Monday, 2 December 2024
NEWSFEED

‘พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าผ่องประไพ’ พระราชธิดาที่รัชกาล 5 ไม่ทรงโปรด

จากคราวที่แล้วที่ผมได้เล่าเรื่องของพระเจ้าลูกเธอที่ ‘ล้นเกล้ารัชกาลที่ 5’ รักและสำคัญยิ่ง ทรงกรมเป็นถึง ‘กรมหลวง’ คือ ‘สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร’ บทความนี้ผมจะมาเล่าถึงพระเจ้าลูกเธอในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ‘ที่ไม่ทรงโปรด’ หรือ ทรงโปรดน้อยกันบ้าง ซึ่งบันทึกเกี่ยวกับพระองค์มีน้อยมาก แม้จะเป็นพระราชธิดาพระองค์โต แต่ก็ไม่ได้รับการยกย่องอะไรนัก พระราชธิดาพระองค์นั้นคือ ‘พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าผ่องประไพ’ 

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าผ่องประไพ หรือ พระองค์เจ้าผ่อง เป็นพระราชธิดาพระองค์แรกในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ก่อนขึ้นครองราชย์) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์แข (มรว.แข พึ่งบุญ) เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2410 ขณะนั้นพระบิดาดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานาถ ส่วนพระมารดาเป็นพระพี่เลี้ยงของพระบิดา ขณะพระบิดามีพระชนมายุเพียง 14-15 พรรษา ส่วนพระมารดามีอายุมากกว่าพระบิดาประมาณ 3 ปี 

ซึ่งความสัมพันธ์ในครั้งนั้น พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ทรงทราบ จนเมื่อประสูติเป็นพระธิดา เจ้าจอมมารดาเที่ยง ซึ่งเป็นเจ้าจอมที่ทรงโปรดปราน ได้อุ้มพระกุมารีขึ้นให้ทอดพระเนตรเป็นการกราบทูลให้ทรงทราบ เมื่อตรัสถามว่าพระกุมารีนี้เป็นธิดาของใคร เจ้าจอมมารดาเที่ยงมิได้ทูลตอบทันที กลับกราบทูลเลี่ยง ๆ ให้ทอดพระเนตรเองว่า พระกุมารีนั้นพระพักตร์เหมือนผู้ใด จึงตรัสว่า “เหมือนแม่เพย” คือสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ พระอัครมเหสี พระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั่นเอง 

'พระองค์เจ้าผ่องประไพ' ตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ทรงอาภัพมาก ๆ เพราะพระองค์อาศัยอยู่ในตำหนักเก่า ๆ ต่างจากตำหนักของเจ้าน้อง ๆ ที่มีขนาดใหญ่โตหรูหรา เล่ากันว่าพระองค์เป็นพระบรมวงศ์ศานุวงศ์เพียงพระองค์เดียวที่เก็บตัวอยู่แต่ในพระตำหนัก แทบจะไม่ได้ย่างก้าวออกจากประตูพระบรมมหาราชวังตั้งแต่วันประสูติจนถึงวันสิ้นพระชนม์เลย อย่าเพิ่งดราม่านะ!!! มาลองมาดูปัจจัยที่น่าจะทำให้ไม่ทรงโปรดกันก่อน

เริ่มจากการที่พระมารดาเจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์แข มีปัญหากับพระบิดาโดยสาเหตุมาจากเมื่อ พระองค์เจ้าผ่องฯ  ขณะทรงพระเยาว์ประชวรหวัด พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จ ฯ เยี่ยมพระธิดา ตรัสถามเจ้าจอมมารดาแข ถึงพระอาการประชวรของพระธิดาถึง 3 ครั้ง เจ้าจอมมารดาแขก็มิได้ทูลตอบ จึงทรงพิโรธมิได้ตรัสด้วยอีกต่อไป และโปรดมอบพระองค์เจ้าผ่อง ฯให้ “สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร” หรือ “ทูลกระหม่อมแก้ว” เป็นผู้ทรงอภิบาลพระราชธิดาแทน เมื่อไม่ทรงโปรดเจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์แข จึงน่าจะทำให้ไม่ได้ทรงมีความใกล้ชิดกับพระราชธิดาพระองค์นี้ (เรื่องนี้เกิดจากรพระมารดา แต่กระทบพระธิดานะ !!! ) 

เหตุต่อมาเมื่อพระองค์เจ้าผ่องฯ มีพระชนมายุ 6 พรรษา รัชกาลที่ 5 ทรงลาผนวช ในวันที่เสด็จออกผนวชนั้นพระราชวงศ์ ขุนนาง ข้าราชการก็ต่างพากันมาหมอบเข้าเฝ้าตามธรรมเนียมชาววัง แต่รัชกาลที่5 ทรงรับสั่งให้ทุกคนยืนเข้าเฝ้าได้ตามธรรมเนียมฝรั่ง ดังนั้นบรรดาพระราชวงศ์ ขุนนาง และข้าราชการจึงพากันยืนเข้าเฝ้า แต่ทว่า พระองค์เจ้าผ่องฯ ผู้เป็นเด็กที่ยึดมั่นตามโบราณประเพณีจึงไม่ยอมยืนขึ้น ยังคงหมอบกราบอยู่ รัชกาลที่ 5 เห็นดังนั้นก็ทรงกริ้ว ถึงกับเสด็จฯ ไปดึงพระเมาลี (จุกผม) ให้ยืน แต่พระองค์เจ้าผ่องฯ ก็มิทรงยืน เหตุนี้พระพุทธเจ้าหลวงจึงน่าจะไม่โปรดพระเจ้าลูกเธอพระองค์นี้มากนัก ถึงแม้จะเป็นพระราชธิดาพระองค์แรกก็ตาม อันนี้ว่ากันว่าคือการยึดมั่นของพระองค์ที่ทรงมีอยู่ตลอดพระชนม์ชีพ

นอกจากนี้ด้วยพระอัธยาศัยเงียบขรึมเก็บพระองค์ ไม่โปรดปรานการสังสรรค์กับผู้ใด เล่าลือกันว่าทรง “ดื้อเงียบ” หากทรงไม่พอพระทัยสิ่งใดแล้วจะไม่ทรงปฏิบัติเด็ดขาด แม้จะทรงถูกกริ้วหรือถูกลงโทษก็ทรงเงียบเฉย จึงทำให้ไม่ทรงสนิทชิดเชื้อกับผู้ใดรวมทั้งพระบรมราชชนก นอกจากพระอุปนิสัย ก็ว่ากันว่าพระองค์ไม่ได้ทรงฉลาดนัก อีกทั้งพระโฉมไม่ค่อยงาม 

ในเวลาที่ ในหลวง ร. 5 เสด็จฯ ไปที่ใด พระราชโอรสและพระราชธิดาต่างๆ ก็จะได้รับพระบรมราชานุญาตให้ตามเสด็จอยู่เสมอๆ แต่มีเพียงพระองค์เจ้าผ่องฯ ที่ไม่เคยได้ตามเสด็จพระราชบิดาไปไหนเลย อย่างคราวสร้างพระราชวังดุสิต บรรดาพระราชโอรสและพระราชธิดาก็ได้รับพระราชทานตำหนักใหญ่น้อยอยู่ในพระราชวังดุสิต แต่พระองค์เจ้าผ่องฯ ก็ไม่เคยได้รับพระราชทานตำหนักในพระราชวังดุสิต และพระองค์ก็พอพระทัยที่จะประทับอยู่แต่ในเขตพระราชฐานชั้นใน พระบรมมหาราชวังนั่นเอง ทำให้ห่างเหินกับพระราชบิดาจนกระทั่งสวรรคต 

อีกเรื่องที่น่าสนใจคือการ ‘ตรัสอย่างตรงไปตรงมา’ อย่างที่เรียกกันว่า ‘ขวานผ่าซาก’ จนเป็นที่กล่าวขวัญร่ำลือกันถึงพระอัธยาศัยนี้ ตัวอย่างเช่น เมื่อครั้งการไป ‘ตากอากาศ’ กำลังเป็นที่นิยมของสังคมชั้นสูงในสมัยนั้น พระองค์เจ้าผ่องก็มิเคยเสด็จฯ ด้วย เมื่อมีพระญาติตรัสถามว่า ไม่เสด็จไปทรงตากอากาศบ้างหรือ ? ก็จะทรงตอบว่า “ไปตากอากาศ ฉันก็เห็นพวกเธอตายกันโครมๆ” ซึ่งก็เป็นการตรัสที่มีส่วนของความจริง เพราะทรงเป็นพระราชนารีที่มีพระชนมายุยืนยาวมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (ก็นะ ถามเฉยๆ อ่ะ)

ส่วนการยึดมั่นในขนบดั้งเดิมก็มีตัวอย่างที่ฟังแล้วก็อึ้งๆ เรื่องมีอยู่ว่า ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เป็นเวลาที่เจ้าพระยารามราฆพ (เฟื้อ พึ่งบุญ ณ อยุธยา) ราชสกุล พึ่งบุญ ณ อยุธยา (ซึ่งเป็นสกุลของเจ้าจอมมารดาแข พระมารดา) ซึ่งเป็นที่โปรดปรานและมีอำนาจสูงในแผ่นดิน พระองค์เจ้าผ่องก็ไม่ทรงสนิทสนมด้วย แม้เจ้าพระยารามราฆพ จะทูลเชิญให้เสด็จเป็นเกียรติยศ ณ บ้านของท่าน ก็ทรงปฏิเสธ เพราะทรงยึดถือขนบประเพณีเก่าที่ว่าขุนนางจะต้องเป็นฝ่ายมาเฝ้าเจ้านาย การที่เจ้านายจะเสด็จไปบ้านขุนนางนั้นเป็นการไม่ควร เสื่อมเสียพระเกียรติยศ แม้ลงเอยจะยอมเสด็จ ฯ แต่นั่นก็คือเพียงครั้งเดียว จากนั้นก็ไม่ยอมเสด็จฯ ไปอีก หรืออย่างพิธีถวายน้ำสงกรานต์พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ประจำปี ก็จะเสด็จฯ ไปถวายตามพระอิสริยยศ อิสริยศักดิ์ ตามลำดับอย่างเคร่งครัด โดยไม่ทรงคำนึงถึงความสะดวกหรือระยะทางใกล้ไกล (สุดจริงๆ) 

แต่กระนั้นแม้ว่า ร.5 จะทรงโปรดน้อย แต่เหตุการณ์ประทับใจของความเป็น พ่อ-ลูก ก็มีอยู่เล็กๆ เล่ากันว่าครั้งที่โปรดฯ พระราชทานที่ดินสวนนอกให้เจ้าจอมมารดาและพระราชธิดาบางพระองค์ไป แต่สำหรับพระองค์เจ้าผ่องฯ นั้นโปรดฯ พระราชทานพระราชทรัพย์ 100 ชั่งสำหรับเป็นทุนเลี้ยงพระชนมชีพ ด้วยทรงตระหนักพระราชหฤทัยถึงพระอัธยาศัยของพระราชธิดา ประกอบกับที่ทรงมีพระราชดำริว่าพระราชธิดาไม่ทรงคุ้นเคยกับชีวิตนอกพระบรมมหาราชวังและไม่มีมารดาคอยดูแล เกรงจะทรงได้รับอันตราย (ก็คือทรงตระหนักแล้วว่าพระธิดาพระองค์นี้ไม่ออกจากพระบรมมหาราชวังแน่ๆ) 

'Isan Gastronomy: แซ่บนัวครัว' รวมตัว 9 เชฟระดับประเทศ รังสรรค์เมนูเด็ด @Food by Fire จองด่วน!! จำนวนจำกัด

ปรากฏการณ์ของการรวมตัว 9 เชฟยอดฝีมือระดับประเทศ ที่พร้อมจะรังสรรค์เมนูอีสานให้แซ่บนัวพร้อมฉีกทุกกฎเพื่อรสชาติใหม่ที่คุณไม่เคยได้ลิ้มลอง ในงาน 'Isan Gastronomy: แซ่บนัวครัว' เปิดรอบพิเศษรวม 9 เชฟยอดฝีมือระดับประเทศและนานาชาติ ที่ท่านจะได้รับประทานอาหารครบสูตรฉบับอีสาน เปิดประสบการณ์ที่แตกต่างกันไปแบบสุดขั้ว หากยังคงลังเลใจกับการเลือกคอร์สด้านบน สามารถเลือกวันนี้ได้อย่างครบรส ซึ่งเมนูจะแตกต่างไปจากเดิม อาทิ ปีกไก่ออนซอน, ทาโก้ บักมี่, ข้าวปุ้นแกงอีสาน และเมนูอื่นๆ สุด Top secret จากเชฟ โดยมีรายละเอียดดังนี้...

- เชฟคำนาง-ณัฎฐภรณ์ คมจิต / ร้านเฮือนคำนาง
- เชฟไพศาล ชีวินศิริวัฒน์ และ เชฟจิ๊บ-กัญญารัตน์ ถนอมแสง / ร้านแก่น
- เชฟหนุ่ม - วีระวัฒน์ ตริยเสนวรรธ์ / ร้าน Samuay and Son
- เชฟแหวว น.อ.หญิง วิบูลรัตน์ เอี่ยมปรเมศ /ร้าน Mother Chef
- เชฟจ๋า-น้ำทิพย์ ภูศรี / ร้าน ภาข้าว (Phakao)
ป้าเชฟ-ศิโรรัตน์ เถาว์โท / ร้านหมก
- Mr. Kan Bright San และ Saiful Huda /Executive Chef : Ad Lib Hotel Khon Kaen

และเชฟอีก 3 ท่าน จะได้เพิ่มเติมความพิเศษในเมนูอีสานสุดแซ่บ

เชฟคำนาง-ณัฎฐภรณ์ คมจิต ร้านเฮือนคำนาง มาเยือนเฮือนคำนาง ต้อนรับด้วย ‘พาข้าว’ สำรับอาหารธรรมดาที่คนอีสานมักกินกัน แต่จะเต็มไปด้วยประสบการณ์ใหม่ที่ใครหลายคนอาจจะยังไม่เคยลิ้มลองมาก่อน มาพร้อมกับวัตถุดิบพิเศษตามฤดูกาลจากทั่วทั้งอีสาน ปรุงให้เข้ากับภูมิปัญญาทั้งศาสตร์และศิลป์ของแผ่นดิน จนได้รสชาติอาหารอีสานดั้งเดิม รังสรรค์และเสนอผ่านการบอกฮักด้วยพาข้าว ที่จะมอบความอิ่มเอมให้แขกผู้มาเยือนแผ่นดินอีสานในครั้งนี้ ถูกนำเสนอโดย เชฟคำนาง-ณัฎฐภรณ์ คมจิต แห่งเฮือนคำนาง จากจังหวัดขอนแก่น

เชฟ Kan Bright San จะมาร่วมรังสรรค์อาหารสุดนัว ด้วยนิสัยที่ชอบลงมือคิดและครีเอท วางแผนเมนู ใหม่ๆ ด้วยตัวเองอยู่เสมอ จึงเกิดเป็นเทคนิคพิเศษให้ทุกการทำอาหาร และยังสามารถสร้างสรรค์อาหารได้หลากหลายวัฒนธรรม ทั้งอิตาเลียนฝรั่งเศส และเอเชีย รวมถึงการเสิร์ฟจานเด็ดในครั้งนี้ด้วยเมนูไฮไลต์ที่พร้อมเสิร์ฟด้วยคอนเซปต์ 'Thai amuse'

เชฟ Saiful Huda ถือเป็นเชฟผู้คร่ำหวอดในวงการ Pastry Chef มีประสบการณ์มานานกว่า 20 ปี ทั้งด้านการรังสรรค์ช็อกโกแลต เค้ก งานน้ำตาล และขนมปังและที่สำคัญมีความเชี่ยวชาญในด้านการบริหารทีมงานจัดเลี้ยงจัดงาน ร้านอาหารระดับมิชลิน และงานแต่งงาน อีกทั้งมีความสามารถเฉพาะทางด้านสถาปัตยกรรม Pastry Modern Art

ลิ้มรสการนำเสนอเฉพาะตัวเชฟแต่ละท่าน ที่ 'แซ่บ-นัว-คัก' ถึงแก่นวัตถุดิบ ณ ห้องอาหาร Food by Fire บนชั้น 27 โรงแรม Ad Lib Khon Kaen เลือกลิ้มรสและดื่มด่ำประสบการณ์สุดนัวได้ทั้ง Lunch และ Dinner ของวันที่ 9-11 ธันวาคม 2565 เพียงรอบละ 40 ท่าน

*เปิดให้จองผ่าน Eventpop วันที่ 22 พฤศจิกายน 2565

*พิเศษ! Exclusive Isan Grand Brunch วันที่ 12 ธันวาคม 2565 รวมตัว 10 เชฟ และที่สุดของ Chef’s Isan Signature เปิดเพียงรอบเดียวรับจำนวน 150 ท่านเท่านั้น

ปรินเซสรอยัล พระเจ้าลูกเธอในล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ผู้ทรงสิริโฉมงดงามราวกับเทวดา

‘ปรินเซสรอยัล’ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร 
พระเจ้าลูกเธอในรัชกาลที่ 5 ผู้ทรงสิริโฉมงดงามราวกับเทวดา ผู้เป็นดัง ‘ศรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์’

หลังจากเล่าเรื่องหนักๆ มาหลายตอนแล้ว ในตอนนี้ผมจะขอย้ายฝั่งมาเล่าเรื่องของพระเจ้าลูกเธอในล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระราชธิดาพระองค์นี้ของพระองค์ได้รับการยกย่องเรื่องของความงาม พระกริยาอันเรียบร้อย ทรงเป็นราชเลขานุการิณีในพระองค์พระพุทธเจ้าหลวงและได้มีโอกาสตามเสด็จประพาสต้นหลายครั้ง ผมกำลังจะเล่าเรื่องของ ‘สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร’ นั่นเอง 

สมเด็จฯ เจ้าฟ้า กรมหลวงศรีรัตนโกสินทรเป็นพระราชธิดาพระองค์ที่ 19 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี เมื่อเวลา 09.21 น. ของวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2420 ถือเป็นทูลกระหม่อมหญิงพระองค์แรกในเศวตฉัตร (เมื่อทรงครองราชย์แล้ว) ชาววังจึงเรียกว่า ‘ทูลกระหม่อมหญิง’ โดยไม่ต้องเอ่ยพระนามเนื่องจากทรงอาวุโสสูงสุดพระองค์แรก

เล่ากันว่าก่อนที่พระองค์จะประสูตินั้น มีเจ้านายสตรีคือพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภาพรรณี พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ยังเป็นทาริกาอยู่ เล่าขานนิยมชมชื่นกันในหมู่ชาววังและเจ้านายว่ามีพระรูปโฉมสวยงามนัก ครั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชธิดาพระองค์นี้ ความที่ทูลกระหม่อมหญิงมีพระรูปโฉมงดงาม ถึงกับพระบิดารับสั่งกับพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ว่า “ฉันไม่แพ้เธอแล้ว กรมพิชิตฯ” หมายความว่าทรงมี ‘ลูกสาว’ สวยไม่แพ้พระธิดากรมหลวงพิชิตฯ แต่ที่สำคัญคือพระองค์มีพระพักตร์และพระรูปโฉมคล้ายคลึงกับสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี พระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (อันนี้ผมจะเล่ายืนยันตอนท้าย) 

แต่ความ ‘งามเหมือนเทวดา' ที่แม้จะยังความปีติโสมนัสให้สมเด็จพระบรมชนกนาถและพระชนนีเป็นอย่างยิ่งนั้น ในอีกด้านหนึ่ง ก็ทำให้ทรงวิตกกังวลอย่างยิ่งเช่นกัน เพราะความงามบริสุทธิ์ พระฉวีผุดผ่องไม่มีไฝฝ้าราคี ในสมัยโบราณมีความเชื่อกันว่า ผู้ที่เกิดมางดงามมากยากจะเลี้ยงให้รอดชีวิต จนเวลาผ่านมาจนพระชนมายุขวบเศษ ก็มีเหตุการณ์ที่ทำทั้ง 2 พระองค์คลายพระปริวิตก กล่าวคือ ในขณะที่สมเด็จพระบรมชนกนาถกำลังอุ้มส่งให้พระชนนีนั้น ได้ทรงดิ้นไปมาจนพระขนง (คิ้ว) ถูกชามแก้วบนโต๊ะเสวยถึงกับเป็นแผลพระโลหิตตก กันแสงลั่นพระตำหนัก พระบรมวงศ์ฝ่ายในจึงปลอบว่า “ความวิตกกังวลว่าจะมีพระชนมายุสั้นนั้น เป็นอันผ่านไปแล้วเพราะทรงมีบาดแผลแล้ว” (อันนี้เป็นความเชื่อโบราณนะครับ)  

เมื่อพระชนม์ได้ 11 พรรษา ได้รับพระราชพิธีโสกันต์เต็มยศ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท มีสวด 3 วัน สมโภช 3 คืน เสร็จพระราชพิธีแล้วตอนฟังสวดทรงเครื่องขาวพระเกี้ยวยอด สมเด็จพระบรมชนกนาถทรงรับและส่งพระกรทุกคราว ระหว่างสมโภชทรงแต่งพระองค์สีต่างกันทั้ง 3 วัน เมื่อทรงเครื่องสวมชฏา รัชกาลที่ 5 ถึงกับออกพระโอษฐ์ว่า “ลูกพ่องามเหมือนเทวดา” 

ตามโบราณราชประเพณี พระขัตติยราชนารีต้อง ‘งด’ เสด็จฯ ออกข้างนอกเมื่อทรงโสกันต์แล้ว ต้องเก็บตัวอยู่ฝ่ายในและต้องทรงสะพัก (ห่มผ้า) แต่ทูลกระหม่อมหญิงทรงกันแสง เพราะปรารถนาจะรับใช้สมเด็จพระบรมชนกนาถทางฝ่ายหน้าอีก ถึงกับไปกราบบังคมทูลพระกรุณา ‘รับสั่งให้เป็นเด็กต่อ’ พระองค์โปรดไปตามนั้น แต่ยอมเพียง ‘เมื่ออายุครบ 18 เมื่อใดพ่อจะไม่ยอมลูกหญิงอีก’ ทูลกระหม่อมหญิงจึงได้รับใช้เบื้องพระยุคลบาทอย่างใกล้ชิดมาจนครบเวลา

หลังจากนั้นเป็นต้นมา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร ทรงศึกษาและปฏิบัติตนเป็นเจ้านายฝ่ายในตามอย่างโบราณราชประเพณีอย่างเคร่งครัด นอกจากนั้นยังทรงศึกษาภาษาอังกฤษจาก ‘ครูมีทินและครูทิม’ จนแตกฉาน พระองค์มีพระปรีชาสามารถด้านการถักนิตติง (Knitting) และแท็ตติง (Tatting) ระดับรางวัลงานประกวดเลยทีเดียว พระองค์เป็นผู้ประดิษฐ์พวงมาลัยที่ผูกห้อยจากริบบิ้นเป็นพระองค์แรก พระองค์โปรดการถ่ายภาพ สามารถล้างและอัดภาพได้ด้วยพระองค์เอง โดยภาพถ่ายของพระองค์ก็ได้รับรางวัลจากการประกวดเช่นเดียวกัน (เอาสิ !!!! ) งานพระนิพนธ์ พระองค์มีพระนิพนธ์จำนวนหนึ่ง หนึ่งในนั้นคือ "ฉันท์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์" ในรูปแบบอินทรวิเชียรฉันท์ 11 คือเรียกได้ว่า ทรงมีความสามารถครบจบในพระองค์

กลับมาที่ความงามและพระจริยาวัตรของพระองค์ที่ชาววังเล่าต่อๆ กันมานั้น ผมจะยกมาให้ได้อ่านกันสักหลายๆ ตัวอย่างดังนี้…

หม่อมเจ้าจงจิตรถนอม ดิศกุล บันทึกไว้เมื่อครั้งเกษากันต์ว่า “ข้าพเจ้าพอใจจะอยู่กับ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงศรีรัตนโกสินทร เมื่ออยู่ในวังเคยทรงเล่าประทานว่า ข้าพเจ้าไปเดินตามทูลกระหม่อมหญิงติดอกต้องใจที่จะอยู่กับท่าน ไปงานในวังครั้งใดก็มุ่งที่จะไปเฝ้าทูลกระหม่อมนี้อยู่เสมอ”

หม่อมเจ้ามารยาตรกัญญา ดิศกุล บันทึกไว้ว่า “ในชั่วชีวิต 5 ขวบของข้าพเจ้า ยังไม่เคยเห็นใครที่งามและน่ารักเหมือนพระองค์ท่านเลย”

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ บันทึกไว้ใน ‘เกิดวังปารุสก์’ ว่า “ข้าพเจ้าจำได้ว่าท่านงามมาก แต่ค่อนข้างจะน่ากลัว ครั้งหนึ่งข้าพเจ้าไปเรียกท่านผิดว่าทูลหม่อมป้าหญิง เลยถูกท่านเอ็ดเอาว่า อะไรทูลหม่อมป้าชายมีที่ไหน”

หม่อมราชวงศ์สุดใจ บรรยงกะเสนา ผู้ที่ได้มาพึ่งพระบารมีทูลกระหม่อมหญิงมาตั้งแต่อายุ 11 ปี จนถึงสิ้นพระชนม์ ได้เขียนเล่าถึงทูลกระหม่อมหญิงว่า “พระรูปพระโฉมงดงามยิ่ง พระมรรยาท พระอิริยาบถ ก็ได้ยินแต่คนสรรเสริญ และยอพระเกียรติ ว่าด้วยพระกุศลที่ได้ทรงทำไว้แต่หนหลังบันดาลให้งามพร้อมทั้งพระรูปโฉม พระนิสัย และน้ำพระทัย เป็นยอดขัตติยนารี”

สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ยังทรงชมว่า “พี่หญิงช่างงามจริง แม้ท่าบ้วนน้ำหมากก็ไม่เหมือนใคร”

งามขนาดที่ “สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร” ซึ่งพระชันษาเยาว์กว่าเพียงไม่กี่เดือนทรงมีพระหฤทัยผูกพัน เหตุที่มีพระทัยสนิทเสน่หา สืบเนื่องมาจากความใกล้ชิดเมื่อครั้งทรงรับใช้เบื้องพระยุคลบาทพระราชชนกด้วยกัน เมื่อเกิดวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 โดยทรงแสดงความในพระทัยออกมาเป็นสักวา ที่หน้าพระที่นั่งคราวหนึ่ง เชื่อว่าเป็น พ.ศ. 2437 ซึ่งเจ้านายและชาววังแอบจำต่อกันมา ความว่า…

ได้ยลพักตร์ลักขณาสุดาพี่        จะหาไหนไม่มีเสมอสอง
เสงี่ยมงามทรามสงวนนวลละออง        ไฉนน้องไร้คู่อยู่เอกา
ถ้าอยู่ได้ก็จะอยู่เป็นคู่ชื่น            สำราญรื่นร่วมจิตขนิษฐา
จะบนบวงสรวงเทพเทวา            ขอให้สมปรารถนาครานี้เอย

EQS 500 4MATIC AMG Premium เบนซ์ไฟฟ้า ประกอบในไทย เปิดราคาไว้ 7,900,000 บาท

เมอร์เซเดส-เบนซ์ EQS 500 4MATIC AMG Premium ยนตรกรรมพลังงานไฟฟ้า 100% รุ่นแรกที่ประกอบในโรงงานเมอร์เซเดส-เบนซ์ ประเทศไทย ที่ผสานทั้งเทคโนโลยี ดีไซน์ ฟังก์ชันการใช้งาน และการเชื่อมต่อเข้าด้วยกันอย่างกลมกลืนซึ่งเมอร์เซเดส-เบนซ์ได้เปิดไลน์การผลิตภายในประเทศไทยอย่างเป็นทางการไปแล้ว

โดยรถยนต์คันนี้รังสรรค์ขึ้นด้วยแพลตฟอร์มของยานยนต์ไฟฟ้าใหม่ในทุกรายละเอียด ทั้งการออกแบบโครงสร้างทางวิศวกรรม เรื่อยไปจนถึงดีไซน์ภายนอกและภายในที่สะท้อนเอกลักษณ์ของความเป็นยานยนต์สำหรับโลกอนาคตจากเมอร์เซเดส-เบนซ์ มาพร้อมขุมพลังไฟฟ้า 100% จากมอเตอร์ไฟฟ้าคู่พร้อมความจุของแบตเตอรี่ขนาด 108.4 kWh ให้กำลังสูงสุด 449 แรงม้า พร้อมแรงบิดสูงสุด 828 นิวตันเมตร ให้อัตราเร่งที่ยอดเยี่ยมจาก 0-100 กิโลเมตร/ชั่วโมงในเวลา 4.8 วินาที พร้อมทำความเร็วสูงสุดได้ 210 กิโลเมตร/ชั่วโมง 

คุ้มครองผู้ใฝ่ดี ‘พระสยามเทวาธิราช’ บุคลาธิษฐาน เทพยดาผู้คุ้มครองสยามประเทศ

ประเทศไทยนั้นมีความหมิ่นเหม่ในการเสียบ้าน เสียเมืองตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ อาจจะเบาบางการรุกรานจากด้านพม่าแต่กับประเทศมหาอำนาจทางตะวันตกที่ใช้การค้าขายมาเป็นปัจจัย บ้านเมืองใดไม่รู้ทันเหตุการณ์ภายนอกประเทศว่าทางตะวันตกมีอำนาจจากเรือปืน ใครไม่รู้จักโอนอ่อนผ่อนปรนก็ล้วนแล้วแต่ตกเป็นเมืองขึ้น ทั้งฝั่งซ้ายและขวาของเมืองสยามล้วนไม่มีรอดพ้น (อันนี้ไม่ขอพาดพิงเรื่องของผู้รู้ที่ออกมาแสดงทัศนคติเรื่องเราไม่เก่งภาษาอังกฤษเพราะเราไม่ได้เป็นเมืองขึ้น น่าตีปากจริงๆ) 

เรามีดีอันใด?  มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์สิ่งไหน? หรือเราจะมีเทพยดาคุ้มครองประเทศให้ปลอดภัย 

วันนี้ขอเล่าเรื่องเทวดาผู้คุ้มครองประเทศไทยบ้างนะ…

ใช่ครับ!! ผมกำลังจะเล่าถึง ‘พระสยามเทวาธิราช’ แต่เรื่องนี้แล้วแต่วิจารณญาณของแต่ละบุคคลนะครับ ผมไม่ก้าวล่วง 

โดยในช่วงสิงหาคมของปีก่อนมี ‘เพจราษฎรสเปช’ (หรือ ‘เปรต’ ดี) เล่าประวัติศาสตร์ได้ น่าปวดหัวมาก โยง ‘พระสยามเทวธิราช’ เป็น ‘ผี’ เพียงเพราะไปเห็นภาพ พระสยามเทวาธิราช ที่มีรูปร่างคล้ายรัชกาลที่ 4 (อันนั้นเขาเรียกพระป้าย) เลยทึกทักไปเองว่า ‘เป็นลัทธินับถือผีสาง’ โดยส่วนตัว (ซึ่งแล้วแต่วิจารณญาณนะครับ) มันก็ถูกเรื่อง ‘ผี’ แต่มัน ‘ไม่ใช่ลัทธิ’ หากแต่มันคือ ‘ความเชื่อ’ ที่แตกต่างไปจากศาสนาหลัก มันเป็นเฉพาะของภูมิภาค (ที่ไอ้บางพวกยังทะลึ่งไปกราบฝาส้วม กินขี้ เชื่อแต่เรื่องไม่จริงได้เลย แอบแรงเล็กน้อย) ซึ่งนับเป็นเรื่องตลกของคนที่ไม่ได้เรียนประวัติศาสตร์ อะไรเลย 

เรื่องนี้เอง ผมเคยนำมาเล่ามาแล้วครั้งหนึ่งใน Meet THE STATES TIMES โดยไปโยงกับความเรื่องการไหว้ผีบ้าน นับถือผีเมือง (ผีเสื้อเมือง ทรงเมือง หลักเมือง ก็ล้วนแล้วอยู่ในหลักนี้) แต่กระนั้นการไหว้ดังนี้มันก็ไม่ใช่จะเพิ่งเกิดมา แต่มันเป็นความเชื่อที่มีอยู่อย่างยาวนานคู่ดินแดนอุษาคเนย์ ซึ่งคติความเชื่อเรื่องเทวดาผู้คุ้มครองบ้านเมืองนั้นเป็นความเชื่อที่สืบต่อกันมาอย่างยาวนาน และสร้างความร่มเย็นให้เกิดแก่บ้านเมืองนั้นๆ มานับร้อย นับพันปี 

อย่างภาคอีสานนั้นจะมีความเชื่อเรื่อง ‘มเหสักข์’ ซึ่งถือว่าเป็น ‘ผีผู้ทรงศักดิ์’ หรือ ‘เทวดาผู้คุ้มครองบ้านเมือง’ ให้อยู่อย่างร่มเย็น เป็นสุข โดยจังหวัดอย่าง ขอนแก่น, มหาสารคาม, ร้อยเอ็ด ฯลฯ ก็มีศาลมเหสักข์ ภาคเหนือเขาก็มี ‘ผีเสื้อเมือง’ ในหลายพื้นที่ ในกรุงเทพฯ ก็มี ‘พระเสื้อเมือง’ ในศาลหลักเมืองกรุงเทพ ฯ  โดย ‘มเหสักข์’ ก็คือเทพยดาผู้ให้ความร่มเย็นแก่จังหวัดนั้นๆ ส่วน ‘พระสยามเทวาธิราช’ นั้นก็มีคติที่เหมือนกัน เพียงแต่ท่านเป็นเทวดาที่ยกชั้นสูงขึ้นมาจากเทวดาผู้คุ้มครองเมือง เป็นเทวดาที่รวมเมืองต่างๆ ไว้ด้วยกัน ปกครองเมืองต่างๆ ไว้ด้วยบารมี โดยอาจจะเรียกได้ว่า เป็น ‘มเหสักข์หรือบุคลาธิษฐานแห่งสยามประเทศ’ เป็น ‘เทวดาผู้คุ้มครองประเทศ’ 

‘พระสยามเทวาธิราช’ เป็นเทวรูป หล่อด้วยทองคำสูง 8 นิ้ว กว้าง 2 นิ้ว ประทับยืนทรงเครื่องกษัตริยาธิราช ทรงฉลองพระองค์อย่างเครื่องของเทพารักษ์ มีมงกุฎเป็นเครื่องศิราภรณ์ พระหัตถ์ขวาทรงพระแสงขรรค์ พระหัตถ์ ซ้ายยกขึ้นจีบดรรชนีเสมอพระอุระ

หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล ทรงเล่าว่า “พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดการศึกษาประวัติศาสตร์ มีพระราชดำริว่า ประเทศไทยมีเหตุการณ์ที่เกือบจะต้องเสียอิสรภาพมาหลายครั้ง แต่เผอิญให้มีเหตุรอดพ้นภยันตรายมาได้เสมอ คงจะมีเทพยดาที่ศักดิ์สิทธิ์คอยอภิบาลรักษาอยู่ สมควรที่จะทำรูปเทพยดาองค์นั้นขึ้นสักการบูชา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ ปั้นหล่อเทวรูปขึ้น ถวายพระนามว่า ‘พระสยามเทวาธิราช”ประดิษฐาน ณ พระที่นั่งทรงธรรมในหมู่พระที่นั่งพุทธมณเฑียร ในพระอภิเนาว์นิเวศน์’ 

ต่อมาในสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงโปรดเกล้าฯ ให้รื้อหมู่พระที่นั่งพุทธมหามณเฑียรรวมทั้งพระที่นั่งทรงธรรม โปรดให้อัญเชิญ องค์พระสยามเทวาธิราชไปประดิษฐานอยู่ในเรือนแก้วทำด้วยไม้จันทน์ ลักษณะแบบวิมานเก๋งจีน มีคำจารึกเป็นภาษาจีนที่ผนังเบื้องหลัง แปลว่า ‘ที่สถิตแห่งพระสยามเทวาธิราช’ (暹國顯靈神位敬奉) อยู่ในมุขกลางของพระวิมานไม้แกะสลักปิดทอง ตั้งอยู่เหนือลับแลบังพระทวารเทวราชมเหศวร์ ตอนกลางพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระบรมมหาราชวัง จวบจนทุกวันนี้

มีความเชื่อกันว่า ‘พระสยามเทวาธิราช’ ทรงเป็นประมุขของเทพารักษ์ที่ปกปักษ์รักษาบ้านเมือง มีเทพบริวารสำคัญ ได้แก่ พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง และพระหลักเมือง เป็นต้น ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระจอมกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงเคารพบูชาพระสยามเทวาธิราชเป็นอย่างสูง ทรงถวายเครื่องสักการะเป็นประจำทุกวัน และทรงถวายเครื่องสังเวยทุกวันอังคารและวันเสาร์ก่อนเวลาเพล กับโปรดเกล้าฯ ให้จัดพิธีสังเวยเทวดาในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 อันตรงกับวันขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติแบบโบราณด้วย ทั้งเป็นที่ร่ำลือกันว่าพระสยามเทวาธิราชนั้นศักดิ์สิทธิ์เป็นอย่างมาก

พระราชพิธีบวงสรวงใหญ่ ‘พระสยามเทวาธิราช’ ตามประเพณีกำหนดไว้ในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปี อันเป็นวันขึ้นปีใหม่ตามจันทรคติแบบโบราณ ส่วนเครื่องสังเวยที่ใช้บูชาพระสยามเทวาธิราชตามประเพณีโบราณที่ปฏิบัติสืบต่อกันมานั้นประกอบด้วย หัวหมู เป็ด ไก่ เมี่ยงส้ม ทองหยิบ ฝอยทอง ส้มเขียวหวาน องุ่น มะตูมเชื่อม มะพร้าวอ่อน กล้วย หอมจันทร์ ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว ผลทับทิม และเทียนเงิน เทียนทอง ความสอดคล้องทางความเชื่อและพิธีกรรมของการบูชาพระสยามเทวาธิราช กับการ ‘ไหว้-พลี’ ให้กับ ‘พระขพุงผี’ ทำให้ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อธิบายว่า การบูชา ‘พระสยามเทวาธิราช’ เข้าลักษณะเป็น ‘พิธีผี’ ประการหนึ่ง…

“...การเซ่นสังเวยพระสยามเทวาธิราช การสังเวยเทพารักษ์ต่างๆ พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง พระหลักเมือง เหล่านี้จะเรียกว่าเกี่ยวกับศาสนาใดก็ไม่ได้ เพราะเทวดาเหล่านี้ก็ไม่มีในศาสนาพราหมณ์ ในศาสนาพุทธก็ไม่มี เห็นจะเป็นความเชื่อของคนไทยโดยเฉพาะที่นับถือผีมาตั้งแต่โบราณ...”

ความเชื่อเรื่องผีบ้านผีเมืองเมืองนี้ นับเป็นสิ่งที่แพร่หลายไปทั่วในกลุ่มวัฒนธรรมไทยและใกล้เคียง ซึ่งเป็นการบูชาผีบรรพบุรุษ แต่มิใช่บรรพบุรุษของชาวบ้านทั่วไป หากเป็นผีเจ้าเมืองที่เป็นผู้สร้างเมืองและเคยปกครองเมืองมาก่อน และเจ้าเมืองรุ่นหลังก็อัญเชิญให้ผีเจ้าเมืองผู้ผูกพันกับชุมชนให้ช่วยปกปักคุ้มครองรักษาบ้านเมือง ฉะนั้นเรื่องนี้จบไป แต่มันก็มีเรื่องอื่นที่วุ่นวายกับ พระสยามฯ ท่านไปอีก 

การไปวุ่นวายกับ ‘พระสยามเทวาธิราช’ ท่านนั้นก็มีในช่วงหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 มีการเปลี่ยนชื่อประเทศสยามเป็นประเทศไทย (จอมพล ป. ผู้พิบูลสงคราม นั่นเอง)  และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (ก็ ‘ปรีดี พนมยงค์’ นั่นแหละ) ได้หารือกับทางสำนักพระราชวังเรื่องการเปลี่ยนนาม ‘พระสยามเทวาธิราช’ เป็น ‘พระไทยเทวาธิราช’ ในครั้งนั้น โดยไปขอความเห็นจากทางกรมศิลปากร ซึ่งกรมศิลปากรมีความเห็นว่า…

“ให้คงชื่อเดิมไว้ แต่ยกเลิกการสังเวยประจำปีหรืองานพิธีอื่นๆ เกี่ยวกับพระสยามเทวาธิราช แต่ถ้าไม่สามารถยกเลิกพิธีการที่เกี่ยวข้อง กรมศิลปากรก็มีข้อเสนอให้ 2 แนวทางคือ ให้เปลี่ยนชื่อเป็น ‘พระไทยเทวาธิราช’ หรือสร้าง พระไทยเทวาธิราชขึ้นมาอีกองค์ ในที่สุดคณะรัฐมนตรีลงความเห็นว่า ให้คงไว้ตามเดิมเพราะ ‘พระสยามเทวาธิราช’ ก็ไม่ได้มีการทำพิธีเป็นทางการแต่อย่างใด” (ผมขอกราบกรมศิลปากรและคณะรัฐมนตรี  1 คำรบ !!!) 

แต่กระนั้นพิธีการบวงสรวง ‘พระสยามเทวาธิราช’ ก็ไม่ได้มีอย่างสม่ำเสมอดังเช่น ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง นี่กระมังทำให้ประเทศชาติเต็มไปด้วยความวุ่นวาย คณะราษฎรแก่งแย่งอำนาจกัน มีการใช้ประเทศเป็นเครื่องงัดข้อกันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และเหตุการณ์ใหญ่อีกหลายต่อหลายครั้งกระทบไปถึงความมั่นคงของชาติและราชบัลลังก์ 

‘ดร.ดิลก’ พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ กรมหมื่นสรรควิไสยนรบดี เจ้าชายนักเศรษฐศาสตร์คนแรกแห่งสยามที่คนไทยควรรู้จัก

หลังจากจบการประชุมเขตเศรษฐกิจ APEC 2022 เรื่องทางเศรษฐศาสตร์ก็ประดังประเดเข้าในหัวผม แต่มีเรื่องหนึ่งที่เด่นชัดและผมอยากนำมาเขียนเล่า ให้ท่านผู้ติดตามได้รู้จักกับ เจ้าชาย ‘นักเศรษฐศาสตร์’ ผู้รอบรู้ทางด้าน ‘ภูมิศาสตร์เศรษฐกิจ’ ของเมืองไทย และเป็นท่านแรกๆ ที่เขียนหนังสือเกี่ยวกับเศรษฐกิจของสยาม แต่ติดที่ว่าท่านทรงอาภัพด้วยทรงมีพระชนมายุค่อนข้างสั้น และเหตุแห่งการสิ้นพระชนม์นั้นไม่น่าจะที่จะมีใครอยากเอ่ยถึงนัก

พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 44 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาทิพเกสร เมื่อวันเสาร์ เดือน 6 ขึ้น 9 ค่ำ ปีวอก ฉศก จ.ศ. 1246 ตรงกับวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2427 โดยเจ้าจอมมารดาเจ้าทิพเกสร นับเป็นเจ้านายฝ่ายเหนือท่านแรกที่เข้ามาเป็นบาทบริจาริกาในพระพุทธเจ้าหลวง ท่านเป็นหลานทวดของพระเจ้ากาวิละ พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 1 เหตุที่ทรงมีสายพระโลหิตสัมพันธ์กับเจ้านายฝ่ายเหนือเช่นนี้จึงได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระราชบิดาว่า ‘ดิลกนพรัฐ’ อันมีความหมายว่า ‘ศรีเมืองเชียงใหม่’ 

พ.ศ. 2440 พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐได้ทรงเข้าเรียนที่โรงเรียนวอร์เรนฮิลล์ เพื่อศึกษาในระดับประถมศึกษาตอนปลาย ก่อนที่จะย้ายไปเรียนที่โรงเรียนมัธยมชาร์เตอร์เฮ้าส์ ทั้งๆ ที่โรงเรียนมัธยมกินนอนที่อีตัน ได้ตกลงรับเข้าศึกษาแล้ว โดยเหตุผลที่พระยาวิสุทธสุริยศักดิ์ ผู้ดูแลการศึกษาของพระราชโอรสในอังกฤษขณะนั้น มีความเห็นว่าพระเจ้าลูกยาเธอยังขาด ‘ความพร้อม’ ที่จะไปเรียนที่อีตัน 

ต่อมาในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2443 พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ ได้เสด็จกลับกรุงเทพฯ เพราะเจ้าจอมมารดาเจ้าทิพเกสรป่วยหนักและถึงแก่อนิจกรรม คราวนั้นพระเจ้าลูกยาเธอฯ ได้ประทับอยู่เมืองไทยนานถึง 8 เดือน จนกระทั่งเสร็จสิ้นงานศพของพระมารดา จึงได้เสด็จกลับไปศึกษาต่อที่อังกฤษในเดือนมิถุนายน 2444 การว่างเว้นการเรียนไปนานหลายเดือน ทําให้พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐทรงเรียนตามพระสหายในชั้นเรียนไม่ทัน จึงต้องทรงย้ายไปเข้าเรียนที่โรงเรียนมัธยมของเอกชนที่ ‘แครมเม่อร์’ 

ในปีเดียวกันนี้ ปรากฏว่าพระองค์เจ้าดิลกนพรัฐทรงมีความขัดแย้งกับพระยาประสิทธิศัลยการและนายเวอร์นี ซึ่งได้รับหน้าที่ผู้ดูแลการศึกษาของบรรดาพระราชโอรสในอังกฤษ ณ ขณะนั้น พระองค์เจ้าดิลกฯ ได้ทรงมีลายหัตถ์ ถึงพระยาสุริยานุวัตร (เกิด บุนนาค) ปรารภถึงปัญหาการศึกษาเล่าเรียนว่าไม่ต้องพระประสงค์ที่จะอยู่โรงเรียนของเอกชน พระยาสุริยานุวัตร อัครราชทูต ณ กรุงปารีส ได้มีหนังสือกราบบังคมทูลความว่า ผู้ดูแลฯ มักจะตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ไปโดยไม่รับฟังเหตุผลจากพระเจ้าลูกยาเธอฯ 

ในหลวง ร.5 ทรงมีพระราชดําริว่า พระยาสุริยานุวัตร ดูเหมือนจะเชื่อพระเจ้าลูกยาเธอฯ มากเกินไป และทรงกล่าวถึงพระราชโอรสว่าเมื่อกลับเมืองไทยก็มิได้แสดงความเฉลียวฉลาด และก็ไม่ค่อยจะแข็งแรงด้วย หากเป็นผู้มีความเพียร ดังนั้นเมื่อเรียนที่อังกฤษมีปัญหาก็ควรจะให้ย้ายไปเรียนที่เยอรมัน แม้จะต้องเริ่มต้นกันใหม่ก็คงจะไม่ ‘ถอยหลังเข้าคลองเท่าไรนัก’ 

การย้ายไปเรียนเยอรมันนี่แหละถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของเจ้าชายนักเศรษฐศาสตร์ พระองค์ย้ายไปศึกษาที่เยอรมนีในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2444 โดยทรงเข้าศึกษาในโรงเรียนมัธยมที่เมืองฮาลเล ภายใต้การควบคุมดูแลของ ดร. ตริน ศาสตราจารย์ชาวเยอรมัน โดยพระองค์ทรงสําเร็จชั้นมัธยมศึกษาภายในเวลาเพียง 2 ปีเท่านั้น

พ.ศ. 2446 เมื่อมีพระชันษา 15 ปีบริบูรณ์ และได้ประทับอยู่ในยุโรปมาแล้วกว่า 6 ปี พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ ได้ทรงเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยมิวนิคในหลักสูตรวิชา ‘เศรษฐกิจการเมือง’ ซึ่งก็คือ ‘เศรษฐศาสตร์’ ในปัจจุบันนั่นเอง 

ภายหลังที่ได้ทรงศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยมิวนิคเป็นเวลา 2 ปี ก็ได้ทรงย้ายไปศึกษาในแขนงวิชาเดียวกัน ณ มหาวิทยาลัยทึบบิงเงิน ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่มีชื่อเสียงของเยอรมนีตอนใต้อีกแห่งหนึ่ง พระองค์ได้ทรงสำเร็จการศึกษาในหลักสูตรปริญญาเอกทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งเรียกเป็นภาษาเยอรมันว่า ‘ดอกเตอร์วิทสตาตส์วิสเซนชัฟท์’ (เยอรมัน: Doktor der Wirtschafts-wissenschaften) ใน พ.ศ. 2450 ขณะทรงมีชันษาได้ 23 ปี 

โดยวิทยานิพนธ์ของพระองค์มีชื่อว่า Die Landwirtschaft in Siam โดย Dilock Prinz Von Siam แปลว่า ‘การเศรษฐกิจในประเทศสยาม โดย พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ’  ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2449/2450 ซึ่งในสมัยนั้นการศึกษา ‘ภูมิศาสตร์เศรษฐกิจ’ เป็นที่สนใจ โดยเฉพาะประเทศในภูมิเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ยังมีการศึกษาอยู่ค่อนข้างน้อย ก่อนหน้านี้หนังสือเล่มนี้หายากมากๆ แต่ปัจจุบันได้รับการแปลและสามารถหาอ่านได้ มีทั้งสิ้น 5 บท โดยสรุปเนื้อหาได้ดังนี้... 

บทแรก เป็นเรื่องกว้างๆ ทางด้านภูมิศาสตร์ของสยาม อันรวบรวมเอารัฐไทรบุรี, กะลันตัน และตรังกานู  เข้าไว้ด้วย ซึ่งในขณะนั้น ยังเป็นส่วนหนึ่งของพระราชอาณาจักรสยามอยู่

บทที่สอง ทรงกล่าวถึงระบบกฎหมาย พระเจ้าแผ่นดินและบรมวงศานุวงศ์ เจ้าเมืองออก ขุนนาง ข้าราชการ ราษฎร ไพร่และทาส ในแต่ละส่วนนั้นก็ยังซอยย่อยลงไปอีกตามลำดับชั้น ทรงให้รายละเอียดเกี่ยวกับแรงงานเกณฑ์ไว้เป็นจำนวนมาก ตลอดถึงทั้งข้อสังเกตบางประการในเรื่องไพร่สม ซึ่งเป็นที่น่าสนใจต่อนักประวัติศาสตร์มากๆ 

ในบทต่อมา ทรงอธิบายการเศรษฐกิจของชาวสยาม ทรงกำหนดอธิบายประเทศสยามว่า เป็นรัฐเกษตรกรรมแท้ๆ โดยมีปัจจัย 3 ประการคือ...
- สยามขาดแคลนแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ เช่น เหล็ก
- อยู่ในเขตอากาศร้อนไม่เหมาะกับการอุตสาหกรรม 
- เกษตรกรรมขยายต่อเนื่อง ได้ผลตอบแทนที่ง่ายและดีกว่า

ทรงตั้งข้อสังเกตว่า อุปสรรคอันใหญ่หลวงต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของสยามก็คือการขาดแคลนเงินทุน ทั้งทรงกล่าวถึงการปฏิรูประบบการจัดเก็บภาษีแหละให้ทบทวนฐานรายได้ของรัฐเสียใหม่ด้วย รวมไปถึงการถือครองที่ดินและการเสียภาษีที่ดิน (โคตรทันสมัย !!!!) เพื่อนำเงินภาษีเหล่านั้นมาเป็นแหล่งเงินทุนในการพัฒนาเศรษฐกิจ 

ทั้งยังได้เขียนถึงปัญหาผู้ใช้แรงงานสยาม ซึ่งถูกแย่งงานจากคนจีน ที่มีค่าแรงถูกและต้นทุนอื่นๆ ต่ำ โดยเหตุผลที่พระองค์ได้ทรงบันทึกไว้ ช่างเป็นภาพที่ชัดในหัวผมมากๆ ดังนี้…

“ชาวสยามยอมอดยากหิวโหยเสียดีกว่าที่จะยอมมีชีวิตแบบพวกกุลีจีน พวกเขายะโสกับความเป็นอิสระ เขาจะยอมเชื่อฟังก็แต่ในสิ่งที่เข้ากับเขาได้เท่านั้น นี้...ผู้ใช้แรงงานชาวสยามรักสนุกเฮฮา ผ้านุ่งห่มดีๆ แลของสวยของงาม...พวกเขาพร้อมเสมอที่จะชวนญาติมิตรมาร่วมวงกินอาหารมื้อใหญ่ มีมโหรีแลฟ้อนรำบำเรอ พวกเขายินดีที่จะจ่ายประดาสิ่งที่เขามีอยู่ทั้งหมดออกไป จะมีก็แต่ต่อเมื่อเขาจำเป็นจะต้องใช้เงินอีกคราวเท่านั้น เขาจึงจะหวนกลับไปทำงานกันอีก...อ่านแล้วคุ้นๆ กับปัจจุบันนี้พอสมควรเลย ใช่ไหม ???? (ทุกวันนี้เป็นแรงงานพม่า กัมพูชา ฯลฯ) 

‘Jiwaru DAYS’ เพลงพิเศษเพื่อ BNK48 รุ่นแรก ความทรงจำสุดท้าย ก่อนแยกย้ายไปตามฝันตน

ดูเหมือน Jiwaru DAYS เพลงใหม่ของวง BNK48 ที่ถูกร้อยเพลงขึ้นมาเป็นเพลงของรุ่น 1 โดยเฉพาะนี้ กำลังส่งสัญญาณแห่งการจากลาระหว่าง ‘เหล่าโอตะ’ และ ‘พวกเธอ’ BNK48 1ST Generation 

Jiwaru DAYS เป็นบทเพลงที่สะท้อนถึงความรัก ความผูกพัน และมิตรภาพที่ดีของ BNK48 รุ่นแรก และน่าจะเป็นอีกบทเพลงที่ชวนให้คิดถึงเรื่องราวในวันวาน จนเรียกน้ำตาจากเมมเบอร์และแฟนๆ ได้ทั่วทั้งงานที่จะจัดขึ้นแบบในช่วงปลายปีนี้ ก่อนที่ BNK รุ่นแรกจะแยกย้ายไปตามเส้นทางของตัวเอง

คิดๆ แล้วก็ใจหาย!! เพราะนี่ คือ โมเมนต์ที่อาจจะทำให้แฟนคลับได้สัมผัส 2 ห้วงอารมณ์ในช่วงเวลาเดียวกัน ทั้ง ‘ความสุข’ + ‘ความเศร้า’ ใต้วินาทีแห่งการจากลาที่คงไม่มีใครอยากจะให้มันเกิดขึ้น แต่สุดท้ายมันก็ฉุดรั้งเอาไว้ไม่ได้ คงจะเหลือไว้แค่เพียงภาพความทรงจำของวันเก่าๆ ที่ผ่านมาร่วมกัน เมื่อนึกถึงทีไร ก็จะมีแต่ความสุข เหมือนกับความหมายของชื่อเพลง ‘Jiwaru Days’ 

โดยซิงเกิลพิเศษนี้ จะเน้นสื่อสารถึงเรื่องราวการจากลาของกลุ่มเพื่อนที่มีความผูกพันร่วมกัน เสมือนเป็นบทสรุปตลอด 6 ปีที่ผ่านมาของกลุ่มเด็กสาวผู้พกความฝันอันยิ่งใหญ่ในหัวใจ กอดคอกันก่อร่างสร้าง BNK48 ให้เป็นที่รู้จักอย่างทุกวันนี้ จนถึงปัจจุบันที่พวกเธอจะต้องแยกย้ายกันไปเติบโตในเส้นทางใหม่และรับบททดสอบอีกขั้นในหนทางข้างหน้า ซึ่งสไตล์ของเพลงจะมาในแนว J-pop จังหวะสนุกสนาน แบบฉบับ 48 Group เน้นเมโลดี้เพราะๆ น่ารักๆ...ถึงได้บอกไงว่า เป็นการจากลาที่จะเต็มไปด้วยความสุขผสมความเศร้าแบบไม่ต้องปฏิเสธ!! 

สำหรับวง BNK48 ซึ่งมีเพลงที่โด่งดังอย่างมากจาก Koisuru Fortune Cookies (คุ้กกี้เสี่ยงทาย) ภายใต้บริษัท independent Artist Management (iAM) เป็นวงไอดอลของประเทศไทย ที่มีแนวคิดเหมือนวงพี่ AKB 48 จากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมี Concept ชวนฝันแก่แฟนๆ คือ ‘ไอดอลที่คุณสามารถไปพบได้ (Idols you can meet)’ 

คอนเซปต์นี้สำคัญมากนะคะ เพราะเป็นการเปลี่ยนความคิดแบบเก่าที่ปกติแฟนคลับจะสามารถพบเจอเกิร์ลกรุ๊ปทั่วไปได้เฉพาะตามงานคอนเสิร์ต หรือรายการโทรทัศน์เท่านั้น แต่วง BNK48 นั้นจะพยายามลดระยะห่างระหว่างสมาชิกและแฟนคลับ โดยการเพิ่มการปฏิสัมพันธ์ด้วยหลากหลายวิธี ได้แก่ การสร้างโรงละครประจำวงที่มีการแสดงทุกสัปดาห์ การจัดตั้งงานจับมือ การถ่ายทอดสดในไลฟ์สตูดิโอ (ตู้ปลา) ฯลฯ 

ส่วนที่มาของชื่อ BNK48 (เผื่อใครยังไม่ค่อยคุ้น) มาจาก BANGKOK หรือ กรุงเทพมหานคร และเลข ‘48’ มาจากนามสกุลของ โคตาโระ ชิบะ ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท เอเคเอส โดยคำว่า ‘ชิ’ และ ‘บะ’ เป็นคำพ้องเสียงของภาษาญี่ปุ่น สามารถแปลความหมายได้เป็นเลข ‘4’ และ ‘8’ ตามลำดับ

BNK 48 เป็นหนึ่งในวงน้องสาวที่มีอยู่ 12 วง โดยมีสถานะเป็นวงน้องสาวต่างประเทศลำดับที่ 2 ของ AKB 48 ซึ่งวงเหล่านี้มีรูปแบบการจัดการและลักษณะคล้ายๆ กันหลายประการ เช่น การก่อตั้งโรงละครประจำวง, การจัดกิจกรรมร่วมกันอย่างงานเลือกตั้งเซ็มบัตสึ และหากวงน้องสาวมีต้นกำเนิดนอกประเทศญี่ปุ่น ก็จะมีการออกซิงเกิลเพลงที่เป็นการแปลจากเพลงต้นฉบับของวงพี่สาวให้อยู่ในฉบับภาษาท้องถิ่น เป็นต้น รวมไปถึงระบบแลกเปลี่ยนสมาชิกที่เปิดโอกาสให้สมาชิกวงสามารถย้ายไปเป็นสมาชิกวงอื่นในเครือเดียวกันได้ นอกจากนี้ วง BNK 48 ยังมีวงน้องสาวเป็นของตัวเองในประเทศไทยคือ CGM 48 ซึ่งก่อตั้งเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2562 โดยมีที่ตั้งและทำกิจกรรมอยู่ที่ จังหวัดเชียงใหม่เป็นหลัก

ทั้งนี้ BNK48 ได้เริ่มเปิดรับสมัครสมาชิกครั้งแรกเมื่อกลางปี พ.ศ. 2559 และเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2560 พร้อมกับซิงเกิลแรกในชื่อ อยากจะได้พบเธอ ด้วยสมาชิก 30 คน ทั้งนี้ สมาชิกของวงนั้นมีจำนวนไม่แน่นอน เนื่องจากมีการเปิดรับสมาชิกรุ่นใหม่และมีการจบการศึกษาอยู่ตลอดเวลา 

จากนั้นในช่วงแรกได้มีการประชาสัมพันธ์วงผ่านรายการโทรทัศน์ BNK48 Senpai และผลงานเพลงตามงาน Roadshow ต่างๆ จนมีชื่อเสียงขึ้นในปี พ.ศ. 2560 ในผลงานเพลง ‘คุกกี้เสี่ยงทาย’ รวมถึงกิจกรรมที่เกิดขึ้นในไทยครั้งแรกอย่าง งานจับมือ, งานถ่ายรูปคู่ หรือ 2-shot, งานเลือกตั้งเซ็มบัตสึ และการแสดงในโรงละคร ทำให้วงเป็นที่กล่าวถึง และมีผลงานต่างๆ ตามมาทั้งตัวบุคคลและทีม ตั้งแต่งานเพลง การแสดงซีรีส์ และภาพยนตร์ ตลอดช่วง 6 ปีที่ผ่านมา จนเกิดปรากฏการณ์ ‘เหล่าโอตะ’ (แฟนคลับ) ที่ตามติดพวกเธอมากขึ้นๆ และกลายเป็นวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อไอดอลวงอื่นๆ ที่มีแฟนคลับน่ารักๆ จนศิลปิน ไอดอล มีพลังในการผลิตผลงานออกมาอย่างต่อเนื่อง จนถือเป็นการเปิดหน้าประวัติศาสตร์ครั้งใหญ่ให้แก่วงการไอดอลไทยกันเลยทีเดียว 

สำหรับเมมเบอร์รุ่นที่ 1 วง BNK48 มีทั้งหมด 22 คน ได้แก่ เฌอปราง-เฌอปราง อารีย์กุล, โมบายล์-พิมรภัส ผดุงวัฒนะโชค, เนย-กานต์ธีรา วัชรทัศนกุล, น้ำหนึ่ง-มิลิน ดอกเทียน, ปัญ-ปัญสิกรณ์ ติยะกร, เจนนิษฐ์-เจนนิษฐ์ โอ่ประเสริฐ, มิวสิค-แพรวา สุธรรมพงษ์, ตาหวาน-อิสราภา ธวัชภักดี, อร-พัศชนันท์ เจียจิรโชติ, ปูเป้-จิรดาภา อินทจักร, จ๋า-ณปภัช วรพฤทธานนท์, ไข่มุก-วรัทยา ดีสมเลิศ, แก้ว-ณัฐรุจา ชุติวรรณโสภณ, น้ำใส-พิชญาภา นาถา, ก่อน-วฑูศิริ ภูวปัญญาสิริ, จิ๊บ-สุชญา แสนโคต, มายด์-ปณิศา ศรีละเลิง, เคท-กรภัทร์ นิลประภา, มิโอริ-มิโอริ โอคุโบะ, ซัทจัง-สวิชญา ขจรรุ่งศิลป์, เจน-กุลจิราณัฐ วรรักษา และเปี่ยม-รินรดา อินทร์ไธสง 

'อันเฆลา อัลวาเรซ' คุณยายวัย 95 เติมฝันให้ชีวิต คว้า ‘ศิลปินหน้าใหม่ยอดเยี่ยม’ เวทีลาตินแกรมมี อวอร์ดส์

เมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2565 บนเวทีประกาศรางวัลของวงการเพลงจากประเทศแถบลาตินอเมริกาและประเทศที่ใช้ภาษาสเปนและโปรตุเกสเป็นหลักครั้งล่าสุดที่ลาสเวกัส สหรัฐอเมริกา อันเฆลา อัลวาเรซ ได้สร้างประวัติการณ์ของการวงการเพลงด้วยการขึ้นรับรางวัล ‘ศิลปินหน้าใหม่ยอดเยี่ยม’ คนล่าสุด ในวัย 95 ปี คู่กับ ซิลวานา เอสตราดา ศิลปินรุ่นหลานวัย 25 ปี

ทั้ง ‘อัลวาเรซ’ และ ‘เอสตราดา’ ต่างเป็นผู้ชนะบนเวทีทั้งคู่ แต่ ‘อัลวาเรซ’ ได้กลายเป็นผู้สร้างประวัติศาสตร์ของเวทีลาตินแกรมมี อวอร์ดส์ ด้วยการเป็นผู้เข้าชิงและผู้ชนะรางวัลบนเวทีนี้ที่อายุมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา

อัลวาเรซ ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ระหว่างรับรางวัลโดยอุทิศรางวัลนี้ให้พระผู้เป็นเจ้าและประเทศคิวบา บ้านเกิดที่รักยิ่งของเธอ ซึ่งเธอกล่าวว่า จะไม่มีวันลืมไปตลอดชีวิต

ศิลปินหน้าใหม่วัย 95 ปี ยังตบท้ายว่า “สำหรับคนที่ยังทำฝันให้เป็นจริงไม่ได้ แม้ว่าชีวิตนี้ยากนัก แต่มันมีทางออกเสมอ ฉันสัญญาว่าคุณจะสมหวังได้ด้วยความรักและศรัทธา ไม่มีคำว่า ‘สายเกินไป’ ตามด้วยการลุกขึ้นยืนปรบมือให้เกียรติอย่างยาวนานจากผู้ร่วมงาน

'ฝนธิป ศรีวรัญญู' สร้างชื่อใน Mrs.Heritage International 2022 ที่มาเลเซีย คว้า 2 รางวัลใหญ่ ตอกย้ำ Soft Power ไทยสุดแกร่ง

(19 พ.ย.65) วัฒนธรรมไทย Soft Power ไทย โดยคนไทยได้คว้ารางวัลใหญ่อีกครั้ง จาก 'ฝนธิป ศรีวรัญญู' คว้ารางวัลทรงคุณค่าในงานประกวด Mrs.Heritage International 2022 ซึ่งเธอได้กล่าวคำขอบคุณต่อทุกแรงเชียร์ว่า...

ฝนขอขอบคุณทุกแรงเชียร์ แรงโหวต แรงสนับสนุนน ในการประกวดที่ประเทศมาเลเซียนะคะ 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top