Wednesday, 24 April 2024
TEA TIMES

เด็กถิ่นย่าโม!! โชว์​ ‘ป๋าเต็ด’ ฮีโร่เศรษฐกิจ ดันเม็ดเงินเพียบป้อนปากช่อง ปวดใจปมปิด​ Big Mountain​ สะเทือนศก.วงกว้าง แต่ยันคน​ '​โคราช-ปากช่อง' ยังต้อนรับป๋าเสมอ

จากกรณี ผู้ว่าฯ นครราชสีมา สั่งปิดการแสดงคอนเสิร์ตบิ๊กเมาน์เท่น ในวันสุดท้ายของการแสดง เนื่องจากถูกร้องเรียนเรื่องมาตราการป้องกันโควิด-19 และ ยุทธนา บุญอ้อม หรือ ‘ป๋า เต็ด’ ได้ทำหนังสืออุทธรณ์ แต่ไม่เป็นผล

ล่าสุด มารุต ชุ่มขุนทด ผู้ก่อตั้งร้านกาแฟ Class Cafe (คลาส คาเฟ่) ในจังหวัดนครราชสีมา ได้มีการแสดงความเห็นต่อเรื่องนี้ผ่านทางเฟซบุ๊กว่า

“เรื่อง Big Mountain ดูจะเลยเถิด สิ่งที่พวกเราอาจจะลืมว่า​ สิ่งที่มหกรรม ดนตรีอันยิ่งใหญ่นี้เป็นเครื่องจักรเศรษฐกิจ ตัวสำคัญ ตัวนึงของเมืองโคราช เมื่อคืนวันที่ 13 ธ.ค. คนที่หนักใจที่สุดคงไม่พ้นป๋าเต็ด ยุทธนา ผู้จัดงาน ที่ตลอดสิบปีที่ผ่านมา ปีนี้ Big Mountain เป็นปีที่​ 11 ผมเป็นคนนึงที่เคยเป็นผู้สนับสนุนหลักเมื่อครั้งที่จัดครั้งแรกสนับสนุนโดย Nokia presented Big Mountain ภาพ ป๋าเต็ดโดนรุมสกัมเมื่อวาน ฝั่งพ่อค้าดูแล้วช่างเจ็บปวด เหมือนเชือดไก่ให้ลิงดู ถ้าเล่นเทศกาลที่ใหญ่อันดับ 1 ของเมืองไทยได้ ตรงไหนก็สั่งปิดได้

“ภาพช่างน่าเจ็บปวด เพราะเราลืมไปว่า ภาคการท่องเที่ยว เราพังพินาศ มาตั้งแต่เริ่มโควิด แต่วันนี้ปากช่อง โคราช โรงแรมคนแน่นไปหมด ร้านอาหารที่หงอยเหงากลับมาเต็มแน่น โรงแรมไม่ต้องโปรทิ้งขาดทุนย่อยยับ ร้านรวงข้างทาง ปั๊มน้ำมัน ซุปเปอร์ คนแน่นเอียด …. ฮีโร่ทางเศรษฐกิจ คนนี้กำลังโดน ทำร้าย อย่างน่าเศร้าโดนผลักไปเป็นจำเลย อย่างเจ็บปวด

“ลองคิดดูสิ ว่าเค้าสร้างเม็ดเงินกี่พันล้านให้กับเมืองปากช่องมาเท่าไหร่ ตลอดสิบปี … งานเมื่อวาน ลองนึกดูว่าคนหลายหมื่นเดินทางมาจากทั่วประเทศ จ่ายค่ารถ ค่าเดินทาง มาหมดแล้ว ค่านักแสดง นักดนตรี จ่ายหมดแล้ว ยังไม่นับ เหล้าเบียร์ อีกมหาศาล … ระหว่างที่ผมนึกถึงเรื่องนี้ ผมเห็น วินมอเตอร์ไซค์ ที่คอยโบกให้คนจอดรถอย่างคึกคักฟันค่าวิ่งกันมหาศาล…. ถ้าหยุด การประท้วงครั้งใหญ่คงระเบิดขึ้นแน่ๆ เพราะทั้งอารมณ์ร่วม ของวัยรุ่น มารวมกันและให้หยุดกลางทาง ต้องบอกว่า หยุดไม่ได้ ….

“เชื่อเหอะ การปิดกลางอากาศ แบบที่คำสั่งออกมาช่างดูง่าย แต่เอาจริงๆ ความเสียหายมันเยอะเหลือเกิน … เหมือนป๋ากำลังขับเรือไททานิคแล้วสั่งให้เบรค … ยังไงก็พัง แต่ทำไงให้กระทบน้อยที่สุด ผมว่าออกมาแบบเมื่อวานผมว่าสวยมากๆ จบแบบ “ป๋ายอมเจ็บ แกรมมี่ยอมพัง” เป็นจุดที่ทำได้ดีอย่างเหลือเชื่อ… และเชื่อว่า ปีหน้า คนยังจะจดจำป๋าในฐานะ ฮีโร่คนเดิม ที่อยากให้จัดงานดีๆ ที่นี่อีกครั้ง

“แน่นอนคนที่เป็นจำเลยอีกคนนึงก็ไม่พ้นผู้ว่า ที่ถืออำนาจสูงสุดของเมือง… แต่เราอย่าลืมนะครับ ที่ตัดสินใจอะไรก็โดนด่า ไม่ให้จัดก็โดน จัดมาก็โดน มีคนติดก็โดน ก่อนหน้านั้นมี รมต.คนนึงที่ออกข่าว ว่า “โควิดนั้นกระจอก คอนเสิร์ต จัดได้” พ่อค้า แม่ค้า คนจัดงาน นักดนตรี ต่างตาลุก เมื่อคิดว่าครั้งนี้จะกลับมาคึกคักได้ซะที

“… แต่ดูหมือน งานนี้คนส่งสัญญาณ ไฟเขียวคนนั้นจะลอยตัวไปแล้ว ปล่อยผู้ว่าฯ​ กลายเป็นจำเลยไปอีกคนนึง...ประชาชนคนโคราชไม่ห่วงเพราะทีมหมอรพ.มหาราชโคราชก็พร้อมมากและแข็งแรงมาก เราน่าจะเอาอยู่ แต่สภาพเศรษฐกิจ แบบที่ทั้งเมืองยังไม่มีขอทานข้างถนนมาหากินเลย แสดงว่ามันแย่มากๆ แล้ว ต้องการการขับเคลื่อน ทางเศรษฐกิจ ครับ

“โคราช ปากช่อง ยังต้อนรับป๋าเสมอ…. เอาใจช่วยทีมงานทุกคนครับ อดทนไว้ครับ"


เครดิตภาพ : BRAND BUFFET

ธปท. แจง ‘ชาวเน็ต’ เคลียร์ชัดธนบัตรที่ระลึก 100 & 1,000 ‘ปลอมยาก’ ขอปชช.มั่นใจ แม้ไม่มีกลุ่มดาวยูไรอัน แต่ให้สัมผัส - ยกส่อง – พลิกเอียง ส่วน 1,000 บาท แยกง่าย หลังตัวธนบัตรยาวกว่า1.2 ซม.

หลังจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ปล่อยธนบัตรที่ระลึกเนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ชนิด 1,000 บาท และ 100 บาท ออกมา และ ‘สามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย’ (อ้างอิง หนังสือข่าว ธปท.ฉบับที่ 82/2563 ) 

แต่ดูเหมือนจะเป็นประเด็นเมื่อมี ‘ชาวเน็ต’ ตั้งข้อสังเกตว่า ธนบัตรชนิด 100 บาท ที่ปล่อยออกมานั้น ‘ไม่มีกลุ่มดาวยูไรอัน’ หรือ EURion constellation ซึ่งมีไว้เพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนนำธนบัตรไปถ่ายเอกสารสี (ซีรอกซ์) และนำไปใช้ในทางที่ผิดกฎหมายได้ 

งานนี้ชาวเน็ตจึงให้ความเห็นว่า จะกลายเป็นช่องว่างในการปลอมแปลงธนบัตรหรือไม่ เพราะธนบัตรชนิด 100 บาทที่ออกมานั้น ได้หมุนอยู่ในระบบกว่า 20 ล้านฉบับ เป็นเงินกว่า 2 พันล้านบาทเลยทีเดียว

เมื่อเกิดประเด็นนี้ทาง ไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน รองผู้ว่าการ ด้านบริหาร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จึงได้ออกมาชี้แจงว่า ธนบัตรดังกล่าว มีลักษณะการต่อต้านการปลอมแปลงตามมาตรฐานขั้นสูงในระดับเดียวกับธนบัตรหมุนเวียนตามปกติ เช่นเดียวกันกับธนบัตรที่ระลึกในอดีต ประชาชนจึงมั่นใจได้ถึงความปลอดภัยต่อการถูกปลอมแปลงและสามารถนำไปใช้จ่ายหมุนเวียนได้ตามปกติเช่นเดียวกับธนบัตรทุกรุ่น

อย่างไรก็ตาม หลังจากได้มีการนำมาใช้วันแรก เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2563 และมีการตั้งคำถามจากชาวเน็ต ว่ามีการป้องกันการปลอมแปลงธนบัตรหรือไม่ ทาง ธปท. จึงได้ชี้ถึง  5 จุดสังเกตของธนบัตรที่ระลึกฯ ชนิดราคา 100 ได้แก่ 1.ตัวเลขแจ้งชนิดราคา 2.ธนบัตรเป็นสีเหลืองทอง 3.ตราพระราชพิธีฯ 4.ตัวเลขแจ้งชนิดราคาในดอกไม้ และ 5.ภาพด้านหลัง  

นอกจากนี้ประชาชนยังสามารถตรวจสอบธนบัตรด้วย 3 วิธีง่ายๆ คือ สัมผัส - ยกส่อง - พลิกเอียง ซึ่งมีจุดสังเกตที่สำคัญ เช่น ความนูนของการพิมพ์บอกชนิดราคาที่มุมธนบัตรและคำว่ารัฐบาลไทย ลายน้ำ แถบสีที่มีภาพเคลื่อนไหว และหมึกพิมพ์แม่เหล็กสามมิติเปลี่ยนสีได้ 

ในส่วนของปัญหาที่ประชาชนมีความสับสนในการใช้ธนบัตรชนิดราคา 100 บาท ที่มีความคล้ายกับธนบัตรราคา 1,000 บาท สามารถสังเกตได้ ด้วยขนาดของธนบัตรหมุนเวียน 1,000 บาท จะมีขนาดความยาวกว่าใบละ 100 ที่ 1.2 เซนติเมตร โดยธนบัตรทั้ง 2 แบบ มีตัวเลขบอกชนิดราคาที่มุมธนบัตรด้านล่างอย่างชัดเจน
 

กาพรรคไหนดี!! หากวันนี้ต้องเลือกตั้ง

ซุปเปอร์โพลชี้ชัด กระแสรัฐบาลกระเตื้อง หลังผู้ชุมนุมหยาบคายและข้อเรียกร้องต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ทำดรอป

จากผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง ‘การเมืองใหม่ หรือ เก่า สาดสี’ กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ โดยดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 5,260 ตัวอย่าง ที่ดำเนินโครงการระหว่าง 1 มิถุนายน  – 10 ตุลาคม พ.ศ.2563 ชี้ค่อนข้างชัดว่า

พฤติกรรมของผู้ชุมนุมที่หยาบคายและข้อเรียกร้องต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ผ่านมาทำให้คะแนนนิยมที่มีต่อพรรคพลังประชารัฐเพิ่มสูงขึ้นโดยไม่ต้องทำอะไรเลย ในขณะที่พรรคเพื่อไทยซึ่งตัดสินใจกลับลำ "กราบ" และถอนตัวจากการขบวนการดังกล่าวได้ทันก็คะแนนนิยมเพิ่มขึ้นทันทีเช่นกัน ส่วนพรรคก้าวไกลคะแนนนิยมลดลงต่ำที่สุดนับตั้งแต่ก่อตั้งพรรคอนาคตใหม่มา

อย่างไรก็ตามหากโพลดังกล่าวมีความถูกต้องและแม่นยำจริง แสดงว่าข้อเรียกร้องทางยุทธศาสตร์เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์และยุทธวิธีก้าวร้าวหยาบคายของคณะราษฎร 2563 ไม่น่าจะนำไปสู่ชัยชนะในยุคนี้ได้เลย

ทั้ง ๆ ที่โพลระบุก่อนหน้านี้ว่าฝ่ายต่อต้านรัฐบาลคือเสียงข้างมากของคนในประเทศ แต่ตอนนี้เสียงของคนส่วนใหญ่ในประเทศไม่ต้องการพรรคการเมืองทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาลแล้ว

แต่ต้องการทางเลือกใหม่...พรรคการเมืองใหม่!!

กลุ่มราษฎรเปิดตัว ‘หวยราษฎร’ เรียกแขก 3 รางวัลสุดแสบสะท้าน ‘สลิ่ม’ ดีเดย์แจกฟรี 2475 ฉบับ ในวันรัฐธรรมนูญ

ไอเดียบรรเจิดมักเกิดขึ้นในกลุ่มม็อบได้ตลอด หลังก่อนหน้าเพิ่งจะออกแบงก์เป็ดกันไปได้ไม่นาน มางวดนี้กลุ่มราษฎรมาพร้อมไอเดียสุดแสบอีกครั้งกับ "หวยราษฎร" ที่เตรียมไว้ต้อนรับวันรัฐธรรมนูญกันเลยทีเดียว

โดยสลากกินแบ่งราษฎรหรือว่าหวยราษฎรนี้ มีหน้าตาคล้ายสลากกินแบ่งรัฐบาล ต่างกันก็ตรงที่ขึ้นเงินไม่ได้และรางวัลที่จะได้ก็ไม่ใช่ "เงิน"

แต่รางวัลที่ระบุไว้หลังสลาก ก็มาสไตล์จิกกัด ที่มีมาให้ทั้งหมด 3 รางวัล ได้แก่

  • รางวัลที่ 1 ประชาธิปไตย
  • รางวัลที่ 2 สถาบันกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง
  • รางวัลปลอบใจ ประยุทธ์ จันโอชา ลาออก

เรียกว่าแต่ละรางวัลเอา Like กลุ่มราษฎรไปเลย

สำหรับภาพของ "หวยราษฎร" นั้น บนสลากจะเป็นรูปอนุเสาวรีย์ประชาธิปไตย ที่มีข้อความระบุไว้ว่า "โดยราษฎรเจ้าของอำนาจอธิปไตยสูงสุด" และมีแถบข้างระบุว่า "สลากสร้างสรรค์เพื่อประชาธิปไตย" แต่ที่แสบสันคือข้อความทิ้งท้ายที่ว่า "ไม่ขาย ไม่ซื้อให้ "สลิ่ม" ทุกรูปแบบ"

เมื่อถามถึงราคาหวยว่า ราคาเท่าไร และซื้อขายกันยังไง งานนี้บอกเลยไม่มีขายแต่อย่างใด อยากได้ก็ต้องไปรับเอาเองที่อนุเสาวรีย์ประชาธิปไตย ในวันนี้ (10 ธันวาคม พ.ศ.2563) ซึ่งหวยราษฎรได้ผลิตมาจำกัดมีทั้งหมด 2475 ใบเท่านั้น (0001-2475)

ส่วนเวลาแจกนั้นยังไม่มีการอัพเดทใด ๆ ใคร Want ก็ไปคอยเสียตั้งแต่หัววันโลด...

การแฉกลับของ "ดร.นิว" เมื่อ 80% IO ม็อบ...ขั้วสำเนา เฝ้าอยู่นอก

ต้องยอมรับ โซเชียลมีเดีย เป็นช่องทางสำคัญในการหาแนวร่วมทางการเมือง เพราะสามารถส่งข้อมูลถึงกลุ่มเป้าหมายได้รวดเร็วและตรงตามจุดมุ่งหมายที่อยากนำเสนอ ทั้งการปลุกระดม และการแชร์ข้อมูล ทั้งที่เป็นประโยชน์ต่อฝั่งตัวเอง และให้ร้ายกับฝ่ายตรงข้าม

ก่อนหน้านี้ เรามักจะได้ยินข่าวว่า ทางฝั่งทหารใช้ปฏิบัติการไอโอ "IO" (Information Operation) เพื่อสร้างข้อมูลข่าวสารที่น่าเชื่อถือให้กับฝั่งรัฐบาล และคอยตอบโต้ฝั่งตรงข้าม

คนที่ออกมาให้ข่าวเรื่อง IO อย่างสุดลิ่มทิ่มประตูอย่างต่อเนื่อง ก็คือ "ช่อ" (พรรณิการ์ วานิช) กรรมการบริหารคณะก้าวหน้าที่พยายามขยี้เรื่องนี้แบบถี่ว่าฝั่งรัฐบาลใช้วิชามาร ทำลายความน่าเชื่อถือกลุ่มคณะราษฎร หรือม็อบ 3 นิ้ว และผู้เห็นต่างจากรัฐบาล

แต่ในขณะ "ช่อ" ออกมาเขย่าเรื่องนี้ ก็เหมือนจะถูกสังคมรื้อประวัติทางฝั่งตนที่เคยใช้สื่อโซเชี่ยลมีเดีย และ IO ปั่นกระแสช่วงเลือกตั้งปี 2562 จนได้เสียงสนับสนุนจากคนรุ่นใหม่อย่างถล่มทลาย

กระทั่งมาถึงม็อบ 3 นิ้ว ก็ยังคงมีเคลื่อนไหวของรูปแบบ IO ผ่านแอคเคาน์ทวิทเตอร์เยาวชนปลดแอก (@FreeYOUTHth) อย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากสังเกตให้ดีช่วงที่ผ่านมา จะเห็นวิธีการสร้างแแฮชแท็กให้ติดเทรนด์เป็นกระแสบนทวิตเตอร์อย่างรวดเร็ว ผ่านการแชร์หรือรีทวิตของผู้ใช้งานจำนวนมาก ๆ เพื่อให้คนส่วนใหญ่คล้อยตามและเห็นด้วย

อย่างไรก็ตามเรื่องนี้อาจจะไม่ได้มีใครออกมาแฉกันจะ ๆ แต่เมื่อยุทธการปั่นประสาทคนในเชื่อว่ารัฐใช้ IO ไม่เลิกยังมีภาคต่อ ก็เลยเกิดการแฉพฤติกรรม IO ของขั้วตรงข้ามรัฐบาลอย่างกลุ่มม็อบ 3 นิ้วให้หนาว ๆ ร้อน ๆ

โดยล่าสุดเฟซบุ๊ก "Suphanat Aphinyan" ของ "ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณ" หรือ "ดร.นิว" นักวิจัยภายใต้สถาบันวิจัย MAST Center และคณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ University of Arkansas สหรัฐอเมริกา ได้ออกมาโพสต์ข้อความที่น่าสนใจระบุว่า การรีทวิต ของ "เยาวชนปลดแอก" พบว่า เกือบ 80% มาจากนอกประเทศ

ดร.นิว ให้ลองสังเกตแบบผิวเผิน คือ ในทุกๆ ครั้งที่ @FreeYOUTHth ใช้งานทวิตเตอร์จะมีการรีทวิต ภายใต้แฮชแท็กเดียวกันซ้ำ ๆ เพื่อให้แฮชแท็กที่ต้องการสามารถติดเทรนด์ขึ้นเป็นกระแสบนทวิตเตอร์ในปริมาณมากอย่างรวดเร็ว

แต่ถ้าสังเกตแบบเชิงลึกจะพบว่า @FreeYOUTHth มีขบวนการ Retweet ที่ไม่ได้เกิดจากฝีมือของมนุษย์โดยตรง แต่เป็นการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือ "บอท" มาทำ IO แทน ซึ่งเกิดจากการเขียนโปรแกรม ให้มีอัลกอริทึมสั่งการให้ระบบคลาวด์ หรือ ระบบประมวลผลคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ทำการรีทวิตแทนมนุษย์ เพื่อปั่นกระแสและชี้นำทางความคิดเชิงปริมาณ ผ่านยอดของการปั่นแฮชแท็กในทวิตเตอร์ ที่สร้างขึ้นอย่างบิดเบือน

คนไทยที่รู้ไม่เท่าทันจำนวนหนึ่ง จึงหลงเชื่อตกเหยื่อของการหลอกใช้ทางการเมืองได้ง่าย โดย ดร.นิว เผยว่า 76.69% ของการรีทวิตเกิดขึ้นภายนอกประเทศ ในขณะที่เพียง 23.31% เท่านั้นที่เกิดขึ้นจากการปั่นกระแสภายในประเทศ

ประชาชนอย่างเรา ๆ เฝ้ามองดูเรื่องราวเหล่านี้ ก็อย่าไปอินมันมาก เพราะมันก็เป็นเพียงแค่กลยุทธ์การแข่งขันทางการเมือง ที่ไม่ว่าจะกลุ่มใด ต่างก็พยายามช่วงชิงพื้นที่กลุ่มเป้าหมายมาสู่ฟากตนเท่านั้น

ฉะนั้นประชาชนแบบเรา ๆ ต้องสร้างภูมิคุ้มกันทางความคิดด้วยตัวเอง รู้ต้องรู้ให้หมด ฟังต้องฟังให้รอบ ถ้ากระแดะยึดเรื่องที่ติดหัว แล้วร้องปาว ๆ ว่าฉันฉลาด ฉันรู้ คุณก็แค่เหยื่อโง่ ๆ ที่ตกเป็นทาสกลยุทธ์ให้ชักใยไปเพลิน

ผลสุดท้าย คนคุมเกม จะชนะหรือแพ้ ก็แค่จากไปเมื่อเกมจบ ส่วนคนลงไปเล่น หรือถูกบังคับให้ลงไปเล่น ก็ได้มายาคติฝังหัว แบบยากจะแงะออก เชื่อแล้ว เชื่อเลย ใครคิดต่างก็เป็นไอ้โง่ สังคมเกิดความแตกแยกจนต่อไม่ติด แหม่ ๆ จะว่าไปแล้วเทคนิคเหล่านี้ (IO) มันก็เข้าหลักทางการตลาดแบบไวรัลมาร์เก็ตติ้งพอดีเป๊ะ

...เล่ห์การเมืองสมัยนี้ #ช่างร้ายกาจนักนะ

 

"ชุดนักเรียน" เสรีภาพบนตัวหนู ๆ

หลาย ๆ คนที่เรียนในประเทศไทยเรา คงผ่านการใส่ชุดนักเรียนกันมาแล้วทั้งนั้น ไม่ว่าจะอยู่ในยุคสมัยไหน และชุดนักเรียนนี่แหละ ที่มักจะถูกบ่งบอกให้เห็นถึงสถานะว่าเขาเหล่านั้นเป็น "นักเรียน" จริง ๆ

แต่พอยุคสมัยเปลี่ยน อะไร ๆ ก็เปลี่ยนเด็กรุ่นใหม่มองว่าการใส่ชุดนักเรียนไม่ใช่เรื่องสลักสำคัญอะไรไปกว่าการเรียนรู้ และมองว่าการใส่ชุดนักเรียนดูจะเหมือนเป็นการตีกรอบให้กับพวกเขาเสียมากกว่า

วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2563 กลุ่ม "ภาคีนักเรียนKKC" ได้ชักชวนให้นักเรียนแต่งไปรเวทไปโรงเรียน พร้อมทั้งตั้งคำถามเกี่ยวกับเครื่องแบบนักเรียนที่พวกเขาสวมใส่ว่า...

หากใส่ชุดไปรเวทไปแล้ว ครูจะไม่ให้เข้าเรียน เพียงเพราะไม่ได้ใส่เครื่องแบบ? ถ้าหากเป็นเช่นนั้นสุดท้ายแล้วนักเรียนทั้งหลายไปเรียนเพื่ออะไรกันหากสิ่งที่ครูและผู้ใหญ่ให้ความสนใจมากกว่าการเรียนคือเครื่องแบบนักเรียน?

และถ้าหากนักเรียนไม่มีเงินมากพอจะซื้อชุดนักเรียน = ไม่มีสิทธิเข้าเรียนหรอ?

ยิ่งไปกว่านั้นประเด็นที่น่าสนใจมาก ๆ คือ หากใส่ชุดไปรเวทไปโรงเรียนจะเพิ่มความเหลื่อมล้ำจริงหรือไม่?

จากการตั้งคำถามเหล่านี้ The States Times ก็เลยไปหาคำตอบ จากมุมมองของนักเรียนหลาย ๆ แห่ง ทั้งที่อยู่โรงเรียนที่เปิดโอกาสให้แต่งชุดไปรเวทไปเรียน และไม่ได้ให้ใส่ชุดไปรเวท

ผลปรากฎว่า ส่วนใหญ่มองว่าการใส่ชุดไปรเวทไปเรียนไม่ใช่เรื่องผิด หรือจะทำให้ตั้งใจและเรียนรู้ได้น้อยลง และก็ไม่เห็นด้วยกับการบอยคอตของผู้ใหญ่ที่พยายามมองว่าการไม่ใส่ชุดนักเรียนเป็นเรื่องที่ผิด

แน่นอนว่า ในมุมของผู้ใหญ่อาจจะมีเหตุผลที่ว่า ชุดนักเรียนมีไว้เพื่อความเป็นระเบียบ ทำให้เกิดการแยกแยะได้ และช่วยป้องกันปัญหาอาชญากรรมต่าง ๆ

แต่พวกเขาก็มองว่า ชุดนักเรียนก็เป็นเหรียญที่มีสองด้านด้านหนึ่งอาจจะเหมือนที่ผู้ใหญ่ว่ามา แต่อีกด้านหนึ่งนั้นชุดนักเรียนกลายเป็นเครื่องแบบที่ริดรอนเสรีภาพในการแต่งตัวของเหล่านักเรียนไปซะเฉย ๆ

เมื่อต่างฝ่ายต่างก็มีเหตุผลของตัวเองไม่ว่าจะมุมเด็กหรือมุมผู้ใหญ่ แต่ดูเหมือนหนึ่งในคำตอบของคำถามที่ยังหาคำตอบไม่ได้ชัด ๆ นั่นก็คือ...ชุดนักเรียนจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำได้หรือไม่? หลายคนก็ยังแอบเกาหัว!!

ผิดที่ ถูกเวลา

กรณีศึกษา​ โกยซีนการเมือง​ ผ่านเวที​ Cat Expo7

ต่อให้อุณหภูมิการเมืองบ้านเราจะร้อนแรงเหมือนแดดเผาแค่ไหน แต่คนไทยก็ใช่จะต้องกลัว​ เพราะวิธีดับเรื่องร้อน ๆ​ มันมีอยู่เยอะแยะ

เมื่อไม่กี่วันมานี้​ก็เพิ่งจะมีงานเทศกาลดนตรีที่จัดขึ้นผ่ากลางสมรภูมิการเมืองแบบคู่ขนาน​ ในชื่องาน 'Cat Expo7'​ ที่จัดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ.2563 - วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2563 ที่สวนสนุกวันเดอร์เวิลด์ (รามอินทรา กม.10) เพื่อที่ดับร้อนของคนที่อยากฉีกหนีจากโลกการเมืองสักพัก

แต่ไหงคนที่เข้าไปงาน​ Cat Expo7 ถึงแอบบ่นว่างานนี้โคตรร้อนกว่าเดิม แต่ร้อนที่ว่านี่คือ​ 'อารมณ์ร้อน'​

ก็จะไม่ให้ร้อนได้ไง!! งานก็ไม่ใช่งานฟรี​ คนอยากไปดูคอนเสิร์ตดีๆ​ เพื่อหนีการเมือง​ ก็ดั๊นนน... มาเจอดราม่าการเมืองบนเวทีดนตรีอีก​ เฮ้ย!! มันผิดที่

เรื่องมีอยู่ว่าช่วงเวลาของศิลปินวง​ T_047 ได้อัญเชิญแกนนำราษฎรขึ้นมาบนเวทีคอนเสิร์ตไม่ว่าจะเป็น รุ้ง, ไผ่ ดาวดิน, แอมมี่ เดอะบอตทอมบลูส์ พร้อมแกนนำคนอื่นๆ

ทั้งหมดได้มีส่วนร่วมร้องเพลงกับศิลปิน T_047 ซึ่งจริงๆ​ ก็ดูเหมือนจะไม่มีอะไร​ และจบลงด้วยดีไร้ความรุนแรงใดๆ นอกจากการชูสามนิ้ว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของคณะราษฎรทิ้งท้าย

แต่เรื่องที่น่าสนใจไม่ได้อยู่ที่การขึ้นมาร่วมร้องเพลงของแกนนำเหล่านี้ แต่มันอยู่ที่ความเหมาะสมของการกระทำที่เกิดขึ้น

เพราะถึงแม้แกนนำม็อบจะไม่ได้มาปราศรัยเต็มรูปแบบ​ แต่นี่ก็ไม่ใช่เวที​ 'ฉกฉวย'​ ซีน​ ที่หวังว่าจะมาแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ให้คนที่กำลังเมามันกับสิ่งที่เรียกว่า​ 'ดนตรี'​ เคลิ้มตาม

แน่นอนว่าโดยภาพรวมของงาน​ ก็มีศิลปินหลายท่านที่แสดงสัญลักษณ์ทางการเมืองในแบบของตนผ่านทางเสื้อผ้า คำพูด หรือวัตถุ แบบตรงและอ้อม

แต่นั่นก็ไม่ได้ไร้มารยาทดั่งเช่นศิลปิน T_047 ที่ชวนแกนนำม็อบขึ้นมาร่วมร้องเพลง

นี่ถือเป็นเรื่องของมารยาททางสังคม​ล้วน​ เพราะเชื่อว่าผู้กระทำย่อมรู้อยู่แล้วว่า “ผิดที่” ผิดเวลา​ แต่มันดัน “ถูกเวลา” เป๊ะ ๆ

ต่อให้ทั้งคอนเสิร์ตเป็นแฟนคลีบม็อบทั้งหมด​ ก็เชื่อเถอะว่า​ บางส่วนก็คงมิได้เห็นด้วย​ เพราะงานดนตรีควรเป็นที่ของทุกคนที่มีความชื่นชอบในเสียงเพลง และไม่ควรนำความขัดแย้งทางการเมืองขึ้นมาเป็นประเด็น​ โดยใช้พื้นที่งานในการแสดงออก แล้วทำให้ผิดไปจากจุดมุ่งหมายที่เจ้าของงานตั้งใจที่จะจัดเทศกาลดนตรีนี้ขึ้น

การแสดงออกทางการเมืองมีมากมายหลายวิธี และก็เถียงไม่ได้ว่า “ดนตรี” นี่แหละก็เป็นอีกทางที่ใช้แสดงออกอย่างสร้างสรรค์ แต่ความสร้างสรรค์นั้น ก็ควรต้องอยู่บนพื้นฐานของ “กาลเทศะ” ด้วย

แยกแยะเรื่องแค่นี้ยังไม่ได้​ แล้วในอนาคตใครจะกล้าให้มาแยกแยะงานใหญ่ยิ่งกว่า​ หากประเทศไทยต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงจริง ๆ​ ล่ะ​

‘กรมหลวงเกียกกายราษฎรบริรักษ์’ แบงก์เป็ดขวัญใจหนู แต่ลุงตู่อาจไม่โอ!!

แหม่!! ก็เหตุเพราะพี่เสื้อเหลืองเขาหาว่าหนูไม่รักสถาบัน ก็เลยบอกว่าอย่าใช้แบงค์ที่มีรูปสถาบัน น้องหนูสายคณะราษฎรเลยจัด ‘ธนบัตรเป็ดเหลือง’ ออกมาใช้เองซะเลยไงค้าบ!! 
.
ไอเดียสุดปั่นนี้เกิดขึ้นเมื่อเหล่าคณะราษฎรมองว่าพวกเขาควรถูกกีดกันในการใช้เงินปกติที่มีรูปสถาบัน 
.
พอเจอแบบนี้เข้า ก็เลยผลิตแบงค์ ขึ้นมาใช้กันเองซะเลย
.
โดยเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เพจคณะราษฎร ได้ปล่อยภาพคูปอง ที่ดูละม้ายคล้ายธนบัตร โดยบนหน้าธนบัตรมีภาพของ ‘กรมหลวงเกียกกายราษฎรบริรักษ์’ หรือ ‘น้องเป็ดยางตัวเหลือง’ ที่ช่วงนี้ฮอตปรอทแตกและมีบทบาทไม่ใช่น้อยในม็อบช่วงนี้ 
.
ในธนบัตรดังกล่าวแสดงให้เห็นทั้งตราคณะราษฎร อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยที่มีพิราบขาวบินอยู่เหนือด้านบน เงื่อนไขการใช้ธนบัตร และทิ้งความแสบกวนของคณะราษฎรด้วยประโยค ‘ข้าพระพุทธเจ้า ราษฎรผู้อิ่มแก๊สน้ำตาและน้ำสารเคมีจากภาษีประชาชน’ ทิ้งไว้ที่มุมขวาล่างของธนบัตร
.
แต่ไอเดียธนบัตรเป็ดเหลืองนี่ไม่ได้มาเล่นๆ หรือเอาไว้ล้อรั่วๆ เพราะธนบัตรน้องเป็ดเหลืองนี้สามารถใช้ได้จริง!!
.
โดยธนบัตรเป็ดเหลือง จะเป็นเหมือนคูปองแทนเงินสด ที่ชาวม็อบสามารถนำไปใช้แลกซื้ออาหารต่างๆ ได้กับเหล่ารถ CIA หรือรถขายอาหารที่ร่วมรายการในม็อบ ซึ่งมูลค่าของคูปองใช้ได้ตามมูลค่าหน้าบัตร อยู่ที่ใบละ 10บาท
.
ส่วนกำหนดการใช้งานนั้น ทางเพจคณะราษฎร ได้ประกาศว่า คูปองดังกล่าวพร้อมประกาศใช้วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ.2563 โดยเบื้องต้นจะเริ่มประเดิมแจกที่ด้านหน้าสำนักงานใหญ่ SCB จำนวนทั้งสิ้น 3,000 ใบ
.
อย่างไรก็ตามธนบัตรดังกล่าว ก็เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในโลกของโซเชี่ยลถึงความไม่เหมาะสม และอาจจะผิดกฎหมายหากมีการจำหน่ายจ่ายต่อในอนาคต แต่อีกมุมก็มองว่าธนบัตรเป็ดเหลือง เป็นเหมือนคูปองในการใช้แลกอาหารที่เข้าร่วม รวมถึงเป็นการแสดงออกเชิง ‘สร้างสรรค์’ ที่แสนกวนเสียมากกว่า


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top