หมอชนะ/ไทยชนะ.....แต่ปู่แพ้นะ เพราะไม่มีสมาร์ตโฟน
หมอชนะ/ไทยชนะ.....แต่ปู่แพ้นะ เพราะไม่มีสมาร์ตโฟน
.
หมอชนะ/ไทยชนะ.....แต่ปู่แพ้นะ เพราะไม่มีสมาร์ตโฟน
.
พ.ต.อ รุสดี ฮาร์โตโน โฆษกตำรวจอินโดนีเซีย เปิดเผยว่า อินโดนีเซียจัดส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารรวม 83,566 นาย ไปปฏิบัติงานคุ้มกันวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) นับตั้งแต่วัคซีนถูกส่งถึงสนามบินซูการ์โน-ฮัตตา เพื่อนำไปส่งมอบให้ไบโอ ฟาร์มา (Bio Farma) บริษัทเภสัชภัณฑ์ในจังหวัดชวาตะวันตก และจัดสรรไปยังหลายภูมิภาคทั่วประเทศ
ฮาร์โตโน กล่าวว่า งานคุ้มกันเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการร่วมระหว่างบุคลากรกองทัพ ตำรวจ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำกับดูแลระเบียบสาธารณสุข และส่งเสริมโครงการฉีดวัคซีนของประเทศให้ประสบความสำเร็จ
อินโดนีเซียจะเริ่มโครงการฉีดวัคซีนโรคโควิด-19 วันที่ 13 ม.ค. นี้ และตั้งเป้าฉีดวัคซีนให้ประชาชน 181.5 ล้านคนจนถึงปี 2022
การฉีดวัคซีนระยะแรกจะมีขึ้นช่วงเดือนมกราคม-เมษายน 2021 โดยจะจัดสรรวัคซีนให้เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ 1.3 ล้านคน คนงานบริการสาธารณะ 17.4 ล้านคน และผู้สูงอายุ 21.5 ล้านคน ส่วนการฉีดวัคซีนระยะที่ 2 จะมีขึ้นช่วงเดือนเมษายน 2021-มีนาคม 2022 โดยจะจัดสรรวัคซีนให้คนกลุ่มเสี่ยง 63.9 ล้านคน และประชาชนกลุ่มอื่นอีก 77.4 ล้านคน
Cr : www.xinhuathai.com
ญี่ปุ่น อาจจะเป็นประเทศในฝันของคนต่างชาติ ที่ทั้งอยากไปเที่ยว และอยากไปอยู่แบบยาวๆ เพราะหลงใหลในทุก ๆ มิติของความเป็นญี่ปุ่น ทั้งที่เที่ยว อาหารการกิน อากาศ ความสะอาด และวินัยของคนในประเทศ
แต่มันก็ไม่ได้มีมุมดี ๆ ทั้งหมด เพราะทราบหรือไม่ว่าในญี่ปุ่น แม้คุณจะรู้สึกไม่สบาย แต่ต้องใช้เวลาสักระยะ ก่อนที่คุณจะได้เข้ารับการรักษาในสถาบันทางการแพทย์ได้
ไม่นานมานี้มีข่าวการเสียชีวิตรวมตัวเลข 122 รายจากทั่วประเทศญี่ปุ่น ด้วยเหตุผลที่น่าสะเทือนใจ เพราะตัวเลขจำนวนดังกล่าว คือ กลุ่มผู้ที่ติดเชื้อโควิด และมีอาการลุกลามแบบฉับพลันภายในที่พักอาศัยของตน โดยผู้ป่วยเหล่านี้คาดว่าถูกปฏิเสธจากพยาบาล เพราะมองว่ายังไม่หนักหนา
ปัญหานี้เป็นจุดอ่อนที่โผล่ออกมาของระบบสาธารณสุขญี่ปุ่นที่ต้องประสบกับโควิดระบาดเมื่อต้นปีก่อน โดยสมาคมการแพทย์เฉียบพลันญี่ปุ่น และ สมาคมการแพทย์ฉุกเฉินญี่ปุ่น เคยให้ข้อมูลตรงกันว่า บรรดาห้องฉุกเฉินตามโรงพยาบาลปฏิเสธที่จะรับผู้ป่วยที่มีอาการเส้นเลือดตีบ หัวใจวาย และ อาการบาดเจ็บภายนอก เนื่องจากมีภารกิจดูแลผู้ป่วยโควิด-19 จนล้นมือ
ช่วงแรก ๆ ญี่ปุ่นสามารถควบคุมการระบาดได้ จึงไม่เกิดปัญหาใด ๆ แต่เมื่อแกะรอยเส้นทางระบาดไม่ได้ จึงเริ่มเผยให้เห็นจุดอ่อนในระบบสาธารณสุข ซึ่งเคยมีชื่อเสียงว่า มีระบบประกันสุขภาพที่มีคุณภาพ และ ค่ารักษาอยู่ในราคาเหมาะสม แต่ขณะนี้ผู้เชี่ยวชาญตำหนิรัฐบาลที่ไม่เตรียมการให้พร้อม ปล่อยให้อุปกรณ์การแพทย์ขาดแคลน
ญี่ปุ่นขาดแคลนตั้งเตียงผู้ป่วย บุคลากร และ อุปกรณ์ แต่ต้องรับผู้ป่วยโควิด-19 ทั้งหมด แม้แต่ผู้ป่วยที่อาการไม่หนักมาก ทำให้โรงพยาบาลเต็มไปด้วยผู้ป่วย โดยไม่มีเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลช่วยดูแล
บุคลากรทางการแพทย์ต้องใช้หน้ากากอนามัย N95 แบบรียูส หรือนำกลับมาใช้ใหม่ ส่วนโรงพยาบาลในโอซากาต้องขอรับบริจาคเสื้อกันฝนพลาสติก มาใช้ใส่ป้องกันเชื้อในโรงพยาบาล
ที่สำคัญ ญี่ปุ่นมีห้องไอซียูในอัตราส่วนเพียง 5 ห้องต่อประชากร 1 แสนคน เทียบกับเยอรมนีที่มี 30 ห้อง สหรัฐฯ มี 35 ห้อง และ อิตาลีมี 12 ห้อง
ด้าน ศาสตราจารย์ คาซึฮิโระ ทาเทดะ แห่งมหาวิทยาลัยโทโฮ ซึ่งเป็นประธานของสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศญี่ปุ่น กล่าวถึงอาการของผู้ป่วยในญี่ปุ่นว่า "แม้ว่าอาการจะดูไม่รุนแรง แต่ก็มีบางกรณีที่อาการจะแย่ลงกะทันหัน ในกรณีนั้นจำเป็นต้องสร้างระบบ เพื่อรับการรักษาที่สถาบันทางการแพทย์โดยเร็วที่สุด”
สุดท้ายแล้ว คนไทยบางคนที่ชอบบอกว่าเมืองไทยไม่มีอะไรดีเลยนั้น ข่าวนี้น่าจะแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของหน่วยงานภาครัฐในประเทศ ที่สามารถดูแลผู้ป่วย กักกัน แกะรอย และรักษาจนหายได้ ไม่ได้ปล่อยให้คนที่ติดเชื้อ ต้องดูแลตัวเอง และตายคาบ้านเสียเท่าไร...
ที่มา: https://www3.nhk.or.jp/news/html/20210106/k10012798701000.html?utm_int=all_side_ranking-social_001
https://www.prachachat.net/world-news/news-451578
เพจ : ครบเครื่องเรื่องญี่ปุ่น
จริง ๆ มันก็ไม่ได้สนุกอะไรมากหรอก แค่ ‘ทีมดัง’ ที่เคยอวดโอ้โม้ถ้วยและความสำเร็จสมัยอดีต (หลาย ๆ ทีม) กลับมาอยู่ในฟอร์มที่ร้อนแรงขึ้น (ทีมไรน้า?) เท่านั้นแหละ
แต่รู้ไหมว่า เวลาเห็นทีมดังๆ กลับมาเล่นได้ดี สิ่งหนึ่งที่คิดแว่บมาในหัวได้แบบไวๆ เลย คือ พวกเมิงก็เล่น ‘ฟอร์มแชมป์’ เป็นเหมือนกันนิหว่า ต่อบอลเข้าท่า กล้าเลี้ยงกล้าลุย จบสกอร์เป็นจบสกอร์ ไม่ป้อไปแป้มา แล้วก็โดนสวนตูมหายแบบเดิม แล้วก่อนหน้านั้นไปกระแดะเล่นทรง ‘ทีมตกชั้น’ เพื่ออัลไล?
คำตอบของเรื่องนี้ มันมีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นทัศนคติของผู้เล่น และแท็กติกในการทำทีมของโค้ช ถ้าจะทำให้ดีมัน ก็ทำได้ เพียงแต่ทุกครั้งที่มันดี แล้วผลลัพธ์ไม่ได้ตรงใจ ก็ไม่ใช่ความผิดมหันต์ และควรคงของดี ๆ เอาไว้ อย่าเขว ‘แฟนบอล’ ที่แม่มคอยพร่ำบอกให้เล่นแบบนั้นนี้ ตามสไตล์โค้ชคีย์บอร์ด
เพราะสุดท้ายคนรับผิดชอบมันไม่ใช่ไอ้พวกหลังแป้นว้อยย!!
พอพูดถึงเรื่อง ‘ฟอร์มแชมป์’ กับ ‘ฟอร์มตกชั้น’ มันก็พลันให้จิตโยงคิดมาเรื่องประเทศไทย (ได้ยังไง แต่เออ มันก็วกได้)
เพราะวันก่อนได้อ่านบทความหนึ่งของ อาจารย์ สันต์ ศรีอรรฆ์ธำรง อาจารย์พิเศษคณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ที่ทำให้เบิกเนตรได้พอควรว่า...
‘ประเทศนี้’ มันไม่ใช่เรื่องที่จะมีใครก็ได้จะมาบอกว่าควรทำอะไรหรือไม่ทำอะไร แล้วก็ไปเชื่อเสียหมด!! แต่เราควรต้องปล่อยให้คนที่มีหน้าที่และทำได้ ทำไปตามเกมที่ถูกต้องและควรจะเป็น
เอาง่าย ๆ ก็กรณีโควิด-19 นี่แหละ!!
วันนี้ เราต้องยอมรับว่า ‘ระลอกใหม่’ หรือใครจะเรียกระลอกสอง ก็ตามแต่ มันกำลังวิ่งแซง ‘ระลอกแรก’ ทั้งในแง่ปริมาณและความร้ายแรง
รู้ไหมว่าเพราะอะไร?
เหตุผลเพราะ การเดินเกมแบบ ‘แชมป์’ หรือที่เคย ‘เล่นตามฟอร์มแชมป์’ ของประเทศไทย มันกำลังเบี่ยงวิถีไปเดินตาม ‘ฟอร์มตกชั้น’ แบบ Why Not?!!
จากมุมมองของ อ.สันต์ ที่เคยเขียนไว้ในเฟซบุ๊กของตน ทำให้ฉุดคิดได้อย่างหนึ่งว่า ตอนที่บ้านเราเจอการติดเชื้อในประเทศ ไม่รวม State Quarantine ที่มีขนาดประมาณ 2,900 คน
แถมมีช่วงเวลาที่ต้องอยู่กับภาวะโควิดกระจายหนัก ประมาณ 4 เดือน ตั้งแต่ 13 ม.ค. - 18 พ.ค. 2563 เฮ้ย!! เราก็ ‘เอาอยู่’ ไม่ระบาดต่อมาเป็นเวลาอีกหลายเดือนจนถึงปลายปี เพราะการ์ดเราเหนียวมาก
แต่พอมาดูขนาดความรุนแรงของ ระลอกใหม่ ที่ติดเชื้อในประเทศและรวมทุกเชื้อชาติที่โผล่เข้ามา ทำไมมันถึงใหญ่โตกว่าขนาดระลอกแรกได้ไวเยี่ยงนี้
• 2 ม.ค. 2021: 2,893 คน
• 3 ม.ค. 2021: 3,187 คน
• 4 ม.ค. 2021: 3,916 คน
ร่วม ๆ ครึ่งเดือนเท่านั้น หากนับจากจุดเริ่มต้นของระลอกใหม่ ซึ่งมันใช้เวลาสั้นมากในการกระจายตัวของเชื้อ
คนเคยเป็นแชมป์ เล่นกันแบบนี้หรอ?
เหตุผลที่ อ.สันต์ วิเคราะห์ให