Thursday, 28 March 2024
EDUCATION NEWS

วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ เป็นวันที่พระพุทธเจ้า ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน

วันวิสาขบูชา ๒๕๖๔ ตรงกับวันพุธที่ ๒๖ พฤษภาคม วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เป็นวันที่พระพุทธเจ้า ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน มาบรรจบกัน ในวันนี้พุทธศาสนิกชนจะไปทำบุญ ตักบาตร เวียนเทียนที่วัด

ความหมายของวันวิสาขบูชา

คำว่า วิสาขบูชา ย่อมาจากคำว่า "วิสาขปุรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ" ดังนั้น วิสาขบูชา จึงหมายถึง การบูชาในวันเพ็ญ เดือน ๖

การกำหนดวันวิสาขบูชา

วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนพฤษภาคม หรือมิถุนายน แต่ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองหน ก็เลื่อนไปเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ กลางเดือน ๗ หรือราวเดือนมิถุนายน

อย่างไรก็ตาม ในบางปีของบางประเทศอาจกำหนด วันวิสาขบูชา ไม่ตรงกับของไทย เนื่องด้วยประเทศเหล่านั้นอยู่ในตำแหน่งที่ต่างไปจากประเทศไทย ทำให้วัน-เวลาคลาดเคลื่อนไปตามเวลาของประเทศนั้น ๆ

ประวัติวันวิสาขบูชาและความสำคัญของ วันวิสาขบูชา

วันวิสาขบูชา ถือเป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่เกิด ๓ เหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวียนมาบรรจบกันในวันเพ็ญ เดือน ๖ แม้จะมีช่วงระยะเวลาห่างกันนับเป็นเวลาหลายสิบปี ซึ่งเหตุการณ์อัศจรรย์ ๓ ประการ ได้แก่...

๑. เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ

๒. เป็นวันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ   

๓. เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน (ดับสังขารไม่กลับมาเกิดสร้างชาติ สร้างภพอีกต่อไป)


ขอบคุณที่มา: https://hilight.kapook.com/view/23220
 

วันฉัตรมงคล ตรงกับวันที่ ๔ พฤษภาคม วันสำคัญอีกวันหนึ่งของไทย เป็นวันที่รำลึกถึงพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ ๑๐ แห่งราชวงศ์จักรี

ความหมายของวันฉัตรมงคล

วันฉัตรมงคล (อ่านว่า ฉัด-ตระ-มง-คล) มีความหมายตามพจนานุกรมว่า พระราชพิธี ฉลองพระเศวตฉัตร ทำในวันซึ่งตรงกับวันบรมราชาภิเษก

ความสำคัญของวันฉัตรมงคล

วันฉัตรมงคล เป็นวันที่รำลึกถึงพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ ๑๐ แห่งราชวงศ์จักรี และราชอาณาจักรไทย ของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ ต่อจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ และดำรงพระอิสริยยศเป็น “พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว”

ดังนั้น รัฐบาลไทยและพสกนิกร จึงได้น้อมเกล้าน้อมกระหม่อม จัดงานพระราชพิธีฉลองพระเศวตฉัตรหรือรัฐพิธีฉัตรมงคล หรืออาจเรียกว่าพระราชพิธีฉัตรมงคล ซึ่งกระทำในวันบรมราชาภิเษก ถวายเมื่อวันที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระปฐมบรมราชโองการในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกนั้นว่า “เราจะสืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไป”

ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา พสกนิกรชาวไทยจึงได้ถือเอาวันที่ ๔ พฤษภาคม ของทุกปี เป็นวันฉัตรมงคล เพื่อน้อมรำลึกถึงวันสำคัญนี้


ที่มา: https://hilight.kapook.com/view/188122

ประกาศโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา

ประกาศโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เรื่อง การรับรายงานตัวและมอบตัวนักเรียน ตามลำดับสำรอง ครั้งที่ 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2564 ประกาศ ณ วันที่ 30 เมษายน 2564

https://www.facebook.com/1418062688512699/posts/2900724780246475/?sfnsn=mo

สสวท. ประกาศรายชื่อนักเรียนที่ได้รับทุน พสวท. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ประจำปีการศึกษา 2564

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ประกาศผลการคัดเลือกผู้ได้รับทุนพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ทุน พสวท.) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ประจำปีการศึกษา 2564

https://drive.google.com/file/d/1e3o1NdaVjH4z9-dby5bP_UR-Uk1x5bHP/view?fbclid=IwAR1jXhaHOQPmrOzqwoTcVQ_coSjS3G5GtUkuMV0jglxtCmjy1Fb34jwyN0I
 

สทศ. ประกาศคะแนน O-NET ม.6 ปีการศึกษา 2563 แล้ว

สถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทศ. ประกาศผลคะแนน O-NET ม.6 ปีการศึกษา 2563 (#dek64) แล้ว

เข้าระบบสอบถามคะแนน O-NET รายบุคคล ที่

https://bit.ly/3aENH7v

- ปีการศึกษา เลือก 2563

- ระดับชั้น เลือก ม.6

- กรอกเลขประจำตัวประชาชน

สถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทศ. ประกาศผลสอบ GAT-PAT ปีการศึกษา 2564 แล้ว

2 ช่องทาง ประกาศผลคะแนน GAT/PAT ปีการศึกษา 2564

 

ช่องทางที่ 1 ระบบ GAT/PAT

1.) เข้าระบบ GAT/PAT ที่ http://www.gatpat.niets.or.th/GPS.Register.Web/Account/Login

2.) ไปที่เมนู ผลสอบ ของ การสอบ GAT/PAT

3.) ตรง การจัดสอบ เลือก การสอบ GAT/PAT ประจำปี 2564 (มีนาคม 2564)

 

ช่องทางที่ 2 ระบบ E-Score

เข้าระบบที่ http://escore.niets.or.th/escore/ เข้าระบบด้วย เลขประจำตัวประชาชน และ รหัสผ่านเดียวกับ ระบบ GAT/PAT

สพฐ.เลื่อนสอบเข้า ม.1 และ ม.4 ปีการศึกษา 2564 ส่วนเปิดเทอมยังไม่เลื่อน เตรียมการสอบของแต่ละโรงเรียนให้มีความพร้อม และคำนึงถึงมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19

น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รมว.ศึกษาธิการและนายสุภัทร จำปาทอง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ประชุมประเมินสถานการณ์การปิด-เปิดภาคเรียน ปีการศึกษา 2564 และการรับนักเรียนในสังกัดสพฐ. ภายใต้สถานการณ์การระบาดโควิด-19


โดยมีมติ ให้ประกาศเลื่อนการสอบเข้าเรียน

-ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จากเดิม วันที่ 1 พ.ค.64 เป็นวันที่ 8 พ.ค.64 และ ประกาศผลวันที่ 11 พ.ค.64 แล้วจึงรายงานตัวและมอบตัววันที่ 12 พ.ค.64

-ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากเดิมวันที่ 2 พ.ค.64 เป็นวันที่ 9 พ.ค.64 จากนั้นประกาศผลวันที่ 12 พ.ค.64 แล้วจึงรายงานตัวและมอบตัววันที่ 13 พ.ค.64

ทั้งนี้สพฐ. จะจัดเตรียมการสอบของแต่ละโรงเรียนให้มีความพร้อมและคำนึงถึงมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดอย่างเข้มข้น ส่วนผู้ที่ไม่ผ่านการคัดเลือกเข้าเรียน สามารถยื่นความจำนงให้จัดสรรที่เรียนได้ที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ในวันที่ 12-13 พ.ค.64 ต่อไป

ส่วนเรื่องการเปิดภาคเรียน ยังคงเป็นไปตามกำหนดเดิมคือวันที่ 17 พ.ค.64 แต่หากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ยังไม่ดีขึ้น อาจมีการเสนอเรื่องการเลื่อนเปิดภาคเรียนออกไป แต่จะต้องขึ้นอยู่กับ ศบค.เป็นผู้พิจารณาอีกครั้ง


ที่มา: https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1/145976?utm_campaign=%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%9A&utm_source=line&utm_medium=oa

SkillLane บริษัท Online Learning Platform และ Digital Training Platform คว้าอันดับหนึ่งบริษัทที่เติบโตเร็วที่สุดในธุรกิจการศึกษา และ ติดอันดับ 36 ของบริษัทที่มีการเติบโตสูงสุดในเอเชียแปซิฟิก ปี 2021

นายฐิติพงศ์ พิสิฐวุฒินันท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง SkillLane กล่าวว่า SkillLane ได้รับการจัดอันดับเป็นหนึ่งในรายชื่อ 500 บริษัทที่มีอัตราการเติบโตสูงสุดของเอเชียแปซิฟิกปี 2021 โดยสื่อระดับโลก Financial Times และ Nikkei Asia จากอัตราการเติบโตของรายได้เฉลี่ยต่อปี (CAGR) ที่แข็งแกร่งของเราในช่วงปี 2016-2019 ที่สูงกว่า 100% โดย SkillLane ติดอันดับ 36 ของบริษัทที่มีการเติบโตสูงสุดในเอเชียแปซิฟิก และอันดับหนึ่ของงบริษัทที่เติบโตเร็วที่สุดในธุรกิจการศึกษา

การระบาดของโรคโควิด-19 เป็นเสมือนตัวเร่งการเจริญเติบโตของธุรกิจออนไลน์ ซึ่ง SkillLane มองว่า โมเดลธุรกิจใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในธุรกิจเทคโนโลยีด้านการศึกษา จะสอดคล้องเทรนด์การศึกษาหลักๆ ในโลกยุคใหม่ ได้แก่

1.) Lifelong Learning การเรียนรู้ไม่มีวันสิ้นสุด เพราะโลกเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และมีองค์ความรู้ใหม่ ๆ เกิดขึ้นทุกวัน

2.) On-Demand Learning ผู้คนในยุคปัจจุบันต้องการได้รับการตอบสนองทันที รวดเร็ว ในทุกเรื่อง ไม่มีเว้นแม้แต่การเรียนการศึกษา

และ 3.) Personalized Learning รูปแบบ วิธีการ หรือสไตล์ในการเรียนการสอนที่สามารถปรับแต่ง (Tailor Made) ให้ตอบโจทย์ สอดคล้องกับความชื่นชอบที่แตกต่างกันไปของแต่ละบุคคลได้


ที่มา: https://www.thansettakij.com/content/tech/476550

แผลเป็นที่คาดว่าการระบาดของโควิด-19 จะส่งผลกระทบที่ยาวนานและอาจถาวร คือแผลเป็นด้านการศึกษา โดยสามารถมองเป็นทั้งโอกาสและความท้าทาย ไปพร้อม ๆ กัน

หมายเหตุ – ดร.สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เสนอแนะการรับมือสถานการณ์ระบาดโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนการสอนในระบบการศึกษาหัวข้อ การจัดการ “แผลเป็นด้านการศึกษา” จากโควิด-19 เพื่อพลิกวิกฤตเป็นโอกาส

มีการกล่าวกันมากว่าการระบาดของโควิด-19 จะก่อให้เกิด “แผลเป็น” ด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นการตอกย้ำแนวโน้มการตกงานของกลุ่มแรงงานที่ก้าวไม่ทันการเปลี่ยนแปลงของโลก (ซึ่งสำหรับประเทศไทยอาจมีเกือบประมาณ 40% ของแรงงานทั้งหมด) ผลกระทบต่อกลุ่มเปราะบาง เช่น ครอบครัวที่มีคนแก่ คนพิการ เด็กเล็ก ยากจน ถูกผลกระทบแรงกว่ากลุ่มอื่นและมีต้นทุนในการปรับตัวเพื่อรับแรงกระแทกน้อยกว่า จนทำให้ฐานะทางเศรษฐกิจและต้นทุนสังคมถูกกัดกร่อนและร่อยหรอจนอาจยากจะฟื้นตัว แต่ละแผลเป็นมีเรื่องให้ต้องขบคิดกันมากว่าจะทำอย่างไรในการป้องกันหรือให้ความช่วยเหลือคนเหล่านั้นได้บ้าง

อีกหนึ่งแผลเป็นที่คาดว่าการระบาดของโควิด-19 จะส่งผลกระทบที่ยาวนานและอาจถาวร คือแผลเป็นด้านการศึกษา โดยจะมองเป็นทั้งความท้าทายและโอกาสไปพร้อม ๆ กัน

ความท้าทายมีหลายประการ อย่างที่ทราบกันดีว่าการปิดโรงเรียนและการเรียนออนไลน์ในช่วงที่มีการระบาดก่อให้เกิดผลกระทบต่อนักเรียน ผู้ปกครอง ครู และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่น ๆ อย่างมาก นักเรียนจำนวนมากเรียนรู้จากการเรียนออนไลน์ได้อย่างจำกัดมาก ไม่ว่าจะเป็นเพราะขาดอุปกรณ์ ขาดสัญญาณอินเตอร์เน็ต ขาดผู้ปกครองที่มีเวลาช่วยแนะนำและกำกับการเรียน ขาดสมาธิ

ปัญหาเหล่านี้ยิ่งหนักขึ้นถ้าเป็นนักเรียนยากจน ซึ่งอาจมีเรื่องอื่นเพิ่มเติม เช่น ช่วงเรียนออนไลน์ไม่อยากเปิดวิดีโอเพราะอายสภาพบ้าน ทำให้ปฏิสัมพันธ์ยิ่งน้อยลง และถ้าเด็กยิ่งอายุน้อยก็ยิ่งมีโอกาสเรียนรู้ได้น้อย (มีงานวิจัยหนึ่งระบุว่าเด็กอนุบาล 3 ของไทยเรียนรู้น้อยลงคิดเป็นประมาณ 4-5 เดือน) ผู้ปกครองเองก็จัดเวลายาก เพราะต้องทำงานไปด้วย ดูแลลูกหลานที่เรียนที่บ้านไปด้วย ครูเองก็ต้องปรับตัวมากในการสอนออนไลน์ บางคนปรับตัวไม่ได้ก็ทำให้ประสิทธิภาพการสอนหย่อนลง

แนวทางการลดผลกระทบก็มีการพูดถึงกันบ้างแล้วไม่ว่าการสลับวันเรียน การลดขนาดห้อง การปรับหลักสูตร นอกจากนี้ ยังมีแนวทางอื่นที่มีการทำในต่างประเทศ เช่น ประเทศอังกฤษมีการตั้งกองทุนชื่อว่า Education catch-up initiatives เพื่อช่วยสอนเสริมและฟื้นฟูความรู้ให้กับนักเรียนที่เรียนรู้น้อยลงในช่วงออนไลน์ ในอเมริกามีโครงการคล้ายกันคือ Acceleration Academies, High Intensity Tutoring หรือมีการคิดค้นกระบวนการเรียนรู้ที่ง่าย ๆ ใช้อุปกรณ์ใกล้ตัวในชุมชน เช่น ในประเทศอินเดียเป็นต้น

ดังนั้น จะขอเน้นเรื่องการแปลงวิกฤตให้เป็นโอกาส ซึ่งก็สามารถทำได้หลายประการ กล่าวคือ

ประการแรก ควรใช้ประโยชน์ให้มากที่สุดจากกระแสดิจิทัลในกระบวนการเรียนรู้ (digital learning) ที่ถูกบังคับให้เกิดขึ้นอย่างเร่งด่วน เช่น ในกลุ่มครูและอาจารย์ มีการสร้างเครือข่ายเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และระดมสมองถึงวิธีการใหม่ๆ ในการสอนให้มีประสิทธิภาพภายใต้สภาพแวดล้อมใหม่ เช่น การใช้การสอนแบบ multi-mode คือไม่ใช่ online หรือ offline อย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ผสมผสานกัน ควรมีนโยบายส่งเสริมการสร้างเครือข่ายเช่นนี้ให้มีความกว้างขวางยิ่งขึ้น

หรือในกลุ่มผู้ปกครองก็ควรใช้ประโยชน์จากความรู้ความเข้าใจถึงแนวทางในการกระตุ้นการเรียนรู้ของลูกหลานในระหว่างที่ทำหน้าที่กำกับและสนับสนุนการเรียนที่บ้าน แล้วทำการขยายความเข้าใจนี้ไปสู่กลุ่มผู้ปกครองด้วยกัน กลุ่มครูและอาจารย์ รวมถึงการถ่ายทอดสู่วงกว้างด้วย

นอกจากนั้น ยังอาจต่อยอดแนวโน้มเดิมที่เกิดก่อนการระบาดของโควิด เช่น การเปิดคอร์สเรียนออนไลน์แบบ MOOC (Massive Online Open Course) ที่เริ่มในต่างประเทศและได้แพร่กระจายเข้ามาในประเทศไทยโดยมหาวิทยาลัยหลายแห่ง ปัจจุบันมีการจัดตั้ง Platform รวม ชื่อ Thai MOOC (Thailand Massive Online Open Course) และ Thailand Cyber University ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้เรียนทุกระดับการศึกษา ทุกอายุ และทุกอาชีพ โดยในช่วงโควิดมีผู้เรียนต่อวันเพิ่มขึ้นเกือบ 60% และมีเนื้อหาวิชาเกือบ 500 วิชา ผู้เรียนสามารถได้รับประกาศนียบัตรคุณวุฒิ หรือกระทั่งโอนหน่วยกิตเพื่อไปรับปริญญาได้

สิ่งที่ควรปรับปรุงในเรื่องนี้ ควรเป็นเรื่องการทำให้แน่ใจว่าหลักสูตรและเนื้อหาที่สอนตรงกับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงเร็วของตลาดแรงงาน ซึ่งการสอนแบบ MOOC มีจุดเด่นในเรื่องความยืดหยุ่นของเนื้อหาได้อยู่แล้วจึงควรใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่นอกจากนี้ เนื่องจากเป็นการสอนที่ไม่จำกัดวุฒิการศึกษาและอายุของผู้เรียน จึงอยากให้มีการคิดนอกกรอบในเรื่องเนื้อหาด้วย

เช่น อาจเป็นเนื้อหาที่เหมาะกับแรงงานที่กำลังจะถูกทอดทิ้งจากตลาดแรงงาน เช่นผู้ที่สูงวัยกว่า 40 ปี และมีการศึกษาไม่เกินประถมหรือมัธยมต้น MOOC ควรใช้ความยืดหยุ่นของเนื้อหาสร้างทักษะให้คนกลุ่มนี้ด้วย โดยอาจไม่ใช่ทักษะที่ไม่มีมูลค่าตลาดก็ได้ เช่น การดูแลเด็กเล็ก การดูแลผู้สูงวัย การรักษาสภาพแวดล้อม เป็นต้น

ประการที่สอง กระทรวงศึกษาธิการควรปฏิรูปแนวทางการวัดผลการเรียนให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ในภาวการณ์ใหม่ โดยถือโอกาสนี้ปรับปรุงระบบ KPI ที่ล้าสมัยและไม่เชื่อมโยงกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไปพร้อมกัน

ประการที่สาม ควรยกระดับการใช้กลไกชุมชนในกระบวนการเรียนรู้ เช่น การสร้าง “อาสาสมัครการศึกษา” ที่ทำหน้าที่คล้ายอาสาสมัครสาธารณสุข คือ มีในทุกหมู่บ้าน เรื่องนี้มีการทำบ้างแล้วในการระบาดรอบแรก เช่น จ.ราชบุรี ซึ่งสนับสนุนโดยกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา จึงควรขยายให้กว้างขวางขึ้น รวมทั้งการระดมคนในชุมชนให้ช่วยสร้างอุปกรณ์การเรียนรู้ด้วยตัวเอง

ประการที่สี่ จากข้อเสนอแนะต่าง ๆ ข้างต้นผสมผสานกัน น่าจะก่อให้เกิดบริบทของการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตได้ด้วย โดยเป็นการร่วมมือกันของภาคีต่างๆ และนำนวัตกรรมต่างๆ ที่ค้นพบและทดลองใช้ในช่วงนี้มาเป็นบทเรียน และอยากให้มีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายเพิ่มเติมเป็นกลุ่มแรงงานที่จะถูกทิ้งไว้ข้างหลัง เช่น ผู้สูงวัยเกิน 40 ปี และมีการศึกษาไม่เกินมัธยมต้นที่กล่าวถึงข้างต้น

ข้างต้นเป็นเพียงส่วนหนึ่ง ยังมีเรื่องใหม่ ๆ อีกหลายประการที่เกิดขึ้นในกระบวนการศึกษาช่วงนี้ที่ควรเอามาสกัดเป็นบทเรียนและใช้ประโยชน์ในระยะยาวได้


ขอบคุณที่มา: https://www.matichon.co.th/politics/politics-in-depth/news_2676168

กระทรวงศึกษาธิการ ยืนยันใช้กำหนดเปิดเรียนวันที่ 17 พ.ค. 2564 ตามเดิม แต่หากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ยังไม่ดีขึ้น อาจเลื่อนเปิดวันที่ 1 มิ.ย. 2564 โดยจะพิจารณาเป็นพื้นที่ไปตามสถานการณ์

น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รมว.ศึกษาธิการ เรียกประชุมคณะผู้บริหาร รวมทั้ง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หารือ เพื่อประเมินสถานการณ์เปิด-ปิดภาคเรียน ปีการศึกษา 2564 เบื้องต้น เห็นตรงกันจะเปิดภาคเรียนในวันที่ 17 พ.ค.2564 นี้ ตามกำหนดการเดิม เพื่อไม่ให้กระทบกับการเรียนการสอนและการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ปกครอง

จากนั้นจะประเมินสถานการณ์เป็นระยะๆ ไป หากสถานการณ์ ยังไม่ดีขึ้นจะเลื่อนเปิดเรียนเป็นวันที่ 1 มิ.ย.2564 แทน แต่จะไม่สั่งปิดพร้อมกันทั่วประเทศ

ทั้งนี้ จะพิจารณาตามพื้นที่ความเสี่ยง และจัดรูปแบบการเรียนการสอน ให้เหมาะสมกับผู้เรียน และบริบทของแต่ละพื้นที่ โดยผู้เรียนเป็นคนเลือกเอง ว่าจะเรียนรูปแบบไหน เช่น ให้ครูส่งแบบฝึกหัดไปให้ทำที่บ้าน เรียนออนไลน์ ต้องไม่บังคับเด็กว่าจะเรียนแบบไหน เปิดโอกาสให้เด็กเลือกเอง

เช่นเดียวกับ การสอบเข้า ม.1 ยังใช้แผนสอบเดิมคือวันที่ 1 พ.ค.2564 ส่วนนักเรียนชั้น ม.4 สอบวันที่ 2 พ.ค.2564 ให้ดำเนินการสอบได้ตามปกติ แต่ต้องปฏิบัติตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข โดยกำหนดให้ห้องสอบและการรายงานตัวต้องไม่เกิน 50 คน หรือใช้สถานที่ของโรงเรียนอื่นที่ใกล้เคียงเป็นสนามสอบ เพื่อกระจายนักเรียนไปไม่ให้เกิดความแออัด โดยกระทรวงศึกษาธิการจะทำแผน เสนอให้ ศบค.พิจารณาตามความเหมาะ

ส่วนกรณี การสอบบรรจุครูที่เรียกตัวมาไม่ทัน อาจส่งผลให้โรงเรียนขาดครูในบางวิชาก็ให้ใช้บัญชีของครูที่มีอยู่แล้ว และให้ใช้แนวทางโรงเรียนพี่โรงเรียนน้อง และโรงเรียนที่มีความพร้อม เข้ามาช่วยเหลือกัน หากโรงเรียนใดยังมีปัญหาอยู่ ให้แจ้งมาที่ส่วนกลางเพื่อเข้าไปสนับสนุน

สำหรับ การหารือครั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการยังได้เปิดรับฟังข้อเสนอจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานเข้ามามีส่วนร่วมตัดสินใจ

ด้าน นายเกรียงไกร จงเจริญ ผู้อำนวยการสำนักการศึกษา กทม. ระบุว่า ต้องรอประเมินสถานการณ์จำนวนผู้ติดเชื้อในพื้นที่ กทม.ในช่วง 2 สัปดาห์นี้ก่อน จึงจะตัดสินใจได้ว่า จะเลื่อนเปิดเรียนหรือไม่ จากเดิมกำหนดเปิดเรียนในวันที่ 17 พ.ค.2564 โดยจะประชุมวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์กับผู้อำนวยการโรงเรียนทั้ง 437 แห่ง ประมาณต้นเดือน พ.ค.นี้ แต่จะประเมินให้สอดคล้องกับกระทรวงศึกษาธิการด้วย

อย่างไรก็ตาม หากจำเป็นต้องปิดภาคเรียนต่อไป สำนักการศึกษาได้เตรียมจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานไว้ 4 รูปแบบ คือ

1.) การสลับชั้นมาเรียนของนักเรียนแบบสลับวันเรียน

2.) การสลับชั้นมาเรียนของนักเรียนแบบสลับวันคู่ วันคี่

3.) การสลับช่วงเวลามาเรียนของนักเรียนแบบเรียนทุกวัน

4.) การสลับกลุ่มนักเรียนแบบแบ่งนักเรียนในห้องเป็น 2 กลุ่ม

โดยแต่ละรูปแบบจะมีความเหมาะสมกับขนาดโรงเรียน และพื้นที่ที่แตกต่างกัน ควบคู่กับมาตรการด้านสาธารณสุข

นอกจากนี้ ก่อนเปิดเรียนจะให้ทางโรงเรียนประเมินความเสี่ยงของผู้ปกครองผ่านแบบคัดกรองประเมินความเสี่ยงของ กทม.หากมีความเสี่ยงก็จะขอความร่วมมือให้หยุดเรียนไปก่อน และให้ครูประจำชั้นจัดการเรียนการสอนผ่านไลน์ให้กับนักเรียนแทน

ด้าน นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาฯ กพฐ.) กล่าวว่า ขณะนี้ สพฐ.เตรียมความพร้อมเรื่องการเรียนการสอนออนไลน์ เพื่อรองรับสถานการณ์ที่ยังไม่ดีขึ้น เนื่องจาก รมว.ศธ.กำชับเรื่องการเรียนการสอนออนไลน์ต้องทำให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งที่ผ่านมาเรามีทางเลือกให้เด็กเรียนอย่างหลากหลายทั้งรูปแบบ Online Onsite และ Onhand ดังนั้น ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนได้ตามความถนัด หรือ จะเลือกเรียนแบบผสมผสานก็ได้ ซึ่ง สพฐ.ต้องเตรียมความพร้อมในทุกมิติไม่ว่าสถานการณ์โควิดจะเป็นอย่างไรเด็กต้องได้เรียนอย่างเต็มที่


ที่มา: https://workpointtoday.com/school190464/


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top