Sunday, 28 May 2023
TODAY SPECIAL

รู้จัก 'โรคเตียงดูด' เสพติดการนอน อีกหนึ่งสัญญาณเตือนอาการป่วย

(2 มี.ค.66) ชวนทำความรู้จักภาวะ 'Dysania' หรือ ภาวะเสพติดการนอน โดยทางเว็บไซต์ POBPAD ได้อธิบายเกี่ยวกับโรคนี้ว่า เสพติดการนอน (Dysania) หรือที่บางคนเรียกว่า 'โรคเตียงดูด' เป็นภาวะที่ทำให้รู้สึกอ่อนเพลียและง่วงนอนมากจนไม่สามารถลุกขึ้นจากเตียงได้ แม้จะไม่ได้จัดเป็นโรคโดยตรง แต่อาการที่เกิดขึ้นมักส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และอาจเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมา

อาการของ Dysania โรคเตียงดูด
รู้สึกไม่อยากลุกจากเตียง ใช้เวลาอยู่บนเตียงนานผิดปกติทั้งในเวลากลางคืนและระหว่างวัน แต่คนที่มีภาวะเสพติดการนอนอาจไม่ได้ใช้เวลานอนหลับนานกว่าคนอื่นเสมอไป

ทั้งนี้ ระยะเวลาการนอนปกติของคนทั่วไปจะแตกต่างกันตามช่วงอายุ เช่น เด็กวัยเรียนอายุ 6–13 ปี ใช้นเวลานอนวันละ 9–11 ชั่วโมง วัยรุ่นอายุ 14–17 ปี ใช้เวลานอนวันละ 8–10 ชั่วโมง และผู้ใหญ่อายุ 18–64 ปี ใช้เวลานอนวันละ 7–9 ชั่วโมง หากนอนหลับอย่างเพียงพอตามระยะเวลาแต่ยังรู้สึกอ่อนเพลียมาก และไม่สามารถตื่นมาทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจและรับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ 

สาเหตุและผลเสียของการเสพติดการนอน

โรคซึมเศร้า ผู้ป่วยมักมีอาการนอนมากผิดปกติและอ่อนเพลีย ร่วมกับอาการอื่น เช่น เศร้าและร้องไห้บ่อย หมดความสนใจต่อสิ่งรอบตัว ความอยากอาหารและน้ำหนักตัวเปลี่ยนแปลง ปวดศีรษะและปวดตามร่างกายโดยไม่ทราบสาเหตุ

กลุ่มอาการความล้าเรื้อรัง (Chronic Fatigue Syndrome หรือ Myalgic Encephalomyelitis) ที่ทำให้รู้สึกเหนื่อยล้า ไม่อยากลุกจากเตียง และแม้จะพักผ่อนแล้วก็ยังรู้สึกไม่ดีขึ้น

ภาวะนอนมากเกินไป (Hypersomnia) ทำให้มีอาการง่วงนอนมากในช่วงกลางวันจนสามารถหลับได้ตลอดเวลา

ความผิดปกติของการนอนหลับ เช่น นอนไม่หลับ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea) และกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข (Restless Legs Syndrome) ที่ทำให้นอนหลับยากหรือหลับไม่สนิท เมื่อตื่นมาจะรู้สึกง่วง อ่อนเพลีย และไม่อยากลุกจากเตียง

โรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โลหิตจาง มะเร็ง ไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia) และกลุ่มโรคไทรอยด์อย่าง ไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroidism) และโรคต่อมไทรอยด์อักเสบจากภูมิคุ้มกัน (Hashimoto’s Thyroiditis) ที่ทำให้ผู้ป่วยอ่อนเพลียง่ายกว่าคนทั่วไป

ความเศร้าโศกเสียใจ ที่เกิดจากการสูญเสีย ซึ่งอาจทำให้นอนหลับยากและนอนไม่พอ

ผลข้างเคียงจากการใช้ยา เช่น ยาต้านเศร้าที่ทำให้อ่อนเพลียและง่วงนอน

วิธีรับมือกับอาการไม่อยากตื่น

2 มีนาคม พ.ศ. 2477 รัชกาลที่ 7 ทรงประกาศสละราชสมบัติ ขณะประทับอยู่ในประเทศอังกฤษ

วันนี้ เมื่อ 89 ปีก่อน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงประกาศสละราชสมบัติ

“…ข้าพเจ้าเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใด โดยเฉพาะเพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิ์ขาดและโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร

บัดนี้ข้าพเจ้าเห็นว่าความประสงค์ของข้าพเจ้าที่จะให้ราษฎรมีสิทธิ์ออกเสียงในนโยบายของประเทศโดยแท้จริงไม่เป็นผลสำเร็จและเมื่อข้าพเจ้ารู้สึกว่าบัดนี้เป็นอันหมดหนทางที่ข้าพเจ้าจะช่วยเหลือหรือให้ความคุ้มครองแก่ประชาชนได้ต่อไปแล้ว ข้าพเจ้าจึงขอสละราชสมบัติและออกจากตำแหน่งพระมหากษัตริย์แต่บัดนี้เป็นต้นไป ข้าพเจ้าขอสละสิทธิของข้าพเจ้าทั้งปวง ซึ่งเป็นของข้าพเจ้าในฐานที่เป็นพระมหากษัตริย์ แต่ข้าพเจ้าสงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งปวงอันเป็นของข้าพเจ้าแต่เดิมมาก่อนที่ข้าพเจ้าได้รับราชสมบัติสืบสันตติวงศ์…”

ข้อความนี้คือบางส่วนของคำประกาศสละราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ในพระราชหัตถเลขา ลงวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 เวลา 13.45 น. ซึ่งเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้รับพระราชหัตถเลขาของพระองค์ไว้ในฐานะผู้แทนรัฐบาล

ก่อนหน้านั้นระหว่างการเสด็จประพาสยุโรป รัชกาลที่ 7 ทรงมีโทรเลขมาถึงผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์คือ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ เป็นเหตุให้ กรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ทรงทำหนังสือไปถึง พระยาพหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น มีถ้อยคำบางส่วนว่า

1 มีนาคม พ.ศ. 2433 รัชกาลที่ 5 ประกาศพระบรมราชโองการ ให้สร้างทางรถไฟสายแรก กรุงเทพฯ ถึงนครราชสีมา

วันนี้ เมื่อ 133 ปีก่อน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประกาศพระบรมราชโองการ ให้สร้างทางรถไฟตั้งแต่กรุงเทพ ฯ ถึงเมืองนครราชสีมาเป็นทางรถไฟสายแรกในราชอาณาจักรไทย

เมื่อ พ.ศ. 2398 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับพระราชสาส์นและเครื่องราชบรรณาการจากสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร ซึ่งในเครื่องราชบรรณาการนั้นมีรถไฟเล็กจำลองย่อส่วนจากรถจักรไอน้ำของจริงที่ใช้ในเกาะอังกฤษ ประกอบด้วยหัวรถจักรไอน้ำชนิดมีปล่องสูงและรถพ่วงครบขบวน ซึ่งเป็นที่สนพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในขณะนั้น แต่ตลอดรัชสมัยของพระองค์ยังไม่มีการสร้างทางรถไฟเกิดขึ้น เพราะภาวะเศรษฐกิจของราชอาณาจักรสยามในขณะนั้นยังอยู่ในฐานะที่ไม่มั่นคงและยังมีจำนวนประชากรน้อยอยู่

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงได้รับแรงบันดาลพระราชหฤทัยจากการทรงทอดพระเนตรการสร้างทางรถไฟในชวาและทรงประทับรถไฟในอินเดีย พระองค์ทรงเห็นว่ารถไฟจะทำให้ราชอาณาจักรสยามมีความเจริญยิ่งขึ้น และจะช่วยเสริมสร้างความมั่นคงให้กับราชอาณาจักรได้ ซึ่งในขณะนั้นราชอาณาจักรสยามกำลังถูกกดดันจากชาติตะวันตกในการล่าอาณานิคม ดังนั้นการสร้างทางรถไฟจึงได้เกิดขึ้น เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2433 โดยมีประกาศพระบรมราชโองการสร้างทางรถไฟสยามตั้งแต่กรุงเทพมหานครถึงนครราชสีมา ดังมีข้อความแสดงพระราชดำริบางดอนว่า

"การสร้างหนทางรถไฟเดินไปมาในระหว่างหัวเมืองไกล เป็นเหตุให้ความเจริญแก่บ้านเมืองได้เป็นอย่างสำคัญอันหนึ่ง เพราะทางรถๆฟอาจจะชักย่นหนทางหัวเมืองซึ่งตั้งอยู่ไกลไปมาถึงกันยากให้กลับเป็นหัวเมืองใกล้ไปมาถึงกันได้โดยสะดวกเร็วพลัน การย้ายขนสินค้าไปมาเป็นการลำบาก ก็สามารถจะย้ายขนไปมาถึงกันได้โดยง่าย เป็นการเปิดโอกาสให้อาณาประชาราษฎร์ มีทางตั้งการทำมาหากินกว้างขวางออกไปและทำทรัพย์สมบัติกรุงสยามให้มากมียิ่งขึ้นด้วย ทั้งเป็นคุณประโยชน์ในการบังคับบัญชา ตรวจตราราชการบำรุงรักษาพระราชอาณาเขตให้ราษฎรอยู่เย็นเป็นสุขได้โดยสะดวก"

ต่อมาในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนากรมรถไฟขึ้นเป็นครั้งแรกในสังกัดกระทรวงโยธาธิการ จากนั้นในวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2434 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ไปทรงขุดดินถมทางรถไฟหลวงสายแรก

28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ‘ทักษิณ ชินวัตร’ ก้มกราบแผ่นดิน หลังลี้ภัยในต่างแดน 1 ปี 5 เดือน

วันนี้ เมื่อ 15 ปีก่อน ทักษิณ ชินวัตร เดินทางกลับประเทศไทยเป็นครั้งแรก หลังจากต้องลี้ภัยในต่างแดนเป็นเวลา 1 ปี 5 เดือน จากเหตุรัฐประหารเมื่อ 19 กันยายน 2549

ย้อนกลับไปเมื่อ 15 ปีที่แล้ว ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2551 ได้มีภาพของ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ปรากฏและเป็นข่าวโด่งดังซึ่งประชาชนให้ความสนใจเป็นอย่างมาก กับกรณีการ ก้มกราบแผ่นดิน ที่สนามบินสุวรรณภูมิ

หลังจากที่ นายทักษิณ ต้องออกจากประเทศไทยและลี้ภัยไปอยู่ที่ประเทศอังกฤษนานถึง 1 ปี 5 เดือน เนื่องจากถูกปฏิวัติรัฐประหาร ซึ่งนำโดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ในฐานะคณะปฏิรูปการปกครองในระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ คปค. เมื่อปี 2549

เหตุการณ์ในวันนั้น เมื่อนายทักษิณ เดินทางมาถึง ได้อยู่ภายในห้องวีไอพีกับครอบครัว ซึ่งเป็นห้องที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจัดเตรียมไว้ให้เซ็นรับทราบข้อกล่าวหา รวมถึงทำกระบวนการต่างๆ ตรวจพาสปอร์ต จากนั้นได้เดินออกจากอาคารสนามบินสุวรรณภูมิทักทายอดีตแกนนำพรรคไทยรักไทย รัฐมนตรี และ ส.ส. ที่มายืนรอต้อนรับ

27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จฯ ในพิธี วางศิลาฤกษ์ ‘เขื่อนสิริกิติ์’

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์เขื่อนสิริกิติ์ อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์

เดิมเขื่อนนี้มีชื่อว่า 'เขื่อนผาซ่อม' โดยก่อสร้างปิดกั้นแม่น้ำน่าน บริเวณเขาผาซ่อม ตำบลผาเลือด อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ภายหลังได้รับพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระนามาภิไธยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ มาขนานนามเขื่อนว่า เขื่อนสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2511

26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ศาลสั่งยึดทรัพย์ ‘ทักษิณ ชินวัตร’ รวมมูลค่ากว่า 46,000 ล้านบาท

วันนี้ เมื่อ 13 ปีก่อน ศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิพากษายึดทรัพย์ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี 46,373 ล้านบาท คืนเงิน 30,247 ล้านบาท

องค์คณะผู้พิพากษาเริ่มอ่านคำพิพากษาในเวลา 13.30 น.ใช้เวลาอ่านคำฟ้องของอัยการ 1 ช.ม.อ่านคำคัดค้านการยึดทรัพย์ของผู้ถูกร้อง (จำเลย) 1.30 ช.ม. เริ่มเข้าสู่การพิจารณาในแต่ละประเด็น 16.00 น.

1. องค์คณะผู้พิพากษามีมติเป็นเอกฉันท์ว่า ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯมีอำนาจพิจารณาคดีนี้ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพราะคดีนี้ไม่ใช่คดีความผิดทางละเมิดของศาลปกครอง หรือ คดีถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

2. มีมติเป็นเอกฉันท์ว่า ผู้ร้อง ทั้งอัยการ, ป.ป.ช., คตส. มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ยึดทรัพย์ 7.66 หมื่นล้าน ตกเป็นของแผ่นดิน เพราะ

2.1 พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช. ปี 42 ไม่ได้สิ้นสุดลงตาม รธน.40 จากการยึดอำนาจ 19 ก.ย.49
2.2 คตส.จึงสามารถใช้อำนาจ ป.ป.ช.ในการตรวจสอบการทุจริต ตามประกาศ คปค.ได้

2.3 การที่ พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช.กำหนดให้การฟ้องคดีร่ำรวยผิดปกติ ต้องทำในสมัยที่นักการเมืองคนนั้น อยู่ในตำแหน่ง ไม่สามารถนำมาบังคับใช้กับการตรวจสอบของ คตส.ที่มีการบัญญัติไว้เป็น กม.เฉพาะได้

2.4 การตั้งนายกล้าณรงค์ จันทิก , นายบรรเจิด สิงคเนติ , นายแก้วสรร อติโพธิ เป็นอนุกรรมการตรวจสอบชอบด้วย กม.ไม่ได้มีอคติ หรือ เป็นปรปักษ์กับผู้ถูกกล่าวหา เพราะการไปฟังกลุ่มพันธมิตรฯปราศรัย , การแสดงความเห็นตรงข้ามกับผู้ถูกกล่าวหา เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพในฐานะประชาชนทั่วไป , นักวิชาการ และ ส.ว. ไม่ได้มีเรื่องโกรธแค้นเป็นการส่วนตัวกับผู้ถูกกล่าวหา

2.5 ป.ป.ช.ชุดนี้ตั้งตามประกาศ คปค. ฉบับที่ 19 ซึ่งชอบด้วย กม.แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องให้ ปธ.วุฒิสภา รับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง

2.6 คดีนี้เป็นคดีแพ่ง ไม่ใช่คดีแพ่งประกอบคดีอาญา ที่ต้องรอผลทางอาญาก่อน ตาม ป.วิ อาญา ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจึงสามารถดำเนินกระบวนพิจารณาได้ โดยไม่ต้องรอให้มีคำพิพากษาในส่วนที่เป็นคดีอาญาก่อน

3. องค์คณะผู้พิพากษามีมติเป็นเอกฉันท์ว่า คำร้องขอให้ยึดทรัพย์ 7.66 หมื่นล้าน มีความชัดเจนไม่คลุมเครือ เพราะ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ถือหุ้นชินคอร์ปผ่านเครือญาติ และนิติบุคคลที่ตัวเองตั้งขึ้น

25 กุมภาพันธ์ ของทุกปี วันวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติ เป็นวันแรกที่มีการถ่ายทอดเสียงทางวิทยุในไทย

วันวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นวันที่ประเทศไทยมีการกระจายเสียงทางวิทยุเป็นครั้งแรก

กิจการวิทยุกระจายเสียงในประเทศไทยมีมาตั้งแต่ พ.ศ.2470 ด้วยพระดำริของ 'พลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน' เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และโทรคมนาคม

พระองค์ทรงดำริตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงขึ้น เมื่อพ.ศ.2471 โดยสั่งเครื่องส่งกระจายเสียงคลื่นสั้นเข้ามาทดลอง และให้อยู่ในความควบคุมของช่างวิทยุ กรมไปรษณีย์โทรเลข ตั้งสถานีที่ตึกที่ทำการไปรษณีย์ปากคลองโอ่งอ่าง ตำบลวัดราชบูรณะเป็นครั้งแรก ใช้ชื่อสถานีว่า '4 พีเจ' (HS 4 PJ) ต่อมาได้มีการประกอบเครื่องส่งคลื่นขนาดกลาง 1 กิโลวัตต์ ขึ้น ทำการทดลองที่ตำบลศาลาแดงใช้ชื่อสถานีว่า 'หนึ่ง หนึ่ง พีเจ' (HS 11 PJ) ซึ่งการใช้ชื่อสถานีว่า 'พีเจ' ในยุคนั้น ย่อมาจากคำว่า 'บุรฉัตรไชยากร' อันเป็นพระนามเดิมของพระองค์ท่านนั่นเอง

หลังจากนั้นเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2473 ซึ่งตรงกับวันพระราชพิธีฉัตรมงคล ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

‘พาต้า ปิ่นเกล้า’ความฝันของเด็กยุคสมโภชกรุงฯ ที่จะถูกปรับปรุงใหญ่ในรอบ 40 ปี

หากจะพูดว่า “พาต้า ปิ่นเกล้า คือ ความฝันของเด็กยุคสมโภชกรุงฯ” ก็ไม่น่าผิดจากความเป็นจริงนัก เพราะผมเองคือ หนึ่งในเด็กฝั่งธนฯ ที่เฝ้าฝันถึงวันจะได้มาเยือนห้างสรรพสินค้ามหัศจรรย์ชื่อ ‘พาต้า ปิ่นเกล้า’ อยู่แทบทุกเมื่อเชื่อวัน

เมื่อวันก่อนเห็นข่าวแจ้งจากเพจ ‘สวนสัตว์พาต้า’ (@Patazoo67) จึงอดดีใจลึกๆ กับเขาด้วยว่าคงถึงเวลาของตำนานห้างสรรพสินค้าอันดับหนึ่งของฝั่งธนบุรี ตัดสินใจปรับตัวสู้ศึกในโลกการค้าไร้พรมแดน อีกทั้งยังประกาศหาทีมงานปรับปรุงภาพลักษณ์ ‘พาต้า ปิ่นเกล้า’ พร้อมดัน ‘เสริมศิริมงคล รุ่น 2’ ขึ้นกุมบังเหียนเต็มตัว - ข้อความขึ้นต้นจากผู้บริหารพาต้าจั่วหัวไว้ประมาณนี้

แฟรนไชส์ ‘พาต้า’ เริ่มจากสาขาแรกที่ศูนย์การค้าอินทรา ประตูน้ำ (พ.ศ. 2518) และต่อมากับความสำเร็จจนรู้จักไปทั่วบ้านทั่วเมืองกับสาขาปิ่นเกล้า (พ.ศ. 2525) ต่อเนื่องไปถึงสาขาหัวหมาก (พ.ศ. 2535)

แต่ก็เช่นเดียวกับวัฏจักรโลกทั่วไปที่พาต้าฯ เอง ก็หนีไม่พ้นวงจรนี้ เพราะเมื่อขึ้นสู่จุดสูงสุด ก็จำต้องตกต่ำ ด้วยสภาพความเจริญของบ้านเมืองย่านฝั่งธนฯ ซึ่งดึงดูดเม็ดเงินจากนักลงทุนเข้ามาอย่างมหาศาล วงการสินค้าปลีกจึงตามมาแย่งชิง จนลูกค้าประจำของ พาต้า ปิ่นเกล้า ต่างหันหน้าไปสู่ห้างฯ อื่น นำมาสู่ความเงียบเหงาท้ายที่สุด

ปี พ.ศ. 2562 เกิดกระแสข่าวลือแชร์ว่อนโลกโซเชียลฯ ถึงการประกาศขายที่ดินของ พาต้า ปิ่นเกล้า แห่งนี้ บนค่าตัวหลักพันล้านบาท และ ‘ปิดกิจการ’ แต่สุดท้ายหนึ่งในคณะผู้บริหารได้ออกมาสยบข่าวลือนั้นว่า ไม่เป็นความจริง จากปากของ ‘วิวรรธน์ เสริมศิริมงคล’ อดีตประธานกรรมการบริหาร บริษัท ห้างสรรพสินค้าปิ่นเกล้า จำกัด เคยให้สัมภาษณ์ยืนยันไว้ราวสองปีก่อนหน้า

แต่พอเข้าสู่ปี พ.ศ. 2566 หลังจากที่ทีมบริหารได้ปรับปรุงพื้นที่สวนสัตว์พาต้าจนใกล้จะแล้วเสร็จ และกำลังเตรียมเปิดบริการเต็มรูปแบบ คณะผู้บริหารบริษัท ห้างสรรพสินค้าปิ่นเกล้า ได้มีมติเป็นหนึ่งเดียวกัน คือ พร้อมจะเริ่มต้น ปรับปรุงบ้านหลังนี้ ในรอบ 40 ปี ให้คืนสภาพ กลับมาพร้อมให้การต้อนรับผู้มีอุปการคุณ

ผมไล่อ่านรายละเอียดตามที่เห็นจากเพจฯ ถึงแผนพัฒนาห้างฯ และหัวข้อการปรับปรุงต่าง ๆ ตั้งแต่ข้อแรกจนถึงข้อสุดท้ายว่า “...พื้นที่ชั้น 5 (พื้นที่ต่อเนื่องกับสวนสัตว์) ปรับให้เป็นพื้นที่เช่า ในโครงการพิเศษต่าง ๆ เช่น ตลาดนัดสัตว์เลี้ยง หรือตลาดของใช้ทั่วไป งานแสดงสินค้า งานประชุมวิชาการ”

เพียงเท่านั้นก็เหมือนผู้บริหาร ‘พาต้า ยุค 2’ อยากระลึกชาติหวนกลับไปใช้ความชำนาญที่เคยมีมาตั้งแต่รุ่นเปิดดำเนินการคือ ‘Localized Marketing’ ซึ่งเคยสร้างความเฟื่องฟูจนถึงขีดสุดในอดีต

ห้างสรรพสินค้าซึ่งถือฤกษ์งามยามดีเปิดบริการเอาในศักราช สมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ที่ไม่ได้มีดีเพียงแค่อาคารรูป ‘ส.เสือ’ อักษรแรกของชื่อตระกูล น้ำพุสายรุ้งความสูงเท่ากับห้างก็คือตึก 7 ชั้น หลั่งไหลสลับสีพราวพรรณราย หรือแม้แต่ลิฟท์แก้วใสแจ๋วนอกตัวอาคาร ซึ่งน่าประหวั่นพรั่นพรึงแก่เด็กกลัวความสูงอย่างหนักเช่นผม

24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310 วันคล้ายวันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีพระนามเดิมว่า ฉิม ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาช และสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310 ทรงได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร เมื่อมีพระชนมายุได้ 16 พรรษา

ต่อมาพระองค์ได้อภิเษกสมรสกับ เจ้าฟ้าหญิงบุญรอด พระธิดาสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ ซึ่งภายหลังเจ้าฟ้าหญิงบุญรอดได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ดำรงตำแหน่งพระอัครมเหสี หลังการขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โดยทั้งสองพระองค์มีพระราชโอรสร่วมกัน 3 พระองค์ พระองค์ใหญ่ซึ่งปรากฏพระนามภายหลังว่าเจ้าฟ้าราชกุมาร สิ้นพระชนม์เสียตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ รองลงมา คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์น้อย คือ  พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

ขณะที่พระองค์มีพระชนมายุ 40 พรรษา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกจึงโปรดให้ตั้งพระราชพิธีอุปราชาภิเษก สถาปนาพระเกียรติยศขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล แต่ให้คงเสด็จประทับอยู่ที่พระราชวังเดิม มิให้ขึ้นไปประทับ ณ พระราชวังบวรฯ ด้วยสมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ได้กราบทูลไว้แต่เมื่อประชวรหนักว่าขอให้ลูกเธอได้อาศัยในพระราชวังบวรฯ ต่อไป ทั้งทรงพระราชดำริเห็นว่า พระองค์ก็ทรงพระชรามากอยู่แล้ว ไม่ช้านานเท่าใดพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยก็จะได้เสวยราชสมบัติ การย้ายวัง ควรไว้ย้ายเมื่อเสด็จเข้ามาประทับในพระบรมมหาราชวังทีเดียว

ถึงปี พ.ศ. 2352 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้เสด็จสวรรคต กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ได้เสด็จขึ้นครองราชย์ ทรงมีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า

23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 รสช.ยึดอำนาจ รัฐบาลพลเอกชาติชาย ด้วยเหตุผลหลัก ‘ฉ้อราษฎร์บังหลวง’

เมื่อวันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 ได้เกิดรัฐประหารขึ้นโดย คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ หรือ รสช. (National Peace Keeping Council-NPKC) ภายใต้การนำของ พลเอก สุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ พลเอก สุจินดา คราประยูร ผู้บัญชาการทหารบก พลตำรวจเอก สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์ อธิบดีกรมตำรวจ เป็นรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ พลเอก อิสระพงศ์ หนุนภักดี รองผู้บัญชาการทหารบก เป็นเลขาธิการคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ  ร่วมด้วย พลเรือเอก ประพัฒน์ กฤษณจันทร์ ผู้บัญชาการทหารเรือ พลอากาศ เกษตร โรจนนิล ผู้บัญชาการทหารอากาศ 

โดยคณะ รสช. ได้เข้ายึดอำนาจการปกครองจาก พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี โดยในแถลงการณ์ของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 1 เรื่องคำชี้แจงเหตุผลการเข้ายึดและควบคุมอำนาจในการปกครองประเทศ ด้วยเหตุผลหลักที่เป็นเสมือนข้ออ้างในรัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 ไว้ 5 ประการ ได้แก่


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top