน' ผนึกกำลัง 'ซีพีเอฟ' ลงนามความร่วมมือยกระดับมาตรฐานแรงงานไทยในสถานประกอบการ

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้ นายสุเทพ ชิตยวงษ์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เรื่อง “การยกระดับมาตรฐานแรงงานไทย เพื่อก้าวไปอย่างยั่งยืน” ระหว่างกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กับบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ โดยมี นายนิยม สองแก้ว อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหารบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงแรงงาน เข้าร่วมด้วย ณ ห้องประชุมจอมพล ป. พิบูลสงคราม ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน

นายสุเทพ กล่าวว่า รัฐบาลภายใต้การนำของท่านพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และท่าน พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงานได้ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการแรงงานอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม และสอดคล้องกับมาตรฐานแรงงานตามหลักสากล ซึ่งปัจจุบันเป็นยุคของการเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุน และมีการนำมาตรฐานแรงงานมาเชื่อมโยงกับการค้า เพื่อกระตุ้นให้เกิดการคุ้มครองสิทธิแรงงานและสิทธิมนุษยชน ซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานให้ดีขึ้นสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่กำหนดเป้าหมายให้ประเทศไทยมีขีดความสามารถ ในการแข่งขันที่สูงขึ้น รองรับการพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน 

นายสุเทพ กล่าวต่อว่า วัตถุประสงค์การลงนามบันทึกข้อตกลงในครั้งนี้ เป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันระหว่างทั้งสองหน่วยงานโดยเฉพาะเครือเจริญโภคภัณฑ์ฯ ถือเป็นผู้ประกอบธุรกิจกุ้งแบบครบวงจรในประเทศไทย เป็นการส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาสถานประกอบกิจการ และห่วงโซ่อุปทานตลอดสายการผลิต เพื่อให้การดำเนินธุรกิจมีความรับผิดชอบทางสังคมด้านแรงงาน โดยปฏิบัติสอดคล้องกับข้อกำหนดมาตรฐานแรงงานไทย ส่งผลให้มีกลุ่มธุรกิจเข้าสู่ระบบมาตรฐานแรงงานไทยเพิ่มมากขึ้น นำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงาน สินค้าบริการได้รับการยอมรับจากลูกค้าว่าผลิตสินค้าได้อย่างมีจริยธรรมและปราศจากการค้ามนุษย์ 

ทั้งนี้ สาระสำคัญของการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฯ ก็เพื่อที่จะให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานและ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ผู้ประกอบธุรกิจกุ้งครบวงจร เขตประเทศไทย และสถานประกอบกิจการในห่วงโซ่อุปทาน ได้ประสานความร่วมมือรณรงค์ส่งเสริม ตระหนักและเห็นความสำคัญของความรับผิดชอบต่อสังคมด้านแรงงาน และนำมาตรฐานแรงงานไทยมาปฏิบัติ เพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้า ตลอดจนความร่วมมือในการพัฒนาระบบมาตรฐานแรงงานไทยและนำมาใช้บริหารจัดการแรงงานในสถานประกอบกิจการอย่างมีความรับผิดชอบทางสังคม และส่งเสริมให้สถานประกอบกิจการในห่วงโซ่อุปทานของบริษัทฯ เข้าสู่ระบบมาตรฐานแรงงานไทย


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top