Friday, 3 May 2024
TODAY SPECIAL

8 กุมภาพันธ์ ของทุกปี ตรงกับ ‘วันขอแต่งงาน’ วันสำคัญวันหนึ่งของชาวอินเดีย

ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ นับว่าเป็นช่วงเดือนแห่งเทศกาล แน่นอนว่าเทศกาลแรกๆ ที่คนนึกถึงคงไม่พ้น ‘วันวาเลนไทน์’ วันแห่งความรักที่เราจะเห็นผู้คนมากมายแสดงความรักต่อกัน และเฉลิมฉลองกันอย่างแพร่หลายในทั่วโลก

แต่รู้หรือไม่ว่าในช่วงสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนกุมภาพันธ์เอง ก็มีวันสำคัญเช่นเดียวกัน แถมยังเป็นวันที่คนต่างแสดงความรักให้กัน ไม่ต่างไปจากวันวาเลนไทน์อีกด้วย!!!

‘พินอคคิโอ’ ภาพยนตร์แอนิเมชันรางวัลออสการ์ ออกสู่สายตาชาวโลกเป็นครั้งแรก

พินอคคิโอ (Pinocchio) เป็นภาพยนตร์แอนิเมชันขนาดยาวเรื่องที่สองของวอลท์ ดิสนีย์ โดยได้ออกฉายครั้งแรก เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2483 โดยฝีมือการกำกับโดย Ben Sharpsteen

ภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่องพินอคคิโอ เป็นเรื่องราวการผจญภัยของหุ่นไม้ที่มีชีวิต กับพ่อผู้ยากจนของเขา เจปเปตโต ซึ่งเป็นช่างไม้ โดนลักษณะเด่นของหุ่นไม้มีชีวิตพินอคคิโอ มีที่รู้จักกันดี คือ เมื่อใดที่พูดโกหก จมูกของเขาจะยาวขึ้น

โดยเนื้อเรื่องแต่เดิมนั้น กอลโลดี นักประพันธ์ชาวอิตาเลียนนั้นไม่ได้ตั้งใจที่จะเขียนเรื่องนี้ให้เป็นเรื่องสำหรับเด็กตั้งแต่แรก เพราะในเนื้อเรื่องดั้งเดิม พินนอคคิโอ ปิดฉากลงด้วยการถูกแขวนคอตาย เนื่องจากทำความผิดนับครั้งไม่ถ้วน 

77 ปี กำเนิด ‘บ็อบ มาร์เลย์’ ราชาดนตรี ‘เร็กเก้’ ผู้พลิกวงการดนตรี

‘รอเบิร์ต เนสตา มาร์เลย์’ อาจจะเป็นชื่อที่ไม่คุ้นหูนัก แต่ถ้าพูดชื่อ ‘บ็อบ มาร์เลย์’ ขึ้นมาเชื่อว่าหลายคนต้องร้อง อ๋อ! โดยในวันนี้เมื่อ 77 ปีที่แล้ว ‘บ็อบ มาร์เลย์’ ได้กำเนิดขึ้นเกิดในเขตชนบทของประเทศจาเมกา โดยเขามีความสนใจและลุ่มหลงในดนตรีพื้นบ้าน (เร็กเก้) ของตนเองเป็นอย่างมาก ซึ่งดนตรีชนิดนี้เป็นที่นิยมในพวกผู้ใช้แรงงานผิวดำในประเทศ อีกทั้งเนื้อเพลงส่วนใหญ่กล่าวถึงการแสวงหาเสรีภาพ สะท้อนมุมมองทางด้านการเมือง การแบ่งแยกสีผิวและความไม่เท่าเทียมกันในสังคม

แน่นอนว่าความลุ่มหลงสนใจในดนตรีพื้นบ้านของเขา ได้หล่อหลอมให้เขากลายมาเป็นนักร้อง นักแต่งเพลง และนักดนตรีชาวจาเมกา ที่ถือว่าเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกเพลงแนว 'เร็กเก' ให้กับชาวโลกได้รู้จัก อีกทั้งอาชีพนักดนตรีของเขามีความโดดเด่นไม่เหมือนใคร ด้วยการผสมผสานองค์ประกอบของเร็กเก สกา และร็อกสเตดดีเข้าด้วยกัน รวมถึงรูปแบบการร้องและการแต่งเพลงที่แตกต่างจากคนอื่น การมีส่วนร่วมในดนตรีของมาร์เลย์ช่วยทำให้ดนตรีจาเมกาและตัวเขาเป็นที่รู้จักในวัฒนธรรมประชานิยมในระดับสากลมานานกว่าทศวรรษ

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระกรุณาโปรดเกล้าฯ สร้าง ‘ถนนเจริญกรุง’ เป็นถนนหลักสายแรกของไทย!! 

‘ถนนเจริญกรุง’ เป็นถนนที่ ‘พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ’ ให้สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2404 แล้วเสร็จใน พ.ศ. 2407 มีความยาวจากถนนสนามไชยถึงดาวคะนอง 8,575 เมตร การก่อสร้างถนนเจริญกรุงนั้น เนื่องจากในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีชาวต่างประเทศเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ มากขึ้น และมีพวกกงสุลขอให้สร้างถนนสายยาวสำหรับขี่ม้าหรือนั่งรถม้าตากอากาศ 

ในปี พ.ศ. 2404 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค ต่อมาคือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ที่สมุหพระกลาโหมเป็นแม่กอง พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมืองเป็นนายงาน รับผิดชอบในการก่อสร้างถนนช่วงตั้งแต่คูเมืองชั้นในถึงถนนตกริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตำบลบางคอแหลม เรียกว่าถนนเจริญกรุงตอนใต้ (แต่ชาวบ้านมักเรียกว่าเจริญกรุงตอนล่าง) กว้าง 5 วา 4 ศอก (ประมาณ 10 เมตร หรือเทียบได้กับถนน 4 เลน) โดยมีนายเฮนรี อาลาบาศเตอร์ (ต้นสกุลเศวตศิลา) เป็นผู้สำรวจแนวถนนและเขียนแผนผังถนน 

“วันมะเร็งโลก” 4 กุมภาพันธ์ ของทุกปี มีเป้าหมายเพื่อรวมพลังช่วยชีวิต และปกป้องผู้คนหลายล้านคนจาก ‘โรคมะเร็ง’!!

โรคมะเร็งถือเป็นวายร้ายคุกคามสุขภาพอันดับต้นๆ ในศตวรรษที่ 21 โดยใกล้จะแซงหน้าโรคระบบหลอดเลือดและหัวใจเต็มที ทุกวันนี้เราแทบทุกคนมีคนใกล้ตัวที่เคยเผชิญหรือเฉียดใกล้กับโรคมะเร็ง การรณรงค์สร้างความรู้ความเข้าใจในหมู่ประชาชนทั่วไปจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เมื่อปี ค.ศ. 2000 ในงานประชุม World Summit Against Cancer ที่ปารีส ตัวแทนจากประเทศต่างๆ ได้ร่วมกันกำหนดให้วันที่ 4 กุมภาพันธ์ของทุกปีเป็นวันมะเร็งโลก โดยมีเป้าหมายเพื่อรวมพลังกันช่วยชีวิตและปกป้องผู้คนหลายล้านคนจากโรคมะเร็ง ด้วยการรณรงค์ให้ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคมะเร็งในทุกๆ ด้าน และร่วมกันผลักดันให้เรื่องนี้อยู่ในความสนใจของรัฐบาลหรือหน่วยงานในภาครัฐของแต่ละชาติ

จากสถิติพบว่าในช่วงปี 1990 มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 8.1 ล้านคนในแต่ละปี จนเป็น 18.1 ล้านคนต่อปี ในปี 2018 และยังคงเพิ่มอย่างต่อเนื่อง โดยมะเร็ง 3 อันดับแรก คือ มะเร็งปอด, มะเร็งเต้านมในผู้หญิง และมะเร็งลำไส้ และคาดการณ์ว่าหากทั่วโลกยังไม่ลงมือแก้ปัญหาอย่างจริงจัง ภายในปี 2030 จะมีผู้เสียชีวิตจากมะเร็งจะมากกว่า 13.1 คนต่อปี
 

3 กุมภาพันธ์ “วันทหารผ่านศึก” ร่วมรำลึกถึงวีรกรรม ‘ความกล้าหาญ - ความเสียสละ’ ของทหารผ่านศึก!! 

วันทหารผ่านศึก ซึ่งตรงกับวันที่ 3 กุมภาพันธ์ของทุกปี เป็นวันสำคัญวันหนึ่งที่ประชาชนชาวไทยจะได้รำลึกถึงคุณงามความดีและความเสียสละของทหารผ่านศึก การที่ประเทศไทยสามารถดำรงเอกราชจนเป็นปึกแผ่นมาได้ตราบเท่าทุกวันนี้ เป็นเพราะเรามีบรรพบุรุษที่กล้าหาญ มีจิตใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ที่พร้อมสู้เพื่อบ้านเมืองและส่วนรวม โดยไม่หวาดหวั่นต่อภัยอันตราย ซึ่งต่างเรียกขานเขาเหล่านั้นว่า “ทหารผ่านศึก”

ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศไทยได้ส่งกำลังทหารเข้าร่วมรบสงครามมหาเอเชียบูรพา แต่เมื่อสงครามสิ้นสุดลงโดยกะทันหัน ส่งผลให้ทหารที่ไปร่วมรบและครอบครัวได้รับความเดือดร้อนในการครองชีพ รัฐบาลจึงได้มอบหมายให้กระทรวงกลาโหมพิจารณาให้การช่วยเหลือ โดยจัดตั้งคณะกรรมการพิจารณาหาทางช่วยเหลือทหารกองหนุน ซึ่งต่อมาเมื่อมีการขยายการสงเคราะห์เพิ่มมากขึ้น 
 

“วันแห่งการประดิษฐ์” โดยในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้รับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ ‘กังหันน้ำชัยพัฒนา’ และได้รับการยกย่องเป็น “พระบิดาแห่งการประดิษฐ์ไทย”!! 

เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบการทูลเกล้าฯ ถวายพระราชสมัญญา “พระบิดาแห่งการประดิษฐ์ไทย” แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เสนอ โดยกำหนดให้วันที่ 2 กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็นวันนักประดิษฐ์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติและเผยแพร่พระเกียรติคุณ และเพื่อให้ประชาชนเจริญรอยตามเบื้องยุคลบาท รวมทั้งปลูกฝัง เสริมสร้าง และส่งเสริม ให้เยาวชนไทยให้มีทุนทางสังคมของความเป็นนักประดิษฐ์คิดค้น พัฒนา และส่งเสริมนักประดิษฐ์ ให้ร่วมมือร่วมใจในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ความเจริญและความมั่นคงของประเทศชาติ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงเป็นพระบิดาแห่งการประดิษฐ์ไทย ด้วยทรงสนพระราชหฤทัย ในเรื่องการประดิษฐ์เครื่องจักรกลเพื่อใช้ในการพัฒนาการเกษตรรูปแบบต่างๆ โดยอยู่บนพื้นฐานการใช้เทคโนโลยีแบบง่ายๆ ใช้ภูมิปัญญาของเราเอง ใช้วัสดุภายในประเทศ เน้นความง่ายต่อการใช้งาน การซ่อมบำรุงและราคาถูก เช่น เครื่องสีข้าว กังหันน้ำ และทรงออกแบบเรือใบมด ซึ่งในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 เครื่องกลเติมอากาศ “กังหันน้ำชัยพัฒนา” ได้รับการพิจารณาและทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย นับเป็นสิ่งประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศเครื่องที่ 9 ของโลกที่ได้รับสิทธิบัตร และเป็นครั้งแรกที่ได้มีการรับจดทะเบียน และออกสิทธิบัตรให้แก่พระบรมราชวงศ์ด้วย จึงนับได้ว่าเป็น “สิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย ของพระมหากษัตริย์ พระองค์แรกในประวัติศาสตร์ชาติไทยและเป็นครั้งแรกของโลก”

79 ปี สิ้น ‘เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี’ ประธานสภาฯ คนแรกของไทย และผู้วางรากฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน-อาชีวศึกษา 

เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2419 ที่บ้านหลังศาลหัวเม็ด ตำบลสะพานหัน กรุงเทพฯ นามเดิม สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นบุตรคนที่ 18 ในจำนวนพี่น้อง 32 คน ของพระยาไชยสุรินทร์ (เจียม เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เสนาบดีกระทรวงเกษตรและพระคลังในสมัยรัชกาลที่ 5 แต่เป็นบุตรคนโตของมารดา คือคุณหญิงอยู่ เมื่ออายุได้ 8 ปี บิดาถึงแก่กรรม ฐานะครอบครัวตกต่ำลง มารดาจึงหารายได้ทางเย็บปักถักร้อย

เมื่ออายุ 12 ปี ได้เรียนหนังสือด้วยวิธีต่อหนังสือที่โรงเรียนวัดบพิตรพิมุข สอบได้ประโยคหนึ่ง ในปี พ.ศ. 2431 แล้วเรียนที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบสอบไล่ได้ประโยคสอง ต่อมาสอบไล่ได้ชั้น 5 ภาษาอังกฤษตามหลักสูตรหลวง ปีพ.ศ. 2432 เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ปีพ.ศ. 2435 จนได้รับประกาศนียบัตรครูสอบไล่ได้ที่ 1 ของผู้สำเร็จวิชาครูรุ่นแรก ได้รับพระราชทานรางวัลเมื่อ พ.ศ. 2437 ทางกระทรวงธรรมการได้คัดเลือกส่งไปศึกษาเพิ่มเติมที่ประเทศอังกฤษ จนได้รับรางวัลประกาศนียบัตรวิชาครูของอังกฤษ จากโรงเรียนฝึกหัดครูเบอโรโรค ที่ตำบลไวสลเวิฟ ใกล้กับกรุงลอนดอน เมื่อพ.ศ. 2441

กระทั่งปีพ.ศ. 2435 ได้เข้ารับราชการในกระทรวงธรรมการเป็นนักเรียนสอบในโรงเรียนตัวอย่าง จนได้เป็นครูผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่โรงเรียนฝึกหัดครู เมื่อพ.ศ. 2437 เมื่อกลับมาจากประเทศอังกฤษก็ได้รับตำแหน่งเป็นเสนาบดีกระทรวงศึกษาธิการเมื่อ พ.ศ. 2459 โดยได้บรรดาศักดิ์ครั้งสุดท้ายเป็น เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีเมื่อ พ.ศ. 2460 วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรคนแรกของประเทศไทย รวมทั้งได้เคยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการ

นอกจากนี้เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีได้ประกอบกิจการทางการศึกษาอันเป็นคุณูปการไว้แก่ประเทศไว้มากมาย โดยเฉพาะในการวางรากฐานอย่างสมัยใหม่ เริ่มตั้งแต่การเป็นครู ผู้ตรวจการศึกษา เป็นเจ้ากรมราชบัณฑิต เจ้ากรมตรวจ ปลัดทูลฉลองจนถึงเสนาบดี โดยเริ่มนำเอาความรู้แผนใหม่เข้ามาในวงการครู เริ่มพัฒนาด้านพุทธิศึกษาอย่างจริงจัง เขียนตำรา เริ่มตั้งแต่ด้านสุขาภิบาลและสุขศึกษาสำหรับครอบครัว 

157 ปี เชิญ ‘พระบาง’ กลับคืนสู่ ‘หลวงพระบาง’ จากความเชื่อเป็นเหตุ สร้างความเดือดร้อนแก่บ้านเมือง

พระบางเป็นพระพุทธรูปสำคัญของอาณาจักรล้านช้าง แต่ชาวอีสานมีความเลื่อมใสมากและมักจะจำลองพระบางมาไว้ที่วัดสำคัญๆ ของท้องถิ่น โดยพระบางเป็นพระพุทธรูปที่เคยอัญเชิญมาประดิษฐานที่กรุงเทพมหานคร ถึง 2 ครั้ง และมีเรื่องราวเกี่ยวข้องกับสังคมอีสานอยู่เนืองๆ

พระบาง เดิมนั้นประดิษฐานอยู่ที่นครหลวงของอาณาจักรขอม จนเมื่อ พ.ศ. 1902 พระเจ้าฟ้างุ้มกษัตริย์แห่งล้านช้างซึ่งมีความเกี่ยวพันทางเครือญาติกับพระเจ้ากรุงเขมร มีพระราชประสงค์ที่จะเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้ประดิษฐานมั่นคงในพระราชอาณาจักร จึงได้ทูลขอพระบางเพื่อมาประดิษฐาน ณ เมืองเชียงทอง อันเป็นนครหลวงของอาณาจักรล้านช้างในขณะนั้น

แต่เมื่ออัญเชิญพระบางมาได้ถึงเมืองเวียงคำ (บริเวณแถบเมืองเวียงจันทน์ในปัจจุบัน) ก็มีเหตุอัศจรรย์ขึ้นจนไม่สามารถเดินทางต่อไปได้ พระบางจึงได้ประดิษฐานอยู่ที่เมืองนี้จนถึง พ.ศ. 2055 อันเป็นสมัยของพระเจ้าวิชุลราช ผู้ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นเจ้าเมืองเวียงคำมาก่อน จึงสามารถนำเอาพระบางขึ้นไปประดิษฐานไว้ที่วัดวิชุลราชในนครเชียงทอง ทำให้เมืองเชียงทองถูกเรียกว่า หลวงพระบาง นับแต่นั้นเป็นต้นมา

ในระหว่างปี พ.ศ. 2321-2322 เกิดสงครามระหว่างกรุงธนบุรีกับกรุงศรีสัตนาคนหุต เมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกและเจ้าพระยาสุรสีห์ได้ชัยชนะแก่พระเจ้าสิริบุญสาร (องค์บุญ) จึงได้อัญเชิญเอาพระแก้วมรกตและพระบางเจ้าลงไปถวายสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โดยโปรดให้ประดิษฐานไว้ที่วัดจักรวรรดิราชาวาส หรือ วัดสามปลื้ม

เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปราบดาภิเษกครองราชย์สมบัติเมื่อ พ.ศ. 2325 ก็โปรดเกล้าฯ ให้เจ้านันทเสน อัญเชิญพระบางไปประดิษฐานไว้ ณ เมืองหลวงพระบาง ซึ่งพระบางสถิตอยู่กรุงเทพฯ เป็นเวลา 3 ปีเศษ

และความเชื่อเรื่องผีอารักษ์ประจำพระพุทธรูปสำคัญของอาณาจักรล้านช้าง ก็ได้ปรากฏขึ้นในกรุงเทพครั้งแรกเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โปรดให้อัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานเมื่อ พ.ศ. 2327 ครั้งนั้นโปรดให้อัญเชิญพระบางอันเป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่เมืองหลวงพระบาง แล้วตกไปเป็นของพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตอยู่ ณ เมืองเวียงจันทน์ พระองค์ได้ทรงอัญเชิญลงมาพร้อมกับพระแก้วมรกต เข้ามาประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

30 มกราคม พ.ศ. 2491 ‘มหาตมะ คานธี’ ผู้นำทางจิตวิญญาณแห่งอินเดียถูก ‘ปลิดชีพ’ ด้วยปลายกระบอกปืน 

ในช่วงเย็นของวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2491 ‘มหาตมะ คานธี’ ผู้นำทางจิตวิญญาณแห่งอินเดียกำลังยืนอยู่กลางสนามหญ้า และสวดมนต์ตามกิจวัตร เหมือนอย่างเคย หากแต่วันนี้ทุกอย่างดำเนินไปจน ‘เกือบ’ จะปกติ แต่มีบางสิ่งที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล เมื่อ ‘นายนาถูราม โคทเส’ ชาวฮินดูผู้คลั่งศาสนาและไม่ต้องการฮินดู (อินเดีย) สมานฉันท์กับมุสลิม (ปากีสถาน) ได้ใช้อาวุธปืนปลิดชีพผู้นำทางจิตวิญญาณแห่งอินเดีย ด้วยลูกกระสุน 3 นัด จนเขาล้มลงขณะพนมมือ 

ขณะที่เขาล้มลง คานธีได้เปล่งเสียงแผ่วเบาว่า “ราม” (บ้างก็ว่า “เห ราม” ซึ่งมีความหมายว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า) และนั่นจึงกลายเป็นคำพูดสุดท้าย ในบั้นปลายชีวิตของมหาบุรุษผู้ต่อสู้กับมหาอำนาจด้วยสันติวิธีในวัย 78 ปี หลังจากที่อินเดียได้รับเอกราชโดยสมบูรณ์ได้เพียง 6 เดือน

สิ่งที่ทำให้ชื่อของ ‘มหาตมะ คานธี’ เป็นที่รู้จักนั่นเพราะการเรียกร้องเอกราชและความเสมอภาค ด้วยวิธี ‘สัตยาเคราะห์’ ที่เน้นความเป็นสันติวิธี อันมีจุดเริ่มต้นมาจากเหตุการณ์หนึ่งซึ่งเกิดขึ้นในช่วงที่คานธีเป็นทนายความในวัย 24 ปี โดยเกิดขึ้นบนสถานีรถไฟในประเทศแอฟริกาใต้ครั้งยังอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ

ในขณะนั้นเขาเพิ่งเรียนจบกฎหมายจากลอนดอนกลับมาอยู่ที่อินเดียได้ไม่นาน และได้เดินทางไปแอฟริกาใต้เพื่อไปเป็นนักกฎหมายประจำบริษัท Dada Abdulla ที่ทำการค้าอยู่ที่นั่น ในเดือนเมษายน ปี 1893 คานธีซื้อตั๋วรถไฟชั้นหนึ่ง ซึ่งเป็นตู้รถไฟที่หรูหราสะดวกสบายตามอัตราค่าบริการที่สูง แต่เขากลับถูกไล่ลงจากสถานีแรก ให้ไปอยู่ที่ตู้รถไฟชั้นสาม (ชั้นทั่วไปที่ไม่มีความสะดวกสบายและราคาถูก) โดยพนักงานตรวจตั๋วและผู้โดยสารชาวอังกฤษที่อ้างว่าตู้รถไฟชั้นหนึ่งสร้างขึ้นสำหรับผู้โดยสารผิวขาวเท่านั้น
 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top