Saturday, 5 July 2025
ECONBIZ

‘ก.เกษตร’ ผุดมาตรการช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายชาวประมง ยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตเพาะสัตว์น้ำ-ประมงพื้นบ้าน

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานคณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการประมงไทย เปิดเผยวันนี้ว่า กลุ่มชาวประมงพื้นบ้านใน 23 จังหวัดชายทะเลและกลุ่มประมงเพาะเลี้ยงชายฝั่งได้แสดงความขอบคุณ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมประมงและประธานคณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการประมงไทย ที่รับฟังปัญหาความเดือดร้อนจากการประกอบอาชีพเนื่องจากได้รับผลกระทบจากโควิด-19และดำเนินการให้ความช่วยเหลืออย่างรวดเร็วในการยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. ...”  ให้แก่พี่น้องเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงหอยทะเล สัตว์น้ำในกระชัง และสัตว์น้ำอื่นๆ ที่ทำการเพาะเลี้ยง เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและพี่น้องชาวประมงพื้นบ้าน ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด -19 โดยเสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบกฎกระทรวง “ยกเว้นค่าอากรใบอนุญาตให้ใช้เครื่องมือทำการประมงและค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำการประมงพื้นบ้าน พ.ศ. ...” ให้กับพี่น้องประมงพื้นบ้าน ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19  โดยแบ่งเป็นผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จำนวนกว่า 16,700 ราย คิดเป็นเงินกว่า 50 ล้านบาท ในพื้นที่ 67 จังหวัด และชาวประมงพื้นบ้าน จำนวนกว่า 50,000 ลำ คิดเป็นเงินกว่า 20 ล้านบาท ในพื้นที่ 23 จังหวัด  รวมแล้วสามารถลดภาระค่าใช้จ่ายได้กว่า 70 ล้านบาท 

นายอลงกรณ์ กล่าวว่า เรื่องนี้เริ่มต้นจากเมื่อปลายปีที่แล้วกลุ่มประมงเพาะเลี้ยงและกลุ่มประมงพื้นบ้านได้นำเสนอขอความช่วยเหลือยกเว้นค่าธรรมเนียมและใบอนุญาตในการประชุมกับตนและประมงจังหวัดเพชรบุรี ที่วัดอุตมิงค์ อำเภอบ้านแหลมจังหวัดเพชรบุรี

จึงได้รายงานให้ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เห็นชอบในหลักการและมอบหมายกรมประมงดำเนินการเสนอเรื่องต่อ

‘บิ๊กตู่’ ย้ำ!! 5 ยุทธศาสตร์ยางพารา ช่วยเหลือเกษตรกร ตั้งเป้า ‘ประเทศผู้ผลิตยางคุณภาพดี เกษตรกรมีรายได้มั่นคง’

(20 มี.ค. 66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับทราบความก้าวหน้าจากรายงานการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ซึ่งได้ดำเนินการผลักดันซื้อขายยางมาตรฐาน และการจัดการป่าไม้ยั่งยืน โดยการซื้อขายล็อตแรกมีจำนวนกว่า 500 ตัน ระหว่างสหกรณ์ชุมชน กับ เอกชน ซึ่งเป็นผลจากการดำเนินการตามนโยบายเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยาง ของรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา แผนยุทธศาสตร์ยางพารา ระยะ 20 ปี (2560-2579) ที่ช่วยยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการผลิตยางของไทยให้สูงขึ้น ควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม และเพื่อให้เกษตรกรมีรายได้มั่นคง

นายอนุชา กล่าวว่า จากการเปลี่ยนแปลงทางด้านประชากร ด้านเศรษฐกิจ ด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ และด้านเทคโนโลยี ทำให้อาจมีผลกระทบต่อแนวทางการพัฒนา และการปรับตัวภายใต้การผลิตและการซื้อขายผลิตภัณฑ์ยาง ส่งผลให้การซื้อขายยางในหลายประเทศ เริ่มให้ความสำคัญในด้านสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปด้วย กยท. จึงจัดระบบ ผลักดันสวนยางไทย ให้เข้าสู่ระบบการรับรองป่าไม้ ตั้งแต่กระบวนการปลูกสร้างสวนยาง เก็บเกี่ยว แปรรูป เพื่อผลักดันให้เกิดการซื้อ - ขายผลิตภัณฑ์จากยางพารา ที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล ผ่านระบบตลาดยางพาราของ กยท. ซึ่งเป็นแนวทางจากแผนยุทธศาสตร์ยางพารา ระยะ 20 ปี (2560-2579) ซึ่งประกอบไปด้วย 5 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 

1.การสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรฯ และสถาบันเกษตรกรฯ 
2.การเพิ่มประสิทธิภาพ และการยกระดับคุณภาพและมาตรฐาน  
3.การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม 
4.การพัฒนาตลาด และช่องทางการจัดจำหน่าย 
และ 5.การพัฒนาปัจจัยสนับสนุน

‘บิ๊กตู่’ ปลื้ม!! 2 เดือน ต่างชาติแห่ลงทุนในไทยเพิ่ม 21 ราย มูลค่าเงินลงทุนในพื้นที่ EEC สะพัดกว่า 2 พันล้านบาท

(19 มี.ค. 66) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะประธานคณะกรรมการ นโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) หรือบอร์ด EEC เร่งขับเคลื่อนการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในพื้นที่ EEC เพื่อยกระดับเศรษฐกิจไทย ล่าสุดรายงานของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เกี่ยวกับการลงทุนในพื้นที่ EEC ของนักลงทุนต่างชาติ เดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2566 มีนักลงทุนต่างชาติสนใจลงทุนในพื้นที่ EEC เพิ่มอีกจำนวน 21 ราย คิดเป็นร้อยละ 19 ของจำนวนนักลงทุนทั้งหมด โดยมีมูลค่าการลงทุนในพื้นที่ EEC กว่า 2,078 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 8 ของเงินลงทุนทั้งหมด 

ทั้งนี้ จำแนกเป็นนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น 7 ราย ลงทุน 1,352 ล้านบาท จีน 5 ราย ลงทุน 529 ล้านบาท ไต้หวัน 3 ราย ลงทุน 37 ล้านบาท และประเทศอื่น ๆ อีก 6 ราย ลงทุน 160 ล้านบาท 

สิ่งที่ไทยต้องระวัง จากผลกระทบของอัตราแลกเปลี่ยน หากมองว่า ‘สหรัฐฯ’ ขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย เป็นเรื่องไกลตัว

(19 มี.ค. 66) นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์ฮิโรชิมะ ประเทศญี่ปุ่น และอดีตปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้ให้มุมมองถึงผลกระทบต่อการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ โดยเฉพาะประเทศไทยที่อาจต้องขี้นตาม ว่าเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวพวกเราเกินคาด ผ่านรายการ ‘NAVY TIME เรื่องดี ๆ ประเทศไทยยามเช้า’ ออกอากาศช่วงเช้า เวลา 07.00- 08.00 น. ทางสถานีวิทยุเสียงจากทหารเรือวังนันทอุทยาน (ส.ทร.วังนันทอุทยาน) FM93 เมื่อวันที่ 19 มี.ค. 66 ระบุว่า...

ในวันนี้ หากมองไปถึงเรื่องการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐฯ แล้ว ถือเป็นอีกเรื่องที่ไม่ได้ไกลตัวผู้คนอย่างที่คิด แล้วถ้าหากใครคิดว่าไทยจะไม่ได้รับผลกระทบ หากไม่ขึ้นดอกเบี้ยตามนั้น ผมคิดว่าคงไม่ใช่ เพราะในวันที่อเมริกาขึ้นดอกเบี้ยไปเยอะ แบงก์ชาติไทยก็มีแรงกดดันที่ต้องขึ้นดอกเบี้ยตามไปด้วย

คำถาม คือ หากไทยไม่ขึ้นดอกเบี้ยตาม จะเกิดอะไรขึ้น?
ปกติแล้ว แบงก์ชาติไทย มีกรอบอัตราเงินเฟ้อเหมือนแบงก์ชาติอเมริกา โดยเขาจะมีสิ่งที่ภาษาการเงินเรียกว่า Inflation Targeting เป็นกรอบเป้าเงินเฟ้อว่าต้องไม่ให้เกินเท่าไหร่ จึงจะชะลอการขึ้นดอกเบี้ย ซึ่งของอเมริกานั้น จะอยู่ที่ 2% ส่วนไทยอยู่ที่ 3% และหากเงินเฟ้อออกนอกกรอบ 3% เมื่อไหร่ สถานการณ์แบบนี้แบงก์ชาติของไทยก็มีโอกาสที่จะต้องขี้นดอกเบี้ย เพราะอันนี้คือ สัญญาประชาคมของแบงก์ชาติ ที่ให้ไว้กับประชาชนและรัฐบาล ว่าเขาจะคุมเงินเฟ้อให้ไม่เกิน 3% หากจะยังไม่ขึ้นดอกเบี้ย

ทว่าวันนี้ล่าสุดตัวเลขเงินเฟ้ออยู่ที่ 3.8-3.9% ก็เกินจากกรอบ 3% เพราะฉะนั้นแบงก์ชาติจะต้องถูกบังคับให้ขึ้นดอกเบี้ย เพื่อแก้ปัญหาเงินเฟ้อ ให้ดึงลงมาอยู่ในกรอบ 3% ที่สัญญาไว้กับประชาชน ถ้าผิดสัญญาถือว่าสอบตก

ดังนั้นในวันที่ระบบการเงินของไทย มีความเชื่อมต่อกันกับโลกพอสมควรนั้น จึงปฏิเสธได้ยากว่า ถ้าเกิดอัตราดอกเบี้ยของแต่ละชาติมันมีความต่างกันเยอะ มันจะสะเทือนไปสู่ปัญหาเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราไปในตัว เช่น...

‘บิ๊กตู่’ ลุยภูเก็ต ส่องความคืบหน้างาน ‘Expo 2028’ พร้อมมอบนโยบายทิศทางอนาคตอันดามัน

(19 มี.ค. 66) ที่เดินทางจากท่าอากาศยานทหาร 2 กองบิน 6 (บน.6) ดอนเมือง กรุงเทพฯ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อม พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย, นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน, นายธนกร วังบุญคงชนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ, นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค เลขาธิการนายกรัฐมนตรี หัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ และคณะเดินทางโดยเครื่องบินกองทัพอากาศ ไปยังท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง เพื่อปฎิบัติภารกิจ ตรวจพื้นที่จัดงาน Expo 2028 Phuket Thailand ที่ ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต

และในช่วงบ่าย นายกฯและคณะ ติดตามการใช้พื้นที่ป่าชายเลนภายใต้โครงการ ‘ป่าในเมือง’ ที่ชุมชนบ้านกิ่งแก้ว เทศบาล ต.รัษฎา อ.เมืองภูเก็ต

‘บิ๊กตู่’ สั่ง ต่ออายุเครื่องหมายรับรอง ‘ข้าวหอมมะลิไทย’ โชว์คุณภาพ-มาตรฐาน สร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภค

(18 มี.ค. 66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับทราบการดำเนินงานของกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เดินหน้าคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ต่ออายุเครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย และเครื่องหมายการค้า ‘HOM MALI’ และสั่งการให้ประชาสัมพันธ์ และพัฒนาฐานข้อมูลเครื่องหมายการค้าของผู้ส่งออกข้าวหอมมะลิไทย (List of Certified Thai Hom Mali Rice Brands) ตรวจสอบ สร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพ มาตรฐาน และขยายฐานตลาดข้าวหอมมะลิไทย ตามเป้าหมายยุทธศาสตร์ข้าวไทย และสั่งการ ให้หน่วยงานของไทยเร่งประชาสัมพันธ์ผ่าน https://thaihommaliricecertificationmark.dft.go.th/ และเชื่อมั่นในคุณภาพ และเอกลักษณ์ของข้าวหอมมะลิไทย มีมาตรฐานและเป็นที่นิยมสำหรับผู้บริโภคในตลาดต่างประเทศ จึงกำชับให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันส่งเสริมศักยภาพตั้งแต่ต้นทางการผลิต การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา การควบคุมคุณภาพ ไปจนถึงปลายทางการส่งออกเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค รวมทั้งได้เน้นย้ำให้หน่วยงานของกระทรวงพาณิชย์ในต่างประเทศ เฝ้าระวังการปลอมปมหรือละเมิด และดำเนินตามขั้นตอนของกฎหมายเมื่อพบการละเมิดใช้เครื่องหมายการค้าข้าวหอมมะลิไทย

‘ปตท.’ ช่วยเหลือประชาชน ฝ่าปัญหาภัยแล้ง ผ่านโครงการ ‘ราษฎร์ รัฐ ร่วมใจ ช่วยภัยแล้ง’ ปี 2566

วันนี้ (17 มีนาคม 2566) –  พลเอก ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผู้บัญชาการทหารบก นายประสงค์ อินทรหนองไผ่ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารกลยุทธ์กลุ่มธุรกิจปิโตรเลียม ขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้แทน ปตท. พร้อมด้วยผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ จากกรมทรัพยากร น้ำบาดาล การประปาส่วนภูมิภาค และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ร่วมเปิดโครงการ “ราษฎร์ รัฐ ร่วมใจ ช่วยภัยแล้ง” ประจำปี 2566 ณ กองบัญชาการกองทัพบก โดยในปีนี้ ปตท. ร่วมสนับสนุนความช่วยเหลือรวมมูลค่ากว่า 2,900,000 บาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนและเกษตรกรที่ประสบปัญหาภัยแล้งจากการขาดแคลนน้ำในการอุปโภคบริโภค โดยเฉพาะเขตทุรกันดารและพื้นที่ห่างไกล 

สำหรับการสนับสนุนในปี 2566 ปตท. สนับสนุนผลิตภัณฑ์น้ำมันเชื้อเพลิง บัตรเติมน้ำมัน PTT Privilege Card มูลค่า 2,100,000 บาท ถังบรรจุน้ำสะอาด Innoplus ซึ่งผลิตโดย บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ที่มีความคงทนแข็งแรง น้ำหนักเบา ทนแรงกระแทกสูงเมื่อเทียบกับพลาสติกทั่วไป ทนทานต่อสภาพแวดล้อมและสภาพอากาศได้ดี ขนาด 1,500 ลิตร จำนวน 100 ถัง มูลค่า 500,000 บาท รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์และดำเนินงานโครงการฯ เพื่อช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ประสบปัญหาภัยแล้ง ทั้งนี้ตั้งแต่ปี 2542 กลุ่ม ปตท. ได้สนับสนุนโครงการ “ราษฎร์ รัฐ ร่วมใจ ช่วยภัยแล้ง” ช่วยผู้ประสบภัยแล้งทั่วประเทศมากว่า 24 ปี รวมเป็นเงินทั้งสิ้นกว่า 96 ล้านบาท

‘TOP INNOVATIVE COMPANY AWARD’ จากงาน ‘THAILAND TOP COMPANY AWARDS 2023’

เมื่อไม่นานมานี้ นายวสุ กลมเกลี้ยง ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายพัฒนากลยุทธ์และวางแผนการลงทุน บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้แทนบริษัทเข้ารับมอบรางวัล Thailand Top Company Award 2023 ประเภทความเป็นเลิศ ‘TOP INNOVATIVE COMPANY AWARD’ จาก ฯพณฯ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี โดยรางวัลดังกล่าวมอบให้กับสุดยอดองค์กรธุรกิจที่มีผลการดำเนินงานยอดเยี่ยมและมีความเป็นเลิศด้านการพัฒนานวัตกรรมโดยฝีมือคนไทย อันเป็นคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติ ซึ่งถือเป็นองค์กรต้นแบบที่ดำเนินธุรกิจพลังงานสะอาด สู่ระบบกักเก็บพลังงาน แบตเตอรรี่ลิเทียมไอออน อมิตา เทคโนโลยี และธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ MINE Mobility ด้วยกลยุทธ์ Ultra-Fast Charge Solution สู่การเป็นผู้นำระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า (Ecosystem) อย่างครบวงจร อันเป็นนวัตกรรมที่พัฒนาโดยฝีมือคนไทยที่จะช่วยสร้างอุตสาหกรรมใหม่ให้กับประเทศไทยบนพื้นฐานความยั่งยืน

‘ปตท.’ ผนึก ‘สทน.’ หนุนโครงการวิจัย-พัฒนา ‘พลาสมา-เทคโนโลยีฟิวชัน’  ตั้งเป้ายกระดับไทย สู่ ‘ศูนย์กลางของอาเซียน’ ภายในปี 2570

เมื่อไม่นานมานี้ ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) และ ดร.หาญณรงค์ ฉ่ำทรัพย์ รองผู้อำนวยการ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สทน.) ได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาด้านพลาสมาและเทคโนโลยีฟิวชัน ระหว่าง ปตท. และ สทน. โดยมีผู้บริหารของทั้งสองฝ่ายร่วมเป็นสักขีพยาน 

เป็นรูปเป็นร่าง!! ไทยเดินหน้าฮับ EV เร่งผลักดันมาตรการสนับสนุนเพิ่มเติม หลังค่ายรถสัญชาติจีนยักษ์ใหญ่ เริ่มก่อสร้างโรงงานจริงจัง

(17 มี.ค.66) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะประธานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ เผยว่า ได้ผลักดันให้การส่งเสริมการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าครอบคลุมการผลิตยานพาหนะไฟฟ้าทุกประเภท รวมทั้งจักรยานยนต์ไฟฟ้า รถสามล้อไฟฟ้า รถโดยสารไฟฟ้า และเรือที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพ และสามารถพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีในอนาคตได้ ตามมติคณะกรรมการบีโอไอเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2563 ที่ผ่านมา ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (Roadmap 30@30) ที่มีเป้าหมายในปี 2573 จะผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ร้อยละ 30 ของการผลิตรถยนต์ทั้งหมด

ล่าสุด บีโอไอรายงานว่าผู้ผลิตรถ EV จากจีนสองค่าย ได้แก่ เนต้า (NETA) และบีวายดี (BYD) ได้วางศิลาฤกษ์ก่อสร้างโรงงานผลิตรถ EV ในประเทศไทย คาดว่าจะแล้วเสร็จ 1-2 ปีข้างหน้าโรงงานจะแล้วเสร็จ และยังมีค่ายรถจากจีนและยุโรปยื่นขอรับการสนับสนุนอีกหลายค่าย โดยรัฐบาลกำลังเร่งผลักดันมาตรการสนับสนุนรถอีวีเพิ่มเติม หรือมาตรการ EV 3.5 ต่อเนื่องจากมาตรการ EV 3 ที่จะหมดอายุภายในสิ้นปี 2566 ซึ่งจะทำให้ไทยก้าวสู่ความเป็นฮับอีวีได้ไม่ยาก

ทั้งนี้นโยบายดังกล่าวเป็นที่ชื่นชอบของพี่น้องประชาชน นอกจากกระตุ้นธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง เกิดการจ้างงาน ถ่ายทอดเทคโนโลยีแล้ว เมื่อมีการผลิตที่มากขึ้นในไทย จะทำให้ราคาถูกลง ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้นและลดมลพิษ โดยเฉพาะฝุ่น PM2.5 ได้ในระยะยาว

Arun Plus - SANY - Leadway - Rootcloud ลงนามความร่วมมือ ลุยธุรกิจ ‘E-Truck’ - ‘E-Mobility’ ขับเคลื่อนระบบขนส่งไทย สู่ ‘ผู้ให้บริการแบบครบวงจร’

เมื่อไม่นานมานี้ นายเชิดชัย บุญชูช่วย รองกรรมการผู้จัดการใหญ่นวัตกรรมและธุรกิจใหม่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อแสวงหาโอกาสในการเข้าสู่ธุรกิจ E-Truck และ E-Mobility ครบวงจร และธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย 

โดยมี นายเอกชัย ยิ้มสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท อรุณ พลัส จำกัด (Arun Plus), Mr. Da Rui (ดา รุย) Managing Director Southeast Asia, SANY Heavy Industry (Thailand) Co., Ltd. (SANY), คุณฉกาจ แสนจัน Chief Executive Officer, Leadway Heavy Machinery Co., Ltd. (Leadway) และ Mr. Ho Howe Tian (โฮ ฮาว เทียน) Managing Director ASEAN, Rootcloud Technology Co., Ltd. (Rootcloud) ร่วมลงนาม 

‘เม็ดทราย’ สู่ ‘เม็ดเงิน’ ไอเดียเจ๋ง!! ถมทะเลด้วยเม็ดทรายราคาถูก ยกระดับ ‘หาดจอมเทียน’ สู่ ‘ไมอามี่เมืองไทย’

(17 มี.ค.66) เมื่อไม่นานมานี้ ผู้ใช้ TikTok ชื่อว่า ‘Kim Property Live’ โดยคุณคิม ชัชวาลย์ วัฒนะโชติ ได้ออกมาวิเคราะห์ถึง ‘ไมอามี่เมืองไทย’ ที่เกิดจากการนำเม็ดทรายมาถมทะเลจนเกิดพื้นที่ใช้สอยทางเศรษฐกิจว่า…

‘พัทยา’ ของบ้านเราจะเปลี่ยนเป็นไมอามี่เมืองไทย เนื่องจากมีโปรเจกต์การถมทะเลความกว้างกว่า 35 เมตร ซึ่งโดยปกติแล้วการถมทะเลนั้นก็มีประเทศหลายทั่วโลกทำกัน เช่น สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ฮ่องกง ที่มีการถมทะเลทำสนามบิน 

เนื่องจากทรายมีราคาถูก พอทำเป็นเกาะราคาที่ดินก็เพิ่มมหาศาล ยิ่งถมที่ทำสนามบินยิ่งดี เพราะว่าเป็นไม่ต้องเว้นระยะรอบชุมชน แถมไม่ต้องยุ่งกับโครงสร้างเก่า แต่คนที่ทำได้ต้องไม่ใช่ประชาชนแต่เป็น ‘รัฐบาล’ เท่านั้น

ซึ่งฝั่งไทยเราก็มีการถมเช่นกัน คือ ‘แหลมฉบัง’ มีการเพิ่มที่กรมท่าเรือให้มีเพิ่มมากขึ้น แต่ที่น่าสนใจคือ ‘หาดจอมเทียน’ เพราะทางกรมเจ้าท่าก็ได้ทุ่มงบเกือบ 1 พันล้านบาท ในการถมทะเลตรงนี้ เพื่อให้มีพื้นที่เพิ่มมากขึ้น เพราะก่อนหน้านี้น้ำทะเลได้ซัดชายฝั่งจนแถบไม่เหลือเลย เมื่อลองเทียบเคียงกับชายหาดระดับโลกแล้ว ก็ต้องมีพื้นที่ขนาดใหญ่ ทำกิจกรรมได้มาก เดินเล่นได้ จุคนได้มาก หากนึกไม่ออกให้นึกถึง ‘ไมอามี่บีช’ เลย

และคาดการณ์ว่าการถมทรายทะเลตรงบริเวณ ‘หาดจอมเทียน’ นั่นจะทำให้หาดแห่งนี้กลายเป็น ‘ไมอามี่เมืองไทย’ อีกทั้งที่ดินของหาดจอมเทียนก็มีราคาสูงอยู่แล้ว คอนโดโรงแรมขึ้นเต็มมากมาย 

Mekha V - WHAUP - Sertis ร่วมมือจัดตั้งบริษัท ‘RENEX TECHNOLOGY’ ลุยธุรกิจซื้อขายไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน

เมื่อไม่นานมานี้ ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่ และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ให้เกียรติร่วมในพิธีลงนามสัญญาร่วมทุนจัดตั้ง ‘บริษัท รีเนกซ์ เทคโนโลยี จำกัด’ (RENEX TECHNOLOGY) เพื่อดำเนินการพัฒนาและลงทุนในธุรกิจการให้บริการดิจิทัลแพลตฟอร์มซื้อขายพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียนสำหรับลูกค้าอุตสาหกรรมและผู้ใช้บริการรายอื่น ๆ (Peer-to-Peer Energy Trading Platform) โดยมีนายชาญ กุลภัทรนิรันดร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมฆา วี จำกัด (Mekha V) นายสมเกียรติ เมสันธสุวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) 

นายอัครินทร์ ประเทืองสิทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) และนายธัชกรณ์ วชิรมน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซอร์ทิส เอไอ เอ็นเนอร์จี จำกัด ร่วมลงนาม พร้อมด้วยผู้บริหารจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นสักขีพยาน โดยบริษัทร่วมทุน RENEX TECHNOLOGY มีเป้าหมายเพื่อดำเนินการประกอบธุรกิจพัฒนาและให้บริการแพลตฟอร์มสำหรับการซื้อขายพลังงานไฟฟ้าโดยตรงระหว่างผู้ผลิตและผู้ใช้ไฟฟ้า (Peer-to-Peer) หรือการซื้อขายพลังงานไฟฟ้าโดยไม่ผ่านคนกลาง โดยใช้ระบบ Two-Sided Bidding Algorithm รวมทั้งเพิ่มความปลอดภัยในการทำธุรกรรมและอำนวยความสะดวกการซื้อขายพลังงานให้กับผู้ผลิตไฟฟ้ารายย่อยกับผู้ใช้พลังงานด้วยเทคโนโลยี Blockchain

ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) กล่าวว่า การร่วมทุนในครั้งนี้ เป็นไปตามทิศทางกลยุทธ์การลงทุนธุรกิจพลังงานใหม่และธุรกิจอื่น ที่นอกเหนือจากพลังงานของ ปตท. โดยได้ส่งบริษัท เมฆา วี จำกัด (Mekha V) ซึ่งเป็น Flagship ด้านธุรกิจปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์ และดิจิทัล (AI, Robotics & Digitalization) ของกลุ่ม ปตท. เข้าร่วมลงทุนกับพันธมิตรทั้ง WHAUP และ Sertis ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการนวัตกรรมพลังงาน โดย RENEX ถือเป็นแพลตฟอร์มสำหรับการซื้อขายพลังงานหมุนเวียน ซึ่งพัฒนาด้วยเทคโนโลยี Blockchain ให้สามารถซื้อขายพลังงานหมุนเวียนระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านการทดสอบจริงในนิคมอุตสาหกรรมภายใต้โครงการ ERC Sandbox เพื่อความพร้อมในการรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมพลังงานอนาคต และเป็นก้าวสำคัญในการผลักดันการใช้พลังงานสะอาดและขับเคลื่อนประเทศให้บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) โดยกลุ่ม ปตท. มุ่งมั่นที่จะนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ ตอบโจทย์การพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ของประเทศ และสอดคล้องกับความต้องการของภาคธุรกิจ ที่ต้องการพลังงานสีเขียวซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

นายสมเกียรติ เมสันธสุวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) (WHAUP) กล่าวว่า WHAUP ในฐานะผู้ให้บริการระบบสาธารณูปโภค พลังงาน ทั้งภายในและภายนอกนิคมอุตสาหกรรมของดับบลิวเอชเอ ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยเน้นการพัฒนาโซลูชั่นสำหรับธุรกิจสาธารณูปโภค และ พัฒนาพลังงานหมุนเวียนใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง สำหรับการร่วมลงทุนในครั้งนี้ เพื่อให้สอดรับกับเป้าหมายของ WHAUP ในการเดินหน้าลงทุนในธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์ ควบคู่ไปกับการพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อเพิ่มเสถียรภาพและลดต้นทุนของพลังงานไฟฟ้า อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนการใช้พลังงานสะอาดให้กับกลุ่มลูกค้าภายในนิคมอุตสาหกรรมของดับบลิวเอชเอ จนนำมาสู่การพัฒนาระบบการซื้อขายไฟฟ้าเสรีแบบไม่มีตัวกลางที่เรียกว่า Peer-to-Peer Energy Trading หรือ แพลตฟอร์ม RENEX เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ผลิตไฟฟ้าและผู้รับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน โดยใช้เทคโนโลยี AI และ Blockchain มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านความปลอดภัยในการทำธุรกรรม ระหว่างผู้ผลิตไฟฟ้ารายย่อยกับผู้ใช้พลังงาน  

“การร่วมกันจัดตั้งบริษัทร่วมทุน รีเนกซ์ เทคโนโลยี ในวันนี้ สะท้อนให้เห็นถึง ความมุ่งมั่นของ  3 องค์กรชั้นนำที่มีความแข็งแกร่ง และประสิทธิภาพในการบริการจัดการ ของทั้ง บริษัท เมฆา วี จำกัด บริษัท ดับบลิวเอชเอ ฟิวเจอร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท เซอร์ทิส เอไอ เอ็นเนอร์จี จำกัด เพื่อยกระดับสู่บริษัทร่วมทุนที่มีความทันสมัย ก้าวไกล ในการร่วมมือพัฒนา ทดสอบ และผลักดันระบบแพลตฟอร์ม RENEX ให้สามารถใช้งานได้ในเชิงพาณิชย์นำไปสู่อุตสาหกรรมที่ยั่งยืน ซึ่งปัจจุบันมีผู้ประกอบการชั้นนำในนิคมอุตสาหกรรมของดับบลิวเอชเอ ให้ความสนใจเข้าร่วมเป็นผู้ซื้อขายพลังงานบนแพลตฟอร์ม RENEXแล้ว ถึง 54 รายด้วยกัน”

‘สมศักดิ์’ จัดงานเสวนากระท่อม ทิ้งทวนก่อนย้ายพรรค เร่งพัฒนาเพื่อต่อยอดสู่พืชเศรษฐกิจแห่งอนาคต

(16 มี.ค. 66) ที่สำนักงาน ป.ป.ส. นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.ยุติธรรม เป็นประธานเปิดงาน โครงการสร้างการรับรู้แก่ผู้ประกอบการ ‘กระท่อมพืชเศรษฐกิจไทยแห่งอนาคต’ โดยมี นายมานะ ศิริพิทยาวัฒน์ รองเลขาธิการ ป.ป.ส. นายวีระพล ใจจันทร์ ผู้อำนวยการสถาบันสำรวจและควบคุมยาเสพติด นายสมชาย ศรีวิริยะจันทร์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เจ้าหน้าที่ ผู้ประกอบการพืชสมุนไพรและประชาชนเข้าร่วมงาน

นายสมศักดิ์ กล่าวว่า วันนี้เป็นความภาคภูมิใจของตนและ ป.ป.ส. ที่ได้ทำให้พืชกระท่อมเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ หลังจากที่เป็นยาเสพติดมานานถึง 78 ปี ตนต้องขอขอบคุณผู้ประกอบการทั้งหลาย สถาบันการศึกษาหลายแห่งที่เข้ามาช่วยการต่อยอด เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจในอนาคตต่อไปได้อย่างชัดเจนขึ้น

และที่สำคัญต้องขอบคุณ ป.ป.ส. เพราะตอนที่ตนเข้ามาเป็น รมว.ยุติธรรม ตนไม่มีความรู้เกี่ยวกับพืชกระท่อมเลย แต่ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ ป.ป.ส.ก็ได้นำข้อมูลมาเล่าและชี้แจงให้ฟัง รวมถึงเรื่องการจัดทำประมวลกฎหมายยาเสพติดใหม่ด้วย ต้องถือว่า ป.ป.ส.เป็นหน่วยงานที่ดีของประเทศไทย เพราะทำงานเอาจริงเอาจังและให้ความร่วมมือกับภาคการเมือง จนงานทุกอย่างออกมาราบรื่น และเดินหน้าได้อย่างรวดเร็ว

ปตท. คว้ารางวัล ‘สุดยอดองค์กรธุรกิจไทย’ สาขาอุตฯ พลังงาน 4 ปีซ้อน สะท้อนการทำงานที่ยอดเยี่ยม - มุ่งสู่ความยั่งยืนทุกมิติ

เมื่อวันที่ 15 มี.ค. 66 นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) รับรางวัล ‘THAILAND TOP COMPANY AWARDS 2023’ ประเภทอุตสาหกรรมพลังงาน ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 จาก ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ในฐานะประธานในพิธี สะท้อนผลการดำเนินงานของ ปตท. ที่ยอดเยี่ยม พร้อมดำเนินธุรกิจภายใต้หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี รวมถึงทิศทางธุรกิจที่พร้อมก้าวไปสู่ความยั่งยืนในทุกมิติ เป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศไทย


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top