Tuesday, 1 July 2025
ECONBIZ

สรุปสถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 19 – 23 ธ.ค. 65 จับตาปัจจัย ‘บวก-ลบ’ ชี้ แนวโน้ม 26 – 30 ธ.ค. 65

สรุปสถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 19 – 23 ธ.ค. 65 จับตาปัจจัย ‘บวก-ลบ’ ชี้ แนวโน้ม 26 – 30 ธ.ค. 65

ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์ล่าสุดเพิ่มขึ้นกว่า 1-2 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล อุปทานน้ำมันมีแนวโน้มตึงตัว โดยรองนายกรัฐมนตรีรัสเซีย นาย Alexander Novak ประกาศจะลดการผลิตน้ำมันดิบลง 5-7% (ประมาณ 500,000-700,000 บาร์เรลต่อวัน) จากระดับการผลิตในปี 2565 ภายในต้นปี 2566 เพื่อตอบโต้สหภาพยุโรป (EU), กลุ่มประเทศ G7 และออสเตรเลีย ซึ่งกำหนดเพดานราคา (Price Cap) น้ำมันดิบรัสเซีย ตั้งแต่ 5 ธ.ค. 65 ทั้งนี้คาดว่ารัสเซียผลิตน้ำมันดิบและคอนเดนเสท ในปี 2565 เฉลี่ยอยู่ที่ 10.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน (เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 220,000 บาร์เรลต่อวัน) อย่างไรก็ตามในช่วงปลายสัปดาห์ ราคาน้ำมันดิบลดลง จากความกังวลต่อจีน ซึ่งมีจำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 เพิ่มขึ้น และสภาวะเศรษฐกิจโลกที่อาจถดถอย กดดันอุปสงค์พลังงาน 

National Weather Service (NWS) ของสหรัฐฯ ประกาศประชาชนกว่า 200 ล้านคน (ประมาณ 60% ของประชากรทั้งหมด) กำลังเผชิญกับปรากฏการณ์ Bomb Cyclone เกิดพายุหนาวจัดพัดรุนแรงหลายพื้นที่ ทำให้อุณหภูมิลดลงฉับพลัน โดยมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 23 ราย และเตือนประชาชนอาจเผชิญวันคริสต์มาสที่หนาวเย็นที่สุดในรอบ 40 ปี ท่าอากาศยานนานาชาติเดนเวอร์ (Denver International Airport) ในรัฐ Colorado ทางตะวันตก อุณหภูมิลดลงจาก 5.56 องศาเซลเซียส สู่ -15 องศาเซลเซียส ภายในระยะเวลา 1 ชั่วโมง ทั้งนี้เว็บไซต์ข้อมูลการเดินทาง FlightAware.com ระบุเที่ยวบินในสหรัฐฯ ในช่วง 21-23 ธ.ค. 65 ถูกยกเลิกกว่า 2,000 เที่ยว เนื่องจากสภาพภูมิอากาศแปรปรวน

อย่างไรก็ตาม เมื่อ 23 ธ.ค. 65 โรงกลั่นบริเวณอ่าวเม็กซิโกของสหรัฐฯ กำลังรวมกว่า 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน หยุดดำเนินการ จาการกลั่นปกติที่ระดับ 9.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน นอกจากนี้การผลิตน้ำมันดิบในรัฐ North Dakota ทางเหนือ ลดลงประมาณ 300,000-350,000 บาร์เรลต่อวัน หรือประมาณ 1 ใน 3 ของระดับปกติที่ 1.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน

‘สุริยะ’ เผยดัชนี MPI 11 เดือน โต 1.55% คาดปี 2566 จะขยายตัวช่วง 2.5 – 3.5%

กระทรวงอุตสาหกรรม เผย MPI เดือน พ.ย. ปี 65 ขยายตัวจากเดือนก่อน 1.55% รับเศรษฐกิจในประเทศฟื้น คาดปีหน้าดัชนีภาคอุตฯ ขยายตัวต่อเนื่องหลังเศรษฐกิจในประเทศและการท่องเที่ยวขยายตัว 

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เปิดเผยว่า สถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรมยังคงขยายตัวต่อเนื่องจากการบริโภคในประเทศเป็นหลัก ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนพฤศจิกายน ปี 2565 อยู่ที่ 95.11 ขยายตัวร้อยละ 1.55 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และมีอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ร้อยละ 62.63 สำหรับภาพรวมดัชนี MPI สะสม 11 เดือนของปี 2565 เฉลี่ยอยู่ที่ 98.68 ขยายตัวร้อยละ 1.41 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีอัตราการใช้กำลังการผลิต สะสม 11 เดือน เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 63.02 เป็นผลจากการขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศและการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวดีขึ้น สะท้อนจากตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติที่กลับเข้ามาท่องเที่ยวในไทยเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ปัญหาข้อจำกัดในการผลิตได้คลี่คลายลง อาทิ ค่าระวางเรือมีทิศทางลดลง รวมถึงปัญหาการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ที่ปรับตัวดีขึ้น ทำให้คาดว่าดัชนีอุตสาหกรรมจะขยายตัวต่อเนื่องในปี 2566

นางวรวรรณ ชิตอรุณ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนพฤศจิกายน 2565 หดตัวร้อยละ 5.60 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการปิดซ่อมบำรุงใหญ่ของโรงงานในอุตสาหกรรมน้ำมันปิโตรเลียมและอุตสาหกรรมเม็ดพลาสติก ซึ่งจะกลับมาผลิตเป็นปกติในเดือนธันวาคม 2565 โดยอุตสาหกรรมหลักที่ขยายตัวในเดือนพฤศจิกายน 2565 ยังคงเป็นยานยนต์ จากรถบรรทุกปิกอัพ รถยนต์นั่งขนาดเล็ก และรถยนต์นั่งขนาดกลาง ที่สามารถผลิตได้ต่อเนื่อง น้ำมันปาล์มจากน้ำมันปาล์มดิบและน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ หลังจากราคาปาล์มน้ำมันในปีก่อนปรับสูงขึ้น จึงเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรมีการบำรุงต้นและลูกปาล์ม ส่งผลให้ปีนี้ปริมาณผลผลิตปาล์มน้ำมันออกสู่ตลาดจำนวนมากกว่าปีก่อน และเครื่องปรับอากาศที่กลับมาเร่งผลิตได้อีกครั้ง ทั้งนี้ ในเดือนธันวาคม 2565 คาดว่าดัชนี MPI จะขยายตัวจากปัญหาการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์คลี่คลาย ทำให้อุตสาหกรรมต่อเนื่องสามารถกลับมาเร่ง การผลิตได้อีกครั้ง รวมถึงเศรษฐกิจในประเทศมีทิศทางที่ดีขึ้น จากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคในประเทศ แต่อย่างไรก็ตาม อุปสงค์สินค้าในตลาดโลกเป็นปัจจัยที่ต้องติดตามใกล้ชิด ด้วยตลาดส่งออกสำคัญมีแนวโน้มจะเข้าสู่เศรษฐกิจถดถอยจากภาวะเงินเฟ้อและราคาพลังงาน

ทั้งนี้ สศอ. ได้คาดการณ์ดัชนี MPI ปี 2566 จะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.5 – 3.5 จากแนวโน้มเศรษฐกิจในประเทศมีทิศทางที่ดีขึ้น การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคในประเทศ รวมถึงมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงที่ควรเฝ้าระวังและติดตาม ได้แก่ ราคาพลังงานที่ทรงตัวในระดับสูง การปรับค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (Ft) และการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น ปัญหาเงินเฟ้อ ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนกระทบต่อภาคการส่งออก และทิศทางเศรษฐกิจโลกชะลอตัวจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก รวมถึงตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย 

สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลบวกต่อดัชนีผลผลิตในเดือนพฤศจิกายน 2565 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่

'บิ๊กตู่' ช่วยค่าครองชีพกลุ่มบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 13.2 ล้านคน จัดงบ 2.6 พันล้านบาท เติม 200 บาทต่อคนในเดือนม.ค.66

(27 ธ.ค.65) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงมติคณะรัฐมนตรี ว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบมาตรการช่วยเหลือเงินพิเศษ แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ประจำเดือนมกราคม 2566 โดยอนุมัติงบกลาง 2,644 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาภาระค่าครองชีพให้แก่ผู้มีบัตรฯ จำนวน 13.2 ล้านคน (ข้อมูล ณ เดือน ธันวาคม 65 ) โดยเป็นการเพิ่มวงเงินในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐอีก 200 บาท/คน เป็นระยะเวลา 1 เดือน ประจำเดือนมกราคม 2566 โดย...

(1) ผู้มีบัตรฯ ที่เคยได้รับวงเงิน 200 บาท/คน/เดือน (จำนวน 3.54 ล้านคน) จะได้รับเพิ่มอีก 200 บาท รวมเป็น 400 บาท/คน/เดือน 

‘เอกชน’ เชื่อ!! จีนยกเลิกคุมโควิด-19 ส่งผลดีต่อไทย คาด!! เศรษฐกิจคึกคัก ผู้ประกอบการเตรียมรับมือ

จีนประกาศยกเลิกมาตรการคุมโควิด-19 การกักตัวสำหรับผู้เดินทางเข้าประเทศ ส่งผลดีต่อไทยและเศรษฐกิจไทยทุกด้าน คาดปี 2566 นักท่องเที่ยวเพิ่มเกิน 5 ล้านคน

นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า กรณีประเทศจีนได้ประกาศยกเลิกมาตรการกักกันโรคโควิด-19 นักเดินทาง โดยจะเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 8 ม.ค.66 มองว่า จะมีผลดีต่อประเทศไทยและเศรษฐกิจไทยในทุกด้านถือว่าเป็นข่าวดีและสุดยอดอย่างมาก เนื่องจากเป็นที่ทราบแม้จีนจะเปิดประเทศช้า แต่เชื่อว่าแนวทางเลิกมาตรการกักกันโควิด-19 ครั้งนี้ จะทำให้นักท่องเที่ยวชาวจีนสามารถออกไปท่องเที่ยวทั่วโลกได้มากขึ้น โดยเฉพาะประเทศไทยที่เริ่มมีอากาศหนาวเย็นและเป็นเมืองที่ชาวจีนต้องการเข้ามาท่องเที่ยวเป็นอันดับ 1 ของโลก และไม่เพียงคนจีนเท่านั้น หลายเชื้อชาติสนใจเข้ามาท่องเที่ยวในไทยเพิ่มขึ้น โดยเห็นว่าไทยมีจุดสนใจเที่ยวมากกว่าประเทศอื่น

ทั้งนี้ คาดว่าหลังจากจีนยกเลิกมาตรการกักกันโควิด เชื่อว่าในปี 2566 จะมีนักท่องเที่ยวชาวจีนจะเข้ามาเที่ยวในไทยเกินกว่า 5 ล้านคน และยิ่งปัญหาโควิด-19 เบาลงคาดว่านักท่องเที่ยวจีนจะเข้ามาไทยมากกว่านี้แน่นอน แต่สิ่งที่ภาคเอกชนยังกังวลคือ การเตรียมการต้อนรับของไทยมีความพร้อมแค่ไหน เพราะในเวลานี้แม้เศรษฐกิจไทยเริ่มกลับมาดีขึ้นในช่วงปลายไตรมาส 3 จนถึงไตรมาสที่ 4 แต่โดยภาพรวมความพร้อมของภาคธุรกิจ เช่น โรงแรม สถานที่พักบุคคลกรและอื่นๆของไทยยังไม่กลับมาเต็มที ดังนั้น หากนักท่องเที่ยวหลายชาติกลับมาเที่ยวในไทย แต่คนไทยยังไม่มีความพร้อมเต็มที่จะมีปัญหาได้ ภาครัฐบาลจะต้องเร่งหาทางแก้ไขและเตรียมความพร้อมเป็นการด่วน

‘ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ’ ชี้!! เศรษฐกิจไทยแข็งแกร่ง เตือน!! “ตลาดจะลงโทษนโยบายที่โง่ๆ”

(27 ธ.ค. 65) ดูเหมือนว่าภาพรวมของเศรษฐกิจโลกยังคงดูตึงเครียดหนัก หลังจากที่ IMF ออกมาเตือนว่า สิ่งที่เลวร้ายที่สุดยังไม่มาถึงเลย พร้อมหั่นการคาดการณ์ GDP ในปีหน้าจนเหี้ยน ทำให้ต้องเริ่มกังวลแล้วว่า เศรษฐกิจโลกจะไปในทิศทางไหน แล้วสำหรับประเทศไทยจะเอาอย่างไร? จะไปต่อได้ไหวหรือไม่? จะแข็งแกร่งแค่ไหนกัน?

จากช่องยูทูบ ‘Property Expert Live’ โดยคุณคิม ชัชวาลย์ วัฒนะโชติ ได้อธิบายเรื่องนี้ไว้อย่างน่าสนใจ ว่า… 

IMF กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ได้คาดการณ์เศรษฐกิจปี 2023 โดยระบุว่าสิ่งที่เลวร้ายที่สุดยังไม่มาถึง และมากกว่า 1 ใน 3 ขอเศรษฐกิจโลก จะเข้าสู่สภาวะ Recession พร้อมจะพบเห็น GDP ติดลบ 2 ไตรมาสติด ๆ ขณะที่ GDP ของประเทศยักษ์ใหญ่ เช่น สหรัฐอเมริกา, ยุโรป และจีน จะยังคงชะลอตัวต่อไป

โดยปัจจัยหลัก ๆ ที่ทำให้เศรษฐกิจย่ำแย่ในปี 2023 มีอยู่ 3 สาเหตุหลัก ๆ ได้แก่... 

1. สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน ที่ยังคงเกิดขึ้นต่อไปไม่มีวี่แว่วว่าจะหยุด 
2. ค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพยังคงสูงขึ้น 
3. เศรษฐกิจของประเทศจีนยังคงชะลอตัวอยู่

ทั้ง 3 สาเหตุนี้เป็นปัจจัยหลักให้เศรษฐกิจทั่วโลกต่างเกิดการผันผวนในปี 2023 และปัญหาเงินเฟ้อในปีหน้าก็ยังคงสูงอยู่เช่นเดิม

โดยคาดการณ์ว่าเงินเฟ้อในปีหน้ายังคงสูงกว่า 6.5% ซึ่งหากมองคร่าว ๆ ก็ยังคงสูงอยู่ แต่ก็อาจะค่อย ๆ ชะลอตัวลงลดเหลือ 4.1% ในปี 2024 หรืออีก 2 ปีข้างหน้า จุดนี้จึงปฏิเสธไม่ได้ที่จะยังคงเป็นแรงกดดันมหาศาลของทั้งโลกอยู่

คุณคิม ยังกล่าวอีกว่า ในฟากของฝั่งไทยนั้น การที่ IMF ออกมาหั่นการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปี 2023 ให้เหลือการขยายตัวเพียงแค่ 3.6% นั้น (จะบอกว่า ‘เพียงแค่’ ก็ไม่ถูกนัก เพราะก่อนหน้านี้คาดการณ์ไว้ถึง 4%) จะพิจารณาได้จากปัจจัยหลักสำคัญอย่างเศรษฐกิจของจีน, ยุโรป หรือสหรัฐอมริกา ที่เข้าสู่สภาวะเศรษฐกิจ ไม่ค่อยจะฟื้นตัว บ้างชะลอตัว บ้างถึงขั้นถดถอยด้วย ซึ่งทำให้การบริโภคเริ่มลดลง บวกกับไทยเราเป็นประเทศผู่ส่งออก จึงได้รับผลกระทบตรงนี้ไปด้วย

อย่างไรก็ตามในฝั่งของ ‘ปัจจัยบวก’ ก็มีด้วยเช่นกัน นั่นก็คือ การท่องเที่ยวไทยฟื้นตัวดีเกินคาด ทำให้มีเม็ดเงินจำนวนมากไหลเข้ามาในประเทศและส่งผลให้ลดดุลทางการค้าได้นั่นเอง และนี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้เงินบาทของไทยค่อนข้างแข็งขึ้นมาในช่วงนี้ (อยู่ที่ประมาณ 34.84 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ฯ)

ทั้งนี้เชื่อได้ว่า หลายคนน่าจะมีคำถามที่แสดงถึงความกังวลว่า การที่ GDP เติบโตประมาณ 3.6% นั้นเป็นผลดีหรือไม่อย่างไร? ซึ่งเรื่องนี้ ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือแบงก์ชาติ ได้ออกมาบอกว่า จริง ๆ แล้วเศรษฐกิจไทยค่อนข้างทนทานและเข้มแข็งอย่างมาก แม้จะมีการปรับลด GDP ลงไป แต่เหตุผลมันก็มาจากปัจจัยภายนอก (ต่างชาติปรับเพิ่มดอกเบี้ย) แต่ในตัวเศรษฐกิจไทยแข็งแกร่งอยู่

'ศูนย์วิจัยกสิกรฯ' ชี้!! ปี 66 ต่างชาติเที่ยวไทยแตะ 24 ล้านคน คาด!! กลุ่มตะวันออกกลางฟื้นตัวและมาแรงกว่าช่วงโควิด

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดปี 66 นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทย 20-24 ล้านคน หรือคิดเป็น 50-60% ของปี 62 ก่อนโควิด โดยตลาดนักท่องเที่ยวตะวันออกกลางน่าจะฟื้นตัวสู่ระดับที่มากกว่าก่อนโควิดได้ 

ขณะที่นักท่องเที่ยวจากภูมิภาคอื่น แม้ภาพรวมจะฟื้นตัวได้ดี แต่ยังคงต้องติดตามปัจจัยท้าท้ายต่างๆ ทั้งการดำเนินนโยบายของจีนในระยะข้างหน้า ความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยในเศรษฐกิจหลักของโลกอย่างสหรัฐฯ และยุโรป ตลอดจนพฤติกรรมและรูปแบบการท่องเที่ยวที่เปลี่ยนแปลงไป    

หลังจากที่ทางการกลับมาเปิดประเทศรับชาวต่างชาติอย่างเต็มรูปแบบเมื่อเดือน ก.ค. 2565 ที่ผ่านมา ประเทศไทยได้รับการตอบรับจากชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทยมากขึ้น ทำให้ในปี 2565 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า นักท่องเที่ยวต่างชาติเที่ยวไทยคาดว่าจะมีจำนวน 11.0 ล้านคน ซึ่งดีกว่าที่ทางการได้ตั้งเป้าหมายไว้ที่ 10 ล้านคน

'สุริยะ' กำชับเลิกเผาอ้อย – ขอโรงงานเลิกรับซื้อ หวังคืนอากาศบริสุทธิ์ให้คนไทย – หนุนการท่องเที่ยว

'สุริยะ' สั่ง กอน. เร่งประชุมเคาะมาตรการดูแลชาวไร่ กำชับเลิกเผาอ้อย ขอโรงงานเลิกรับซื้อ ประสานมหาดไทย-ทส. อัพเดตข้อมูลลอบเผาอ้อยแบบเรียลไทม์แจ้งเตือน ปชช.ทั่วประเทศ พร้อมคืนอากาศบริสุทธิ์ให้คนไทย-หนุนการท่องเที่ยว

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2565 กระทรวงอุตสาหกรรมได้เชิญตัวแทน 4 องค์กรชาวไร่อ้อย ได้แก่ สหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย ชมรมสถาบันชาวไร่อ้อยภาคอีสาน สหสมาคมชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย และสมาพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย มาหาทางออกร่วมกันสำหรับมาตรการส่งเสริมอ้อยและน้ำตาลทรายในปีนี้ ซึ่งรวมถึงการกำหนดราคา และมาตรการลดฝุ่น PM2.5 ที่เกิดจาการลักลอบเผาอ้อยที่ส่งผลกระทบต่อสังคมในวงกว้าง โดยที่ประชุมได้ขอให้กระทรวงอุตสาหกรรมเร่งประชุมคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) เพื่อขับเคลื่อนมาตรการต่าง ๆ เพื่อดูแลชาวไร่ ตลอดจนอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายทั้งระบบ 

ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมและชาวไร่อ้อย จะร่วมกันเร่งเดินหน้าแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองของประเทศที่เกิดจากการเผาอ้อย โดยกำหนดเป้าหมาย ลดการเผาอ้อยในฤดูการผลิตปี 2565/2566 เป็น 0% ตามมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) โดยเกษตรกรที่ให้ความร่วมมือตัดอ้อยสดรัฐบาลพร้อมช่วยเหลือแน่นอน

‘สุริยะ’ เร่งนโยบายพัฒนา EV คู่มาตรฐานยูโร 6 ชี้ ไทยต้องเร่งปรับตัว ก่อนเสียตลาดส่งออกรถยนต์

กระทรวงอุตสาหกรรม เร่งพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์สู่ยานยนต์ไฟฟ้า ควบคู่ผลักดันการใช้มาตรฐานยูโร 6 เพื่อยกระดับเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมยานยนต์ พร้อมก้าวเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ชี้ หากไม่ปรับตัวอาจสูญเสียตลาดส่งออกรถยนต์

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมมีนโยบายในการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไปสู่ยานยนต์ไฟฟ้า ควบคู่ไปกับผลักดันยานยนต์ที่มีมาตรฐานการปล่อยมลพิษตามมาตรฐานยูโร 6 (EURO 6) ให้เร็วขึ้น เพื่อยกระดับการส่งออกและการผลิตตามมาตรฐานที่ประเทศคู่ค้ากำหนด ซึ่งประเทศชั้นนำส่วนใหญ่ในตลาดโลกได้ปรับตัวใช้มาตรฐานยูโร 6 แล้ว เช่น สหภาพยุโรป ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และ จีน ดังนั้น อก. จึงมีนโยบายเร่งผลักดันอุตสาหกรรมให้เปลี่ยนผ่านไปสู่ยานยนต์ไฟฟ้า และยานยนต์สมัยใหม่ที่สอดรับกับเทรนด์ตลาดโลก และเป็นแนวทางสำคัญที่ช่วยลดการปล่อยมลพิษ รวมถึงฝุ่น PM 2.5 เพื่อให้คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้น ลดอัตราการเจ็บป่วย ก้าวเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society) ตลอดจนเป็นการผลักดันให้ประเทศไทยบรรลุเจตนารมณ์ที่จะช่วยลดภาวะโลกร้อน รวมทั้งสอดรับกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยภายใต้โมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Model) ที่มุ่งเน้นยกระดับศักยภาพการผลิตให้เป็นมาตรฐานสากลและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นจากการสร้างความเข้มแข็งจากภายใน และเชื่อมโยงประเทศไทยเข้าเป็นห่วงโซ่อุปทานการผลิตโลกได้อย่างยั่งยืน

“การก้าวข้ามการพัฒนามาตรฐานการปล่อยมลพิษจากยูโร 4 ไปสู่ยูโร 6 ถือเป็นยุทธศาสตร์ที่สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในหลากหลายมิติ ทั้งการสร้างความเชื่อมั่น การดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติที่เน้นการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงและพลังงานสะอาด ช่วยสนับสนุนการจ้างงานภายในประเทศ สร้างแต้มต่อในการเป็นศูนย์กลางการผลิต และส่งออกรถยนต์ในภูมิภาค ซึ่งหากประเทศไทยไม่เร่งปรับตัวอย่างจริงจังอาจสูญเสียโอกาสในการเป็นฐานการผลิต 10 อันดับแรกในตลาดโลก และอันดับ 1 ในอาเซียนได้ ดังเช่นเวียดนามที่มีการตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า VINFAST รวมทั้งประกาศใช้มาตรฐานยูโร 5 ตั้งแต่ปี 2565 ซึ่งเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อเอื้อให้เกิดการลงทุนในประเทศ และพยายามแย่งชิงโอกาสในการเป็นฐานการผลิตยานยนต์สมัยใหม่ในภูมิภาค หากประเทศไทยไม่ปรับตัว อาจสูญเสียตลาดส่งออกรถยนต์ที่มีการบังคับใช้มาตรฐานการปล่อยมลพิษที่สูงกว่า และในระยะยาวอาจเกิดการย้ายฐานการผลิตยานยนต์ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเนื่องต่อแรงงานในอุตสาหกรรมยานยนต์ประมาณ 650,000 คน” นายสุริยะ กล่าว

‘ILINK’ เสริมทัพใหม่รุกธุรกิจเทคโนโลยีการแพทย์ เพิ่ม 'ความเชื่อมั่น-สร้างรายได้' นักลงทุนระยะยาว

ILINK ตั้งเป้าแผนปีหน้าใหม่ จัดกลยุทธ์ หนุนดันทุกธุรกิจเติบโตสวยงามอย่างยั่งยืน มุ่งการเติบโตแบบมีคุณภาพ สามารถทำกำไรได้สูงสุดและต่อเนื่อง นับเป็นการสร้างความเชื่อมั่นอันดีให้แก่นักลงทุนต่อไป 

บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ILINK ปรับแผนยุทธศาสตร์ใหม่ ตั้งมั่นว่าใน 1 - 3 ปีข้างหน้า ยังคงเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง เน้นการเติบโต ทั้งรายได้ และกำไรสุทธิ อีกทั้ง มองยาวไปอีกว่าใน 3 - 5 ปี มั่นใจที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนทุกท่านได้ Up Size เพื่อการเติบโตอย่างมีคุณภาพ ตาม VISION ของกลุ่มฯ ที่มุ่งมั่น และมั่นใจว่าจะสามารถสร้างการเติบโตอย่างก้าวกระโดด และมีความยั่งยืน ผ่าน 3 + 1 ในธุรกิจหลักของบริษัทฯ ได้อย่างแน่นอน 

โดยมี 3 ธุรกิจหลัก คือ 
1. ธุรกิจจัดจำหน่ายสายสัญญาณ (Cabling Distribution)
2 ธุรกิจวิศวกรรมโครงการ (Turkey Engineering)
3. ธุรกิจโทรคมนาคม และดาต้าเซ็นเตอร์ (Telecom & Data Center)

และ 1 ธุรกิจใหม่ คือ
1. ธุรกิจเทคโนโลยีการแพทย์ (Tech Medical)

'ทิพานัน' ชี้ ดัชนีเชื่อมั่น SME เดือน พ.ย. พุ่ง 53.8 สูงสุดในรอบ 11 เดือน สะท้อนธุรกิจเริ่มฟื้นตัว

(24 ธ.ค. 65) น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะประธานคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ได้ผลักดันมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs จากผลกระทบวิกฤติการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เช่น มาตรการด้านสินเชื่อ การลดภาระค่าธรรมค้ำประกันของผู้ประกอบการ SMEs และโครงการส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงานในธุรกิจ SMEs เพื่อประคับประคองธุรกิจและพยุงการจ้างงานของประเทศ ส่งผลให้ล่าสุด สสว. รายงานว่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ SME หรือ SMESI อยู่ที่ระดับ 53.8 เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นระยะเวลา 4 เดือน และสูงสุดในรอบ 11 เดือนซึ่งมีปัจจัยมาจากการขยายตัวต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว และภาคการค้าที่ชัดเจนจนเกือบเป็นปกติ 

น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า ส่วนในรายภาคธุรกิจ พบว่าภาคการบริการมีค่าดัชนี SMESI สูงสุดอยู่ที่ 55.3 จากการท่องเที่ยวและธุรกิจบริการที่เกี่ยวเนื่องขยายตัว และที่น่าสนใจคือ ภาคการเกษตร มีค่าดัชนี SMESI เพิ่มขึ้นสูงสุดถึง 3.2 มาอยู่ที่ 53.4 จากการขายได้ราคาที่ดีขึ้นโดยเฉพาะกลุ่มพืชไร่ เช่น ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกเหนียว และกลุ่มไม้ดอกไม้ประดับ 

ส่วนภาคการค้าขยายตัวทั้งการค้าปลีกและค้าส่งโดยเฉพาะภาคเหนือและภาคใต้ที่ได้อานิสงส์จากการท่องเที่ยวที่ขยายตัว และยังทำให้ภาคการผลิตปรับตัวดีขึ้นจากกำลังซื้อและต้นทุนที่มีแนวโน้มดีขึ้นด้วย 

‘บินไทย’ ผงาด!! ทำรายได้ทะลุ 1.2 หมื่นล้านต่อเดือน หลังปรับต้นทุนการบริหารงานและค่าใช้จ่ายในทุกส่วน

‘การบินไทย’ เผยท่องเที่ยวฟื้นตัวทำรายได้นิวไฮทะลุ 1.2 หมื่นล้านบาทต่อเดือน ดันกระแสเงินสดในมือพุ่ง 3 หมื่นล้านบาท ชี้ความจำเป็นจัดหาทุนใหม่หวังพ้นสภาพฟื้นฟูกิจการ กลับซื้อขายหลักทรัพย์ก่อนเป้าหมายกำหนดในปี68

เมื่อวันที่ 22 ธ.ค. 65 นายสุวรรธนะ สีบุญเรือง รักษาการแทนประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงภาพรวมผลการดำเนินงานในปัจจุบัน โดยระบุว่า ขณะนี้ผู้โดยสารของการบินไทยขยายตัวอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับเทรนด์การท่องเที่ยวของทั่วโลกที่เริ่มกลับมาฟื้นตัว ซึ่งปัจจุบันการบินไทยกลับมาเปิดให้บริการเส้นทางบินราว 70% หากเทียบกับช่วงก่อนเกิดโควิด-19 และมีอัตราบรรทุกผู้โดยสาร (เคบิ้นแฟกเตอร์) สูงอยู่ที่ 85%

อย่างไรก็ตาม จากการฟื้นตัวของผู้โดยสารส่งผลให้รายได้จากการดำเนินงานของการบินไทย กลับมาใกล้เคียงกับช่วงก่อนเกิดโควิด-19 โดยปัจจุบันมีความสามารถทำรายได้จากการดำเนินงานอยู่ที่ 1.2 หมื่นล้านบาทต่อเดือน ใกล้เคียงกับสถานการณ์ปกติเทียบกับช่วงก่อนเกิดโควิด-19 ที่มีรายได้จากการดำเนินงานราว 1.5 หมื่นล้านบาทต่อเดือน และถือเป็นรายได้ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง หากเทียบกับช่วงเกิดโควิด-19 ที่การบินไทยมีรายได้ต่ำสุดจากการดำเนินงานเพียง 200 ล้านบาทต่อเดือน

“ตอนนี้รายได้จากการดำเนินงานของเราเป็นนิวไฮในทุกเดือน โดยการบินไทยเริ่มมีกำไรตั้งแต่เดือน พ.ค. 2565 ซึ่งเกิดขึ้นจากการปรับต้นทุนการบริหารงาน ค่าใช้จ่ายในทุกส่วน และยังหารายได้เข้ามาอย่างต่อเนื่อง แต่เมื่อหักลบกับช่วงต้นปี ก่อนการท่องเที่ยวเริ่มฟื้นตัว ทำให้ภาพรวมผลการดำเนินงานของการบินไทยในขณะนี้ยังไม่ทำกำไร แต่ถือว่าขาดทุนลดลงอย่างมาก”นายสุวรรธนะ กล่าว

นายสุวรรธนะ กล่าวว่า การฟื้นตัวของผู้โดยสารยังส่งผลให้กระแสเงินสด (แคชโฟว์) ของการบินไทยเพิ่มขึ้นสูงอยู่ที่ 3 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นจำนวนที่มากเพียงพอในการบริหารจัดการองค์กร ส่งผลให้การบินไทยไม่ได้มีความเร่งด่วนในการจัดหาเพิ่มทุนใหม่ แต่อย่างไรก็ดี เพื่อให้องค์กรยั่งยืนและสามารถออกจากแผนฟื้นฟูกิจการได้ การบินไทยยังคงต้องดำเนินการจัดหาทุนใหม่จำนวน 2.5 หมื่นล้านบาท ตามรายละเอียดที่ยื่นปรับปรุงแผนฟื้นฟูฉบับล่าสุด

สำหรับแผนฟื้นฟูฉบับล่าสุดที่ศาลล้มละลายได้อนุมัติให้การบินไทยปรับปรุงนั้น จะต้องดำเนินการจัดหาทุนใหม่ตามกระบวนการแปลงหนี้เป็นทุน และการเพิ่มทุน จากเจ้าหนี้เดิมและผู้ถือหุ้นเดิม ในวงเงิน 2.5 หมื่นล้านบาท ภายในปี 2567 ซึ่งลดลงจากแผนฟื้นฟูเดิมที่วางไว้ 5 หมื่นล้านบาท โดยปัจจุบันการบินไทยอยู่ระหว่างเตรียมจ้างบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน (FA) เพื่อเข้ามาช่วยดำเนินการในส่วนนี้

PTT-OR แจงทำธุรกิจในเมียนมา ยึดหลักสิทธิมนุษยชนเคร่งครัด ไม่หนุนความรุนแรงในพม่า หลังมีข่าวกองทุนถอนลงทุน

ซีอีโอ PTT-OR แจงข่าวกองทุนถอนลงทุนจากประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชนในเมียนมา ยืนยันดำเนินธุรกิจยึดหลักสิทธิมนุษยชนอย่างเคร่งครัด ด้าน OR ยันลงทุนคลังปิโตรเลียมในเมียนมาจริง แต่แสดงเจตนารมณ์ให้บริษัทร่วมทุนหยุดการดำเนินงานและไม่ชำระเงินทุนเพิ่มเติมแล้ว

เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2565 นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) หรือ PTT รายงานตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่า ตามที่มีข่าวระบุว่ามีกองทุนได้ประกาศถอนการลงทุนใน PTT และบริษัทในกลุ่ม เนื่องจากประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนในเมียนมานั้น บริษัทขอขี้แจงว่า ในการดำเนินธุรกิจของบริษัท ทั้งในส่วนที่ ปตท.ดำเนินการเองและลงทุนผ่านบริษัทในกลุ่ม ปตท. ได้ปฏิบัติตามแนวปฏิบัติด้านความยั่งยืน

ซึ่งประกอบด้วยมิติสิ่งแวดล้อม มิติสังคม และมิติการกำกับดูแล โดยมีการบูรณาการหลักสิทธิมนุษยชน ครอบคลุมสายโซ่อุปทานของบริษัท ตั้งแต่การตรวจสอบอย่างรอบด้าน การบริหารจัดการ ตลอดจนส่งเสริม ปกป้อง และให้ความเคารพด้านสิทธิมนุษยชนให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติสากลอย่างเคร่งครัด

นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มอย่างสมดุล ทั้งนี้ ในการพิจารณาการลงทุนของ ปตท.นั้น ได้ปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบที่มีการบังคับใช้ รวมถึงมีการตรวจสอบและวิเคราะห์สถานะของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้ว

ปตท.ยึดถือการเคารพสิทธิมนุษยชนเป็นหนึ่งในแนวปฏิบัติขั้นพื้นฐาน และมีความกังวลเป็นอย่างมากเกี่ยวกับเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในเมียนมาภายหลังการรัฐประหารปี 2564 โดยสนับสนุนการแก้ไข ปัญหาวิกฤตอย่างสันติและเข้มงวดในการปฏิบัติตามกฎหมาย แนวปฏิบัติสากลในทุกพื้นที่ปฏิบัติการ

รวมถึงการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อปรับปรุงกระบวนในการตัดสินใจและการบริหารจัดการ เพื่อให้แน่ใจว่าการลงทุนดังกล่าวเป็นการส่งเสริมเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ช่วยเพิ่มศักยภาพในการเข้าถึงแหล่งพลังงานได้อย่างเท่าเทียม ปตท.หวังเป็นอย่างยิ่งว่าสถานการณ์ในเมียนมาจะคลี่คลายและกลับคืนสู่สภาวะปกติในเร็ววัน

‘โครงสร้างพื้นฐาน - เขต EEC’ จุดเปลี่ยนประเทศ ดูดนักลงทุนต่างชาติทุ่มเงินลงทุนกว่าแสนล้านบาท

ต้องบอกว่า ปีนี้ประเทศไทยเนื้อหอมมากจริง ๆ เนื่องจากนักลงทุนหลาย ๆ เจ้ากำลังทยอยเข้ามาปักหลักปักธงทำธุรกิจในไทย ไม่ว่าจะเป็น BYD ที่ได้ลงหลักในเขต EEC ไปแล้ว ที่จะตามมาคือ MG, เกรท วอลล์ มอเตอร์ (GWM) หรือข่ายรถยนต์ไฟฟ้าจากประเทศซาอุดีอาระเบียที่ก็เล็ง ๆ ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตเช่นกัน ขอบอกเลยว่าไทยมีเสน่ห์สุด ๆ แถมยังสามารถดูดเงินลงทุนได้มาถึงแสนล้านบาทเลย

แต่ที่น่าสนใจอย่างยิ่งก็คือ นักลงทุนทั้งต่างชาติและจีน ที่เคยลงทุนในจีนนั้นกำลังเตรียมแผนย้ายฐานการผลิตออกจากจีนเพื่อไปลงทุนในประเทศอื่นแทน จึงเป็นเรื่องที่น่าจับตามองว่าเพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้จีนได้รับฉายาว่า ‘โรงงานของโลก’ เชียวนะ

สำหรับเรื่องนี้ ช่องยูทูบ ‘Property Expert Live’ ของคุณคิม ชัชวาลย์ วัฒนะโชติ ได้อธิบายไว้อย่างน่าสนใจ โดยสามารถสรุปใจความได้ว่า…

ปัจจัยที่ทำให้นักลงทุนมองหาฐานการผลิตนอกประเทศจีน ได้แก่

1. สงครามการค้า หรือ Trade War ระหว่างจีนกับสหรัฐฯ จึงทำให้การลงทุนในจีนแล้วส่งออกไปยังสหรัฐฯ นั่นมีอุปสรรคในด้านกำแพงภาษี รวมถึงสหรัฐฯ มีนโยบายกีดกันทางด้านเทคโนโลยีและการลงทุนในประเทศจีน จึงเป็นจุดที่ทำให้นักลงทุนรู้สึกไม่ปลอดภัยหากยังลงทุนในจีนต่อไป ไม่เพียงแต่นักลงทุนต่างชาติเท่านั้น แต่นักลงทุนจีนก็มองหาทางหนีทีไล่ไว้เช่นกัน

2. ราคาค่าแรง จากเดิมค่าแรงในจีนถูก จึงเป็ดจุดเด่นดึงดูดนักลงทุน แต่มีเศรษฐกิจขยายใหญ่ขึ้น มีรายได้มากขึ้น ค่าแรงก็เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย 

3. นโยบาย Zero Covid-19 ที่เข้มงวด

4. นโยบายควบคุมด้านเศรษฐกิจ ที่มีวลีเท่ๆ ว่า ‘มั่งคั่งทั่วกัน’ ทว่านโยบายเหล่านี้ไม่ส่งเสริมด้านการลงทุน จึงทำให้บริษัทต่อชาติที่อยู่ในจีนทยอยปิด และออกมาลงทุนนอกประเทศจีน เช่น Apple ที่ก่อนหน้ามีฐานการผลิตที่จีน แต่ก็ย้ายฐานไปที่เวียดนามและอินเดียแทน รวมถึงบริษัทสัญชาติจีนก็ย้ายออกเช่นกัน

รัฐบาล ปลื้ม 11 เดือน ต่างชาติลงทุนในไทยพุ่ง 74% ส่งสัญญาณเศรษฐกิจฟื้นตัว สร้างงานกว่า 5 พันตำแหน่ง

โฆษกรัฐบาล โว ต่างชาติเชื่อมั่นลงทุนไทย เพิ่มขึ้นถึง 74% รัฐบาล เร่ง สร้างงานสร้างรายได้ เศรษฐกิจฟื้นตัว

เมื่อวันนี้ (22 ธ.ค. 65) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า มีเรื่องน่ายินดี ตัวเลขการลงทุนของชาวต่างชาติในประเทศไทย ภายใต้พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ตลอด 11 เดือนของปี 2565 (มกราคม - พฤศจิกายน) มูลค่ารวมกว่า 112,466 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2564 ถึงร้อยละ 74 เกิดการจ้างงานคนไทยกว่า 5,000 คน โดยพล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยินดีที่นักลงทุนต่างชาติยังคงเชื่อมั่นในศักยภาพทางเศรษฐกิจของไทย และมีการขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งขอบคุณหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ขานรับและดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลอย่างแข็งขัน ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยมีสัญญาณบวกต่อเนื่อง ฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว สร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนชาวต่างชาติ และสร้างงานสร้างอาชีพให้แก่คนไทย

นายอนุชา กล่าวว่า ตั้งแต่เดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2565 กระทรวงพาณิชย์ได้อนุญาตให้ชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจในประเทศไทย จำนวน 530 ราย โดยชาวต่างชาติที่เข้ามาลงทุนมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 

1) ญี่ปุ่น 137 ราย (ร้อยละ 26) เงินลงทุน 39,000 ล้านบาท 
2) สิงคโปร์ 85 ราย (ร้อยละ 16) เงินลงทุน 11,999 ล้านบาท 
และ 3) สหรัฐอเมริกา 70 ราย (ร้อยละ 13) เงินลงทุน 3,343 ล้านบาท

‘ศักดิ์สยาม’ ตั้งเป้า 3 ปี ไทยเป็นฮับในอาเซียน ถ่ายทอดนวัตกรรมและเทคโนโลยีระบบราง

เมื่อไม่นานมานี้ (15 ธ.ค. 65) นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานและสักขีพยานในพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือ ‘ผนึกกำลังพันธมิตรพัฒนาเทคโนโลยีระบบรางของภูมิภาค’ ระหว่างสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) และกลุ่มธุรกิจระบบรางฝรั่งเศส โดยการสนับสนุนของสถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศส ว่า การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือครั้งนี้ ไม่มีกำหนดกรอบระยะเวลา เป็นการต่อยอดความร่วมมือการผนึกกำลังพัฒนาศักยภาพบุคลากร เทคโนโลยี และนวัตกรรม ระหว่างสถาบันวิจัยฯ และกลุ่มอุตสาหกรรมระบบรางจากประเทศฝรั่งเศส 5 บริษัท โดยเป็นบริษัทที่มีความรู้ด้านเทคโนโลยีระบบราง ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับโลก

นายศักดิ์สยาม กล่าวอีกว่า ความร่วมมือนี้จะทำให้เกิดการทำงานร่วมกันที่เป็นรูปธรรมเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ 

1. การสร้างสถาบันพัฒนาบุคลากรระบบราง ที่เป็นกลไกการพัฒนาบุคลากรระบบราง ทั้งระดับช่างเทคนิคทักษะสูง และระดับวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ โดยร่วมกับสถาบันและหน่วยงานเครือข่าย เช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนที่เกี่ยวข้อง

2. การสร้างความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนฝรั่งเศส และภาคเอกชนไทย เพื่อสร้างอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนระบบรางภายในประเทศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย Thai First ของกระทรวงคมนาคม โดยไม่เพียงแค่ผลิตได้ แต่คาดหวังให้เกิดผู้ประกอบการไทยที่มีความเข้มแข็ง สามารถแข่งขันในเวทีโลกได้

และ 3. การวิจัยและพัฒนาร่วมกัน และถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมระบบรางชั้นแนวหน้าระหว่างกลุ่มธุรกิจระบบรางชั้นนำของฝรั่งเศส และเครือข่ายการวิจัยและพัฒนาของประเทศไทย เพื่อส่งเสริม และผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง (ฮับ) การถ่ายทอด และการสร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมของภูมิภาคอาเซียนภายใน 2-3 ปีหลังจากนี้

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า ดังนั้นเวลานี้ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องรับความรู้ และเทคโนโลยีจากหลากหลายประเทศที่มีความเชี่ยวชาญ ซึ่งนอกจากจะนำความรู้เพื่อมาใช้ผลิตบุคลากรในการเตรียมรองรับทางคู่ 4,000 กิโลเมตร (กม.) ทั่วประเทศ และสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้กับประเทศไทยแล้ว ยังสามารถนำไปถ่ายทอดให้กับประเทศอื่น ๆ เพื่อร่วมพัฒนาระบบขนส่งทางรางในระดับอาเซียนด้วย


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top