Friday, 17 May 2024
TODAY SPECIAL

25 มีนาคม ของทุกปี ตรงกับ วันสากลแห่งการรำลึกถึงเหยื่อทาสและการค้าทาสข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก

วันที่ 25 มีนาคม ของทุกปี ตรงกับ ‘วันสากลแห่งการรำลึกถึงเหยื่อทาสและการค้าทาสข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก’ หรือ ‘International Day of Remembrance of the Victims of Slavery and the Transatlantic Slave Trade’

โดยวันสากลแห่งการรำลึกถึงเหยื่อทาส และการค้าทาสข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก ริเริ่มขึ้นโดย องค์การสหประชาชาติ เพื่อเป็นเกียรติและรำลึกถึงกลุ่มคนจากทวีปแอฟริกาที่ต้องจากบ้านเกิดข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก และได้รับความทุกข์ทรมาน ถึงขนาดต้องสังเวยชีวิต จากระบบทาสที่โหดร้าย เพื่อมาเป็นทาสในดินแดนของคนผิวขาวเป็นจำนวนมากกว่า 15 ล้านคนตลอดระยะเวลากว่า 400 ปี 

วันนี้เมื่อ 72 ปีที่แล้ว ‘พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช’ เสด็จนิวัตประเทศไทย พร้อม ‘ม.ร.ว. สิริกิติ์’ พระยศในขณะนั้น

หากย้อนกลับไปในวันนี้เมื่อ 72 ปีที่แล้ว ได้มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นในประเทศไทย โดยการมาถึงของบุคคลสำคัญในครั้งนี้ได้ตราตรึงและสร้างความปลื้มปริ่มให้กับคนไทยทั้งชาติ โดยวันนี้ตรงกับวันที่ ‘พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช’ เสด็จประเทศไทย พร้อม ‘ม.ร.ว. สิริกิติ์’ พระยศในขณะนั้น

โดยย้อนกลับไปในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2492 อธิบดีกรมโฆษณาการได้เปิดแถลงต่อผู้สื่อข่าวว่า

“สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จมาราวปลายเดือนกุมภาพันธ์ หรือต้นเดือนมีนาคม 2493 อย่างแน่นอน โดยจะเสด็จทางชลมารค ซึ่งมีบริษัทเดินเรือทะเลหลายบริษัทแสดงความจำนงอัญเชิญเสด็จกลับโดยไม่คิดมูลค่าแต่อย่างใด แต่ทางราชการยังไม่ตกลงว่าจะใช้เรือของบริษัทใด สำหรับราชองครักษ์ประจำพระองค์ในขบวนเสด็จ ทางราชการได้จัดให้พลตรีหลวงสุรณรงค์ สมุหราชองครักษ์ เดินทางไปรับเสด็จภายใน 7 วัน และบางทีสมเด็จพระราชชนนีจะไม่เสด็จกลับมาด้วยเนื่องจากอุบัติเหตุ”

แต่แล้วในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ วิทยุจากเมืองวิลฟรังก์ ประเทศฝรั่งเศส ได้ออกข่าวว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ ม.ร.ว.สิริกิติ์ กิติยากร ได้ประทับเรือซีแลนเดีย ออกจากเมืองท่าวิลฟรังก์มาแล้ว ในโอกาสนั้น เอกอัครราชทูตไทยประจำฝรั่งเศสได้ถวายช่อดอกไม้แด่ว่าที่สมเด็จพระราชินีด้วย

ข่าวนี้กระตุ้นให้ประชาชนเฝ้ารอถวายความจงรักภักดียิ่งขึ้นตามลำดับ

เรือพระที่นั่งผ่านทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เข้าคลองสุเอซมาออกมหาสมุทรอินเดีย สถานที่ทรงแวะที่ควรกล่าวถึงก็คือ ลังกา รัฐบาลได้ทูลเชิญทรงปลูกต้นจันทน์ ส่วนที่สิงคโปร์ ทางการอังกฤษได้ทูลเชิญให้ประทับแรม โดยจัดต้อนรับเสด็จอย่างมโหฬาร คนไทยในสิงคโปร์ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าฯ ที่ห้องโถงของสถานกงสุลไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จมาในฉลองพระองค์ลำลองพร้อมด้วย ม.ร.ว.สิริกิติ์ และ ม.ร.ว.บุษบา กิติยากร ทรงทักทายคนที่ทรงรู้จัก กงสุลไทยได้นำผู้แทนร้าน “สิงคโปร์โฟโต้” 4 คนเข้าเฝ้าฯ ถวายกล้องถ่ายภาพให้ทรงเลือก ซึ่งทรงเลือกไว้ 1 กล้อง

วันที่ 24 มีนาคม เรือซีแลนเดียได้เข้าทอดสมอเทียบท่าเกาะสีชังเมื่อเวลา 07.00 น.เศษ รัฐบาลได้ส่งเรือ ร.ล.สุราษฎร์เป็นเรือพระที่นั่งมารับเสด็จ มี ร.ล.สุโขทัย และ ร.ล.อาดัง ตามขบวน และเครื่องบินแห่งราชนาวีบินทักษิณาวัตรถวายเกียรติยศ

เมื่อเสด็จจากเรือซีแลนเดียมาประทับ ร.ล.สุราษฎร์แล้ว ขบวนเรือพระที่นั่งก็มุ่งผ่านสันดอนมาที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า ซึ่งรัฐบาลจัด ร.ล.ศรีอยุธยาเป็นเรือพระที่นั่งนำเสด็จสู่พระนคร และเมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับ ร.ล.ศรีอยุธยา พร้อมด้วย ม.ร.ว.สิริกิติ์ พระคู่หมั้นแล้ว จอมพล ป.พิบูลสงคราม ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ทูลเกล้าฯ ถวายเครื่องยศจอมพลเรือ ท่ามกลางพระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการทหาร พลเรือน เฝ้าฯ รับเสด็จ 

ส่วนในท้องน้ำ บรรดาเรือของชาวสมุทรปราการที่มารับเสด็จ ต่างรายล้อมเข้ามารอบเรือพระที่นั่ง เพื่อปรารถนาจะชมสิริโฉม ม.ร.ว.สิริกิติ์ ต่างเห็นพระอิริยาบถอันละมุนละไม นิ่มนวลเป็นสง่า มีรอยยิ้มที่เปี่ยมด้วยเมตตาอยู่เป็นนิจ

เมื่อพิธีถวายเครื่องยศจอมพลเรือเสร็จเรียบร้อย ร.ล.ศรีอยุธยาจึงเคลื่อนลำนำเสด็จเข้าแม่น้ำเจ้าพระยา ท่ามกลางเรือยนต์ เรือกลไฟ เรือแจว และเรือพายของราษฎรคับคั่ง ลอยลำรับเสด็จและเปล่งเสียงถวายพระพรไม่ขาดสาย ม.ร.ว.สิริกิติ์ ยืนเคียงข้างสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อยู่บนหอบังคับการเรือ ให้ราษฎรได้ยลสิริโฉม

หลังจากแวะเทียบท่าหน้าศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจุดธูปเทียนสักการะพระสมุทรเจดีย์แล้ว ร.ล.ศรีอยุธยาเข้าเทียบท่าราชวรดิฐเมื่อเวลา 15.00 น.ตามหมายกำหนดการ

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฉลองพระองค์ชุดจอมพลเรือ เสด็จขึ้นจากเรือพระที่นั่ง มี ม.ร.ว.สิริกิติ์ ตามเสด็จอย่างใกล้ชิด เสด็จขึ้นประทับ ณ พระที่นั่งราชกิจวินิจฉัย ร.ล.แม่กลองยิงสลุต 21 นัด เจ้าพนักงานเชิญพระแสงราชอาญาสิทธิ์น้อมเกล้าฯ ถวาย จากนั้น พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร ประธานผู้สำเร็จราชการ กราบบังคมทูลถวายพระราชกรณียกิจเพื่อทรงปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ มีข้อความตอนหนึ่งว่า

“โดยที่บัดนี้ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ได้เสด็จมาประทับในราชอาณาจักรแล้ว ความเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของข้าพระพุทธเจ้าได้สิ้นสุดลง นับแต่นี้เป็นต้นไป”

หลังจากทรงมีปฏิสันถารกับข้าราชการผู้ใหญ่และทูตานุทูตแล้ว เสด็จไปยังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อถวายสักการะพระพุทธปฏิมากร และรับคำถวายพระพรชัยมงคลจากบรรพชิตจีนญวน แล้วเสด็จไปถวายเครื่องราชสักการะถวายบังคมพระบรมอัฐิสมเด็จพระราชบิดา ทรงมีพระราชปฏิสันถารกับพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายใน แล้วเสด็จไปยังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เพื่อทรงวางพวงมาลาและถวายบังคมพระบรมศพสมเด็จพระบรมเชษฐา และทรงถวายนมัสการพระสัมมาสัมพุทธพรรโณภาษ แล้วเสด็จประทับรถพระที่นั่งออกจากพระบรมมหาราชวังไปประทับพระตำหนักสวนจิตรลดา ตลอดเส้นทางมีประชาชนไปคอยเฝ้าฯ รับเสด็จแน่นขนัด

ส่วน ม.ร.ว.สิริกิติ์ พระคู่หมั้น ได้ไปพักที่วังเทเวศร์ อันเป็นที่ประทับของ ม.จ.นักขัตรมงคล

11 ปี วันสถาปนา ‘จังหวัดบึงกาฬ’ จังหวัดลำดับที่ 77 ของประเทศไทย 

หากย้อนกลับไปในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554 หรือว่า 11 ปีก่อน ประเทศไทย ได้มีจังหวัดเพิ่มขึ้นมาจากเดิม 76 จังหวัด กลายเป็น 77 จังหวัด โดยจังหวัดนั้นก็คือ ‘จังหวัดบึงกาฬ’

โดยประวัติของจังหวัดบึงกาฬ เดิมเป็น อำเภอบึงกาฬ ซึ่งเป็นตำบลหนึ่งในเขตการปกครองของอำเภอชัยบุรี จังหวัดนครพนม โดยมีที่ว่าการอำเภอ ตั้งอยู่ที่บริเวณปากน้ำสงคราม ต่อมาทางราชการได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งที่บึงกาญจน์ริมฝั่ง ตรงข้ามเมืองปากซัน แขวงบลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยในปี พ.ศ. 2459 ทางราชการ ก่อสร้างที่ว่าการอำเภอขึ้นใหม่และโอนการปกครองอำเภอชัยบุรีมาขึ้นกับจังหวัดหนองคาย ส่วนบริเวณที่ตั้ง ที่ว่าการอำเภอชัยบุรีเดิมนั้น ทางราชการยุบมาเป็นตำบลอยู่ในเขตการปกครอง ของอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม

ปี พ.ศ. 2475 ข้าราชการกระทรวงมหาดไทยท่านหนึ่งเดินทางมาตรวจราชการที่อำเภอชัยบุรี พบว่า หมู่บ้านบึงกาญจน์ มีหนองน้ำใหญ่แห่งหนึ่ง กว้างประมาณ 160 เมตร ยาวประมาณ 3,000 เมตร ชาวบ้าน เรียก “บึงกาญจน์” เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป ทางการจึงเปลี่ยนชื่ออำเภอชัยบุรีเป็น “อำเภอบึงกาญจน์” ตั้งแต่ นั้นมา ต่อมาปี พ.ศ. 2477 ทางการได้เปลี่ยนชื่อ อำเภอบึงกาญจน์ เป็น “อำเภอบึงกาฬ” เพื่อความสะดวกและเข้าใจง่าย ต่อมาได้แยกอำเภอเซกา อำเภอพรเจริญ อำเภอศรีวิไล และอำเภอบุ่งคล้า ออกจากอำเภอบึงกาฬ ตามลำดับ

วันนี้เมื่อ 288 ปี ก่อน ตรงกับวันพระราชสมภพ ‘สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช’

วันพระราชสมภพ ของ ‘สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี’ หรือที่คนไทยส่วนใหญ่รู้จักในนาม ‘พระเจ้าตาก’ เรียกได้ว่าเป็นข้อถกเถียงกันมาอย่างยาวนาน ซึ่งจากข้อถกเถียงเหล่านี้ จึงทำให้เกิดแนวคิดมากมาย หนึ่งในนั้นคือแนวคิดของ นิธิ เอียวศรีวงศ์ ที่ได้เสนอไว้ในหนังสือการเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี โดยใช้การคำนวณย้อนหลังจากวันเสด็จสวรรคตตามที่บันทึกไว้ในจดหมายเหตุโหรว่า เสด็จสวรรคตเมื่อพระชนมพรรษาได้ 48 ปี 15 วัน และตามหลักฐานของชาวฝรั่งเศสบันทึกว่า ทรงถูกประหารชีวิตในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2325 และวันพระราชสมภพคือวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2277

แต่หากถือตามหลักฐานฝ่ายไทยซึ่งบันทึกว่าเสด็จสวรรคตในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2326 วันพระราชสมภพก็คือ วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2277 ประเด็นนี้ก็สอดคล้องกับที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานข้อมูลแก่หมอสมิธ เพื่อเขียนประวัติศาสตร์ไทยว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ พระราชสมภพในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2277

อย่างไรก็ดี แม้จะยังหาข้อสรุปชัดเจนไม่ได้ แต่เรื่องราวของอดีตกษัตริย์ไทยพระองค์นี้ ยังเป็นที่สนใจของเราชาวไทยเสมอมา

โดยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมีพระนามเดิมว่า สิน เป็นคนไทยเชื้อสายจีน เป็นพระมหากษัตริย์ผู้ก่อตั้งอาณาจักรธนบุรี และเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวของราชอาณาจักรธนบุรี เดิมพระองค์เป็นนายทหารในรัชกาลสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ 

ต่อมา พ.ศ. 2310 เกิดการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง พระองค์ได้เป็นผู้นำขับไล่ทหารพม่าที่ยึดครองกรุงศรีอยุธยาอยู่ในเวลานั้น และได้ปราบดาภิเษกเป็นพระเจ้ากรุงศรีอยุธยาอีกเจ็ดเดือนถัดมา โดยพระองค์ย้ายเมืองหลวงไปยังกรุงธนบุรี และรวบรวมแผ่นดินซึ่งมีขุนศึกก๊กต่างๆ ปกครองให้กลับเป็นปึกแผ่นอีกครั้ง เช่นเดียวกับการขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง 

21 มีนาคม  วันคล้ายวันเกิด ครบรอบ 68 ปี ‘พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา’

เชื่อว่าหากพูดถึงชื่อนี้ คงไม่มีคนไทยคนไหนที่ไม่รู้จักเขา ‘พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา’ นายกรัฐมนตรีของไทยคนปัจจุบัน แน่นอนว่าหากพูดถึงเขาคนนี้ ทุกคนต้องรู้จักเขาในบทบาทของนักการเมืองใหญ่ ทหารยศสูง วันนี้จึงจะพาทุกคนมาเปิดประวัติ นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของไทย เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันเกิด ครบรอบ 68 ปี ของ ‘พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา’

‘พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา’ เกิดเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2497 ชื่อเล่น ตู่ เกิดที่จังหวัดนครราชสีมา เป็นบุตรชายของพันเอก (พิเศษ) ประพัฒน์ จันทร์โอชา และเข็มเพชร จันทร์โอชา มารดาซึ่งรับราชการครู เป็นบุตรชายคนโตจากพี่น้องทั้งหมดสี่คน คนหนึ่งคือ พลเอก ปรีชา จันทร์โอชา อดีตปลัดกระทรวงกลาโหมและอดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก

โดนเขาสำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 จากโรงเรียนสหะกิจวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ซึ่งเข็มเพชร มารดาซึ่งเป็นครูสอนอยู่ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของวิทยาลัยเทคโนโลยีลพบุรี ต่อมาได้เข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี แต่เรียนได้เพียงปีเดียวก็ลาออกเนื่องด้วยบิดาเป็นนายทหารจำต้องโยกย้ายไปในหลายจังหวัด และได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนวัดนวลนรดิศ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ในสมัยที่ศึกษาอยู่ที่นี่เขาเคยถูกนำเสนอประวัติผ่านนิตยสารชัยพฤกษ์ ในฐานะเด็กเรียนดีอีกด้วย จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 

‘วันความสุขสากล’ วันแห่งการตระหนักถึงความสุขในชีวิต 

‘วันความสุขสากล’ เชื่อว่าอาจเคยได้ยินผ่านหูกันมาบ้างและหากพูดถึงที่มาที่ไปของวันนี้ละก็ ต้องย้อนกลับไป ในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 ที่ประชุมสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็น ได้มีมติกำหนดให้วันที่ 20 มีนาคม ของทุกปีเป็นวัน ‘ความสุขสากล’ หรือ ‘The International Day of Happiness’

แต่หากถามถึงแรงบันดาลใจ ที่ทำให้สหประชาชาติกำหนดวันแห่งความสุขขึ้นมาละก็คงไม่พ้น แนวคิดริเริ่มที่ได้มาจาก ‘ประเทศภูฏาน’ ที่ขึ้นชื่อว่าเป็น ‘ประเทศที่มีความสุขมากที่สุดในโลก’ แถมยังติดอันดับที่ 1 ในการวัดความรุ่งเรืองของชาติและความสำเร็จทางสังคม หรือดัชนีมวลรวมความสุข หรือ Gross National Happiness Index (GNH) โดยที่การวัดค่าดังกล่าวไม่ได้นำการใช้เศรษฐกิจ หรือความร่ำรวยทางวัตถุมาเป็นตัวตัดสินการพัฒนา แต่กลับหันมามองแบบองค์รวมว่าจิตใจที่ดีของประชาชนและชุมชนนั้นเป็นสิ่งสำคัญมากกว่าวัตถุ

เมื่อเห็นถึงแนวคิดที่ไม่ได้วัดค่าจากความมั่งคั่งทางวัตถุแต่วัดจากความมั่งคั่งความสุขทางใจแบบนี้แล้ว ‘ยูเอ็น’ จึงได้มีมติกำหนด ‘วันความสุขสากล’ ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์หลักๆ  2 ข้อ ด้วยกัน คือ เพื่อให้ทุกคนร่วมเฉลิมฉลอง และตระหนักถึงความสุขอันเป็นเป้าหมายพื้นฐานของมนุษยชนรวมถึงแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิตของมนุษย์ และเพื่อเรียกร้องให้แต่ละประเทศผลักดันและเข้าถึงนโยบายสาธารณะที่จะเพิ่มความสุขให้แก่ประชาชนทุกๆ
 

32 ปี สถาปนา ‘คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์’ สถาบันทางแพทยศาสตร์ที่จัดตั้งขึ้นเป็นอันดับ 9 ของประเทศ 

นโยบายจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 โดยมี ศ.ปรีดี พนมยงศ์ ดำรงตำแหน่งอธิการบดีขณะนั้น จัดตั้งคณะกรรมการร่างโครงการจัดตั้งขึ้นชุดหนึ่ง และได้ดำเนินการอย่างจริงจังในสมัย ศาสตราจารย์คุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี ดำรงตำแหน่งอธิการบดี โดยสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในการประชุมครั้งที่ 8/2526 ได้ให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับนโยบายทางวิชาการของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในการที่จะส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ประยุกต์ โดยเฉพาะการผลิตบัณฑิตแพทย์ และมอบหมายให้อธิการบดีดำเนินการตามนโยบาย

โดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ดำเนินตามแผนโดยการสร้างโรงพยาบาลขึ้น โดยศาสตราจารย์คุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี ดำรงตำแหน่งอธิการบดี มีคำสั่ง ที่ 747/2529 ลงวันที่ 25 สิงหาคม 2529 แต่งตั้งคณะกรรมการจัดหาทุนสร้างโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ มีศาสตราจารย์ สุธี นาทวรทัน เป็นประธานกรรมการ และ นายประมวล สภาวสุ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในขณะนั้น เป็นประธานกิตติมศักดิ์ ระดมทุนจากศิษย์เก่าทั้งในประเทศและต่างประเทศ

การดำเนินการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ ได้ดำเนินการต่อมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เห็นชอบด้วยตามหนังสือของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร.0203/126 ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2529 ซึ่งอธิการบดีได้พบปลัดทบวงมหาวิทยาลัย ขอดำเนินการโรงพยาบาลให้ครบ 1 ปีก่อน เพื่อเป็นพื้นฐานของคณะแพทยศาสตร์ แล้วจึงจะดำเนินการเรื่องคณะแพทยศาสตร์ โดยมีการสานต่อในสมัย ศาสตราจารย์เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม ดำรงตำแหน่งอธิการบดีในปี พ.ศ. 2531

ในการดำเนินการได้มีการประสานกับกระทรวงสาธารณสุข เพื่อหาแนวทางร่วมกันในการผลิตบัณฑิตแพทย์พึงประสงค์ อันสอดคล้องกับนโยบายผู้บริหารมหาวิทยาลัย และนโยบายของทบวงมหาวิทยาลัย ซึ่งสภามหาวิทยาลัยได้พิจารณาอนุมัติโครงการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ ในเดือนสิงหาคม 2531 คณะรัฐมนตรีมีมติให้จัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ขึ้นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2533
 

เมื่อ 84 ปีที่แล้ว ‘สวนสัตว์ดุสิต’ หรือ ‘เขาดินวนา’ เปิดให้บริการวันแรก

หากพูดถึงสวนสัตว์ในยุคสมัยนี้เรียกได้ว่ามีมากมายให้เลือกสรร ซึ่งเป็นสถานที่ยอดฮิต ที่ผู้คนมักเลือกไปพักผ่อนหย่อนใจ อีกทั้งยังเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับเด็ก ๆ อีกด้วย สวนสัตว์สมัยนี้ต่างเต็มไปด้วยสัตว์แปลกใหม่ หรือแม้แต่เพิ่มความตื่นตาตื่นใจมากมาย เพื่อสร้างความโดดเด่น ให้ดึงดูดผู้เข้ามาเยี่ยมชม แต่กว่าที่ประเทศไทยของเราจะมีสวนสัตว์มากมายผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดขนาดนี้ รู้หรือไม่ว่า ‘สวนสัตว์แห่งแรกของไทย คือที่ไหน ?’ 

สวนสัตว์แห่งแรกของประเทศไทย ที่ใคร ๆ ต่างก็รู้จักในชื่อว่า ‘สวนสัตว์ดุสิต’ หรือ ‘เขาดินวนา’ โดยสวนสัตว์ดุสิต ตั้งอยู่ในบริเวณของ ‘วังสวนดุสิต’ มาตั้งแต่ พ.ศ. 2441 เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ซื้อสวนและนาในระหว่างคลองผดุงกรุงเกษม จนถึงคลองสามเสน ด้านตะวันออกถึงทางรถไฟ ด้วยเงินพระคลังข้างที่ ซึ่งเป็นพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ โดยพระราชทานชื่อที่ตำบลนี้ว่า ‘สวนดุสิต’

โดยในวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2481 เทศบาลนครกรุงเทพ ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ดัดแปลงบริเวณสวนสัตว์กรุงเทพ เป็นสวนสาธารณะเปิดให้ประชาชนได้ใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ โดยมิต้องมีค่าเช่า และพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร มีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้เป็นสวนสาธารณะ 

ทั้งยังพระราชทานลูกหลานกวางดาวที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนำมาจากอินโดนีเซีย ที่เมืองบุยเตนซอค (Buitenzurg) เมื่อการเสด็จประพาสเกาะชวาครั้งหลัง พ.ศ. 2444 (ร.ศ. 120) และสัตว์อื่นอีก 2-3 ชนิด จากสวนกวางบริเวณพระที่นั่งอัมพรสถาน มาเลี้ยง และได้โอนกิจการสวนสัตว์ดุสิตของเทศบาลนครกรุงเทพ ซึ่งอยู่ในความควบคุมของกระทรวงมหาดไทย มาอยู่กับองค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์

17 มีนาคม ของทุกปี ตรงกับ ‘วันมวยไทย’ หรือ ‘วันนักมวย’ เพื่อรำลึกถึงบรมครูมวย ‘นายขนมต้ม’

วันมวยไทย หรือวันนักมวย ตรงกับวันที่ 17 มีนาคม ของทุกปี ซึ่งในวันนี้ถือเป็นวันระลึกเหตุการณ์ในอดีตสมัยกรุงศรีอยุธยาเสียกรุงครั้งที่ 2 ที่ นายขนมต้ม นักมวยคาดเชือกชาวกรุงศรีอยุธยา ได้ขึ้นชกมวยต่อหน้าพระที่นั่งพระเจ้ามังระ ในวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2317 และสามารถชนะได้ถึงสิบคน ทำให้ศิลปะการต่อสู้ การป้องกันตัวของไทยได้เป็นที่รู้จัก และมีชื่อเสียงตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาพร้อมกันนี้นายขนมต้มยังได้รับการยกย่องให้เป็นเสมือน "บิดามวยไทย" อีกด้วย

โดยนายขนมต้ม เกิดที่ตำบล บ้านกุ่ม อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรของนายเกิดและ นางอี มีพี่สาวชื่อ เอื้อย แต่หลังการบุกของทัพพม่าได้ทำให้พ่อแม่และพี่สาวถูกพม่าฆ่าตายทั้งหมด มีเพียงแต่นายขนมต้มคนเดียว ที่รอดชีวิตมาได้ จากการถูกจับเป็นเชลยในระหว่างการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 และได้ไปอาศัยอยู่ในวัดตั้งแต่เล็ก ก็ได้เรียนรู้วิชาการต่อสู้แม่ไม้มวยไทยอย่างต่อเนื่อง จนมีชื่อเสียงเป็นที่เลื่องลือ

ดังปรากฏในพงศาวดารว่า “เมื่อพระเจ้ามังระโปรดให้ปฏิสังขรณ์และก่อเสริมพระเจดีย์ชเวดากองในเมืองย่างกุ้งเป็นการใหญ่นั้น ครั้นงานสำเร็จลงในปี พ.ศ. 2317 พอถึงวันฤกษ์งามยามดี คือวันที่ 17 มีนาคม จึงโปรดให้ทำพิธียกฉัตรใหญ่ขึ้นไว้บนยอดเป็นปฐมฤกษ์ แล้วได้ทรงเปิดงานมหกรรมฉลองอย่างมโหฬาร ขุนนางพม่ากราบทูลว่า “นักมวยไทยมีฝีมือดียิ่งนัก”

16 มีนาคม ของทุกปี ตรงกับ ‘วันไม่เซลฟี่’

ในวันที่โลกมีความเปลี่ยนแปลง วิถีชีวิตของผู้คนต่างก็เปลี่ยนตาม สิ่งหนึ่งที่เข้ามามีบทบาทในวิถีชีวิตมนุษย์ไม่น้อยนั่นก็คือเทคโนโลยีที่กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่นำมาซึ่ง สังคมไร้ขอบเขตอย่าง ‘โซเชียลมีเดีย’ ที่เข้ามามีอิทธิพลกับมนุษย์ไม่น้อย

หากมองถึงโลกในปัจจุบันไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด คือ วัฒนธรรมการถ่ายภาพ ไม่ว่าจะ กิน เที่ยว ตื่น หรือนอน เรียกได้ว่าบางคนถ่ายทุกช็อตการใช้ชีวิต จนแทบจะกลายเป็นสารคดีอยู่แล้ว ซึ่งภาพเหล่านี้ก็จะถูกเจ้าตัวนำไปโพสต์ เพื่อหวังการตอบกลับจากการกดไลก์ กดแชร์ หรือแม้แต่คอมเมนต์ 

ซึ่งในวันนี้ ซึ่งตรงกับวันที่ 16 มีนาคม จึงเป็นวันสำคัญวันหนึ่งนั่นก็คือ “วันงดเซลฟี่” (No Selfie Day) วันที่มีขึ้นเพื่อเตือนสติมนุษย์โซเชียลทั้งหลายให้หลุดจากสังคมก้มหน้า และหันหน้ามายิ้มกับคนรอบข้างมากกว่ายิ้มให้กล้อง โดยในวันนี้เป็นวันที่ต้องการรณรงค์ให้คนทั่วโลกหยุดถ่ายรูปตัวเองชั่วคราว ซึ่งจากสถิติพบว่าผู้หญิงใช้เวลานานถึง 1 ชั่วโมง 24 นาทีในแต่ละอาทิตย์เพื่อถ่ายรูปเซลฟี่ตัวเอง ซึ่งบางครั้งอาจทำให้หมกมุ่นอยู่กับการเซลฟี่มากเกินไป


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top