Wednesday, 2 July 2025
ECONBIZ

‘Yahoo Finance’ ยกไทยติด 1 ใน 12 ประเทศแห่งเอเชียที่มี 'ความก้าวหน้ามากที่สุด'

เมื่อไม่นานมานี้ช่องยูทูบ ‘Thailand & The World’ ได้เผยแพร่วิดีโอ การจัดอันดับ 12 ประเทศในเอเชีย ที่มีความก้าวหน้ามากที่สุด ซึ่ง 1 ใน 12 ประเทศนั้นมีประเทศไทยติดอันดับอยู่ด้วย โดยเนื้อหาในคลิปดังกล่าว สรุปใจความได้ว่า...

ในศตวรรษที่ 21 ถือว่าเป็น ‘ศตวรรษแห่งทวีปเอเชีย’ เพราะมีการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจที่รวดเร็วเมื่อเทียบกับประเทศตะวันตก โดย ‘McKinsey’ บริษัทที่ปรึกษาด้านการจัดการที่มีชื่อเสียงระดับโลก ได้ประเมินว่า เอเชียจะมี GDP มากกว่า 50% ของโลก ภายในปี 2040 และผู้บริโภคจากเอเชีย จะเป็นตัวขับเคลื่อนกว่า 40% ของการบริโภคทั้งโลกภายในปีดังกล่าวเช่นกัน 

ทั้งนี้ ความต้องการบริโภคที่สูงขึ้น เป็นผลมาจากการขยายตัวของชนชั้นกลาง โดย World Economic Forum ได้ทำการประเมินไว้ว่า ภายในปี 2030 หรืออีกเพียง 7-8 ปีข้างหน้า ‘2 ใน 3 ของชนชั้นกลาง’ จะเป็นชาวเอเชีย

ล่าสุด ‘Yahoo Finance’ ก็ได้เผยผลการจัดอันดับ ‘12 ประเทศในเอเชีย’ ที่มีความก้าวหน้ามากที่สุด เราจะมาดูกันว่า ประเทศไทยของเรา ทำได้ดีแค่ไหนในการจัดอันดับครั้งล่าสุดนี้

โดยวิธีการวิจัยการจัดอันดับในครั้งนี้ ทำขึ้นมาโดยการประเมินสัดส่วนของงบประมาณในการวิจัยและพัฒนา หรือ R&D ต่อ GDP ที่เป็นข้อมูลจากธนาคารโลก และระดับการพัฒนามนุษย์ จาก Human Developemtn Index หรือ HDI ของปี 2021-2022 ซึ่ง HDI มีการวัดจาก 3 ปัจจัยด้วยกันคือ 1. อายุคาดเฉลี่ย 2. ระดับการศึกษา และ 3. รายได้ต่อหัว หรือ GDP Per capita นอกจากนั้นยังมีการพูดถึงการมีอยู่ของบริษัทขนาดใหญ่ในประเทศนั้นๆ อีกด้วย

สำหรับ 12 อันดับประเทศในเอเชีย ที่มีความก้าวหน้ามากที่สุด มีดังต่อไปนี้...

อันดับที่ 12 อินโดนีเซีย Yahoo ระบุว่า อินโดนีเซีย เป็นประเทศจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีคะแนนดัชนีการพัฒนามนุษย์ HDI 0.718 สอดคล้องกับมาตรฐานการครองชีพที่สูง โดยมีการใช้งบประมาณในการวิจัยและพัฒนา R&D ต่อ GDP 0.28% ในปี 2020 โดยมีบริษัทยักษ์ใหญ่ระบบโลกตั้งอยู่ โดยมี Alphabet ที่บริษัทแม่ของ Google, Toyota, ExxonMobil เป็นต้น การลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ เติบโตขึ้น 64% ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2022 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ซึ่งได้รับแรงหนุนหลักมาจากความสามารถในการจัดการทรัพยากรของประเทศ

อันดับที่ 11 จอร์เจีย จอร์เจียมีที่ตั้งอยู่ระหว่างยุโรปและเอเชีย โดยในปี 2020 ประเทศได้ใช้งบประมาณในการวิจัยและพัฒนา R&D ต่อ GDP 0.30% โดยมีระดับคะแนนดัชนีการพัฒนามนุษย์ HDI 0.802 ซึ่งถือว่าสูงมาก ในช่วงที่มีการสำรวจในปี 2021-2022 โดยในปี 2022 ที่ผ่านมา จอร์เจียได้รับเงินลงทุนจากต่างประเทศ 1,670 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 26%

อันดับที่ 10 ไทย อีกหนึ่งประเทศจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ภาคการบริการมีการเติบโตสูง คิดเป็น 58.3% ของ GDP ประเทศในปี 2020 ผลประกอบการของภาคการผลิตทางอุตสาหกรรมในปี 2021 เติบโตจากปีก่อนหน้า 7.31% คิดเป็นรายได้ที่ 137,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ 

ส่วนคะแนนดัชนีการพัฒนามนุษย์ HDI ในช่วงปี 2021-2022 มีระดับที่สูงมาก อยู่ที่ 0.800 

นอกจากนั้น ประเทศยังมีการลงทุนในด้านการวิจัยและพัฒนาเป็นอย่างมากในปี 2020 ซึ่งอยู่ที่ 1.14% ต่อ GDP และถ้าเจาะลึกลงไปทั้ง 3 หลักเกณฑ์ ในการพิจารณาคะแนนดัชนีการพัฒนามนุษย์ HDI ที่ใช้ในการวัดผลจะพบว่า คนไทยมีอายุขัยเฉลี่ยที่ 78.7 ปี ในระยะเวลาการศึกษา 15.9 ปี และมีรายได้ต่อหัวอยู่ที่ 619,000 ต่อปี

อันดับ 9 มาเลเซีย มาเลเซียมีคะแนนดัชนีการพัฒนามนุษย์ HDI ที่สูงมากเช่นกัน โดยอยู่ที่ 0.803 และจากข้อมูลล่าสุดของธนาคารโลกในปี 2018 ประเทศมีการลงทุนในด้านการวิจัยและพัฒนา อยู่ที่ 1.04% ต่อ GDP สำหรับบริษัทยักษ์ใหญ่ ที่มีการลงทุนที่นั่น ได้แก่ Alphabet, Microsoft เป็นต้น

อันดับที่ 8 ตุรกี เช่นเดียวกับจอร์เจีย ประเทศนี้มีที่ตั้งอยู่ระหว่างยุโรปและเอเชีย แต่มากถึง 97% ของพื้นที่ อยู่ในเขตเอเชีย ตุรกีมีคะแนนดัชนีการพัฒนามนุษย์ HDI ในปี 2022 ที่สูงมาก คือ 0.838 มีงบประมาณในการวิจัยและพัฒนา ที่ 1.09% ต่อ GDP ในปี 2022 อุตสาหกรรมทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมาถึงจุดเปลี่ยนสำคัญ เมื่อบริษัท startup ต่าง ๆ อย่าง keteers ที่ถูกก่อตั้งขึ้นในปี 2015 มีมูลค่าบริษัทสูงถึง 12,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2022 อีกบริษัทหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ บริษัททางด้าน E-Commerce สัญชาติตุรกี ที่ชื่อ D market ซึ่งอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ ของสหรัฐอเมริกาอีกด้วย ส่วนบริษัทยักษ์ใหญ่จากต่างประเทศที่มีการลงทุนที่นั่น ได้แก่ Microsoft, apple เป็นต้น ตุรกียังมีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาโดรนอีกด้วย ซึ่งได้เป็นผู้จัดหาโดรนให้กับยูเครน ในการสนับสุนนการต่อสู้กับรัสเซียได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อันดับที่ 7 รัสเซีย เป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีที่ตั้งคาบเกี่ยวระหว่างยุโรปและเอเชีย โดยพื้นที่กว่า 75% อยู่ทางฝั่งเอเชีย รัสเซียมีคะแนนดัชนีการพัฒนามนุษย์ HDI ที่สูงถึง 0.822 ในงบประมาณในการวิจัยและพัฒนาในปี 2018 ที่ 1.10% ต่อ GDP รัสเซียโดดเด่นในเรื่องเทคโนโลยีทางด้านการทหาร ที่เทียบเท่ากับเทคโนโลยีของสหรัฐอเมริกาในด้านการพรางตัว และเหนือกว่าในด้านเทคโนโลยีความเร็วเหนือเสียง ในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ รัสเซียเป็นบ้านเกิดของบริษัทอย่าง Yandex, Auto, VK และ Y berry ศูนย์บริษัทต่างชาติที่มีชื่อเสียง ได้แก่ Microsoft, apple และ Alphabet ที่ตอนนี้ ทั้งหมดได้ถอนตัวออกจากประเทศไปแล้ว หลังจากที่รัสเซียได้เข้าทำสงครามกับยูเครน

อันดับที่ 6 จีน ในปี 2022 จีนเป็นประเทศที่มีขนาดเศษรฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก และคาดว่าจะสามารถแซงหน้าสหรัฐอเมริกาได้ในอีกไม่นาน คะแนนดัชนีการพัฒนามนุษย์ HDI ของจีน อยู่ที่ 0.768 ซึ่งยังต่ำกว่าไทย แต่สูงกว่าอินโดนีเซีย รัฐบาลได้มีการลงทุนในด้านการวิจัยและพัฒนา ด้วยงบประมาณสูงถึง 2.40% ต่อ GDP มีส่วนแบ่งทางการตลาดในอุตสาหกรรมที่ใช้ความรู้และเทคโนโลยีอย่างเข้มข้น ในระดับที่สูงมาก โดยมีการส่งออกในด้านนี้สูงถึง 17% ของ GDP ทั้งประเทศ ในปี 2018 และเช่นเดียวกับรัสเซีย จีนมีแต้มต่อเหนือสหรัฐอเมริกาในด้านเทคโนโลยีความเร็วเหนือเสียง ในแง่ของเทคโนโลยีสารสนเทศ จีนมีบริษัทขนาดใหญ่อย่าง Alibaba ที่เป็นคู่แข่งโดยตรงของ amazon จากสหรัฐอเมริกา

อันดับที่ 5 ไต้หวัน ไต้หวันเป็นประเทศในเอเชียตะวันออก มีงบประมาณในการวิจัยและพัฒนาสูงถึง 3.63% ของ GDP ทั้งประเทศ ในปี 2020 มีคะแนนดัชนีการพัฒนามนุษย์ HDI ที่สูงถึง 0.916 ในปี 2022 ไต้หวันมีบริษัทผลิตชิป อย่าง TSMC ที่มีส่วนแบ่งทางการตลาดทั้งโลกในด้านนี้ สูงถึง 53% ในปี 2022 ส่วนบริษัทขนาดใหญ่จากต่างประเทศที่มีการลงทุนในไต้หวัน ได้แก่ ASC Group, United Microelectronics Corporation เป็นต้น

อันดับที่ 4 ฮ่องกง คะแนนดัชนีการพัฒนามนุษย์ HDI ของฮ่องกง สูงถึง 0.952 ในช่วงปี 2021-2022 แต่มีงบประมาณในการวิจัยและพัฒนา เพียง 0.99% ของ GDP ในปี 2020 ฮ่องกงถือเป็นประเทศที่รองรับธุรกิจ startup ได้ดีมาก โดยมีการเติบโตถึง 12% ในปี 2021 ทำให้มีบริษัทประเภทนี้ รวมแล้วถึง 3,755 บริษัท

'บิ๊กตู่' ชู เศรษฐกิจไทยแข็งแกร่งต่อเนื่อง หลัง 'จีดีพี-เงินเฟ้อ-ดอกเบี้ย' ตัวเลขสวย

(20 ม.ค. 66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยเปรียบเทียบ 4 เครื่องชี้เศรษฐกิจที่สำคัญ เป็นเครื่องยืนยันไทยยังคงมีแนวโน้มขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม สั่งการ ติดตามและประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง เพื่อการกำหนดนโยบายที่มีประสิทธิภาพ และกำชับทุกหน่วยงานเร่งเดินหน้าตามนโยบายทางเศรษฐกิจที่ได้กำหนดไว้ ส่งเสริมความเชื่อมั่นของนักลงทุน ผู้ประกอบการ ส่งเสริม กระตุ้นทุกกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เพื่อพัฒนาประเทศ

นายอนุชา กล่าวว่า การเปรียบเทียบเครื่องชี้เศรษฐกิจที่สำคัญตัวแรก ได้แก่ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP Growth) ซึ่งพบว่า ในไตรมาสที่ 3 ปี 2565 ไทยมีการเติบโตอย่างแข็งแกร่ง อยู่ที่ 4.5 %YoY และสูงกว่ากลุ่มประเทศ Big-4 สหรัฐฯ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และจีน ซึ่งมีตัวเลขอยู่ที่ 1.9 %YoY 2.3 %YoY 1.5 %YoY และ 3.9 %YoY เรียงตามลำดับ 

ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อของไทยก็ต่ำกว่าสหรัฐฯ ยูโรโซน และค่าเฉลี่ยของ ASEAN-5 (สิงคโปร์ เวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย) โดยในปี 2564 อยู่ที่ร้อยละ 1.2 ในขณะที่ในเดือนพฤศจิกายน 2565 อยู่ที่ร้อยละ 5.5 และธันวาคม 2565 อยู่ที่ร้อยละ 5.9

'บิ๊กป้อม' ไฟเขียว!! แนวทางจัดการความมั่นคงเชิงพื้นที่ปี 66-70 ลงลึกถึงระดับตำบลทั่วไทย หนุน ปชช.อยู่ดีมีสุขถ้วนหน้า

(19 ม.ค. 66) พล.ท.พัชร์ชศักดิ์ ปฏิรูปานนท์ ผช.โฆษก รองนายกรัฐมตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานการประชุม คณะกรรมการนโยบายและอำนวยการพัฒนาเพื่อเสริมความมั่นคงของชาติ (นพช.) ครั้งที่ 1/2566 ณ ห้องประชุมวิจิตรวาทการ สมช. ทำเนียบรัฐบาล

ที่ประชุมได้รับทราบ ผลการประเมินการขับเคลื่อนแผนการพัฒนาพื้นที่ เพื่อเสริมความมั่นคงของชาติ ปี 62-65 ซึ่งมีความสำเร็จที่มีนัยยะสำคัญ ได้แก่ ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัดจากการที่จังหวัดประกาศพื้นที่เป้าหมายการพัฒนาเพื่อเสริมความมั่นคง ครบทุกจังหวัด และมีการจัดทำแผนการพัฒนา เพื่อเสริมความมั่นคงในพื้นที่ครบทุกแผน และมีแผนปฎิบัติการจัดระเบียบพื้นที่ชายแดน พื้นที่ชายฝั่งทะเล เกาะแก่ง และชุมชนพื้นที่สูง ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญของแผนการพัฒนาพื้นที่ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกัน และลดเงื่อนไขของปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ โดยมุ่งเน้นการบูรณาการทำงาน ด้านความมั่นคง ควบคู่กับการพัฒนา ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและการป้องกันประเทศ เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในพื้นที่เป้าหมาย ที่กำหนดผ่านกลไกการประเมินระดับจังหวัด

ปตท. ผุด ‘on-ion’ สถานีชาร์จไฟรถยนต์ EV เต็มรูปแบบ นำร่อง 17 สาขา ศูนย์การค้าเซ็นทรัล

ออน-ไอออน เปิดให้บริการสถานีชาร์จไฟ EV ด้วยพลังงานสะอาดอย่างเต็มรูปแบบแล้ววันนี้ ในศูนย์การค้าเซ็นทรัล 17 สาขา พร้อมเชื่อมต่อความสุข ให้ทุกการเดินทางไม่สะดุด ด้วยจุดบริการทั่วไทย

เมื่อวานนี้ (18 ม.ค. 66) นายเชิดชัย บุญชูช่วย รองกรรมการผู้จัดการใหญ่นวัตกรรมและธุรกิจใหม่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วย นายโทรณ หงศ์ลดารมภ์ Head of EV Charger Business บริษัท อรุณ พลัส จำกัด (ARUN PLUS) ร่วมพิธีเปิดให้บริการสถานีอัดประจุสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าเต็มรูปแบบ ภายใต้แบรนด์ ออน-ไอออน (on-ion EV Charging Station) ในพื้นที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พร้อมให้บริการชาร์จไฟแก่รถยนต์ไฟฟ้าด้วยพลังงานสะอาด เชื่อมต่อความสุข เดินทางไม่สะดุด จุดบริการทั่วไทย ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล ลาดพร้าว กรุงเทพฯ 

on-ion EV Charging Station พร้อมให้บริการเต็มรูปแบบในพื้นที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัล 17 สาขาได้แก่ เซ็นทรัลเวิลด์, เซ็นทรัลปิ่นเกล้า, เซ็นทรัลเฟสติวัล เชียงใหม่, เซ็นทรัลเชียงใหม่ แอร์พอร์ต, เซ็นทรัล อยุธยา, เซ็นทรัลบางนา, เซ็นทรัล พระราม 2, เซ็นทรัล วิลเลจ สุวรรณภูมิ, เซ็นทรัล เวสต์เกต, เซ็นทรัล อุดรธานี, เซ็นทรัล อีสต์วิลล์, เซ็นทรัล แจ้งวัฒนะ, เซ็นทรัล ศาลายา, เซ็นทรัล ลาดพร้าว, เซ็นทรัล โคราช, เซ็นทรัล พระราม 3 และ เซ็นทรัล พระราม 9 และพร้อมให้บริการอีก 20 สาขาทั่วประเทศเร็ว ๆ นี้

อีอีซี เปิดความสำเร็จ รวมพลังเครือข่ายพลังสตรีกว่า 600 คน สร้างการรับรู้คนในพื้นที่ เฝ้าระวังดูแลสิ่งแวดล้อม พร้อมร่วมพัฒนาสินค้าวิสาหกิจชุมชน สร้างงาน เพิ่มรายได้ให้คนอีอีซีต่อเนื่อง

วันนี้ (19 ม.ค. 2566) นายคณิศ แสงสุพรรณ ประธานที่ปรึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรืออีอีซี เข้าร่วมมอบนโยบายการดำเนินงานของเครือข่ายพลังสตรี อีอีซี ปี 2566 ภายในงานประชุมเชิงปฏิบัติการสรุปผลโครงการเสริมสร้างเครือข่ายการดูแลสิ่งแวดล้อม ชุมชน และเฝ้าระวังการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผัง อีอีซี (EEC Woman Power) โดยมีนายเกษมสันต์ จิณณวาโส ที่ปรึกษาพิเศษด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อีอีซี เป็นประธานในพิธี ร่วมด้วยนายธัชพล กาญจนกูล รองเลขาธิการสายงานพื้นที่และชุมชน อีอีซี เข้ามอบรางวัลเชิดชูเกียรติให้แก่เครือข่ายพลังสตรีอีอีซี จากพื้นที่อีอีซี 3 จังหวัด ที่เข้าร่วมงานฯ  ณ โรงแรมบางแสน เฮอริเทจ จังหวัดชลบุรี

​โครงการ เครือข่ายพลังสตรี อีอีซี นับเป็นโครงการสำคัญที่ อีอีซี ได้ดำเนินการมาต่อเนื่องจนเข้าสู่ปีที่ 4 ในปี 2566 นี้ เพื่อให้กลุ่มพลังสตรีใน 3 จังหวัด (ระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา) ที่เข้าร่วมโครงการฯ กว่า 600 คน เป็นกลไกสำคัญในการสร้างการรับรู้และความเข้าใจนโยบายต่างๆ ของอีอีซี และร่วมเป็นเครือข่ายในการดูแลเฝ้าระวังการใช้ประโยชน์ที่ดินในอีอีซี ให้สอดคล้องกับข้อกำหนดในแผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน อีอีซี รวมถึงการยกระดับอาชีพ และผลิตภัณฑ์ชุมชนในพื้นที่ ซึ่งพลังสตรีได้มีส่วนร่วมในการสร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่วิสาหกิจชุมชนให้ขายสินค้าท้องถิ่นได้เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

SMART เปิดแผนปี 66 รับดีมานด์ตลาดวัสดุก่อสร้างฟื้น เดินหน้าขับเคลื่อน ESG มุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

SMART เผยทิศทางธุรกิจปี 2566 ภาพรวมตลาดวัสดุก่อสร้างมีแนวโน้มขยายตัว ปัจจัยบวกจากนโยบายก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐ กระตุ้นภาคอสังหาฯ ดันดีมานด์ที่อยู่อาศัยเพิ่ม เดินหน้าขับเคลื่อนธุรกิจ มุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ชูกลยุทธ์พัฒนาคุณภาพสินค้าอิฐมวลเบา-อิฐมวลเบาตกแต่ง Green Innovation ตอบโจทย์พฤติกรรมผู้บริโภค เพิ่มช่องทางจำหน่ายผ่านโมเดิร์นเทรด ดีลเลอร์ ออนไลน์ ขยายฐานลูกค้าทั่วประเทศ ตั้งเป้าหมายการเติบโตรายได้ที่ 10%

นายรังสี ทีปกรสุขเกษม กรรมการผู้จัดการ บริษัท สมาร์ทคอนกรีต จำกัด (มหาชน) (SMART) ผู้ผลิตและจำหน่ายอิฐมวลเบาด้วยระบบอบไอน้ำภายใต้ความดันสูงเพื่อใช้ในงานก่อสร้าง และงานกั้นผนังอาคารเปิดเผยว่า ภาพรวมตลาดวัสดุก่อสร้างมีแนวโน้มขยายตัวตามความต้องและการปริมาณการใช้ที่มากขึ้น ปัจจัยหนุนจาก นโยบายก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ส่งผลให้ธุรกิจภาคเอกชน ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์เปิดโครงการใหม่ ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ความต้องการสินค้ากลุ่มวัสดุก่อสร้าง-อิฐมวลเบาปรับตัวดีขึ้น และราคาจำหน่ายอิฐมวลเบาปรับตัวเพิ่มขึ้น

สำหรับทิศทางธุรกิจปี 2566 บริษัทเดินหน้าขับเคลื่อนธุรกิจ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ESG (Environmental, Social, Governance) เป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจให้เติบโตก้าวหน้าอย่างมั่นคงยั่งยืน  โดยดำเนินงานด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม และรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มชูกลยุทธ์พัฒนาคุณภาพสินค้าอิฐมวลเบา-อิฐมวลเบาตกแต่ง Green Innovation ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และผู้บริโภค ไม่ก่อให้เกิดฝุ่น มลภาวะในการก่อสร้าง อาทิ การนำเศษจากการผลิตอิฐมวลเบานำกลับมาใช้ซ้ำ เพื่อผลิตบล็อกตกแต่ง สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้ามากที่สุด อีกทั้ง พัฒนาผลิตภัณฑ์ช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน ประหยัดพลังงาน ประหยัดเวลา ลดต้นทุนโดยรวมของงานก่อสร้าง สามารถตอบโจทย์ความต้องการที่อยู่อาศัยที่เปลี่ยนไป พร้อมปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตให้สอดคล้องกับแนวทางเพื่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด สร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานอันถูกสุขลักษณะและปลอดภัย โดยการใช้เทคโนโลยีที่ช่วยลดการเกิดของเสียอันตรายในระหว่างการผลิต เพื่อให้พนักงานรวมถึงสังคมรอบข้างมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 

‘สุริยะ’ ห่วงค่าไฟแพง กระทบต้นทุนผลิต แนะผู้ประกอบการใช้พลังงานทดแทนช่วย

กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เผยทิศทางราคาพลังงานทรงตัวระดับสูง กดดันต้นทุนการผลิตภาคอุตสาหกรรม แนะผู้ประกอบการจำเป็นต้องหาแหล่งพลังงานทดแทนเพื่อลดต้นทุนการผลิต

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สถานการณ์ทิศทางราคาพลังงานที่ทรงตัวในระดับสูงส่งผลให้ต้นทุนในการผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับตัวสูงขึ้น และเป็นการเร่งอัตราเงินเฟ้อ รวมถึงส่งผลให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยลดลง โดยคาดว่าสถานการณ์ราคาพลังงานจะมีผลกระทบในระยะยาว ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมจึงได้มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ทำการศึกษาผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม พบว่าการขึ้นค่าไฟฟ้าที่อัตรา 5.33 บาทต่อหน่วย จะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 4.88 ซึ่งอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า รองลงมา ได้แก่ ซีเมนต์ สิ่งทอ ผลิตภัณฑ์คอนกรีต เครื่องแต่งกาย และเซรามิค

นางวรวรรณ ชิตอรุณ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า สศอ. ได้ศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าต่อภาคอุตสาหกรรม โดยใช้ข้อมูลจากตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิตของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จากการศึกษาพบว่าการขึ้นค่าไฟฟ้าที่อัตรา 5.33 บาทต่อหน่วย จะส่งผลให้ต้นทุนการผลิตอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.41 ต้นทุนการผลิตอุตสาหกรรมซีเมนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.47 ต้นทุนการผลิตอุตสาหกรรมสิ่งทอเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.96 ต้นทุนการผลิตอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์คอนกรีตเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.14 ต้นทุนการผลิตอุตสาหกรรมเครื่องแต่งกายเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.98 และต้นทุนการผลิตอุตสาหกรรมเซรามิคเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.49 

RS เตรียมปั้น 5 ธุรกิจเครือฯ เข้าตลาดหุ้น ดันมาร์เก็ตแคปแตะแสนล้านในปี 68

อาร์เอส (RS) ปรับโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่ตั้งเป้าเป็น Life Enriching ยกระดับในทุกมิติการใช้ชีวิตของลูกค้า ผลักดันรายได้ปี 66 สู่เป้าหมาย 5,500 ล้านบาท เล็งปั้นบริษัทในเครือเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ ดันมาร์เก็ตแคป แตะ 1 แสนล้านในอีก 3 ปี

นายสุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.อาร์เอส (RS) เปิดเผยว่า บริษัทวางเป้าหมายมาร์เก็ตแคปเติบโตแตะ 1 แสนล้านบาทภายในปี 68 จาก ณ วันที่ 16 ม.ค.66 มีมาร์เก็ตแคปอยู่ที่ 16,337.95 ล้านบาท โดยจะเดินหน้าปรับโครงสร้างธุรกิจใหม่แบ่งเป็น 6 กลุ่มหลัก ดังนี้

1. RS Multimedia ซึ่งประกอบด้วย ช่อง 8 และ COOLfahrenheit
2. RS Music ประกอบด้วยค่ายเพลง RSIAM, kamikaze, RoseSound และบริษัท โฟร์ท แอปเปิ้ล
3. RS LiveWell ประกอบด้วย RS Mall และแบรนด์ผลิตภัณฑ์ well u, Vitanature+, Lifemate และ Camu C
4. RS Connect ประกอบด้วย ULife และ De Beste
5. RS Pet All ธุรกิจใหม่ที่ประกอบธุรกิจครบวงจรสำหรับสัตว์เลี้ยง
6. R Alliance ดูแลด้านการลงทุน ตามกลยุทธ์ M&A และ JV

การปรับโครงสร้างธุรกิจใหม่มีแผนนำธุรกิจทั้ง 5 กลุ่ม ไม่รวม R Alliance ที่เป็นธุรกิจด้านการลงทุน เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ให้ได้ภายใน 3 ปี เพื่อสร้างการเติบโตในอนาคต อันดับแรกคือ บมจ.เชฎฐ์ เอเชีย (CHASE) จะเข้าจดทะเบียนในไตรมาส 1/66 เลื่อนจากแผนเดิมในไตรมาส 4/65 จากนั้นจะนำบริษัท อาร์เอส- ยูไลฟ์ จำกัด ธุรกิจขายตรงในกลุ่มธุรกิจ RS Connect เข้าตลาดหลักทรัพย์เป็นรายต่อไป โดยแต่งตั้ง บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด (APM) เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน

ในลำดับถัดไปจะผลักดัน RS LiveWell และ RS Music เข้าตลาดหลักทรัพย์ โดยจะแต่งตั้งที่ปรึกษาทางการเงินภายในปีนี้

“ปีนี้จะเป็นปีที่มีความท้าทายที่สุด นับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทมา จากการตั้งเป้าเป็น Life Enriching มุ่งมั่นในการยกระดับทุกมิติการใช้ชีวิตของลูกค้าผ่านทุกธุรกิจในเครือ พร้อมจัดโครงสร้างองค์กรใหม่โดยแบ่งเป็น 6 กลุ่มธุรกิจ เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์องค์กร ซึ่งจะนำไปสู่การเติบโตที่แข็งแกร่งในแนวตั้ง และจะขยายธุรกิจใหม่ ๆ ในแนวราบ นับเป็นการสร้างอีโคซิสเต็มของอาร์เอส กรุ๊ป ให้เติบโตยั่งยืนตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ และเตรียมความพร้อมของอาร์เอส กรุ๊ป เพื่อ Spin-Off บริษัทในเครือเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ เพื่อทำให้มาร์เก็ตแคปสูงขึ้นเป็น 100,000 ล้านบาทในอีก 3 ปีข้างหน้า”นายสุรชัย กล่าว

สำหรับการดำเนินงานในปีนี้ บริษัทตั้งเป้ารายได้เติบโตแตะ 5,500 ล้านบาท โดยมาจากธุรกิจ Commerce 3,100 ล้านบาท ประกอบด้วย RS LiveWell 1,800 ล้านบาท RS Connect 900 ล้านบาท และ RS Pet All 400 ล้านบาท ส่วน Media&Entertainment จะมีรายได้ที่ 2,400 ล้านบาท ประกอบด้วย Rs Multimedia 1,450 ล้านบาท RS Music 400 ล้านบาท และ Concert,Event&Othets 550 ล้านบาท

ขณะที่ตั้งเป้าอัตรากำไรขั้นต้นอยู่ที่ 48-50% และอัตรากำไรสุทธิที่ 11-13%

บริษัทยังคงขับเคลื่อนธุรกิจด้วยโมเดล Entertainmerce พร้อมมุ่งสู่การเป็น Life Enriching โดยโฟกัสที่การเจาะตลาด Mass และเพิ่ม Accessibility การเข้าถึงกลุ่มลูกค้าให้มากขึ้น ด้วยช่องทางการจำหน่าย และพาร์ตเนอร์ที่หลากหลาย

ธุรกิจคอมเมิร์ซ ปี 66 บริษัท อาร์เอส ลิฟเวลล์ จำกัด แบรนด์ well u และ Vitanature+ เตรียมออกผลิตภัณฑ์ใหม่ 19 SKUs ในหมวดผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร, ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม และผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนตัว แบรนด์ Lifemate ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ 22 SKUs ในหมวดอาหารกลุ่ม Specialty Food, สแน็คสำหรับสุนัขและแมว และผลิตภัณฑ์ดูแลทำความสะอาด นอกจากนี้ ยังเตรียมขยายช่องทางการจำหน่ายไปยัง Modern Trade และตลาดต่างประเทศด้วย

สินค้าบางส่วนในเครือ อาร์เอส ลิฟเวลล์ ยังได้จับมือพันธมิตร เพื่อขยายช่องทางไปสู่ Specialty Store และ Duty Free เพื่อเจาะกลุ่มนักท่องเที่ยวจีนอีกด้วย

RS Mall แพลตฟอร์มจำหน่ายสินค้าสุขภาพและความงามก็จับมือกับพันธมิตรหลากหลายยิ่งขึ้น อาทิ สถาบันการเงิน โรงพยาบาล คลินิก และบริษัทประกันชั้นนำ เพื่อสร้างฐานลูกค้าใหม่ รวมไปถึงการสร้างระบบ CRM ที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้น

‘สุริยะ’ เผย ‘ไดกิ้น’ พร้อมใช้ไทยเป็น ‘ฮับ’ อาเซียน โชว์ศักยภาพนิคมฯ ‘สมาร์ท ปาร์ค’ รองรับทุกการลงทุน

'สุริยะ' แย้มข่าวดี 'ไดกิ้น' ยืนยันใช้ไทยเป็น 'ฮับ' ในอาเซียน โชว์ความพร้อมพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม รองรับนักลงทุนญี่ปุ่นทุกรูปแบบ ล็อคเป้า 'นิคมอุตสาหกรรมสมาร์ท ปาร์ค (Smart Park) - ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 (ช่วงที่ 2)'

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า การเดินทางไปเยือนประเทศญี่ปุ่นระหว่างวันที่ 11-15 มกราคม 2566 มีโอกาสได้พบกับผู้บริหารระดับสูงของบริษัท Daikin Co.,Ltd. ที่นครโอซาก้า เพื่อหารือถึงการพัฒนาบริษัท Daikin ในประเทศไทย ซึ่งบริษัท Daikin ระบุว่า มีแผนที่จะพัฒนาบริษัท Daikin ที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมของประเทศไทยเป็นฮับของอาเซียน ที่คาดว่าจะทำให้เกิดการจ้างงานแรงงานไทยได้ไม่น้อยกว่า 1 หมื่นคน โดยบริษัท Daikin ปีนี้ยังได้รับการจัดอันดับให้เป็นบริษัทที่ทำกำไรสูงสุดเป็นอันดับสองของญี่ปุ่น รองจากบริษัทโซนี่อีกด้วย

“นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ทาง บริษัท Daikin เล็งเห็นศักยภาพของประเทศไทยในการเป็นฮับของอาเซียน โดยเฉพาะในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม ภายใต้การกำกับดูแลของ กนอ.ซึ่งปัจจุบัน บริษัท Daikin ประเทศไทย มีโรงงานตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ (ชลบุรี) 4 โรงงาน และที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ (ระยอง) อีก 1 โรงงานอีกด้วย” นายสุริยะ กล่าว

นอกจากนี้ ได้หารือกับนายมัตสึโอะ ทาเคฮิโกะ (Mr. Matsuo Takehiko) อธิบดีกรมนโยบายการค้า กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม (Director General, Trade Policy Bureau Ministry of Economy, Trade and Industry : METI ) ถึงประเด็นการสนับสนุนโครงการไฮโดรเจนในนิคมอุตสาหกรรม Smart Park  โดย กนอ.ได้ย้ำถึงการเป็นนิคมอุตสาหกรรมที่ส่งเสริมพลังงานสะอาด และแผนการนำพลังงานไฮโดรเจนเข้ามาใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถรับส่งแรงงาน/พนักงานภายในนิคมอุตสาหกรรม การใช้พลังงานไฮโดรเจนเป็นพลังงานทดแทนด้านพลังงาน การสร้างสังคมปราศจากคาร์บอนโดยการประยุกต์ใช้พลังงานไฮโดรเจนขยายผลเทคโนโลยีรถยนต์พลังงาน รวมถึงการตั้งโรงงานเพื่อผลิตไฮโดรเจน 

ทั้งนี้ กนอ.ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOC) การศึกษาเพื่อพัฒนา “นิคมอุตสาหกรรมที่มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral Industrial Estate) ในพื้นที่มาบตาพุด” ร่วมกับหน่วยงานภาคอุตสาหกรรมที่สำคัญ 7 ราย เพื่อสนับสนุนการศึกษาเกี่ยวกับการใช้งาน และการกักเก็บพลังงานหมุนเวียน เพื่อพยายามลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และการพึ่งพาเชื้อเพลิงจากฟอสซิล  ขณะเดียวกัน องค์การส่งเสริมการต่างประเทศของญี่ปุ่น (Japan External Trade Organization : JETRO) ได้ร่วมมือกับผู้ประกอบการในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาไฮโดรเจน โดยมีเป้าหมายในการขอทุนจากองค์กรพัฒนาพลังงานและเทคโนโลยีอุตสาหกรรมใหม่ (New Energy and Industrial Technology Development Organization : NEDO) ในการพัฒนาและลงทุนไฮโดรเจนในนิคมอุตสาหกรรม Smart Park ด้วย

‘สุริยะ’ นำทีมเยือนญี่ปุ่น ดึงนักลงทุน หนุนพัฒนาอุตสาหกรรมระหว่าง 2 ประเทศ

‘สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ’ รมว.อุตสาหกรรม นำทีมเยือนญี่ปุ่น หารือร่วมรัฐมนตรี METI ย้ำความสัมพันธ์แน่นแฟ้นเชิงเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และการเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ (Strategic Partnership) อย่างรอบด้าน

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (MIND) เปิดเผยถึงผลการหารือกับนายนิชิมุระ ยาสึโทชิ (Mr.Nishimura Yasutosh) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม (METI) ระหว่างเยือนประเทศญี่ปุ่น วันที่ 11-15 มกราคม 2565 เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมระหว่าง 2 ประเทศ ว่า บรรยากาศการหารือเป็นไปด้วยดี ตอกย้ำความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่างไทยและญี่ปุ่นที่ดำเนินธุรกิจร่วมกันมาอย่างยาวนานในหลายด้าน โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมที่นักลงทุนญี่ปุ่นได้มาลงทุนในประเทศไทย 

โดยการเข้าหารือกับ METI ยังเป็นการครบรอบ1 ปี ที่ทั้ง 2 กระทรวงฯ คือ กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม (METI) และกระทรวงอุตสาหกรรม (MIND) ได้ร่วมกันปรับแนวคิดจาก 'Connected Industries' มาสู่ความร่วมมือ Co-Creation for Innovative and Sustainable Growth ที่เน้นการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี เมื่อปลายปี 2565 โดยเฉพาะประเด็นการดำเนินโครงการพัฒนาทักษะบุคลากร ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบความร่วมมือ Cooperation Framework on Human Resource Development for Realizing Industry 4.0 ขับเคลื่อน 3 ประเด็นหลัก ประกอบด้วย 

1. แนวทางการร่วมกันพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลให้แก่บุคลากรในภาคอุตสาหกรรม 2. การขับเคลื่อนนโยบาย BCG ในสาขาอุตสาหกรรมเป้าหมาย และ 3. การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับห่วงโซ่อุปทานผ่านแนวคิดการร่วมสร้าง (Co-Creation)

นายสุริยะ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังหารือในประเด็นการลงทุนภายใต้กรอบ AJIF (Asia-Japan Investing for the Future) มุ่งเน้นความเชื่อมโยงระหว่างญี่ปุ่นกับประเทศต่าง ๆ จึงเน้นย้ำถึงความพร้อมของประเทศไทย ในการต้อนรับนักลงทุนให้เข้ามาลงทุนในนิคมอุตสาหกรรม ที่กำกับดูแลโดยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ซึ่งปัจจุบันมีนิคมอุตสาหกรรมที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแล รวมทั้งสิ้น 67 แห่ง ใน 16 จังหวัด พื้นที่รวมเกือบ 2 แสนไร่ (ประมาณ 320 ตารางกิโลเมตร) เป็นนิคมฯที่ทันสมัย และมีเงินลงทุนสะสมรวมกว่า 150,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

บิ๊กตู่ เร่งผลักดัน โครงการศูนย์ธุรกิจ อีอีซี ตั้งเป้า 1 ใน 10 เมืองน่าอยู่อัจฉริยะของโลกในปี 2580

'บิ๊กตู่' ดัน โครงการศูนย์ธุรกิจ อีอีซี ตั้งเป้า 1 ใน 10 เมืองน่าอยู่อัจฉริยะของโลกในปี 2580 คาดเปิดให้เอกชน 'ลงทุน-พัฒนาพื้นที่' ในปี 67 

(16 ม.ค. 66) น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ให้ความสำคัญและผลักดันเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) อย่างต่อเนื่อง โดยได้เร่งรัดติดตามโครงการศูนย์ธุรกิจอีอีซี และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะอย่างใกล้ชิด ซึ่งโครงการนี้มีพื้นที่โครงการ 14,619 ไร่ ตั้งอยู่ที่ ต.ห้วยใหญ่ จ.ชลบุรี มีการจัดวางโซนพื้นที่พัฒนาเมือง ได้แก่...

- ศูนย์สำนักงานภูมิภาค และศูนย์ราชการอีอีซี 
- ศูนย์กลางการเงิน อีอีซี 
- ศูนย์การแพทย์แม่นยำ และการแพทย์อนาคต 
- ศูนย์การศึกษา วิจัยและพัฒนา นานาชาติ
- ศูนย์ธุรกิจอนาคต ที่พักอาศัยสำหรับคนทุกกลุ่ม รวมถึงการเดินทางภายในพื้นที่ จะมีการวางโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมด้วยการไม่ใช้เครื่องยนต์เป็นหลัก เช่น รถไฟเชื่อมโยง รถไฟความเร็วสูง รถไฟฟ้ารางเบาในเขตพื้นที่เมืองชั้นใน รถเมล์ไฟฟ้า และเรือโดยสารภายในพื้นที่โครงการ

น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ เป็นประธาน เมื่อวันที่ 28 ธ.ค.2565 เห็นชอบและรับทราบความคืบหน้าโครงการที่อยู่ในเขต สปก. ตามที่ได้จัดทำแผนแม่บทแล้วเสร็จกำหนดระยะเวลาพัฒนาโครงการ 20 ปี แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่...ระยะแรก 5,700 ไร่ระยะที่สอง 4,000 ไร่ และระยะสุดท้าย 4,919 ไร่ 

ทั้งนี้ สกพอ.และ ส.ป.ก. ได้ดำเนินการจ่ายค่าชดเชยให้เกษตรกรผู้มีสิทธิใช้ประโยชน์ในที่ดิน ส.ป.ก. ในระยะแรกแล้วทั้งสิ้น 2,483 ไร่ ซึ่งคาดว่าจะสามารถเตรียมที่ดินในเฟสแรกให้พร้อมได้ใน 5 ปีข้างหน้า โดยภายในไตรมาสแรกของปี 2566 นี้ จะเริ่มดำเนินการสรรหาและคัดเลือกผู้เชี่ยวชาญในการสร้างเมืองอัจฉริยะระดับโลก ที่มีประสบการณ์พัฒนาสมาร์ตซิตี้ให้สำเร็จทั้งในเกาหลี ซาอุดีอาระเบีย และญี่ปุ่น เพื่อออกแบบผังและจัดโซนของโครงการ รวมทั้งวิเคราะห์ธุรกิจที่เหมาะสมที่จะเข้ามาลงทุนในพื้นที่

'ประเสริฐ' หนุน ! นวัตกรรมคนไทย หม้อแปลง Low Carbon ลดคาร์บอน ลดก๊าซเรือนกระจก ลดโลกร้อน ลดค่าไฟ ประหยัดพลังงาน

'ประเสริฐ' เชียร์ !  นวัตกรรมคนไทย ลดคาร์บอน ลดโลกร้อน ลดก๊าซเรือนกระจก “หม้อแปลง Submersible Transformer Low Carbon” นอกจากสร้างทัศนีย์ภาพเมืองให้สวยงาม น่าอยู่ ลดพลังงาน ลดคาร์บอน ลดก๊าซเรือนกระจก ลดค่าไฟ 

'ดร.ประเสริฐ' สินสุขประเสริฐ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กล่าว หม้อแปลง Submersible Transformer Low Carbon นี้ นอกจากจะทำให้ทัศนียภาพสวยงาม ทำให้เมืองหน้าอยู่ ยังช่วยประหยัดพลังงาน และยังลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดคาร์บอน ผมว่าถ้าประหยัดพลังงานตอนนี้ทุกคนคงอยู่ในใจตลอดแล้วเพราะว่าราคาพลังงานสูงเหลือเกิน เดือนมกราก็มีการปรับขึ้นอีก ฉะนั้นเรื่องของนวัตกรรมที่ช่วยการประหยัดพลังงานก็จะทำให้เราสะดวกสบายขึ้น เรื่องลดโลกร้อนลดคาร์บอนก็เป็นเรื่องสำคัญ เพราะในช่วงปีที่ผ่านมาเราคงเห็นสภาพอากาศรุนแรงในบ้านเราก็มีฝนตกค่อนข้างเยอะ แต่ว่าจริง ๆ ถ้าเรามองไปทั่วโลกไม่ว่าจะเป็น ปากีสถาน เกาหลีใต้ หรือในยุโรป ตอนช่วงหน้าร้อนก็จะ Heat wave ตอนนี้ที่อเมริกา หนาวมาก เรียกว่าติดลบ 40 องศา และเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่มีความรุนแรงถ้าเราดูสถิติในช่วงอย่างน้อย 5ปี 10ปี ที่ผ่านมา ก็ความรุนแรงพวกนี้รุนแรงมากขึ้นและเกิดถี่ขึ้นและนานขึ้น ฉะนั้นสภาพอากาศบ้านเรา โลกของเราเริ่มไม่ปกติแล้ว เหมือนคนป่วยที่อุณหภูมิสูงขึ้น มีอาการอาเจียน ไม่สบายเนื้อไม่สบายตัว ฉะนั้นเราต้องช่วยทำให้โลกนี้เย็นลง ด้วยการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือ Low Carbon  ลดอุณหภูมิโลก

ตัวหม้อแปลง Low Carbon ดังกล่าว ก็ได้รับรางวัลมากมายในส่วนของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานก็ได้ ในส่วนของกระทรวงพลังงานก็ได้รับรางวัล Energy Award ได้รับรางวัลนวัตกรรมสินค้าสนับสนุนส่งเสริมสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ NIA, สินค้า มอก. 384  และใบประกาศเกียรติคุณ โครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) TGO รางวัลดังกล่าวเป็นการส่งเสริมสนับสนุนสินค้าไทย ของต่างประเทศก็ได้หลายอันเห็นตามข่าวที่ไปรับรางวัล IEEE, กัมพูชา ก็เป็นความภาคภูมิใจของคนไทย เพราะว่าเรื่องของหม้อแปลงประหยัดพลังงานหรือหม้อแปลง Low Carbon ก็เป็นการคิดค้นของคนไทย เป็นการผลิตของคนไทยก็มีความยินดีและชื่นชม ในวันนี้ได้มาทดสอบติดตั้งนำร่องในพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ดีใจมากเพราะเป็นศิษย์เก่า ผมตั้งแต่สมัยก่อน 30 ปี 40 ปี ที่แล้ว มาเดินไม่เหมือนตอนนี้เลย เมื่อ 40 ปี ที่แล้วกับตอนนี้มันคนละเรื่อง สภาพห้องแถว สภาพตึก สภาพสายไฟ อะไรต่าง ๆ ถนนหนทางก็ดีขึ้นเยอะ ก็สำนักงานทรัพย์สินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทำหน้าที่ได้ดีมาโดยตลอด ทำให้บ้านเมืองสวยงาม พูดไปแล้วสยามสแควร์กับจุฬา ก็เหมือนของคู่กัน แล้วก็ทำให้ทัศนียภาพสวยงามก็ดีใจ และก็อีกครั้งหนึ่งของชื่นชมทางบริษัท เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด, ทางบริษัท อีโนวา  อินทิเกรชั่น จำกัด และทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ร่วมมือกันทำผลงานตัวนี้ เพราะว่าเรื่องใหม่ๆ เรียนสื่อมวลชนว่า เรื่องใหม่ๆ ถึงแม้จะเป็นเรื่องที่ดีก็ตาม ได้รับรางวัลมากมายก็ตาม แต่ไม่กล้า คนไม่กล้าจะมีอีกเยอะ ก็อยากให้ตรงนี้เป็นตัวอย่าง เป็นเจ้าแรกที่จะทำให้บ้านเรามีทัศนียภาพที่สวยงาม มีการใช้พลังงานอย่างประหยัด มีประสิทธิภาพ และก็ช่วยลดเรื่องค่าใช้จ่าย ช่วยลดคาร์บอน ลดโลกร้อน ลดก๊าซเรือนกระจก เพื่อโลกของเราจะได้กลับมาเป็นปกติ

นายกฯ สั่ง ทุกหน่วยงานรับมือผลกระทบต่อประชาชน วอน ปรับราคาแล้ว ต้องปรับปรุงคุณภาพการบริการด้วย

(13 ม.ค. 66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตามที่ได้มีประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง กำหนดอัตราค่าจ้างบรรทุกโดยสาร และค่าบริการอื่น สำหรับรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน ที่จดทะเบียนในกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565 เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน โดยประกาศดังกล่าว เป็นการให้ยกเลิกประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง กำหนดอัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารสำหรับรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน (TAXI - METER) ที่จดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานคร ประกาศ ณ วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2557 

นายอนุชา กล่าวว่า ประกาศกระทรวงคมนาคมฯ พ.ศ. 2565 จะเริ่มมีผลบังคับให้มีการจัดเก็บค่าโดยสารแท็กซี่อัตราใหม่ ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป คือตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม 2566 เป็นต้นไป นั้น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ติดตามและมีความห่วงใยประชาชนที่โดยสารรถแท็กซี่ที่อาจมีภาระค่าใช้จ่ายมากขึ้น จึงได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามผลกระทบจากการปรับขึ้นอัตราค่าโดยสารดังกล่าว

นายอนุชา กล่าวว่า แม้การปรับขึ้นอัตราค่าโดยสารจะช่วยให้คนขับแท็กซี่มีรายได้ที่เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันมากขึ้น นายกรัฐมนตรีก็ยังเป็นห่วงประชาชนที่โดยสารรถแท็กซี่ ที่อาจมีภาระค่าใช้จ่ายมากขึ้น จึงได้มีข้อสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการคลัง และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ติดตามผลกระทบต่อประชาชนและเศรษฐกิจในภาพรวมจากการปรับขึ้นอัตราค่าโดยสารดังกล่าว และเสนอแนะมาตรการทางเศรษฐกิจที่เหมาะสม เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการการขึ้นค่าโดยสารแท็กซี่ดังกล่าวต่อไปโดยเฉพาะในช่วงเปลี่ยนผ่าน

นายอนุชา กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีรับรู้ถึงความเดือดร้อนของคนขับรถแท็กซี่ ซึ่งถือว่าเป็นประชาชนกลุ่มหนึ่งที่ได้รับความเดือดร้อนจากค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงสถานการณ์ราคาพลังงานและเชื้อเพลิงที่สูงขึ้น ส่งผลกระทบถึงต้นทุนค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นด้วย ในขณะที่ค่าจ้าง ค่าโดยสารรถแท็กซี่ ไม่ได้มีการปรับขึ้นมาเป็นเวลากว่า 8 ปีแล้ว จึงเป็นที่มาของการปรับค่าโดยสารในครั้งนี้ 

นายอนุชา กล่าวว่า เพื่อให้กลุ่มคนขับแท็กซี่ มีรายได้เพียงพอกับสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน นายกรัฐมนตรีได้มีข้อสั่งการให้กระทรวงคมนาคมไปกำกับดูแลเพิ่มเติมว่า เมื่อขึ้นราคาค่าโดยสารแท็กซี่แล้ว ก็ต้องปรับปรุงคุณภาพการบริการให้ดีขึ้นด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะต้องเข้มงวดในเรื่องมารยาทของคนขับรถ ความปลอดภัย ความสะอาด ไม่เอาเปรียบผู้โดยสาร และต้องปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด หากพบว่าแท็กซี่กระทำผิดจะต้องถูกดำเนินการตามกฎหมายที่กำหนดในเรื่องบทลงโทษต่อไปโดยไม่ละเว้น

นายอนุชา กล่าวว่า โดยรายละเอียดของประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง กำหนดอัตราค่าจ้างบรรทุกโดยสาร และค่าบริการอื่น สำหรับรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน ที่จดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565 บางส่วนระบุถึงการกำหนดอัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสาร สำหรับ (1) กรณีรถยนต์รับจ้าง ที่มีลักษณะเป็นรถเก๋งสามตอน รถเก๋งสามตอนแวน รถยนต์นั่งสามตอน และรถยนต์นั่งสามตอนแวน ให้กำหนด ดังต่อไปนี้...

ส่องความคิดเห็น ‘ชาวเวียดนาม’ หลังนักท่องเที่ยวจีนกลุ่มแรกเข้าไทย

หลังจากเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2566 ประเทศไทยได้มีโอกาสต้อนรับนักท่องเที่ยวชาวจีนกลุ่มแรกไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น ก็พลันกลายเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์กันในหมู่ประเทศเพื่อนบ้านชาวเวียดนามที่มีทั้งชื่นชม เหน็บแนม และตัดพ้อประเทศตนที่ไม่สามารถดึงคนจีนเข้าประเทศได้เช่นเดียวกันไทย 

โดยในสาระสำคัญที่ชาวเวียดนามได้พูดคุยกันในโลกโซเชียลนั้น เป็นการขยายความจากประเด็น ‘ป้ายแบนเนอร์ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย’ ที่ได้มีการเขียนข้อความต้อนรับนักท่องเที่ยวจีนกลุ่มนี้ ซึ่งชาวเวียดนามดูเหมือนจะอึ้ง และให้ความสนใจกับป้ายนี้เป็นอย่างมาก

กระทู้จุดติดในโลกโซเชียลของชาวเวียดนามเริ่มขึ้นจากการลงรูปนักท่องเที่ยวจีนกลุ่มแรก ที่ได้เดินทางมายังประเทศไทย พร้อมกับแคปชันข้อความเชิงคำถามที่ว่า “นักท่องเที่ยวจีนมาเที่ยวไทย 269 คนแรก ลองดูว่าคนไทยต้อนรับนักท่องเที่ยวจีนอย่างไร?” คำตอบที่ได้คือ บนแบนเนอร์ต้อนรับของไทยมีการแสดงความใกล้ชิดอย่างถึงที่สุด ด้วยคำพูดที่ว่า “จีน-ไทย คือ พี่น้องครอบครัวเดียวกัน ยินดีต้อนรับคนจีนกลับบ้าน” ซึ่งเสียงส่วนใหญ่มองไปในภาพเดียวกันว่า นี่เป็น ‘กลยุทธ์ขั้นเซียน’ ของไทยในการโกยหัวใจนักท่องเที่ยวจีนได้อย่างมาก

โดยหลังจากโพสต์นี้ถูกนำเสนอออกไป ก็ได้มีชาวเวียดนามได้เข้ามาแสดงความคิดเห็นไว้ต่าง ๆ นานา ดังนี้...

>> ในมุมบวกต่อการต้อนรับครั้งนี้ของไทย...
1. “นี่คือตลาด 1,400 ล้านคน” 
2. “ประเทศไทย ไม่ได้มีดีแค่ในทีวี” 

3. “คนจีนคิดถึงประเทศไทย เวลาพวกเขาต้องการไปท่องเที่ยว พวกเขาก็จะนึกถึงเมืองไทย ในขณะเดียวกัน ภาพลักษณ์ของเวียดนามยังแย่มาก คนจีนที่มาเที่ยวเวียดนาม มีคนหนุ่มสาวเป็นจำนวนน้อย การส่งเสริมการท่องเที่ยวของเราไม่ค่อยได้ผล”

4. “เนื่องจากเมืองไทยมีสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์ ราคาก็ถูก คนจีนก็เลยชอบมาก”  
5. “ประเทศไทยมีการส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศจีน ทุก ๆ ปี จะมีการโปรโมตการท่องเที่ยวไทยที่ประเทศจีน” 

6. “ต้องขอบอกว่านักท่องเที่ยวจีนนั้น มีการใช้จ่ายสูงกว่าพวก Backpacker ที่มักจะนอนโรงแรมราคาถูก หนุ่มสาวชาวจีนที่เดินทางมาก็ดูดีมาก” 
7. “คนจีนใช้จ่ายอันดับ 1 อยู่ตลอดเวลา คนตะวันตกนั้นขี้โม้!”

ไทย สมายล์ กรุ๊ป ร่วมโครงการ 'มหกรรม รวมพลัง สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้' เพื่อสรรหา กัปตันเมล์ เป็นจำนวนมาก รองรับ รถโดยสารพลังงานไฟฟ้า กว่า 1,250 คัน ใน 122 เส้นทาง ในกทมฯ.และปริมณฑล

เมื่อวานนี้ (11 ม.ค. 66) นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานเปิดโครงการมหกรรม รวมพลัง สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ภายใต้นโยบาย 'สืบสาน รักษา ต่อยอด ฟื้นฟู พลิกโฉมตลาดแรงงานไทย' ซึ่งจัดขึ้น วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก (อี.เทค.) จังหวัดชลบุรี โดย กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อให้แรงงานไทยได้มีโอกาสเรียนรู้เกี่ยวกับอาชีพต่าง ๆ สามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพตามความถนัดและตรงกับความต้องการของตนเอง

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า “การจัดงานมหกรรม รวมพลัง สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ในครั้งนี้ พี่น้องแรงงานและกลุ่มนักเรียน นักศึกษา จะได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาทักษะฝีมือ ทิศทางการทำงานในปัจจุบันและความต้องการแรงงานในอนาคต เพื่อพัฒนาตนเองให้พร้อมที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงาน เพื่อสร้างอาชีพและมีรายได้ที่มั่นคง ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top