Tuesday, 14 May 2024
TODAY SPECIAL

7 มกราคม ค.ศ. 1789 ย้อนเวลา 232 ปี ‘จอร์จ วอชิงตัน’ ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐอเมริกา

ปีนี้เป็นปี 2021 และยังเป็นช่วงเวลาที่ ‘ประธานาธิบดีคนใหม่’ ของสหรัฐอเมริกา ยังไมได้ถูกแต่งตั้งอย่างเป็นทางการเสียที แต่เมื่อกว่า 232 ปีมาแล้ว วันนี้ถือเป็นวันสำคัญของชาติสหรัฐฯ เนื่องจากเป็นวันที่สหรัฐอเมริกาจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีขึ้นเป็นครั้งแรก และผลของการเลือกตั้งครั้งนั้น ก็เกิดประธานาธิบดีคนแรกของอเมริกาขึ้น เขาผู้นั้นคือ จอร์จ วอชิงตัน

จอร์จ วอชิงตัน เป็นผู้นำทางทหารและการเมืองที่โดดเด่นของสหรัฐอเมริกา โดยพวกเขาก่อตั้งกลุ่มขึ้นมาระหว่างปี ค.ศ. 1775 - 1799 เขานำสหรัฐได้รับชัยชนะเหนือบริเตนใหญ่ในสงครามปฏิวัติอเมริกัน ในฐานะผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพภาคพื้นทวีป รวมทั้งยังเป็นผู้รับผิดชอบการร่างรัฐธรรมนูญในช่วงปี ค.ศ. 1787 อีกด้วย

ด้วยความเป็นผู้นำการสร้างรัฐบาลแห่งชาติที่เข้มแข็งและมีระบบการคลังที่ดี รวมทั้งยังได้รับการยอมรับจากประชาชนอเมริกันทุกระดับ เป็นเหตุให้เขาได้รับการยกย่องจากชาวอเมริกันว่าเป็น ‘บิดาผู้ก่อตั้งประเทศ’ และถูกกล่าวขวัญถึงอยู่เสมอมาจนปัจจุบัน


ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/

เมื่อต้องแต่งคำขวัญวันเด็กเฉพาะกิจให้คนดัง

อีก 2 - 3 วันจะเป็นวันเด็กแห่งชาติอีกแว้ว แว้ว แว้ว แว้ว แว้ว (พอ!!) แต่ก่อนถึงวันแห่งเยาวชนแห่งชาติปีนี้ มาเปิดคอร์สกันก่อนดีกว่า ปกติวันเด็กต้องคู่กับอะไรคะ? ไปดูเครื่องบิน? อืมม อันนี้ก็ถูกค่ะ ไปขึ้นรถถัง? อันนี้ก็ถูกอีก ไปนั่งเกาอี้นายกฯ อันนี้ต้องอดทนนะคะ เพราะคิวจะยาววววววววมาก และสุดท้าย วันเด็ก ต้องคู่กับ คำขวัญวันเด็ก

รู้ไหม ๆ ว่า คำขวัญวันเด็กของประเทศไทยมีมาตั้งแต่ นู่น!! พ.ศ. 2499 สมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนนตรี และเป็นผู้มอบคำขวัญวันเด็กเป็นคนแรก รู้ขนาดนี้แล้ว เรามาเปิดคอร์ส ‘หัดแต่งคำขวัญวันเด็ก’ กันดีกว่า ว่าแต่ว่า จะแต่งคำขวัญวันเด็กให้ใครกันดีบ้างน้า??

สวมหน้าอนามัยสีไหน ถูกโฉลก รับโชค หรือเป็นกาลกิณี เช็กด่วน!

อ่ะ! เข้าตำรา พลิกโควิดให้เป็นโอกาส ไหน ๆ เราก็ต้องสวมหน้ากากหน้าอนามัยกันตลอดเวย์อยู่แล้วช่วงนี้ จะสวมทั้งที ก็เอาให้มันตรงโฉลก รับโชค รับทรัพย์ หรือเหมาะกับกิจการงานในแต่ละวันกันไปเลย เช็กซะตรงนี้ว่า ในแต่ละวันนั้น คุณเหมาะที่จะสวมหน้ากากอนามัยสีอะไร เพื่อให้ตอบโจทย์ชีวิตในเรื่องใดบ้าง 

วันอาทิตย์: ถ้าจะให้ดีเรื่องบริวาร แนะนำสวมหน้ากากอนามัยสีแดงหรือน้ำตาล หรือจะให้เด่นเรื่องอำนาจ ให้จัดสีชมพู ถ้าจะเสริมสิริมงคลให้สวมสีเขียวอ่อน ส่วนถ้าเน้นเรื่องการเงินให้สวมหน้ากากอนามัยสีม่วง แต่ถ้าจะให้ผู้ใหญ่เมตตาเกื้อหนุน จัดสีดำหรือเทา ส่วนสีกาลิกิณีที่ควรเลี่ยง คือสีฟ้าและน้ำเงิน

วันจันทร์: บริวารดีต้องสีขาวหรือสีเหลือง ถ้าเน้นเรื่องพลังอำนาจ จัดสีเขียวอ่อนไปเลย หรือเพื่อเป็นสิริมงคลก็สีม่วง ส่วนอยากให้โดดเด่นเรื่องการเงิน ต้องหน้ากากอนามัยสีส้มหรือเหลือง กาลกิณีที่ควรหลีกเลี่ยงในวันนี้คือ แดงกับน้ำตาล

วันอังคาร: บริวารดีหน้ากากชมพู แต่ถ้าเน้นการเงินคล่องปรี๊ดก็ต้องสีดำหรือเทา ส่วนถ้าต้องเจรจากับผู้ใหญ่ก็ต้องแดงหรือน้ำตาล สีหน้ากากอนามัยที่ควรเลี่ยงในวันนี้คือ ขาวและเหลือง 

วันพุธ: วันพุธนี้มีรายละเอียดเพิ่มเติม คือพุธกลางวัน และพุธกลางคืน ถ้าต้องเจรจาเรื่องเงินในตอนกลางวัน ก็จัดสีฟ้าหรือน้ำเงินไป แต่ถ้าเน้นความเป็นสิริมงคลก็จัดสีดำหรือเทา ที่ควรเลี่ยงคือ สีชมพูในตอนกลางวัน ส่วนพุธกลางคืน สวมหน้ากากอนามัยสีชมพูการเงินดี ที่ควรเลี่ยงคือสีส้มกับสีเหลือง ถ้าเน้นโชคลาภในตอนกลางคืนก็จัดสีขาวไป

วันพฤหัสบดี: บริวารดีต้องสวมหน้ากากส้มกับเหลือง ถ้าทรงพลังอำนาจต้องฟ้ากับน้ำเงิน การเงินต้องสีขาวกับสีเหลือง ผู้ใหญ่เมตตาต้องเขียวไปเลยจ้า ที่เลี่ยงได้เลี่ยงคือ สีม่วง ไม่เวิร์คสำหรับวันนี้

วันศุกร์: เลี่ยงก่อนอันดับแรกคือ ดำกับเทา เป็นกาลกิณีในวันนี้ ไม่ควรสวมใส่ ที่ดีเลิศประเสริฐศรีคือ ชมพู เป็นสิริมงคล หรือสีเขียวอ่อน ก็เงินดีมีใช้ คนเป็นหัวหน้าถ้าจะเน้นบริวารก็จัดไปฟ้ากับน้ำเงิน

วันเสาร์: ถ้าเน้นอำนาจวาสนา ต้องสวมหน้ากากอนามัยสีดำหรือเทา เน้นการเงินต้องแดงหรือน้ำตาล ส่วนที่ช่วยเสริมสิริมงคลก็ต้องสีฟ้าหรือสีน้ำเงิน ที่ควรเลี่ยงคือสีเขียว ไม่ค่อยดีในวันนี้


สวมหน้ากากอนามัยป้องโควิด-19แล้ว ก็ขอให้เฮง ๆ หน้าที่การงานดีกันทุกคนนะจ๊ะ ด้วยความปรารถนาจาก The States Times…

เทคนิคสวมหน้ากากอนามัยสไตล์ "หมอก้อง สรวิชญ์ สุบุญ"

หนักได้อีกช่วงนี้ คือการปฏิบัติหน้าที่ของเหล่าทีมแพทย์ พยาบาล และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการรักษาโรคโควิด-19 นี่เอง ในฐานะประชาชนคนไทย ขอส่งกำลังใจให้ผู้เกี่ยวข้องทุกคน ‘สู้ๆ’

และล่าสุด หมอก้อง นพ.สรวิชญ์ สุบุญ นอกจากจะกำลังลุยดูแลผู้ป่วยอยู่แล้ว ยังส่งข้อแนะนำการสวมหน้ากากอนามัยในชีวิตประจำวันมาในเฟซบุ๊กของตัวเองอีกด้วย เทคนิคดีๆ แบบนี้ ทำตามกันได้เลยจ้า #คุณหมอสู้สู้ #การ์ดอย่าตก


ที่มา: เฟซบุ๊ก Sarawit Subun

6 มกราคม พ.ศ. 2545 ศาสตราจารย์พิเศษสัญญา ธรรมศักดิ์ ถึงแก่อสัญกรรม สิริอายุ 94 ปี

วันนี้เมื่อ 19 ปีก่อน เป็นวันที่ต้องถูกบันทึกเอาไว้ในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทย เมื่อ ศาสตราจารย์พิเศษสัญญา ธรรมศักดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย ถึงแก่อสัญกรรม ณ โรงพยาบาลรามาธิบดี สิริอายุรวม 94 ปี

 

ศาสตราจารย์พิเศษสัญญา ธรรมศักดิ์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมตรีของไทยลำดับที่ 12 โดยอยู่ในตำแหน่งเพียง 220 วัน (14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517) ก่อนหน้าที่จะเข้ารับตำแหน่งสูงสุดทางการเมือง เคยดำรงตำแหน่งมามากมาย อาทิ คณบดีคณะนิติศาสตร์ และอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ, ปลัดกระทรวงยุติธรรม, ประธานศาลฎีกา ฯลฯ

 

กระทั่งเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2511 ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นองคมนตรี ก่อนจะกราบบังคมทูลลาไปดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต่อมาหลังจากพ้นตำแหน่ง จึงได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งกลับมาเป็นองคมนตรีอีกครั้ง จนเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2518 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นประธานองคมนตรี และดำรงตำแหน่งนี้เรื่อยมาจนถึงเมื่อวันที่ 4 กันยายน ปี พ.ศ. 2541

 

ศาสตราจารย์พิเศษสัญญา ธรรมศักดิ์ ถือเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านกฎหมาย และเป็นบุคลากรที่ทำคุณประโยชน์แก่ชาติบ้านเมือง จนถูกบันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ไทย

 

ที่มา: https://th.wikipedia.org/

 

5 มกราคม..วันนกแห่งชาติ

วันนี้เป็น ‘วันนก’ นกจริงๆ ไม่ใช่ แบบว่านก ๆ (หรือแบบว่าพลาด ๆ) ที่มาที่ไปของวันแห่งนกนี้ เกิดขึ้นที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งต้องย้อนกลับไปเมื่อราวปี ค.ศ. 2002 มีองค์กรที่ชื่อว่า Born Free USA ซึ่งเป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อดูแลคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติสหรัฐฯ ได้เป็นผู้กำหนดวันแห่งนกขึ้น

วัตถุประสงค์ก็เพื่อให้ผู้คนได้ตระหนักถึงปัญหาการลดลงของประชากรนกในหลายๆ ปัจจัย ทั้งมลภาวะ โรคภัย ตลอดจนการถูกล่า ทั้งหมดทั้งมวลนี้ ทำให้เกิด ‘วันแห่งนก’ ขึ้นมา จนต่อมาก็แพร่หลายไปอีกหลายประเทศ ท้ายที่สุด วันนี้จึงเหมือนวันที่ต้องการให้ผู้คนต่างหันมาดูแลใส่ใจ ‘เจ้าสัตว์ปีกตัวน้อย’ เหล่านี้กันให้มากขึ้น เพราะอย่างน้อยที่สุด พวกเขาก็คือ เพื่อนร่วมโลกกับมนุษย์อย่างเราๆ มาช้านาน  


ที่มา: https://nationaldaycalendar.com/national-bird-day-january-5/

4 มกราคม พ.ศ. 2491 ครบรอบ 73 ปี ประเทศพม่าได้รับเอกราชจากจักรวรรดิอังกฤษ

วันนี้ถือเป็นวันสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์โลก เมื่อประเทศพม่าได้รับเอกราชคืนจากประเทศอังกฤษ ซึ่งหากย้อนเวลากลับไป กองทัพอังกฤษได้เข้าทำสงครามกับพม่ามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2367 พร้อมกับยึดดินแดนสำคัญๆ เอาไว้เรื่อยมา กระทั่งเกิดสงครามครั้งใหญ่กับอังกฤษขึ้นอีก 2 ครั้ง ดินแดนของประเทศพม่าจึงถูกรวมไว้ในการปกครองของอังกฤษ หรือเรียกว่าตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2429 เป็นต้นมา

 

จนล่วงเข้าสู่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ผู้นำพม่า ตลอดจนถึงประชาชน ได้มีความพยายามเจรจากับอังกฤษในการขอคืนเอกราชแบบสมบูรณ์ แต่ก็เกิดเหตุการณ์ขัดแย้งทางการเมืองขึ้นหลายครั้งหลายครา ทำให้การเจรจาไม่เป็นผล จนย่างเข้าสู่ช่วงปี พ.ศ. 2490 หลังจากที่นาย อู นุ  ได้ขึ้นสู่การเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศ ก็มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2490 โดยในช่วงเวลานั้นเอง อังกฤษได้มอบเอกราชคืนให้แก่พม่า แต่ก็ยังมิใช่เอกราชแบบสมบูรณ์ เพราะยังรักษาสิทธิทางการทหารเอาไว้ กระทั่งเมื่อวันที่  4 มกราคม พ.ศ. 2491 อังกฤษจึงได้มอบเอกราชให้แก่พม่าอย่างสมบูรณ์ โดยมีการสถาปนาชื่อประเทศว่า ‘สหภาพพม่า’ (Union of Burma) ซึ่งวันนี้ (4 มกราคม) ของทุกๆ ปี จึงถือว่าเป็นวันมอบเอกราชของประเทศพม่านั่นเอง

 

ที่มา: th.wikipedia.org/wiki/พม่าภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักร

3 มกราคม พ.ศ. 2502 ...ครบรอบ 62 ปี รัฐอะแลสกา รัฐที่ 49 ของประเทศสหรัฐอเมริกา

 

‘อะแลสกา’ พื้นที่แห่งนี้เคยเป็นส่วนหนึ่งของประเทศรัสเซียเมื่อในอดีต เป็นดินแดนที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ กระทั่งราวปี ค.ศ. 1867 อะแลสกาก็ได้กลายไปเป็นของสหรัฐอเมริกา ในเวลานั้นชาวอเมริกันเอง ต่างพากันแปลกใจที่รัฐบาลใช้เงินซื้อพื้นที่ที่ไกลแสนไกล แถมยังร้างไร้ผู้คน หนำซ้ำยังมีแต่ก้อนน้ำแข็ง

 

แต่แล้วเมื่อเวลาผ่านไป อะแลสกากลายเป็นดินแดนแห่งความหวัง เริ่มมีการค้นพบทองคำ น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติมากมาย พื้นที่แห่งนี้ค่อยๆ ถูกยกระดับจากทางการสหรัฐ กระทั่งเมื่อวันที่ 3 มกราคม ค.ศ. 1959 (หรือราวปี พ.ศ. 2502) อะแลสกาก็ถูกยกสถานะให้กลายเป็น ‘รัฐที่ 49’ ของประเทศสหรัฐอเมริกาในที่สุด

 

เสน่ห์ของอแลสกา คือความเป็นอเมริกาที่ไม่ใช่อเมริกา ด้วยพื้นเพของผู้คนดั้งเดิมในพื้นที่นั้นเป็นชาวเอเขียที่มาตั้งรกรากอยู่เมื่อกว่า 10,000 ปีก่อน จึงทำให้ผู้คนที่นี่มีลักษณะที่ต่างจากชาวอเมริกันออกไป มากไปกว่านั้น คือพื้นที่อันกว้างใหญ่ไพศาล (เป็นรัฐที่ใหญ่ที่สุดของอเมริกา) ที่นี่จึงเต็มไปด้วยธรรมชาติอันหลากหลาย เป็นหนึ่งในหมุดหมายของนักเดินทางทั่วโลกที่อยากมาเยือนให้ได้สักครั้ง

6 ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับความรัก

บางครั้งเรามักจะเชื่อในสิ่งที่ไม่มีหลักฐานยืนยัน ความรักไม่ได้ต่างจากด้านอื่น ๆ ของชีวิต ถ้าคุณตระหนักถึงสิ่งเหล่านี้คุณจะทำผิดพลาดน้อยลงและจะเสียใจน้อยลง วันนี้เราจะพาไปพบกับ 6 ความเข้าใจผิดที่แพร่หลายมากที่สุดเกี่ยวกับความรักที่อาจขัดขวางความสุขของคุณ

1.) สิ่งตรงข้ามดึงดูด

แม้คำนี้จะได้รับความนิยม แต่ก็มีการพิสูจน์แล้วว่าผิด โดยทั่วไปแล้วคนที่อยู่ในความสัมพันธ์ที่ยาวนานจะมีความเหมือนกันมากกว่าความแตกต่างในช่วงเริ่มต้น ในการพบกันครั้งแรก พวกเขาสังเกตเห็นลักษณะของอีกฝ่ายที่พวกเขาเองก็มี ลักษณะเหล่านี้บ่งบอกว่าทั้งคู่อาจมีความสัมพันธ์ที่เข้ากันได้ในอนาคต นอกจากนี้ยังพบว่าคู่รักที่มีบุคลิกและค่านิยมคล้ายคลึงกันจะทำหน้าที่พ่อแม่ได้ดีกว่าคู่รักที่มีนิสัยต่างกัน

2.) ฉันสามารถเปลี่ยนเขาได้

แน่นอนว่าความสัมพันธ์จะส่งผลต่อนิสัยของคน ๆ หนึ่ง แต่มีประเด็นพื้นฐานที่คุณไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ไม่ว่าคุณจะพยายามอย่างหนักแค่ไหน นั่นคือ บุคลิกภาพ ทัศนคติ ค่านิยม และพื้นฐานทางสังคม

3.) การใช้ชีวิตร่วมกันก่อนแต่งงานเป็นวิธีที่ดีในการทำความรู้จักกัน

คู่รักย้ายมาอยู่ด้วยกันและอาจไปได้สวยในระยะหนึ่ง แต่การพร้อมสำหรับการแต่งงานไม่ได้เกิดขึ้นในเวลาไม่กี่วัน ในขณะเดียวกันพ่อแม่ของพวกเขาก็เริ่มถามว่าจะแต่งกันเมื่อไหร่ "จะรออะไรถ้าอยู่ด้วยกันแล้ว" สิ่งนี้อาจทำให้ทั้งคู่ถูกดึงเข้าสู่การแต่งงานแทนที่จะได้ตัดสินใจอย่างมีสติ ในอนาคตพวกเขาอาจหย่าร้าง ดังนั้นจึงควรเริ่มใช้ชีวิตร่วมกันหลังจากที่คุณทั้งคู่พร้อมที่จะเผชิญชะตากรรมร่วมกัน

4.) คู่ชีวิตของคุณถูกกำหนดไว้ล่วงหน้า

หลายคนใฝ่ฝันที่จะหาคู่ที่สมบูรณ์แบบ ผู้คนหลายพันล้านคนที่อาศัยอยู่บนโลกใบนี้มีมากกว่าหนึ่งคนที่สามารถกลายเป็นอีกครึ่งหนึ่งของคุณได้ ความรักที่ยืนยาวและความเคารพซึ่งกันและกันแม้ว่าจะมีอุปสรรค จะเป็นสิ่งที่ทำให้คุณรู้สึกเหมือนมีคู่ชีวิตอยู่เคียงข้าง

5.) ความรักมีวันหมดอายุ

การศึกษาของมหาวิทยาลัย Stony Brook ในนิวยอร์กพบว่า ความรู้สึกในคู่รักใหม่ ๆ นั้นแข็งแกร่งพอ ๆ กับความสัมพันธ์ที่มีมายาวนาน 10 ถึง 29 ปี ในทั้งสองกรณี สมองของอาสาสมัครที่ร่วมการทดลองตอบสนองต่อภาพถ่ายของคนสำคัญของพวกเขาในลักษณะที่คล้ายกัน 

6.) รักแรกพบมีอยู่จริง

ความเชื่อนี้เป็นเรื่องปกติมาก แต่มันไม่ถูกต้อง การวิจัยแสดงให้เห็นว่าเมื่อตรวจสอบชายคนหนึ่งในการพบกันครั้งแรก ผู้หญิงใช้สายตาชำเลืองมองเพียงแค่ 6 ครั้ง เพื่อตัดสินใจว่าเขาเหมาะสมกับเธอหรือไม่ แม้ว่าจะไม่ใช่รักตั้งแต่แรกพบ แต่การชำเลืองมองแค่ 6 ครั้งก็ถือว่าไม่มากเช่นกัน 

แล้วคุณล่ะ มีความเชื่อเกี่ยวกับความสัมพันธ์เรื่องไหนที่คุณคิดว่ามันไม่ถูกต้อง ?


ข้อมูลจาก: https://brightside.me/inspiration-relationships/6-myths-about-love-that-people-still-believe-in-444860

10 ภาพแห่งปี 2020 จากนิตยสาร TIME

การเดินทางในระยะเวลาหนึ่งปี อาจมีหลายสิ่งที่เราหลงลืมไปบ้าง แต่ก็มีบางเหตุการณ์ที่เราลืมไม่ลง เราไม่สามารถอยู่ในสถานที่มากกว่าหนึ่งแห่งพร้อมกันได้ ทำให้ภาพถ่ายกลายเป็นสิ่งล้ำค่าในการบันทึกเรื่องราวและเหตุการณ์ สิ่งเหล่านี้ถูกนำมาแบ่งปันในฐานะพลเมืองโลก

ในรอบปี มีภาพและเรื่องราวมากมายเกิดขึ้นในทุกมุมโลก แต่นี่คือ 10 ภาพที่ทางนิตยสาร TIME ได้เลือกแล้วว่า เป็นภาพแห่งปี มันสะท้อนเรื่องราวอะไรกันบ้าง ตามไปดูกัน!

‘แสงสว่างในความมืด’

ฤดูใบไม้ผลินี้เจ้าหน้าที่และผู้ป่วยที่ศูนย์การแพทย์ Wyckoff Heights ของบรูคลิน อนุญาตให้ Meridith Kohut บันทึกหลักฐานแนวหน้าของการแพร่ระบาดเนื่องจาก COVID-19 ที่คร่าชีวิตผู้คนไปหลายพันคนในนิวยอร์กซิตี้

‘ความเศร้าและความโกรธของพวกเขาเป็นเรื่องจริง’

ที่มัสยิดแห่งหนึ่งในกรุงเตหะราน เมื่อวันที่ 5 มกราคม ผู้หญิงอิหร่านไว้อาลัย Qasem Soleimani หลังจากถูกลอบสังหารในแบกแดด “พวกเขารู้สึกเจ็บปวดและต้องการแก้แค้น” ช่างภาพ Newsha Tavakolian เล่า “ฉันค้นหาวิธีจับภาพนี้อย่างยาวนาน และพบว่าฉากนี้เป็นช่วงเวลาที่เงียบสงบท่ามกลางวังวนของผู้คน หญิงสาวชูกำปั้นขณะถือโปสเตอร์ คนอื่น ๆ นิ่งคิดในใจ พวกเขาเดินไปรอบ ๆ อยู่กับความรู้สึกของตัวเอง”

‘ฉันไม่สามารถลืมใบหน้าของเธอได้’

Hoda Kinno อายุ 11 ปีถูกอุ้มโดยลุงของเธอ Mustafa หลังจากเกิดเหตุระเบิดครั้งใหญ่ที่ท่าเรือในเบรุต เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม

“เมื่อฉันไปถึงที่นั่นฉันแทบไม่อยากเชื่อสิ่งที่ฉันเห็น” Hassan Ammar ช่างภาพกล่าว “ ฉันถ่ายภาพทุกอย่าง เมื่อเห็นผู้ชายอุ้มผู้หญิงที่ได้รับบาดเจ็บสองคนบนทางหลวงฝั่งตรงข้ามท่าเรือ ฉันตามไปจนกระทั่งพวกเขาไปถึงรถทหารที่บรรทุกผู้บาดเจ็บเพื่ออพยพไปโรงพยาบาล”

 “วันนั้นในเบรุตเป็นวันที่เปลี่ยนชีวิตของเราในเลบานอน” Ammar กล่าวเสริม“ เปลี่ยนฉันให้เป็นมนุษย์และช่างภาพ”

‘เธอไม่อยากปล่อย’

Olivia Grant กอดคุณยาย Mary Grace Sileo ผ่านพลาสติกกั้นที่แขวนบนราวตากผ้าแบบโฮมเมด ในช่วงสุดสัปดาห์ วันแห่งความทรงจำ 24 พฤษภาคม 2020 ที่เมือง Wantagh นี่เป็นครั้งแรกที่พวกเขามีการติดต่อใด ๆ นับตั้งแต่การล็อกดาวน์ Bello จับภาพการโอบกอดนานกว่า 45 นาที “พวกเขากอดกันอย่างยาวนาน” เขากล่าว

‘เป็นความรู้สึกเจ็บปวดสำหรับฉันจริงๆ’

Jacquelyn Booth แสดงความไว้อาลัยต่อการเสียชีวิตของผู้พิพากษา Ruth Bader Ginsburg บนระเบียงหินอ่อนของศาลสูงสุดเมื่อวันที่ 26 กันยายน ขณะที่ผู้สนับสนุนอนุรักษนิยม ของผู้พิพากษา Amy Coney Barrett สวดมนต์ที่ประตู หลายพันคนเดินขบวนในวอชิงตันดีซีในวันนั้น ในงานที่จัดโดย Franklin Graham หลายชั่วโมงก่อนที่ทรัมป์จะประกาศการเสนอชื่อบาร์เร็ตต์เพื่อแทนที่กินส์เบิร์ก

‘ไม่มีใครแตะต้องเขา’

Hector Retamal ช่างภาพ AFP จากเซี่ยงไฮ้เดินทางถึงอู่ฮั่นโดยรถไฟเมื่อวันที่ 23 มกราคม เนื่องจากเมืองถูกปิดตาย “ หวู่ฮั่นกลายเป็นเมืองร้างไปแล้ว” เขาเล่า “ ผู้คนต่างออกไปบนท้องถนนด้วยเหตุผลสองหรือสามประการเท่านั้นคือซื้ออาหาร ไปร้านขายยา หรือไปโรงพยาบาล”

เมื่อวันที่ 30 มกราคม Retamal และเพื่อนร่วมงานกำลังเดินไปที่โรงพยาบาล เมื่อพวกเขาเห็นชายคนนี้ที่พื้นซึ่งอยู่ห่างจากโรงพยาบาลหนึ่งช่วงตึก “ มีผู้หญิงสองคนมองไปที่ผู้ชายคนนั้นโดยไม่ทำอะไรเลย เมื่อพวกเขาเห็นเราพวกเขาก็ตะโกนใส่เรา ดูเหมือนเขาจะบอกเราว่าอย่าเข้าใกล้” หลังจากนั้นไม่นานคนอื่น ๆ ในชุดป้องกันก็มาถึง พวกเขาเข้าหาชายคนนั้น แต่ไม่แตะต้องเขา พวกนักข่าวเดินข้ามถนนมาอีกจุดหนึ่งโดยยังคงจับตาดูที่เกิดเหตุ

“ ในที่สุดทีมนิติเวชก็ไปถึงที่นั่น ทำการคลุมตัวเขา และศพของเขาก็ถูกนำไปในถุงพลาสติกสีเหลือง หลังจากนั้นพวกเขาก็กระจายน้ำยาฆ่าเชื้อลงบนพื้น” นักข่าวไม่สามารถยืนยันได้ว่าชายคนนี้เป็นเหยื่อของโรคนี้หรือไม่ Retamal ซึ่งอยู่ในหวู่ฮั่นมานานกว่าหนึ่งสัปดาห์กล่าวสรุปว่า“ มันเป็นเมืองที่อยู่ในความหวาดกลัว”

"มันยากที่จะรู้ว่าเขารู้อะไร"

วันที่ 4 พฤศจิกายน ช่วงนับคะแนนในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ 2020 “โดนัลด์ ทรัมป์” มีความตึงเครียดและความโกรธที่ชัดเจน เป็นช่วงเวลาสั้น ๆ เป็นภาพเดียวของความเปราะบางที่ Peter van Agtmael สร้างขึ้นในคืนนั้น

‘มันจากไปโดยไม่มีการต่อสู้’

ฤดูไฟป่าของออสเตรเลียคร่าชีวิตและเคลื่อนย้ายสัตว์มากกว่า 3 พันล้านตัว ขณะที่อดัม เฟอร์กูสัน ถ่ายภาพที่สนามเด็กเล่นบนเกาะแคงการูเมื่อวันที่ 16 มกราคม เขาได้เห็นวัตถุสีเทา “เมื่อเข้าไปใกล้ฉันก็รู้ว่ามันคือโคอาล่า” เขาเล่า อาสาสมัครจากทีมรับมือไฟที่อยู่ใกล้ ๆ สังเกตเห็นและหยิบน้ำขึ้นมา “ภายใต้สถานการณ์ปกติหมีโคอาล่าจะตะกายขึ้นต้นไม้” เฟอร์กูสันกล่าว“ แต่มันก็หมดแรงและขาดน้ำเมื่อผู้หญิงคนนั้นเดินเข้ามาพร้อมกับอาหารและเทน้ำลงบนหัวของมัน” นาทีต่อมามันก็เร่งรีบไปยังที่พักพิงใกล้เคียง

‘วันนั้นกำหนดตลอดทั้งปีของฉัน’

George Floyd ถูกตำรวจสังหารในมินนีแอโพลิสเมื่อวันจันทร์ ในวันศุกร์อเมริกาแตกต่างออกไป Malike Sidibe อายุ 23 ปีถูกย้ายให้ไปถ่ายภาพการประท้วงเป็นครั้งแรกในชีวิต ในบรูคลินเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม เขาเห็นผู้ประท้วงต่อสู้กับตำรวจด้วยกันเอง เมื่ออยู่ที่นั่น Sidibe กล่าวว่า“ เปลี่ยนวิธีที่ฉันมองโลกและวิธีที่ฉันดำเนินชีวิตในโลกนี้”

‘รู้สึกเหมือนเป็นการแสดงพลังจริงๆ’

เมื่อวันที่ 13 มีนาคม หนึ่งสัปดาห์หลังจากที่สหรัฐฯและกลุ่มตอลิบานลงนามในข้อตกลงสันติภาพ Jim Huylebroek ช่างภาพจากคาบูลและเพื่อนร่วมงานได้ไปเยือนผู้ก่อความไม่สงบในจังหวัด Laghman ตะวันออก ระหว่างทางรถของพวกเขาถูกหยุดโดยหน่วยแดง กลุ่มตาลีบัน “พวกเขาต้อนรับเราอย่างเป็นมิตร แต่สิ่งต่าง ๆ รู้สึกตึงเครียดเล็กน้อย” เขากล่าว ในขณะที่นักข่าวเตรียมการ เด็กสองคนเดินไปตามถนนและผ่านหน้ากลุ่มนักรบ “มันแสดงให้เห็นถึงความจริงอันโหดร้ายที่เด็ก ๆ เติบโตขึ้น” Huylebroek กล่าว

.

เป็นยังไงกันบ้างคะ แต่ละรูปภาพกว่าจะได้มานั้นไม่ง่ายเลย ให้ความรู้สึกแตกต่างกันออกไปตามแต่ละสถานการณ์  แล้วคุณล่ะประทับใจภาพไหนที่สุด?


อ้างอิงข้อมูลและภาพ: https://time.com/5923687/time-top-10-photos-2020/


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top