Thursday, 8 June 2023
TODAY SPECIAL

29 มีนาคม พ.ศ.2493 วันถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล

29 มีนาคม พ.ศ. 2493 วันถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ณ พระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468 ณ เมืองไฮเดลเบิร์ก ประเทศเยอรมัน พระองค์เสด็จขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 ขณะที่มีพระชนมายุเพียง 8 พรรษา

และเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อวันนี้ของ 73 ปีก่อน หรือตรงกับวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2493 คือวันพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพล้นเกล้ารัชกาลที่ 8 

คนไทยผ่านน้ำตาแห่งการสูญเสียอันยิ่งใหญ่มานับหลายครั้งหลายครา เช่นเดียวกับครั้งที่หัวใจปวงชนชาวไทยต้องแหลกสลาย เมื่อรับทราบข่าวร้ายเรื่องการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล แบบปัจจุบันทันด่วน

ไม่มีใครได้เตรียมตัวเตรียมใจ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลในพระชนมายุเพียง 20 ย่าง 21 พระชันษา ได้เสด็จสวรรคตด้วยพระแสงปืนในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 เวลาประมาณ 9 นาฬิกา ณ ห้องพระบรรทม พระที่นั่งบรมพิมาน ภายในพระบรมมหาราชวัง

ทั้ง ๆ ที่ทรงตั้งพระทัยเสด็จนิวัตพระนครเป็นการถาวร และจะทรงรับการบรมราชาภิเษก หลังจากที่ทรงศึกษาปริญญาเอก สาขานิติศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

โดยการสิ้นพระชนม์นั้น เกิดขึ้นก่อนกำหนดการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาต่อที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เพียง 4 วันเท่านั้น

ทั้งนี้ หลังจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จสวรรคต วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 วันเดียวกันนั้นเอง รัฐสภาได้ลงมติเป็นเอกฉันท์อัญเชิญสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช (พระยศในขณะนั้น) ขึ้นทรงราชย์สืบราชสันตติวงศ์ต่อไป

จากนั้น ก็ได้มีการอัญเชิญพระบรมศพมาประดิษฐาน ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง จากนั้นมีกำหนดให้มีพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพในระหว่างวันที่ 28 - 29 มีนาคม พ.ศ. 2493 ณ พระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง

ระหว่างนั้น ในวันที่ 19 สิงหาคม 2489 ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินกลับไปทรงศึกษาต่อ ณ กรุงโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

เวลาผ่านไปจนกระทั่งวันที่ 5 มีนาคม 2493 ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จนิวัตประเทศไทย เพื่อประกอบพระราชพิธีถวายเพลิงพระบรมศพ, พระราชพิธีอภิเษกสมรส, และบรมราชาภิเษก (จากนั้นเสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศสวิตเซอร์แลนด์อีกครั้ง)

โดยเฉพาะวันพระถวายพระเพลิงพระบรมศพนั้นตรงกับวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2493 น้ำตาของคนไทยได้ท่วมแผ่นดิน!

เมื่อทุกอย่างผ่านไปเรียบร้อยสมบูรณ์ วันรุ่งขึ้นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินเก็บพระบรมอัฐิ และอัญเชิญพระโกศพระบรมอัฐิประดิษฐานที่บุษบกเหนือพระแท่นแว่นฟ้าทองภายในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท มุขตะวันตก และจัดให้มีการพระราชกุศลพระบรมอัฐิขึ้น

หลังจากนั้น ได้อัญเชิญพระโกศพระบรมอัฐิขึ้นประดิษฐาน ณ พระวิมานทองกลาง ชั้นบนสุดของพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

กระทั่งวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2493 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินอัญเชิญพระผอบพระบรมราชสรีรางคารพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ไปยังวัดสุทัศน์เทพวราราม และอัญเชิญพระบรมราชสรีรางคารบรรจุลงในหีบ พร้อมทั้งเคลื่อนหีบพระบรมราชสรีรางคารเข้าสู่พระพุทธบัลลังก์ พระศรีศากยมุนี พระประธานในพระวิหารหลวง วัดสุทัศน์เทพวราราม 

สำหรับ พระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร หรือ ล้นเกล้า ร.8 นั้น มีดังนี้

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ทรงประสูติกาลเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468 เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ (ภายหลังดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก) และหม่อมสังวาลย์ (ภายหลังดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี)

28 มีนาคม พ.ศ. 2473 กรุงคอนสแตนติโนเปิล แห่งตุรเคีย ได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็น ‘อิสตันบูล’

วันนี้ เมื่อ 92 ปีก่อน ‘กรุงคอนสแตนติโนเปิล’ อดีตเมืองหลวงของจักรวรรดิไบแซนไทน์และออตโตมัน ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ‘กรุงอิสตันบูล’ เมืองใหญ่ที่สุดของประเทศตุรเคีย

28 มีนาคม พ.ศ. 2473 เปลี่ยนชื่อ ‘คอนสแตนติโนเปิล’ อดีตเมืองหลวงของจักรวรรดิไบแซนไทน์และออตโตมัน เป็น ‘อิสตันบูล’ อันเป็นเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศตุรเคีย ตั้งอยู่ที่จุดใต้สุดของช่องแคบบอสพอรัส เป็นสะพานเชื่อมระหว่างโลกตะวันตกและตะวันออก เพราะเป็นเมืองเดียวในโลกที่ตั้งอยู่บนสองทวีปคือเอเชียและยุโรป

27 มีนาคม พ.ศ. 2540 วันคล้ายวันเกิด ‘ลิซ่า แบล็กพิงก์’ ศิลปินชาวไทย ที่ดังไกลระดับโลก

27 มีนาคม พ.ศ. 2540 เป็นวันคล้ายวันเกิด ลลิษา มโนบาล หรือ ลิซ่า แบล็กพิงก์ นักร้องชาวไทย สมาชิกของวงเกิร์ลกรุ๊ปเกาหลีใต้ ที่มีชื่อเสียงดังก้องโลก

ลลิษา มโนบาล หรือ ลิซ่า แบล็กพิงก์ เกิดเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2540 ที่จังหวัดบุรีรัมย์  เติบโตในกรุงเทพมหานคร ชื่อเดิมคือ ปราณปรียา แต่ต่อมาเปลี่ยนเป็น ลลิษา ตามคำแนะนำของหมอดู มีความหมายว่า 'ผู้ที่ได้รับการยกย่อง' และมีชื่อเล่นในวัยเด็กว่า 'ป๊อกแป๊ก' และ 'ลลิซ' ตามลำดับ

ลิซ่าใช้ชีวิตในวัยเด็กอยู่กับมารดาชื่อจิตทิพย์ (สกุลเดิม มโนบาล) เป็นชาวจังหวัดบุรีรัมย์ และมีบิดาบุญธรรมชื่อ มาร์โค บรอยช์ไวเลอร์ (Marco Brueschweiler) ชาวสวิส เป็นที่ปรึกษาการประกอบธุรกิจร้านอาหารและผู้เชี่ยวชาญทางด้านอาหารไทยในกรุงเทพมหานคร

ลิซ่าจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนประภามนตรี 1 และ 2 เธอได้รับการเรียกขานว่าเป็น 'เด็กกิจกรรมตัวยง' ของโรงเรียน เธอเคยเป็นตัวแทนโรงเรียนประกวดร้องเพลงในโครงการ '3 คุณธรรมนำไทย' ที่จัดโดยศูนย์คุณธรรม ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ ประเภททีม เมื่อ พ.ศ. 2552

ลิซ่าเริ่มสนใจวัฒนธรรมเคป็อปตั้งแต่ยังสมัยเด็ก และตัดสินใจที่จะเป็นศิลปินเคป็อป เธอสนใจการเต้นตั้งแต่เป็นนักเรียนประถมศึกษา และสามารถเต้นท่าฟรีซ (Freeze) ได้ตั้งแต่อายุ 11 ปีไปจนถึงการเต้นหางเครื่องและรำไทย

นอกจากนี้เธอยังเรียนร้องเพลงกับประภัสสร เทียมประเสริฐ เจ้าของรางวัลโทรทัศน์ทองคำ และสุภาพรรณ ผลากรกุล ผู้ฝึกสอนการร้องเพลงประจำรายการ ทรู อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย

ลิซ่าเคยแข่งขันเต้นในโครงการทูบีนัมเบอร์วัน และเป็นหนึ่งในสมาชิกของวีซาคูล (We Zaa Cool) ทีมนักเต้นที่มีสมาชิกทั้งหมด 11 คน ไปแข่งขันในรายการ แอลจีเอนเตอร์เทนเนอร์ ล้านฝันสนั่นโลก ทางช่อง 9 ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2552 หลังการแข่งขันจบลง วงวีซาคูลได้รางวัลพิเศษประเภททีม หนึ่งในสมาชิกของวงวีซาคูลคือ แบมแบม ซึ่งต่อมาเป็นสมาชิกเพียงคนเดียวที่ได้ออดิชันกับทางค่ายเจวายพีเอนเตอร์เทนเมนต์ ปัจจุบันเป็นสมาชิกวงก็อตเซเวน

ร้านค้าบุรีรัมย์กว่า 12 ร้าน ร่วมใจแจกฟรี ‘ลูกชิ้นยืนกิน’  เนื่องในวันคล้ายวันเกิด ‘ลิซ่า BlackPink’ วันที่ 27 มี.ค. นี้

แจกฟรี!! พ่อค้าแม่ค้า "ลูกชิ้นยืนกินบุรีรัมย์" บนสถานีรถไฟบุรีรัมย์ กว่า 12 ร้านค้า ร่วมใจรวมพลังแจกลูกชิ้นยืนกินกว่า 500 กิโลกรัม เนื่องในวันคล้ายวันเกิด ลิซ่า Blackpink 

26 มีนาคม พ.ศ. 2439 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ เปิดการเดินรถไฟหลวงสายแรกของสยาม

วันนี้ เมื่อ 127 ปีก่อน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ เปิดการเดินรถไฟรอบปฐมฤกษ์ระหว่างสถานีกรุงเทพ – อยุธยาเป็นครั้งแรก จึงถือเอาวันนี้ เป็นวันสถาปนากิจการรถไฟไทย ซึ่งตรงกับวันที่ 26 มีนาคมของทุกปี

26 มีนาคม พ.ศ. 2439 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินมายังสถานีรถไฟหลวงกรุงเทพ เพื่อประกอบพิธีเปิดการเดินรถไฟระหว่างสถานีกรุงเทพ – สถานีกรุงเก่า

ซึ่งทางรถไฟส่วนแรกที่เปิดเดินนั้น เป็นส่วนหนึ่งของทางรถไฟหลวงสายกรุงเทพ - นครราชสีมา

25 มีนาคม พ.ศ. 2434 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ สถาปนา ‘กระทรวงยุติธรรม’

หนึ่งในหน่วยงานที่ดำเนินการคู่กับกระบวนการทางกฎหมาย นั่นคือ กระทรวงยุติธรรม ซึ่งในวันนี้ ถือเป็นวันสำคัญทางกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย เนื่องจากเป็นวันคล้ายวันก่อตั้ง กระทรวงยุติธรรม ที่มีอายุมากกว่า 130 ปี

กระทรวงยุติธรรมของประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2434 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยการสถาปนากระทรวงยุติธรรมขึ้นนั้น ถือได้ว่าเป็นงานปฏิรูปกฎหมายชิ้นแรกของยุคสมัยก็ว่าได้ ทั้งนี้เพื่อทำหน้าที่เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านกระบวนการยุติธรรมอย่างแท้จริง

แต่เดิมมีการใช้ชื่อว่า กระทรวงยุติธรรม และมีการเปลี่ยนชื่อเป็นกระทรวงยุติธรรม เมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2495 โดยในระยะแรกเริ่ม ในหลวงรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้ว่าจ้างเนติบัณฑิต ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายการต่างประเทศ เข้ามารับราชการเป็นที่ปรึกษา ได้แก่ นายกุสตาฟ โรแลง แยกแมงส์ ชาวเบลเยียม ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาอภัยราชา สยามนุกูลกิจ

24 มีนาคม พ.ศ. 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จนิวัติประเทศไทย พร้อม ม.ร.ว. สิริกิติ์ กิติยากร พระคู่หมั้น

วันนี้ เมื่อ 73 ปีก่อน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จนิวัติประเทศไทยพร้อม ม.ร.ว. สิริกิติ์ กิติยากร พระคู่หมั้น และได้ทรงประทับบนเรือหลวงศรีอยุธยา ที่กองทัพเรือจัดถวาย เป็นเรือพระที่นั่งในคราวเสด็จพระราชดำเนิน จากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ นิวัติพระนคร

วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินนิวัติถึงประเทศไทยพร้อมด้วยหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร พระคู่หมั้น เป็นครั้งแรก เพื่อทรงประกอบพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก การเสด็จฯนิวัติพระนครของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระคู่หมั้น ในครั้งนั้น เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ทรงประกอบพิธีหมั้น ณ โรงแรมวินเซอร์ เมืองโลซาน ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2492

23 มีนาคม พ.ศ. 2369 วีรกรรมหญิงกล้า ‘ท้าวสุรนารี’ วันแห่งชัยชนะเหนือทัพลาว

วันนี้ในอดีต เมื่อ 23 มีนาคม พ.ศ. 2369 'ท้าวสุรนารี' (คุณหญิงโม) นำทัพต่อสู้ปกป้องเมืองนครราชสีมา กอบกู้อิสรภาพเเละกำชัยเหนือทัพลาวได้สำเร็จ จนเป็นที่มาของ 'วันแห่งชัยชนะท้าวสุรนารี'

ถ้าเอ่ยนาม ท้าวสุรนารี คนไทยจะรู้จักกันดีว่า หมายถึง ย่าโมของชาวจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งที่จริงแล้วคนไทยทั้งประเทศก็ให้ความเคารพบูชาและรำลึกถึงในวีรกรรมที่ท่านทรงทำไว้เพื่อชาติบ้านเมืองอยู่เสมอ

วันนี้เมื่อ 197 ปีก่อน หรือตรงกับวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2369 คือวันที่ประวัติศาสตร์ไทย ได้จารึกพระนามของท่าน ที่สามารถปกป้องอธิปไตยของชาวไทยไว้ได้อย่างกล้าหาญ เกินกว่าสตรีทั่วไปจะทำได้

ตามประวัติศาสตร์ที่จารึกไว้ ในช่วงปี พ.ศ. 2369 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ก็ตรงกับรัชสมัยของ เจ้าอนุรุทธราช (เจ้าอนุวงศ์) ผู้ครองนครเวียงจันทร์ ได้ขอเกณฑ์ครอบครัวคนลาวที่เมืองสระบุรี ซึ่งถูกกวาดต้อนมาจากเวียงจันทน์ ในคราวสงครามครั้งที่ได้พระพุทธปฏิมากรแก้วมรกตมาประดิษฐานไว้ ณ กรุงธนบุรีนั้น กลับนครเวียงจันทร์ แต่ได้รับการปฏิเสธ

เมื่อไม่ได้ดังประสงค์ก็ก่อการกบฏ โดยยกกองทัพจะลงมาตีกรุงเทพมหานคร โดยเดินทัพมาอย่างเงียบๆ ให้กรุงรัตนโกสินทร์ไม่ทราบความเคลื่อนไหว โดยมีกองทัพหน้าเดินทางไปทางทิศตะวันตกตรงไปยังเมืองสระบุรี (ปากเพรียว)

ต่อมาวันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2369 เมื่อกองทัพมาถึงเมืองนครราชสีมา ได้ตั้งมั่นฐานทัพอยู่จนถึงวันพุธที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2369 จึงได้เข้าโจมตี ซึ่งเป็นช่วงที่พระยาปลัดทองคำ (พระยาสุริยเดชวิเศษฤทธิ์ทศทิศวิชัย) สามีของคุณหยิงโม ผู้รักษาเมืองไม่อยู่พอดี ด้วยติดปราบการจลาจลที่เมืองขุขันธ์

กองทหารของเจ้าอนุวงศ์ จึงตีเมืองโคราชได้โดยง่าย แล้วกวาดต้อนกรมการเมือง ตลอดจนพลเมืองทั้งชายหญิงไปเป็นเชลย รวมถึง คุณหญิงโม และราชบริพารไปด้วย โดยมี เพี้ยรามพิชัย เป็นหัวหน้าควบคุม เหล่าเชลยออกเดินทางสู่เมืองเวียงจันทน์โดยผ่านเมืองพิมาย ส่วนเจ้าอนุวงศ์นั้น ยังตั้งฐานทัพอยู่ที่เมืองนครราชสีมา

ต่อมาวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2369 ในระหว่างการเดินทางเป็นเชลยศึกนั้น คุณหญิงโม ได้คิดแผนการกอบกู้อิสรภาพกับกรมการเมือง ซึ่งมีนางสาวบุญเหลือ บุตรีหลวงเจริญกรมการเมืองนครราชสีมา ได้มีส่วนร่วมให้ข้อปรึกษาอย่างใกล้ชิด

คุณหญิงโมได้มอบหมายให้นางสาวบุญเหลือ ซึ่งเสมือนเป็นหลาน เป็นผู้รับแผนการไปปฏิบัติ โดยใช้อุบายให้ชาวบ้านเชื่อฟังทหารผู้ควบคุม แกล้งทำกลัวเกรง และประจบเอาใจจนทหารของเจ้าอนุวงศ์ทั้งหลายหลงตายใจ และพยายามถ่วงเวลาในการเดินทาง กับทั้งยังลอบส่งข่าวถึงเจ้าเมืองนครราชสีมา เจ้าพระยากำแหงสงครามรามภักดี (ทองอินทร์ ณ ราชสีมา) และพระยาปลัดทองคำ อีกด้วย

ที่สุดเมื่อเดินทางมาถึง ทุ่งสัมฤทธิ์แขวงเมืองพิมาย ได้พักตั้งค่ายค้างคืนอยู่ คุณหญิงโมจึงได้ออกอุบายให้ชาวเมืองนำอาหารและสุราไปเลี้ยงดูผู้ควบคุมอย่างเต็มที่ จนทหารต่างก็เมามายไม่ได้สติ หมดความระมัดระวัง

ครั้นถึงเวลาสองยามไปแล้วของวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2369 แผนการทุกอย่างจึงเริ่มเปิดฉากขึ้นโดยชาวนครราชสีมา พากันระดมยื้อแย่งอาวุธจากเหล่าทหารลาว และได้โห่ร้องขึ้นทำให้กองทัพเวียงจันทน์เกิดความโกลาหล

22 มีนาคม พ.ศ. 2277สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เสด็จพระราชสมภพ

วันนี้ เมื่อ 189 ปีก่อน หรือ วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2277 เป็นวันเสด็จพระราชสมภพ ของ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ ที่คนไทยนิยมเรียกว่า พระเจ้าตากสิน

ในปีพุทธศักราช 2311 ได้ทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ทรงพระนามว่า ‘สมเด็จพระบรมราชาที่ 4’ แต่ประชาชนนิยมเรียกว่า ‘พระเจ้าตากสิน’ หรือ ‘สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี’

แม้กรณีวันพระราชสมภพ ของ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือที่เราคนไทยคุ้นเคยเรียกขานพระนามกันว่า พระเจ้าตาก จะยังเป็นที่ถกเถียง โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์ เสนอไว้ในหนังสือการเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี โดยใช้การคำนวณย้อนหลังจากวันเสด็จสวรรคตตามที่บันทึกไว้ในจดหมายเหตุโหรว่า เสด็จสวรรคตเมื่อพระชนมพรรษาได้ 48 ปี 15 วัน และตามหลักฐานของชาวฝรั่งเศสบันทึกว่า ทรงถูกประหารชีวิตในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2325 และวันพระราชสมภพคือวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2277

21 มีนาคม พ.ศ. 2497 วันคล้ายวันเกิด ‘พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา’ นายกรัฐมนตรีคนที่ 29 ของไทย

เชื่อว่าหากพูดถึงชื่อนี้ คงไม่มีคนไทยคนไหนที่ไม่รู้จักเขา ‘พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา’ นายกรัฐมนตรีของไทยคนปัจจุบัน แน่นอนว่าหากพูดถึงเขาคนนี้ ทุกคนต้องรู้จักเขาในบทบาทของนักการเมืองใหญ่ ทหารยศสูง วันนี้จึงจะพาทุกคนมาเปิดประวัติ นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของไทย เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันเกิด ครบรอบ 69 ปี ของ ‘พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา’

‘พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา’ เกิดเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2497 ชื่อเล่น ตู่ เกิดที่จังหวัดนครราชสีมา เป็นบุตรชายของพันเอก (พิเศษ) ประพัฒน์ จันทร์โอชา และเข็มเพชร จันทร์โอชา มารดาซึ่งรับราชการครู เป็นบุตรชายคนโตจากพี่น้องทั้งหมดสี่คน คนหนึ่งคือ พลเอก ปรีชา จันทร์โอชา อดีตปลัดกระทรวงกลาโหมและอดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top