Monday, 5 June 2023
POLITICS

‘เต้ มงคลกิตติ์’ ชัดเจน ไม่เอา พิธา พรรคก้าวไกล  จากปมแก้ ม.112 เพื่อสงบสุขของบ้านเมือง

วันนี้ (28 พ.ค. 66) นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ หรือ พี่เต้ อดีตหัวหน้าพรรคไทยศรีวิไลย์ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อได้โพสต์ข้อความ สร้างกระแสฮือฮาไปทั่วโซเชียล โดยมีใจความว่า ...

ถ้าให้ผมเลือก ระหว่าง พิธา แก้ ม.112 กับ ลุงตู่ ไม่แก้ ม.112 “ผมเลือกความสงบสุขของบ้านเมือง เลือก ลุงตู่ คับ”

หลังจากเผยแพร่ไปได้ข้อความดังกล่าวไปได้ไม่นาน ชาวเน็ตจำนวนมากต่างเข้าแสดงความคิดเห็นมากว่า 1 พันครั้ง ในช่วงพริบตา ซึ่งหากใครที่ติดตามข่าวสารการเมืองมาเป็นอย่างดี ช่วงที่ เต้ มงคลกิตติ์ ดำรงตำแหน่ง ส.ส. ก็มีท่าทีแสดงจุดยืนถึงการร่วมงานกับ ประยุทธ์ ที่ดูแล้วพี่เต้เองก็ไม่ได้เห็นด้วยสักเท่าไร อีกทั้งยังโหวตค้านเป็นประจำแต่กลับมาแสดงจุดยืนตอนนี้จึงทำให้ประชาชนจำนวนมากจับตามอง

ซึ่งก่อนหน้านี้ เต้มงคลกิตติ์ หลังจากผลคะแนนการเลือกตั้ง 2566 ที่ผ่านมา ชี้ชัดแล้วว่า พรรคไทยศรีวิไลย์ ได้คะแนนน้อยกว่าที่คิด จนเต้เองถึงขั้นอยากเปลี่ยนอาชีพไปทำงานพิธีกรรายการดูบ้าง ซึ่งก็เคยได้เห็นการโชว์ฝีมือไปแล้วในรายการ ถกไม่เถียง ที่เป็นพิธีกรคู่กับ ป่อเปี๊ยะ โดยทางตัวเต้เองนั้นก็ทำผลงานออกมาได้ดีพอสมควร

ล่าสุด ก่อนที่เต้ มงคลกิตติ์ จะโพสต์เลือกข้างนี้ ก็เคยออกมาประกาศแล้วว่า ตนเองจะหยุดเรื่องการเมือง และขอลาออกจากหัวหน้าพรรคไทยศรีวิไลย์ ตั้งแต่ 26 พ.ค.2566 เวลา 14.39 น. แต่ในระยะเวลาหลังจากนั้น เต้ เองก็ยังมีการโพสต์เรื่องการเมืองอยู่เป็นระยะ จนทำให้ประชาชนที่เฝ้าติดตามมาเกิดความสงสัยว่า เหตุใดคนที่บอกจะพักกลับพูดถึงเรื่องการเมืองอยู่เป็นประจำ หนำซ้ำจู่ๆก็ออกมาโพสต์เลือกข้างว่าจะเลือก ลุงตู่ อีก

‘รศ.หริรักษ์’โพสต์ข้อความ ชวนให้คิด พรรคก้าวไกล มีใครอยู่เบื้องหลังหรือไม่

รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Harirak Sutabutr

เกี่ยวกับประเด็นที่มีคนตั้งข้อสงสัยว่าประเทศสหรัฐอเมริกาแทรกแซงการเมืองไทยด้วยการให้การสนับสนุนพรรคการเมืองที่ยืนอยู่ข้างสหรัฐอเมริกาเพื่อให้ได้เป็นรัฐบาล โดยมีใจความว่า ...

5 ปีที่แล้วหากบอกว่า สหรัฐอเมริกาแทรกแซงการเมืองไทยด้วยการให้การสนับสนุนพรรคการเมืองที่ยืนอยู่ข้างสหรัฐอเมริกาเพื่อให้ได้เป็นรัฐบาล จะไม่มีใครเชื่อ นอกจากไม่เชื่อแล้วยังมองว่าคนที่พูดบ้าไปแล้ว ดูหนังมากไปหรือไม่ แต่วันนี้ มีคนที่เชื่อเรื่องนี้มากขึ้นทุกวัน มากจนกระทั่งคุณรังสิมันต์ โรม มีความวิตก ออกมาชี้แจงและปฏิเสธว่า เป็น fake news เป็นไปไม่ได้ที่รัฐบาลพรรคก้าวไกลจะยอมให้ต่างชาติมาตั้งฐานทัพในประเทศไทย คุณวิโรจน์ ลักณาอดิศรก็ตอบโต้ว่า เป็นนิทานหลอกเด็ก เป็นอุปทานหมู่

ระยะนี้ จึงมีคนถามกันมากว่า การแทรกแซงประเทศไทยโดยชาติมหาอำนาจด้วยการให้การสนับสนุนพรรคการเมืองบางพรรค ซึ่งก็หมายถึงพรรคก้าวไกลให้ชนะการเลือกตั้งเพื่อได้เป็นรัฐบาล เป็นความจริงหรือไม่ มีหลักฐานหรือไม่

คำตอบคือ ไม่มีใครที่เป็นคนนอกบอกได้ 100% หลักฐานมีหรือไม่ ก็ต้องบอกว่าหลักฐานแบบจับให้มั่นคั้นให้ตายคงไม่มี แต่มีเหตุการณ์ และข้อเท็จจริงต่างๆที่เกิดขึ้นเ จนทำให้มีความน่าเชื่อมากขึ้นเรื่อยๆ ในที่นี้จึงจะลองรวบรวมเหตุการณ์และข้อเท็จจริงต่างๆเท่าที่ทำได้ โดยจะเลือกเฉพาะที่เป็นจริงเท่านั้นมาให้ลองพิจารณากัน

1. คุณธนาธรได้ว่าจ้าง APCO Worldwide ซึ่งเป็นบริษัทลอบบี้ยิสต์ ตั้งแต่วันที่ 1 กค ถึง 31 ธค 2562 เป็นเงินประมาณ 1.8 ล้านบาท โดยบอกว่าใช้เงินส่วนตัว เพื่อช่วยให้ข้อมูลแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและให้บริการด้านกลยุทธ์การสื่อสารในประเทศสหรัฐอเมริกาให้กับผู้ว่าจ้าง เพื่อให้ผู้คนในสหรัฐฯได้ตระหนักเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองและสังคมในประเทศไทยดียิ่งขึ้น และให้ดำเนินกิจกรรมทางการเมือง และให้บริการด้านการสื่อสารในฐานะตัวแทนของผู้ว่าจ้าง ประสานงานกับสื่อมวลชนและองค์กรในสหรัฐฯเพื่อสร้างความตระหนักมากยิ่งขึ้นเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองและสังคมในประเทศไทย

คุณธนาธร เมื่อไปสหรัฐอเมริกา ได้ให้สัมภาษณ์นักข่าวที่สำนักข่าว NBC ยกย่องสหรัฐอเมริกาและแสดง ความต้องการให้สหรัฐอเมริกาช่วยสร้างสังคมไทยให้ดีขึ้น และเมื่อก่อนการเลือกตั้ง 2562 คุณธนาธรเสนอความคิดเรื่องการใช้ hyperloop แทนรถไฟความเร็วสูงซึ่งขณะนั้นรัฐบาลกำลังเจรจากับจีน คุณธนาธรให้ข่าวว่าจะออกเงินเองเพื่อศึกษาความเป็นไปได้(feasibility study)ของ hyperloop แต่ไม่มีใครเคยได้เห็นรายงานการศึกษาความเป็นไปได้ฉบับนั้นแต่อย่างใด เมื่อมีการจัดแถลงข่าวเรื่อง hyperloop คุณธนาธรตอบคำถามนักข่าวต่างชาติว่า รัฐบาลไทยเอนเอียงไปทางจีนมากเกินไป จึงต้องการให้มีการปรับความสัมพันธ์กับต่างประเทศใหม่ ใช้คำว่า "realign"โดยให้หันไปทางประเทศอื่นเช่น สหรัฐอมเริกาและญี่ปุ่นให้มากขึ้น

2. เมื่อคุณธนาธรต้องไปรับทราบข้อกล่าวหากรณียุยงปลุกปั่นตามมาตรา 116 ที่สน.ปทุมวัน มีเจ้าหน้าที่สถานทูตจากประเทศตะวันตกหลายประเทศ ต่างไปร่วมสังเกตการณ์กันอย่างเนืองแน่น ซึ่งปรากฏการณ์เช่นนี้ไม่เคยมีมาก่อนในอดีต

3. นาย Robert F. Godec ก่อนเดินทางมารับตำแหน่งเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ได้ชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการต่างประเทศ วุฒิสภาสหรัฐก่อนเดินทางมารับตำแหน่งว่า จะช่วยให้ประเทศไทยปรับปรุงในเรื่องสิทธิมนุษยชนภายในประเทศ และจะให้ไทยร่วมกดดันเมียนมาร์ด้วย เมื่อมีวุฒิสมาชิกตั้งกระทู้ถามเรื่องมาตรา 112 ที่ส่งผลถึงเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และมีผู้ถูกจับกุมคุมขังมากมาย นาย Godec กล่าวว่า

"สหรัฐให้ความเคารพต่อราชวงศ์ไทย และเข้าใจในความจงรักภักดีของคนไทยต่อราชวงศ์ แต่เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นมีความสำคัญอย่างยิ่ง และเขาเคยเน้นย้ำต่อสาธารณะและโดยส่วนตัวว่า ที่ประชาชนจะแสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรีโดยไม่ต้องกลัวการถูกจับกุม และจะทำทุกวิถีทางเพื่อปกป้องเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น" และยังกล่าวต่อไปว่า

" ผมขอย้ำว่า คนที่ถูกจับกุมจะต้องได้รับการปฏิบัติโดยเคารพสิทธิขั้นพื้นฐานอย่างเต็มที่ในระหว่างการดำเนินคดี"

นอกจากนี้นาย Godec ยังกล่าวว่า จะกดดันให้ไทยลดการพึ่งพาก๊าซธรรมชาติและน้ำม้นจากพม่า และจะพยายามให้ไทยเพิ่มแรงกดดันต่อพม่า เพื่อหยุดการกระทำอันเหี้ยมโหดของรัฐบาลเมียนมาร์ อีกด้วย

4. คุณพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกลอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีช่วงท้ายที่ว่า นายกรัฐมนตรีทำลายศักยภาพของประเทศไทยในต่างประเทศเพราะไม่เข้าไปกดดันรัฐบาลเมียนมาร์ และทำลายศักยภาพของประชาชน เนื่องจากใช้มาตรา 112 ดำเนินการจับกุมคุมขังผู้ที่แสดงออกทางความคิด อันเป็นการปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นโดยเสรีของประชาชนเหล่านั้น เนื้อหาในการอภิปราย 2 ข้อนี้ตรงกับที่ว่าที่เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยแสดงความคิดเห็นก่อนเดินทางมารับตำแหน่งอย่างไม่ผิดเพี้ยน

5. เป็นที่น่าสังเกตว่า สื่อในประเทศไทยที่อยู่ข้างม็อบ 3 นิ้ว ส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรจากต่างประเทศโดยเปิดเผย เช่น จาก NED หรือ National Endowment for Democracy, Open Society Foundation, USAID, Freedom House เป็นต้น องค์กรต่างๆเหล่านี้ ส่วนใหญ่เป็นองค์กรที่เกี่ยวข้องกับเประเทศสหรัฐอเมริกาทั้งสิ้น Open Society foundation มี George Soros เป็นผู้ก่อตั้ง NED เป็นองค์กรที่ขึ้นตรงต่อรัฐบาลสหรัฐอเมริกา แต่เดิมการให้การสนับสนุนทั้งเงิน และการสนับสนุนแบบอื่นๆให้แก่กลุ่มต่างๆในต่างประเทศเพื่อผลประโยชน์แห่งชาติ หรือ national interest ของสหรัฐอเมริกา จะกระทำอย่างลับๆโดย Central Intelligent Agency หรือ CIA แต่ในสมัยประธานาธิบดี Lyndon B Johnson ต้องการให้เป็นการสนับสนุนอย่างเปิดเผย จึงให้จัดตั้ง NED ขึ้นให้เป็นองค์กรเอกชนเพื่อให้การสนับสนุนเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งและการเติบโตของสถาบันทางประชาธิปไตยทั่วโลก

6. คุณธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ได้รับเชิญไปพูดในการประชุมที่เรียกว่า Oslo Freedom Forum ที่ไต้หวัน ซึ่งคุณธนาธรได้เลือกที่จะพูดในหัวข้อ

"Why we must defend democracy" หรือทำไมเราต้องปกป้องประชาธิปไตย

Oslo Freedom Forum คือที่ประชุมที่จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 2009 ที่ Oslo เพื่อเป็นที่รวมตัวกันของนักกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชน และนักประชาธิปไตย เพื่อต่อสู้กับเผด็จการ หลังจากนั้นก็ได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ครั้งล่าสุดจัดขึ้นที่ไต้หวัน

ผู้จัดการประชุม Oslo Freedom Forum คือมูลนิธิสิทธิมนุษยชน( Human Rights Foundation) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ New York สหรัฐอเมริกา

แหล่งเงินทุนที่ให้การสนับสนุนมูลนิธิสิทธิมนุษยชน มาจากทั้งภาคเอกชน เช่น Twitter และ Amazon เป็นต้น และยังมาจากองค์กรที่เรียกว่า Freedom Fund ซึ่งหากค้นลึกลงไปก็จะพบว่าองค์กรแห่งนี้ได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา และรัฐบาลอังกฤษ นั่นเอง

Oslo Freedom Forum ไม่ใช่เพียงจัดประชุมปีละครั้ง แต่ยังจัดกิจกรรมต่างๆระหว่างปีด้วย หนึ่งในกิจกรรมก็คือ จัดอบรมวิธีการทำปฏิวัติ(ไม่ใช่รัฐประหาร) และการจัดการชุมนุม หรือจัดม็อบ การรับมือกับตำรวจควบคุมฝูงชนให้กับนักเคลื่อนไหวที่ต่อต้านรัฐบาลจากประเทศต่างๆ นักเคลื่อนไหวชาวฮ่องกงที่ชื่อนาย โจชัว หว่อง ก็เคยเข้ารับอบรมดังกล่าวนี้

การประชุมครั้งนี้ที่ไต้หวัน ยังได้มีการนำภาพของผู้นำของประเทศที่ถูกคนกลุ่มนี้ตราหน้าว่าเป็นเผด็จการมาติดผนังไว้ให้ผู้ที่เข้าร่วมประชุมเขียนอะไรก็ได้บนภาพของผู้นำเหล่านี้

7. เมื่อมีการชุมประท้วงรัฐบาลประเทศอิหร่าน คุณธนาธรออกมาแสดงความเห็นสนับสนุนผู้ประท้วง จนสถานทูตอิหร่านต้องโพสต์ข้อความเตือนคุณธนาธร แต่คุณธนาธรไม่เคยออกมาแสดงความเห็นต่อต้านอิสราเอล กรณีปาเลสไตน์เลยสักครั้ง

8. ม็อบชานม ซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งของม็อบ 3 นิ้ว เชียร์ไต้หวัน ฮ่องกง และอุยกูร์ ชัดแจ้งว่าต่อต้านจีน แต่สนับสนุนสหรัฐอเมริกา

9. Dr. Agnes Callamard เลขาธิการองค์การนิรโทษกรรมสากลหรือ Amnesty International ชาวฝรั่งเศสมาเมืองไทย ในช่วงเวลาก่อนการเลือกตั้งทั่วไป และได้แสดงปาฐกถาเกี่ยวกับประเทศไทย เนื้อความที่สำคัญที่ Dr. Callamard กล่าวคือ

"ช่วงสำคัญของการมาเมืองไทยครั้งนี้ คือการพบกับเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมประท้วง พวกเขาต้องการสร้างประเทศที่แข็งแกร่งและเป็นธรรม แต่เมื่อได้ถามว่า พวกเขาได้มองอนาคตของตัวเองไว้อย่างไร เขาตอบว่า 'ไม่มีอนาคคสำหรับเราที่นี่' นั่นทำให้ดิฉันมีความกังวลอย่างมาก และคิดว่า ผู้นำประเทศควรมีความห่วงใยอย่างมาก เยาวชนคนรุ่นใหม่จำนวนมาก มีความรู้สึกว่า พวกเขาไม่มีอนาคตก็เพราะการถูกปราบปราม ความไม่เท่าเทียมกัน การทุจริตคอรัปชั่นและความไม่ยุติธรรม และสิ่งเหล่านี้ต้องเปลี่ยนแปลง"

"เด็กๆและเยาวชนเป็นร้อยๆ รวมทั้งนักกิจกรรมทางการเมือง และนักปกป้องสิทธิมนุษยชน กำลังเผชิญกับการถูกดำเนินคดีทางอาญาในประเทศไทย เพียงเพราะการใช้สิทธิ เสรีภาพในการแสดงออก และการประท้วงอย่างสันติ จำนวนมากถูกลลิดรอนสิทธิเสรีภาพและอาจต้องเผชิญกับการถูกบันทึกลงประวัติอาชญากร รวมถึงเด็กอายุ 15 ปี ที่ยังคงถูกคุมตัวอยู่ในสถานพินิจมาเป็นเวลา 2-3 สัปดาห์แล้ว"

เนื้อความเหล่านี้ล้วนสอดคล้องและเป็นชุดความคิดเดียวกันกับม็อบ 3 นิ้ว และพรรคก้าวไกลทั้งสิ้น

10. สว.สมชาย แสวงการ ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค ได้เชิญเอกอัครราชทูต สหรัฐอเมริการประจำประเทศไทย นาย Robert F. Godec และคณะเข้าหารือที่วุฒิสภา กรณีมีคนไทยกลุ่มหนึ่งส่งเอกสารถึงรัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา และวุฒิสมาชิกกลุ่มหนึ่งเป็นผลให้วุฒิสมาชิกกลุ่มนี้เคลื่อนไหวเพื่อยื่นเรื่องให้วุฒิสภาของสหรัฐอเมริกาออกมติที่ 114 ซึ่งมีเนื้อหาข่มขู่ กล่าวหา สถาบันพระมหากษัตริย์ว่า แทรกแซงการเลือกตั้งทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการเลือกตั้ง ตลอดจนเรียกร้องให้ยกเลิกมาตรา 112 หากไม่ทำตามก็จะกระทบความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา สว.สมชายพยายามชี้แจงให้ นาย Godec ว่าข้อมูลทั้งหมดที่คนไทยกลุ่มนั้นส่งไปไม่เป็นความจริง

กรณีนี้ ไม่น่าจะมีความเป็นไปได้ที่คนไทยกลุ่มหนึ่ง อยู่ดีๆก็ส่งเอกสารดังกล่าวไปให้วุฒิสมาชิกของสหรัฐอเมริกา และวุฒิสมาชิกกลุ่มนี้ก็รับลูกไปดำเนินการต่อ โดยไม่มีการนัดแนะประสานกันล่วงหน้ามาก่อน

11. คุณพรรณิการ์ วาณิช กล่าวถึงรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ ว่า มีที่มาเป็นเผด็จการ ไม่สามารถเข้าคลับของประเทศตะวันตกได้ ได้แต่คบกับรัสเซีย จีน และซาอุดิอเรเบีย ที่มีที่มาคล้ายๆกัน รัฐบาลไทยจะต้องสร้างสมดุล โดยหันไปทางประเทศประชาธิปไตยให้มากขึ้น

12. นาย Robert F. Godec เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย แสดงความสนใจ และความกระตือรือล้นต่อผลการเลือกตั้งที่ผ่านมาอย่างออกนอกหน้า โดยไม่มีสถานทูตประเทศอื่นๆแม้แต่แห่งเดียวที่แสดงออกเช่นนาย Godec

13. ทันทีที่ทราบผลการเลือกตั้ง คุณพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ โพสต์ข้อความใน social media เรียกร้องให้รัสเซียถอนทหารออกจากยูเครนโดยไม่มีเงื่อนไข และให้สัมภาษณ์วิจารณ์นโยบายต่างประเทศของรัฐบาลประยุทธ์ว่า ไม่มีจุดยืน เป็นไผ่ลู่ลม ทำให้ไม่มีที่ยืนในเวทีโลก หากก้าวไกลเป็นรัฐบาลจะทวงคืนศักดิ์ศรีการต่างประเทศไทย และยืนยันว่าตนเองกดดันให้ประเทศเมียนม่าร์กลับมาเป็นประเทศประชาธิปไตย ซึ่งเป็นสิ่งที่สหรัฐอเมริกาต้องการ ทั้งที่หลักการสำคัญของอาเซียนคือ การไม่แทรกแซงซึ่งกันและกัน

14. คุณพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ จบจาก John F. Kennedy School of Government มหาวิทยาลัย Harvard ซึ่งสอนทางด้าน Public Policy, Public Administration เป็นสถาบันที่ปลูกฝังความเชื่ออย่างที่สหรัฐอเมริกาต้องการ ผู้ที่จบจากที่นี่ส่วนใหญ่มีความเชื่อมั่นในการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบตะวันตก และในระบอบทุนนิยม เสรีนิยม

โรงเรียนนี้มีความเชื่อมโยงอย่างแนบแน่นกับ World Economic Forum ซึ่งเป็น elite group ก่อตั้งโดยนาย Klaus Schwab มีสมาชิกประกอบด้วย นักการเมือง กลุ่มทุนยักษ์ใหญ่จากประเทศต่างๆ ว่ากันว่าองค์กรนี้มีความพยายามที่จะกำหนดทิศทางเศรษฐกิจของโลก คำว่า "New World Order" ก็เกิดขึ้นจากกล่ม elite กลุ่มนี้ และหลังจากสถานการณ์โควิดผ่อนคลาย ยังมีคำว่า " The Great Reset" ออกมาอีกซึ่งก็ยังไม่ชัดเจนว่าจะ reset อย่างไร

นาย Schwab ยังได้ก่อตั้งหลักสูตรอบรมที่เรียกว่า Young Global Leaders ผู้ที่ผ่านการอบรมจากหลักสูตรนี้จำนวนมาก ได้ไปมีบทบาทเป็นผู้นำรัฐบาลในประเทศต่างๆทั่วโลก นาย Justin Trudeau นายกรัฐมนตรีของ Canada และอีกหลายคนในคณะรัฐมนตรี ก็ผ่านการอบรมจากหลักสูตรนี้ ผู้ที่ผ่านการอบรมจากหลักสูตรนี้ และจาก John F. Kennedy School of Government ส่วนใหญ่ดูเหมือนจะดำเนินนโยบายเอนเอียงไปทางสหรัฐอเมริกาอย่างมาก

จะเห็นว่า หลังจากการเลือกตั้งไม่กี่วัน พรรคก้าวไกลยังไม่ทันได้เป็นรัฐบาล World Economic Forum ก็ส่งคณะผู้แทนเข้าพบคุณพิธา และเป็นที่น่าสังเกตว่า สื่อตะวันตก เช่น BBC Bloomberg Insider ต่างเผยแพร่ข่าวเชียร์คุณพิธาอย่างออกหน้าออกตา เห็นแล้วทำให้รู้สึกว่า ประเทศตะวันตกมึความพอใจที่จะได้คุณพิธาเป็นนายกรัฐมนตรีของไทย มากกว่าคุณธนาธรเสียอีก ทำให้ขณะนี้คุณพิธามีความเจิดจรัสบดบังรัศมีของคุณธนาธร และอ.ปิยบุตรไปเกือบหมด

ทั้งหมดนี้คือเหตุการณ์ และข้อเท็จจริงต่างที่พอรวบรวมได้ ที่ทำให้มีความเป็นไปได้ค่อนข้างมากว่า ประเทศตะวันตก ไม่เพียงแต่สหรัฐอเมริกา กำลังแทรกแซงการเมืองไทย

เรื่องนี้หากไปถาม ผู้สื่อข่าวต่างประเทศที่คร่ำหวอด ติดตาม และทำข่าวต่างประเทศมาอย่าวยาวนาน เขาจะตอบว่า ไม่น่าแปลกใจ และมีความเป็นไปได้สูง เพราะเขาทราบดีว่า สหรัฐอเมริกาแทรกแซงประเทศต่างๆในโลกมาแล้วมากมาย เช่น นิคารากัว อิรัก อัฟกานิสถาน ลิเบีย ซีเรีย และอีกหลายประเทศในอาฟริกา

ข้อเท็จจริงที่ไม่มีใครปฏิเสธได้คือ สหรัฐอเมริกาทำตัวเป็นปฏิปักษ์กับประเทศจีนอย่างเปิดเผย และในทางภูมิรัฐศาสตร์ ประเทศไทยตั้งอยู่ในตำแหน่งที่เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญอย่างยิ่ง ทำให้สหรัฐอยากได้ไทยเป็นพวก ความจริงข้อนี้สามารถไปหาอ่านได้ในเอกสาร Indo-pacific Strategy ได้

การสร้างสถานกงสุลแห่งใหม่ที่ใช้เงินเกือบหมื่นล้านบาท มีชั้นที่อยู่ใต้ดินอีก 10 ชั้นต้องมีวัตถุประสงค์บางอย่างที่เกี่ยวกับเมียนม่าร์และจีนที่เปิดเผยไม่ได้อย่างแน่นอน

ที่เมียนม่าร์ มีข่าวและรูปถ่ายเล็ดรอดออกมาว่า สหรัฐส่งอาวุธและคนไปฝึกอาวุธให้ชนกลุ่มน้อยและฝ่ายต่อต้านรัฐบาลเมียนม่าร์อย่างลับๆ เพื่อรบกับฝ่ายรัฐบาล เมื่อมีข่าวนี้ออกมา สหรัฐชี้แจงว่าผู้ที่ไปฝึกอาวุธเป็นอดีตนาวิกโยธิน จึงไม่เกี่ยวกับรัฐบาลสหรัฐแต่อย่างใด แต่ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร เราก็คงคาดเดาได้ ดังนั้นจึงเชื่อได้อย่างยิ่ง ที่สหรัฐจะมีความต้องการที่จะเข้ามาตั้งฐานทัพในไทยเช่นเดียวกับที่ประเทศ ญี่ปุ่น และฟิลิปปินส์

คำถามคือ หากคุณพิธาได้เป็นนายกรัฐมนตรีในอีก 2 เดือนข้างหน้า คุณพิธาจะทำตัวเป็นลูกรักของสหรัฐอเมริกาหรือไม่ และจะยินยอมให้สหรัฐอเมริกามาตั้งฐานทัพในประเทศไทยหรือไม่

เราต้องติดตามดูต่อไป

‘ดร.ปฐมพงษ์’ ชี้ การเมืองไทยจะเหลือแค่ ‘พรรคใหญ่’  หุ่นเชิดชาตินักล่าอาณานิคมตะวันตก – พรรคที่มีอุดมการณ์ชาตินิยม

เมื่อวันที่ 27 พ.ค. 2566 - ดร.ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์ นักวิชาการทางบูรพคดีศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล เผยแพร่บทความผ่านเฟซบุ๊กมีเนื้อหาดังนี้ ขณะที่ประเทศอเมริกามี 2 พรรคใหญ่คือพรรครีพับลิกันและเดโมแครตซึ่งกลุ่มทุนยิวไซออนิสต์อยู่เบื้องหลังทั้งคู่

ต่อไป พรรคการเมืองในประเทศไทยจะเหลือแค่ ๒ พรรคใหญ่ๆ เท่านั้นคือพรรคที่เป็นหุ่นเชิดชาตินักล่าอาณานิคมตะวันตกและพรรคที่มีอุดมการณ์ชาตินิยมซึ่งต้องการให้ประเทศเป็นไทจากชาตินักล่าอาณานิคม

ในที่สุด พรรคที่มีอุดมการณ์ชาตินิยมนี้ก็จะถูกบีบให้เลือกข้าง ไปเข้าข้างรัสเซียและจีนซึ่งมีอุดมการณ์อย่างเดียวกันจนได้ ถ้าพรรคที่มีอุดมการณ์ชาตินิยมคัดเลือกแต่นักการเมืองน้ำดีซึ่งมีอุดมการณ์จริงๆ ประวัติไม่มีด่างพร้อยมาอยู่ พรรคจะเจริญก้าวหน้า มีคนศรัทธามากยิ่งขึ้นและเอาชนะคู่แข่งได้โดยลำดับ

แต่ถ้ารับคนจำพวกแสวงหาตำแหน่งการเมืองซึ่งมีให้เห็นตั้งแต่ชุมนุมพันธมิตรแล้ว พวกนี้อาศัยช่องทีวีพันธมิตรโผล่หน้าให้เห็นบ่อยๆ ซึ่งเป็นบันไดก้าวไปร่วมรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ ๑ และประยุทธ์ ๒ จนถึงทุกวันนี้ พรรคก็จะไม่เป็นที่น่าศรัทธาเท่าไหร่

การเลือกตั้งใหญ่แต่ละครั้ง จะต้องเเตรียมให้พร้อมกว่าการเลือกตั้งที่ผ่านมาเพราะเดิมพันสูง ต้องให้พรรคที่มีอุดมการณ์ชาตินิยมชนะทุกครั้ง นั่นแปลว่าระหว่างบริหารบ้านเมือง จะต้องทำให้เศรษฐกิจดีทุกๆ ด้านเพื่อให้ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศพึงพอใจ และเหนือกว่านั้นคือต้องเอาชนะ สงครามพันทาง จากอเมริกาให้ได้ไปด้วยเหมือนที่วลาดิเมียร์ ปูตินทำอยู่ในขณะนี้

เพราะถ้าพรรคหุ่นเชิดชาตินักล่าอาณานิคมตะวันตกอีกพรรคได้คะแนนเสียงข้างมากเมื่อไหร่ ก็จะจัดการปรับให้หน่วยงานด้านความมั่นคงอ่อนแอลงเพื่อให้ต่างชาติแทรกแซงได้ง่ายขึ้น ต่างชาติก็จะเข้ามาบงการนโยบายประเทศไทยได้และจะมีการแก้กฎหมายต่างๆ เอื้อประโยชน์ต่างชาติให้วุ่นวายไปหมด

คุณจารุณี สุขสวัสดิ์ คุณเจสัน ยังและคุณสินจัย เปล่งพาณิช เป็นตัวอย่างดาราที่มีอุดมการณ์หนักแน่น ไม่กลัวการถูกวิจารณ์เมื่อแสดงจุดยืน น่าสรรเสริญมากและน่าจะเป็นตัวแทนฝ่ายบรรเทิงที่จะเข้ามาอยู่ในพรรคที่มีอุดมการณ์ชาตินิยมนี้ได้

หมายเหตุ: ชาตินิยมในที่นี้คือ nationalism หรือ patriotism ไม่ใช่เลยเถิดไปเป็น radical nationalism หรือ racism เหมือนในเยอรมนีสมัยฮิตเลอร์

คนไทยกับการจัดตั้งรัฐบาลใหม่

เมื่อวันที่ 28 พ.ค. สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ กรณีคนไทยกับการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ จำนวนทั้งสิ้น 1,352 คน เป็นการสำรวจทางออนไลน์ ระหว่างวันที่ 24-26 พ.ค.66 พบว่า จากการเลือกตั้งใหญ่ 14 พ.ค. 2566 ที่ผ่านมา ทำให้ประชาชนสนใจติดตามข่าวการเมืองมากขึ้น ร้อยละ 72.63 ณ วันนี้ ประชาชนรู้สึกเครียดกับเรื่องปากท้อง/ค่าใช้จ่ายมากที่สุด ร้อยละ 52.14 รองลงมาคือ การจัดตั้งรัฐบาล ร้อยละ 51.90 ทั้งนี้เมื่อมีความรู้สึกเครียดจะแก้ปัญหาด้วยการคุยกับเพื่อน คนรัก คนที่ไว้ใจได้ ร้อยละ 46.38

เมื่อสอบถามว่าประชาชนมีความกังวลกับการจัดตั้งรัฐบาลใหม่หรือไม่ พบว่า กังวล ร้อยละ 67.83 เนื่องจากกลัวว่าการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีจะไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประชาชน พรรคที่ได้เสียงข้างมากอาจไม่ได้จัดตั้งรัฐบาล พรรคร่วมรัฐบาลมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน มีการเล่นเกมการเมืองมากเกินไป และกังวลการโหวตของ ส.ส. และ ส.ว.

ส่วนความเชื่อมั่นว่าการจัดตั้งรัฐบาลใหม่จะเป็นไปด้วยความราบรื่น พบว่าไม่เชื่อมั่น ร้อยละ 58.33 และเชื่อมั่น ร้อยละ 41.67 จากผลการสำรวจสะท้อนให้เห็นว่าการเลือกตั้งใหญ่ที่ผ่านมาทำให้คนไทยติดตามข่าวการเมืองมากขึ้น แต่ก็ยังมีความกังวลกับการจัดตั้งรัฐบาลของพรรคที่ชนะการเลือกตั้ง รวมไปถึงกังวลกับการเลือกนายกรัฐมนตรีว่าอาจจะไม่ได้ตาม ที่ต้องการเพราะกลไกของการเลือกนายกรัฐมนตรีนั้นมีเงื่อนไขของการโหวตจาก ส.ว. ร่วมด้วย กอปรกับภาพความขัดแย้งของพรรคฝั่งประชาธิปไตยที่มีข่าวให้เห็นรายวัน จึงทำให้ประชาชนยังไม่แน่ใจว่าการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ครั้งนี้จะเป็นไปด้วยความราบรื่น

‘สว.สมชาย’ คิดหนัก หลังเห็นรายชื่อว่าที่ประธานสภาฯ เย้ย ไร้ฝีมือ-ด้อยคุณภาพ ลั่น!! ไม่ขอเรียกท่านประธานที่เคารพ

(27 พ.ค. 66) จากกรณีกระแสข่าวการชิงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งกำลังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันในสังคมนั้น ล่าสุด นายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) โพสต์รูปภาพและข้อความบนเฟซบุ๊ก ระบุว่า…

“555ว่าที่ท่านประธานสภาที่เคารพไม่ลง”

โดยภาพที่นายสมชายโพสต์ ระบุข้อความว่า “#คิดหนักมาก เปิดประชุมร่วมรัฐสภาฯ ดูหน้ารายชื่อว่าที่ประธานสภาที่พรรคกร้าวเสนอ ไร้ฝีมือ ด้อยคุณภาพ ไม่ขอเรียกท่านประธานสภาที่เคารพแน่นอน #กระดากปาก”

‘เพื่อไทย’ ยัน ไม่สร้างเงื่อนไขให้การขับเคลื่อน รบ.ติดขัด ลั่น!! ไม่คิดใช้ตำแหน่งประธานสภาฯ ต่อรองเก้าอี้ รมว.มหาดไทย

 (27 พ.ค. 2566) นายประเสริฐ จันทรรวงทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวกรณีนายสมชัย ศรีสุทธิยากร ประธานยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนนโยบายพรรคเสรีรวมไทย (สร.) ออกมาระบุตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นเกมที่พรรคเพื่อไทยต้องการใช้ต่อรองเก้าอี้ รมว.มหาดไทย ว่า ไม่เป็นความจริง พรรคเพื่อไทยไม่คิดเอาตำแหน่งประธานสภาฯ มาเป็นเงื่อนไขต่อรองเก้าอี้ รมว.มหาดไทย เพราะเป็นคนละส่วนกัน

นายประเสริฐ กล่าวว่า เก้าอี้รัฐมนตรีเป็นฝ่ายบริหารที่พรรคร่วมทั้ง 8 พรรคต้องมาหารือตกลงร่วมกัน โดยมีธรรมเนียมเรื่องการนำเก้าอี้ ส.ส. ที่แต่ละพรรคได้มาเกลี่ยกัน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย รวมถึงต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของตัวบุคคลในภารกิจนั้นๆ ด้วย ไม่ใช่จะเอาแค่เก้าอี้มาเป็นตัวชี้วัดอย่างเดียว ซึ่งเรื่องนี้ทางพรรคร่วมคงต้องมีการหารือเพื่อให้เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย เพื่อให้การทำงานของรัฐบาลเดินหน้าอย่างราบรื่น

“พรรคเพื่อไทยมีประสบการณ์ ไม่คิดจะเอาตำแหน่งฝ่ายนิติบัญญัติมาเป็นเงื่อนไขในการต่อรอง จนกระทบการทำงานของฝ่ายบริหารแน่ เพราะบ้านเมืองประสบปัญหามานาน เราต้องได้รัฐบาลที่กลมเกลียวไปแก้ไขปัญหาให้ประชาชน ยืนยันเราไม่คิดที่จะเป็นคนสร้างเงื่อนไขให้การขับเคลื่อนรัฐบาลติดขัดแน่นอน” นายประเสริฐ กล่าว

‘ธนกร’ ยัน ‘รทสช.’ ไม่ใช่พรรคเฉพาะกิจ พร้อมเป็นฝ่ายค้าน ลั่น!! จุดยืนพรรคฯ ไม่หนุน ว่าที่นายกฯ ‘พิธา’ ปมแก้ ม.112

(27 พ.ค. 66) นายธนกร วังบุญคงชนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) กล่าวถึงการเดินหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติหลังการเลือกตั้ง ว่า พรรครวมไทยสร้างชาติยืนยันเดินหน้าสู่การเป็นสถาบันทางการเมือง และไม่ได้เป็นพรรคเฉพาะกิจ แม้จะเป็นพรรคใหม่ แต่จากผลการเลือกตั้งเราถือว่าเป็นความสำเร็จในการเริ่มต้นครั้งแรกของการเลือกตั้ง คะแนนเสียงที่ได้ เป็นสิ่งที่พรรคต้องนำความหวังของพี่น้องประชาชนมาเดินหน้าขับเคลื่อน แม้พรรคไม่ได้เป็นอันดับ 1 แต่ให้คำมั่นไม่ว่าจะบทบาทไหน พรรคจะขับเคลื่อนการทำงานให้กับพี่น้องประชาชนให้ได้ ส่วนการทำงานในพรรคจะมีการปรับกลยุทธ์ โดยนำเสียงสะท้อนพี่น้องมาเป็นการบ้านทำให้พรรคเข้มแข็งต่อไป โดยดึงคนรุ่นใหม่เข้ามาร่วมขับเคลื่อนพรรค

นายธนกร กล่าวว่า ขณะนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ในฐานะประธานคณะกรรมการกำหนดแนวทางและยุทธศาสตร์พรรค และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรครวมไทยสร้างชาติ ยังอยู่นำพรรคต่อไป บนอุดมการณ์จุดยืนแน่วแน่ที่ไม่มีเปลี่ยนแปลง ปกป้องสถาบันหลักของชาติ และในสิ่งที่หาเสียงไว้กับประชาชน รวมถึงสานต่อการทำงานรัฐบาล ตลอด 8 ปี ที่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์

นายธนกร กล่าวว่า ส่วนการจัดตั้งรัฐบาล อย่างที่ตนบอกมาตลอด เป็นหน้าที่ของพรรคที่ได้คะแนนเสียงลำดับต้นๆ ที่เขาจะไปพูดกันเอง อย่างที่บอกเราให้เกียรติ สำหรับพรรครวมไทยสร้างชาติ พร้อมทุกอย่างจะเป็นอะไรก็ได้ เป็นฝ่ายค้านก็ได้ จะอยู่ฝั่งไหนพวกเราก็สามารถทำงานได้ เพราะเราเคารพกระบวนการตามระบอบประชาธิปไตย หากมีพรรคอื่นมาชวนไปร่วมรัฐบาล ตนขอยืนยันว่าพรรครวมไทยสร้างชาติ ไม่เอาพรรคที่แก้มาตรา 112 หากพรรคที่มาชวนเราไปร่วมรัฐบาลมีเรื่องนี้ เรายอมไม่ได้ เพราะเรายึดมั่นในชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และจะไม่ยกมือสนับสนุนนายกฯ ที่ชูแก้มาตรา 112

พิธา โพสต์เคลียร์ เก้าอี้ ประธานสภาฯ ขอให้ทุกพรรค เดินหน้าทำงาน ปรับจูนนโยบายร่วมกัน เพื่อตั้งรัฐบาลให้สำเร็จ

วันที่ (26 พ.ค. 66) นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ได้โพสต์ข้อความ ถึงการแย่งชิงเก้าอี้ประธานสภาผู้แทนราษฎร เรียกร้องให้พรรคการเมือง 8 พรรคที่เตรียมจัดตั้งรัฐบาลจับมือกัน และนำประเด็นนี้ไปพูดคุยกันในวงเจรจา

"เรื่อง ประธานสภา ที่เกิดขึ้นทั้งหมดในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมานี้ เป็นเรื่องความเห็นไม่ตรงกันของพรรคร่วมรัฐบาลที่เล็กมากถ้าหากเทียบกับภารกิจที่ประชาชนมอบความไว้วางใจให้พวกเรามา

ดังนั้น พรรคร่วมรัฐบาลต้องจับมือเกี่ยวแขนกันไว้ให้มั่นคง ทำภารกิจยุติสืบทอดอำนาจรัฐประหาร พาประเทศไทยกลับสู่ประชาธิปไตยให้สำเร็จจงได้

พวกเราต่างก็รับทราบวิธีคิด หลักการ เหตุผล ของทุกฝ่ายชัดเจนแจ่มแจ้งในประเด็นนี้กันแล้ว ดังนั้น ผมขอให้เรื่องตำแหน่งประธานสภานี้ ให้พรรคร่วมรัฐบาลกลับไปพูดคุยกันผ่านตัวแทนแต่ละพรรคในวงเจรจาจะดีที่สุด

ตอนนี้ ขอให้ทุกพรรคเดินหน้าทำงานปรับจูนนโยบายร่วมกัน ตั้งรัฐบาลให้สำเร็จตามความคาดหวังของประชาชนครับ" นายพิธา โพสต์
 

‘ฟิทช์’ ส่งสัญญาณถึง ‘รบ.ใหม่’ ปมจัดตั้งคลุมเครือ-ล่าช้า ชี้!! อาจกระทบต่อความน่าเชื่อถือในเสถียรภาพของไทย

วันที่ (26 พ.ค.66) รายงานข่าวจาก Fitch Ratings บริษัทจัดอันดับเรตติ้งชั้นนำ ระบุถึงสถานการณ์ประเทศไทยหลังผ่านการเลือกตั้งว่า คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่มีเวลาถึง 60 วันในการประกาศผลอย่างเป็นทางการหลังการเลือกตั้งในวันที่ 14 พฤษภาคม 66 แต่ตัวเลขเบื้องต้นบ่งชี้ว่า

พรรคก้าวไกลซึ่งได้ที่นั่งมากที่สุดในสภาผู้แทนราษฎร และพรรคเพื่อไทย พรรคฝ่ายค้านใหญ่ที่สุดก่อนหน้านี้ ตามมาเป็นอันดับที่ 2 ยังมีความคลุมเครือในการจัดตั้งรัฐบาล โดยขณะนี้ยังไม่ชัดเจนว่า พรรคก้าวไกลจะได้รับเสียงสนับสนุนเพียงพอหรือไม่ ที่จะจัดตั้งรัฐบาลผสม ซึ่งจะส่งผลให้มีการจัดลำดับความสำคัญของนโยบายในกรอบที่กว้าง ทำให้การกำหนดนโยบายอย่างมีประสิทธิภาพ อาจถูกจำกัดชั่วคราว หากกระบวนการสรรหาพันธมิตรร่วมรัฐบาลยังทำให้การจัดตั้งรัฐบาลใหม่ล่าช้าไปหลายเดือน

สำหรับการจะครองเสียงข้างมากในรัฐสภา และเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีคนต่อไปนั้น พรรคแกนนำจัดตั้งรัฐบาลต้องรวมคะแนนเสียงให้ได้อย่างน้อย 376 เสียง จากที่นั่งรวม 700 ที่นั่งในรัฐสภา ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดใหม่ในสภาผู้แทนราษฎร 500 คน และสมาชิกวุฒิสภา 250 คน ซึ่งแต่งตั้งโดยรัฐบาลทหารก่อนการเลือกตั้งปี 2562

ทั้งนี้ การคาดการณ์ในกรณีพื้นฐาน (Base Case) นั้น ผลกระทบต่ออันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยในระยะสั้นจะมีจำกัด โดยเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2565 ฟิทช์ ยังคงอันดับความน่าเชื่อถือของไทยไว้ที่ BBB+ และคงมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Outlook) อยู่ในระดับมีเสถียรภาพ (Stable Outlook)

เราได้ระบุไว้กว้างๆ ว่า อาจเกิดรัฐบาลผสม ทำให้การกำหนดนโยบายอย่างมีประสิทธิภาพนั้นกลายเป็นเรื่องซับซ้อน แต่ก็ไม่น่าจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ และแม้ว่าแนวโน้มนโยบายการคลังมีความไม่แน่นอน แต่คาดว่ารัฐบาลผสมชุดใหม่ จะยังคงยึดมั่นในนโยบายเศรษฐกิจที่สำคัญบางส่วนของรัฐบาลชุดที่แล้ว

ทั้งนี้ อาจมีการหยุดชะงักในการใช้จ่าย ภายใต้งบประมาณสำหรับปีงบประมาณที่สิ้นสุดในเดือนกันยายน 2567 หากการเจรจาจัดตั้งรัฐบาลล่าช้า จะเป็นผลลบต่อแนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศไทย แต่เรายังคงคาดว่า การเติบโตจะเร่งตัวขึ้นในปี 2566 และยังคงแข็งแกร่งในปี 2567 โดยมีการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว และการบริโภคภาคเอกชนเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก

ตัวชี้วัดภาคการคลังสาธารณะของไทย ที่มีความเสื่อมถอยลงอย่างมากในช่วงการระบาดของโควิด 19 ซึ่งมีผลกระทบต่ออันดับความน่าเชื่อถือที่ระดับปัจจุบัน แต่ฟิทช์คาดการณ์ว่า หนี้ภาครัฐทั่วไป/จีดีพี และดอกเบี้ย/รายได้ ในปี 2566-2567 จะยังคงอยู่ในระนาบตามค่ามัธยฐาน (Median) ของกลุ่มประเทศที่มีความน่าเชื่อถือในระดับ BBB

ทั้งนี้ ระบุว่า หากรัฐบาลชุดต่อไปไม่สามารถรักษาเสถียรภาพของสัดส่วนหนี้ภาครัฐได้ ตัวอย่างเช่น มีแรงกดดันด้านการใช้จ่ายอย่างต่อเนื่อง หรือมีผลกระทบจากภายนอก ซึ่งอยู่นอกเหนือสมมติฐานพื้นฐานของเรา นั่นอาจส่งผลให้อันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยลดลง

ว่าที่ ส.ส.อรรถกร ขอบคุณทุกคะแนนเสียง จากประชาชน เร่งลุย ทำงานแก้ปัญหาราคากุ้ง ช่วยเกษตรกรรายย่อย ทันที

นายอรรถกร ศิริลัทธยากร ว่าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.ฉะเชิงเทรา เขต 2 หนึ่งในว่าที่ส.ส.พลังประชารัฐ ที่ชนะการเลือกตั้งเป็นผู้แทนของชาวฉะเชิงเทรา  และเป็นหนึ่งในผู้สมัครที่สามารถฝ่าการแข่งขันสูงในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา กล่าวว่า

ตนขอขอบคุณพี่น้องประชาชนที่ให้ความเชื่อมั่นให้ได้ทำงานต่อเนื่อง ตนพร้อมทำงานทันที เพราะยังมีปัญหาเร่งด่วนที่ต้องแก้ไข โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อยผู้เพาะเลี้ยงกุ้ง ซึ่งประสบปัญหาราคากุ้งไม่สอดคล้องกับต้นทุนการเพาะเลี้ยง  

ทั้งค่าอาหารและปูนในการเพาะเลี้ยงปรับตัวสูงขึ้น ทำให้เกษตรกรประสบปัญหามาอย่างต่อเนื่อง  ล่าสุดได้เข้าร่วมประชุมหารือ กับกลุ่มเกษตรกร เพื่อวางแนวทางร่วมกัน ในการยกระดับราคากลางให้สูงขึ้น   คุ้มค่ากับการลงทุนในการเพาะเลี้ยง ควบคู่กับการหาช่องทางการจัดจำหน่ายให้กับเกษตรกรรายย่อยในระยะต่อไป เพื่อให้ได้ราคากุ้งที่เหมาะสมกับต้นทุน

“พื้นที่ฉะเชิงเทรา เป็นแหล่งผลิตกุ้งเลี้ยง อีกแห่งหนึ่ง ถือเป็นเศรษฐกิจพื้นฐานของจังหวัด ต้องได้รับการสนับสนุนและช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาระยะยาว ให้เกษตรกรอยู่รอดได้”นายอรรถกร กล่าว

นายอรรถกร กล่าวต่อว่า เราต้องเร่งสานต่อนโยบายการแก้ปัญหาเรื่องน้ำในจังหวัด ทั้งการแก้ไขปัญหาน้ำเค็ม การจัดหาแหล่งน้ำจืด และลดปัญหาน้ำกร่อย พร้อมกับการดูแลด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้น้ำสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ เพราะพื้นที่ฉะเชิงเทรา มีความหลากหลายทางอาชีพ นอกจากเกษตรกรรม ยังเป็นแหล่งเพาะพันธ์สัตว์น้ำ รวมถึงภาคอุตสาหกรรมด้วย ทำให้ความต้องการใช้น้ำมีการปริมาณเติบโตอย่างต่อเนื่อง
 

สถานการณ์การจัดตั้งรัฐบาล ‘ก้าวไกล’ อาจต้องยกเก้าอี้ ประธานสภาฯ ให้เพื่อไทย เพื่อให้ ‘พิธา’ เป็นนายกฯ

(26 พ.ค. 66) เลียบการเมือง..สุดสัปดาห์   ก็ต้องมาขมวดสถานการณ์ส่งท้ายกันให้สะเด็ดน้ำอีกนิดว่า..แม้จะบอกว่าพรรคฝ่ายตัวเองเป็นฝ่ายประชาธิปไตย  ยึดผลประโยชน์ชาติและประชาชน  แต่สถานการณ์การจัดตั้งรัฐบาลก้าวไกลไม่ได้ราบรื่นแบบโรยด้วยกลีบกุหลาบแม้แต่นิดเดียว...ยิ่งนานวันก็ออกอาการแบบการเมืองเดิมๆ..
เอาล่ะ ไม่พูดพล่ามทำเพลง  เล็ก  เลียบด่วน  ขอหน้าแหกฟันธงไว้สัก 3ประการดังนี้..
ประการที่หนึ่ง –ศึกชิงตำแหน่งประธานสภา   หลังจากมีการประดาบ สำแดงพลังกันพักใหญ่ ในที่สุดพรรคเพื่อไทยก็คงเป็นฝ่ายชนะ..แต่อาจมีข้อแลกเปลี่ยนพิเศษให้กับพรรคก้าวไกล...

ประการที่สอง  - เมื่อตกลงชัดเจนว่าพรรคเพื่อไทยได้ตำแหน่งประธานสภาแล้ว   เพื่อไทยก็จะโอบอุ้มหนุนส่งพิธา   ลิ้มเจริญรัตน์  ไปจนถึงการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีช่วงปลายเดือนก.ค.หรือต้นส.ค.....แน่นอนพรรคเพื่อไทยยกมือหนุนให้พิธา....แต่คะแนนของพิธาจะผ่าน 376 เสียงหรือเกินครึ่งของรัฐสภาเพื่อจะได้เป็นนายกฯหรือไม่อยู่ที่มือของสว.เป็นหลัก...

ประการที่สาม- พิธาคงไปไม่ถึงฝันเพราะสว.ส่วนใหญ่ไม่ยกมือให้  ถึงตอนนั้น พรรคก้าวไกลอาจหนุนนายกฯของพรรคเพื่อไทย  แต่เสียงอาจไม่ถึง 376 เสียงอีกเพราะสว.อาจตั้งแง่ว่า  ตราบใดที่มีพรรคก้าวไกลเป็นรัฐบาลจะไม่โหวตให้...เกมการเมืองก็จะพลิ กโฉมหน้าไปอีก  โดยโอกาสที่พรรคเพื่อไทยจะจับมือกับขั้วรัฐบาลเดิม   พรรคก้าวไกลต้องไปเป็นฝ่ายค้านมีสูงมาก...

อาจมีบางฝ่ายในปีกอนุรักษ์นิยมเชื่อว่า   เมื่อพิธาสอบไม่ผ่าน...ก้าวไกลประกาศไปเป็นฝ่ายค้าน ลุงตู่หรือลุงป้อมอาจพลิกเกมลงสู้ชิงนายกฯแข่งกับพรรคเพื่อไทย  ซึ่งน่าจะชนะแน่เพราะมี250 เสียงจากสว.หนุน  จัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อย    ลากไปซักปีค่อนปีแล้วค่อยยุบสภานั้น...สูตรนี้”เล็ก  เลียบด่วน”  เห็นว่าคิดได้..ทำได้  แต่ถ้าทำจริงๆน่าจะเข้าทางด้อมส้ม..เลือกตั้งรอบหน้าฟ้าถล่มดินทลายแน่นอน...ขณะที่สูตรยอมหนุนพรรคเพื่อไทย เอาไว้ถ่วงดุลกับก้าวไกล  น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า...

นั่นเป็นการคาดหมายสถานการณ์...ซึ่งไม่ว่าหวยจะออกมาอย่างไรก็ต้องขอบอกว่า  วันก่อนเห็นภาพว่าที่นายกฯทิม  พิธา  ยกคณะไปตัดสูทตัดชุดกันที่ร้านทรงสมัยซั่งฮี้แล้วก็อยากบอกว่าแม้ที่สุดฝันเก้าอี้นายกฯอาจไม่เป็นจริง..แต่กับตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านสภาผู้แทนราษฎรก็ถือว่าทรงคุณค่า  เท่ระเบิดเถิดเทิงเหมือนกัน.....

มีคนถามไถ่กันมากว่าทำไม..ผู้พันปุ่น  ศิธา  ทิวารี  หนึ่งในแคนดิเดทนายกฯพรรคไทยสร้างไทย   ต้องเล่นบทผู้สื่อข่าวตั้งคำถามและแนะนำให้พรรคเพื่อไทยกับก้าวไกลทำแอ๊ดวานซ์  เอ็มโอยู  ผูกขากันเดิน..ห้ามพรากจากกัน จนเกิดเรื่องบานปลาย..ก็ตองบอกว่าหากมองชั้นเดียวผู้พันปุ่นน่าจะทำเพื่อพรรคตัวเอง..เพราะตราบใดมีพรรคก้าวไกลเป็นแกนนำพรรคไทยสร้างไทยก็จะเป็นตัวช่วยสำคัญตัวหนึ่ง  แต่ถ้าเกมพลิกพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำ..เจ้าของพรรคเพื่อไทยตัวจริงคงไม่แฮปปี้ที่จะเห็นคุณหญิงสุดารัตน์  เกยุราพันธ์   หัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย มาร่วมวง..?..

ไปที่พรรคประชาธิปัตย์...ไม่เกินความคาดหมาย  เกมการประชุมใหญ่วิสามัญ  เลือกหัวหน้าและกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ในอีกไม่นานนี้  จากองค์ประชุม 19 ประเภทนั้น..จะให้น้ำหนักการโหวตอยู่ที่ ส.ส.ชุดใหม่  25 คน 70 เปอร์เซ็นต์  อีก 18 ประเภทองค์ประชุม เช่น ประสาขา,ตัวแทนจังหวัด,อดีตส.ส. ฯลฯ  30 เปอร์เซ็นต์...เช่นนี้แล้วใครอยากรู้ว่าหัวหน้าและเลขาคนใหม่เป็นใครก็ต้องไปถาม.”.เลขาต่อ”...กับนายกฯชาย..ที่คุมเสียงส.ส.ชุดใหม่เบ็ดเสร็จ...และขณะที่หลายคนบอกอย่าสิ้นหวัง ฟื้นคืนชีพพรรคได้แน่  แต่อีกไม่น้อยบอกว่า..ที่นี่มืดจริงหนอ..!!!

สวัสดีครับ

เรื่อง : เล็ก เลียบด่วน

‘ณัฐวุฒิ’ แนะพรรคแกนนำตั้งรัฐบาล ทำงานใหญ่ ใจต้องใหญ่กว่า ย้ำ แต่ละฝ่ายหาจุดลงตัว ตั้งรัฐบาลประชาธิปไตย ตามคำสั่งประชาชน

นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ผู้อำนวยการครอบครัวเพื่อไทย ทวีตข้อความทางทวิตเตอร์ ถึงกรณีความขัดแย้งของผู้สนับสนุนพรรคการเมืองฝ่ายประชาธิปไตย ต่อกรณีการจัดตั้งรัฐบาล โดยระบุว่า

“เห็นต่างโต้แย้งธรรมดารัฐบาลผสม พรรคแกนนำยิ่งต้องเพิ่มความถี่พูดคุยเอาเหตุผลแต่ละฝ่ายหาจุดลงตัว ตั้งรัฐบาลประชาธิปไตย ตามคำสั่งประชาชนไม่บิดพลิ้ว

ทำงานใหญ่ใจต้องใหญ่กว่า ซีนงอกแบบไม่ไว้ใจเพื่อนก็หยุดเสีย ไม่เชื่ออย่าใช้ ถ้าจะใช้ก็ต้องให้เกียรติกัน ใจเย็นๆทั้งผู้เล่นทั้งกองเชียร์”

‘คิริลล์ คอตคอฟ’ ชี้ หากยังขัดแย้งกัน อาจมีสงครามกลางเมือง ระหว่างคนรักสถาบัน กับ คนรักก้าวไกล

คิริลล์ คอตคอฟ ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาประเทศตะวันออกไกล ณ เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก

ได้วิเคราะห์สถานการณ์ในประเทศไทย ในรายการ "Turn to the East" ทาง Radio Sputnik Russia ไว้โดยมีใจความว่า ...

พรรค Forward Movement(ก้าวไกล) ซึ่งได้รับคะแนนเสียงมากที่สุดในการเลือกตั้งรัฐสภาในประเทศไทยเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม และนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรค ประกาศจัดตั้ง "แนวร่วมประชาชน" จำนวน 8 พรรค พร้อมจัดตั้งรัฐบาลผสมและควบคุมที่นั่งรวมกัน 313 ที่นั่ง จาก 500 เสียง อย่างไรก็ตาม เสียงข้างมากในสภาล่าง(สภาผู้แทนราษฎร) ดังกล่าวไม่ได้ให้โอกาสโดยอัตโนมัติในการเสนอชื่อผู้สมัครชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากการลงคะแนนเสียงในประเด็นนี้จัดขึ้นร่วมกับสภาสูง(วุฒิสภา) การดำเนินการทุกขั้นตอนยังอีกยาวไกล เพราะผลการเลือกตั้งยังไม่ประกาศอย่างเป็นทางการ

 

►● พรรคร่วมรัฐบาลชุดใหม่มีแผนอย่างไรเพื่อให้ได้เสียงข้างมากในการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี? ใครคือผู้นำของฝ่ายที่ชนะ และเกี่ยวข้องกับผู้ถูกเนรเทศอย่างไร แต่ยังทรงอิทธิพลในประเทศ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี?

กองทัพจะยอมสละอำนาจ และหลังสละอำนาจนโยบายต่างประเทศของประเทศจะมีโครงสร้างอย่างไร?

อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร มีอยู่ทั่วไปในการเมืองไทย ขณะเดียวกันเมื่อจัดตั้งรัฐบาลทุกอย่างจะขึ้นอยู่กับทหาร ทหารถือเป็นผู้สร้างประเทศให้เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน แต่สังคมไทยส่วนมากก็เบื่อพวกเขาเช่นกัน

เราต้องไม่ลืมว่าไทยมักจะวางเดิมพันประเทศไว้กับผู้ที่แข็งแกร่งที่สุด นั่นคือสหรัฐฯ แต่ในทางกลับกันพวกเขาก็ไม่ต้องการทำลายความสัมพันธ์กับจีนเช่นกัน‼️

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่ได้กังวลเกี่ยวกับการแย่งชิงอำนาจและนโยบายต่างประเทศ #แต่กังวลกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจมากกว่า ในเวลาเดียวกัน ดังที่ประวัติศาสตร์ไทยแสดงให้เห็นมาตลอด คือ ในทางปฏิบัติแล้วไม่มีอะไรขึ้นอยู่กับการเลือกตั้ง ไม่ว่าในกรณีใด จะมีการรัฐประหารเกิดขึ้นอีก

สิ่งนี้ถูกซ้อนทับด้วยความไม่ชอบกษัตริย์องค์ปัจจุบัน(รายละเอียดเผยแพร่ลำบาก ขอตัดออกทั้งหมด) ประเทศกำลังพูดว่าไม่ต้องการสถาบันกษัตริย์มากขึ้น และหากล้มล้างระบอบกษัตริย์ได้ ประเทศก็ใกล้จะล่มสลาย

Annex Hya : ถ้าการรัฐประหารจะเกิดขึ้นอีกครั้งในไทย ในขณะที่โครงสร้างอำนาจของทหารถูกแทรกแซงจากกองทัพอเมริกันด้วยการยินดีเปิดประตูบ้านให้พวกเขาอย่างยินดีกันด้วยตนเอง

ทหารอเมริกันเหล่านี้จะพิทักษ์ "ก้าวไกล" และไม่ปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทย

สงครามกลางเมืองระหว่างคนรักสถาบัน กับ คนรักก้าวไกล กับ *การรัฐประหารจากสถาบันทหารของพระเจ้าอยู่หัว กับ การปฎิวัติจากทหารอเมริกันช่วยก้าวไกล*.. - จะเกิดขึ้นเป็นขั้นเป็นตอนตามความรุนแรงจากความขัดแย้ง

เป้าหมายของการทูตและการทหารของอเมริกัน คือ การตายของหุ้นส่วน และการตายของประเทศหุ้นส่วน เป็นอย่างนี้มาตลอดประวัติศาสตร์ความเป็นชาติของอเมริกัน

บริหารความเสี่ยงจากความขัดแย้งให้รอบคอบ เหนือจากขอบประตูของการปกป้องสถาบัน ยังมีประตูของประเทศไทยที่กำลังเปิดให้เผชิญหน้ากับการล่มสลายรออยู่ด้วยเช่นกัน

‘สมชาย แสวงการ’ โพสต์ข้อความเตือน รัฐบาลใหม่ อย่าชักน้ำเข้าลึก อย่าชักศึกเข้าบ้าน

นายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา ได้โพสต์ข้อความแสดงความเป็นห่วงต่อท่าทีของรัฐบาลใหม่ กับนโยบายทางด้านต่างประเทศ และการเข้าไปมีบทบาทในการเคลื่อนไหว ยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในของประเทศพม่า โดยได้เขียนโดยมีใจความว่า...

อย่าชักน้ำเข้าลึกอย่าชักศึกเข้าบ้าน
ข่าวนี้น่าห่วงมากครับ ถ้าไม่ระมัดระวัง รัฐบาลใหม่ที่กำลังพยายามจะตั้งขึ้นมีทีท่าที่อาจไปเคลื่อนไหวยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในประเทศของพม่า คงเกิดผลกระทบตามมาที่รุนแรงแน่นอน  เริ่มด้วยปิfดพรมแดน เรียกแรงงานกลับ ยุติขายแก๊สทางท่อ ฯลฯ และถ้ามหาอำนาจแทรกแซง เรื่องทั้งหมดอาจจะเลวร้ายบานปลายกว่านั้นไปอีกครับ

‘พิธา’ ถือหุ้น ITV ตั้งแต่ปี 2551 โดยไม่ระบุ ‘ผจก.กองมรดก’ หลังบิดาเสียชีวิตปี 2549 ชนวนกกต.สอบปมคุณสมบัติต้องห้าม

จากกรณี นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้า พรรคก้าวไกล ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ตัวแสดงใหญ่’ทางการเมืองขณะนี้ ถูกนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ผู้สมัครส.ส.แบบบัญชีรายชื่อพรรคพลังประชารัฐยื่นหนังสือถึงคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้ตรวจสอบว่า นายพิธาถือหุ้นบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) จำนวน 42,000 หุ้น มีคุณสมบัติต้องห้ามสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.⁣ ตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา 98 (3) บัญญัติห้ามมิให้บุคคลที่เป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใด ๆ หรือไม่

สำนักข่าวอิศรา ได้สรุปข้อเท็จจริงเอาไว้เป็นประเด็นสำคัญต่างๆดังนี้
1.นายพิธาถือหุ้นบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) จริง (เจ้าตัวยอมรับแจ้งว่าเป็นหุ้นมรดก) แต่ถือหุ้นในสัดส่วนน้อย
2. บมจ.ไอทีวี มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการสื่อ (รายละเอียดวัตถุที่ประสงค์ ข้อ (18 ) ข้อ (40) และ ข้อ (41) ตามเอกสารจดแจ้งต่อนายเบียนหุ้นส่วนบริษัท กรมพัฒนาธุรกิจการค้า) ปัจจุบันไม่ได้เผยแพร่ออกอากาศ บริษัทฯไม่ได้จดทะเบียนเลิกกิจการ สถานะยังเปิดดำเนินการ  นำส่งงบการเงินทุกปี งบการเงินรอบปีสิ้นสุด 31 ธ.ค.2564 งบดุล สินทรัพย์รวม 1,270,457,704 บาท หนี้สิน 2,894,513,831 บาท ขาดทุนสะสม (ยังไม่ได้จัดสรร) 7,488,800,690 บาท งบกำไรขาดทุน รายได้รวม 23,683,771 บาท (ผลตอบแทนจากเงินทุนและดอกเบี้ยรับ) ค่าใช้จ่ายรวม 10,937,852 บาท กำไร สำหรับปี 10,177,063 บาท กำไรเบ็ดเสร็จรวมสำหรับปี 4,169,647 บาท

ล่าสุด สำนักข่าวอิศรา ตรวจสอบข้อมูลบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) (แบบ บมจ.006) นำส่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้ามารายงาน พบว่า
วันที่ 23 เม.ย.2550 (23/04/2550) นายพงษ์ศักดิ์ ลิ้มเจริญรัตน์ (บิดานายพิธา) ถือหุ้น บมจ.ไอทีวี จำนวน 42,000 หุ้น ลำดับที่ 1,042 จากจำนวนผู้ถือหุ้นรวม 9,246 คน แจ้งที่อยู่ 59 ซ.แสนสบาย 3 ถ.พระราม 4 คลองตัน คลองเตย 10110 เลขที่ใบหุ้น 06680180135571 
.
หลังจากนั้นวันที่ 10 เม.ย.2551 (10/04/2551) - 26 เม.ย.2566 ( 26/04/2566) มีชื่อนายพิธาเป็นผู้ถือครองหุ้นจำนวน 42,000 หุ้น มีรายละเอียดดังนี้
บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 10 เม.ย.2551 นายพิธาถือลำดับที่ 6,222 จำนวน 42,000 หุ้น จากจำนวนผู้ถือหุ้น 9,297 คน แจ้งที่อยู่ THE BOSTON CONSULTING GROUP U CHU LIANG BLD. ชั้น 31 ถ.พระราม 4 ลุมพินี ปทุมวัน เลขที่ใบหุ้น 06680180148012 

บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 9 เม.ย.2553 (09/04/2553) นายพิธาถือลำดับที่ 5,336 จำนวน 42,000 หุ้น จากจำนวนผู้ถือหุ้น 9,314 คน แจ้งที่อยู่ 59 ซ.แสนสบาย 3 ถ.พระราม 4 คลองตัน คลองเตย 10110 เลขที่ใบหุ้น 06680180163154 

บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 25 มี.ค.2557 (25/03/2557) นายพิธาถือลำดับที่ 4,820 จำนวน 42,000 หุ้น จากจำนวนผู้ถือหุ้น 9,346 คน แจ้งที่อยู่ 59 ซ.แสนสบาย 3 ถ.พระราม 4 คลองตัน คลองเตย 10110เลขที่ใบหุ้น 06680180200784 

บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 24 เม.ย. 2558 (24/04/2558) นายพิธาถือลำดับที่ 4,482 จำนวน 42,000 หุ้น จากจำนวนผู้ถือหุ้น 9,358 คน แจ้งที่อยู่ 59 ซ.แสนสบาย 3 ถ.พระราม 4 คลองตัน คลองเตย 10110เลขที่ใบหุ้น 06680180210146

บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 4 เม.ย. 2562 (04/04/2562) นายพิธาถือลำดับที่ 7,649 จำนวน 42,000 หุ้น จากจำนวนผู้ถือหุ้น 9,381 คน แจ้งที่อยู่ เลขที่ 98/26 อาคารซิลเวอร์ เฮอริเทจ ซ.สุขุมวิท 38 ถ.สุขุมวิท พระโขนง คลองเตย 10110 เลขที่ใบหุ้น 06680180247993

บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 8 เม.ย. 2564 (08/04/2564) นายพิธาถือลำดับที่ 7,531 จำนวน 42,000 หุ้น จากจำนวนผู้ถือหุ้น 9,390 คน แจ้งที่อยู่ 98/26 อาคารซิลเวอร์ เฮอริเทจ ซ.สุขุมวิท 38 ถ.สุขุมวิท พระโขนง คลองเตย 10110 เลขที่ใบหุ้น 06680180276092

บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 27 เม.ย. 2565 (27/04/2565) นายพิธาถือลำดับที่ 7,138 จำนวน 42,000 หุ้น จากจำนวนผู้ถือหุ้น 9,392 คน แจ้งที่อยู่ 98/26 อาคารซิลเวอร์ เฮอริเทจ ซ.สุขุมวิท 38 ถ.สุขุมวิท พระโขนง คลองเตย 10110 เลขที่ใบหุ้น 06680180285422

บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 26 เม.ย. 2566 (26/04/2566) นายพิธาถือลำดับที่ 7,061 จำนวน 42,000 หุ้น จากจำนวนผู้ถือหุ้น 9,401 คน แจ้งที่อยู่ 98/26 อาคารซิลเวอร์ เฮอริเทจ ซ.สุขุมวิท 38 ถ.สุขุมวิท พระโขนง คลองเตย 10110 เลขที่ใบหุ้น 06680180304064

จากข้อมูลเห็นได้ว่า การถือหุ้นบริษัท ไอทีวี จำกัด จำนวน 42,000 หุ้นของนายพิธาตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมาจนถึงล่าสุดปี 2566 เป็นเวลา 16 ปี เอกสารบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (แบบบมจ.006) ที่นำส่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ในแต่ละปี ท้ายรายชื่อและที่อยู่ผู้ถือหุ้นมิได้ระบุว่าถือในนาม ‘ผู้จัดการมรดก’ แต่อย่างใด 

ทั้งนี้ นายพงษ์ศักดิ์ ลิ้มเจริญรัตน์ บิดานายพิธา เสียชีวิตในปี 2549
กรณีการถือครองหุ้น บริษัท ไอทีวี จำนวน 42,000 หุ้นของนายพิธา ยังเป็นประเด็นถูกนายเรืองไกรยื่นร้องต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) ให้ตรวจสอบว่า จงใจยื่นบัญชีแสดงการทรัพย์สินและหนี้สินเป็นเท็จหรือไม่ เนื่องจากไม่ปรากฏการถือครองหุ้นจำนวนดังกล่าวในบัญชีทรัพย์สินของนายพิธากรณีเข้ารับตำแหน่ง ส.ส.ปี 2562


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top