Wednesday, 4 December 2024
EDUCATION NEWS

CPA (Thailand) ประกาศฉบับที่ 010/2021: วันที่ 17 เมษายน 2564 เรื่อง: ประกาศปิดทำการตั้งแต่วันที่ 19 เมษายน 2564 จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง

เฉพาะสำหรับผู้สอบที่เลือกรับผลคะแนนด้วยตนเองไว้ สามารถรับผลสอบด้วยตนเองในวันที่ 19 - 20 เมษายน 2564 เวลา 10.00-15.00 เท่านั้น

กรุณาเตรียมเอกสารการรับผลให้ครบถ้วน ทั้งกรณีรับผลด้วยตัวเอง และกรณีรับผลแทน โดยผู้มารับผลคะแนนจะต้องผ่านกระบวนการคัดกรองตามมาตรการฯ​ ตามขั้นตอนปกติ


ที่มา: https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=10157545409866467&id=154483551466

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหนังสือด่วนที่สุด ที่ ศธ 04006/ ว1245 ลงวันที่ 9 เมษายน 2564 เรื่อง การรับนักเรียน ปีการศึกษา 2564 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

แนวทางการรับสมัครและการจัดสอบคัดเลือกหรือคัดเลือกผู้สมัครเข้าศึกษาต่อ (กรณีโรงเรียนมีการจัดสอบ) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด - 19

การรับสมัคร ให้ปฏิบัติตามแนวทาง ดังนี้

1. โรงเรียนสามารถรับสมัครผ่านระบบออนไลน์ หรือทางเว็บไซต์ของทางโรงเรียน

2. กรณีรับสมัคร ณ โรงเรียน

- ผู้สมัคร ผู้ปกครอง และผู้เข้ามาในบริเวณสถานที่รับสมัครของโรงเรียนทุกคนต้องสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า

- คัดกรอง ตรวจวัดอุณหภูมิผู้สมัคร ผู้ปกครอง และผู้เข้ามาในบริเวณสถานที่รับสมัครทุกคน

- สถานที่รับสมัคร ให้คำนึงถึงหลัก Social Distancing

- จัดให้มีจุดล้างมือต้วยสบู่ แอลกอฮอล์ เจล หรือน้ำยาอื่น ๆ ที่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้

- ข้อกำหนดอื่น ๆ ตามบริบทของโรงเรียน

กรณีโรงเรียนมีการจัดสอบคัดเลือก ให้ปฏิบัติตามแนวทาง ดังนี้

1. การดำเนินการก่อนวันสอบ

1.1 ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับแนวปฏิบัติของผู้เข้าสอบและผู้ปกครองทาง Online หรือช่องทางอื่น ดังนี้

- ผู้เข้าสอบ ผู้คุมสอบ และผู้เข้ามาในบริเวณสนามสอบทุกคนต้องสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าในวันสอบ

- โรงเรียนต้องประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์ เข้าสอบ กำหนดการสอบและตารางสอบ แผนผังที่นั่งสอบแผนผังโรงเรียน (ระบุจุดรับส่ง จุดคัดกรอง จุดพักคอย อาคารสอบ ฯลฯ โดยคำนึงหลัก Social Distancing

- โรงเรียนขอความร่วมมือผู้ปกครองมาส่งและมารับผู้เข้าสอบตามกำหนดเวลาโดยไม่พักคอยหากจำเป็นต้องพักคอย ผู้ปกครองต้องผ่านการคัดกรองและพักคอย ณ จุดที่โรงเรียนกำหนด

- โรงเรียนต้องแจ้งให้ทราบว่าไม่มีบริการจำหน่ายอาหารในวันสอบ

- ข้อกำหนดอื่น ๆ ตามบริบทของโรงเรียน

1.2 ประสานโรงพยาบาลและหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ใกล้เคียงเพื่อดูแลส่งต่อ

1.3 จัดห้องพยาบาลสำหรับให้บริการโดยเฉพาะ ณ สถานที่จัดสอบ

2. การจัดเตรียมห้องสอบ

2.1 กรณีใช้ห้องเรียนปกติ (ขนาด 8 x 8 เมตร ให้จัดไม่เกินห้องละ 20 คน เว้นระยะห่างอย่างน้อย 1.5 เมตร และไม่ควรจัดให้สอบในห้องปรับอากาศหรือห้องที่มีสภาพอากาศปิด

2.2 กรณีใช้ห้องเรียนขนาดอื่นหรืออาคารอเนกประสงค์ เว้นระยะห่างอย่างน้อย 1.5 เมตร และไม่ควรจัดให้สอบในห้องปรับอากาศหรือห้องที่มีสภาพอากาศปิด

2.3 จัดเตรียมห้องสอบสำรอง กรณีผู้เข้าสอบอยู่ในกลุ่มเสี่ยง หรือผู้ที่มีอุณหภูมิร่างกายมากกว่า หรือเท่ากับ 37.5 C โดยไม่จัดสอบในห้องปรับอากาศหรือห้องที่มีสภาพอากาศปิด และเว้นระยะห่างไม่น้อยกว่า 2 เมตร

2.4 ให้ทำความสะอาดพื้นที่ที่นักเรียนต้องใช้ร่วมกันด้วยน้ำยาหรือแอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้นที่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้

3. การดำเนินการในวันสอบ

3.1 ผู้เข้าสอบ ผู้คุมสอบ และผู้เข้ามาในบริเวณสนามสอบทุกคนต้องสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า

3.2 คัดกรอง ตรวจวัดอุณหภูมิผู้เข้าสอบ ผู้คุมสอบ และผู้เข้ามาในบริเวณสนามสอบทุกคน

3.3 จัดให้มีจุดล้างมือด้วยสบู่ แอลกอฮอล์ เจล หรือน้ำยาอื่น ๆ ที่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้

3.4 ให้ผู้เข้าสอบพักคอย ยืนยันตัวตน ณ จุดที่กำหนด โดยคำนึงหลัก Social Distancing

3.5 ให้ผู้เข้าสอบทยอยขึ้นห้องสอบ เว้นระยะห่างระหว่างการเดิน โดยคำนึงหลัก Social Distancing

3.6 ดำเนินการสอบให้แล้วเสร็จภายในครึ่งวัน (เวลา 09.00 - 12.00 น.) โดยโรงเรียนกำหนดวิชาและเวลาสอบในแต่ละวิชา ตามบริบทของโรงเรียน

3.7 หากดำเนินการสอบเกินกว่าครึ่งวัน (เกินเวลา 12.00 น) โรงเรียนต้องดำเนินการให้นักเรียนเข้าสอบครั้งเดียวจนเสร็จสิ้น จึงจะสามารถออกจากห้องสอบได้ โดยโรงเรียนจะต้องบริการอาหารว่างและน้ำดื่ม ให้แก่นักเรียนทุกคนที่เข้าสอบในช่วงเวลาพักที่โรงเรียนกำหนด เพื่อลดการสัมผัสและรวมกลุ่มกันของนักเรียน

3.8 เมื่อเสร็จสิ้นการสอบ อนุญาตให้ผู้เข้าสอบออกจากห้องสอบที่ละห้องสอบ โดยต้องให้ผู้เข้าสอบแต่ละคนเว้นระยะห่างระหว่างการเดิน โดยคำนึงหลัก Social Distancing

กรณีการคัดเลือกนักเรียนความสามารถพิเศษ (ถ้ามี)

ให้โรงเรียนดำเนินการปรับใช้แนวทางกรณีโรงเรียนมีการจัดสอบคัดเลือกข้างต้น โดยคำนึงถึงหลัก Social Distancing ทั้งนี้ หากวิธีการคัดเลือกเดิมกำหนดให้ผู้เข้ารับการคัดเลือกต้องสัมผัสตัวกัน ให้ปรับเปลี่ยนวิธีการคัดเลือก โดยถือหลักการหลีกเลี่ยงการติดต่อสัมผัสระหว่างกัน

คลิกเพื่ออ่าน หนังสือด่วนที่สุด ที่ ศธ 04006/ ว1245 ลงวันที่ 9 เมษายน 2564 เรื่อง การรับนักเรียน ปีการศึกษา 2564 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

http://www.kruwandee.com/datas/file/1618647192.pdf


ขอบคุณที่มา: https://www.kruwandee.com/news-id46093.html?fbclid=IwAR3KoHPuwPsQFDj8oznS-hDU3axcQR7kIJI_Pv_Q6blvgZifvCPltsqR4Rk

บอร์ด กพฐ. เห็นชอบรวมโรงเรียน 10 โรง เลิกสถานศึกษา 3 โรง แนะสพฐ. บริหารจัดการโรงเรียนให้เหลือ 2 หมื่นโรง การจัดสรรงบฯ จะได้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

นายเอกชัย กี่สุขพันธ์ ประธานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ประธาน กพฐ.) กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุม กพฐ.ได้มีมติเห็นชอบการรวมสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 10 โรง ใน 7 เขตพื้นที่การศึกษา คือ

1. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) เชียงใหม่ เขต 5 โรงเรียนบ้านกองวะ มีนักเรียนระดับชั้น ป.3-6 จำนวน 4 คน รวมกับโรงเรียนบ้านโปงทุ่ง

2. สพป.เชียงใหม่ เขต 6 โรงเรียนวัดพระบาท มีนักเรียน ป.1-6 จำนวน 29 คน รวมกับโรงเรียนบ้านเมืองกลาง

3. สพป.พิจิตร เขต 2 โรงเรียนวัดคลองข่อย มีนักเรียน ป.1-6 จำนวน 36 คน รวมกับโรงเรียนศรีประสิทธิ์วิทยา

4. สพป.เพชรบุรี เขต 1 โรงเรียนวังตะโก มีนักเรียน ป.1-6 จำนวน 12 คน รวมกับโรงเรียนวัดทองนพคุณ (เจริญราษฎร์วิทยาคาร)

5. สพป.นครสวรรค์ เขต 2 โรงเรียนบ้านทุ่งรวงทอง มีนักเรียนชั้น ป.1-3 และ ป.5 14 คน รวมกับโรงเรียนบ้านเนินใหม่

6. สพป.ลำพูน เขต 1 โรงเรียนบ้านทาปลาดุก มีนักเรียน ป.1-6 จำนวน 25 คน รวมกับโรงเรียนบ้านดอยแก้ว

7. สพป.น่าน โรงเรียนบ้านธงหลวง มีนักเรียน ป.1-6 จำนวน 20 คน รวมกับ โรงเรียนบ้านน้ำครกใหม่ โรงเรียนบ้านห้วยมอญสาขาใหม่ในฝัน มีนักเรียน ป.1-6 จำนวน 15 คน รวมกับ โรงเรียนบ้านห้วยมอญ โรงเรียนบ้านน้ำอูน มีนักเรียน ป.1-6 จำนวน 17 คน รวมกับ โรงเรียนบ้านนาคา และโรงเรียนบ้านกาใส มีนักเรียน ป.1-6 จำนวน 30 คน รวมกับโรงเรียนบ้านวังตาว

นายเอกชัย กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้มีมติเห็นชอบเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 3 โรง ได้แก่ โรงเรียนบ้านห้วยขี้เหล็ก สพป.เชียงราย เขต 2 โรงเรียนบ้านสระลำใย สพป.สระบุรี เขต 1 และโรงเรียนวัดบางพระ สพป.นครศรีธรรมราช เขต 3 ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวเป็นไปตามสถานการณ์อัตราการเกิดของประชากรที่ลดลง และยังสอดคล้องกับโครงการโรงเรียนคุณภาพของชุมชนของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ด้วย

อย่างไรก็ตาม ตนมองว่าในอนาคต เราควรที่จะบริหารจัดการโรงเรียนให้เหลือประมาณ 20,000 โรง จาก จำนวน 30,000 กว่าโรง เพื่อที่จะทำให้การบริหารจัดการงบประมาณเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่จะต้องคงมีโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล (Stand alone) ไว้


ที่มา: https://www.thaipost.net/main/detail/99659

รมว. อุดมศึกษา ลงนามในประกาศ เรื่อง มาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (ฉบับที่ 11) โดยมีสาระสำคัญคือ ให้มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ หยุดสอน เรียนออนไลน์แทน

นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ลงนามในประกาศ อว. เรื่อง มาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (ฉบับที่ 11)

ตามที่ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้ประกาศมาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นลำดับ เพื่อเป็นแนวปฏิบัติสำหรับสถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานภายในกระทรวงเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ดังกล่าว นั้น

เพื่อให้การดำเนินการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและเป็นไปตามมาตรการที่ ศบค. ประกาศกำหนด กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จึงยกเลิกประกาศกระทรวงฯ เรื่อง มาตรการและการเฝ้าระวัง การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ฉบับที่ 10 และกำหนดมาตรการและแนวทางการปฏิบัติเพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานภายในกระทรวง อว. พิจารณาดำเนินการให้สอดคล้องกับ สถานการณ์ ดังนี้

1. ให้สถาบันอุดมศึกษางดการเรียนการสอนในสถานที่ รวมทั้งการสอบ การฝึกอบรมหรือ กิจกรรมใด ๆ ที่มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมากทำให้เสี่ยงต่อการแพร่โรค โดยให้จัดการเรียนการสอนเป็นแบบออนไลน์ และปรับวิธีการวัดประเมินผลให้สอดคล้องกับสถานการณ์ เพื่อให้การจัดการศึกษามีความต่อเนื่อง และมิให้เกิดผลกระทบต่อนิสิตนักศึกษา

2. ให้สถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานภายในกระทรวง หลีกเลี่ยงการจัดกิจกรรมที่มีคนเข้าร่วม มากกว่า 50 คน ทั้งนี้หากมีความจำเป็นต้องจัดกิจกรรมที่มีคนเข้าร่วมเป็นจำนวนมากจะต้องได้รับอนุญาตจากหัวหน้าส่วนราชการ/ผู้บริหารหน่วยงาน และให้ดำเนินการตามมาตรการควบคุมหลักในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID- 19) อย่างเคร่งครัด

3. ให้สถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานภายในกระทรวง กำหนดมาตรการในการทำงานสำหรับ บุคลากรในสังกัด โดยให้ใช้มาตรการการทำงานที่บ้าน (Work from Home) หรือปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งเพื่อลดการเดินทางและลดการสัมผัสเชื้อ โดยให้หัวหน้าส่วนราชการ/ผู้บริหารหน่วยงานพิจารณาระดับความเสี่ยงและบริบทของพื้นที่ตามที่ ศบค.ประกาศกำหนด เพื่อกำหนดสัดส่วนการทำงานที่บ้าน (Work from Home) หรือปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง หรือการสลับวันหรือการเหลื่อมเวลา การเข้าปฏิบัติงานได้ตามควาเหมาะสมของพื้นที่

4.ให้สถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานภายในกระทรวง ปรับรูปแบบวิธีการทำงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่ โดยเน้นการทำงานในรูปแบบออนไลน์ หรือจัดประชุมผ่านระบบทางไกล โดยให้หัวหน้าส่วนราชการ/ผู้บริหารหน่วยงานพิจารณาปรับระบบการบริหารจัดการและรูปแบบการประเมินผลการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ทั้งนี้อาจมีบางงานหรือกิจกรรมที่มีผู้เข้าร่วมไม่มาก เช่น งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID- 19) หรืองานวิจัยที่สำคัญ หรืองานบริการประชาชนที่จำเป็นให้อยู่ในดุลพินิจของอธิการบดีหรือหัวหน้าส่วนราชการ/ผู้บริหารหน่วยงาน

5. ให้สถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานภายในกระทรวง พิจารณาดำเนินการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม หรือสถานที่ดูแลผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วย โดยประสานงานกับศูนย์ปฏิบัติการและบริหารสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID- 19 ของกระทรวง อว. (ศปก.อว.) และหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งกระทรวงมหาดไทยในพื้นที่

6. ให้โรงพยาบาลของสถาบันอุดมศึกษาปฏิบัติภารกิจด้านการให้บริการประชาชน บริการสาธารณะและการบริหารจัดการตามภาระหน้าที่ โดยให้มีมาตรการความปลอดภัยสูงสุดสำหรับบุคลากรในสังกัด เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้รับบริการในทุกระดับ

7. ให้ศูนย์ประสานงานในระดับหน่วยงานเป็นกลไกในการกำกับ ติดตามและเฝ้าระวังการระบาดของเชื้อโรคดังกล่าว รวมถึงเป็นศูนย์แจ้งเหตุและทำหน้าที่ประสาน งานภายในหน่วยงานและประสานงานกับกระทรวง พร้อมทั้งเผยแพร่สื่อสารประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรภายในหน่วยงานได้รับทราบข้อมูลที่ชัดเจนและถูกต้อง โดยให้สถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานภายในกระทรวงติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อย่างใกล้ชิด และให้ดำเนินการตามมาตรการควบคุมหลักในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามที่กระทรวงสาธารณสุข ศบค. และกระทรวง อว. กำหนดอย่างเคร่งครัด

กรณีมีเหตุการณ์ผิดปกติให้รายงานศูนย์ปฏิบัติการและบริหารสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของกระทรวง อว. (ศปก.อว.) ทราบโดยด่วน เพื่อร่วมกันควบคุมสถานการณ์ โดยของให้รายงานข้อมูลในระบบกลุ่มไลน์ที่กำหนด หรือประสานแจ้งข้อมูลได้ที่ ศปก.อว.โทร 02 354 5568 โทรสาร 02 354 5524-6

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2564 เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 17 เมษายน 2564


ที่มา: https://www.amarintv.com/news/detail/75611

วันที่ 15 เมษายน วันขึ้นปีใหม่ไทย หรือ “วันเถลิงศก” ถือเป็นวันเริ่มจุลศักราชใหม่ หรือวันปีใหม่ไทยที่นับตามแบบสมัยโบราณ

วันเถลิงศก แปลว่า วันขึ้นศก เป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ การที่เลื่อนวันขึ้นศกใหม่มาเป็นวันที่ 3 ถัดจากวันมหาสงกรานต์ก็เพื่อให้หมดปัญหาว่า การย่างขึ้นสู่จุดเดิมสำหรับต้นปีนั้นเรียบร้อยดี ไม่มีปัญหาเพราะอาจมีปัญหาติดพันเกี่ยวกับชั่วโมง นาที วินาที ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ที่จะเปลี่ยนศก ถ้าเลื่อนวันเถลิงศกหรือวันขึ้นจุลศักราชใหม่มาเป็นวันที่ 3 ก็หมายความว่าอย่างน้อยดวงอาทิตย์ได้ก้าวเข้าสู่ราศีใหม่ไม่น้อยกว่า 1 องศาแล้ว อาจจะย่างเข้าองศาที่ 2 หรือที่ 3 ก็ได้

ส่วนใหญ่คนไทยจะนิยมไปเที่ยวกับครอบครัว หรือฉลองปีใหม่กันที่บ้านด้วยการทำกับข้าว กินข้าวมื้อใหญ่ร่วมกันพร้อมหน้าพร้อมตา และมีเคล็ดว่าทุกคนต้องสวมใส่เสื้อผ้าใหม่ หรือมีของใช้ส่วนตัวชิ้นใหม่ๆ อย่างน้อย 1 ชิ้น เพื่อเป็นการเสริมสิริมงคลต้อนรับปีใหม่นั่นเอง

วันที่ 14 เมษายน ถือเป็นวันครอบครัว ถูกกำหนดขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2532 เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของครอบครัว และให้สมาชิกในครอบครัวมีโอกาสพบปะกันได้โดยสะดวก

สำหรับที่มาของวันครอบครัวนั้น เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2532 คณะรัฐมนตรีซึ่งมีพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้เสนอมติโดย คุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เป็นผู้เสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบด้วยและอนุมัติให้ วันที่ 14 เมษายน ของทุกปี เป็นวันแห่งครอบครัว ซึ่งตรงกับวันสงกรานต์ของไทย เพราะโดยส่วนใหญ่ในวันนี้เป็นวันที่สมาชิกในครอบครัวมีโอกาสพบปะกันได้โดยสะดวก

วันครอบครัว ถูกกำหนดขึ้นก็เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักถึงคุณค่าของสถาบันครอบครัว และใช้เวลาว่างในวันหยุดยาวช่วงเทศกาลสงกรานต์ เพื่อให้สมาชิกในครอบครัวได้อยู่พร้อมหน้าและทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน เป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว และสร้างความรักความอบอุ่นในครอบครัว

อีกทั้งช่วงเทศกาลสงกรานต์ถือเป็นโอกาสที่ประชาชนจะได้เดินทางกลับบ้านเกิดเพื่อรวมญาติ พบปะครอบครัว ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับบุพการีที่ล่วงลับไปแล้ว รดน้ำดำหัวขอพรผู้เฒ่าผู้แก่ เพื่อเสริมสร้างความเป็นสิริมงคล ความอบอุ่น และความสุขของครอบครัวตามประเพณีไทยที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา


ขอบคุณข้อมูลจาก: https://www.posttoday.com/life/work-life-balance/620756

สำหรับประเทศไทย ในวันที่ 13 เมษายน ของทุกปี นอกจากเป็นวันสงกรานต์แล้ว ยังถือเป็นวันผู้สูงอายุแห่งชาติ อีกด้วย วันนี้มีข้อมูลน่ารู้มาฝากกัน!

รัฐบาลกำหนดให้วันที่ 13 เมษายนเป็นวันผู้สูงอายุแห่งชาติ เพื่อให้ลูกหลานได้เล็งเห็นความสำคัญของผู้สูงอายุ ซึ่งส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นบุพการี ผู้อาวุโสหรือผู้ใหญ่ในชุมชนที่เคยทำคุณประโยชน์แก่สังคมมาแล้ว

สำหรับที่มาของ "วันผู้สูงอายุ" นั้นเริ่มต้นขึ้นในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ในสมัยนั้นได้มีการกำหนดนโยบายที่จะส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี มีคุณภาพ และดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข โดยได้มอบให้กรมประชาสงเคราะห์จัดตั้งสถานสงเคราะห์คนชราขึ้นในปี 2496 เพื่อให้การสงเคราะห์ผู้สูงอายุที่เดือดร้อน ประสบปัญหาในการทำมาหากินและไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้

ต่อมาในสมัยรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ก็มีการสานต่อความสำคัญของ "วันผู้สูงอายุ" โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ.2525 อนุมัติให้วันที่ 13 เมษายนของทุกปีเป็นวันผู้สูงอายุ และได้เลือก "ดอกลำดวน" เป็นสัญลักษณ์ของผู้สูงอายุ เนื่องจากเป็นต้นไม้ที่ให้ความร่มเย็น ลำต้นมีอายุยืน


ขอบคุณข้อมูลจาก: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/875735

สงกรานต์ ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยมาแต่โบราณที่ยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมาช้านาน เป็นประเพณีที่มีคติข้อคิดต่าง ๆ สอดแทรกอยู่มากมาย สะท้อนความเป็นไทยได้อย่างชัดเจน วันนี้เรามีเกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับวันสงกรานต์มาฝาก!

เกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับวันสงกรานต์

คำว่า “สงกรานต์” มาจากภาษาสันสกฤตว่า “สํ-กรานต” ซึ่งแปลว่า ก้าวขึ้น ย่างขึ้น หรือย้ายขึ้น โดยมีนัยความหมายว่า การเข้าสู่ศักราชราศีใหม่ หรือวันขึ้นปีใหม่

วันที่ ๑๓ เมษายน เรียกว่า วันมหาสงกรานต์

วันที่ ๑๔ เมษายน เรียกว่า วันเนา

วันที่ ๑๕ เมษายน เรียกว่า วันเถลิงศก

นางสงกรานต์ปี ๖๔ "รากษสเทวี" พยากรณ์น้ำมาก พืชผลเสียหาย ปวงชนร้อนใจ

SEX EDUCATION : เพศ (ต้อง) ศึกษา : ชาวเน็ตแห่แชร์ภาพหนังสือการ์ตูนเด็ก สอนมารยาทการช่วยตัวเอง ทำอย่างไรถึงถูกต้อง

ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ กิตติธัช อร่ามศรี ได้แชร์ภาพที่ถ่ายจากหนังสือการ์ตูนเพศศึกษาเล่มหนึ่งที่ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการช่วยตัวเองว่าเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่ที่สำคัญต้องทำอย่าเหมาะสม อย่าหมกมุ่นจนร่างกายอ่อนเพลีย เพราะอาจทำให้เสียสุขภาพ และกระทบเรื่องการเรียน พร้อมแนะมารยาทในการช่วยตัวเอง

ในเบื้องต้น มีการระบุเอาไว้ว่า การช่วยตัวเองต้องทำในที่ลับตาคนและล็อกประตูทุกครั้ง เมื่อเสร็จแล้วก็ต้องทำความสะอาดมือด้วย ไม่ให้เกิดการติดเชื้อ และอย่าหมกมุ่นจนเกินไป เป็นต้น

ทั้งนี้ หลังจากที่ภาพนี้ถูกโพสต์ออกไป ก็มีสมาชิกเฟซบุ๊กอีกหลายรายเข้ามาแสดงความคิดเห็นและแชร์ต่ออย่างมากมายซึ่งส่วนใหญ่เห็นด้วยที่มีการสอนให้เด็กได้เข้าใจเกี่ยวกับร่างกายตัวเอง ซึ่งการช่วยตัวเองก็ถือว่าเป็นหนึ่งในนั้น ที่เด็กควรจะต้องได้รับการอธิบาย และแนะนำให้ทำอย่างถูกต้องเหมาะสม


ที่มา: https://hilight.kapook.com/view/212503

เปิดรายละเอียดการจัดตั้ง “โรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร” ภายใต้แนวคิด “ให้เพื่อสร้าง” เพื่อเป็นโรงพยาบาลวิจัยนวัตกรรมการแพทย์ครบวงจรครั้งแรกของประเทศไทย และอาเซียน

ปัจจุบันแม้ประเทศไทยจะมีคณะแพทยศาสตร์ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เพื่อผลิตบุคลากรทางการแพทย์ ล่าสุดสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หรือ สจล. เป็นอีกสถาบันที่มีแผนจัดตั้งโรงพยาบาลอีกแห่งในประเทศไทยขึ้น

เกี่ยวกับเรื่องนี้ ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ในฐานะ ประธานมูลนิธิโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ในพระสังฆราชูปถัมภ์ ได้เล่าถึงการจัดตั้งคณะแพทย์ศาสตร์ ของ สจล. ผ่านหนังสือ “คิดต่างสร้างการเปลี่ยนแปลง” ไว้ว่า

“หมอที่ประสบความสำเร็จในอนาคตต้องเก่งทั้งศาสตร์และศิลป์ ข้อหนึ่งที่เรายังไม่ได้ใช้ประโยชน์จากความเก่งของนักศึกษาแพทย์ได้เต็มที่ก็คือ จริง ๆ คนที่จะเข้ามา เรียนหมอ คือ เด็กที่ได้ที่หนึ่งคณิตศาสตร์ ที่หนึ่งฟิสิกส์ พอมาเรียนกลับไม่ได้ใช้วิชาพวกนี้ พอเรียนจบออกไปก็รักษาคน แต่หมอในอนาคตต้องดีลกับเครื่องมือแพทย์ใหม่ ๆ ชิ้นหนึ่งราคาเป็นล้าน ๆ แล้วต้องซื้อทุกชิ้น เข็มฉีดยาก็ต้องซื้อ แล้วจะให้วิศวกรไปทำอุปกรณ์ทางการแพทย์ เขาก็ไม่เข้าใจ ทำไมไม่เอาหมอที่เก่งทั้งฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ไปต่อยอดสร้างองค์ความรู้ สร้างนวัตกรรม คิดดูว่าประเทศไทยจะลดการนำเข้า ประหยัดงบประมาณทางสาธารณสุขได้กี่ล้านล้านบาท นี่คือความแตกต่างของคณะแพทยศาสตร์ ลาดกระบัง กับคณะแพทย์ที่อื่น ๆ”

นอกจากนี้ ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ เห็นว่า การเปิดคณะแพทยศาสตร์ ถือเป็นการช่วยสังคม ช่วยชีวิตคน และสามารถต่อยอดเป็นโรงพยาบาลได้ นั่นคือ “โรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร” (KMC Hospital) ที่ไม่ใช่แค่ศูนย์การแพทย์เท่านั้น แต่เพื่อนำไปสู่ “โรงพยาบาลวิจัย” ในอนาคต รวมทั้งคณะแพทยศาสตร์ สจล. ที่นอกจากเชี่ยวชาญด้านการรักษา ยังต้องมีความเป็นนักวิจัยที่สามารถพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ และเรียนรู้ความเป็นสากล สู่การเป็น “หมอพันธุ์ใหม่” ที่เข้าใจบริบทการแพทย์ทั่วโลก และมีทักษะของศตวรรษที่ 21 เช่น ทักษะการคิดวิเคราะห์ (Critical Thinking) ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) ตลอดจนทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง

ทั้งนี้ “แพทย์” จึงเป็นอาชีพของโลก เพราะไม่ได้เป็นเพียงแพทย์ที่แค่จบการศึกษา หรือเป็นแพทย์ที่รักษาแค่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่สามารถเป็นหมอที่อื่นได้ทั่วโลก ที่มีความรู้รอบทั้งด้านวิศวกรรม สถาปัตยกรรม และความรู้สมัยใหม่ของโลก เพื่อให้เป็นแพทย์ที่ก้าวทันโลกยุคใหม่ และมีความสามารถในการสร้างนวัตกรรมทางการแพทย์ พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการรักษาโรคได้ด้วย

เพราะปัจจุบันประเทศไทย ต้องเสียเงินให้กับต่างชาตินับหลายหมื่นล้านบาท ในการซื้อเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์เข้ามาใช้งาน ซึ่งหากแพทย์ของเรามีความรู้ และสามารถสร้างเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ได้ ไม่ใช่แค่ลดการสูญเสียเงินให้กับต่างประเทศ แต่ยังได้เครื่องมือแพทย์ในราคาที่ถูกลง และมีประสิทธิภาพตามหลักการแพทย์แล้ว สิ่งเหล่านี้ยังได้ชื่อว่าเป็นนวัตกรรมและฝีมือของคนไทย เป็นความภาคภูมิใจ และสามารถสร้างรายได้กลับมาในอนาคตอีกด้วย

ดังนั้น แผนการจัดตั้ง “โรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร” (KMC Hospital : King Mongkut Chaokhun Thahan Hospital) ภายใต้แนวคิด “ให้เพื่อสร้าง” เพื่อเป็นโรงพยาบาลวิจัยนวัตกรรมการแพทย์ครบวงจรครั้งแรกของประเทศไทย และอาเซียน ที่พร้อมดูแลรักษาผู้ป่วย และเป็นศูนย์วิจัยเครื่องมือทางการแพทย์ เพื่อสร้างอุปกรณ์ทางการแพทย์ สร้างศูนย์รวมนวัตกรรม และสร้างองค์ความรู้ด้านเครื่องมือแพทย์ ผ่านการบูรณาการองค์ความรู้หลากสาขา เพื่อผู้สูงอายุ คนพิการ รองรับวิกฤตสุขภาพ โรคระบาด หลังพบข้อจำกัดด้านการขาดโอกาสเข้าถึง ขาดแคลนนวัตกรรมทางการแพทย์ รวมถึงการลดการพึ่งพิงต่างชาติ


ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ: https://www.hfocus.org/content/2021/03/21316


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top