Saturday, 27 April 2024
EDUCATION NEWS

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา จับมือ สมุทรสาคร เดินหน้า "ศูนย์ช่วยเหลือเด็กและเยาวชนในภาวะวิกฤติการศึกษาหรือ Smart Refer" รับมือวิกฤตการเรียนรู้ถดถอย-หลุดนอกระบบ พัฒนาสู่สมุทรสาครโมเดล

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา จับมือ สมุทรสาคร เดินหน้า "ศูนย์ช่วยเหลือเด็กและเยาวชนในภาวะวิกฤติการศึกษาหรือ Smart Refer" รับมือวิกฤตการเรียนรู้ถดถอย-หลุดนอกระบบ พัฒนาสู่สมุทรสาครโมเดล

นายธีรพัฒน์ คัชมาตย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร กล่าวถึงสถานการณ์การปิดเรียนของจังหวัดว่า สมุทรสาครยังคงเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด แม้ว่าสถานการณ์การระบาดจะดีขึ้นตามลำดับ แต่ยังคงต้องประเมินรายวัน จึงจำเป็นต้องปิดโรงเรียนมาตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2563 และให้มีการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ โดยมอบหมายศึกษานิเทศคอยติดตามประเมินว่าการเรียนออนไลน์ได้ผลมากน้อยอย่างไร

อย่างไรก็ตามพบว่ามีเด็กบางกลุ่มที่เข้าไม่ถึงอุปกรณ์เทคโนโลยี ซึ่งได้แจ้งให้ศึกษาธิการจังหวัด เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและมัธยมศึกษา หากพบว่ามีเด็กคนใดต้องการเครื่องมืออุปกรณ์ เน้นเฉพาะรายที่ไม่มี ขาดแคลนจริงๆ เมื่อมีการร้องขอเข้ามา ทางจังหวัดยินดีที่จะดำเนินการอย่างเต็มที่เพื่อดูแลเด็กและเยาวชนในจังหวัดสมุทรสาครของเรา

นายธีรพัฒน์ กล่าวว่า “การจัดการเรื่องนี้ ต้องพิจารณาหลาย ๆ ส่วนร่วมกันทั้ง ด้านสาธารณสุข เศรษฐกิจ และเรื่องการศึกษา ก็เป็นส่วนสำคัญ ต้องทำ ๆ ทุกอย่างในเวลาเดียวกัน เพื่อไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำ ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ตอนนี้บุคลากรทางการศึกษาทั้งหมดรับทราบสถานการณ์ แต่ยังมีความจำเป็นไม่ให้เด็กเจอกัน เกรงว่าปัญหาการระบาดจะเกิดขึ้น ทางจังหวัดสมุทรสาครได้เตรียมประชุมร่วมกันกับหน่วยงานทางการศึกษาทั้งหมดเพื่อรับทราบข้อมูล และลงทำงานในพื้นที่เพื่อให้ครอบคลุมถึงเด็กทุกคน”

“เป็นเรื่องที่ดีที่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ได้เข้ามาร่วมช่วยกับจังหวัดสมุทรสาคร ฉะนั้นเด็กนักเรียนยากจนพิเศษก็จะได้รับการดูแลจากจังหวัด และจากความร่วมมือจาก กสศ. ต้องขอขอบคุณ กสศ. ที่เข้ามาช่วยจังหวัดสมุทรสาคร และทุกฝ่ายที่ให้ความสนใจเรื่องการศึกษาในจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งช่วยให้สามารถชดเชยสิ่งที่ขาดหายไปสำหรับกลุ่มเด็กด้อยโอกาส ให้ได้มีสิทธิและความเท่าเทียมกับเด็กคนอื่น ๆ เพราะอย่างไรก็ตามพวกเขาคือต้นกล้าต้นหนึ่งในการพัฒนาประเทศ ”

ด้าน นพ.สุภกร บัวสาย ผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา กล่าวว่า จากการประเมินผลกระทบการปิดโรงเรียนที่ยาวนานในจังหวัดสมุทรสาคร พบว่า กลุ่มเด็กนักเรียนยากจนด้อยโอกาสกำลังเผชิญวิกฤตทางการศึกษา 2 ด้าน คือ

1.) การไม่สามารถเข้าถึงการศึกษาในช่วงล็อคดาวน์เพราะขาดอุปกรณ์จึงส่งผลให้เกิดภาวะความรู้ถดถอย (learning loss) และ

2.) มีแนวโน้มที่เด็กและเยาวชนยากจนด้อยโอกาสเสี่ยงหลุดออกนอกระบบการศึกษาเพิ่มขึ้น

เนื่องจากผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคโควิด-19 เพื่อบรรเทาปัญหาดังกล่าว กสศ.ได้ประสานจังหวัดสมุทรสาคร เพื่อนำกลไกศูนย์ช่วยเหลือเด็กและเยาวชนในภาวะวิกฤตทางการศึกษาหรือ smart refer ซึ่งเป็นการบูรณาการความร่วมมือหน่วยงานต่าง ๆ ที่อยู่ในคณะกรรมการบริหารกสศ. เช่น กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข เข้ามาสนับสนุนการช่วยเหลือเด็กยากจนด้อยโอกาสที่ประสบกับภาวะวิกฤติทางการศึกษา โดยการทำงานจะแบ่งเป็น 2 ระยะ

1.) ระยะวิกฤต ประคับประคองเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้า ให้ได้รับการช่วยเหลือตามสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมทันสถานการณ์ และ

2.) ระยะฟื้นฟู จัดทำโปรแกรมการช่วยเหลือดูแลรายคนให้สามารถกลับเข้าสู่ภาวะวิถีปกติทางการศึกษาหรือได้รับการศึกษาตามสภาพปัญหาของแต่ละคนต่อไป

ทั้งนี้สามารถแจ้งความช่วยเหลือได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 079 5475 ต่อ 8

การที่กสศ.ริเริ่มศูนย์ smart refer นี้ขึ้น เพื่อปิดช่องว่างไม่ให้เด็กที่อยู่ในภาวะวิกฤตทางการศึกษาคนใดตกหล่น ในสถานการณ์ที่ยากลำบากนี้ โดยเริ่มต้นที่จังหวัดสมุทรสาครเป็นพื้นที่แรก เพื่อพัฒนาให้เป็นสมุทรสาครโมเดล ก่อนขยายการทำงานต่อไป


ที่มา: https://www.komchadluek.net/news/government-of-thailand/458223

ประกาศโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม เรื่อง การปิดที่ทำการชั่วคราวเนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อโรค COVID-19

ประกาศโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม เรื่อง การปิดที่ทำการชั่วคราวเนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อโรค COVID-19

ม.เกษตรศาสตร์ ทุ่มงบกว่า 300 ล้านบาท ให้ความช่วยเหลือนิสิตอย่างต่อเนื่อง ลดหย่อนค่าธรรมเนียมการศึกษา มอบทุน จัดระบบให้บริการสนับสนุนการเรียนการสอนและการสอบออนไลน์ ออกมาตรการยกเว้นและลดหย่อนค่าหอพักแก่นิสิต ทุกวิทยาเขต

ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีความห่วงใยและคำนึงถึงความปลอดภัยของนิสิตและบุคลากรในสถานการณ์ที่ยังมีการแพร่ระบาดระลอกใหม่ของโควิด-19 แม้ว่าขณะนี้ในภาพรวมของประเทศ ได้มีนโยบายผ่อนคลายมาตรการและแนวทางการปฏิบัติต่าง ๆ แล้วก็ตาม

มหาวิทยาลัยตระหนักถึงปัญหาความเดือดร้อนของนิสิต อาจารย์ บุคลากรและผู้ปกครองในช่วงสถานการณ์โควิด-19 โดยกำหนดมาตรการให้ความช่วยเหลือนิสิตและผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าว ตั้งแต่เดือนเมษายน 2563 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งประกอบด้วย 2 มาตรการหลัก ดังนี้

มาตรการที่หนึ่ง การลดหย่อนค่าธรรมเนียมการศึกษา และให้ทุนการศึกษา ในภาคฤดูร้อน ภาคต้น และภาคปลาย ปีการศึกษา 2563 รวมเป็นเงินจำนวน 237,331,307.30 บาท ได้แก่ การลดหย่อนค่าธรรมเนียมการศึกษาร้อยละ 10 หรือมากกว่า ระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา ภาคฤดูร้อน และ ภาคต้น ปีการศึกษา 2563 เป็นเงิน 147,012,540 บาท ทุนช่วยเหลือนิสิตช่วงโควิด-19 ภาคปลาย ปีการศึกษา 2563 จำนวน 939 ทุน ทุนละ 10,000 บาท เป็นเงิน 9,390,000 บาท ทุนการศึกษา ทั้งภาคต้นและภาคปลาย ปีการศึกษา 2563 เช่น ทุนการศึกษาผ่านกองกิจการนิสิต ทุนการศึกษาโครงการเรียนล่วงหน้า ทุนการศึกษาจากสมาคมนิสิตเก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นเงิน 80,928767.30 บาท

มาตรการการที่สอง การจัดระบบให้บริการสนับสนุนการเรียนการสอนและการสอบออนไลน์ และปรับลดค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ในภาคต้นและภาคปลาย ปีการศึกษา 2563 แก่นิสิตและอาจารย์ รวมเป็นเงินจำนวน 23,079,638.40 บาท ได้แก่ สนับสนุนและจัดหาซิมการ์ดอินเทอร์เน็ต แก่นิสิตระดับปริญญาตรี จำนวน 2,000 คน เป็นเงิน 550,000 บาท จัดหา iPad ราคา education จำนวน 170 เครื่อง สนับสนุนและพัฒนาระบบการเรียนการสอนและการสอบออนไลน์ เช่น ระบบ KU Learn ,KU- LAM ปรับปรุงห้องเพื่อการสอบ Walk-in Exam เป็นเงิน 22,039,638.40 บาท ออกเอกสารรับรองทางการศึกษาในรูปแบบดิจิทัล และพัฒนาระบบรับคำร้องออนไลน์ เป็นเงิน 490,000 บาท ยกเว้นค่าปรับและค่าธรรมเนียมที่มีเหตุผลจำเป็น เช่น การลงทะเบียนล่าช้า,การขยายเวลาผ่อนผันชำระเงินค่าธรรมเนียมการศึกษา จำนวน 1,446 คน

นอกจากนี้ มหาวิทยาลัย ยังได้ออกมาตรการยกเว้นและลดหย่อนค่าหอพักแก่นิสิต ทุกวิทยาเขต สำหรับบางเขน ในช่วงเดือน เมษายน–ธันวาคม 2563 มีจำนวน 1,690 คน เป็นเงิน 12,857,200 บาท และเร่งดำเนินการช่วยเหลือนิสิต บัณฑิต ผู้ปกครอง และ บุคคลทั่วไปที่ได้รับผลกระทบจาก โควิด -19 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนทางด้านเศรษฐกิจ โดยการจ้างงาน ให้ทำงาน ในส่วนงานต่างๆ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระยะที่ 1-2 ในช่วงเดือน มิถุนายน - กันยายน 2563 จำนวน 592 อัตรา เป็นเงิน 16,299,000 บาท และระยะที่ 3 โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2563–ธันวาคม 2564 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ฯ ได้รับงบประมาณเพื่อจ้างงานสูงสุด 140 ตำบล 66 อำเภอ 27 จังหวัด 2800 อัตรา วงเงิน 487,620,000 บาท

"มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีความห่วงใยและพร้อมให้การช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่นิสิตและผู้ปกครองอย่างต่อเนื่อง และกำชับทุกหน่วยงานของมก.จัดระบบให้บริการและอำนวยความสะดวกในเรื่องการเรียนการสอน และการสอบออนไลน์อย่างเต็มที่ ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต หากนิสิตมีปัญหาต้องการคำแนะนำในด้านจิตวิทยา การปฏิสัมพันธ์ การใช้ชีวิตวิถีใหม่ฯ เรามี KU Happy Place หรือ หน่วยส่งเสริมสุขภาวะนิสิตและให้คำปรึกษา ตลอด 24 ชั่วโมง เราจะต้องปรับตัวและอยู่ร่วมกับสถานการณ์โควิด-19 นี้ให้ได้ ขอเป็นกำลังใจให้กับทุกคนร่วมกันผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปด้วยกันและใช้ชีวิตในวิถีปกติใหม่ให้เร็วที่สุด" ดร.จงรัก กล่าว


ที่มา: https://siamrath.co.th/n/219727


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top